หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 20 เมษายน พ.ศ. 2556

“ประชาธิปไตย” แบบกรีซ

“ประชาธิปไตย” แบบกรีซ 


 
โดย C.H.


นักวิชาการมักจะชอบพูดว่าระบบประชาธิปไตยเกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในกรีซ แต่เราควรศึกษาดูว่ามันเป็นประชาธิปไตยจริงหรือไม่ และรากฐานของระบบนี้มาจากไหน

ในยุคแรกๆ ของระบบการเมืองกรีซ จะมีกษัตริย์และความเชื่อเก่าตกค้างจากอดีต แต่เมื่อสังคมเจริญขึ้นมีชนชั้นเจ้าของที่ดินรายใหญ่เกิดขึ้นซึ่งไม่พอใจกับ พวกขุนนางเก่า จึงมีการล้มระบบกษัตริย์และสร้างสาธารณรัฐภายใต้การปกครองของอภิสิทธิ์ชน ขึ้นมาแทน

พวกอภิสิทธิ์ชนเจ้าของที่ดินรายใหญ่ นอกจากจะมีทาสแล้ว ยังบังคับให้เกษตรกรรายย่อยที่มีที่ดินของตนเองต้องจ่ายภาษีเพื่อบำรุงรัฐ และเลี้ยงดูกองทัพเรือด้วย บางครั้งเกษตรกรรายย่อยจะยากลำบากและต้องขายตัวเป็นทาสเพื่อจ่ายหนี้ สถานการณ์แบบนี้นำไปสู่ความขัดแย้งทางชนชั้นอย่างต่อเนื่องระหว่างประชาชน ธรรมดากับอภิสิทธิ์ชน หลายครั้งมีการยึดอำนาจโดยบุคคลที่ตั้งตัวเป็น “ทรราช” แล้วใช้นโยบายเอาใจคนจน เพื่อกดขี่อภิสิทธิ์ชนคนอื่นที่เป็นคู่แข่ง
   
ในกรณีเมือง อาเทนส์ มีการลุกฮือล้มอำนาจของอภิสิทธิ์ชน พร้อมกับการล้มอำนาจของ “ทรราช” ซึ่งนำมาสู่ระบบที่เขาเรียกว่า “ประชาธิปไตย” แต่ทั้งๆ ที่ประชาชนธรรมดาขึ้นมามีอำนาจ โดยมีการเลือกผู้นำและผู้พิพากษา มันไม่ใช่ประชาธิปไตยอย่างที่เราเข้าใจทุกวันนี้ เพราะทาส ช่างฝีมือกับพ่อค้ารายย่อยจากต่างเมือง และสตรี ไม่มีสิทธิเสรีภาพอะไรเลย นอกจากนี้ “ประชาธิปไตย” กรีซไม่มีผลในการลดความเหลื่อมล้ำระหว่างเจ้าของที่ดินรายใหญ่กับประชาชนเลย

อย่างไรก็ตามนักคิดหลายคนที่เป็นตัวแทนของอภิสิทธิ์ชน อย่างเช่น เพลโต และ ซอกคราทีส มักจะรังเกียจประชาธิปไตยนี้ และเสนอว่ามันเป็นระบบปกครองของ “ม็อบ” ที่ขาดการศึกษาซึ่งเปิดโอกาสให้นักการเมืองเลวฉวยโอกาสขึ้นมามีอำนาจ บ่อยครั้งพวกอภิสิทธิ์ชนที่เกลียดคนชั้นล่างและระบบประชาธิปไตย มักจะภาวนาว่า อาเทนส์ จะแพ้สงครามกับศัตรูเช่นเมือง สปาร์ตา เพื่อให้ประชาธิปไตยมันสิ้นสุดลงและอำนาจกลับมาอยู่ในมือของอภิสิทธิ์ชน
   
สาเหตุหนึ่งที่ประชาชนธรรมดาในเมือง อาเทนส์ มีอำนาจได้ ก็เพราะเมืองนี้อาศัยกำลังทหารเรือจำนวนมากในการปกป้องผลประโยชน์ ซึ่งทหารเรือเหล่านั้นคือประชาชนธรรมดานั้นเอง

 
(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2011/04/blog-post_27.html

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 20 เมษายน 2556


รายการ Intelligence ประจำวันที่ 20 เมษายน 2556 


ตุลาการซ้ำเติมวิกฤติ
http://www.dailymotion.com/video/xz5smu_y-yyyyyy 

รายการ Go Global ประจำวันที่ 20 เมษายน 2556

รายการ Go Global ประจำวันที่ 20 เมษายน 2556 



 
เหตุการลอบวางระเบิดระหว่างการจัดงานวิ่งมาราธอน ณ เมืองบอสตัน สหรัฐอเมริกา ส่งผลให้มีผู้เสียชีวิตแล้ว 3 คน บาดเจ็บอีกกว่า 170 คน

การ เปิดรับฟังข้อโต้แย้งระหว่างฝ่ายไทยและกัมพูชา กรณีการตีความคำตัดสินของศาลยุติธรรมระหว่างประเทศที่มีมติเมื่อปี ค.ศ.1962 ยกเขาพระวิหารให้เป็นกรรมสิทธิ์ของกัมพูชานั้น

นางอองซานซูจี ผู้นำฝ่ายค่านของพม่า เดินทางมาเยือนญี่ปุ่น และได้หวนกลับมาเยี่ยมศูนย์เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มหาวิทยาลัยเกียวโต

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 
TDRI ค้านได้แต่ขอให้โปร่งใส
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 19 เมษายน 2556  ตอนที่ 2
TDRI ค้านได้แต่ขอให้โปร่งใส 
http://www.dailymotion.com/video/xz4tka_tdri-y-yyyy-yy-yyyy-yyy-yyy_news#.UXK8WErK98Q 
 
 
แผนที่ฉบับใดจะตรงใจศาลโลก ?

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 19 เมษายน 2556  ตอนที่ 1
แผนที่ฉบับใดจะตรงใจศาลโลก ? 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz4ss4 

Divas Cafe ประจำวันที่ 19 เมษายน 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 19 เมษายน 2556 


  

Free Angela! Free Somyot!
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xz4ush 

"ดร.ชาญวิทย์" ชี้จุดแข็ง-จุดอ่อน คดีปราสาทพระวิหาร มองคนไทยถูกหลอกอย่างไร

"ดร.ชาญวิทย์" ชี้จุดแข็ง-จุดอ่อน คดีปราสาทพระวิหาร มองคนไทยถูกหลอกอย่างไร


 

ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ อดีตอธิการบดี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวถึง การแถลงด้วยวาจาของฝ่ายกัมพูชา กรณีปราสาทพระวิหาร ที่ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือศาลโลก ที่กรุงเฮก เมื่อวันที่ 15 เมษายน 2556 ว่า จุดอ่อนของไทย และจุดแข็งของกัมพูชา ซึ่งนายฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีต่างประเทศกัมพูชา และ (ศาสตราจารย์ฌอง มาร์ก ซอเรล) ทนายความชาวฝรั่งเศส  ผู้เป็นอาจารย์สอนอยู่มหาวิทยาลัยปารีส รุกหนัก ในการแถลงต่อศาล คือ เรื่อง แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ซึ่งประเด็นนี้ มีส่วนสำคัญ ที่ทำให้ผู้พิพากษาในปี 2505 ตัดสินให้กัมพูชาชนะ 9 ต่อ 3 เสียง

ดร.ชาญวิทย์ กล่าวว่า แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน นี้ จัดทำขึ้นโดยการสำรวจร่วมกัน ระหว่าง สยามกับฝรั่งเศส โดยตัวแทนฝ่ายสยามคือ เจ้าพระยาวงษานุประพัทธ์ (หม่อมราชวงศ์สะท้าน สนิทวงศ์) เป็นตัวแทนประชุมทุกครั้ง ฉะนั้น แม้จะเป็นแผนที่ ที่พิมพ์โดยฝรั่งเศส แต่ชนชั้นนำสยามในสมัยรัชกาลที่ 5 รับรู้ โดย สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ (พระบิดาแห่งการทูตไทย) รับแผนที่มาใช้ 50 ชุด กรมพระยาดำรงราชานุภาพ รับไปใช้และขอเพิ่ม 15 ชุด นี่คือหลักฐาน ที่ นายถนัด คอมันตร์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ รวมถึง ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช และ ทนายความ ไม่เคยบอกประชาชนชาวไทย และทำให้เข้าใจผิดมาจนทุกวันนี้

ดังนั้น ประชาชนชาวไทยไม่ทราบว่า กรมพระยาเทวะวงศ์วโรปการฯ และกรมพระยาดำรงราชานุภาพ ทำอะไร แม้แต่คนในยุคปัจจุบัน ก็ยังไม่ทราบ ส่วนรัฐบาลชุดปัจจุบัน ที่นำโดย น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ก็อึดอัด รวมถึงกระทรวงการต่างประเทศ และกระทรวงกลาโหม ก็ ไม่กล้าพูดเรื่องนี้ เพราะอาจจะถูกกล่าวหาว่า “ขายชาติ” หรือ “หนักแผ่นดิน” เนื่องจาก นี่คือ จุดอ่อนของไทย และ จุดแข็งของกัมพูชา ซึ่งฝ่ายกัมพูชา ตอกย้ำเรื่องนี้เยอะมาก

ดร.ชาญวิทย์ มองว่า ตราบใดที่รัฐบาล ฝ่ายค้าน ทหาร นักการเมือง นักวิชาการ และ สื่อมวลชน ไม่พูดเรื่องนี้ ประชาชน ก็จะถูกหลอก ว่าหลักฐานที่กัมพูชากล่าวถึง เป็นแผนที่ของฝรั่งเศส ขณะที่ความจริง คือ เป็นแผนที่ที่สำรวจร่วมกันระหว่างสยามและฝรั่งเศส

ตอนนี้สังคมไทยจึงมีสภาพที่“ผู้นำสยาม”ยอมรับแผนที่แต่ “ผู้นำไทย” ไม่ยอมรับแผนที่ ซึ่งฝ่ายไทยจะแถลงอย่างไรยังคงเป็นเรื่อง ต้องจับตาดู


*หมายเหตุ โดย ดร.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ


อนึ่ง ลัทธิชาตินิยมของประเทศเรานั้น ควรแยกแยะให้เห็นชัดเจน คือ สมัยก่อน 2475 นั้น เป็นเรื่องของสมัย “สยาม” และ “ราชาชาตินิยม” เป็นเวอร์ชั่นของรัชกาลที่ 5-6-7 กับสมเด็จกรมฯ เทววงศ์ และ กรมฯ ดำรงฯ สมัย “ราชาธิปไตย” ที่ต้องต่อสู้กับฝรั่งเศส เพื่อรักษา “เอกราช” ต้องยอม “สละ/เสียดินแดน” ให้ฝรั่งเศส ที่มีอำนาจมากกว่า แข็งแรงกว่า




ส่วนสมัยต่อมา กลายเป็น (เปลี่ยนนามประเทศ) เป็น “ไทย” จึงมีลัทธิชาตินิยมใหม่ กลายเป็น “อำมาตยาชาตินิยม” เป็นเวอร์ชั่นของ “เสนาอำมาตย์” เช่น พิบูลสงคราม/วิจิตรวาทการ/ธนิต ที่ต้องการ “ขยาย/ได้ดินแดน” ซึ่งลัทธินี้ถูกสืบทอดโดย สฤษด์/ถนอม/ถนัด รวมทั้งฝ่ายอนุรักษ์นิยม อย่างเสนีย์/คึกฤทธิ์ ปราโมช หรือผู้นำ ปชป อย่างควง อภัยวงศ์ จนถึง อภิสิทธิ เวชชาชีวะ ในปัจจุบันนี้ กลุ่มนี้ต่อสู้กับเขมรกัมพูชา ซึ่งมีอำนาจน้อยกว่า และอ่อนแอกว่า