อุดมการณ์ชาตินิยมใน “คู่กรรม”
แน่นอนว่าการที่นวนิยายเรื่องหนึ่งๆ ถูกนำมาสร้างเป็นภาพยนตร์อยู่เนืองๆ ไม่นับเวอร์ชันละคร โทรทัศน์หรือละครเวทีหรือละครเพลง ย่อมเป็นตัวสะท้อนหรือตัวตอกย้ำวาทกรรมอะไรบางประการของสังคมได้อย่างดีจึง จะได้รับการตอบรับจากมวลชนอย่างล้นหลามแม้ว่าเวลาจะผ่านไปนานเท่าไร สำหรับคู่กรรมซึ่งสะท้อนภาพของญี่ปุ่นในฐานะศัตรูหรือผู้ยึดครองประเทศได้ แตกต่างจากนวนิยายหรือภาพยนตร์ปลุกใจรักชาติของไทยเรื่องอื่นที่มุ่งโจมตี ผู้รุกรานยึดครองคือพม่าเหมือนท้องฟ้ากับก้นเหว[i] เพราะสำหรับคนไทยแล้วญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ไทยเฝ้ามองอย่างชื่นชมมานาน ญี่ปุ่นเป็นประเทศแรก ๆ ของเอเชียที่เปิดประตูสู่ตะวันตก มีการพัฒนาเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมอย่างรวดเร็วในช่วงต้นศตวรรษที่ 20 รวมไปถึงการพัฒนาการทางทหารจนทันสมัยกลายเป็นมหาอำนาจจนญี่ปุ่นเป็นเอเชีย ชาติแรกที่สามารถทำสงครามทางเรือชนะฝรั่งคือรัสเซียได้ในปี 1905 นายทหารไทยในยุคต้นๆ เช่นพวกที่ก่อขบฏรศ.130 จึงให้การยกย่องญี่ปุ่นอย่างมาก