หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2556

การตามพรรคเพื่อไทยที่รวนเรในการปกป้องประชาธิปไตย ไม่สามารถเอาชนะเผด็จการได้

การตามพรรคเพื่อไทยที่รวนเรในการปกป้องประชาธิปไตย ไม่สามารถเอาชนะเผด็จการได้


 
โดย กองบรรณาธิการ เลี้ยวซ้าย

คนจน คนชั้นล่าง ชาวนา กรรมาชีพ และผู้ที่นิยมประชาธิปไตย ในประเทศนี้มีมากกว่าฝ่ายนิยมเผด็จการ อำนาจนอกระบบอยู่มาก แต่เหตุไฉนดูเหมือนฝ่ายประชาธิปไตย จึงดูถูกต้อนจนมุมเข้าไปทุกทีๆ

เพราะเราพึ่งพิงเพียงพรรคเพื่อไทย ที่รวนเร ในการปกป้องประชาธิปไตย เพราะ นปช องค์กรนำ ละเลยในการสร้างสรรประชาธิปไตย เพราะเรามีปัญชาชน ที่ยังไม่มั่นใจในการสร้างขบวนการมวลชนประชาธิปไตยที่เป็นอิสระ เราจึงไม่สามารถขยายแนวร่วมและสร้างพลังใหม่ๆ ในการต่อสู้ได้

ตอนนี้ดูเหมือนรัฐบาลเป็ดง่อยเดินละเมอลงหลุมพรางการเลื่อนการเลือกตั้งออกไป เพื่อให้ฝ่ายเผด็จการแต่งตั้งตัวเองแล้วเข้าสู่กระบวนการการแปรสภาพระบบ เพื่อลดพื้นที่ประชาธิปไตย และเพิ่มเสียงให้คนชั้นกลางและฝ่ายจารีต

เราจำเป็นต้องมีขบวนการประชาธิปไตย ที่เป็นตัวของตัวเอง ยืนบนหลักการสร้างสรรค์ประชาธิปไตย บนผลประโยชน์ของคนจน คนชั้นล่าง ชาวนา กรรมาชีพ สร้างข้อเสนอสังคมใหม่ ที่เป็นรูปธรรม สร้างความเท่าเทียมทางการเมือง สังคม และเศรษฐกิจ เพื่อช่วงชิงความชอบธรรมทางการเมือง มาอยู่ฝ่ายประชาธิปไตย ขยายแนวร่วม

การเดินหน้าสู่การเลือกตั้ง เพียงอย่างเดียว จะไม่สามารถเอาชนะ ฝ่ายเผด็จการจารีตนิยมลงได้ หรืออาจจะถึงขั้นพ่ายแพ้ก็มีโอกาสเกิดขึ้นได้

เมื่อเป็นเช่นนั้น การเผชิญหน้ากับความป่าเถื่อนของฝ่ายจารีต ก็ยากจะหลีกเลี่ยง เพราะประวัติศาสตร์สอนเราว่า ฝ่ายนิยมเผด็จการ ไม่เคยแคร์กับชีวิตของผู้คน พร้อมจะปราบปราม กระทำอย่างโหดเหี้ยม เพียงเพื่อรักษาอำนาจของฝ่ายตนไว้

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/12/blog-post_20.html 

ทางออกประเทศไทย: จดหมายถึงพี่น้อง "เสื้อแดง"

ทางออกประเทศไทย: จดหมายถึงพี่น้อง "เสื้อแดง"


 
      
โดย อ.อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์

ผมเชื่อว่าคนจำนวนมากในสังคมไทยเข้าใจดีว่าเรากำลังอยู่ในยุคสมัยที่มีความเปลี่ยนแปลงอย่างไพศาลและลึกซึ้ง

การเกิดขึ้นของพี่น้อง “เสื้อแดง”เป็นปรากฏการณ์ที่สะท้อนให้เห็นความเปลี่ยนแปลงนี้อย่างชัดเจน ไม่มีใครที่จะห้ามหรือขัดขวางความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคมที่ทำให้ เกิดพี่น้อง “เสื้อแดง” ได้ แต่น่าเสียดายที่การเปลี่ยนพี่น้องจากชาวนามาสู่ชนชั้นกลางใหม่ (ที่ใช้ทักษะความสามารถส่วนตัวในการประกอบอาชีพ) กลับไม่ได้ถูกผนวกให้เข้าเป็นเนื้อเดียวของกระบวนการความคลี่คลายทางประวัติ ศาสตร์ที่น่าตื่นตาตื่นใจ เพราะคนจำนวนมากมองเพียงว่า “พี่น้องเสื้อแดง” เป็นกลุ่มคนที่ “โง่ จน” และเป็นฐานให้แก่นักการเมืองชั่วช้าบางคน/บางกลุ่มเท่านั้น

พี่น้อง “เสื้อแดง” ครับ ผมอยากจะบอกกับพี่น้องว่าไม่เป็นไรหรอก ปล่อยให้คนกลุ่มที่มองเราอย่างนั้นไปเถิด สิ่งที่สำคัญกว่า ก็คือ เราต่างหากจะจัดความสัมพันธ์ทางสังคมการเมืองกันใหม่อย่างไรเพื่อที่จะทำให้ เสียงของเรามีความหมายและมีความชอบธรรมมากที่สุด ซึ่งในที่สุดแล้วพวกเขาเองก็จะยอมรับความสำคัญของเราไปเอง

สิ่งที่เราต้องเข้าใจกันก่อน ก็คือ พี่น้อง “เสื้อแดง” มีความหลากหลาย และกระจัดกระจายอยู่ตามพื้นที่ต่างๆ ชีวิตของพวกเราผูกอยู่กับการทำมาหากินเสียมากกว่าคนกลุ่มอื่นในสังคม เมื่อกลุ่มนปช.เรียกระดมคราวที่แล้ว พี่น้องทางเชียงรายก็ติดเกี่ยวข้าวและนำข้าวไปรอคิวจำนำที่โรงสีจนมาร่วมไม่ ได้

เลี่ยงสงครามกลางเมืองด้วยการเลือกตั้ง

เลี่ยงสงครามกลางเมืองด้วยการเลือกตั้ง

















โดย อ.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์

การรุกครั้งล่าสุดของพวกเผด็จการที่กระทำต่อรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ดูจากภายนอกแล้ว ก็ยังคงดำเนินไปตาม “สูตรเดิม” คือ มีกองหน้าประกอบด้วยกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลือง ซึ่งคราวนี้ได้ผัดหน้าทาแป้งใหม่เป็น “คณะกรรมการประชาชนเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่สมบูรณ์ อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.) และเปลี่ยนตัวผู้นำขบวนมาเป็นนายสุเทพ เทือกสุบรรณ อดีตแกนนำพรรคประชาธิปัตย์

ส่วนแนวรบในสภาผู้แทนราษฎร พรรคประชาธิปัตย์ได้สั่งสส.ทั้งหมดของตนลาออกเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556 เพี่อตัดหนทางมิให้พรรคเพื่อไทยสามารถใช้กลไกทางสภาได้ รวมทั้งเป็นการกดดันให้นายกรัฐมนตรียอมยุบสภา

ตระกูลชินวัตรและแกนนำพรรคเพื่อไทยยังคงเดินแนวทางประนีประนอมกับพวก จารีตนิยม แม้จะตระหนักดีว่า ศึกครั้งนี้ ฝ่ายจารีตนิยมหมายมุ่งถึงขั้นทำลายตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทย แต่เมื่อได้รับ “คำสัญญา” ว่า จะให้มีการเลือกตั้งอย่างแน่นอน นายกรัฐมนตรีก็ได้ยอมต่อแรงกดดัน ประกาศยุบสภา กลายเป็นรัฐบาลรักษาการที่ไม่มีรัฐสภาและไร้อำนาจบริหาร รอความหวังแต่เพียงว่า พวกจารีตนิยมจะรักษาคำมั่นสัญญา และหวังว่า แรงกดดันจากนานาชาติจะทำให้ฝ่ายเผด็จการยอมให้มีการเลือกตั้งในที่สุด

นาทีนี้ จึงเหลือแต่จังหวะเวลาที่ฝ่ายจารีตนิยมจะใช้ตุลาการ ปปช. และท้ายสุดคือ แรงกดดันจากกองทัพ เพื่อจัดการกับตระกูลชินวัตรและพรรคเพื่อไทยเป็นขั้นสุดท้ายเท่านั้น

นี่แหละประเทศไทย 20 12 56

นี่แหละประเทศไทย 20 12 56

 

 

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=j7M6V-GcxV

เช็กกลิ่นรัฐประหาร วัดใจผู้บัญชาการเหล่าทัพ "ไม่มีผู้นำคนไหนอยากเป็นจำเลยรอบใหม่"

เช็กกลิ่นรัฐประหาร วัดใจผู้บัญชาการเหล่าทัพ "ไม่มีผู้นำคนไหนอยากเป็นจำเลยรอบใหม่"


 
โดย ดร.สุรชาติ บำรุงสุข 

การชุมนุมของคณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็น ประชาธิปไตยที่สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กปปส.) ตลอด 50 วัน พยายามทำทุกทาง เรียกหากองทัพให้ออกมายืนเคียงข้างมวลมหาประชาชน

"สุเทพ เทือกสุบรรณ" เลขาฯ กปปส.บอกว่า ถ้าเป็นสมัยก่อน รัฐบาลทำชั่วทำเลวแบบนี้ทหารปฏิวัติไปแล้ว

แต่ ณ วันนี้ผู้นำเหล่าทัพกลับหลบหลังฉากการเมือง มิได้แสดงบทบาทตามที่ กปปส.เรียกร้อง

"สุรชาติ บำรุงสุข" นักวิชาการด้านความมั่นคง จากรั้วจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ ความสัมพันธ์ระหว่างทหารกับรัฐบาลในชั่วโมงวิกฤตการเมืองขั้นแตกหักผ่าน "ประชาชาติธุรกิจ" ไว้อย่างน่าสนใจ เขาบอกว่าการทำรัฐประหารวันนี้ไม่ใช่ของง่ายสำหรับทหารอีกต่อไป

- มองความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลกับกองทัพตอนนี้อย่างไร

โจทย์สำคัญในการเมืองไทยมาตลอด คือ บทบาททหาร ทุกครั้งที่การเมืองไทยมีปัญหาจะมีคำถามอยู่คำถามหนึ่งเกิดขึ้นตลอดเวลา คือ ทหารจะยึดอำนาจไหม แสดงว่าทุกครั้งที่เกิดเรื่องความคิดหรือจินตนาการของคนต่อปัญหาการเมืองไทย หนีไม่พ้นต่อการแทรกแซงของทหารกับการเมือง

แต่ถ้าเปรียบเทียบในหลายวิกฤตที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าบทบาทของทหารในปัจจุบันมีความแตกต่างออกไป เพราะในครั้งก่อน ๆ อาจจะเห็นบทบาททหารออกมาโดยตรง แต่วันนี้สังเกตง่าย ๆ ผู้นำทหารให้สัมภาษณ์น้อยมาก และพูดน้อยมาก ในขณะเดียวกันเราแทบไม่มีโอกาสเห็นบทบาทอื่น ๆ เท่าไหร่นัก กระทั่งมีข่าวเล็ดลอดออกมาว่ามีการคุยกันระหว่างฝ่ายรัฐบาลกับหัวหน้าฝ่าย ต่อต้านรัฐบาล โดยมีทหารเป็นคนกลาง

ถ้าคิดอย่างนี้ถือว่าบทบาททหารเป็นเรื่องใหม่ คือทหารกลายเป็นผู้อำนวยการความสะดวกของการเจรจา ผมคิดว่าในมุมหนึ่งมองในด้านบวก เราได้เห็นพัฒนาการการเมืองไทย

- ในอดีตทหารเข้ามาแทรกแซงการเมืองเพื่อแชร์อำนาจ แต่วันนี้กลายเป็นตัวกลางเจรจา มองมิตินี้อย่างไร

ด้านหนึ่งต้องยอมรับว่าเป็นเรื่องบวก สังเกตรอบนี้เห็นอย่างหนึ่งคนพูดถึงการรัฐประหารน้อยลงเมื่อเทียบกับครั้งก่อน ๆ

ปกติพอมีวิกฤตปุ๊บ ทางสื่อ ทางสังคมก็จะพูดถึงการรัฐประหารทันที ถ้าเราผ่านวิกฤตนี้ไปได้ด้วยดี ผมคิดว่าสิ่งที่เป็นผลบวกในอนาคตจะเกิดรากฐานของการจัดบทบาทของทหารในสังคม ไทยที่ในวิกฤตทหารไม่ก้าวออกมาเป็นคู่ขัดแย้งโดยตรง อันนี้ถือเป็นเรื่องบวก ขณะเดียวกันก็จะเห็นโอกาสการจัดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐบาลพลเรือนที่มาจาก การเลือกตั้งกับผู้นำกองทัพ

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง

ทันสถานการณ์ โจรยึดเมือง


Photo 
 

สนธิยินดีเป็นผู้ตาม 'สุเทพ เทือกสุบรรณ' แต่ถ้าไม่บีบทหาร-จะนำมวลชนเอง
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50590

′สุเทพ′ ลั่นจะเดินให้ครบ 5 เวที เริ่มต้นที่วงเวียนใหญ่ ส่งสัญญาณให้ม็อบไปค้านการรับสมัครเลือกตั้งจันทร์นี้
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1387634002&grpid=00&catid=&subcatid= 

อภิสิทธิ์นำประชาธิปัตย์คว่ำบาตรเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57 เผยทำมาแล้วตั้งแต่ 2495

นายกฯ ยันเลือกตั้ง 2 ก.พ. ชวนทุกพรรคให้สัตยาบันตั้งสภาปฏิรูปฯ วาระ 2 ปี
กปปส. ตั้ง 5 เวทีใหญ่ - 'เสรี วงศ์มณฑา' จัดทัพไปบ้านยิ่งลักษณ์ 9.00 น. อาทิตย์นี้
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50577 

ผบ.ทบ.ระบุเลือกตั้งต้องเป็นไปตามกระบวนการ กองทัพพร้อมสนับสนุนกำลังพล

กกต.แถลง ปัดเลื่อนเลือกตั้ง 2 ก.พ.57 ยันเดินหน้าตามเดิม
พรรคประชาธิปัตย์ทำหนังสือชวนทุกพรรค "เลื่อนเลือกตั้ง" 
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50562
  
ผู้ชุมนุม คปท. เตรียมเสาธงไปเองเพื่อชักธงชาติไทยหน้าสถานทูตสหรัฐ
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50540 

ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงและการอ่าน "คำประกาศแห่งความเสมอภาค"

ขอเชิญเข้าร่วมกิจกรรมการแสดงและการอ่าน "คำประกาศแห่งความเสมอภาค"


 

 สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย เสนอ
"คนเท่ากัน เดินหน้าเลือกตั้ง ร่วมกันปฏิรูป"

วันอาทิตย์ที่ 22 ธันวาคม 2556
เวลา 13.00 - 18.00 อาคารบรรยายรวม 4 (บร.4)
มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต

::: พบกับ :::
พวงทอง ภวัครพันธ์, นิธิ เอียวศรีวงศ์, ปิยบุตร แสงกนกกุล, วาด รวี, เกษียร เตชะพีระ, คำ ผกา, สมชัย ภัทรธนานันท์, บก.ลายจุด, จิตรา คชเดช, ยุกติ มุกดาวิจิตร, ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ, วรเจตน์ ภาคีรัตน์

ดำเนินรายการโดย ประจักษ์ ก้องกีรติ และ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

พร้อมกิจกรรมการแสดงและการอ่าน "คำประกาศแห่งความเสมอภาค" เพื่อเป็นหมุดหมายแห่งยุคสมัยว่าระบอบประชาธิปไตยไม่มีทางจะลงหลักปักฐาน อย่างเข้มแข็งมั่นคงได้ถ้าเราไม่เริ่มจากการยอมรับเสียก่อนว่า

“คนทุกคนเสมอภาคเท่าเทียมกันทางการเมือง”

สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย เสนอ "คนเท่ากัน เดินหน้าเลือกตั้ง ร่วมกันปฏิรูป"

สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย เสนอ "คนเท่ากัน เดินหน้าเลือกตั้ง ร่วมกันปฏิรูป"