หน้าเว็บ

วันพุธที่ 11 เมษายน พ.ศ. 2555

"กิ๊บเก๋พาเที่ยว" พาไปดูงานจุดเทียนรำลึกวีรชน 10 เมย.55

"กิ๊บเก๋พาเที่ยว" พาไปดูงานจุดเทียนรำลึกวีรชน 10 เมย.55



IMG_4769 IMG_4790
ผู้ชุมนุมร่วมจุดเทียนและร้องเพลงนักสู้ธุลีดินบริเวณสี่แยกคอกวัว
IMG_4830
พะเยาว์ อัคฮาด มารดาของ "พยาบาลเกด" กมลเกด อัคฮาด
หนึ่งในผู้เสียชีวิตในเหตุการณ์สลายการชุมนุมเดือนพฤษภา 53

IMG_4868

กิ๊บเก๋พาเที่ยว ไปดูการจุดเทียนรำลึกเหตุการสลายการชุมนุม เมื่อ 10 เมษา 2553 ที่แยกคอกวัวและถนนดินสอ ที่มีประชาชนบาดเจ็บล้มตายจำนวนมาก ภาพเมื่อ 10 เมษายน 2555

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=eTzwbNtrt6g

Wake up Thailand 11-04-55

Wake up Thailand 11-04-55


Posted Image


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=VAL2lmzmCak&feature=player_embedded#!

ย้อนรอยเหตุการณ์นองเลือด Divas Cafe11เมย55

ย้อนรอยเหตุการณ์นองเลือด Divas Cafe11เมย55 

(พวกสวมรอยความจริงจากพรรคประชาธิปัตย์ )


 

ความชอบธรรมของการปกครอง รัฐบาลเทพประทานที่แพัเลือกตั้งจนถึงทุกวันนี้ ยังลอยนวลตอแหลอยู่ทุกวันนี้ เมื่อบ้านเมืองเป็นประชาธิปไตยอย่างแท้จริง กองทัพจะเป็นกองทัพประชาชน และแล้วฆาตกรร้อยศพก็จะถูกถีบเข้าคุก.

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=nS1SkAR7CYY#!

พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

พระมหากษัตริย์ยับยั้งประชามติไม่ได้

 

โดยใบตองแห้ง

 

ผมเพิ่งเขียนเรื่อง “รัดทำมะนวยกะอรหัง” ลง ในคมชัดลึก แต่มีประเด็นที่ควรนำมาขยาย เกี่ยวกับกรณีที่ “10 อรหันต์” ที่ปรึกษาผู้ตรวจการแผ่นดิน ทักท้วงร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่คณะกรรมาธิการจะนำกลับเข้ามาพิจารณาวาระ 2 ในรัฐสภาวันที่ 10-11 เม.ย.นี้

ก่อนอื่นเพื่อให้ความเป็นธรรมกับ 10 อรหันต์ ขอบอกว่า สื่อที่ตีข่าวนี้ ล้วนแต่มั่ว เพราะไม่เข้าใจประเด็นจริงๆ เช่น บางฉบับบอกว่า 10 อรหันต์ชี้ 3 ประเด็นขัดรัฐธรรมนูญ ไทยโพสต์บอกว่า 10 อรหันต์แฉ รธน.มิบังควร ขนาดศูนย์ข่าวอิศรายังบอกว่า ที่ปรึกษาผู้ตรวจการฟันธง 3 ร่างขัดรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง

ประเด็นที่ 10 อรหันต์ชี้ว่าขัดรัฐธรรมนูญคือการกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ประเด็นนี้ตกไปแล้ว เพราะคณะกรรมาธิการชี้แจงว่า เป็นแค่ร่างของคณะรัฐมนตรี ร่างของคณะกรรมาธิการแก้ไขให้นายกรัฐมนตรีเป็นผู้ลงนามแล้ว

อันที่จริงประเด็นนี้ก็ถกเถียงกันได้เหมือนกัน เพราะ 10 อรหันต์ยกมาตรา 195 วรรคแรกมาอ้างว่า “บทกฎหมาย พระราชหัตถเลขา และพระบรมราชโองการอันเกี่ยวกับราชการแผ่นดิน ต้องมีรัฐมนตรีลงนามสนองพระบรมราชโองการ เว้นแต่ที่มีบัญญัติไว้เป็นอย่างอื่นในรัฐธรรมนูญนี้ ดังนั้น เมื่อรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันมิได้บัญญัติให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรม ราชโองการในร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติม การที่ร่างรัฐธรรมนูญทั้งสามร่างกำหนดให้ประธานรัฐสภาลงนามรับสนองพระบรมราช โองการจึงไม่เป็นไปตามมาตรา ๑๙๕ วรรคแรก”

ถ้าตีความตามตัวบท ก็น่าจะเป็นเช่นนั้น ร่างแก้ไขมาตรา 211 สมัยบรรหาร ก็มีบรรหารลงนามฯ ร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญสมัยอภิสิทธิ์ ก็มีอภิสิทธิ์ลงนาม แต่ถ้าพูดกันตามหลักการจริงๆ ผมว่ารัฐธรรมนูญเขียนไว้ไม่ถูกต้อง นายกรัฐมนตรีในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหารเป็นผู้ลงนามรับสนองฯ ในพระราชบัญญัติ เพื่อประกาศใช้ เพราะฝ่ายบริหารเป็นผู้กำกับดูแลให้เป็นไปตามกฎหมาย แต่การแก้ไขรัฐธรรมนูญควรให้ประธานรัฐสภาลงนามฯ เพราะไม่เกี่ยวกับฝ่ายบริหาร รัฐธรรมนูญฉบับเต็มทุกฉบับก็มีประธานรัฐสภา (หรือประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ) เป็นผู้ลงนาม แต่พอร่างแก้ไข กลับให้นายกฯ ลงนาม มันตลก

แต่ไม่เป็นไรเป็นแค่ประเด็นทางเทคนิค หยวนๆ ไปได้


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40027