วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2555
ฮือฮา! "อดีตซีไอเอ"ออกหนังสือเผยเรื่องราว"เทปทรมานนักโทษในคุกลับในไทย"
สำนักข่าวเอพีรายงานว่า
อดีตเจ้าหน้าที่สำนักข่าวกรองกลางสหรัฐ (ซีไอเอ)วัยเกษียณ
ผู้ถูกสั่งให้ทำลายวิดีโอการทรมานนักโทษโดยการราดน้ำ
เผยในหนังสือเกี่ยวกับเทปบันทึกภาพการทรมานนักโทษในคุกลับซีไอเอในไทยว่า
เบื่อหน่ายที่ต้องรอระเบียบที่เต็มไปด้วยพิธีรีตองของรัฐบาลในการตัดสินใจ
เพื่อปกป้องชีวิตชาวอเมริกัน
คณะนิติราษฎร์ประกาศไม่เห็นด้วยสิ้นเชิงต่อแนวทางปรองดองแบบนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย
คณะนิติราษฎร์ประกาศไม่เห็นด้วยสิ้นเชิงต่อแนวทางปรองดองแบบนิรโทษกรรมให้ทุกฝ่าย
แม้จะทำให้ประชาชนที่ร่วมชุมนุมพ้นผิดและความรับผิด แต่ผู้สั่งการและปฏิบัติการสลายการชุมนุมก็จะรอดไปพร้อมกันด้วย จึงไม่เป็นธรรมต่อผู้สูญเสียในเหตุการณ์สลายชุมนุมต่างๆ พร้อมเสนอให้แก้ รธน. ระบุให้การนิรโทษกรรมรัฐประหาร 19 ก.ย. เป็นโมฆะ เพื่อเปิดทางให้บุคคลที่ร่วมทำรัฐประหารตั้งแต่ผู้กระทำการ ผู้ใช้ ยันผู้สนับสนุน เข้าสู่กระบวนการยุติธรรม
หมายเหตุ: วันนี้ (25 เม.ย.) ในเว็บไซต์ของคณะนิติราษฎร์ ได้มีการเผยแพร่ "ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๔" โดยมีเนื้อหายืนยันถึงปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญต่อประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 112 และแสดงจุดยืนสนับสนุนให้คณะ ครก.112 รวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อเสนอแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา ม.112 ต่อสภา นอกจากนี้ยังระบุด้วยว่า "ไม่เห็นด้วยอย่างสิ้นเชิง" ต่อ "แนวทางการปรองดองหรือสมานฉันท์โดยวิธีการตรากฎหมายนิรโทษกรรมให้แก่บุคคล ทุกฝ่าย" ดังที่เคยเกิดขึ้นกับกรณี 6 ต.ค. 2519 และ พฤษภาคม 2535 พร้อมมีข้อเสนอแนวทางการตรากฎหมายเพื่อการขจัดความขัดแย้งที่เกิดขึ้นใน สังคมอย่างเป็นธรรมต่อทุกฝ่ายภายหลังรัฐประหาร 19 ก.ย. 2549 โดยมีรายละเอียดดังนี้
จุดยืนคณะนิติราษฎร์
หลังจากที่คณะนิติราษฎร์ได้เสนอให้ลบล้างผลพวงของการรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ เสนอแนวทางการยกร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ และยกร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๑๒ ซึ่งต่อมาคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา ๑๑๒ (ครก. ๑๑๒)ได้ดำเนินการรวบรวมรายชื่ออย่าน้อย ๑๐๐๐๐ รายชื่อเพื่อเสนอร่างกฎหมายดังกล่าวตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ไปยังรัฐสภา กำหนดระยะเวลารณรงค์ ๑๑๒ วัน และการรณรงค์ดังกล่าวจะครบกำหนดในวันที่ ๕ พฤษภาคม ที่จะถึงนี้ มีผู้สอบถามมายังคณะนิติราษฎร์เกี่ยวกับกิจกรรมทางวิชาการและการเคลื่อนไหว ทางความคิดที่จะดำเนินต่อไปในโอกาสครบรอบ ๘๐ ปีของการอภิวัฒน์สยาม ๒๔๗๕ ตลอดจนแนวทางทางกฎหมายในการแก้ไขปัญหาความขัดแย้งที่เกิดขึ้นในสังคมไทย คณะนิติราษฎร์เห็นสมควรที่จะได้แสดงจุดยืนและทัศนะต่อประเด็นปัญหาต่างๆ ไว้โดยสังเขป ดังนี้
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40225
นักวิชาการชี้ "พ.ร.บ.อุปถัมภ์พุทธศาสนาฯ" ขัดหลักสากล ย้ำพุทธศาสนาเน้นเสรีภาพเป็นแก่นแท้ (ชมคลิป)
นักวิชาการชี้ "พ.ร.บ.อุปถัมภ์พุทธศาสนาฯ" ขัดหลักสากล ย้ำพุทธศาสนาเน้นเสรีภาพเป็นแก่นแท้ (ชมคลิป)
เมื่อวันที่ 22 เมษายน ที่ห้องประชุม 14 ตุลาฯ (ตึกหลัง) อนุสรณ์สถาน 14 ตุลาฯ แยกคอกวัว ถ.ราชดำเนิน กลุ่มนักศึกษา อาทิ ประชาคมศิลปากรเพื่อประชาธิปไตย, สมาพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย, ธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย ฯลฯ จัดเสวนาหัวข้อ “ถกจีวรคุย : บทบาทของพระสงฆ์กับการเมืองไทยสมัยใหม่” ผศ.ดร.ชาญณรงค์ บุญหนุน อาจารย์คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร, นายสุรพศ ทวีศักดิ์ อาจารย์มหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต และ ดร.เก่งกิจ กิติเรียงลาภ คณะสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ร่วมเสวนา
นายสุรพศ กล่าวว่า พุทธศาสนากับการเมือง ชาวพุทธมักมองว่าถ้าเข้ามายุ่งในแง่สอนธรรมะสามารถทำได้ แต่หลักการไม่ได้นำมาปฏิบัติ เพราะความเป็นจริงมีพระออกมาชุมนุมเรียกร้องให้พุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ สมัยพุทธกาลพระยุ่งกับเรื่องการเมืองที่ลึกกว่านี้มาก เช่น กรณีพระเทวทัตยุยงให้เจ้าชายอชาตศัตรูทำรัฐประหาร ตรงนี้พระพุทธเจ้าไม่ได้ประณามว่ามีความผิด พูดแค่ว่า สิ่งใดที่เทวทัตยืนยันนั้นไม่เกี่ยวกับคณะสงฆ์ของพระองค์ ไม่ได้บอกว่ายุ่งกับการเมืองผิด
นายสุรพศกล่าวว่า พระยุ่งเกี่ยวกับการเมืองมาตลอดทุกยุคทุกสมัย แต่กรณีพระบอกว่า ฆ่าคอมมิวนิสต์ไม่บาป หรือ ฆ่าเวลาบาปกว่าฆ่าคน เป็นการสร้างวาทกรรมมาเพื่อรับใช้อำนาจรัฐ แสดงความเห็นบิดเบือน น่าแปลกที่สังคมไทยไม่เรียกร้องเอาผิด ทั้งที่วาทกรรมแบบนี้มีผลกระทบมากเพราะอ้างอิงพุทธศาสนาไปสนับสนุนความรุนแรง
"การที่พระสงฆ์เลือกฝ่ายเหลือง แดง ไม่ผิด ตราบใดไม่สนับสนุนให้เกิดความรุนแรง ยืนยันสันติวิธี แต่ปรากฏว่าพระมักเอาจุดยืนทางศาสนามาเป็นจุดยืนทางการเมือง เช่น จะเอาพุทธศาสนาเป็นศาสนาประจำชาติ ยกให้เหนือกว่าศาสนาอื่นขัดกับหลักความเสมอภาค แม้แต่ ร่าง พ.ร.บ.อุปถัมภ์และคุ้มครองพระพุทธศาสนา ยังไม่มีความชอบธรรมตามหลักการสากล คือถ้าจะมีควรเป็นกฎหมายอันเดียวกัน ทุกศาสนาเสมอภาคกัน เราจะเอาอุดมการณ์ศาสนามาเป็นอุดมการณ์ของรัฐไม่ได้ เพราะแม้แต่คนไม่นับถือศาสนาก็เป็นเสรีภาพ ตามหลักประชาธิปไตย"นายสุรพศกล่าว
นายสุรพศ กล่าวอีกว่า พระพุทธเจ้าเน้นเรื่องเสรีภาพ ธรรมะคือเสรีภาพที่อยู่ภายในที่เบ่งบานขึ้นมา จนถึงจุดสูงสุดหลุดพ้นจากกิเลส เสรีภาพคือแก่นของธรรมมะ เพราะฉะนั้นอะไรขัดแย้งก็ไม่ใช่ แม้เน้นเสรีภาพทางจิตใจ แต่ย่อมไม่ปฏิเสธเสรีภาพทางการเมือง
(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335099400&grpid=01&catid=01
ถ้าอำนาจศาลเป็นอำนาจอิสระ ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีความผิดม.112 มีอำนาจอิสระจริงหรือไม่..?
ถ้าอำนาจศาลเป็นอำนาจอิสระ ผู้พิพากษาที่พิจารณาคดีความผิดม.112 มีอำนาจอิสระจริงหรือไม่..?
วิญญูชน คนทั่วไปมีเหตุอันสมควรต่อการตั้งคำถามว่า เป็นไปได้หรือ ที่ศาลจะหลุดพ้นจากอคติสี่ ในขณะที่มติหนึ่งมีนโยบายปกป้องสถาบันพระมหากษัตริย์ แต่ในอีกมติหนึ่งนั่งพิจารณาคดี, วินิจฉัย, พิพากษา ข้อพิพาทความผิดระหว่างผู้ถูกกล่าวหาตามมาตรา 112 กับสถาบันพระมหากษัตริย์
โดยทางกฏหมาย นัยหนึ่งของการกระทำความผิดตามประมวลกฏหมายอาญามาตรา
112 เป็นความผิดต่อความมั่นคง, ไม่ใช่ความผิดส่วนตัว,
เป็นความผิดระหว่างผู้ถูกกล่าวหากับรัฐ, ขบวนการยุติธรรมไทยถือนัยนี้ดำเนินคดีความกับผู้ถูกกล่าวหา
ในทางกลับกัน ถ้าพิจารณาอีกนัยหนึ่ง เป็นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนกับเอกชน
ความผิดฐานนี้ย่อมเป็นความผิดส่วนตัว การกล่าวถ้อยคำ ดูหมิ่น หรือสบประมาทตามความในมาตรานี้จึงเป็นเรื่องของศรัทธา
เป็นข้อพิพาทระหว่างผู้ถูกกล่าวหากับบุคคลในสถาบันพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ตามแม้ทั้งสองนัยเป็นการละเมิดสิทธิทางอาญา
แต่มีผลแตกต่างกัน นัยแรกเป็นความผิดอันไม่อาจยอมความได้ กำหนดโทษขั้นต่ำสามปี ขั้นสูงสิบห้าปี
ส่วนในนัยหลังเป็นความผิดอันยอมความได้ และมีโทษจำคุกสูงสุดไม่เกินหนึ่งหรือสองปี
โดยไม่มีโทษขั้นต่ำ
นอกจากนั้นยังเปิดโอกาสให้ผู้ถูกกล่าวหาพิสูจน์ความสุจริตของการกล่าวถ้อยคำ
หรือการกระทำอันถือว่าเป็นการหมิ่นประมาท หรือดูหมิ่น[1]
เมื่อนำสองนัยมาเปรียบเทียบกัน,
ลักษณะการกระทำความผิดประเภทเดียวกัน (ถึงแม้จะใช้คำแตกต่างกัน), แต่เป็นความผิดต่างฐานต่างหมวดความผิด,
มีผลและโทษทางกฏหมายแตกต่างกัน ความเด่นชัดในเหตุที่แตกต่างกันเช่นนี้ก็คือ
ฐานะของผู้ถูกหมิ่น, ถูกประมาท, หรือถูกละเมิด, ประวัติศาสตร์ที่ขาดการกวาดล้างชำระบอกให้คนไทยโดยทั่วไปเชื่อโดยสุจริตว่า
บุคคลในฐานะหนึ่งควรได้รับการคุ้มครองพิเศษ แตกต่างออกไปจากฐานะของบุคคลธรรมดาอีกฐานะหนึ่ง
กล่าวตรงความหมายคือ มีศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ไม่เท่าเทียมกัน และนี่คือความเป็นมาของประมวลกฏหมายอาญามาตรา
112 โดยเฉพาะบทบัญญัติปัจจุบัน ผู้ประกาศใช้จงใจเจตนา
นำบทลงโทษมาเป็นเครื่องมือยืนยันถึง ความบกพร่องของการเขียนประวัติศาสตร์,
ความแตกต่างกันของศักดิ์ศรีความเป็นมนุษยชาติ, เป็นอคติความลำเอียง ขัดต่อหลักคุณธรรม-มนุษยธรรมทางกฏหมายอันมีมานับแต่แรก
ดังนั้น การกำหนดโทษบังคับต่อการที่ใครไม่ศรัทธาใคร โดยวิธีการการกำหราบปราบปราม
มีโทษขั้นต่ำสามปี และกำหนดโทษขั้นสูงถึงสิบห้าปี ไม่ว่าจะมองทางใด ย่อมเป็นเรื่องเกินเหตุ,
เกินสมควร, เกินความจำเป็น
เป็นเรื่องที่น่าประหลาดประการหนึ่งในขบวนการศาลยุติธรรมไทย
แม้กฏหมายมาตรานี้เป็น ‘ผลไม้จากต้นไม้พิษ’[2] ศาลยุติธรรมซึ่งประกอบด้วยบุคคลที่มีความรู้ความสามารถทางหลักการ,
ตัวบท, กฏหมาย นำมาซึ่งความยุติธรรม ตรงกันข้าม
กลับเป็นผู้ใช้กฏหมายมาตรานี้โดยปราศจากความรู้สึกผิดต่อคุณธรรมทางกฏหมาย
ดุลพินิจปฏิเสธการให้ประกันตัวผู้ต้องหาก็ดี, การพิจารณาเป็นความลับก็ดี,
หรือภาษาที่ใช้ในคำพิพากษาก็ดี[3]
บ่งชี้ถึงนโยบายที่ต้องกำหราบปราบปรามผู้กระทำความผิดชนิด ‘กำปั้นเหล็ก’
โดยปราศจากข้อเสนอแนะ, หรือปรับปรุงแก้ไข ให้กฏหมายมาตรานี้สอดคล้องเป็นไปตามหลักคุณธรรมทางกฏหมาย
เมื่อเหตุกระทบถึงสิทธิของศาลยุติธรรม
ศาลอ้างกฏหมายรัฐธรรมนูญ[4] แต่เมื่อยามกฏหมายรัฐธรรมนูญมีปัญหาเรื่องการจัดความสัมพันธ์
ระหว่างสิทธิของสถาบันพระมหากษัตริย์กับสิทธิของประชาชน
ศาลยุติธรรมวางตัวคลุมเคลือ ไม่ชัดเจน ต่ออำนาจอธิปไตยเป็นของใคร ควรมีกฏหมายหมายรัฐธรรมนูญฉบับสมบูรณาญาสิทธิราช
หรือควรมีกฏหมายรัฐธรรมนูญฉบับประชาธิปไตย ให้สิทธิเสียงประชาชน
เป็นผู้อำนาจอย่างแท้จริง
ปฏิเสธไม่ได้ว่า
ประวัติความเป็นมาของขบวนการผู้พิพากษาตุลาการ มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดกับสถาบันพระมหากษัตริย์
แต่นั่นเป็นอดีต อดีตที่ผู้พิพากษา ตุลาการ ใช้ความสัมพันธ์ลักษณะตัวการตัวแทน[5] ในการไต่สวน ทวนความ คดีความ
(อ่านต่อ)
รัฐบาลเดิน 2 ขา กัน "ไพร่" พบ "ป๋า" รักษา "ฐานแดง"
รัฐบาลเดิน 2 ขา กัน "ไพร่" พบ "ป๋า" รักษา "ฐานแดง"
26 เมษายน เป็นวันที่บรรดา "คนการเมือง" ทั้งฝ่าย "อำนาจใหม่" และ "อำนาจเก่า" ต้องจับจ้องเป็นพิเศษ
เมื่อ "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" นายกรัฐมนตรี มีกำหนดการเข้ารดน้ำดำหัวและอวยพร "พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์" ประธานองคมนตรีและรัฐบุรุษ เนื่องในเทศกาลสงกรานต์ที่เพิ่งผ่านมา
ถือเป็นการพบกันครั้งที่ 3 ของ "2 ผู้ยิ่งใหญ่" หลังเคยปะหน้ากันที่สโมสรทหารบก และทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว
ทว่าครั้งนี้ "พล.อ.เปรม" เป็นฝ่ายเปิดบ้าน "สี่เสาเทเวศร์" ต้อนรับ "น้องสาว" ของ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี
ที่ผ่านมาคนใน "เครือข่ายชินวัตร" มีโอกาสเข้าพบ "พล.อ.เปรม" ที่บ้าน "สี่เสาเทเวศร์" แล้ว 2 คน
คน แรกคือ "คุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์" อดีตภรรยา "พ.ต.ท.ทักษิณ" เข้าพบเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2549 หลังผ่านเหตุการณ์ "ปฏิวัติ 19 กันยายน 2549" ได้เพียง 1 เดือน
โดยมี "พล.อ.อู๊ด เบื้องบน" นายทหารคนสนิท "พล.อ.เปรม" เป็นผู้ประสานงานให้
คน ที่สองคือ "พล.ต.อ.เพรียวพันธ์ ดามาพงศ์" ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ (ผบ.ตร.) ที่ติดสอยห้อยท้าย "ผู้นำเหล่าทัพ" เข้ารดน้ำหัว "พล.อ.เปรม" เมื่อวันที่ 18 เมษายนที่ผ่านมา
ฉะนั้น "ยิ่งลักษณ์" จึงถือเป็นคนที่ 3 ของตระกูลที่มีโอกาสเข้า "บ้านป๋า" แบบจะๆ แจ้งๆ
ว่ากันว่ามี "พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา" รองนายกรัฐมนตรี และ "กิตติรัตน์ ณ ระนอง" รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.คลัง เป็น "มือดิว"
โดย เฉพาะในรายของ "กิตติรัตน์" ซึ่งเคยประสบความสำเร็จในการส่งเทียบเชิญ "ป๋า" มาร่วมงาน "รักเมืองไทย เดินหน้าประเทศไทย" ที่ทำเนียบรัฐบาลมาแล้ว
เพราะ โดยตัวคนชื่อ "กิตติรัตน์" ถูกมองเป็นฝ่าย "อนุรักษนิยม" คนหนึ่ง ทำให้การประสานงานกับพี่-น้อง-พวก-พ้อง หัว "อนุรักษนิยม" ด้วยกันไม่ใช่เรื่องยาก
เรื่องยากกว่านั้นคือการนำ "คณะรัฐมนตรี (ครม.)" ทั้งหมดเข้ารดน้ำดำหัว "พล.อ.เปรม" เพราะบางส่วนถูกมองว่าเป็น "ของแสลง" ของ "เจ้าบ้าน"
โดยเฉพาะ "ณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ" รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ที่ถูกสังคมจับจ้องพอสมควร ด้วยเพราะหมวกอีกใบคือ "แกนนำคนเสื้อแดง" ที่เคยนำมวลชนบุกบ้าน "พล.อ.เปรม"
และเป็นเจ้าของวาทะ "ระเบิดภูเขาที่ขวางกั้นฟ้า"
ดังนั้น หากให้ "ณัฐวุฒิ" เข้ารดน้ำดำหัว "พล.อ.เปรม" อาจถูก "คนเสื้อแดง" ประณามได้ว่าคือการสยบยอมต่อ "หัวหน้าอำมาตย์"
และหาก "แกนนำ" ถูกมองว่าสยบยอม อาจก่อให้มีปัญหาในการปกครองได้
อย่า ได้แปลกใจหากรายการนี้จะกำหนดให้เฉพาะ "นายกฯ" และ "รองนายกฯ" เท่านั้นที่ได้เข้าบ้านสี่เสาเทเวศร์ หลังคิด-อ่านกันอย่างดี ทั้งนี้เพื่อแยก "ขา" กันเล่น แบ่ง "ทาง" กันเดิน แต่มีจุดมุ่งหมายเดียวกัน
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335325425&grpid=01&catid=&subcatid=
หยุดโพนทะนา กันเสียที......
หยุดโพนทะนา กันเสียที......
หยุดโพนทะนา กันเสียที......
ทรงพลัง ยังเป็นแดง ที่แข็งแกร่ง
ยังแข็งแรง แดงยังรัก สมัครสมาน
มือยังจับ กระชับกัน ดุจวันวาน
กาลสู่กาล ปราการแดง แกร่งกำลัง
ยุให้รำ ตำให้รั่ว ชั่วหนักหนา
สื่อภาษา สร้างเรื่องราว คราวหนหลัง
ยุและแยง ตะแบงให้ ใช้กำลัง
แต่มนต์ขลัง ยังศักดิ์สิทธิ์ ด้วยฤทธา
อิทธิฤทธิ์ มหิทธา มหาเทพ
ที่หยิกเล็บ เหน็บแดงไซร์ ใช่ปัญหา
สรรพาวุธ สุดชั่วชาติ อำมาตยา
มิอาจมา บีฑาแดง ให้แบ่งกัน
แม้นสร้างสรรค์ อันตราย เรียงรายขวาง
จักร่วมสร้าง เกราะแก้วเพชร เจ็ดชั้นกั้น
ร้อยโซ่ทอง คล้องดวงใจ กันและกัน
ภัยมหันต์ อันตราย คลายรุนแรง
หยุดฆ่าเถิด ประเสริฐหนา เทวดาเอ๋ย
หยุดละเลย ยุติธรรม หยุดกำแหง
หยุดอำนาจ อำมาตยา ฆ่าสีแดง
หยุดแยกแบ่ง แดงกับเหลือง หยุดเคืองกัน
สรรพสัตว์ ยามวางวาย เมื่อตายแล้ว
มิอาจแคล้ว จากบ่วงกรรม นำอาสัญ
เพียงชีวิต ที่ยังเหลือ จุนเจือกัน
ความสุขนั้น ก็เหลือล้น หยุดโพนทะนา..........หยุดโพนทะนา กันเสียที......
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)