หน้าเว็บ

วันพุธที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์

เหยื่อ วีรชน กับอุดมการณ์


 
"การเข้าใจเรียนรู้ถึงอุดมการณ์ของวีรชนนักสู้ เพื่อการเปลี่ยนแปลงสังคม ถูกปกปิดบิดเบือนไป ให้เป็นเพียงเหยื่อสังหาร และอุบัติเหตุทางการเมือง โดยเฉพาะการปฏิเสธ “แนวทางสังคมนิยม” ที่ เป็นกระแสในหมู่คนหนุ่มสาวขณะนั้น แม้แต่การลอบสังหารเลขาธิการพรรคสังคมนิยมเมื่อต้นปี 2519 ก็ถูกลืมเลือนจากสังคมไทยไปแล้ว" 

โดย ยังดี โดมพระจันทร์  

เรื่องราวสีเทาๆ กับความทรงจำในประวัติศาสตร์
 
การจัดงานรำลึกถึงวีรชนกรณีกวางจูที่เกาหลีใต้ ในเดือนพฤษภาคมทุกปีมีการจัดงานรำลึกถึงวีรชน เพื่อตอกย้ำประวัติศาสตร์เหตุการณ์การลุกขึ้นสู้ของประชาชนเมืองกวางจู กับเผด็จการทหาร(Gwangju People Uprising)

ปูมหลังคือในเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2523 หลังจากประธานาธิบดี ชอนดูฮวน ขึ้นสู่อำนาจได้จับกุมนักการเมืองหลายคน นักศึกษามหาวิทยาลัยชนนัมจึงจัดชุมนุมคัดค้านและถูกปราบปรามโดยกำลังติด อาวุธของรัฐ ทำให้ประชาชนกวางจูนับแสนโกรธแค้น เข้ายึดอาวุธจากสถานีตำรวจท้องถิ่น จัดตั้งกองกำลังติดอาวุธต่อสู้กับกำลังทหารทั้งทางบกและทางอากาศของรัฐบาล  ประมาณการว่ามีผู้เสียชีวิตราว 207 คน และสูญหายกว่า 900 คน  เหตุการณ์ผ่านมา 32 ปี ที่อนุสรณ์วีรชนกวางจู จะมีการประกอบพิธีระลึก โดยนายกรัฐมนตรีมาร่วมงาน รวมทั้งนักการเมือง นักเคลื่อนไหวเพื่อประชาธิปไตย และญาติวีรชนเข้าร่วม ขณะที่กลางเมืองกวางจู มีการปิดถนนสายร่วมงานรำลึกกันนับหมื่นคน

สิ่งที่น่าคิดซึ่งสหายจากกลุ่ม All Together ซึ่งเป็นกลุ่มก้าวหน้าตั้งข้อสังเกตคือ ยุคใดที่รัฐบาลเป็นประชาธิปไตย เนื้อหาการจัดกิจกรรมรำลึกจะเน้นถึงวีรชน และอุดมการณ์ของผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ แต่หากยุคใดรัฐบาลเป็นแนวปฏิรูป หรือกลุ่มอนุรักษ์นิยมก็จะเรียกผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์ว่าเป็น “เหยื่อ” ของความรุนแรง

รูปธรรมก็คือ การอธิบายถึงเหตุการณ์โดยไม่ประณามรัฐบาลและกลุ่มนายทหารที่ร่วมมือกันก่อ อาชญากรรม โดยเน้นภาพเหยื่อผู้บริสุทธิ์เสียชีวิตจากการถูกลูกหลงแทน เช่น เหยื่อเสียชีวิตในบ้านขณะนั่งกินข้าว หรือไปซื้อของ เสียชิวิตจากเหตุอื่นๆ ที่ไม่ใช่กลุ่มนักศึกษาประชาชนที่เข้าร่วมจับอาวุธต่อสู้ หรือกลุ่มนักศึกษาที่มีองค์กรจัดตั้ง เป็นต้น  การเลือกที่จะเสนอ “ความเป็นเหยื่อ” สร้างภาพ และเรื่องราวสีเทาๆ เหล่านี้เป็นการจงใจบิดเบือนประวัติศาสตร์หรือไม่???

ขอเชิญเข้าร่วมฟัง“108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง”

ขอเชิญเข้าร่วมฟัง “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง”



 

ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุม เมษา-พฤษภา 2553 (ศปช.)
ขอเชิญร่วมงานอภิปราย


“108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง”

หลักการและเหตุผล
การคงอยู่ของนักโทษการเมืองถือเป็นดัชนีชี้วัดถึงความอ่อนแอของระบอบประชาธิปไตย โดยเฉพาะการปิดกั้นสิทธิในการแสดงความเห็นทางการเมืองอย่างตรงไปตรงมา การตกค้างของนักโทษการเมืองในเรือนจำ ไม่ว่าต้องโทษด้วยเหตุผลความขัดแย้งทางการเมืองหรือด้วยมาตรา 112 กลายมาเป็นประเด็นเร่งด่วนที่มิเพียงแต่ได้รับความสนใจในกลุ่มที่ทำกิจกรรมทางการเมืองเท่านั้น แต่ยังรวมถึงแวดวงวิชาการ สื่อมวลชน กลุ่มธุรกิจ และภาคประชาสังคมทั่วไป การจัดงานอภิปรายครั้งนี้ จึงมีความสำคัญในแง่ของการวิเคราะห์ปัญหาเรื่องนักโทษการเมือง และอธิบายถึงความจำเป็นที่จะต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมืองโดยด่วน


นอกจากนี้ จะมีการเสนอร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมืองเฉพาะในส่วนประชาชน (พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฯ) ต่อรัฐสภาในเดือนสิงหาคม 2553 งานอภิปรายครั้งนี้จึงเหมาะสมทั้งในแง่กาละและเทศะ เพื่อเสนอข้อคิดเห็นที่สนับสนุนการผ่านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ อันถือเป็นส่วนหนึ่งของการสร้างความเข้มแข็งต่อกระบวนการพัฒนาประชาธิปไตยของไทย


กำหนดการ


13.00 แถลงจุดประสงค์การจัดงาน โดยตัวแทน ศปช. 

กฤตยา อาชวนิจกุล สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล

13.05 การแถลง “108 เหตุผล ทำไมต้องนิรโทษกรรมนักโทษการเมือง”


วิทยากร
1. ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
2. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
3. จาตุรนต์ ฉายแสง ประธานสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย
4. นิรันดร์ พิทักษ์วัชระ คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
5. วสันต์ พานิช อดีตคณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
6. ธงชัย วินิจจะกูล มหาวิทยาลัยวิสคอนซิน เมดิสัน
7. อภิชาติพงศ์ วีระเศรษฐกุล ผู้กำกับภาพยนตร์
8. ณัฏฐกรณ์ เทวกุล สื่อมวลชน
9. ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์ มหาวิทยาลัยเกียวโต
10. สุดา รังกุพันธุ์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
11. อภินันท์ บัวหภักดี นักเขียน-ช่างภาพ อนุสาร อสท.
12. วาสนา มาบุตร มารดาของนักโทษการเมือง นส.ปัทมา มูลมิล

ผู้เนินรายการ ประจักษ์ ก้องกีรติ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

15.00 ความเห็นและคำถามจากผู้เข้าร่วมสัมมนา


16.30 ปิดการอภิปราย
 

วาทะจุดประกาย: ถ้าที่ไหนเผาหนังสือกันได้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเผาคน

วาทะจุดประกาย: ถ้าที่ไหนเผาหนังสือกันได้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเผาคน

 


 

“ถ้าที่ไหนเผาหนังสือกันได้ ก็ไม่ต้องแปลกใจที่ต่อไปจะเผาคน”
“Where they have burned books, they will end in burning human beings.”

ไฮน์ริช ไฮเนอ, จากบทละคร Almansor อัลแมนเซอร์ (1821)

อ้างถึงในบทความนิตยสารสารคดี ชื่อ “หนังสือต้องห้าม ความรู้ที่ถูกจองจำ” ซึ่งเขียนโดย ธนาพล อิ๋วสกุล 
http://www2.sarakadee.com/web/modules.php?name=Sections&op=viewarticle&artid=610

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 22 กรกฎาคม 2556

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 22 กรกฎาคม 2556



 

- สถานการณ์แรงงาน
- กระทรวงแรงงานอนุมัติ แรงงานข้ามชาติ 3 สัญชาติทำงานในไทยได้อีก 1ปี
- คนงานแมคโดนัลด์ผละงานประท้วงเหตุแอร์เสีย
- บทวิเคราะห์ "ฝันสลายของคนชั้นกลางอเมริกัน" สำรวจสภาวะการจ้างงานในอเมริกา

ประชาไทสนทนา 'ฮิตเลอร์ หรือ ฮีโร่'

ประชาไทสนทนา 'ฮิตเลอร์ หรือ ฮีโร่'


 
'ประชาไทสนทนา' ตอนพิเศษ 'ฮิตเลอร์ หรือ ฮีโร่'
http://www.youtube.com/watch?v=l0O68Ntk7EM#at=219 


จากกรณีรูปวาดจอมเผด็จการ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์ ปรากฏตัวอยู่ท่ามกลางเหล่าบรรดาซูเปอร์ฮีโร่อเมริกัน เช่น ซูเปอร์แมน แบทแมน ไอรอนแมน ยักษ์ร่างเขียว ฮัล์ค และซูเปอร์ฮีโร่สัญชาติญี่ปุ่นอย่างคาเมน ไรเดอร์ ในคัตเอาท์แสดงความยินดีกับบัณฑิตใหม่ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จนก่อให้เกิดความไม่พอใจและความโกรธเคืองจากองค์กรชาวยิว ทั้งยังเป็นคำถามและประเด็นถกเถียงต่อมาในโซเชียลมีเดีย รวมถึงมีการนำเสนอข่าวแพร่หลายไปในสื่อต่างๆ

ประชาไทขอนำเสนอบทสนทนาผ่านกรณีดังกล่าวว่าด้วย ‘ฮิตเลอร์ หรือฮีโร่’ จากมุมมองของสองนักวิชาการปรัชญาที่ศึกษาประวัติศาสตร์และการเมือง รศ.ดร.โสรัจจ์ หงศ์ลดารมภ์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และนักปรัชญารุ่นใหม่ ปราชญ์ ปัญจคุณาธร มามองความรับรู้เกี่ยวกับฮิตเลอร์ในสังคมไทย มองการนำเสนอภาพฮิตเลอร์ปะปนกับซูเปอร์ฮีโร่ผู้กอบกู้โลก หรือการแต่งกายด้วยเครื่องแบบนาซีของเด็กนักเรียนไทย มีเหตุผลใดบ้างที่พอจะสนับสนุนได้ และทำไมชาวยิวและชาวตะวันตกจึงไม่สามารถมองเรื่องดังกล่าวให้เป็นเป็นเรื่อง เบาสมอง

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47821 

กลุ่มญาติผู้สูญเสียปี 53 เปิดเวที รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ พรุ่งนี้!

กลุ่มญาติผู้สูญเสียปี 53 เปิดเวที รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ พรุ่งนี้!

 

 
 
กลุ่มญาติผู้สูญเสียปี 53 ชี้บางร่างนิรโทษฯไม่คลุมกลุ่มเป้าหมาย-สอดไส้ไม่กล่าวถึงทหาร ระบุญาติผู้สูญเสียนอกจาก ปชช.ต้องรวม จนท.รัฐด้วย กลุ่มจึงร่างฯ ฉบับตัวเองขึ้นมาแต่ถูกทำลายความน่าเชื่อถือ เตรียมจัดเวทีรับฟังบ่ายโมงพรุ่งนี้ ที่ห้องประชุม 14 ตุลา ขณะที่ญาติฯ อีกกลุ่มหนุนร่างฯ ฉบับวรชัย

กลุ่มญาติผู้สูญเสียในเหตุการณ์เมื่อเม.ย.-พ.ค. 53 จัดเวทีเปิดรับฟังความคิดเห็นต่อร่าง พรบ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน นำเสนอโดยกลุ่มญาติวีรชน เม.ย. - พ.ค. 53 ในวันพรุ่งนี้ 25 ก.ค.56 เวลา 13.00 น. เป็นต้นไป ที่หอประชุม 14 ตุลา สี่แยกคอกวัว  โดยเบื้องต้นมี อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานกลุ่มญาติวีรชนพฤษภาทมิฬ และสมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด แกนนอนคนเสื้อแดง ร่วมวิจารณ์และเสนอแนะเกี่ยวกับร่างฉบับดังกล่าว โดยในงานจะมีการชี้แจงเจตนารมณ์ของร่างฯ ดังกล่าวโดยนางพะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ น.ส.กมลเกด อัคฮาด พยาบาลอาสาที่ถูกยิงเสียชีวิตระหว่างการสลายการชุมนุมเมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ที่บริเวณวัดปทุมวนาราม พร้อมด้วยชี้แจงความเป็นมาของร่างฯ และอธิบายเนื้อหารายมาตรา โดยนายพันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ผู้ประสานงานกลุ่มญาติฯ และ บิดาของนายสมาพันธ์ ศรีเทพ(วัย 17 ปี) ที่ถูกยิงเสียชีวิตในเหตุการณ์กระชับวงล้อม สายวันที่ 15 พ.ค. 53 บริเวณถนนราชปรารภ

นอกจากนี้เวทีดังกล่าวจะมีการเปิดรับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข่าร่วม โดยที่กลุ่มญาติฯ จะมีการนำข้อเสนอแนะที่ได้ไปปรับแก้ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน ก่อนนำยื่นให้ประธานรัฐสภาต่อไป

กำหนดการ
13.00 น. ลงทะเบียนเข้าร่วมงาน รับร่าง พรบ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน
13.15 น. พะเยาว์ อัคฮาด กล่าวถึงเจตนารมณ์ของร่าง พรบ.นิรโทษกรรมฉบับประชาชน
13.25 น. พันธ์ศักดิ์ ศรีเทพ ชี้แจงความเป็นมาของร่างฯ และอธิบายเนื้อหารายมาตรา
13.35 น. วิทยากรวิจารณ์และเสนอแนะ
- อดุลย์ เขียวบริบูรณ์ ประธานกลุ่มญาติวีรชนพฤษภาทมิฬ
- สมบัติ บุญงามอนงค์ บก.ลายจุด แกนนอนคนเสื้อแดง
14.30 น. รับฟังข้อเสนอแนะจากผู้เข่าร่วม
16.00 น. จบรายการ

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/07/47835 
กลุ่ม ญาติผู้สูญเสียปี 53 เปิดเวที รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ พรุ่งนี้! - See more at: http://prachatai3.info/journal/2013/07/47835?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook#sthash.caqzJXFy.dpuf
กลุ่ม ญาติผู้สูญเสียปี 53 เปิดเวที รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ พรุ่งนี้! - See more at: http://prachatai3.info/journal/2013/07/47835?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook#sthash.caqzJXFy.dpuf
กลุ่ม ญาติผู้สูญเสียปี 53 เปิดเวที รับฟังความเห็น ร่าง พ.ร.บ.นิรโทษฯ พรุ่งนี้! - See more at: http://prachatai3.info/journal/2013/07/47835?utm_source=dlvr.it&utm_medium=facebook#sthash.caqzJXFy.dpuf

อย่าบังคับให้นับถือศาสนากันเลย ???

อย่าบังคับให้นับถือศาสนากันเลย ???




โลกนี้มีคนไม่นับถือศาสนามากแค่ไหน
http://news.voicetv.co.th/global/74966.htm


Netiwit Ntw Junrasal
เนติวิทย์ โชคไพศาล(แฟรงก์)
แฟรงก์
นัก เรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ - See more at: http://www.kruwandee.com/news-id7200.html#sthash.VwLVwWzH.dpuf
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ เตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ


"ศาสนาเป็นเรื่องของปัจเจกชน ดังนั้นคุณจะนับถืออะไรก็แล้วแต่คุณ หรือคุณจะไม่นับถือศาสนาก็ควรทำได้ จะบังคับนั้นหาได้ไม่ ตอนสวดมนต์ เขาให้ผมสวด ผมก็ไม่สวด ไม่ยกมือสวดมนต์ไหว้พระ เพราะเห็นเป็นการบังคับกัน เป็นการรวมหมู่ ไม่ทำให้คนเข้าใจพระรัตนตรัยที่เนื้อหาสาระ เป็นแต่พิธีกรรม ใช้ศรัทธาเพื่อหาเงิน"
 

 "ลัทธิศาสนาพุทธในโรงเรียนเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่สอนให้คนเผชิญความจริงและกล้าคิดกล้าแย้ง ทั้งพวกพระเทศน์ก็ตลกอย่างฝืดๆ และเปี่ยมด้วยอบรมศีลธรรม อบรมให้คนมีความกลัวเช่น นำลัทธิกรรมเก่ามาเข้ามา ไม่ให้คนรู้เท่าทันสังคม เท่าทันตนเองจริงๆจังๆ ควรเลิกสอนลัทธิศาสนาพุทธในโรงเรียนได้แล้ว อาจจะแทนที่ด้วยการสอนลัทธิศาสนาสากล และเปิดให้มีการโต้แย้งวิพากษ์ได้ทุกลัทธิศาสนา ให้นักเรียนได้เลือกอย่างเสรี"