หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม พ.ศ. 2555

"รีเพลย์"ภาพไต่สวน"เสื้อแดง" ก่อนศาลออก"กฎเหล็ก"คุม

"รีเพลย์"ภาพไต่สวน"เสื้อแดง" ก่อนศาลออก"กฎเหล็ก"คุม

 

 

ไม่ใช่เรื่องที่จะเกิดขึ้นบ่อยนัก เมื่อศาลอาญามีหนังสือเชิญนักข่าว ช่างภาพ ให้มาร่วมประชุมซักซ้อมความเข้าใจ ในวันที่ 1 สิงหาคมที่ผ่านมา

โดย เฉพาะนักข่าวช่างภาพที่มาทำข่าวการไต่สวนคำสั่งเพิกถอนการปล่อยตัวแกนนำ นปช. 24 คน ที่จะมีขึ้นในวันที่ 9 ส.ค. ระหว่างเวลา 09.00-16.00 น.

การ ประชุมซักซ้อมความเข้าใจในวันที่ 1 ส.ค. มีนายจุมพล ชูวงศ์ รองอธิบดีผู้พิพากษาศาลอาญา นางอรอุษา กฤษณะโลม จรัญรัตนศรี เลขานุการศาลอาญา และนายประยุทธ ศิริสัน ผู้อำนวยการสำนักอำนวยการศาลอาญา รับหน้าที่ชี้แจง ท่ามกลางผู้สื่อข่าวช่างภาพจากทุกสำนัก

ศาลอาญา ได้แจ้งว่า อาศัยอำนาจตาม กม.วิธีพิจารณาความแพ่ง มาตรา 30 ประกอบกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 158 ออกข้อกำหนดสำหรับการไต่สวนในวันที่ 9 ส.ค.ดังนี้

ห้ามมิให้ผู้ใด ประพฤติตนในทางที่ก่อให้เกิดความไม่สงบเรียบร้อย ก่อความรำคาญในบริเวณศาล หรือกระทำการในลักษณะที่เป็นการยั่วยุหรือสนับสนุน ในบริเวณศาล

ห้าม ใช้เครื่องขยายเสียงส่งเสียงดัง อันเป็นการรบกวนการพิจารณาของศาล ห้ามวางสินค้ากีดขวางทางเข้าออกศาลอาญา ผู้ฝ่าฝืนมีความผิดฐานละเมิดอำนาจศาล ระวางโทษจำคุก 6 เดือน

สำหรับวันที่ 9 ส.ค.อันเป็นที่มาของการเรียกซักซ้อมความเข้าใจนั้น

นอก จากจะนัดฟังคำสั่งคำร้องที่นายเชาวนะ ไตรมาศ เลขาธิการสำนักงานศาลรัฐธรรมนูญ ยื่นคำร้องขอให้ศาลมีคำสั่งเพิกถอนประกันตัว นายจตุพร พรหมพันธุ์ แกนนำ นปช. อดีต ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย จำเลยที่ 2 ในคดีร่วมกันก่อการร้าย กรณีมีพฤติการณ์เข้าข่ายผิดเงื่อนไขการให้ประกันตัว ขึ้นเวทีปราศรัยที่บริเวณหน้ารัฐสภา กล่าวโจมตีพาดพิง ข่มขู่ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ที่รับคำร้องขอให้วินิจฉัยร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญ 2550

ศาลอาญายังนัดสอบถามจำเลยในคดีร่วมกันก่อการร้ายคนอื่นๆ อีกรวม 23 คน ซึ่งล้วนเป็นแกนนำ นปช.คนสำคัญ 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1343993462&grpid=01&catid=&subcatid=

สื่อกำลังกระทำหรือถูกกระทำ

สื่อกำลังกระทำหรือถูกกระทำ 

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=ovdQNZQObAU&feature=youtu.be

Wake Up Thailand 03สค55

Wake Up Thailand 03สค55

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=DvFOIez-_l0

The Daily Dose 03สค55

The Daily Dose 03สค55 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=rG1LS-bTL3Y&feature=player_embedded

การรับใช้รัฐประหารไม่หมูอีกต่อไป

การรับใช้รัฐประหารไม่หมูอีกต่อไป 

 

 
อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล ย้ำ แถลงการณ์นิติราษฎร์คนพูดประเด็นกฎหมายและหลักการน้อย แต่ถูกบิดเบือนเป็นเรื่องการช่วยทักษิณส่วนใหญ่
 
อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล กล่าวว่า จากการสำรวจพบว่า หลังคณะนิติราษฎร์แถลงข่าวว่า มีคนพูดประเด็นกฎหมายและหลักการน้อยมาก แต่ถูกบิดเบือนเป็นเรื่องการช่วยทักษิณเป็นส่วนใหญ่ ในที่นี้ขอยืนยันว่า สิ่งที่คณะนิติราษฎร์กำลังทำเป็นสิ่งที่ประเทศอื่นทำมาแล้ว และทำด้วยวิธีแตกต่างไป เช่น ในเยอรมัน ฝรั่งเศส โดยเฉพาะประเทศสวิสเซอร์แลนด์ ที่ได้ตรา พ.ร.บ.เพิกถอนคำพิพากษาของศาลที่ลงโทษบุคคลที่ให้ความช่วยเหลือผู้ลี้ภัยจาก นาซี ให้ประกาศความเสียเปล่าของคำพิพากษาเหล่านั้นทั้งหมดและตั้งคณะกรรมการเยียว ยาขึ้นมาชุดหนึ่ง หรือประเทศสเปน หลัง นายพลฟรังโก ออกจากอำนาจและเข้าสู่ประชาธิปไตย แม้รัฐสภาสเปนก็พยายามปรองดองและนิรโทษกรรมให้นายพลฟรังโกไป แต่มีกลุ่มนักสิทธิมนุษยชนและนักกฎหมายบางส่วนรวมทั้งเครือญาติผู้ได้รับผล กระทบ มีความพยายามผลักดันกันในระดับสภาให้มีการเอาโทษผู้ทำการรัฐประหาร เป็นต้น
 
จากกรณีที่กลุ่มนิติราษฎร์เรียกร้องให้ยกเลิกผลทางกฎหมายเฉพาะการรัฐประหาร 19ก.ย. ก็เพราะว่าผลพวงความเลวร้ายยังเกิดอยู่ในปัจจุบันเต็มไปหมด ในเบื้องต้นต้องจัดการกับผลของการรัฐประหารครั้งนี้ก่อน ส่วนการที่บางคนบอกว่าให้ถอยไปเมื่อ 24มิ.ย. 2475นั้น คงเข้าใจผิด นั่นคือการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง เปลี่ยนอำนาจสูงสุดมาเป็นของราษฎรทั้งหลาย เขาเรียก "ปฏิวัติ" และจากการโยงไปที่ศาล แม้จะไม่เกี่ยวกับการรัฐประหารเลย ในเบื้องต้นไม่มีอะไรเกี่ยวอยู่แล้ว แต่บังเอิญว่าเรื่องที่ชงเข้ามาเริ่มจาก คตส. ถึง 2ชุด ชุดแรก มีนายสวัสดิ์ โชติพานิชย์ เป็นประธาน ก่อนตั้งคตส. ชุดใหม่ พอเรื่องเหล่านี้มาถึงศาล ศาลก็ตัดสินจากคดีที่เริ่มมาจากตรงนั้น เราจึงต้องไปลบล้างคำพิพากษาซึ่งมีความสัมพันธ์โดยตรงต่อเนื่องมาจากรัฐ ประหาร 19กันยา
 
อีกประเด็นคือกรณีที่มีนักกฎหมายตั้งข้อสงสัยว่า สิ่งที่คณะนิติราษฎร์ทำไม่ต่างกับรัฐประหารนั้น ต้องขอยืนยันว่าต่างกันชัดเจน แม้กระทั่งเด็กอมมือก็เห็นว่าสิ่งที่มาจากรัฐประหารมาจากคนไม่กี่คน เอามาเทียบกับประชามติของคนทั้งประเทศ ถ้าท่านยืนยันว่าเหมือนกันแปลว่าท่านไม่ให้น้ำหนักของประชาชน เพราะเขาคิดไม่เหมือนท่าน จึงฝากไปยังบรรดาสื่อ นักวิชาการว่า อย่าความจำสั้นเกินไป ก่อนจะวิจารณ์คนอื่น ก็ช่วยพิจารณาการกระทำของตัวเองก่อน เนื่องจากข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์มีคนมาถกเถียงในเนื้อหาน้อยมาก เพราะอะไร เพราะข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ มันบีบพวกท่านไม่เห็นด้วยแบบอัตโนมัติ ทำให้คิดไปโดยปริยายว่า ท่านสนับสนุนรัฐประหาร
 
อย่างไรก็ตาม ตลอดเวลาสัปดาห์ที่ผ่านมา ขอบคุณสื่อมวลชนที่ช่วยกันขยายผลให้เป็นประเด็นร้อนในสังคม อย่างน้อยสังคมไทยได้หันมาฉุกคิดว่ามีวิธีการลบล้างผลพวงการรัฐประหารจริง เป็นผลพลอยได้ ต่อไปนี้รัฐประหารไม่หมูอย่างที่คิด เพราะบรรดานักกฎหมายที่เข้าไปรับใช้กลุ่มที่ฝักใฝ่รัฐประหารก็ทำงานไม่หมู อย่างที่คิด
 
อ.ปิยบุตร กล่าว "จากคำกล่าวของ ฌอง ปอล ซาร์ต ตอนหนึ่งว่า ปัญญาชนต้องผูกมัด (engage) กับสิ่งที่ไม่เป็นธรรมกับการกดขี่ เราก็ผูกมัดตัวเองกับประชาธิปไตยและประชาชน เราไม่ผูกพันตัวเองกับรัฐประหารและวิถีทางที่ไม่เป็นประชาธิปไตย นี่คือการขับเคลื่อนทางความคิด เพื่อให้อุดมการณ์แบบประชาธิปไตยและนิติรัฐได้ลงหลักปักฐาน จนกว่าวันหนึ่งอำนาจสูงสุดจะเป็นของราษฎรทั้งหลายอย่างแท้จริง" 

(คลิกฟัง)
http://news.voicetv.co.th/thailand/19147.html

“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?

“ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี”?

 

รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
จาก “โลกวันนี้วันสุข”
ฉบับวันศุกร์ที่ 3 สิงหาคม 2555


การต่อสู้ขับเคี่ยวกันระหว่างพลังเผด็จการกับพลังประชาธิปไตยในหลายปีมา นี้ แนวรบที่เข้มข้นดุเดือดไม่น้อยไปกว่าการต่อสู้บนท้องถนนและในสภาก็คือ การต่อสู้ทางความคิดและวาทกรรม ระหว่างอุดมการณ์ “ประชาธิปไตยเสรีนิยม” กับความคิดเผด็จการครอบงำในรูปลัทธิราชาชาตินิยมและ “ประชาธิปไตยแบบไทย”

วาทกรรมทหนึ่งที่สร้างความสับสนแม้แต่ในหมู่นักวิชาการฝ่ายประชาธิปไตย ด้วยกันเองก็คือสิ่งที่เรียกว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” (Illiberal Democracy) ใช้เป็นครั้งแรกโดยนายฟารีด ซาคาเรีย (Fareed Zakaria) คอลัมนิสต์ชาวอินเดียสัญชาติอเมริกัน และใช้กันในหมู่นักวิชาการและคอลัมนิสต์ตะวันตกจำนวนหนึ่ง

แนวคิด “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ชี้ว่า ระบอบการเมืองที่มีการเลือกตั้งและ “เป็นประชาธิปไตย” นั้น อาจ “ไม่เป็นเสรีนิยม” คือไม่ให้เสรีภาพขั้นพื้นฐานแก่พลเมืองของตน เช่น รัสเซียและประเทศอดีตสังคมนิยมในยุโรปตะวันออก บางประเทศในเอเชีย เช่น สิงคโปร์ มาเลเซีย ซึ่งมีพรรคการเมืองหลายพรรค มีการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลอยู่ในมือของกลุ่มชนชั้นนำที่จำกัดสิทธิเสรีภาพของประชาชนหลาย ประการ เช่น เสรีภาพในการวิจารณ์รัฐบาลและผู้นำ เสรีภาพในการรวมกลุ่มตั้งสมาคม รัฐควบคุมสื่อมวลชนและหนังสือพิมพ์ ฝ่ายบริหารมีอำนาจเหนือฝ่ายนิติบัญญัติและตุลาการ ใช้วิธีการทั้งในและนอกกฎหมายกับผู้ที่เห็นต่างจากรัฐบาล เป็นต้น ประเทศเหล่านี้จึง “เป็นประชาธิปไตย แต่ไม่เป็นเสรีนิยม”

ในทางตรงข้าม ก็มี “ระบอบอัตตาธิปไตยที่เป็นเสรีนิยม” (Liberal Autocracy) คือ ไม่มีรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง แต่รัฐบาลยังให้ “เสรีภาพขั้นพื้นฐาน” แก่พลเมืองของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง เสรีภาพทางเศรษฐกิจ ระบบตลาดทุนนิยมและวิสาหกิจเอกชน ตัวอย่างเช่น ประเทศในยุโรปก่อนสงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (นายซาคาเรียอ้างถึงออสโตร-ฮังการี) และ ฮ่องกง ในปัจจุบัน ประเทศเหล่านี้จึง “ไม่เป็นประชาธิปไตย แต่เป็นเสรีนิยม”

ก่อนรัฐประหาร 2549 นักวิชาการและคอลัมนิสต์ไทยจำนวนหนึ่งก็นำเอาแนวคิดดังกล่าวมาโจมตีระบอบรัฐ ธรรมนูญ 2540 และรัฐบาลพรรคไทยรักไทยว่า “เป็นประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” คือชนะเลือกตั้งมาอย่างท่วมท้น แต่ใช้อำนาจแบบเผด็จการ ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชน “ฆ่าตัดตอนในสงครามยาเสพย์ติด” “ปราบปรามประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างนองเลือด” ควบคุมแทรกแซงสื่อ ทุจริตคอรัปชั่น แทรกแซงวุฒิสภาและองค์กรอิสระ เป็นต้น

หลังรัฐประหาร คำว่า “ประชาธิปไตยที่ไม่เสรี” ถูกนำมาใช้โจมตีขบวนประชาธิปไตยที่ต่อต้านรัฐประหารและสนับสนุนพรรคการเมือง ของพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ว่า เป็นพวก “ลัทธิเลือกตั้งธิปไตย” ยึดเอาการเลือกตั้งเป็นสรณะหนึ่งเดียวที่รองรับความชอบธรรมทางการเมืองทั้ง ปวง แต่มีเนื้อในที่ “ไม่เป็นเสรีนิยม” เพราะสนับสนุนพ.ต.ท.ทักษิณ ที่เป็นเผด็จอำนาจ ลิดรอนสิทธิเสรีภาพของประชาชน

พบแล้ว! บรรพบุรุษของคนไทย หลังจากต่อสู้เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมานับพันปี

พบแล้ว! บรรพบุรุษของคนไทย หลังจากต่อสู้เรื่องแก้ไขรัฐธรรมนูญมานับพันปี

 

ชัดเลย นี่เป็นบรรพบุรุษของคนไทยอย่างแน่นอน

 

 

(ที่มา)