หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2554

วิกิลีกส์ พร้อมเผยแพร่เวอร์ชั่นไม่มีการเซนเซอร์ชื่อผู้เกี่ยวข้อง

หลังจากข้อมูลใน วิกิลีกส์ กลายเป็นสิ่งที่เขย่าโลกในช่วง 1 – 2 ปีที่ผ่านมา ล่าสุดมีรายงานว่าทางวิกิลีกส์ พร้อมจะเสนอเอกสารต่างๆในเวอร์ชั่นเต็มชนิดไม่มีการอำพรางชื่อผู้เกี่ยวข้อง แบบที่ผ่านๆมาๆ

ในปัจจุบันวิกิลีกส์ ถือครองเอกสาร ลับของสหรัฐอเมริกาไม่ต่ำกว่า 251,000 ชิ้น ข้อถกเถียงอย่างหนึ่งก็คือหากมีการเปิดเผยชื่อจริงๆ คนที่เกี่ยวข้องกับเรื่องต่างๆนั้นจะตกอยู่ในอันตรายหรือไม่ เรื่องนี้ถูกประนามจาก 5 สื่อรายใหญ่ของโลกอย่าง Der Speigel, New York Times, El Pais, The Guardian และ Le Monde โดยทางหน่วยงานดังกล่าวแถลงจุดยืนว่า “เราขอประนามเหตุการณ์ดังกล่าวที่จะมีการเผยแพร่เอกสารฉบับเต็ม พวกเขา(วิกิลีกส์) กำลังจะทำให้แหล่งข่าวตกอยู่ในอันตราย” และยังกล่าวไปว่า “การตัดสินใจครั้งนี้เป็นการตัดสินใจของ จูเลียส แอสซาจ (ผู้ก่อตั้งวิกิลีกส์) คนเดียวเท่านั้น”

จูเลียน แอสซาจ ชายผู้กุมความลับของคน(เกือบ)ทั้งโลก - ภาพจาก Times
จูเลียน แอสซาจ ชายผู้กุมความลับของคน(เกือบ)ทั้งโลก - ภาพจาก Times

ซึ่งรายงานที่จะถูกเผยแพร่ออกมาใหม่นั้นจะมีแหล่งที่มาทั้ง เหยื่อในการล่วงละเมิดทางเพศในหน่วยงานราชการ,ประชาชนในพื้นที่ที่ประท้วง การทำงานของภาครัฐ และ รายละเอียดในพื้นที่อ่อนไหวของภาครัฐ
องค์กรสื่อไร้พรมแดน หน่วยงานที่ทำงานด้านสิทธิของสื่อมวลชน ได้ให้ความเห็นว่า ในบางพื้นที่ที่มีความอันตรายต่อผู้แจ้งเบาะแส เช่น อัฟกานิสถาน อิหร่าน อิสราเอล และจอร์แดน นั้นไม่ควรจะเปิดเผยชื่อ
วิกิลีกส์ กำลังจะเปิดเผยสิ่งที่อเมริกาซ่อนไว้ใต้พรม
วิกิลีกส์ กำลังจะเปิดเผยสิ่งที่อเมริกาซ่อนไว้ใต้พรม

SIU อยากให้จับตาความเคลื่อนไหวครั้งนี้น่าจะสร้างความเปลี่ยนแปลงและความฮือฮา ให้กับวงการการต่างประเทศ โดยข้อถกเถียงเรื่องความเหมาะสมหรือไม่ในการเปิดเผยข้อมูลนั้น อาจขึ้นอยู่กับกฏเกณฑ์ของในแต่ละประเทศ สำหรับประเทศไทยนั้นหลายๆครั้งก็มีส่วนเกี่ยวข้องกับวิกิลีกส์ แต่ทางการไทยได้ดำเนินการสกัดกั้นเนื้อหา ซึ่งในความเป็นจริงไม่สามารถสกัดกั้นได้ในโลกที่ไร้พรมแดนเช่นนี้

ใจ อึ๊งภากรณ์: แกนนำเสื้อแดงไม่ยอมพูดความจริงทั้งหมดกับมวลชน



ในงาน "คอนเสิร์ตต้อนรับวันอิสรภาพ ลมหายใจที่ไม่แพ้" ของเสื้อแดงเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2554 ที่ชั้น 6 ห้างสรรพสินค้าอิมพีเรียล ลาดพร้าว แกนนำหลายคนได้แสดงจุดยืนเกี่ยวกับรัฐบาลใหม่ ซึ่งเราจะต้องนำมาวิเคราะห์ (ดูคลิปวิดีโอได้ที่ http://thaienews.blogspot.com/ )

บก.ลายจุด สมบัติ บุญงามอนงค์ เสนอว่า “เสื้อแดงเป็นกองหลัง เพื่อไทยเป็นกองหน้า” บอกว่าเสื้อแดงกับเพื่อไทยต้องเกาะกันสนิท และเชื่อว่าคนของเราที่คุมอำนาจอยู่ ท้ายสุดสมบัติมีความหวังว่านายกยิ่งลักษณ์จะนำคนที่สั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาล ประชาชน

ณัฐวุฒิ ไสยเกื้อ บอกว่าจะเดินหน้าหาทางประกันคนเสื้อแดงทั่วประเทศ 40 คนที่ยังถูกขังอยู่ ณัฐวุฒิเสนออีกว่าต้องปรับวิธีทำงานของคนเสื้อแดง เน้นการขยายมวลชน บอกให้คนเสื้อแดงใจเย็นไปก่อน รอให้แกนนำนปช.กำหนดแนวทาง และมองว่าเราต้องปกป้อง “รัฐบาลของประชาชน”

จตุพร พรหมพันธ์ บอกว่าคนเสื้อแดงต้องปกป้องรัฐบาลเพื่อไทยจากรัฐประหาร อย่างที่เคยเกิดกับรัฐบาลไทยรักไทยและพลังประชาชน จตุพรบอกด้วยว่าฆาตกรที่สั่งฆ่าประชาชนยังมีตำแหน่งและลอยนวล เราไม่ควรลืม

แกนนำเหล่านี้เป็นคนที่กล้าหาญเสียสละและต่อสู้มานาน แต่ตอนนี้เขามีแนวโน้มที่จะไว้ใจรัฐบาลเพื่อไทยมากเกินไปว่าจะแก้ไขวิกฤตการ เมือง เช่นเรื่องการนำคนสั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาล โดยไม่มีการวิเคราะห์เลยว่าเพื่อไทยพร้อมจะปรองดองยอมจำนนต่อทหารแค่ไหน ไม่เตรียมมวลชนสำหรับการต่อสู้เพื่อความเป็นธรรมเลย ซึ่งเราอาจต้องสู้เพื่อกดดันรัฐบาล หรืออาจต้องถึงกับคัดค้านรัฐบาลในบางเรื่องด้วย แกนนำเหล่านี้มองว่าเสื้อแดงต้องไว้ใจรัฐบาลให้โอกาสรัฐบาล และใจเย็นรอเป็นปีๆ เพื่อให้มีการแก้รัฐธรรมนูญ การพูดแบบนี้เป็นการเสนอมุมมองว่าเสื้อแดงเป็นแค่ “กองเชียร์” หรือ “ลูกน้อง” ของรัฐบาล แทนที่เสื้อแดงจะเป็นขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อความยุติธรรมและ ประชาธิปไตย

การเสนอว่าเสื้อแดงควรใช้เวลาตอนนี้ในการขยายเครือข่ายมวลชน เป็นเรื่องดี แต่สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือไม่ระบุว่าการขยายมวลชนเสื้อแดง ควรเน้นไปที่ไหน ไม่พูดถึงความสำคัญของขบวนการแรงงาน พูดแค่ว่าเราควรหามิตรให้มากที่สุด ซึ่งอาจหมายความว่าต้องไปจับมือกับเสื้อเหลืองหรือเปล่า? ยิ่งกว่านั้นการเสนอให้ขยายเครือข่ายมวลชน โดยไม่ขยายผลงานในรูปธรรมของเสื้อแดงพร้อมๆ กัน เช่นเรื่องการเคลื่อนไหวให้ยกเลิก 112 การเลิกคดีคนเสื้อแดง การปลด ผบ.ทบ. หรือการแจ้งความ อภิสิทธิ์ สุเทพ อนุพงษ์ ประยุทธ์ ในคดีฆ่าประชาชน จะทำให้ขยายมวลชนอยากมาก เพราะเราจะต้องมีผลงานรูปธรรมไปเสนอกับคนที่ยังไม่เป็นเสื้อแดงเพื่อให้เขา มาเป็นพวก

บางคนอาจบอกว่าถ้าเรารุกสู้แบบนั้น เราจะดึงเสื้อเหลืองมาเป็นมิตรไม่ได้ ถ้าคิดอย่างนั้นก็เท่ากับคิดยอมจำนนกับอำมาตย์ เพื่อนำเสื้อเหลืองมาเป็นมิตร ความคิดแบบนี้จะนำเราไปสู่ความพ่ายแพ้

แกนนำเสื้อแดงพูดถูกเวลาบอกว่าเราต้องปกป้องรัฐบาลจากรัฐประหาร แต่ถ้าเราเน้นบทบาทของเสื้อแดงไว้แค่นี้ และปลุกให้คนกลัวรัฐประหารมากเกินไป จะทำให้เรามองข้ามความเป็นไปได้ว่ารัฐบาลเพื่อไทยทำข้อตกลงกับทหารอยู่แล้ว เพื่อไม่ให้มีการทำรัฐประหาร เช่นการสัญญาว่าจะไม่ปลดประยุทธ์ ไม่แก้ไขปัญหา 112 หรือไม่นำคนสั่งฆ่าประชาชนมาขึ้นศาล ถ้าเราไม่ระวังการพูดแต่เรื่องรัฐประหารจะกลายเป็นข้ออ้างในการเสนอว่าเสื้อ แดงควรใจเย็นไม่เคลื่อนไหวเพื่อทวงความยุติธรรมต่างๆ เลย

แกนนำเสื้อแดงเหล่านี้พูดในทำนองว่ารัฐบาลเพื่อไทยไม่มีหนี้บุญคุณกับ เสื้อ แดงเลย ไม่พูดในลักษณะต่อรองว่าเสื้อแดงจะสนับสนุนรัฐบาล ต่อเมื่อรัฐบาลตอบสนองความต้องการของเราในเรื่องความยุติธรรม การสนับสนุนรัฐบาลต้องมีเงื่อนไขเสมอ

ในเรื่องคดี 112 หรือกฏหมายเผด็จการ 112 ไม่มีการพูดอะไรเลย ทั้งๆ ที่รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทยสองคนประกาศว่าจะใช้ 112 ในลักษณะเข้มงวดมากขึ้น ถ้าเลือกที่จะมองข้ามปัญหานี้ ก็เท่ากับเลือกที่จะมองข้ามอำนาจนอกระบบของอำมาตย์

เวลาแกนนำอย่างสมบัติและจตุพรพูดว่า “คนเสื้อแดงเป็นเจ้าของอำนาจอธิปไตยและเป็นเจ้าของรัฐบาล” เราต้องถามว่าจริงแค่ไหน? หรือว่าในความเป็นจริงทหารและแนวร่วมอำมาตย์ เพียงแต่ยอมให้เราลงคะแนนเสียงเลือกรัฐบาลเท่านั้น ในขณะที่เขาถืออำนาจดิบอยู่ในมือ เพื่อบังคับไม่ให้มีการเปลี่ยนแปลงแท้จริงในสังคมไทย

คนเสื้อแดงไม่ควรรอโดยไม่ทำอะไร เราควรตั้งวงถกเถียงแลกเปลี่ยนเรื่องแนวทางการต่อสู้ เราควรจะมีตารางเวลาในการแก้ปัญหาต่างๆ ที่เราระบุต่อสังคมให้ชัดเจนและเรียกร้องต่อรัฐบาล เราต้องพูดถึง 112 และอำนาจทหารด้วย และเราควรจะนำข้อสรุปต่างๆ ของเราไปยื่นให้กับแกนนำ นปช. เพื่อให้ขบวนการเสื้อแดงมีความเป็นประชาธิปไตย คนเสื้อแดงระดับรากหญ้าควรจะเป็นเจ้าของนโยบาย นปช. ไม่ใช่นั่งรอให้แกนนำสั่งการลงมาอย่างเดียว และอย่าลืมว่าถ้าเรายิ่งนั่งรอนานเท่าใด ขบวนการของเราจะอ่อนแอลงมากขึ้นเท่านั้น เรายิ่งหลงไว้ใจรัฐบาลมากเท่าใด เราจะยิ่งผิดหวังเท่านั้น .

ปล่อยนักโทษการเมือง!! 
ยกเลิก 112!! 
ปลดผบทบ.ประยุทธิ์ ปฏิรูปกองทัพ!! 
ปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม!! 
ลงโทษคนฆ่าประชาชน!!


เมื่อบริษัทต่างชาติช่วยกัดดาฟี่
กดขี่เสรีภาพของประชาชนชาวลิเบีย

บทย่อแปลจากบทความใน The Wall Street Journal


รายงานของนักข่าวจาก The Wall Street Journal นาย Alan Zibel เปิดเผยว่ารัฐบาลลิเบียได้นำเข้าเทคโนโลยีจากบริษัทในต่างชาติเพื่อสอดแนมกิจกรรมทางโลกอินเตอร์เน็ตของพลเรือน โดยการสอดแนมดังกล่าวเพิ่มสูงขึ้นหลังจากการปฏิวัติในโลกอาหรับที่เกิดขึ้น ในหลายเดือนที่ผ่านมา เมื่อต้นปีนี้ เจ้าหน้าที่รัฐลิเบียได้พูดคุยกับบริษัท amesys และอีกหลายบริษัทรวมถึงบริษัทBoeing Co.’s Narus เพื่อเจรจาขอซื้อเครื่องมือที่ทันสมัยที่สุดเพื่อสอดส่องกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ตของลิเบีย

จาก การเข้าตรวจสอบห้องปฏิบัติการสอนแนมที่ถูกปล่อยร้างของรัฐบาลโดย The Wall Street Journal ทำให้เห็นหลักฐานที่กระข่างชัดถึงความร่วมมือของบริษัทในต่างชาติในการช่วย กดขี่และคุกคามเสรีภาพของประชาชนชาวนลิเบียภายใต้การปกครองของพันเอกกัดดา ฟี่ที่ยาวนานถึง 42 ปี ในห้องชั้นเก็บของใต้ดิน มีเอกสารเบิยเรียงรายกันเป็นชั้นๆ โดยเอกสารดังกล่าวมีรายละเอียดเกี่ยวกับกิจกรรมทางอินเตอร์เน็ตของประชาชน ชาวลิเบีย นักกิจกรรมที่ต่อต้านกัดดาฟี่สองราย โดยรายแรกอาศัยอยู่ในลิเบีย อีกรายอาศัยอยู่ในประเทศอังกฤษ เวปไซต์ต่อต้านกัดดาฟี่ที่เป็นที่รู้จักกันดี รวมถึงบทสนทนาทางอีเมลล์ของนักกิจกรรมทั้งสองคนที่พูดคุยเรื่องหัวข้อที่นำ ไปอภิปรายบนเวปไซต์ดังกล่าว

นอกจากนี้ เจ้าหน้าที่รัฐยังพยายามควบคุมกิจกรรมทางการสนทนาผ่านทางโปรมแกรมต่างๆเช่น Skype, Yahoo, Hotmail , Gmail การส่งข้อความทางอีเมลล์ เซ็นเซอร์วิดีโอทาง YouTube รวมถึงป้องกันไม่ให้ประชาชนใช้โปรแกรม proxy ในการพรางตัวทางอินเตอร์เน็ตอีกด้วย

ศูนย์กลางการสอดส่อง กิจกรรมทางอินเตอร์เน็ตเป็นองค์กรหลักองค์หนึ่งซึ่งเป็นเครื่องมือในการตรวจ ตราความปลอดภัย โดยกัดดาฟี่ตั้งขึ้นเพื่อใช้สอดส่องศัตรูของเขา ใน ปี 2552 บริษัท Amesys ได้ติดตั้งเทคโนโลยี ซึ่งเป็นเครื่องมือที่ใช้ตรวจจับข้อมูลขั้นสูง โดยผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่าเป็นหนึ่งในเครื่องมือที่ลุกล้ำใช้ในการสอดแนม กิจกรรมทางโลกอินเตอร์เน็ตขั้นสูง

บริษัท เทคโนโลยีการสื่อวารของจีนที่ชื่อว่า ZTE Corp ได้ติดตั้งเทคโนโลยีในการสอดส่องกิจกรรมกรมทางอินเตอร์เน็ตให้รัฐบาลลิเบีย ด้วยเช่นกัน โดยผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนี้ระบุว่า บริษัท Amesys และ ZTE เจรจาทำธุรกิจกับหน่วยรักษาความปลอดภัยหลายหน่วยของกัดดาฟี่ อย่างไรก็ตามโฆษกของบริษัท ZTE ได้ปฏิเสธที่จะให้ความเห็นในกรณีดังกล่าว

นอกจากนี้บริษัท ขนาดเล็กในประเทศแอฟฟริกาใต้ที่ชื่อว่า VASTech SA Pty Ltd ยังได้ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อดักฟังกิจกรรมทางโทรศัพท์จากต่างประเทศที่โทรเข้า ออกภายในประเทศอีกด้วย อย่างไรก็ตาม ตามคำให้การของผู้เชี่ยวชาญในเรื่องดังกล่าวและThe Wall Street Journal บริษัท VASTech ปฏิเสธที่จะพูดถึงเรื่องดังกล่าวเนื่องจากเป็นความลับทางสัญญา

ไม่มี ใครทราบแน่ชัดว่า มีเจ้าหน้าที่ที่ทำงานในศูนย์สอดแนมกิจรรมทางอินเตอร์เน็ตกี่รายหรือปฏิบัติ การดังกล่าวจัดตั้งขึ้นเป็นระยะเวลานานเท่าใด

ดังกล่าวได้สร้างความ หวาดกลัวภายในประเทศ เมื่อสงครามกลางเมืองปะทุขึ้นในต้นปีนี้ กลุ่มผู้ประท้วงต่อต้านกัดดาฟี่บนท้องถนนต่างหวาดระแวงว่าพวกเขาจะถูกสอดแนม หรือจับกุมโดยกองกำลังรักษาความปลอดภัย เพราะทุกคนทราบดีว่ารัฐบาลมักดักฟังการสนทนาทางโทรศัพท์ ใน ช่วงแรกของการรวมตัวประท้วงมักทำผ่านทางการใช้โปรมแกรม Skype ซึ่งนักกิจกรรมมองว่าปลอดภัยกว่าโปรมแกรมสนทนาทางอินเตอร์เน็ต แต่กระนั้นพวกเขาก็ยังรู้สึกหวาดกลัว

“เรา อาจหายสาบสูญอย่างไร้ร่องรอยหากไม่ระวังตัว” นักศึกษาอายุ 22 ปี ที่ช่วยจัดการชุมนุมขนาดใหญ่ที่สุดใกล้เมืองทริโอลี่กล่าวกับนักข่าวต่าง ชาติผ่านทาง Skype ก่อนจะลี้ภัยไปยังประเทศอียิปต์ และหลังจากนั้น ใน วันที่ 1 มีนาคม ญาติของเพื่อนเขาระบุว่า เพื่อนของเขาถูกจับสี่ชั่วโมงหลังจากโทรหานักข่าวต่างชาติจากโทรศัพท์มือถือ ที่มีเครือข่ายในเมืองทริโปลี และไม่มีผู้ใดทราบแนชัดว่าหน่วยงานรักษาความมั่นคงหน่วยใดจับกุมเขาไป และยังไม่ทราบว่าชะตากรรมว่าตอนนี้เพื่อนของเขายังถูกคุมขังอยู่หรือไม่

http://robertamsterdam.com/thai/

WAKE UP... THAI

http://www.youtube.com/watch?v=3SKbFOlbllc&feature=player_embedded#!