หน้าเว็บ

วันพุธที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Wake up Thailand

Wake up Thailand  
 
Wake up Thailand ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 2
Coffee with : ภูมิธรรม เวชยชัย และ วรชัย เหมะ
http://www.dailymotion.com/video/x12i0oi_coffee-with-ภ-ม-ธรรม-เวชยช-ย-และ-ว 
 
Wake up Thailand ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 1
ตั้งกองทุนฟื้นฟู สภาพแวดล้อมเกาะเสม็ด
http://www.dailymotion.com/video/x12hygt_ต-งกองท-นฟ-นฟ-สภาพแวดล

Wake up Thailand ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 2
พันธมิตรเลื่อนศาลได้ ไม่ต้องพึ่งนิรโทษ 
Wake up Thailand ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 1
เสม็ด...เสร็จแล้ว 
http://www.dailymotion.com/video/x12g6vv_เสม-ด-เสร-จแล-ว 


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 2
นิรโทษกันไปเลย ดีกว่าโทษกันไปโทษกันมา 
http://www.dailymotion.com/video/x12f3uk_น-รโทษก-นไปเลย-ด-กว-าโทษก-นไปโทษก- 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 1
กกต.ไทยขวัญใจฮุนเซน

Divas Cafe

Divas Cafe
 

 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 31 กรกฎาคม 2556
บริจาคผม แค่สำเร็จความใคร่ทางศีลธรรม 
http://www.dailymotion.com/video/x12i43l_บร-จาคผม-แค-สำเร-จความใคร-ทางศ-ลธรรม 
  
Divas Cafe ประจำวันที่ 30 กรกฎาคม 2556
กินข้าวไทย อย่างไร ให้ได้ 20 ล้าน 
http://www.dailymotion.com/video/x12g9lb_ก-นข-าวไทย-อย-างไร-ให-ได-20- 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 29 กรกฎาคม 2556
108 เหตุผลที่ต้องปล่อยนักโทษการเมือง 
http://www.dailymotion.com/video/x12f5xm_108-เหต-ผลท-ต-องปล-อยน-กโทษการเม  

เจ้าโลก มหาอำนาจ ระเบียบภูมิภาค และนโยบาย ตปท.ของไทย

เจ้าโลก มหาอำนาจ ระเบียบภูมิภาค และนโยบาย ตปท.ของไทย


 


ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ อภิปรายนโยบายต่างประเทศของรัฐไทย จากยุคอาณานิคมถึงยุคหลังสงครามเย็น ทั้ง “ไผ่ลู่ลม” การทูตนิ่งเงียบของอาเซียน การทูตยุคชาติชาย-ทักษิณ ที่ลดบทบาทข้าราชการ และเน้นความสำคัญเศรษฐกิจมากกว่าความมั่นคง พร้อมวิจารณ์นโยบายต่างประเทศรัฐบาลปัจจุบันที่ยังไม่สร้างสรรค์ และกลับไปฟังข้าราชการมากขึ้น จนแนวอนุรักษ์นิยมกลับมามีบทบาท


เมื่อวันที่ 27 ก.ค. ที่ผ่านมา มีวงเสวนาที่ Book Re:public ในหัวข้อ “เจ้าโลก มหาอำนาจ ระเบียบภูมิภาค และนโยบายต่างประเทศของไทย” โดยมีวิทยากรคือ ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ นักวิชาการจากศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47912 

ประกาศล้มร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม แรงงานขู่ชุมนุมสกัดไม่ให้ผ่านสภาฯ

ประกาศล้มร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคม แรงงานขู่ชุมนุมสกัดไม่ให้ผ่านสภาฯ


 

กลุ่มแรงงาน-ภาคประชาชน ประกาศค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับรัฐบาล -ส.ส.เรวัต ‘วิไลวรรณ’ จวกกฎหมายอัปลักษณ์ ค้านหนัก รมว.แรงงาน นั่งควบ ปธ.บอร์ดประกันสังคม ด้าน คปก.แนะแนวทางการสู้ต่อ-ชี้กฎหมายเข้าชื่อฯ ฉบับใหม่ส่อแววเป็นอุปสรรค์
 
วันนี้ (30 ก.ค.56) เมื่อเวลา 12.00 น.ที่ โรงแรมรัตนโกสินทร์ คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ เครือข่ายแรงงานนอกระบบ และเครือข่ายภาคประชาชน ร่วมกันแถลงข่าวแสดงท่าทีคัดค้านร่าง พ.ร.บ.ประกันสังคมฉบับของรัฐบาล และ ส.ส.เรวัต อารีรอบ กับคณะ ซึ่งขณะนี้ได้ผ่านการพิจารณาของคณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างประกันสังคม แล้วและอยู่ระหว่างรอเข้าสู่การพิจารณาวาระ 2 ของสภาผู้แทนราษฎร ภายหลังจากที่ร่างกฎหมายฉบับที่มีการเข้าชื่อของประชาชน 14,264 รายชื่อ ไม่ถูกรับพิจารณา

ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย และกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่างพระราชบัญญัติประกันสังคม (ฉบับที่..) พ.ศ. ... ซึ่งมาจากตัวแทนภาคแรงงานเพียงคนเดียว กล่าวถึงเนื้อหาในแถลงการณ์ว่า แรงงานและภาคประชาชนเห็นว่าร่างกฎหมายประกันสังคมที่ผ่านการพิจารณาแล้วนั้น มีสาระสำคัญหลายประการที่ไม่เป็นไปเพื่อประโยชน์ของผู้ประกันตน และไม่ก่อให้เกิดการปฏิรูปปรับปรุงให้ระบบประกันสังคมดีขึ้น ทั้งบางประเด็นกลับยิ่งก่อปัญหาเพิ่มขึ้น

(อ่านต่อ)

วันอังคารที่ 30 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

รัสเซียเตรียมติดตั้งระบบอ่านซิมมือถือในสถานีรถไฟใต้ดิน

รัสเซียเตรียมติดตั้งระบบอ่านซิมมือถือในสถานีรถไฟใต้ดิน

 


Moscow Metro phone tracker 


ตำรวจกรุงมอสโควประกาศติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับซึ่งสามารถอ่านข้อมูลซิมการ์ด อ้างหวังลดอาชญากรรมล้วงกระเป๋า 

เมื่อวันที่ 29 ก.ค. ที่ผ่านมา ทางการรัสเซียประกาศว่าจะมีการติดตั้งระบบอ่านข้อมูลจากโทรศัพท์มือถือของผู้ใช้บริการที่ "น่าสงสัย"

ผู้บังคับการตำรวจกรุงมอสโคว อังดรี โมคอฟ เปิดเผยว่าทางการรัสเซียจะมีการติดตั้งระบบเซนเซอร์ตรวจจับซึ่งสามารถอ่าน ข้อมูลจากซิมการ์ดของมือถือเพื่อเป็นตรวจสอบว่าโทรศัพท์นั้นถูกขโมยมาหรือ ไม่

อังดรีอ้างว่าระบบตรวจสอบทำไปเพื่อลดอาชญากรรมการล้วงกระเป๋าในสถานีรถไฟ ใต้ดิน แต่ผู้เชี่ยวชาญบางคนบอกว่ารัฐบาลรัสเซียอาจจะมีเจตนาซ่อนเร้นในเรื่องนี้

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา

 

 

ASEAN Weekly: ธงชัย วินิจจะกูล: สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค

ASEAN Weekly ทางประชาไทใส่เสียงสัปดาห์นี้ เป็นปาฐกถาพิเศษโดยศาสตราจารย์ธงชัย วินิจจะกูล ประธานสมาคมเอเชียศึกษา และอาจารย์จากภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน-แมดิสันสหรัฐอเมริกา ในหัวข้อ "สยาม/ไทย ในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา : ความรู้เรื่องไทยท่ามกลางภูมิภาค"

อ่านเพิ่มเติม http://prachatai.com/journal/2013/07/47794

คนงานฟาสต์ฟู้ดอเมริกันประท้วงขอเพิ่มค่าจ้างเป็น 15 เหรียญต่อชั่วโมง

คนงานฟาสต์ฟู้ดอเมริกันประท้วงขอเพิ่มค่าจ้างเป็น 15 เหรียญต่อชั่วโมง 


 

คนงานในร้านฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐอเมริกาในหลายเมืองใหญ่ ออกมาเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องขอค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อย 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง สุดทนค่าแรงต่ำเพียงแค่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง
 
เมื่อเช้าของวันที่ 29 ก.ค. 56 ที่ผ่านมาตามเวลาท้องถิ่น สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่าคนงานในร้านฟาสต์ฟู้ดของสหรัฐอเมริกา เช่น แมคโดนัลด์ (McDonald's), พิซซ่าฮัท (Pizza Hut), เบอร์เกอร์คิง (Burger King) ,เคเอฟซี (KFC) และเวนดี้ (Wendy's) ในนิวยอร์ก, เซนต์หลุยส์, แคนซัสและอีกหลายเมืองใหญ่ในสหรัฐอเมริกา ได้ออกมาเดินขบวนประท้วงเพื่อเรียกร้องขอค่าแรงขั้นต่ำอย่างน้อย 15 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง

คนงานแม็คโดนัลด์ประจำสาขาบรู๊คลิน นิวยอร์ก คนหนึ่งระบุว่าเกือบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่จะสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ด้วยค่า แรงเพียงแค่ 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง โดยผู้จัดการประท้วงระบุว่ามีคนงานในอุตสาหกรรมฟาสต์ฟู้ดที่เข้าร่วมการ ประท้วงที่นิวยอร์ควันนี้กว่า 500 คน ทั้งนี้เมื่อสัปดาห์ที่แล้วคนงานร้านฟาสต์ฟู้ดในชิคาโก้, มิลวอคกี้ และดีทรอยด์ ก็ได้ออกมารวมตัวเคลื่อนไหวด้วยเช่นกัน
  
คนงานในอุตสาหกรรมนี้บางคนได้ค่าแรงต่ำเตี้ยถึง 7.25 ดอลลาร์ต่อชั่วโมง ซึ่งเมื่อเที่ยบกับอัตราเงินเฟ้อแล้วปรากฏว่าจ้างนี้ต่ำกว่า 22 % ในปี ค.ศ.1968 (9.27 ดอลลาร์) และต่ำกว่า 7% ในปี ค.ศ.2009 (7.78 ดอลลาร์)
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47924

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2556

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 29 กรกฎาคม 2556


 
  - ญาติผู้เสียหายฯ ปี 53 เล็งแก้ร่างกฎหมายนิรโทษกรรม
- กลุ่มนักโทษการเมือง แสดงจุดยืนหนุนร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ส.ส.วรชัย
- ข้อมูลพื้นฐานนักโทษการเมือง
- ‘Do or Die’ ทางเลือกแรงงาน ‘เอา-ไม่เอา’ กม.ประกันสังคม
- ปฏิทินกิจกรรม

"รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

"รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ”

Noam Chomsky "Snowden Should Be Honored for Telling Americans What the Government Was Doing"
http://www.youtube.com/watch?v=J9jqY23hgqA

โนอัม ชอมสกีบอกว่า เราควรยกย่องเอ็ดเวิร์ด สโนวเดน “เขาทำให้สิ่งที่พลเมืองทุกคนต้องทำ เขากำลังบอกให้คนอเมริกันได้ทราบว่ารัฐบาลของตัวเองกำลังทำอะไรอยู่” “สิ่งที่เขาเปิดเผยไม่มีอะไรเป็นภัยคุกคามต่อความมั่นคงอย่างที่รัฐกล่าว อ้างเลย เว้นอย่างเดียวคือ ความมั่นคงของรัฐบาลจากประชาชนของตนเอง”

ชอมสกีบอกว่า รัฐบาลมักอ้าง “ความมั่นคงแห่งชาติ” เพื่อปิดกั้นสิทธิการรับรู้ของประชาชน แต่ถ้าเราดูให้ดีจะพบว่า ข้อมูลที่รัฐบาลปิดกั้นโดยอ้าง “ความมั่นคง” นั้น เป็นข้อมูลที่กระทบต่อความมั่นคงของรัฐบาลเองต่างหาก ไม่ใช่ความมั่นคงของประเทศทั้งหมด ชอมสกียังย้อนด้วยว่า สหรัฐฯ อ้างโน่นอ้างนี่เพื่อให้รัสเซียส่งตัวสโนวเดนกลับในฐานะผู้ร้ายข้ามแดน แต่ทีประเทศอื่นอย่างโบลิเวียขอให้สหรัฐฯ ส่งตัวอดีตประธานาธิบดีที่ถูกฟ้องศาลเป็นความอาญาแล้ว สหรัฐฯ ไม่เห็นส่งตัวให้ หรือกรณีเจ้าหน้าที่ซีไอเอ 22 คนที่ศาลอิตาลีรับฟ้องข้อหาลักพาตัวบุคคลและส่งไปทรมานที่อียิปต์ สหรัฐฯ ก็ไม่ส่งตัวให้เช่นกัน

"Snowden should be honored. He was doing what every citizen ought to do," Chomsky says in the video below. "He was telling Americans what the government is doing."

คลังเสียงเสวนา: 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง

คลังเสียงเสวนา: 108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง




รายการคลังเสียงเสวนา สัปดาห์นี้ขอนำเสนอการอภิปรายของนักวิชาการว่าด้วยการนิรโทษ

รายการคลังเสียงเสวนา สัปดาห์นี้ขอนำเสนอการอภิปรายของนักวิชาการว่าด้วยการนิรโทษกรรมนักโทษการ เมือง ในหัวข้อ “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง” ซึ่งจัดขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2556 ที่โรงแรมรัตนโกสินทร์ ถนนราชดำเนิน กรุงเทพฯ โดย ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.)

ผู้อภิปรายประกอบไปด้วย กฤตยา อาชวนิจกุล มหาวิทยาลัยมหิดล, ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์, จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย, นพ.นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ กรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ, ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน, อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์, ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเกียวโต, สุดา รังกุพันธุ์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อภินันท์ บัวหภักดี บรรณาธิการ อนุสาร อสท.และวาสนา มาบุตร มารดาของนักโทษการเมือง

ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ปล่อยนักโทษการเมือง โดยไม่มีเงื่อนไข

ปล่อยนักโทษการเมือง โดยไม่มีเงื่อนไข




Podjana Walai 
Podjana Walai (เลี้ยวซ้าย)

'เกมเอานักโทษการเมืองเป็นตัวประกัน หลีกเลี่ยงหรือคลุมเครือเรื่องทหาร แล้วมาโทษกันเองในขบวน เราถือว่าเป็นเกมที่สกปรกมาก'

"ใครๆ ก็ห่วงใยและเคลื่อนไหวให้ปล่อยนักโทษการเมืองด้วยรูปแบบและวิธีการต่างๆ แต่เราไม่เคยคิดจะผูกขาดแคมเปญนี้ แล้วมาร้องไห้ดราม่าว่าขอให้ปล่อยนักโทษการเมือง หรืออวดสรรพคุณว่าตัวเองทำไรบ้าง หรือทำดีกว่าคนอื่นยังไง ราวกับมานั่งทวงบุญคุณ....

ที่สำคัญนอกจากจะวิจารณ์ฝ่ายตรงข้ามแล้ว ต้องรวมรัฐบาล นักการเมืองเพื่อไทยที่แช่แข็งปัญหา และนปช.ที่เบี่ยงเบนประเด็นเรื่องเอาผิดทหารที่ฆ่าประชาชน....

ราไม่เคยลืมประวัติศาสตร์ ที่ทหารถูกนิรโทษกรรมทุกครั้งหลังทำรัฐประหาร และนักเคลื่อนไหวรุ่นที่ผ่านมาไม่พยามแคมเปญเรื่องเอาอาชญากรรัฐมาขึ้นศาล ถ้าจะแก้ไขกระบวนการยุติธรรมไทย ต้องเริ่มจากสถานการณ์ตรงหน้านี้....

จะไปพูดถึงการปฏิรูประบบยุติธรรมในอนาคตอยู่ทำไม พูดกันจนเมื่อยแล้ว ไม่เห็นเปลี่ยนแปลงอะไรได้สักที เวลาโอกาสมีก็ไม่ทำ"

"ไม่เกี่ยวกับการเมือง???"

"ไม่เกี่ยวกับการเมือง???"
 
 


มันเป็นสิ่งที่น่าแปลกมากที่ตัวแทนฝ่าย "ประชาธิปไตย" หลายคนออกมาให้สัมภาษณ์ในทำนองว่า ม.112 ไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง ล่าสุดนาย วรชัย เหมะ ส.ส. สมุทรปราการ พรรคเพื่อไทย ที่เป็นผู้เสนอร่างนิรโทษกรรมเข้าสู่สภาได้ออกมาให้สัมภาษณ์ว่ายืนยันจุดยืนนี้ว่า ม.112 ไม่เกี่ยวกับการเมือง ดังนี้:

"ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ ไม่ได้นิรโทษกรรมให้กับผู้กระทำผิดตามมาตรา 112 เพราะคดีทำผิดตามมาตรา 112 ไม่เกี่ยวกับเหตุการณ์ทางการเมือง" [1]

คำสัมภาษณ์นี้ขัดแย้งกับข้อเท็จจริงอย่างมากเพราะ มีนักโทษคดี ม.112 จำนวนมากที่เป็นเหตุมาจากการเมืองโดยตรง เช่น
 

- คดี สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถูกตัดสินจำคุก 10 ปี จากการเป็นบรรณาธิการนิตยสารวอยซ์ ออฟ ทักษิณ (Voice of Thaksin) ซึ่งเป็นนิตยสารทางการเมือง [2]

- คดี สุชาติ นาคบางไทร ถูกตัดสินจำคุก 3 ปี จากการปราศรัยทางการเมือง [3]

- คดี สุรชัย แซ่ด่าน ถูกตัดสินจำคุก 12 ปี 6 เดือน จากการปราศรัยทางการเมือง [4]

- ธันย์ฐวุฒิ ทวีวโรดมกุล หรือ หนุ่มเรดนนท์ ถูกตัดสินจำคุก 13 ปี จากการดูแลเว็ปไซต์ทางการเมือง [5] 

แอด มินคิดว่า หากจะบอกว่าเรื่อง ม.112 มันช่วยยาก อุปสรรคเยอะ ช่วยไม่ได้ (ด้วยสาเตุใดก็ตาม) ก็น่าจะพูดมาตรงๆเถิด แต่อย่าพูดว่ามันไม่เกี่ยวข้องกับการเมือง เพราะมันไม่ตรงกับข้อเท็จจริง และอาจทำให้เกิดความสับสน เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนาประชาธิปไตยในระยะยาวได้
 

อ้างอิง
[1] http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20130726/519430/วรชัยยันก.ม.ไม่นิรโทษฯทหาร-ผู้ทำผิดม.112.html
 
 


[2] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/61
 

[3] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/23
 
[4] http://freedom.ilaw.or.th/th/case/46
 
 


[5] https://www.facebook.com/photo.php?fbid=10152952333840551&set=a.10150540436460551.646424.299528675550&type=1&theate  

วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

คนไทยเสียภาษีทุกคน และ คนรวยไม่ได้มีภาระภาษีสูงกว่าคนจนมากนัก

คนไทยเสียภาษีทุกคน และ คนรวยไม่ได้มีภาระภาษีสูงกว่าคนจนมากนัก

 

http://www.matichon.co.th/online/2013/07/13748494571374849530l.jpg 
โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร


มีบทความในหนังสือพิมพ์รายวันฉบับหนึ่งเมื่อเร็วๆ นี้ อ้างถึงข้อมูลกรมสรรพากรที่บอกว่า ในเมืองไทยมีคนเสียภาษีรายได้ในอัตราระหว่าง ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 35 เพียงมากกว่า 3 ล้านคนเท่านั้น ขณะที่อีกเกือบ 7 ล้านคน ได้รับการยกเว้น เพราะมีรายได้น้อยไม่ถึงเกณฑ์ที่ 150,000 บาทต่อปี จึงเห็นว่า ประชาธิปไตยในประเทศนี้มีปัญหา เริ่มแรกเลยถ้าการบริหารจัดการภาษีลักลั่นเช่นนี้ เราจะคาดหวังให้มีความเท่าเทียมกันได้อย่างไร

ข้อมูลที่อ้างมาไม่ ผิด แต่สำหรับผู้อ่านคนชั้นกลางทั่วไปที่ไม่รู้รายละเอียดเรื่องรายได้แหล่ง ต่างๆของรัฐ และภาระภาษีของคนกลุ่มต่างๆ อาจเข้าใจผิดได้ว่า เอาละวา ทั่วเมืองไทยนี้มีมนุษย์เงินเดือนอย่างเราเพียงกว่า 3 ล้านคนเท่านั้นฤๅ ที่เสียภาษีให้รัฐบาลใช้กันโครมโครม อย่างนี้มันก็ไม่แฟร์แน่นอน

แต่ ข้อมูลที่ต้องนำมาพิจารณาประกอบมีมากกว่านี้เช่น ภาษีรายได้บุคคลธรรมดาเป็นเพียงส่วนเสี้ยวของภาษีทั้งหมด และขณะที่อัตราภาษีทางการ คือ ร้อยละ 5 ถึงร้อยละ 35 อัตราเฉลี่ยที่จ่ายจริงคือ ร้อยละ 10 เท่านั้น สาเหตุหลักคือ ผู้มีรายได้สูงได้รับการลดหย่อนมาก และมีจำนวนน้อยมาก

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 2 : ความสัมพันธ์กับกองทัพ




การควบตำแหน่ง รมต. กลาโหมของยิ่งลักษณ์ อาจเป็นเพียงภาพเล็กๆ ของความพยายามต่อรองกับอำนาจทหารที่ เป็นปัจจัยอันดับ 1 ในปัจจัยวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ว่าได้ พร้อมกับงบประมาณกองทัพที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามมาด้วย 


หลังเหตุการณ์ พฤษภา 35 กองทัพถูกเรียกกลับเข้ากรมกอง บทบาทในทางการเมืองเริ่มลดน้อยลง รวมทั้งงบประมาณกองทัพที่ลดน้อยตามไปด้วย กองทัพจึงแทบจะไม่อยู่ในปัจจัยการวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาล หรือถึงอยู่แต่ก็อาจเป็นปัจจัยต้นๆ แต่หลังเหตุการณ์รัฐประหาร 19 ก.ย.49 กองทัพถูกจัดมาเป็นปัจจัยอันดับ 1 ในปัจจัยวิเคราะห์เสถียรภาพของรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งก็ว่าได้ พร้อมกับงบประมาณกองทัพที่เพิ่มขึ้นทุกปีตามมาด้วย

ทหารอาชีพ?

ก่อนรัฐประหาร 19 ก.ย.49 มีการพูดถึงความเป็นทหารอาชีพของทหาร ที่ไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือ อย่างที่นักวิชาการรัฐศาสตร์ชาวอเมริกาคนสำคัญอย่าง ฮันติงตั้น (Samuel Phillips Huntington) เขียนไว้ใน The Soldier and the State: The Theory and Politics pf Civil-Military Relations. Cambridge: Harvard University Press. ปี 1957 ซึ่งอ้างถึงในบทความ “ว่าด้วยการแทรกแซงการเมืองของ "ชายบนหลังม้า" ที่เขียนโดย  พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ เมื่อปลายปี 49 โดยฮันติงตั้น มองว่า "ความเป็นทหารอาชีพ จะไม่ทำให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะทหารในสังคมสมัยใหม่นั้นเป็นนักเทคนิคในการบริหารจัดการความรุนแรงของ รัฐ ซึ่งต่างจากทหารเมื่อสองร้อยปีที่แลวที่เป็นนักรบรับจ้าง หรือทหารของพระราชา.."
ในขณะที่พิชญ์ เองกลับมองว่า "วิธีคิดของฮันติงตั้นวางอยู่บนความ เชื่อที่ว่า "ความเป็นทหารอาชีพ" นั้นมีอยู่แบบเดียวคือต้องไม่ยุ่งเกี่ยวกับการเมือง หรือเป็นกลางทางการเมืองทั้งที่บ่อยครั้งความเป็นทหารอาชีพต่างหากที่ผลัก ดันให้ทหารยุ่งเกี่ยวกับการเมือง เพราะเขาจะเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและองค์อธิปัตย์มากกว่า รัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่"

และความคิดของกองทัพที่สะท้อนออกมาผ่านโอวาทเนื่องในงานพิธีประกาศให้ปี 2555 เป็นปีแห่งการพัฒนาบุคลากรของกองทัพบก ของ พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก เมื่อวันที่ 23 เม.ย.55 ที่ว่า "ให้ทหารทุกนาย เป็นทหารมืออาชีพ พร้อมที่จะก้าวไปสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยเฉพาะในเรื่องของภาษา พร้อมทั้งมีความจงรักภักดี เป็นทหารของพระมหากษัตริย์ และเป็นที่พึ่งของประชาชน.." นั้นแสดงให้เห็นว่าผู้นำกองทัพอย่าง พล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้มองความเป็นทหารอาชีพหรือทหารมืออาชีพแบบเดียวกับฮันติงตั้น แต่มองแบบที่พิชญ์วิเคราะว่าทหารเชื่อว่าเขาเป็นข้าฯรับใช้ประเทศชาติและ องค์อธิปัตย์หรือในที่นี้ พล.อ.ประยุทธ์บอกว่า “ทหารของพระมหากษัตริย์” มากกว่ารัฐบาลที่ปกครองประเทศอยู่

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47880 

9 สะดุดรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ตอน 1: พ.ร.บ. ปรองดอง + นิรโทษกรรม
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47808

วันอาทิตย์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

28กรกฎาคม!!?? ทำไมนายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรที่จะเป็นประมุข

28กรกฎาคม!!?? ทำไมนายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรที่จะเป็นประมุข

 

รูปภาพ : http://goo.gl/CeujzT “๒๘ กรกฎาคม”วันคล้ายวันพระราชสมภพสมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ..ทรงพระเจริญ.. 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์


ใน ยุคแห่งการเปลี่ยนแปลงรัชกาล คนไทยจำนวนมากคงไม่สบายใจเป็นอย่างมากที่ดูเหมือนว่าเจ้าฟ้าชายจะขึ้นมาเป็น ประมุขของประเทศ ถ้า นายวชิราลงกรณ์ ถือเป็นบุคคลธรรมดาที่ไม่มีบทบาทสาธารณะ เราคงจะไม่แสดงความเห็นหรือพิพากษาเขา นอกจากจะมีกรณีที่ก่ออาชญากรรมหรือละเมิดสิทธิของคนอื่น แต่การเป็นประมุข ถือว่าเป็นตำแหน่งสาธารณะ และเป็นตัวแทนของสังคมเราอีกด้วย เราต้องมีความเห็น ถ้าเราไม่ใช่ทาส

ประมุขมีไว้ทำไม? ถ้า ศึกษาประมุขโดยทั่วไป ประมุขอาจมีอำนาจไม่มากก็น้อย อาจมีหน้าที่เชิงพิธีกรรมหรือสัญลักษณ์ หรืออาจถูกอ้างว่าเป็นศูนย์รวมของชาติบ้านเมือง ถ้าประมุขมีอำนาจการเมืองจริง เช่นประธานาธิบดี คนนั้นควรจะมาจากการเลือกตั้งตามระบบประชาธิปไตย เพราะอำนาจอธิปไตยควรอยู่ในมือของประชาชน ไม่ใช่ในมือของเผด็จการหรือคนที่บังเอิญเกิดมาในตระกูลหนึ่ง การมีฐานะพิเศษที่นำไปสู่อำนาจพิเศษในสังคมอันเนื่องมาจากการเป็นลูกใคร ต้องถือว่าเป็นการคอร์รับชั่นชนิดหนึ่ง ซึ่งเห็นในประเทศล้าหลังอย่างเกาหลีเหนือ หรือเผด็จการในประเทศด้อยพัฒนาทั่วไป ถ้านายวชิราลงกรณ์จะขอเป็นประมุขที่มีอำนาจ เขาควรจะลงสมัครรับเลือกตั้ง โดยไม่มีสิทธิพิเศษ และจะต้องแข่งกับผู้อื่นที่เสนอตัวมาตามกติกาประชาธิปไตย

ถ้า ประมุขมีบทบาทเชิงพิธีกรรม สัญลักษณ์ หรือเป็นจุดรวมของชาติบ้านเมืองเท่านั้น อย่างกษัตริย์ยุโรปหรือญี่ปุ่น ประมุขควรจะเป็นตัวอย่างที่ดีของสังคมนั้นๆ เป็นสัญลักษณ์ของสังคมตามที่ประชาชนต้องการ ถ้าเราเข้าใจประเด็นเหล่านี้เราจะเข้าใจว่าทำไมนายวชิราลงกรณ์ไม่สมควรจะ เป็นประมุข และควรจะมีการปรับสภาพเป็นพลเมืองธรรมดาแทน

นาย วชิราลงกรณ์ เป็นคนที่เรียนไม่เก่ง หรืออาจไม่สนใจเรียนก็ได้ ซึ่งถ้าเป็นพลเมืองธรรมดาก็ไม่ควรไปว่ากันตรงนั้น แต่ถ้าจะเป็นประมุขก็ควรสนใจบ้านเมืองและสนใจเรียนและศึกษาเรื่องปัญหาบ้าน เมือง ควรสามารถพูดคุยกับคนที่มีตำแหน่งทางการเมือง ทั้งภายในและภายนอกประเทศได้ ด้วยสติปัญญา แต่นายวชิราลงกรณ์ทำไม่ได้ ไม่เชื่อก็ไปถามคนในวงการทูตก็ได้ นอกจากนี้ประมุขควรปกป้องประชาธิปไตยและสิทธิมนุษยชน แต่ในเหตุการณ์นองเลือด ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙ นายวชิราลงกรณ์ไปให้กำลังใจกับลูกเสือชาวบ้านที่ก่อความป่าเถื่อนในวันนั้น

ประมุข ควรจะเป็นคนที่มีมารยาทระดับหนึ่ง โดยเฉพาะในกิจกรรมทางการ แต่นายวชิราลงกรณ์เคยสร้างปัญหาทางการทูตกับนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นเพราะไม่พอ ใจในเรื่องส่วนตัว นำเครื่องบินที่ตนเองขับไปปิดกั้นเครื่องบินของนายกญี่ปุ่นที่ดอนเมือง และในงานเลี้ยงครั้งใหญ่ครั้งหนึ่งก็ปล่อยให้หมาของตนเองวิ่งไปมาบนโต๊ะ อาหาร ปล่อยให้หมาดมและเลียอาหารในจานของแขกผู้รับเชิญที่มีเกียรติ์ ทั้งไทยและต่างประเทศ โดยที่ไม่มองว่าเป็นการกระทำที่ผิดแต่อย่างใด แสดงว่าไร้คุณสมบัติ ตรงนี้เราไม่พูดถึงข่าวลือต่างๆ นาๆ เรื่องการใช้ความรุนแรงและการเป็นเจ้าพ่อนักเลง ซึ่งควรจะนำมาตรวจสอบอย่างเปิดเผยและเป็นธรรมก่อนที่จะรับตำแหน่งสาธารณะใดๆ

ถ้านายวชิราลงกรณ์จะเป็นประมุขเชิงสัญลักษณ์ของไทย

The Daily Dose ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2556

The Daily Dose 


อังกฤษลงทุนมหาศาลกับ Infrastructure (เหมือนพรบ.2 ล้านล้าน) 

The Daily Dose ประจำวันที่ 26 กรกฎาคม 2556
อังกฤษลงทุนมหาศาลกับ Infrastructure (เหมือนพรบ.2 ล้านล้าน) 
http://www.dailymotion.com/video/x12bds7_อ-งกฤษลงท-นมหาศาลก-บ-infrastructure-เหม-อนพรบ-2-ล 

The Daily Dose ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2556
ราชวงศ์อังกฤษชอบเเทรกเเซงการเมือง 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=x12a0kw

ทำไมควีนอังกฤษยังไม่สละราชสมบัติ ?

ทำไมควีนอังกฤษยังไม่สละราชสมบัติ ?

 

https://encrypted-tbn3.gstatic.com/images?q=tbn:ANd9GcSK99FAsaBd7VU_Xzo4ngQfoJ7ipd-yICm2-kTNSwkJdz24JOBT 
 
รายการ World Update ประจำวันที่ 25 กรกฎาคม 2556 (9.00น.)
- ทำไมควีนอังกฤษยังไม่สละราชสมบัติ ?
- "คอรัปชั่น-เกลียดเพื่อนบ้าน" 2 ปัญหาหลักในการเมืองกัมพูชา
- สโนเดนไม่มีแผนออกนอกรัสเซีย