หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 1 มิถุนายน พ.ศ. 2555

ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 01/06/55 ปรองดองกัน..ก่อนไปขวางปรองดอง


ล้านคำบรรยาย การ์ตูนเซีย 01/06/55 ปรองดองกัน..ก่อนไปขวางปรองดอง

 

 

ใช้กลเกม สามานย์ สันดานสถุน
เติมคุกรุ่น ฝังราก มากปัญหา

เป็นร้อยเล่ห์ อมนุษย์ สุดมารยา

เลวเกินกว่า เขียนบรรยาย ขยายคำ....


ยังสมสู่ กอดคอ ก่อวิบัติ

เลวกว่าสัตว์ แสนเวทนา ช่างน่าขำ

คนมองออก ไอ้พวกนี้ อัปรีย์ระยำ

จิตใจต่ำ น่าสมเพช กว่าเศษธุลี....


แพ้ทั้งปี ยังชวนตี ไอ้ขี้ครอก

คำสำรอก ก่นด่า น่าบัดสี

แค่ละคร ต่ำช้า หน้าเวที

แต่หลังฉาก แอบจู๋จี๋ กาลีนัก....


แล้วกอดคอ ขวางปรองดอง สนองกิเลส

สันดานเปรต ชนรู้เห็น เป็นประจักษ์

เหิ้ยกอดเหิ้ย เลวระยำ ทำคึกคัก

พวกดีดัก ก็ตามโอ่ โง่ทั้งปี....


สงครามมัน ครั้งสุดท้าย ฉิบหายแน่

ไม่เพียงแต่ มันขาดวิ่น สิ้นศักดิ์ศรี

จุดไม่ติด แล้วหนอ พอกันที

ฉากสุดท้าย ไม่ตายดี ยี้ทั้งเมือง....


๓ บลา / ๑ มิ.ย.๕๕

http://3blabla.blogspot.com

จดหมายเปิดผนึก คัดค้าน พ.ร.บ. ปรองดองฉบับหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2549

จดหมายเปิดผนึก คัดค้าน พ.ร.บ. ปรองดองฉบับหัวหน้าคณะรัฐประหาร 2549

 

ACT4DEM 

แอคชั่นเพื่อประชาธิปไตยในประเทศไทย



28 พฤษภาคม 2555
เรียน ฯพณฯ นายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตร และสมาชิกรัฐสภาทุกท่าน


คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (คปค.) ประกาศยึดประเทศและโค่นรัฐบาลที่ได้รับการเลือกต้ังมาจากประชาชนในเวลา 22.54 น.​ คืนวันที่ 19 กันยายน 2549 และเข้าเฝ้าพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในเวลาเกือบเที่ยงคืน  ในวันที่ 20 กันยายน คปค. ออกประกาศฉบับที่ 3/2549 ให้รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 สิ้นสุดลง ให้วุฒิสภา สภาผู้แทนราษฎร คณะรัฐมนตรี และศาลรัฐธรรมนูญ สิ้นสุดลงพร้อมกับ รัฐธรรมนูญ ให้คณะองคมนตรีดำรงตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ต่อไป ให้ศาลคงอำนาจหน้าที่ต่อไป ในวันที่ 22 กันยายน เวลา 12.00 น. โทรทัศน์รวมการเฉพาะกิจแห่งประเทศไทย ถ่ายทอดเทปบันทึกภาพ พิธีรับสนองพระบรมราชโองการ โปรดเกล้าฯ แต่งตั้ง พลเอกสนธิ บุญยรัตกลิน เป็นหัวหน้าคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรง เป็นประมุข และในวันที่  1 ตุลาคม คปค. ประกาศใช้ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) 2549 ทั้งนี้ในมาตรา 37  ระบุนิรโทษกรรคผู้ก่อการรัฐประหารทั้งหมด “ไม่ว่าเป็นการกระทำเพื่อให้มีผลบังคับในทางนิติบัญญัติ ในทางบริหาร หรือในทางตุลาการ รวมทั้งการลงโทษและการกระทำอันเป็นการบริหารราชการอย่าง อื่น ไม่ว่ากระทำในฐานะตัวการ ผู้สนับสนุน ผู้ใช้ให้กระทำ หรือผู้ถูกใช้ให้กระทำ และไม่ว่ากระทำในวันที่กล่าวนั้นหรือก่อนหรือหลังวันที่กล่าวนั้น หากการกระทำนั้นผิดต่อกฎหมายก็ให้ผู้กระทำพ้นจากความผิดและความรับผิดโดย สิ้นเชิง”

นี่คือธรรมเนียมปฏิบัติของการรัฐประหารในประเทศไทยที่ประสบความสำเร็จเป็นครั้งที่ 9 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ผ่านไป 6 ปี นอกจากไม่มีผู้ร่วมในการทำการรัฐประหารโค่นกระบวนการประชาธิปไตยแม้แต่คน เดียว(อีกครั้งหนึ่งแล้ว) ได้รับโทษจากการล้มล้างรัฐธรรมนูญครั้งนี้ หัวหน้าคณะรัฐประหารยังได้ก่อตั้งพรรคการเมืองและนั่งอยู่ในสภาในฐานะ "ประธานกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ (กมธ.ปรองดอง) สภาผู้แทนราษฎร" โดยขณะนี้ได้ชงร่าง "พระราชบัญญัติว่าด้วยความปรองดองแห่งชาติ" ที่ระบุว่า “ อันเป็นไปตามประเพณีที่ประเทศไทยเคยปฏิบัติมาแล้วหลายครั้งและเป็นไปตาม มาตรฐานสากลด้วยการนิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดอันมีสาเหตุจากความขัดแย้ง ทางการเมืองที่ได้กระทำระหว่างวันที่ 15 กันยายน 2548 จนถึงวันที่ 10 พฤษภาคม 2554”

 

(อ่านต่อ)

 http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40747

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?

คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?
 



ศาลรธน.รับคำร้อง40สว.ถอนร่างแก้รธน.สั่งสภาชะลอพิพิจารณานัดไต่สวน5-6กค.





คำสั่งศาลรัฐธรรมนูญวันนี้ ส่งผลสะเทือนต่อระบบกฎหมายรัฐธรรมนูญอย่างไร?

๑.) ต่อไปนี้ ศาลรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้กุมชะตากรรมของ "การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ" ทุกครั้ง

๒.) ลำดับชั้นของอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ อำนาจที่รับมาจากรัฐธรรมนูญ จะเสียไปทั้งหมด

๓.) การสั่งให้สภาระงับการแก้ไขรัฐธรรมนูญไว้ชั่วคราว ไม่มีรัฐธรรมนูญเขียนไว้เลย แต่ศาลรัฐธรรมนูญยังสามารถไปเอา วิ แพ่ง มาใช้ นั่นหมายความว่า อนาคตอาจมีอีก (ไม่ต้องอ้างเยอรมันหรอกครับ ผมเอาไปสอนในชั้น ป โท เองแหละ เรื่องนี้ แต่ของเยอรมัน เขาเขียนให้อำนาจศาล รธน ในการระงับการบังคับใช้รัฐบัญญัติได้ชั่วคราว ไมใช่เรื่องการแก้รัฐธรรมนูญ และอำนาจนี้ต้องเขียนไว้ใน รธน ให้ชัด ของเราไม่มีเขียน แต่ลากเอา วิ แพ่งมาใช้)

ปัญหาอยู่ที่ว่า เมื่อศาลรัฐธรรมนูญ ที่รัฐธรรมนูญสร้างขึ้นมาเพื่อพิทักษ์รัฐธรรมนูญ กลับเป็นองค์กรที่ละเมิดรัฐธรรมนูญเอง แล้วจะทำอย่างไร?

-- อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

------------------------------------------------

Quote of the Day


การที่ศาลรธน.มีคำสั่งให้สภา ผู้แทนราษฎรระงับการพิจารณาร่างแก้ไข รธน.มาตรา 291 ถือได้ว่าเป็นการกระทำที่ส่อว่าจงใจใช้อำนาจหน้าที่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐ ธรรมนูญ เพราะเป็นการก้าวก่ายการใช้อำนาจหน้าที่ของฝ่ายนิติบัญญัติ ซึ่งขัดต่อหลักการแบ่งแยกอำนาจการปกครองระบอบประชาธิปไตย ตุลาการที่ออกคำสั่งดังกล่าวจึงมีลักษณะเข้าข่ายที่อาจถูกถอดถอนตามบท บัญญัติมาตรา 270 ได้ ฉะนั้น จึงขอเสนอให้มีการรณรงค์เพื่อร่วมกันเข้าชื่อถอดถอนตามกระบวนการที่ รธน.บัญญัติไว้
 
พนัส ทัศนียานนท์
เฟซบุ๊ก พนัส ทัศนียานนท์ อดีตคณบดี นิติศาสตร์ มธ. และ สว.เลือกตั้งปี 2540
รัฐสภาต้องยืนยันอำนาจของตนเอง เดินหน้าไปเลย ถึงเวลาต้องชนกันแล้ว มิฉะนั้นหลักการมีอำนาจสูงสุดของประชาชนผ่านรัฐสภาจะถูกทำลายลงจนหมดสิ้น

-- อ.พนัส ทัศนียานนท์ อดีต สว.จังหวัดตาก และอดีตคณบดีคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ความคิดเห็นหลังศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้องล้มรัฐธรรมนูญ โดยสั่งสภาฯ ระงับลงมติวาระ 3
 
มาตรา ๒๙๑ การแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญให้กระทำได้ตามหลักเกณฑ์และวิธีการดังต่อไปนี้

(๑) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องมาจากคณะรัฐมนตรี สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร หรือจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรและสมาชิกวุฒิสภามีจำนวนไม่น้อยกว่าหนึ่งในห้าของจำนวนสมาชิกทั้งหมด เท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา หรือจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งจำนวนไม่น้อยกว่าห้าหมื่นคนตามกฎหมายว่าด้วยการเข้าชื่อเสนอกฎหมาย
ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญที่มีผลเป็นการเปลี่ยนแปลงการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข หรือเปลี่ยนแปลงรูปของรัฐ จะเสนอมิได้

(๒) ญัตติขอแก้ไขเพิ่มเติมต้องเสนอเป็นร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมและให้รัฐสภาพิจารณา
เป็นสามวาระ

(๓) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่หนึ่งขั้นรับหลักการ ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการแก้ไขเพิ่มเติมนั้น ไม่น้อยกว่ากึ่งหนึ่งของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๔) การพิจารณาในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ต้องจัดให้มีการรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เข้าชื่อเสนอร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมด้วยการออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สองขั้นพิจารณาเรียงลำดับมาตรา ให้ถือเอาเสียงข้างมากเป็นประมาณ

(๕) เมื่อการพิจารณาวาระที่สองเสร็จสิ้นแล้ว ให้รอไว้สิบห้าวัน เมื่อพ้นกำหนดนี้แล้วให้รัฐสภาพิจารณาในวาระที่สามต่อไป
(๖) การออกเสียงลงคะแนนในวาระที่สามขั้นสุดท้าย ให้ใช้วิธีเรียกชื่อและลงคะแนนโดยเปิดเผย และต้องมีคะแนนเสียงเห็นชอบด้วยในการที่จะให้ออกใช้เป็นรัฐธรรมนูญมากกว่ากึ่งหนึ่
ของจำนวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของทั้งสองสภา

(๗) เมื่อการลงมติได้เป็นไปตามที่กล่าวแล้ว ให้นำร่างรัฐธรรมนูญแก้ไขเพิ่มเติมขึ้นทูลเกล้าทูลกระหม่อมถวาย และให้นำบทบัญญัติมาตรา ๑๕๐ และมาตรา ๑๕๑ มาใช้บังคับโดยอนุโลม

-----------------------
เมื่อมาตรา 291 ไม่มีช่องทางให้มีการเลือกตั้ง สสร. ฉะนั้น จึงต้องมีการแก้มาตรา 291 ให้สามารถเลือกตั้งสสร. ได้ก่อนค่ะ จึงจะมีสสร.ได้

เพราะฉะนั้น แก้ 291 ไม่ได้ ไม่มี สสร. ค่ะ
(หากข้อเท็จจริงผิดพลาดประการใดแลกเปลี่ยนกันได้นะคะ)


(คลิกอ่าน)
กลุ่มธรรมศาสตร์เสรีเพื่อประชาธิปไตย (LLTD) 

Wake Up Thailand 01มิย55

Wake Up Thailand 01มิย55

 

 

(คลิกฟัง)

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=6oIa3nSnDfI





The Daily Dose 01มิย55

The Daily Dose 01มิย55

 

(คลิกฟัง) 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ml_r-ilPTzI

"เกษียร-สมศักดิ์" วิเคราะห์ปรากฏการณ์ร้อน "ปิดสภา-รปห." ไม่ชนะอย่างยั่งยืน "การเมืองมวลชน" จัดการยาก

"เกษียร-สมศักดิ์" วิเคราะห์ปรากฏการณ์ร้อน "ปิดสภา-รปห." ไม่ชนะอย่างยั่งยืน "การเมืองมวลชน" จัดการยาก

 

เกษียร                                                                           สมศักดิ์

 

 
"เกษียร เตชะพีระ" นักวิชาการคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" จากภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ มหาวิทยาลัยเดียวกัน ได้จับกระแสความขัดแย้งทางการเมืองที่ปะทุขึ้นรอบใหม่ จากการพิจารณา ร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง ในสภาผู้แทนราษฎร ไปสู่ประเด็นที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติรับคำร้องวินิจฉัยว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ถือเป็นการขัดรัฐธรรมนูญ 2550 และเป็นการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ พร้อมสั่งให้ระงับการลงมติในวาระ 3 ในวันที่ 5 มิ.ย.ทันที และให้ผู้ถูกร้องทำหนังสือชี้แจงภายใน 15 วัน ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว มีเนื้อหา ดังนี้ 

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338545670&grpid=01&catid=&subcatid=

ประมวลภาพทัพ"พธม.-หลากสี"ปิดล้อมรัฐสภา ทุกเส้นทาง ขวางออก"ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง"

ประมวลภาพทัพ"พธม.-หลากสี"ปิดล้อมรัฐสภา ทุกเส้นทาง ขวางออก"ร่างพ.ร.บ.ปรองดอง"

 

 

ตั้งแต่เมื่อช่วงเช้าวันที่ 1 มิถุนายน ที่ผ่านมา  กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย และกลุ่มคนเสื้อหลากสี   ได้กระจายกำลังพลปิดล้อมถนนทั่วทุกด้านทางเข้า-ออก อาคารรัฐสภา ในการสกัดกั้นมิให้ ส.ส.พรรคเพื่อไทยเข้าประชุมสภาผู้แทนราษฎร  เพื่อพิจารณาร่าง พ.ร.บ.ว่าด้วยความปรองดอง พ.ศ...  ได้ ท่ามกลางกำลังของเจ้าหน้าที่ตำรวจนครบาลที่มาดูแลความปลอดภัยเต็มทุกพื้นที่



ต่อมา เมื่อเวลา 13.20 น.  นายสมศักด์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎรได้แถลงที่พรรคเพื่อไทยว่า  ตนมีคำสั่งให้เลื่อนการประชุมสภาฯ ออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อต้องการรักษาบรรยากาศของบ้านเมืองให้ดีขึ้น ส่วนจะประชุมสภาฯ กันได้เมื่อไหร่นั้นคงต้องดูบรรยากาศการเมืองอีกครั้ง

 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338536600&grpid&catid=01&subcatid=0100

"พันธมิตรฯ" ประกาศยุติชุมนุมแล้ว อ้างความสำเร็จครั้งใหญ่ยุติการประชุมร่าง พ.ร.บ.ปรองดองได้ (ชมคลิป)

"พันธมิตรฯ" ประกาศยุติชุมนุมแล้ว อ้างความสำเร็จครั้งใหญ่ยุติการประชุมร่าง พ.ร.บ.ปรองดองได้ (ชมคลิป)

 


หลังจากที่กลุ่มพันธมิตรฯ ได้ปักหลักชุมนุมที่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า และบริเวณหน้าอาคารรัฐสภาฯ รวม 2 วัน จนกระทั่งเวลา 17.55 น. วันที่ 1 มิถุนายน นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ โฆษกพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้อ่านแถลงการณ์ฉบับที่ 4/2555 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


เรื่อง "คัดค้านกฎหมายล้างผิดให้กับระบอบทักษิณ" โดยมีเนื้อหาดังนี้

(อ่านต่อ)            
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1338548804&grpid=00&catid=01&subcatid=0100

บก.ลายจุด: "ต้านรัฐประหาร" @ทวิตภพ ณ บัดนาว

บก.ลายจุด: "ต้านรัฐประหาร" @ทวิตภพ ณ บัดนาว

 

 

สมบัติ  บุญงามอนงค์ (บก.ลายจุด)
ที่มา: nuhttp://www.twitter.com/ling 



ขออนุญาตแถลงข่าวเรื่อง "ต้านรัฐประหาร" @ทวิตภพ ณ บัดนาว
ตลอดทั้งวันของวันนี้ เต็มไปด้วยกระแสข่าวการเตรียมการรัฐประหาร อันสืบเนื่องจากการชุมนุมของ พธม. และ ท่าทีของ ปชป. ในสภา

การชุมนุมของ พธม. เพื่อต้าน พรบ ปรองดอง ผมมองว่า เป็นเรื่องเข้าใจได้ และ พธม. ต้องแสดงตน เพราะผูกตัวเองไว้กับเรื่องทักษิณมาหลายปี

แม้ พธม. จะมีกำลังมวลชนเหลือไม่มาก แต่การประสานเครือข่ายกับ ปชป. ในนามของ สยามสามัคคี เกิดขึ้นได้ แม้จะเดินแยกกันมาระยะหนึ่งแล้ว  อย่างน้อยที่สุด ภาพรวมการเคลื่อนไหวครั้งนี้ประกอบด้วย 2 กลุ่มใหญ่ คือ พธม. และ ปชป. โดย พธม.  ออกตัวให้ก่อนนอกสภา ส่วน ปชป. เล่มเกมในสภา

เหตุการณ์ 2 วันก่อนในสภาของ ปชป. แสดงให้เห็นว่า ทุ่มสุดตัว เกหมดหน้าตัก ไม่ต้องไว้ฟอร์มหน้าตาของพรรค เพื่อสร้างสถานการณ์ในสภาว่าไม่ใช่คำตอบ

การที่ ส.ส. ชาย 3 คนเดินขึ้นไปบนบันลังก์แล้วฉุดกระชากประมุขฝ่ายนิติบัญญัติให้ลงจากเก้าอี้ เป็นการแสดงถึงการล้มอำนาจในสภา ซึ่งน่าสังเวชใจ

การที่ ส.ส. รังสิมา ลากเก้าอี้ประธานสภาฯ ไปซ่อน ยิ่งตอกย้ำว่า เขาไม่ยอมให้มีการประชุมสภา ไม่รวมถึงการโยนแฟ้มและบีบคอ สส จิรายุ ภาพเน่าสนิทพฤติกรรมของ ส.ส. ปชป. ใน 2 วันที่ผ่านมา ไม่ต้องสงสัยว่า นี่เป็นความรู้เห็นและเตรียมการของ ปชป. โดยมีผู้ใหญ่ในพรรคส่งสัญญาณเต็มที่

งานนี้ถือว่า คงลงหน้าตักมากสุดคือ ปชป.  เพราะแก้ผ้าเล่นกันไพ่เสี่ยง ยอมแลกกับภาพลักษณ์เจ้าหลักการและยึดมั่นในระบอบรัฐสภาของตนเอง ทิ้งไพ่เรื่องที่ต้องพิจารณาคือการลงแรงของ ปชป. รอบนี้ จะเหมือนกับตอน ไม่ส่งผู้สมัครลงเลือกตั้งเมื่อปี 49 เพื่อล้มเกมเลือกตั้งหรือไม่

คำถามจึงมีอยู่ว่า ปชป. ลงทุนสูงขนาดนี้ หวังแค่ล้ม พรบ ปรองดอง หรือว่าคิดไกลกว่านั้น

หาก ปชป.และ พธม. คิดจะล้มอะไรบางอย่างที่มากกว่า พรบ. ปรองดอง พวกเขาจะต้องมีตัวช่วยสำคัญ คือ ทหาร

มีผู้วิเคราะห์ว่า การรัฐประหารโดยทหารเป็นสิ่งที่ทำได้ยาก ความเป็นไปได้มากสุดคือ การรัฐประหารโดยกฎหมาย วันนี้เราเห็นศาล รธน. เคลื่อนแล้ว

 

(อ่านต่อ)

http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40802

ประธานสภาประกาศเลื่อนพิจารณาปรองดองไม่มีกำหนด หลังพันธมิตรฯ ปิดล้อม ส.ส. เข้าสภาไม่ได้

ประธานสภาประกาศเลื่อนพิจารณาปรองดองไม่มีกำหนด หลังพันธมิตรฯ ปิดล้อม ส.ส. เข้าสภาไม่ได้

 

Posted Image


เวลา 13.30 น.นายสมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์ ประธานสภาผู้แทนราษฎร แถลงที่พรรคเพื่อไทยว่าประกาศเลื่อนการประชุมสภาออกไปอย่างไม่มีกำหนด เพื่อ รักษาบรรยากาศทางการเมืองไม่ให้มีเหตุการณ์รุนแรง โดยระบุว่าร่างพ.ร.บ.ปรองดองฯ ได้ถูกบรรจุในระเบียบวาระของสภาเรียบร้อยแล้ว จึงไม่จำเป็นที่จะต้องเร่งรีบ ทั้งนี้ ได้รับการยืนยันจากทางเจ้าหน้าที่ตำรวจว่า รถตู้ที่พา ส.ส.เข้าร่วมประชุมสภา ไม่สามารถเข้าไปในสภาได้เนื่องจากถูกผู้ชุมนุมกลั่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยที่ออกมาชุมนุมต่อต้านพ.ร.บ. ปรองดองปิดล้อม

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/40786