ประเทศไทยประชาชนไม่ได้เป็นใหญ่ในแผ่นดิน
ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน
และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ
โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา
ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย
แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
โดย ฮิปโปน้อย บรมสุขเกษม
เป็นที่รู้กันดีอยู่แล้วว่าระบบการเมืองในประเทศไทยนั้น
มักจะถูกทหารแทรกแซงอยู่ตลอด
กองทัพเป็นหนึ่งในกลไกรัฐที่สำคัญในการปราบประชาชน
บางประเทศรัฐสภามีอำนาจสั่งการเหนือกองทัพ แต่สำหรับประเทศไทยแล้ว
กองทัพอยู่เหนือการเมืองเสมอด้วยเหตุผลที่ว่า
ทหารใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย มาเป็นเงื่อนไขในการยึดอำนาจประชาชนได้เสมอ โดยทหารมักอ้างว่าถ้าหากไม่อยากให้มีการปฏิวัติ รัฐบาลก็อย่าสร้างเงื่อนไขในการปฏิวัติ
ยกตัวอย่างเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 การการยึดอำนาจรัฐประหาร โดย คณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็น ประมุข (คปค.) ที่นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เป็นหัวหน้าในการทำรัฐประหาร และในการทำรัฐประหารในครั้งนี้สำเร็จได้โดย ไม่มีการเสียเลือดหรือเกิดเหตุการณ์จลาจล แม้ว่าทางฝ่ายทหารจะเอารถถังออกมาข่มขวัญกลางกรุงก็ตาม
แล้วการทำรัฐประหารครั้งนี้ สื่อมวลชนกระแสหลักพยายามทำให้ประชาชนหลงประเด็นคือ สื่อช่วยสร้างภาพให้กับการทำรัฐประหารว่ามีความชอบธรรม เป็นการทำรัฐประหารที่สุภาพ ทหารเองก็เป็นมิตรกับประชาชน ที่ทหารทำเพียงแต่ยื่นมือมาช่วยประเทศชาติ ในช่วงที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าการทำรัฐประหารนั้นจะเสียเลือดหรือไม่เสียเลือด ทหารก็ไม่สมควรจะยึดอำนาจ และที่สำคัญที่สุดทหารไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมใดๆ เพราะทหารจะต้องไม่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชนในรัฐ
ในทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร ทหารมักอ้างความชอบธรรมต่างๆนานา ในการทำรัฐประหาร การทำรัฐประหารทุกครั้ง มักจะอ้างว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดวิกฤติปัญหาที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นทหารจึงจำเป็นต้องมาบริหารประเทศแทน ซึ่งข้ออ้างที่ทหารจะนำมาใช้เป็นวาทกรรมนั้น ก็แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ทหารชอบอ้างว่านักการเมืองคอร์รัปชั่นโกงกิน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อทหารเข้ามาคุมอำนาจทางการเมืองแล้ว ทหารก็หาผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน เบี้ยประชุม การนั่งในตำแหน่งสำคัญของรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การอุปโลกน์สร้างองค์กรมาเพื่อของบและเบี้ยประชุม ซึ่งคอร์รัปชั่นกันหนักกว่าเก่าอีก
และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
ทหารใช้อำนาจที่ขัดต่อหลักการประชาธิปไตย มาเป็นเงื่อนไขในการยึดอำนาจประชาชนได้เสมอ โดยทหารมักอ้างว่าถ้าหากไม่อยากให้มีการปฏิวัติ รัฐบาลก็อย่าสร้างเงื่อนไขในการปฏิวัติ
ยกตัวอย่างเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ในวันที่ 19 กันยายน 2549 การการยึดอำนาจรัฐประหาร โดย คณะปฏิรูประบอบการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์อันเป็น ประมุข (คปค.) ที่นำโดย พลเอก สนธิ บุญยรัตกลิน ผู้เป็นหัวหน้าในการทำรัฐประหาร และในการทำรัฐประหารในครั้งนี้สำเร็จได้โดย ไม่มีการเสียเลือดหรือเกิดเหตุการณ์จลาจล แม้ว่าทางฝ่ายทหารจะเอารถถังออกมาข่มขวัญกลางกรุงก็ตาม
แล้วการทำรัฐประหารครั้งนี้ สื่อมวลชนกระแสหลักพยายามทำให้ประชาชนหลงประเด็นคือ สื่อช่วยสร้างภาพให้กับการทำรัฐประหารว่ามีความชอบธรรม เป็นการทำรัฐประหารที่สุภาพ ทหารเองก็เป็นมิตรกับประชาชน ที่ทหารทำเพียงแต่ยื่นมือมาช่วยประเทศชาติ ในช่วงที่เกิดวิกฤติบ้านเมือง ซึ่งเป็นการเบี่ยงเบนประเด็นอย่างมาก เพราะไม่ว่าการทำรัฐประหารนั้นจะเสียเลือดหรือไม่เสียเลือด ทหารก็ไม่สมควรจะยึดอำนาจ และที่สำคัญที่สุดทหารไม่มีสิทธิ์และความชอบธรรมใดๆ เพราะทหารจะต้องไม่มีอำนาจเหนือกว่าประชาชนในรัฐ
ในทุกครั้งที่เกิดรัฐประหาร ทหารมักอ้างความชอบธรรมต่างๆนานา ในการทำรัฐประหาร การทำรัฐประหารทุกครั้ง มักจะอ้างว่าเกิดจากการทุจริตคอร์รัปชั่น เกิดวิกฤติปัญหาที่รัฐบาลไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ ดังนั้นทหารจึงจำเป็นต้องมาบริหารประเทศแทน ซึ่งข้ออ้างที่ทหารจะนำมาใช้เป็นวาทกรรมนั้น ก็แล้วแต่สถานการณ์ทางการเมืองในขณะนั้น ทหารชอบอ้างว่านักการเมืองคอร์รัปชั่นโกงกิน แต่ในขณะเดียวกัน เมื่อทหารเข้ามาคุมอำนาจทางการเมืองแล้ว ทหารก็หาผลประโยชน์ไม่ต่างอะไรจากนักการเมืองด้วยซ้ำ ไม่ว่าจะเป็นการขึ้นเงินเดือน เบี้ยประชุม การนั่งในตำแหน่งสำคัญของรัฐวิสาหกิจ หรือแม้แต่การอุปโลกน์สร้างองค์กรมาเพื่อของบและเบี้ยประชุม ซึ่งคอร์รัปชั่นกันหนักกว่าเก่าอีก
และอีกประเด็นหนึ่งคือ ทหารและกองทัพเป็นกาฝากในงบประมาณภาษีประชาชน และกอบโกยเอาทรัพยากรส่วนรวม มาเป็นผลประโยชน์ของนายทหารระดับใหญ่ๆ โดยบทบาทหน้าที่ของทหารที่ผ่านมา ทหารไม่เคยต่อสู้เพื่อปากท้องหรือเสรีภาพของประชาชนเลย แต่กลับเป็นผู้ปราบปรามและถ่วงความก้าวหน้าของประชาธิปไตยมากกว่า
งบประมาณทหารนั้นมากกว่ากระทรวงศึกษาและกระทรวง สาธารณะสุขอีก อย่างในงบประมาณรายจ่ายประจำปี พ.ศ. 2556 ของกระทรวงกลาโหม ได้ระบุกรอบวงเงิน 180,811,381,800 บาท และถ้าเปรียบเทียบกันกับงบประมาณปี พ.ศ.2555 ซึ่งได้รับงบประมาณ 168,667,373,500 บาท ก็เท่ากับว่ากระทรวงกลาโหมได้งบประมาณมากกว่าเดิมกว่า 1.2 หมื่นล้านบาท