http://turnleftthai.blogspot.com/2011/07/blog-post_26.html
วันอังคารที่ 20 มีนาคม พ.ศ. 2555
ที่นี่ความจริง อ หวาน อ ตุ้ม 20มีค55
ที่นี่ความจริง อ หวาน อ ตุ้ม 20มีค55
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=zcWKN06JYZM
ลำดับเหตุการณ์-ทำไมคดีดาตอร์ปิโด โดนข้อหา ม.112 ต้องพิจารณาเป็นความลับ จากคำวินิจฉัยศาลรธน.!!!
ลำดับเหตุการณ์-ทำไมคดีดาตอร์ปิโด โดนข้อหา ม.112 ต้องพิจารณาเป็นความลับ จากคำวินิจฉัยศาลรธน.!!!
เมื่อวันที่ 9 ตุลาคม 2551 พนักงานอัยการ เป็นโจทก์ ยื่นฟ้องนางสาวดารณี ชาญเชิงศิลปกุล( ดา ตอร์ปิโด) เป็นจำเลย ต่อศาลอาญา ในฐานความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ประกอบมาตรา 91
ต่อมาวันที่ 23 มิถุนายน 2552 ในระหว่างการพิจารณาคดีของศาลอาญา อัยการยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่าเนื่อง จากคดีนี้เป็นความผิดฐานหมิ่นประมาทพระมหากษัตริย์ และพระราชินี ซึ่งหากมีการเผยแพร่คำเบิกความของพยานต่อบุคคลภายนอก อาจทำให้เกิดความไม่สงบ เรียบร้อยหรือเกิดความไม่มั่นคง จึงขอให้ศาลมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ
ทนายของ ดาตอร์ปิโด ของแถลงคัดค้าน ขณะที่ศาลอาญาอนุญาตให้พิจารณาคดีนี้เป็นการลับ
ต่อมาวันที่ 25 มิถุนายน 2552 จำเลยยื่นคำร้องต่อศาลอาญาว่า การที่ศาลอาญานำบทบัญญัติแห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา มาตรา 177 มาบังคับใช้ในการพิจารณาคดีนี้และมีคำสั่งให้พิจารณาคดีเป็นการลับ ห้ามมิให้ประชาชนทั่วไปเข้าฟังการพิจารณานั้น เป็นการใช้บทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้ง
ต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2550 มาตรา 29 และมาตรา 40(2)
เนื่องจากมาตรา 40(2) บัญญัติไว้โดยชัดเจนว่าในการพิจารณาคดีหลักประกันขั้นพื้นฐาน คือ การได้รับการพิจารณาอย่างเปิดเผย ดังนั้น ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 จึงเป็นบทบัญญัติแห่งกฎหมายที่ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ มาตรา 40(2) และเป็นการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของบุคคลที่รัฐธรรมนูญรับรองไว้โดยชัดแจ้ง ซึ่งจะกระทำมิได้ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 29
ดา ตอร์ปิโด ขอให้ศาลอาญาส่งความเห็นไปยังศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ
ต่อมาศาลอาญามีคำสั่งในรายงานกระบวนพิจารณาในวันเดียวกันว่า การที่ศาลสั่งให้พิจารณาเป็นการลับ โดยอาศัยอำนาจตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 177 มิได้เป็นการจำกัดสิทธิ และเสรีภาพของจำเลย เนื่องจากจำเลยมีทนายความเข้ามาแก้ต่างให้และสามารถนำพยานหลักฐาน มาพิสูจน์ความผิดของตนและหักล้างพยานหลักฐานของโจทก์ได้
คำโต้แย้งของจำเลยจึงไม่เข้าหลักเกณฑ์ ที่จะส่งไปให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ให้ยกคำร้อง
ต่อ มาศาลอาญามีคำพิพากษาว่า จำเลยมีความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 เป็นความผิดหลายกรรม ต่างกัน ให้เรียงกระทงลงโทษตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 91 จำคุกกระทงละ 6 ปี รวม 3 กระทง เป็นจำคุก 18 ปี
จำเลยอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลอาญา ซึ่งศาลอุทธรณ์ตรวจสำนวนประชุมปรึกษาแล้วเห็นว่า การที่จะวินิจฉัยว่าบทบัญญัติแห่งกฎหมายใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ เป็นอำนาจของ ศาลรัฐธรรมนูญที่จะวินิจฉัย ไม่ใช่อำนาจของศาลชั้นต้นซึ่งเป็นศาลยุติธรรม
หากคู่ความโต้แย้งว่า บทบัญญัติใดขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญและเป็นกรณีที่เข้าองค์ประกอบครบถ้วน ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 211 ดังกล่าวแล้ว ศาลชั้นต้นก็ต้องส่งความเห็นของคู่ความเช่นว่านั้นตามทางการ เพื่อศาลรัฐธรรมนูญจะได้พิจารณาวินิจฉัย ศาลชั้นต้นจะใช้ดุลพินิจเพื่อไม่ส่งไม่ได้ เว้นแต่จะเป็นกรณีไม่เข้าองค์ประกอบครบถ้วนตามมาตรา 211
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332226357&grpid=01&catid=&subcatid=
มหันตภัย ม.นอกระบบฯ
มหันตภัย ม.นอกระบบฯ
มหาวิทยาลัยในกำกับของรัฐ หรือที่คนทั่วไปรู้จักกันในชื่อ ม.นอกระบบฯ เปรียบเหมือนไวรัสร้ายที่บ่มเพาะตัวในยุคของรัฐบาลซึ่งมาจากคณะรัฐประหาร (คมช.) นั้น บัดนี้เริ่มเติบโตแพร่ระบาดสร้างความเสียหายให้กับประเทศชาติ จนน่า เป็นห่วงว่าหากรู้ไม่ทัน ไม่กำจัดและป้องกันอย่างจริงจังจะลุกลามต่อไปจน เสียหายเกินแก้ จึงขอให้ข้อมูลเชิงประจักษ์แก่ทุกท่านอันอาจช่วยสร้างภูมิ คุ้มกันได้บ้าง ดังนี้
1. ที่มาไม่ถูกต้องเพราะผลประโยชน์ทับซ้อน/วาระซ่อนเร้น
กลุ่มผู้ผลักดันเรื่อง ม.นอกระบบฯ ล้วนเป็นผู้มีผลประโยชน์ทับซ้อนอยู่ในมหาวิทยาลัย เป็นนายก
สภา/กรรมการสภามหาวิทยาลัย นับตั้งแต่ “นายกฯ เขายายเที่ยง” พลเอกสุรยุทธ์ จุลานนท์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งนายวิจิตร ศรีสอ้าน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ผู้ดำรงตำแหน่งซ้ำซ้อนมากมายคือโต้โผใหญ่ผลักดันมาตั้งแต่ต้น และเมื่อมาดำรงตำแหน่ง รมว.ศธ. จึงผลักดันเรื่องนี้เข้าสู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติทันที นายมีชัย ฤชุ พันธุ์ประธานสภานิติบัญญัติเองก็มีตำแหน่งในสภามหาวิทยาลัยร่วม 10 แห่ง อธิการบดีแทบทุกมหาวิทยาลัยก็ได้รับการแต่งตั้งเป็นสมาชิกสภา นิติบัญญัติ ล้วนเป็นผู้มีประโยชน์ทับซ้อนซ่อนเร้น จึงร่วมกันเร่งผลักดัน พรบ. มหาวิทยาลัยนอกระบบฯ ไปได้หลายมหาวิทยาลัย ทั้ง ๆ ที่ไม่เป็นไปตามบทบัญญัติรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ปี 2540 และปี 2550 คือองค์ประชุมไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสมาชิกสภาฯ ที่มีอยู่ (ขณะนี้คณะกรรมการปรับปรุงและพัฒนากฎหมายเพื่อให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ปัจจุบันซึ่งมีนายประสบ บุษราคัม เป็นประธาน ได้มีมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติยกเลิก พรบ.ที่สภานิติบัญญัติแห่งชาติตราออกใช้โดยไม่ชอบเหล่านี้ จำนวน 191 ฉบับ)
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/03/39734
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)