หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2554





โดย ปราปต์ บุนปาน

(ที่มา คอลัมน์สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน ฉบับประจำวันที่ 25 สิงหาคม 2554)

ผู้คนในโลกยุคปัจจุบันอาจไม่ค่อยเชื่อถือในเรื่อง "ความเป็นกลาง" กันแล้ว

อย่างไรก็ตาม ยังน่าสนใจว่า "ความคิด" หรือ "มายาคติ" เรื่อง "ความเป็นกลาง" นั้น เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?

จากมุมมองส่วนตัว ขออนุญาตตั้งสมมติฐานว่า "ความเป็นกลาง" แบบไทยๆ น่าจะเชื่อมโยงกันอย่างใกล้ชิดกับ "การเล่นการเมือง" ผ่านท่าทีของการวางตัวอยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ต่างๆ

ปัญหาของ "ความเป็นกลาง" แบบ "อยู่เหนือความขัดแย้ง" ก็คือ

หนึ่ง คุณจะวางตัว "เป็นกลาง" อยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งได้หรือไม่? หากคู่ขัดแย้งฝ่ายหนึ่งลงมือเข่นฆ่าล่าสังหารผู้คนที่มีความคิดความเชื่อทางการเมืองแตกต่างจากกลุ่มพวกของตน

สอง เรามักพบว่าคนที่ประกาศตนว่าอยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ มิได้มีพฤติกรรมซึ่ง "ไม่ยุ่งเกี่ยว" กับความขัดแย้งหรือผลประโยชน์นั้นๆ เสมอไป

เพราะฐานะอันได้รับการกล่าวอ้าง (ทั้งโดยตนเองและผู้อื่น) ว่าเป็น "คนที่ดีกว่า" "มีคุณธรรมมากกว่า" หรือ "ดูคล้ายจะข้องแวะกับเรื่องราวทางโลกย์อันสกปรกโสมมน้อยกว่า"
ได้กลายเป็นฐานความชอบธรรมให้คนกลุ่มนี้สามารถลงมากำกับ/ควบคุม/จัดการความขัดแย้งต่างๆ และได้รับผลประโยชน์มากมายเป็นการตอบแทน

การฉีกรัฐธรรมนูญ การละเมิดหลักการพื้นฐานในการบริหารปกครองบ้านเมืองนานัปการ นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายนเป็นต้นมา

จนเกิดข้อครหาเรื่อง "2 มาตรฐาน"
ล้วนเกิดขึ้นจากฝีมือของ "คนดี" "คนกลาง" ที่อยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งหรือผลประโยชน์ทางการเมืองกลุ่มนี้ทั้งนั้น

สาม เมื่อสังคมไทยมีแนวโน้มที่จะอนุญาตให้พลเมืองของตนมีอุดมการณ์ทางด้านการเมือง-สังคม-วัฒนธรรม ได้เพียงแบบเดียว

เราก็เลยมี "คนกลาง" ซึ่งอยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งหรือผลประโยชน์เพียงกลุ่มเดียว ที่ยึดมั่นถือมั่นใน "ความเป็นชาติแบบหนึ่ง" "จุดยืนทางการเมืองแบบหนึ่ง" "หลักจริยธรรมคุณธรรมแบบหนึ่ง" (และสังกัดอยู่ใน "ขั้วความขัดแย้ง" ฝ่ายหนึ่ง)

มาคอยทำหน้าที่พิพากษาตัดสินปัญหาความขัดแย้งต่างๆ จาก "โลกทรรศน์" และ "ชีวทรรศน์" เฉพาะตน

โดยไม่ต้องพยายามทำความเข้าใจวิธีการมองโลกและวิถีการดำเนินชีวิตของผู้อื่นฝ่ายอื่นแต่อย่างใด

ทั้งๆ ที่บ่อยครั้งปัญหาเหล่านั้นมักเป็นเรื่องราวในเชิง "คุณค่า" และ "ความคิดความเชื่อ" แบบ "สัมพัทธ์" มิใช่ "สัมบูรณ์"
ขอเพียงแค่กล่าวอ้างว่าข้าพเจ้าอยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งและผลประโยชน์ทั้งปวง หรือข้าพเจ้ากำลังสวมเสื้อคลุม "ความเป็นกลาง" ที่ "ขาวสะอาด" ปราศจากมลทินเท่านั้น ก็เป็นอันจบกัน

คำถามก็คือ ถ้า "ความเป็นกลาง" หมายถึง การแสร้งวางตัวอยู่ "เหนือ" ความขัดแย้งและผลประโยชน์เช่นนี้

"ความเป็นกลาง" ดังกล่าวจะยังมีความจำเป็นอยู่หรือไม่? และมีความชอบธรรมแค่ไหน? ในสังคมไทยร่วมสมัย

และสื่อมวลชนเองยังต้อง "เป็นกลาง" อีกหรือ? หากต้องประพฤติตนเยี่ยง "รากษส" ที่จำแลงร่างเป็น "ฤๅษี" เช่นนั้น

คำถามต่อมาคือ ถ้าสื่อมวลชนต้องเลือกข้างกันจริงๆ แล้วสื่อจะเลือกยืนอยู่ข้างใคร

จะยืนหยัดสอพลอ "ประชาชน" เสียงข้างมาก

หรือสอพลอใครอื่น?



THAILAND STORY

http://www.youtube.com/watch?v=sGbb5gLNTI0&feature=related

THAILAND STORY : WE WILL NEVER AMEND IT

http://www.youtube.com/watch?v=9SvcpN2VlD0&feature=related

THAILAND STORY : ARTICLE 112

http://www.youtube.com/watch?v=p9d17C4mSWg&feature=related

 POLITICAL SYSTEMS
http://www.youtube.com/watch?v=289djiVzyW8&feature=related

THAILAND STORY : HUMANS AND GODS

http://www.youtube.com/watch?v=EZVKJooED_Y&feature=related

เพลงหลังเลือกตั้ง

http://www.youtube.com/watch?v=cW-eIaA7qpU&feature=related 
แด่ผู้กล้าประชาธิปไตย
สุดยอด...
ยอด..ยอด..ยอด... :screaming:
ดูตอนแรกก็หวาดเสียว.. กลัวทหาร(หมาที่เฝ้าหน้าบ้าน)มันจะกัดเอา ก๊าก...ก๊าก...

http://www.youtube.com/watch?v=NSG6V_wBg9U&feature=player_embedded#!
อ้างอิง: http://robertamsterdam.com/thailand/?p=905

พิมพ์ในบทความวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2554


รูปภาพ





บทความแปลโดย: ดวงจำปา
เมื่อวานนี้ ประธานาธิบดีโอบาม่า ได้ลงนามในบทบัญญัติเพื่อนำใช้ในทางกฎหมาย หลังจากที่ได้แถลงการณ์ว่า จะมีผลกระทบกับผู้คนจำนวนหนึ่งซึ่งพยายามเดินทางเข้ามาสู่ประเทศสหรัฐอเมริกา

บท บัญญัติของประธานาธิบดี ว่าด้วยการระงับการเข้าประเทศในฐานะของพลเมืองถาวร และพลเมืองชั่วคราว ซึ่งมีส่วนร่วมในการละเมิดกฎหมายทางสิทธิมนุษยชนและทางมนุษยธรรมอย่างร้าย แรง รวมไปถึงการละเมิดสิทธิในด้านอื่นๆ


บทบัญญัติโดยประธานาธิบดีของประเทศสหรัฐอเมริกา

ประธานาธิบดี บารัค โอบาม่า

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2554


ประเทศ สหรัฐอเมริกาซึ่งยืนหยัดในความมุ่งมั่นต่อความเคารพในเรื่องสิทธิมนุษยชนและ กฎหมายทางด้านมนุษยธรรม มีความปรารถนาว่า ตัวรัฐบาลเองสามารถที่จะรับรองได้ว่า ประเทศสหรัฐอเมริกานั้น ไม่เริ่มกลายเป็นดินแดนสรวงสวรรค์ที่ปลอดภัย ต่อผู้กระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนและกฎหมายทางด้านมนุษยธรรม และผู้ที่ได้มีส่วนร่วมในการกระทำการอื่นๆ ที่ส่อไปในทางผิดกฎหมาย ความเคารพในหลักการสากลของสิทธิมนุษยชนและกฎหมายทางด้านมนุษยธรรมและปกป้อง ความโหดร้ายป่าเถื่อนอย่างทั่วโลก ช่วยส่งเสริมคุณค่าของประเทศสหรัฐอเมริกา และ ผลประโยชน์ต่างๆ ของประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อช่วยในเรื่องของการรักษาความสงบสุข, ยับยั้งการล่วงละเมิด, กระชับข้อบังคับทางกฎหมาย และ ต่อสู้กับอาชญากรรมและการคอร์รัปชั่น, สร้างรูปแบบประชาธิปไตยให้มั่นคงแข็งแรง, และป้องกันวิกฤติการณ์ที่เกี่ยวข้องกับทางด้านมนุษยธรรมทั่วทั้งโลก ดังนั้น ข้าพเจ้า มีความหมายมั่นแล้วว่า เป็นเรื่องผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาที่จะต้องปฎิบัติในการควบคุม จำกัดการเดินทางระหว่างประเทศและยกเลิกการเดินทางเข้าสู่ประเทศสหรัฐ อเมริกา, ในฐานะพลเมืองถาวร หรือ พลเมืองชั่วคราว, กับบุคคลบางกลุ่มโดยเฉพาะ ซึ่งได้มีส่วนร่วมต่อการกระทำที่ได้สรุปความในส่วนที่ 1 ของบัญญัติการปกครองฉบับนี้

ดังนั้น ในขณะนี้, ข้าพเจ้า, นายบารัค โอบาม่า, ด้วยอำนาจที่มอบให้กับตัวข้าพเจ้าในฐานะของประธานาธิบดีตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ และกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา, รวมไปถึง ส่วนที่ 212(เอฟ) ของกฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและเปลี่ยนแปลงสัญชาติของปี พ.ศ. 2495, ตามที่เพิ่มจาก (บทที่ 8 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมิรกา ส่วนที่ 1182(เอฟ), และ ส่วนที่ 301 ของบทที่ 3 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา, ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าได้พบว่า การไม่ควบคุมจำกัดพลเมืองถาวรและพลเมืองชั่วคราวต่อการเดินทางเข้าประเทศ สหรัฐอเมริกา ตามที่กล่าวไว้ในส่วนที่ 1 ของบัญญัติฉบับนี้ จะเป็นผลร้ายอย่างใหญ่หลวงต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ดังนั้น ด้วยประการฉะนี้ ข้าพเจ้าจึงขอบัญญัติไว้ว่า:

ส่วนที่ 1. การเดินทางเข้าประเทศสหรัฐอเมริกา ในฐานะพลเมืองถาวรหรือพลเมืองชั่วคราว ของบุคคลประเภทที่จะกล่าวไว้ จะถูกระงับ ด้วยประการฉะนี้:

(เอ) ชาวต่างชาติใดๆ ซึ่งเคยเป็นผู้วางแผน, สั่งการ, ช่วยเหลือ, อนุเคราะห์อุปถัมภ์ และ หนุนหลัง, มอบหมาย หรือ ถ้าไม่อย่างนั้นได้มีส่วนเข้าไปร่วมกระทำการ, รวมไปถึงการได้รับมอบหมายหน้าที่ต่อการกระทำการตามคำสั่ง, กระทำความรุนแรงอย่างกว้างขวางหรือเป็นไปตามระบบกฎเกณฑ์กับประชากรพลเมือง ใดๆ ที่มีฐานแตกต่างกัน, ไม่ว่าจะเป็นทั้งหมดหรือเพียงบางส่วน, ในเรื่องของ ความต่างทางเผ่าพันธุ์; ต่างสีผิว; ต่างเชื้อชาติวงศ์ตระกูล; ต่างเพศ; ต่างในเรื่องของความพิกลพิการไร้ความสามารถ; เป็นสมาชิกต่างกลุ่มของชนพื้นเมืองโดยกำเนิด; ต่างภาษา; ต่างศาสนา; ต่างความเห็นทางการเมือง; ต่างชาติกำเนิด; ต่างเชื้อชาติ; เป็นสมาชิกที่ต่างกับกลุ่มทางสังคมเฉพาะราย; ต่างการเกิด (อายุ); หรือต่างกันในความปรารถนาทางเพศ หรือ ต่างเอกลักษณ์ทางเพศ; หรือเป็นผู้ที่มีความพยายามหรือสมรู้ร่วมคิดที่เคยกระทำการดังกล่าว

(บี) ชาวต่างชาติใดๆ ซึ่งเคยเป็นผู้วางแผน, สั่งการ, ช่วยเหลือ, อนุเคราะห์อุปถัมภ์ และ หนุนหลัง, มอบหมาย หรือ ถ้าไม่อย่างนั้นได้มีส่วนเข้าไปร่วมกระทำการ, รวมไปถึงการได้รับมอบหมายหน้าที่ต่อการกระทำการตามคำสั่ง, ทางอาชญากรรมสงคราม, ทางอาชญากรรมต่อมนุษยชาติหรือการละเมิดสิทธิอื่นๆ อย่าง้ร้ายแรงทางด้านสิทธิมนุษยชน หรือ หรือเป็นผู้ที่มีความพยายามหรือสมรู้ร่วมคิดที่เคยกระทำการดังกล่าว

ส่วนที่ 2. ส่วนที่ 1 ของบทบัญญัติฉบับนี้ไม่สามารถนำมาใช้กับผู้หนึ่งผู้ใด ที่ไม่ได้ระบุไว้ในส่วนที่ 1 ได้ เมื่อการเดินทางเข้าของบุคคลเหล่านั้น ไม่ได้เป็นความเสียหายต่อผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาต่อความสัมพันธ์ กับทางต่างประเทศ

ส่วนที่ 3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ หรือผู้ที่รัฐมนตรีได้ให้การมอบหมายหน้าที่ ตามดุลพินิจของเขาหรือเธอนั้น จะเป็นผู้ชี้ให้ทราบถึงสถานะของบุคคลที่อยู่ในความครอบคลุมของส่วนที่ 1 ของบัญญัติฉบับนี้ ซึ่งดำเนินการตามมาตรฐานและขั้นตอนที่ตัวรัฐมนตรีเอง สามารถบัญญัติขึ้นมาได้

ส่วนที่ 4. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะมีหน้าที่ในการปฎิบัติตามบทบัญญัติ ฉบับนี้ให้เป็นผลสำเร็จ ซึ่งดำเนินการตามขั้นตอนต่างๆ ตามที่รัฐมนตรีได้บัญญัติขึ้นมา หลังจากได้ปรึกษากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศแล้ว

ส่วนที่ 5. อย่างไรก็ตาม บุคคลใดๆ ที่ได้ถูกระงับการเข้าประเทศตามบทบัญญัติฉบับนี้ จะถูกปฎิเสธต่อการเดินทางเข้าประเทศ นอกจากว่า รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศได้พิจารณาและเห็นว่า การเดินทางเข้าประเทศอย่างเฉพาะรายของบุคคลผู้นั้น จะเป็นผลประโยชน์ของประเทศสหรัฐอเมริกาเอง ในการนำเอาอำนาจนี้มาใช้ในทางปฎิบัติ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศจะต้องปรึกษากับรัฐมนตรีว่าการกระทรวง ความมั่นคงภายในประเทศก่อน ในเรื่องเกี่ยวกับการอนุมัติหรือการปฎิเสธต่อการเดินทางเข้าประเทศ ภายใต้อำนาจของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงความมั่นคงภายในประเทศ

ส่วนที่ 6. ไม่มีส่วนใดในบทบัญญัติฉบับนี้ ที่จะถูกตีความ ให้เกิดเป็นความเสื่อมเสีย จากข้อผูกมัดของรัฐบาลประเทศสหรัฐอเมริกาภายใต้สนธิสัญญานานาชาติ หรือ เพื่อการยกเลิกการเข้าประเทศในเรื่องของคตินิยม, ความคิดเห็น, หรือความเชื่อของคนต่างชาติแต่เพียงลำพัง หรือในเรื่องของการแสดงความคิดเห็นแต่เพียงอย่างเดียว ซึ่งได้ถูกวินิจฉัยแล้วว่า ได้รับการคุ้มครองภายใต้การตีความของประเทศสหรัฐอเมริกา จากสนธิสัญญานานาชาติซึ่งประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศในภาคีอยู่ ไม่มีส่วนใดในบทบัญญัติฉบับนี้ที่จะถูกตีความเพื่อที่จะริดรอนอำนาจของ ประเทศสหรัฐอเมริกา ต่อการอนุมัติหรือปฎิเสธการเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาของบุคคลเฉพาะราย ภายใต้กฎหมายว่าด้วยการเข้าเมืองและการแปลงสัญชาติ (บทที่ 8 ของประมวลกฎหมายของประเทศสหรัฐอเมริกา ส่วนที่ 1101 และส่วนถัดไป) หรือภายใต้บทกำหนดอื่นๆ ของกฎหมายในประเทศสหรัฐอเมริกา

ส่วนที่ 7. บทบัญญัติฉบับนี้ ไม่ได้มีความมุ่งหมายและไม่ได้ สร้างสิทธิ์หรือผลประโยชน์, เนื้อหาหรือกระบวนการใดๆ ที่บังคับใช้ตามกฎหมายหรือโดยความเสมอภาคโดยกลุ่มคณะใดๆ ต่อประเทศสหรัฐอเมริกา, รวมไปถึง กระทรวงทบวงกรม, หน่วยงาน หรือ องค์กรนิติบุคคล หรือ ผู้ปฎิบัติงาน, พนักงานของรัฐ หรือ เจ้าหน้าที่หรือ บุคคลอื่นๆ ของประเทศ

ส่วนที่ 8. บทบัญญัติฉบับนี้ มีผลนำไปใช้ต่อการปฎิบัติได้โดยทันทีและจะมีผลบังคับใช้อยู่จนกระทั่ง รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ ได้เห็นควรแล้วว่า มันไม่มีความจำเป็นอีกต่อไปและควรที่จะสิ้นสุดลงเสีย ซึ่งอาจจะเป็นในบทบัญญัติทั้งหมดหรือเป็นแต่เพียงบางส่วน ในการสิ้นสุดการปฎิบัตินั้น จะเป็นผลได้ก็ต่อเมื่อได้มีการประกาศพิมพ์อยู่ในทะเบียนกลางของทางรัฐบาล เรียบร้อยแล้ว

ข้าพเจ้าขอลงนาม ต่อการเป็นพยาน ณ สถานที่แห่งนี้ ในวันที่ สี่ ของเดือน สิงหาคม ในปี สองพันสิบเอ็ดขององค์พระผู้เป็นเจ้า และเป็นปีที่สองร้อยสามสิบหกในการประกาศอิสรภาพของประเทศสหรัฐอเมริกา

ลงนาม:
บารัค โอบาม่า



ความเห็นของผู้แปล:

บุคคล หรือกลุ่มที่เข้าข่ายกับกฎหมายฉบับนี้ ก็คือกลุ่มล่าแม่มดทาง Facebook เพราะเข้าข่ายกับบุคคลในส่วนที่ 1 ของกฎหมายค่ะ เขียนไปให้กับสถานฑูตฯ ให้เป็นบุคคลที่อยู่ในบัญชีดำก็ได้

Update: คุณบังสุกุล เสนอความเห็นที่เป็นประโยชน์มากค่ะ (อยู่ข้างล่างค่ะ) เพราะกฎหมายใช้บังคับย้อนหลังไม่ได้ ต้องเป็นหลังวันที่ 4 สิงหาคมเป็นตันไป ดังนั้น พวกกลุ่มล่าแม่มด ซึ่งยังกระทำอยู่ในปัจจุบัน รวมไปถึง ท่านผู้บริหารฝ่ายรัฐบาล ที่กล่าวออกมาว่า จะทำการไล่ล่าชาวบ้านน่ะ พูดกันเมื่อไม่กี่วันมานี่เอง (ก็เป็นหลังจากวันที่ 4 นะคะ เพราะวันนี้เป็นวันที่ 28 สิงหาคมแล้ว) เผลอๆ บุคคลที่พูดไว้หลายท่าน อาจจะต้องแก้ไขหน่อยก็แล้วกันว่า จะต้องพูดแบบใด ไม่อย่างนั้น ก็จะขึ้นอยู่บนบัญชีดำของประเทศสหรัฐอเมริกาก็ได้นะคะ

แต่ในรูปการเขียนเกี่ยวกับการกระทำ ส่วนที่ 1 ใช้ past tense (ไวยากรณ์ในรูปอดีตกาล) ทั้งหมดในเรื่องการกระทำดังกล่าว
(Any alien who planned, ordered, assisted, aided and abetted, committed or otherwise participated in,) ดังนั้น ดิฉันจึงใช้คำว่า "เคยกระทำ"ใน การแปล ซึ่งแสดงให้เห็นว่า การกระทำเหล่านั้น ได้เกิดขึ้นในอดีต "ก่อน" วันที่ 4 สิงหาคม 2554 อันนี้ อยู่ที่การตีความของท่านผู้อ่านเองก็แล้วกันว่าคิดอย่างไร

ในทาง Common Law นั้น ถ้าบุคคลที่เคยกระทำการละเมิดสิทธิมนุษยชนแบบนี้มาก่อนวันที่ 4 สิงหาคม 2554 จะเข้าประเทศสหรัฐอเมริกาได้หรือเปล่า? ส่วนที่ 1 ของกฎหมายก็คงจะตอบไว้แล้ว นอกจากจะเอา ส่วนที่ 5 เข้ามาประกอบเป็นในการพิจารณาคดีเป็นเฉพาะรายไป

ดวงจำปา

โต้สมาคมผู้สื่อข่าว ท่านนั้นแหละที่ไม่ปรับตัว?!?

สมาคมสื่อประณามให้ไว คุกคามจะๆ ชัดเจนทั้งภาพและเสียง
 ช็อตเด็ดวันโน้น

รูปภาพ
รูปภาพ

รูปภาพ

Thai Politics พธม.ยึด NBT 2551 08 26

http://www.youtube.com/watch?v=HPFddifQNQo&feature=player_embedded

น.ส.ตวงพร อัศววิไล ผู้ประกาศข่าวโทรทัศน์เอ็นบีที เปิดเผยว่า

ทราบ ข่าวตั้งแต่เวลา 06.00 น. วันที่ 26 สิงหาคม ว่ามีกลุ่มชายฉกรรจ์บุกเข้ามาที่สถานี จึงรีบออกจากบ้านไปสถานี แต่ไม่สามารถเข้าทางประตูหน้าได้ ต้องมุดป่าเข้าไป
พอก่อน 07.00 น. เจ้าหน้าที่ตำรวจเข้ามาเคลียร์สถานการณ์ไว้ คือกลุ่มที่บุกเข้ามาพร้อมอาวุธปืน ใบกระท่อม พอมาถึงเราเห็นเหมือนกัน ก็เตรียมการออกข่าวปกติถึง 08.00 น. เตรียมตัวเข้าไปแต่งหน้ารายงานข่าวเกาะติดสถานการณ์ พอถึงตอนนั้นเหตุการณ์ตึงเครียดมาก เพราะกลุ่มพันธมิตรมาปิดทางเข้าออกที่สถานี


มีแกนนำมาคือ นายอมร อมรรัตนานนท์ ทางด้านหน้า และนายวัชระ เพชรทอง ปิดทางออกด้านหลังและปราศรัยผ่านเครื่องขยายเสียงโจมตีสถานีโทรทัศน์เอ็นบี ทีว่าจะบุกเข้ามาสถานีเมื่อพร้อมนอกจากนี้ ยังพูดกันว่าจะมาต่อเชื่อมสัญญาณเอเอสทีวีออกอากาศทางตำรวจนำกำลังมาเพื่อ รักษาความปลอดภัย


พอเวลา 08.30 น. ทางกลุ่มพันธมิตรบุกเข้ามา ด้านนายสุรยงค์ หุณฑสาร ผู้อำนวยการเอ็นบีทีได้ออกมาบอกให้พนักงานทุกคนออกอากาศจนนาทีสุดท้าย แต่ไม่นานนักมีการตัดไฟทั้งตึก เป็นเหตุให้เอ็นบีทีจอมืดไปช่วงหนึ่ง ต่อมามีกลุ่มชายฉกรรจ์ปิดหน้าปิดตาทุบกระจกเข้ามา ตำรวจให้ช่างภาพสถานีถ่ายไว้เป็นหลักฐาน ดิฉันอยู่ตรงห้องแต่งหน้า


มี กลุ่มพันธมิตรเข้ามา มีการโห่ไล่ ด่าว่าขายชาติ แต่ยังดีที่เจ้าหน้าที่พันธมิตรที่เปิดเผยหน้าตาช่วยกันคนออกไปแล้วพาไปอยู่ กับตำรวจ พอไปถึงก็ถูกล้อมกรอบโดยกลุ่มพันธมิตรที่อยู่ด้านหลัง โดนขว้างปาด้วยขวดน้ำ และโดนน้ำสาด 

ดีที่นายวัชระ เพชรทอง ออกมาทำความเข้าใจว่าเราเป็นสื่อมวลชน เราทำหน้าที่ของเรา แล้วเป็นคนไทยด้วยกัน ต้องขอบคุณตรงนี้มากๆ ดิฉันต้องปีนรั้วออกไปเพราะออกทางประตูหลังไม่ได้ จากเหตุการณ์นี้มีผู้บาดเจ็บเล็กน้อย 1 ราย คือนายดุสิต ชมทา ช่างภาพเอ็นบีทีซึ่งถูกดึงลงมาจากกำแพงขณะถ่ายภาพจากมุมสูง

หลัง จากนั้น ไปออกอากาศรายงานสถานการณ์ร่วมกับคุณจิรายุ ห่วงทรัพย์ จากสถานที่ออกชั่วคราว แต่ออกได้ประมาณ 45 นาที ก็ได้รับรายงานข่าวว่ากลุ่มพันธมิตรกำลังเดินทางมาปิดล้อม จึงถอนตัวออกไปเพราะไม่อยากให้เจ้าของสถานที่ได้รับความเดือดร้อน


เครดิต
http://thaienews.blogspot.com/2011/08/7_27.html

:search: อยู่ไหนสมาคมสื่อฯ และพวกผู้สื่อข่าวที่มีจรรยาบรรณสูงทั้งหลาย
ไม่รู้ว่าไอ้พวกที่มันไปบุกเค้าเรียกว่าอะไร.....ทั้งภาพทั้งเสียงหลักฐานชัดเจน
ชื่อวัชระอีกหล่ะ ไอ้นี่!! ติดขบวนทุกเรื่องเลย

แนะนำ “สังคมนิยม” และความคิด “มาร์คซิสต์ เบื้องต้น

สังคมนิยมคืออะไร
   
“สังคมนิยม” เป็นระบบที่มนุษย์ฝันถึงมานาน ตั้งแต่เกิดสังคมชนชั้นที่ไร้ความเสมอภาคและความยุติธรรม ในสมัยก่อนเขาอาจไม่เรียกว่า “สังคมนิยม” แต่มันมีความหมายเดียวกัน นักสังคมนิยมที่ทำความเข้าใจกับระบบเศรษฐกิจและสังคมปัจจุบันอย่างเป็นระบบ เพื่อหาทางปฏิวัติไปสู่สังคมนิยม คือ คาร์ล มาร์คซ์ และเพื่อนเขาชื่อ เฟรดเดอริค เองเกิลส์
   
พวกเราชาว “มาร์คซิสต์” เชื่อว่าสังคมนิยมต้องมาจากการกระทำของชนชั้นกรรมาชีพส่วนใหญ่เอง ไม่ใช่มาจากการวางแผนโดยคนคนเดียว หรือกลุ่มคนชั้นสูงในวงแคบๆ หรือผู้นำพรรค หรือกองทัพปลดแอก ดังนั้นสังคมนิยมจะมีลักษณะตามที่กรรมาชีพและพลเมืองส่วนใหญ่พึงปรารถนา อย่างไรก็ตาม ถ้าเราจะสร้างสังคมใหม่ที่เป็นสังคมนิยม มันน่าจะมีคุณสมบัติพื้นฐานดังนี้คือ
   
1.เป็นประชาธิปไตยสมบูรณ์ ไม่ใช่ประชาธิปไตยครึ่งใบอย่างทุนนิยมซึ่งอำนาจควบคุมการผลิตเป็นของนายทุน ทั้งนี้เพราะในระบบสังคมนิยมระบบเศรษฐกิจการผลิตจะถูกควบคุมโดยพลเมืองทุกคน ดังนั้นสังคมนิยมจะเป็นระบบก้าวหน้า ที่ปลดแอกมนุษย์อย่างที่ไม่เคยพบเห็นมาก่อนในประวัติศาสตร์
   
2.ในระบบสังคมนิยมจะมีการวางแผนการผลิตเพื่อตอบสนองความต้องการของมนุษย์ทุก คน ไม่ใช่เพื่อสะสมอาวุธ หรือเพื่อการหวังกำไรของคนส่วนน้อย จะเป็นระบบที่มีความเสมอภาคเต็มที่ ไม่มีคนรวย ไม่มีคนจน ไม่มีการกดขี่ทางเพศหรือเชื้อชาติ

3.ในระบบสังคมนิยมจะยกเลิกการขูดรีดของนายทุน โดยการยกเลิกสิทธิ์อันไร้ความชอบธรรมของคนบางคน ที่จะควบคุมปัจจัยการผลิตอย่างผูกขาดแล้วนำกำไรเข้ากระเป๋าตนเองหรือลงทุน เพื่อหากำไรเพิ่ม ทุกสถานที่ทำงานจึงต้องเป็นของคนงานเอง ของสังคมโดยรวม ไม่มีเจ้านาย ไม่มีชนชั้น บริหารกันเอง ทรัพยากรของโลกจะเป็นของส่วนรวม ดังนั้นการกดขี่แย่งชิงกันระหว่างชาติก็จะหมดไป
   
4.มนุษย์จะสามารถพัฒนาตนเองได้เต็มที่ ไม่ใช่ว่าบางคนมีงานทำที่น่าสนใจ และคนอื่นต้องทำงานซ้ำซาก การทำงานของพลเมืองควรจะเป็นเรื่องที่สร้างความภาคภูมิใจ และสนับสนุนความสร้างสรรค์ของเราทุกคน พลเมืองทั้งสังคมจะได้มีศักดิ์ศรีและได้รับความเคารพรักซึ่งกันและกัน

สังคมนิยมสองรูปแบบ
   
เมื่อเราพูดถึงสังคมนิยม มักจะมีคนนึกถึงระบบเผด็จการในรัสเซียหรือจีน หรือบางครั้งอาจนึกถึงระบบพรรคสังคมนิยมประชาธิปไตยภายใต้ทุนนิยมในประเทศ สแกนดิเนเวีย อังกฤษ หรือออสเตรเลีย แต่แนวคิดสังคมนิยมมีสองรูปแบบที่แตกต่างกันคือ
   
1.สังคมนิยมจากบนสู่ล่าง ซึ่งประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสร้างหรือบริหาร เช่นสังคมนิยมที่มาจากการสร้างเผด็จการของกลุ่มข้าราชการพรรคคอมมิวนิสต์ใน จีน ลาว คิวบา เกาหลีเหนือ หรือรัสเซีย(ภายใต้สตาลิน) หรือสังคมนิยมปฏิรูปที่มาจากการกระทำของ ส.ส. พรรคสังคมนิยมในรัฐสภา สังคมนิยมดังกล่าวเป็นสังคมนิยมประเภท “ท่านให้” ซึ่งเป็นสังคมนิยมจอมปลอม เป็นการประนีประนอมกับระบบกลไกตลาดเสรีของทุนนิยมและอำนาจนายทุน หรือไม่ก็เป็นเผด็จการข้าราชการแดงของพรรคคอมมิวนิสต์ที่กดขี่ขูดรีดประชาชน
   
2.สังคมนิยมจากล่างสู่บน เป็นสังคมนิยมที่สร้างโดยมวลชนกรรมาชีพเอง ร่วมกับชาวนาระดับยากจน โดยอาศัยการปฏิวัติล้มระบบทุนนิยมเพื่อสถาปนารัฐกรรมาชีพ และรัฐกรรมาชีพดังกล่าวต้องมีกลไกในการควบคุมรัฐตามแนวประชาธิปไตยอย่าง ชัดเจน เช่นต้องมีสภาคนงานในรูปแบบคอมมูนปารีส หรือสภาโซเวียตหลังการปฏิวัติรัสเซีย 1917 สมัย เลนิน สังคมนิยมประเภทนี้คือสังคมนิยมแบบ “มาร์คซิสต์” เพราะสังคมนิยมเหมือนกับประชาธิปไตยหรือสิทธิเสรีภาพอื่นๆ ไม่มีใครยกให้ได้ ต้องมาจากการต่อสู้เรียกร้องของมวลชนเอง นี่คือสังคมนิยมที่เราชื่นชมและอยากได้
   
สังคมนิยมมาร์คซิสต์ แตกต่างจากเผด็จการคอมมิวนิสต์แบบ “สตาลิน-เหมา เจ๋อ ตุง” ที่พรรคคอมมิวนิสต์ทั่วโลกนำมาใช้ใน รัสเซีย จีน ลาว เขมร เวียดนาม คิวบา หรือ เกาหลีเหนือ และที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเสนอ 
เนปาล
   
ถ้าเราไปดูประเทศเนปาล เราจะได้บทเรียนเพิ่มเติม ในเนปาลพรรคคอมมิวนิสต์สายเหมา เจ๋อ ตุง ใช้วิธีจับอาวุธสู้กับเผด็จการทุนนิยมของกษัตริย์เนปาล การต่อสู้นี้บวกกับการต่อสู้ของมวลชนในเมือง เช่นนักศึกษาและสหภาพแรงงาน ในที่สุดนำไปสู่ชัยชนะของพรรคคอมมิวนิสต์ในการเลือกตั้ง มีการยกเลิกสถาบันกษัตริย์ แต่ระบบที่พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลเสนอคืออะไร? พรรคคอมมิวนิสต์เนปาลต้องการกลไกตลาดเสรีของนายทุน!! และต้องการส่งเสริมการลงทุนจากต่างชาติ!! ซึ่งแปลว่าต้องคงไว้การขูดรีดกรรมกรและเกษตรกร เพียงแต่เปลี่ยนประเทศไปเป็นสาธารณะรัฐเท่านั้น
   
การจับอาวุธปฏิวัติของพรรคคอมมิวนิสต์เนปาล จึงเป็นการต่อสู้เพื่อประนีประนอมกับระบบทุนนิยม แต่ข้อแตกต่างกับไทยคือ ในเนปาลไม่มีนายทุนใหญ่อย่างทักษิณที่มีอิทธิพลต่อขบวนการและสามารถดึงการ ต่อสู้ไปเพื่อคงไว้ระบบเดิมที่มีระบบกษัตริย์ภายใต้รัฐธรรมนูญ
   
ประชาธิปไตยแท้จะเกิดจากการเปลี่ยนประมุขอย่างเดียวไม่ได้ มันต้องมีการยึดอำนาจโดยประชาชนในทุกเรื่อง ทั้งการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม แต่ถ้าเรายกอำนาจให้นายทุนดำรงอยู่และขูดรีดต่อไป และถ้าเราเกาะติดนายทุนใหญ่ในขณะที่เขาประนีประนอมกับอำมาตย์ทุนนิยม เราก็จะปลดแอกสังคมไม่ได้
   
การจับอาวุธหรือสร้างกองกำลัง เป็นการตัดขาดบทบาทมวลชนจำนวนมาก เป็นการผูกขาดสิทธิที่จะกำหนดแนวทางโดยแกนนำเผด็จการใต้ดิน ถ้ามีการถกเถียงเกิดขึ้นในแกนนำ จะใช้ปืนแทนปัญญาในการตัดสิน และเมื่อมีการลดบทบาทหรือสลายพลังมวลชน เราไม่สามารถสร้างประชาธิปไตยแท้ที่พลเมืองนำตนเองและร่วมสร้างสังคมใหม่ได้
วันหยุด ลดเครียด

"เจาะจ๋องฟาดหน้า" 

http://www.youtube.com/watch?v=V5wQn4AN0zg&feature=player_embedded#!