หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2555

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand
 

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ตอน 2 
ความรุนแรง ไม่ใช่คำตอบเสมอไป
http://www.dailymotion.com/video/xvsbx3


โชคร้ายที่มีคนตาย โชคร้ายที่มีอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ 
  
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555 ตอน 1
โชคร้ายที่มีคนตาย โชคร้ายที่มีอภิสิทธิ์เป็นนายกฯ 
http://www.dailymotion.com/video/xvs8d8 

The Daily Dose ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555



เปิดการค้าเสรีกับ อียู ไทยเสียเปรียบ
http://www.dailymotion.com/video/xvtlfm 

ที่นี่ความจริง

ที่นี่ความจริง



11-12-55 ที่นี่ความจริง part 4

11-12-55 ที่นี่ความจริง part 3

11-12-55 ที่นี่ความจริง part 2

ที่นี่ความจริง 11 12 55
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=CXphAAoY5nc



10-12-55 ที่นี่ความจริง part 4
http://www.youtube.com/watch?v=WxMDS82g2Qc&list=UUbreprPTiIDAAJ9yiO5NF3w

10-12-55 ที่นี่ความจริง part 3
http://www.youtube.com/watch?v=EA2HucuMZL0

10-12-55 ที่นี่ความจริง part 2
http://www.youtube.com/watch?v=3ZKYTdJz5cQ 

10-12-55 ที่นี่ความจริง part 1
http://www.youtube.com/watch?v=ytQNoUN9ubE

Divas Cafe ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 11 ธันวาคม 2555
 

รัฐธรรมนูญไม่ใช่ทิชชู่ (ไม่ต้องใช้แล้วทิ้ง) 

อำนาจสถาปนารธน
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=T2twJTJeTCw

เรียนรู้การเมืองจากผู้เสียชีวิต

เรียนรู้การเมืองจากผู้เสียชีวิต



 

รศ.ดร.กฤตยา อาชวนิจกุล ศูนย์สิทธิมนุษยชน มหิดล ชี้ว่าควรเรียนรู้การเมืองจากผู้เสียชีวิต
ในการเสวนา"โศกนาฏกรรมจากราชดำเนินสู่ราชประสงค์"
http://archive.voicetv.co.th/content/15741/ 

ค้นหาความหมายจากความตาย 90 ศพ
http://archive.voicetv.co.th/content/16660/90

การแก้ไข′รัฐธรรมนูญ′ ศึกษาจาก 18 ฉบับ จาก พ.ศ.2475 ถึง 2555

การแก้ไข′รัฐธรรมนูญ′ ศึกษาจาก 18 ฉบับ จาก พ.ศ.2475 ถึง 2555


 

การแตะต้อง หรือความพยายามแก้ไขรัฐธรรมนูญ กลายเป็นเรื่องต้องห้ามไปแล้ว

ความคิด ความเห็น ทรรศนะ รวมถึงโพลต่างๆ ระบุว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ

  
จะทำให้เกิดความขัดแย้ง

จนอาจจะกลายเป็นวิกฤตทางการเมือง


รัฐธรรมนูญแตะต้องไม่ได้ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นเรื่องต้องห้ามและมีอันตรายจริงหรือ

ประเทศไทยเข้าสู่การปกครองระบอบประชาธิปไตยเมื่อปี 2475

มีรัฐธรรมนูญฉบับแรก เรียกว่า "พระราชบัญญัติธรรมนูญการปกครองแผ่นดินสยามชั่วคราว พ.ศ2475" เมื่อวันที่ 27 มิ.ย.2475

มี 39 มาตรา ผู้ยกร่าง คือ "คณะกรรมการราษฎร" และนำขึ้นทูลเกล้าฯ เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้

นั่นถือเป็นรัฐธรรมนูญชั่วคราว

วันที่ 10 ธ.ค.2475 จึงมีรัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรก ชื่อว่า "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณา จักรสยาม พ.ศ.2475"

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ เป็นผู้ยกร่างเสนอสภาผู้แทนฯให้ความเห็นชอบ และทูลเกล้าฯถวาย เพื่อทรงลงพระปรมาภิไธย และประกาศใช้

รัฐธรรมนูญถาวรฉบับแรกนี้ มี 68 มาตรา อายุการบังคับใช้ 13 ปี 4 เดือนเศษ

มีการแก้ไข 3 ครั้ง จึงถูกยกเลิก เนื่อง จากล้าสมัย และประกาศใช้ "รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2489" เมื่อวันที่ 9 พ.ค.2489

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ใช้อยู่เพียง 1 ปี 6 เดือน ก็ถูกยกเลิกด้วยประกาศคณะรัฐประหาร

ภายใต้การนำของ พล.ท.ผิน ชุณหะวัณ เมื่อ 8 พ.ย.2490

เปิดฉาก "โมเดล" ของการทำรัฐประหาร ฉีกรัฐธรรมนูญ ที่จะดำเนินต่อไปอีกยาวนาน

ผ่านยุค 2500 ลากยาวไปจนถึงรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549

อันเป็นรัฐประหารที่ฉีกรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2540

และเป็นบ่อเกิดของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่มีความพยายามจะแก้ไข และยกร่างใหม่อยู่ในขณะนี้

รัฐธรรมนูญไทยนับจากฉบับ 27 มิ.ย. 2475 มาจนถึงฉบับ พ.ศ.2550 รวมแล้ว มีทั้งสิ้น 18 ฉบับ

ประวัติศาสตร์ของรัฐธรรมนูญ บอกข้อเท็จจริงประการหนึ่งว่า


 "รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายที่แก้ไข ปรับเปลี่ยน แม้กระทั่งยกเลิกได้"
 

แม้กระทั่งการนำเอารัฐธรรมนูญเก่ามาปัดฝุ่นใช้ใหม่ ก็เกิดขึ้นมาแล้ว

หลังจาก จอมพล ป.พิบูลสงคราม ทำรัฐประหารในปี 2494

แล้วนำเอารัฐธรรมนูญปี 2475 หรือฉบับ 10 ธันวาฯ มาให้สภาผู้แทนฯแก้ไขเพิ่มเติม แล้วประกาศใช้ในปี 2495

รัฐธรรมนูญฉบับนี้ ใช้ต่อมาอีก 6 ปี 7 เดือน จึงถูกฉีกทิ้งอีกครั้ง

โดยรัฐประหาร 20 ต.ค.2501 ภายใต้การนำของ จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์

'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที

'สสส.' แถลงร่วมองค์สิทธิระหว่างประเทศ ต้องปล่อยตัว 'สมยศ' ทันที

 

 

สมาคมสิทธิเสรีภาพของประชาชน แถลงร่วมกับองค์กรสิทธิระหว่างประเทศ ย้ำการควบคุมตัวสมยศ พฤกษาเกษมสุขขัดกับมาตรฐานสากล ชี้การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์เป็นสิ่งที่ทำได้ตามอนุสัญญาระหว่าง ประเทศ

The Observatory for the Protection of Human Rights Defenders
Union for Civil Liberty (UCL)

แถลงการณ์ร่วม

ประเทศไทย: คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติแถลงว่าการควบคุมตัวนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยเป็นการละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศ
  
ปารีส เจนีวา และกรุงเทพ, วันที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2555  FIDH และ OMCT ในการทำงานร่วมกันเพื่อคุ้มครองนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ร่วมด้วยสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ในประเทศไทย ยินดีคณะทำงานขององค์การสหประชาชาติว่าด้วยเรื่องการควบคุมตัวโดยไม่ชอบ (UNWGAD)  ที่ระบุว่าการควบคุมตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนนั้นเป็นการกระทำที่ขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศ และมาตรฐานสากล รวมทั้งเรียกร้องให้ปล่อยตัวนายสมยศ
  
นายสมยศ ถูกควบคุมตัวมากว่า 20 เดือนแล้วตั้งแต่ถูกจับกุมเมื่อวันที่ 30 เมษายน ปีพ.ศ. 2554 หลังจากที่เขาเริ่มการรณรงค์ที่จะรวบรวมรายชื่อ 10,000 รายชื่อเพื่อเรียกร้องให้รัฐสภาแก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ   คำขอให้ปล่อยตัวชั่วคราวได้รับการปฎิเสธมาโดยตลอดโดยศาลยุติธรรม  นายสมยศถูกต้องข้อหาอาญาเกี่ยวกับการหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ มาตรา 112 เพียงเพราะว่าเขาอนุญาตให้มีบทความสองบทความของผู้เขียนอีกคนหนึ่งที่เป็น การวิพากษ์วิจารณ์สถาบันกษัตริย์ ในวารสารชื่อ “เสียงทักษิณ”  ซึ่งโดยปกติการพิจารณาคดีในศาลจะเป็นการพิจารณาคดีลับกรณีเกี่ยวกับข้อความ ที่ระบุว่าเป็นความผิดอาญามาตรา 112 ซึ่งเป็นกระบวนการยุติธรรมที่ไม่โปร่งใส
 
นายแดนทอง บรีน ประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน ประเทศไทย ได้กล่าวว่า นายสมยศเป็นสมาชิกขององค์กรสิทธิมนุษยชนและเป็นนักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชน ที่ต่อสู้เพื่อเสรีภาพในการแสดงออกในทางการพูดได้รับผลกระทบจากกฎหมายเข้ม งวดที่เป็นการละเมิดสิทธิฯ
  
นอกจากเสียงสะท้อนจากประธานสมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน อดีตเพื่อนร่วมงาน นายโคทม อารยา ปัจจุบันเป็นอาจารย์แห่งมหาวิทยาลัยมหิดล ได้กล่าวว่า“ผมรู้จักสมยศตั้งแต่ตอนที่เราทำงานที่ สมาคมสิทธิเสรีภาพประชาชน เขามีความมุ่งมั่นในการทำงานเพื่อพัฒนาสภาพของผู้แรงงาน ต่อมาได้ทำงานในด้านการส่งเสริมสิทธิเสรีภาพทางการเมืองให้กับแรงงงานไทย ด้วย   เขามีประวัติการทำงานด้านสิทธิมนุษยชนและส่งเสริมประชาธิปไตย แรงจูงใจทางการเมืองใดใดไม่ควรนำเขาต้องถูกกล่าวหาว่าเกี่ยวข้องกับคดี หมิ่นฯ"

ทนายคารม' เตรียมยื่นค้านปล่อยตัว 'อภิสิทธิ์ สุเทพ

ทนายคารม' เตรียมยื่นค้านปล่อยตัว 'อภิสิทธิ์ สุเทพ



Posted Image

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=Um1yZNniM2w&feature=player_embedded

คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน"

คำต่อคำสัมภาษณ์ 'อภิสิทธิ์' ใน 'บีบีซี': พ้อ-ไม่แฟร์ที่หาว่า "สั่งใช้กระสุนจริง" เท่ากับ "ฆ่าคน"

 


FMR THAI PM ABHISIT VEJJAJIVA INTERVIEW ON BBC WORLD NEWS
http://www.youtube.com/watch?v=WzSJyFVQlTU&feature=player_embedded 

แจงบทบาทช่วงสลายการชุมนุมปี 53 ไม่ยอมตอบหลังเจอพิธีกรจี้ถามว่าเสียใจที่สั่งใช้กระสุนจริงหรือไม่ แต่เลี่ยงตอบไปว่าเสียใจที่มีคนตาย ระบุยังไม่เชื่อว่าการเสียชีวิตคนส่วนใหญ่มาจากทหาร แต่มาจากกลุ่มติดอาวุธในที่ชุมนุม ยกตัวอย่างประเทศอื่นหากมีผู้เสียชีวิตในระหว่างชุมนุม นายกฯ ไม่จำเป็นต้องรับผิดชอบ ในขณะที่กล่าวจะยอมรับผลการตัดสินหากศ
ว่าผิดจริง

เมื่อวันที่ 10 ธ.ค. 55 รายการ BBC World News ทางสถานีโทรทัศน์บีบีซีของอังกฤษ ได้เผยแพร่การสัมภาษณ์ของอดีตนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ต่อเรื่องการสั่งฟ้องและการมีส่วนรับผิดชอบในคดีการเสียชีวิตของผู้ชุมนุม ที่มีสาเหตุจากเจ้าหน้าที่รัฐในระหว่างการสลายการชุมนุมเดือนพ.ค. 53 โดยนายอภิสิทธิ์กล่าวว่า การใช้กำลังทหารและการใช้กระสุนจริงในระหว่างการสลายการชุมนุมเป็นเรื่องที่ จำเป็น เนื่องจากมีกลุ่มติดอาวุธอยู่ในพื้นที่ชุมนุม หรือชายชุดดำ ซึ่งยิงใส่เจ้าหน้าที่ตำรวจ ทหาร และผู้ชุมนุม และยังกล่าวว่า มีผู้เสียชีวิตราว 20 คน ที่สรุปได้แล้วว่า เสียชีวิตจากกลุ่มติดอาวุธภายในผู้ชุมนุม

ผู้ดำเนินรายการ มิชาล ฮุสเซน ถามแย้งว่า แต่รายงานของฮิวแมนไรท์วอทช์ที่ทำการสอบสวนเหตุการณ์ดังกล่าว ชี้ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตมาจากทหาร และถามอดีตนายกฯ ว่า ยอมรับหรือไม่ว่าผู้ชุมนุมส่วนใหญ่เสียชีวิตจากเจ้าหน้าที่ทหาร นายอภิสิทธิ์ตอบว่า จาก 20 คดีที่ได้ทำการสอบสวนไป มีเพียงสองคดีเท่านั้นที่เสียชีวิตจากกระสุนปืนของทหาร นอกจากนี้ยังกล่าวว่า ต้องไม่ลืมว่า ผู้ชุมนุมได้ปล้นปืนของทหารไปด้วย

ต่อคำถามของผู้ดำเนินรายการว่า นายอภิสิทธิ์ยอมรับหรือไม่ว่าตนมีส่วนรับผิดชอบในการเสียชีวิตบางส่วน เขาตอบว่า ไม่ เพราะการตั้งข้อกล่าวหาต่อตนเองในตอนนี้ มาจากคดีการเสียชีวิตของคนที่ไม่ใช่ผู้ชุมนุมด้วยซ้ำ (คดีพัน คำกอง คนขับรถแท็กซี่) แต่เป็นเพียงผู้เห็นเหตุการณ์ที่บังเอิญออกมาดูและโชคร้ายที่เขาโดนลูกหลงเข้า (got caught) 

เขากล่าวยอมรับว่า ตนเป็นผู้สั่งใช้กระสุนปืนจริง แต่มิได้รู้สึกเสียใจต่อการออกคำสั่งดังกล่าว เพราะเป็นวิธีที่จะสามารถจัดการกับกลุ่มผู้ที่ติดอาวุธได้ และกล่าวว่า เหตุการณ์เมื่อปี 53 เป็นเหตุการณ์ที่มีความรุนแรงจริง แต่หากไม่มีกลุ่มชายชุดดำที่มีอาวุธและยิงตำรวจ ทหารและประชาชน ความรุนแรงและความเสียหายดังกล่าวก็คงจะไม่เกิดขึ้น

อดีตนายกฯ กล่าวว่า รัฐบาลนี้ (รัฐบาลอภิสิทธิ์) เป็นรัฐบาลแรกที่อนุญาตให้ตำรวจ กรมสอบสวนคดีพิเศษ อัยการ และศาลเข้าสืบสวนสอบสวน ตรวจสอบเหตุการณ์ดังกล่าว เขากล่าวว่า ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร ตนก็จะยอมรับโทษนั้น ถึงแม้ว่าจะเป็นโทษประหารชีวิต และขอเรียกร้องแบบเดียวกันต่อนายกฯ ทักษิณ ชินวัตร และสมาชิกในรัฐบาลนี้ ให้ทำแบบเดียวกันด้วย

อนึ่ง กรณีที่นายอภิสิทธิ์กล่าวอ้างถึง รายงานของ คอป. ที่ระบุว่า "มีราว 20 กรณีที่ผู้เสียชีวิตเกิดจากการกระทำของฝ่ายผู้ประท้วง ซึ่งมีอาวุธ "  ตามที่ คอป. โดยนายสมชาย หอมลออ แถลงเมื่อวันที่ 17 ก.ย.  ระบุมีเพียง 9 กรณี เท่านั้น และ คอป.ก็ยังมิได้ระบุว่าเป็นการกระทำของผู้ชุมนุม เพียงระบุว่าเป็นการกระทำของชายชุดดำ ที่ คอป.ระบุว่า หลายคนใกล้ชิด เสธ.แดง การ์ด นปช. รู้เห็นเป็นใจ แต่ไม่มีหลักฐานโยงถึงแกนนำ(ดู http://prachatai.com/journal/2012/09/42697)


ไอ้ตัวโกหกและอันตรายที่สุด
It liars and the most dangerous.



มึงจำไว้เหี้ยมาร์ค - หม่อมเต่านาจัดหนัก 

 

อภิสิทธิ์: ผมคิดว่าทุกคนรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น และเราก็เป็นฝ่ายตั้งกระบวนการยุติธรรมขึ้นมาเพื่อมาสอบสวนการตายของผู้ ชุมนุม และนั่นก็นำมาสู่การรับผิดชอบ

มิชาล: ซึ่งนั่นก็รวมถึงตัวคุณด้วย เพราะคุณคือผู้ที่อยู่ในตำแหน่งขณะที่ประชาชน 90 คน เสียชีวิตจากการประท้วง

อภิสิทธิ์: ถูกต้องครับ เราได้ตั้งคณะกรรมการอิสระเพื่อสอบสวนข้อเท็จจริง รวมถึงคณะตำรวจ และกลไกในกระบวนการยุติธรรมซึ่งต้องดำเนินการ แต่ว่าข้อกล่าวหาผมนั้นเกินเลยไป

มิชาล: ทำไมข้อกล่าวหาจึงเกินเลยไป ในเมื่อคุณคือคนที่อยู่ในอำนาจขณะที่มีการใช้กำลังสลายพื้นที่การชุมนุม

อภิสิทธิ์: แต่ถ้าคุณจำได้ สถานการณ์ขณะนั้นคือมีประชาชนยึดพื้นที่ใจกลางเมือง และมีประชาชนที่ติดอาวุธ พวกเขามีการปาระเบิด และปาเข้าใส่ประชาชน เราไม่ได้แม้แต่เข้าไปสลายการชุมนุม แต่เราเพียงแค่ตั้งด่านตรวจเช็ค และก็มีการต่อสู้กันบนถนน และโชคร้ายที่มีประชาชนเสียชีวิต