หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 18 มีนาคม พ.ศ. 2556

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand
 

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556 ตอนที่ 2
จบโจทย์ แทรกแซงกันเอง
http://www.dailymotion.com/video/xya29q_yyyyyy


แอบดูตอบโจทย์ ตอนที่ถูกแบน 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
แอบดูตอบโจทย์ ตอนที่ถูกแบน 
http://www.dailymotion.com/video/xya1md_yyyy

Divas Cafe ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 18 มีนาคม 2556


ไม่ตอบโจทย์ 
http://www.dailymotion.com/video/xya3vf_yy

นิธิ-วรเจตน์ : มากกว่าแก้ กม. ต้องแก้โครงสร้าง-วัฒนธรรมวงการตุลากา

นิธิ-วรเจตน์ : มากกว่าแก้ กม. ต้องแก้โครงสร้าง-วัฒนธรรมวงการตุลากา

 

 
 
นิธิ-วรเจตน์ ศาลในฐานะกลไกฯ
'วรเจตน์' เสนอมากกว่าแก้กฎหมาย ต้องแก้โครงสร้าง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ผู้พิพากษาตุลาการ 'นิธิ' เสนอปฏิรูปความเชื่อสังคมไทยเรื่องผู้เชี่ยวชาญ

(17 มี.ค.56) ที่หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ มีการเสวนา หัวข้อ ศาล ในฐานะกลไกของระบอบ... ? ร่วมเสวนา โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์ นักวิชาการด้านประวัติศาสตร์ และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะนิติราษฎร์ ดำเนินรายการโดย พวงทอง ภวัครพันธุ์


วรเจตน์ : มากกว่าแก้กฎหมาย ต้องแก้โครงสร้าง วัฒนธรรม และอุดมการณ์ผู้พิพากษาตุลาการ

การมาร่วมงานในวันนี้ น่าจะเป็นการจัดงานที่พูดถึงเรื่องศาลและระบบยุติธรรมในเมืองไทยที่ชัดเจน ที่สุด ไฮไลท์ของงานอยู่ที่รายการท้ายสุด คือ จดหมายเปิดผนึกจากอดีตรองประธานศาลฎีกา เรื่องนี้สำคัญมากๆ และจะอยู่ในประวัติศาสตร์หน้าหนึ่งในอนาคต

เรื่องศาลกับกลไกใน "ระบอบ..." ผู้พิพากษาอาจมานั่งฟังทัศนะของนักวิชาการว่าวิจารณ์อย่างไร ขอเรียนว่าเป็นเรื่องธรรมดา ในทางกลับกันถ้าผู้พิพากษาศาลต่างๆ จะวิจารณ์นักวิชาการ ผมก็ยินดี มันเป็นสิ่งสำคัญยิ่งในระบอบประชาธิปไตย

เป้าหมายเราในวันนี้ไปอยู่ที่ผู้พิพากษาที่มีอุดมการณ์ขัดกับระบอบประชาธิปไตยหรือไม่

ปัญหา สำคัญอันหนึ่ง ก่อนหน้านี้เราพูดถึงปัญหาการใช้ การตีความกฎหมาย มาตรา 112 คำถามอันหนึ่งที่ผุดมา คือ ทำไมจึงเกิดแนวตีความแบบนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหลัง 19 กันยา 2549 อะไรผลักดันให้ศาลมีบทบาททางการเมืองอย่างมากอย่างไม่เคยเป็นมาก่อน การจะตอบคำถาม ไม่อาจมองศาลแบบสถิตหยุดนิ่งในปัจจุบัน แต่ต้องมองย้อนไปทั้งระบบรวมถึงการศึกษานิติศาสตร์ ได้คำตอบแล้วยังต้องทำต่อว่าทำอย่างไรจะเปลี่ยนแปลงสภาพการณ์เช่นนี้


เวลาใครเป็นจำเลย ศาลเป็นคนกลางในการตัดสินคดี ต้องมีการยุติของคดี จำเลยอาจหลั่งน้ำตาได้ในการฟังคำพิพากษาของศาล แต่ต้องหลั่งน้ำตาโดยจำนนในเหตุผลที่ศาลให้ ไม่ใช่หลั่งน้ำตาเพราะความคับแค้นในความอยุติธรรม

บทบาทของศาลหลัง 19 กันยา 2549 เราพบคำพิพากษา-วินิจฉัย จำนวนหนึ่งที่ถูกวิจารณ์อย่างไม่เคยเป็นมาก่อนในวงวิชาการ สภาพแบบนี้ย้อนกลับไปดูจะพบว่า ไทยทำรัฐประหารหลายหน แต่ไม่มีครั้งใดเลยที่ กระบวนการยุติธรรมไปผูกโยงกับรัฐประหารด้วย เพราะโลกเปลี่ยนแปลง การใช้กำลังทหารอย่างเดียวไม่อาจบรรลุผลให้คนยอมรับ องค์กรที่ทรงพลานุภาพอีกองค์กรจึงต้องรับภารกิจอันนี้มา ศาลอาจไม่เต็มใจรับภารกิจอันนี้ แต่เราปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการตัดสินคดี เมื่อคณะรัฐประหารสิ้นอำนาจแล้ว ก็ปฏิเสธไม่ใช้กฎหมายของคณะรัฐประหารได้ แต่ศาลก็ยังใช้

มันไม่ใช่ปัญหาในระดับปกติธรรมดา แต่เป็นปัญหาระดับอุดมการณ์ ทัศนะ ดำรงอยู่ในวงการกฎหมาย วิชาชีพกฎหมาย ในหมู่ผู้พิพากษา ตุลาการ

“ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับประชาชน”

“ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับประชาชน”


 
“ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับประชาชน”

โดย เฮาวาร์ด ซิน (Howard Zinn)



เฮาวาร์ด ซิน เป็นนักประวัติศาสตร์สายสังคมนิยมของสหรัฐที่พึ่งเสียชีวิตไปในปี 2010 หนังสือ ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับประชาชน ของเขาเป็นหนังสือที่สามารถเปิดหูเปิดตาเราถึงประวัติศาสตร์แท้ของสหรัฐ อเมริกาได้ เพราะเล่มนี้ให้ความสำคัญกับบทบาทของคนธรรมดา ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพ เกษตรกร คนพื้นเมือง คนผิวดำ หรือสตรี และทำให้เราเรียนรู้ถึงหลายเรื่องที่ถูกปกปิดโดยนักประวัติศาสตร์กระแสหลัก ทั้งในไทยและในอเมริกา


1. ต้นกำเนิดสหรัฐอเมริกา

ใน ตอนที่หนึ่งนี้เราจะเห็นว่าสหรัฐอเมริกาไม่ได้กำเนิดมาจากการต่อสู้เพื่อ เสรีภาพ เพราะคนในชาตินี้เกิดมาท่ามกลางความขัดแย้งทางชนชั้นตลอด คือมีทาส มีพลเมืองเสรี มีผู้รับใช้ มีเจ้านาย มีผู้เช่า มีเจ้าของที่ดิน และมีคนจนกับคนรวย การกบฏทางชนชั้นเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเสรีภาพของพวกผู้นำที่ประกาศกันเป็นแค่เสรีภาพของอภิสิทธิ์ชนเท่านั้น
 
2. เมื่อสหรัฐแปรตัวเป็นจักรวรรดินิยมและทุนนิยมเต็มตัว และการเลิกทาส

ใน ไทยนักวิชาการกระแสหลักมักมองว่ารัชกาลที่ห้าเลิกทาสเพราะมีความเมตตาและ อุดมการณ์เสรีภาพ ในลักษณะเดียวกัน คนจำนวนมากหลงเชื่อว่าประธานาธิบดี เอบราฮัม ลิงคอน เลิกทาสภายใต้อุดมการณ์เช่นกัน แต่จุดร่วมระหว่างไทยกับอเมริกาคือการที่ระบบทาสขัดแย้งกับการพัฒนาทุนนิยม สมัยใหม่ บทนี้จะอธิบายว่าอะไรอยู่เบื้องหลังสงครามกลางเมืองในอเมริกา และในที่สุดประเทศนี้ขึ้นมาเป็นจักรวรรดินิยมอย่างไร
 
3. สงครามทางชนชั้นในยุคต้นของสหรัฐอเมริกา

ใน อเมริกา นักเขียนกระแสหลักมักสร้างนิยายว่า นายทุนอเมริกาพัฒนาตนเองมาจากคนจนด้วยความขยันในการทำงาน นิยายนี้ถูกแพร่หลายเพื่อหลอกลวงให้คนเชื่อว่าในอเมริกาทุกคนมีโอกาสเท่า เทียมกัน นี่คือหนึ่งในนิยายหลอกประชาชนของพวกที่คลั่งลัทธิเสรีนิยมกลไกตลาด ในบทนี้เราจะมีโอกาสทำความรู้จักกับนักต่อสู้กรรมาชีพที่สำคัญของสหรัฐและ องค์กรของเขา และเราจะเห็นภาพ “สงครามทางชนชั้น” ที่แหลมคมชัดเจนระหว่างทุนกับแรงงาน

4. สังคมนิยมในสหรัฐอเมริกา

ประวัติ ศาสตร์แนวสังคมนิยมในสหรัฐอเมริกาเป็นสิ่งที่ถูกปกปิดมาตั้งแต่สมัยสงคราม เย็น ที่มีการ “ล่าแม่มด” ของพวกฝ่ายขวาจัดที่ต่อต้านคอมมิวนิสต์ ในบทนี้เราจะเรียนรู้ถึงแกนนำองค์กรสังคมนิยมสหรัฐ และผลงานของเขา
 
5. สงครามโลกครั้งที่สอง สงครามเย็น และการลุกฮือของคนผิวดำในสหรัฐ

บท สุดท้ายที่เราจะนำเสนอนี้เกี่ยวกับสงครามโลกครั้งที่สอง และช่วงหลังสงครามจนถึงจุดที่ประชาชนผู้ถูกกดขี่จำนวนมากในสหรัฐตัดสินใจลุก ขึ้นสู้ เราจะทำความรู้จักกับวีรชนผิวดำและผู้นำที่ต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีในยุคนี้
 
ทั้งๆ ที่หนังสือ ประวัติศาสตร์สหรัฐอเมริกา ฉบับประชาชน นี้มีประโยชน์มหาศาลกับเรา และเป็นหนังสือที่ให้แรงบันดาล ใจกับหลายๆ คนในอเมริกา เช่นนักร้องอย่าง บรูซ สปริงสตีน แต่ก็มีรายละเอียดบางส่วนที่ผมไม่เห็นด้วย ที่สำคัญที่สุดคือเรื่องการจำแนกชนชั้นในสังคมสมัยใหม่ ในตอนท้ายของเล่ม เฮาวาร์ด ซิน ดูเหมือนจะมองว่ากรรมาชีพปกคอขาว เช่นครู พยาบาล หรือคนทำงานในออฟฟิส เป็น “คนชั้นกลาง” ที่บ่อยครั้งปกป้องผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุนในยามที่ไม่ลุกขึ้นสู้ แนวคิดแบบนี้ ซึ่งเหมารวมผู้นำสหภาพแรงงานอีกด้วย เป็นแนวคิดที่ “ลืม” การจำแนกชนชั้นตามความสัมพันธ์กับระบบการผลิต และมองว่ากรรมาชีพในโลกมีความสำคัญน้อยลงจนเราต้องหันมาให้ความสำคัญกับ “มวลชนคนจน” แต่ในบริบทของภาพรวมของหนังสือเล่มนี้ มันเป็นเรื่องเล็กที่ปรากฏในบทท้ายๆ เท่านั้น

(ที่มา)

สามัคคีวิจารณ์ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์

สามัคคีวิจารณ์ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์

 



 
80 ปี ส.ศิวรักษ์ Somsak
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=mH8xcBEQjzY 

80 ปี ส.ศิวรักษ์ Chaiyan
http://www.youtube.com/watch?v=Xe_-q8qjatQ&feature=player_embedded 

80 ปี ส.ศิวรักษ์ Suthachai
http://www.youtube.com/watch?v=K03zU-Hd_IQ&feature=player_embedded 

 
17 มีนาคม 2556 มูลนิธิเสฐียรโกเศศ-นาคะประทีป / ปาจารยสาร / ป๋วยเสวนาคาร / สถาบันสันติประชาธรรม / เสมสิกขาลัย ร่วมจัดงานปาฐกถาปาจารยสาร “สังคมสยามตามทัศนะของปัญญาชนไทยหมายเลข 10” เนื่องในโอกาส อายุ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์ ที่สวนเงินมีมา เขตคลองสาน กรุงเทพฯ

ในงานดังกล่าวนี้ มีการจัดเสวนา "สามัคคีวิจารณ์ 80 ปี สุลักษณ์ ศิวรักษ์" โดยวิทยากรสามคน ได้แก่ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล คณะศิลปศาสตร์ มธ. ไชยันต์ ไชยพร คณะรัฐศาสตร์ จุฬา และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ จากคณะ อักษรศาสตร์ จุฬา ร่วมอภิปรายความคิดและผลงานของสุลักษณ์ ศิวรักษ์ด้วย

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/03/45805 

กองทัพไทยมีไว้ปราบปรามคนไทย

กองทัพไทยมีไว้ปราบปรามคนไทย


จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา พิพากษาไปตามกฏหมาย และความยุติธรรม"

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา พิพากษาไปตามกฏหมาย และความยุติธรรม"




อ.วรเจตน์ เสวนางาน ศาลในฐานะกลไกของระบอบ
http://www.youtube.com/watch?v=wQXFK3GXCpk&feature=player_embedded

"ทำไมไม่มีใครคิดว่า แทนที่เราจะเขียนว่าควรมิควรแล้วแต่จะโปรด เปลี่ยนเป็น จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา พิพากษาไปตามกฏหมาย และความยุติธรรม"