หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 23 สิงหาคม พ.ศ. 2555

เปิดรายงาน ศปช. ตอนที่ 2/3

เปิดรายงาน ศปช. ตอนที่ 2/3 

 

 

เปิดรายงาน ศปช. "ความจริงเพื่อความยุติธรรม" เหตุการณ์และผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 53
วิทยากรประกอบด้วย
พวงทอง ภวัครพันธุ์ : อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
เกษม เพ็ญภินันท์ อักษรศาสตร์จุฬา
บัณฑิต จันทร์โรจนกิจ รัฐศาสตร์ ม.รามคำแหง
ขวัญระวี วังอุดม สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา ม.มหิดล
กฤตยา อาจวนิชกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม
ศราวุฒิ ประทุมวช สถาบันหลักนิติธรรมและสิทธิมนุษยชน
เสาวลักษณ์ โพธิ์งาม นักกฎหมายอิสระ
พะเยาว์ อัคฮาด แม่พยาบาลน้องเกด
ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์
คารม พลพรกลาง ทนายความ
ดำเนินรายการโดย ยุกติ มุกดาวิจิตร คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม.ธรรมศาสตร์
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม 2555

(คลิกฟัง)

ที่นี่เอเชียอัปเดท 23 8 2012

ที่นี่เอเชียอัปเดท 23 8 2012

 

 

รองศาสตราจารย์ พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ "การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ฉบับ ปี 50"

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=Rgnmssk0gTo&feature=youtu.be

ความเหลื่อมล้ำในละตินอเมริกา ลดลงได้อย่างไร.?

ความเหลื่อมล้ำในละตินอเมริกา ลดลงได้อย่างไร.?


โดย ผาสุก พงษ์ไพจิตร


กลุ่มประเทศละตินอเมริกาได้ชื่อว่ามีความเหลื่อมล้ำด้าน รายได้สูงที่สุดในโลก โดย"ค่าจีนี่" เฉลี่ยสำหรับทั้งภูมิภาคสูงถึง 0.53          เมื่อปีพ.ศ.2549 เทียบกับแอฟริกา ซึ่งเหลื่อมล้ำสูง

ระดับ ถัดไปที่0.46 ตามด้วยเอเชียตะวันออกและแปซิฟิกที่ราวๆ 0.4 (ค่าจีนี่แสดงระดับความเหลื่อมล้ำค่ายิ่งสูงระดับความเหลื่อมล้ำยิ่งสูง)

สำหรับทั้งภูมิภาค ข้อมูลจาก 17 ประเทศ แสดงค่าจี่นี่ลดลงโดยเฉลี่ยร้อยละ 1.1 ต่อปี

นับ ว่าความเหลื่อมล้ำด้านรายได้ลดลงอย่างน่าทึ่งมากทีเดียว แม้ว่าละตินอเมริกาจะยังเป็นภูมิภาคที่มีค่าเฉลี่ยจี่นี่สูงที่สุดอยู่ก็ตาม

มูลเหตุของความเหลื่อมล้ำสูงนั้น มีหลายประการ คือ
(1) ระบบการเมืองที่มีชนชั้นนำเป็นผู้ควบคุมนโยบาย (2) ตลาดเงินกู้ที่กีดกันคนระดับล่าง ทำให้ขาดโอกาสเข้าถึงทางการเงินเพื่อสร้างเสถียรภาพให้แก่ครัวเรือน ขณะที่คนรวยกว่ามีโอกาสมากกว่า (3) โอกาสได้รับการศึกษาไม่เท่าเทียมกัน ทำให้ค่าจ้างแรงงานระหว่างคนงานมีฝีมือกับคนงานไร้ฝีมือต่างกันมาก (4) การเหยียดผิวและการกีดกันผู้หญิง (5) การพุ่งขึ้นของภาคการเงิน (โดยเฉพาะธนาคาร) เมื่อทศวรรษ 1990 ทำให้รายได้ในกลุ่มนี้สูงมากกว่ากลุ่มอื่น
สำหรับคำอธิบายความเหลื่อมล้ำลดลงได้อย่างไรนั้น งานศึกษาของ Lopez Calva และ Lustig เกี่ยวกับ 3 ประเทศที่อ้างถึงข้างต้น

ชี้ ไปที่ปัจจัยหลัก 2 ประการคือ (1) การขยายการศึกษา (จำนวนปี) และการฝึกงาน ที่ได้เกิดขึ้นมาก่อนหน้าคือ เมื่อทศวรรษ 1980 ได้ทำให้ความต่างระหว่างค่าจ้างของคนงานมีฝีมือกับไร้ฝีมือลดลง และ (2) รัฐบาลได้เพิ่มเงินอุดหนุน (transfers) ให้กับคนจน

ปัจจัย (1) นั้นหมายความว่า คนงานไร้ฝีมือมีค่าแรงเพิ่มขึ้น จึงเปิดช่องให้ส่งลูกไปเรียนหนังสือได้มากกว่าเดิมด้วย ดังนั้น นโยบายเพิ่มโอกาสการศึกษาให้แก่สมาชิกครัวเรือนระดับล่างจึงมีผลลดความ เหลื่อมล้ำถึง 2 สถาน เป็นผลดีกับอัตราความเติบโตทางเศรษฐกิจในระยะยาวอีกด้วย

ปัจจัย (2) นั้น มีรายละเอียดบางประการที่

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1345606844&grpid&catid=12&subcatid=1200

ศรีลังกาสั่งปิดมหาลัยทั่วประเทศ เหตุครู-อาจารย์ประท้วงรัฐแปรรูปการศึกษา

ศรีลังกาสั่งปิดมหาลัยทั่วประเทศ เหตุครู-อาจารย์ประท้วงรัฐแปรรูปการศึกษา

 

รัฐบาลศรีลังกาสั่งปิดมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ 13 แห่งจากทั้งหมด 15 แห่งโดยไม่มีกำหนด เหตุอาจารย์รวมตัวกันนัดหยุดงานได้เกือบสองเดือน เพื่อประท้วงการแปรรูปมหา'ลัย และเรียกร้องให้รัฐบาลอุดหนุนงบการศึกษามากขึ้น

เมื่อวันที่ 22 ส.ค. 55 สำนักข่าวบีบีซีรายงานว่า รัฐบาลศรีลังกาได้สั่งปิดมหาวิทยาลัยในเมืองต่างๆ ของศรีลังกาแล้ว 13 แห่ง จากทั้งหมด 15 แห่งโดยไม่มีกำหนดเปิด เพื่อเป็นมาตรการโต้ตอบกับสหภาพครู-อาจารย์แห่งชาติที่ได้นัดหยุดมาแล้ว เกือบสองเดือน ที่ประท้วงการแทรกแซงของรัฐบาลในมหาวิทยาลัย และเรียกร้องให้รัฐเพิ่มเงินอุดหนุนการศึกษามากขึ้น

โดยกลุ่มอาจารย์มหาวิทยาลัย นำโดยสหพันธ์สมาคมอาจารย์มหาวิทยาลัยของศรีลังกา ได้รวมตัวกันนัดหยุดงานทั่วประเทศตั้งแต่วันที่ 4 กรกฎาคมที่ผ่านมา เพื่อคัดค้านการแปรรูปมหาวิทยาลัยของรัฐบาลบางส่วนให้เป็นของเอกชน นอกจากนี้ สหพันธ์ครูและอาจารย์ยังเรียกร้องให้รัฐบาลยุติการแทรกแซงทางการเมืองใน มหาวิทยาลัย เพิ่มงบประมาณอุดหนุนการศึกษาให้เป็นร้อยละ 6 ของจีดีพี (ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ) และเพิ่มเงินเดือนและสวัสดิการอาจารย์มหาวิทยาลัยให้เหมาะสม

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42223

องค์กรริดรอนสิทธิมนุษยชน..โปรดอ่านอีกครั้ง

องค์กรริดรอนสิทธิมนุษยชน..โปรดอ่านอีกครั้ง






สิทธิมนุษยชน แบบไทยไทย ใจสกปรก
รอ นรก ลากคอ พวกตอแหล
ทั้งอคติ บิดเบือน มิเชือนแช
โอบอุ้มแต่ พวกพ้อง พี่น้องมัน....

ไร้สำนึก ชั่วดี อัปรีย์มาก

คำสำราก ปากหมา ช่างน่าขัน
คนของใคร ใยเสแสร้ง แสดงกัน
สุดท้ายมัน ก็หลบเลี่ยง เพื่อเบี่ยงเบน....

พวกไม่คิด สังวรณ์ องค์กรเถื่อน

ทำเลอะเลือน ชั่วช้า มาให้เห็น
สมชื่อพวก ตอแหล แค่กากเดน
เลวไม่เว้น แต่ละวัน พากันทำ....

ปกป้องอุ้มฆาตกร กระฉ่อนนรก

แม้นหยิบยก ล้านเหตุผล จนนั่งขำ
แต่สันดาน โคตรวิปริต จิตใจดำ
ไร้ยุติธรรม ระยำสิ้น ดิ้นช่วยโจร....

ทั้งสับปลับ สาละวน จนเห็นใส้

ใบสั่งใคร ใยสัปดน บนหัวโขน
ช่วยตีแผ่ พวกกาฝาก ถอนรากโคน
แล้วจับโยน ย่ำเหยียบ เสียบประจาน....

ใครสั่งสไนเปอร์

ใครสั่งสไนเปอร์


 
คดีความต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับผู้สูญเสียชีวิตและบาดเจ็บจากคำสั่งใช้ความรุนแรงปราบปรามสลายการชุมนุมเดือนเม.ย.-พ.ค.2553

มาถึงจุดต้องจับตาอีกครั้ง

หลังมีการระบุถึงคำสั่งการใช้พลซุ่มยิง หรือ?สไนเปอร์? ออกมาปฏิบัติการกับผู้ชุมนุม

ระหว่าง ที่หลายคนสงสัยว่าเรื่องดังกล่าวจริงเท็จอย่าง ไร เนื่องจากมีผู้ใหญ่ในบ้านเมืองบางคนที่อยู่ใกล้ชิดเหตุ การณ์ช่วงนั้นออกมาปฏิเสธ

ปรากฏว่ามีเว็บไซต์ข่าวบางแห่งนำเอกสารตีตราลับ ลงวันที่ 17 เม.ย.2553 ออกมาเปิดเผย เป็นหนังสือขออนุมัติแนวทางปฏิบัติในการใช้อาวุธ

ใจความสำคัญอยู่ในข้อ 2.5 ที่ระบุ

กรณี พบความผิดซึ่งหน้าในลักษณะผู้ก่อเหตุใช้อาวุธยิงใส่เจ้าหน้าที่ หรือใช้อาวุธ/วัตถุระเบิดต่อที่ตั้งหน่วยและสถานที่สำคัญ ที่ศอฉ.กำหนด ได้กำหนดให้เจ้าหน้าที่สามารถใช้อาวุธยิงผู้ก่อเหตุเพื่อหยุดยั้งการปฏิบัติ ได้ แต่หากผู้ก่อเหตุอยู่ปะปนกับผู้ชุมนุม จนอาจทำให้การใช้อาวุธของเจ้าหน้าที่เป็นอันตรายต่อประชาชนผู้บริสุทธิ์ ให้งดเว้นการปฏิบัติ ยกเว้นในกรณีที่หน่วยได้จัดเตรียมพลแม่นปืน (Marksmanship) ที่มีขีดความสามารถเพียงพอให้ทำการยิงเพื่อหยุดยั้งการก่อเหตุได้ นอกจากนี้ หากหน่วยพบเป้าหมายแต่ไม่สามารถทำการยิงได้ เช่น เป้าหมายอยู่ในที่กำบัง ฯลฯ หน่วยสามารถร้อง ขอการสนับสนุนพลซุ่มยิง (Sniper) จาก ศอฉ.ได้

ความจริงแท้เป็นอย่างไรต้องติดตามต่อไป

สำหรับแนวทางสอบ สวนคดีการตาย 98 ศพตามที่พนักงานสอบสวนดีเอสไอวางไว้คือ

การเรียกตัว?สไนเปอร์? มาสอบปากคำ จากนั้นก็จะกันตัวไว้เป็นพยาน

เพราะเชื่อว่าในการปฏิบัติการทางทหาร สไนเปอร์ไม่สามารถออกมาซุ่มยิงได้เองตามอำเภอใจหากไม่ได้รับคำสั่งจากผู้มีอำนาจ

คำถามจึงวนกลับมาตรงที่ว่า

แล้วใครคือผู้มีอำนาจสั่งการตอนนั้น


(ที่มา)
http://www.khaosod.co.th/view_news.php?newsid=TUROd2Iyd3dNVEl6TURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd05BPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB5TXc9PQ==

กรณี 98 ศพ จะเอาผิดเฉพาะผู้สั่งการไม่ได้

กรณี 98 ศพ จะเอาผิดเฉพาะผู้สั่งการไม่ได้


 


"อย่ากลัวทหารจนอุจจาระขึ้นสมอง และอย่าเล่นการเมืองจนลืมหลักการทางกฎหมาย เสียชื่อที่เคยเป็นอดีตทหารเก่าและเป็นนักกฎหมายในระดับปริญญาเอก"

ผมไม่เห็นด้วยกับคุณเฉลิม อยู่บำรุง ที่ให้สัมภาษณ์ว่าคดีชันสูตรพลิกศพที่ บชน.เป็นผู้รับผิดชอบ และสิ่งที่ดีเอสไอทำ เป็นไปตามที่มีคนมาร้องทุกข์ว่าให้ดำเนินการกับผู้สั่งการ ไม่ได้ร้องให้ดำเนินคดีกับผู้ปฏิบัติ ส่วนคดีอื่นๆ หากจะให้ดำเนินการ ก็ต้องมีคนมาร้องทุกข์ก่อน

"ผบ.ทบ.ทราบ และเข้าใจดีว่าเราไม่มีเจตนาที่จะไปทำร้ายทำลายกองทัพ ฝากบอกพรรคประชาธิปัตย์ ว่าถ้ามีวิธีคิดดีๆ ว่าจะสั่งดีเอสไอเช็กบิลพรรคประชาธิปัตย์ได้ ช่วยแนะนำผมหน่อยจะได้ฉลองศรัทธา เพราะมันทำไม่ได้ ถ้าไม่ผิดก็คือไม่ผิด และทหารตำรวจไม่เกี่ยวข้อง คนที่สั่งการต้องรับผิดชอบ และผมได้กำชับ ผบช.น.ไปแล้วว่าให้ทำงานไปตามหลักฐาน และอย่าให้สัมภาษณ์” ร.ต.อ. เฉลิมกล่าว(http://www.khaosod.co.th /view_news.php?newsid=TUROd01ERXdNakUzTURnMU5RPT0=&sectionid=TURNd01RPT0=&day=TWpBeE1pMHdPQzB4Tnc9PQ==)

ผมไม่แปลกใจในการให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมที่ออกมาในลักษณะนี้ เพราะประสบการณ์ในอดีตของคุณเฉลิมที่ได้เคยอพยพหลบหนีภัยอย่างหัวซุกหัวซุน จากการปฏิวัติรัฐประหารโดยทหารในอดีตมาแล้ว
แต่ทว่าบัดนี้สถานการณ์เปลี่ยน เวลาเปลี่ยน ข้อเท็จจริงเปลี่ยน ที่สำคัญก็คือผมไม่เชื่อว่าทหารจะลากรถถังมาปฏิวัติรัฐประหารอีกโดยไม่ถูก ต่อต้านจากประชาชน

การให้สัมภาษณ์ของคุณเฉลิมในลักษณะนี้ทำให้เกิดความเข้าใจผิดว่ากรณี 98 ศพนี้จะเอาผิดได้เฉพาะ ผู้สั่งการซึ่งเป็นฝ่ายการเมืองซึ่งหมายถึงคุณอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะในฐานะอดีตนายกรัฐมนตรีและคุณสุเทพ เทือกสุบรรณในฐานะผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉินหรือ ศอฉ. นั้น ไม่เป็นความจริง ไม่ว่าจะเป็นด้วยประเด็นข้อกฎหมายหรือข้อเท็จจริง

จริงอยู่ในกรณีนี้ผู้สั่งการต้องรับผิดชอบอย่างแน่นอนและหลีกเลี่ยงไม่ ได้ แต่ผู้ปฏิบัติก็ต้องรับผิดชอบด้วย เพราะมาตรา 17 ของ พรก.บริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 บัญญัติไว้ว่า

“มาตรา 17 พนักงานเจ้าหน้าที่และผู้มีอำนาจหน้าที่เช่นเดียวกับพนักงานเจ้าหน้าที่ ตามพระราชกำหนดนี้ไม่ต้องรับผิดทั้งทางแพ่ง ทางอาญา หรือทางวินัย เนื่องจากการปฏิบัติหน้าที่ในการระงับหรือป้องกันการกระทำผิดกฎหมาย หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ และไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น แต่ไม่ตัดสิทธิผู้ได้รับความเสียหายที่จะเรียกร้องค่าเสียหายจากทางราชการ ตามกฎหมายว่าด้วยความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”

ซึ่งก็แสดงให้เห็นว่าการคุ้มครองนั้นจะคุ้มครองเฉพาะ “หากเป็นการกระทำที่สุจริต ไม่เลือกปฏิบัติ ไม่เกินสมควรแก่เหตุหรือไม่เกินกว่ากรณีจำเป็น” เท่านั้น
ประเด็นจึงมีอยู่ว่า

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/08/42211