หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2557

“ธงชาติ”

“ธงชาติ” 


 
 

บางคนอาจคิดว่าธงไตรรงค์ของรัฐไทย แดง ขาว น้ำเงิน เป็นสัญลักษณ์ของ “ความเป็นไทย”  และเขาอาจถูกในระดับหนึ่ง แต่สิ่งที่เราต้องชี้แจงแต่แรกคือ ชนชั้นปกครองไทยในยุคที่กำลังสร้างชาติเป็นครั้งแรก หรือยุคการเข้ามาของทุนนิยมและการล่าอาณานิคม มักจะลอกแบบทุกอย่างจากมหาอำนาจตะวันตก โดยเฉพาะอังกฤษ ดังนั้นเราคงไม่แปลกใจที่สีธงไตรรงค์นั้นลอกแบบมาจากอังกฤษ “เหมือนสำเนาถูกต้อง” แม้แต่เพลงชาติในยุคนั้นของไทยก็ไม่มี เลยเล่นเพลงชาติอังกฤษไปก่อนที่จะหาเพลงของชาติไทย ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่อังกฤษจำนวนมากงงไปหมด

ถ้า มองจากมุมมองนี้ เมื่อร้อยสี่สิบกว่าปีมาก่อน ธงชาติไทย แทนที่จะเป็นสัญลักษณ์ของการที่ไทยเป็นชาติอิสระภายใต้กษัตริย์กรุงเทพฯ กลับเป็นสัญลักษณ์ของการที่รัฐไทยก้มหัวให้มหาอำนาจตะวันตกแทน และลอกแบบทั้งธงชาติ การแต่งกาย ระบบกฏหมาย และการจัดการกองทัพจากประเทศต่างๆ ในยุโรปอีกด้วย

ในการสร้างชาติทุนนิยมของไทยเป็นครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งผ่านการสร้างรัฐรวมศูนย์ เราทราบจากงานเขียนและงานวิจัยของ อ. กุลลดา เกษบุญชู-มีด ว่ารัชกาลที่๕ ต้องเอาชนะคู่แข่งอย่างน้อยสองกลุ่ม เพื่อขึ้นมาเป็นกษัตริย์แบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรัชกาลที่ ๕ อาศัยอำนาจของอังกฤษเพื่อช่วยให้เอาชนะคู่แข่งดังกล่าวด้วย พูดได้ว่าอังกฤษเป็นผู้อุปถัมภ์สำคัญของกษัตริย์กรุงเทพฯ ในยุคนั้น

นอกจากนี้รัฐบาลกษัตริย์ในอดีตได้ยอมจำนนเซ็นสัญญากับตะวันตกที่ไม่เป็นธรรมต่อรัฐไทยอีกด้วย

ข้อมูลนี้ทำให้เราเข้าใจได้ว่าทำไมหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ เมื่อ อ.ปรีดี พนมยงค์ ได้เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ ระหว่างพ.ศ. ๒๔๘๐-๒๔๘๑ ประเทศไทยได้ดำเนินการเจรจากับประเทศมหาอำนาจตะวันตก เพื่อแก้ไขให้ประเทศหลุดพ้นจากการถูกบีบบังคับข้อพันธะที่ไม่เป็นธรรม ที่ทำให้ไทยอยู่ใต้อิทธิพลของประเทศเหล่านั้น

พูดง่ายๆ การปฏิวัติ ๒๔๗๕ ที่ล้มอำนาจกษัตริย์ ถือว่าเป็นเหตุการณ์สำคัญที่ “กู้ชาติ” รัฐทุนนิยมไทยจากอิทธิพลจักรวรรดินิยม

เห็นคนเท่ากันก่อนปฏิรูป การเมืองและก่อนการเลือกตั้ง (ดีมั้ย)?

เห็นคนเท่ากันก่อนปฏิรูป การเมืองและก่อนการเลือกตั้ง (ดีมั้ย)? 



 
โดย พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์

ความผันผวนทางการเมืองของไทยนั้นทำให้เรื่องหลายเรื่องนั้นพลิกผันไปมาอย่างน่าสนใจ

อย่าง เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ผมตั้งคำถามว่า กระบวนทัศน์/วาทกรรม "ปฏิรูปการเมือง" นั้นทำไมหายไปไหน? ท่ามกลางความฮึกเหิมของการนำเสนอการปฏิวัติของมวลมหาประชาชนและข้อเสนอ เรื่องสภาประชาชน

แต่เมื่อเกิดการรุกทางการเมืองครั้งใหญ่อีกครั้ง ที่หน้าทำเนียบ และเกิดการยุบสภาเมื่อวันจันทร์ที่ 9 ธันวาคม ที่นำไปสู่การเลือกตั้งใหม่ ก็พบว่าการพูดถึงการปฏิรูปการเมืองนั้นโผล่มาอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะการนำเสนอว่าการปฏิรูปการเมืองต้องมาก่อนการเลือกตั้ง

เรื่อง นี้น่าสนุก และต้องถามกันว่า การปฏิรูปการเมืองที่ดูเหมือนจะเป็นอาวุธอันทรงอานุภาพของคนจำนวนหนึ่งในการ สกัดยับยั้ง "(นัก)การเมืองเลวๆ" นั้น จะสามารถมีพลังได้มากน้อยแค่ไหน หากเทียบกับกระแสการปฏิรูปการเมืองในช่วงก่อนที่จะมีรัฐธรรมนูญ 2540

อย่า ลืมว่าการปฏิรูปการเมืองในครั้งนั้น ใช้เวลายาวนานมาก และที่สำคัญเป็นการปฏิรูปหลังการเลือกตั้งในรอบแรก คือพรรคการเมืองขานรับนโยบายต่างๆ ว่าจะเริ่มปฏิรูป จากนั้นก็ยังกินเวลายาวนานกว่าจะเริ่มปฏิรูป นอกจากนั้นการปฏิรูปครั้งนั้นก็ริเริ่มด้วยการแก้ไขรัฐธรรมนูญขนานใหญ่ ภายใต้ฉันทามติของสังคม

ใช่ว่าการปฏิรูปการเมืองในรอบที่แล้วนั้นจะ เป็นสิ่งที่ประสบความสำเร็จเสียทีเดียว ดังนั้น การปลุกกระแสเรื่องของการปฏิรูปการเมือง โดยเฉพาะการปฏิรูปการเมืองก่อนการเลือกตั้ง (แต่ไม่แก้รัฐธรรมนูญ) ในครั้งนี้จึงเป็นเรื่องที่เสี่ยงอยู่มิใช่น้อย ทั้งนี้ในยุคสมัยที่เราอยู่ภายใต้การเมืองแบบปฏิรูปการเมือง ก่อนการรัฐประหารครั้งล่าสุดนั้น เราก็พูดกันเรื่องของ "อคติทางการเมือง" ซึ่งเป็นอคติพิเศษที่แตกต่างจากอคติทางการเมืองก่อนหน้านั้น หรืออคติการเมืองในการร่างรัฐธรรมนูญในสมัยก่อนปี 2540

ด้วยการใช้ กรอบความคิดของหนึ่งในปรมาจารย์ทางรัฐศาสตร์ของไทย คือ เสน่ห์ จามริก ที่เสนอให้มองว่ารัฐธรรมนูญนั้นเป็นเสมือนสิ่งที่สะท้อน "สัมพันธภาพทางอำนาจ" มากกว่าเป็นเรื่องของกฎหมายสูงสุด (สูงสุดที่ไหนมีตั้งหลายฉบับ?) เราจะพบว่า รัฐธรรมนูญในอดีตมีอคติในแง่ของอำนาจจากกลุ่มอำนาจที่แตกต่างกัน ใครมีอำนาจก็ร่างรัฐธรรมนูญ เช่น ทหาร หรือพลเรือน แต่ในตัวรัฐธรรมนูญ 2540 เราพบว่าอคติที่สำคัญเป็น "อคติแบบชนชั้น" (class bias) ที่ชัดแจ้ง ไม่ว่าจะเรื่องของการตั้งกฎของการที่ ส.ส.ต้องจบปริญญาตรี และที่สำคัญก็คือชนชั้นในสังคมไทยนั้นเป็นชนชั้นที่ "ผูกโยงกับพื้นที่" ด้วย

โลกเปลี่ยนเพราะวีรชนคนสามัญ

โลกเปลี่ยนเพราะวีรชนคนสามั


 
เพลง Respect My Vote (ฉันก็คน เธอก็คน)
http://www.youtube.com/watch?v=Zt0x7-McKNA&feature=youtu.be


เธอและเขามาจากไหนไม่รู้จัก
สามัญชนคนรักสิทธิ์เลือกตั้
เมื่อถูกขวางล่วงล้ำด้วยกำลัง
เธอและเขาก็ยังเดินหน้าไป
ปิดก็ปีนขวางก็ข้ามตามสามาร
เจ็บก็ข่มล้มก็อาจลุกขึ้นใหม่
วีรชนแห่งประชาธิปไตย
เธอและเขาคือคนไทยธรรมดา
โลกไม่เปลี่ยนเพราะมหาวีรบุรุษ
ร้อยพันปีถึงจะผุดให้เห็นหน้
โลกเปลี่ยนเพราะคนอย่างเราลุกขึ้นมา
ตัดสินใจถึงเวลาว่าหน้าเดิน

เราควรออกไปเลือกตั้งหรือไม่... และ′การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง′ ?

เราควรออกไปเลือกตั้งหรือไม่... และ′การเลือกตั้งจะเป็นโมฆะด้วยเหตุปัจจัยอะไรบ้าง′ ?


 
โดย มีชัย ฤชุพันธุ์
 
  
เมื่อการเลือกตั้งทำท่าว่าจะมีขึ้นแน่ๆในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ คำถามที่มีคนถามอยู่เป็นประจำก็คือ แล้วประชาชนทุกฝ่ายควรจะทำอย่างไร ควรออกไปเลือกตั้ง หรือควรอยู่เฉยๆ ไม่ออกไปเลือกตั้ง
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1391137966&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ความล้มเหลวของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย

ความล้มเหลวของนายกรัฐมนตรีและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย



 
โดย พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
“โลกวันนี้วันสุข”ฉบับวันศุกร์ที่ 31 มกราคม 2557
 

เป้าหมายเฉพาะหน้าของพวกจารีตนิยมคือ การขัดขวางและบ่อนทำลายการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่  26 มกราคม 2557 และการเลือกตั้งใหญ่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2557

หากแม้นพวกเผด็จการไม่ สามารถสกัดการเลือกตั้งในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ได้ และคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จำต้องจัดการเลือกตั้งในวันดังกล่าวไปตามที่กฎหมายกำหนด พวกเขาก็จะสร้างความปั่นป่วนเพื่อบ่อนทำลายให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างพิกล พิการที่สุด

เป็นที่แน่นอนว่า ในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ การเลือกตั้งในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ตอนบนและในกรุงเทพฯจะถูกก่อกวนจนไม่ สามารถดำเนินไปได้ เป็นผลให้ไม่สามารถเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพื้นที่ดังกล่าว ผลต่อเนื่องก็คือ สภาผู้แทนราษฎรชุดใหม่จะมีจำนวนสมาชิกไม่ถึงร้อยละ 95 ตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ซึ่งก็จะไม่สามารถเปิดประชุมสภาครั้งแรกเพื่อเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ตลอดจนไม่สามารถเสนอชื่อผู้ที่จะเป็นนายกรัฐมนตรีได้

เก็บตก คลิปวิดีโอสั้นๆ"เราผิดอะไร แค่ไม่ต้องการรัฐประหาร"

เก็บตก คลิปวิดีโอสั้นๆ"เราผิดอะไร แค่ไม่ต้องการรัฐประหาร"



เราผิดอะไร แค่ไม่ต้องการรัฐประหาร
http://www.youtube.com/watch?v=tUz0RdJ-JmI  

เราผิดอะไร แค่ไม่ต้องการรัฐประหาร
11 มกราคม 2557 พวกเราไปมอบดอกไม้ให้ทหาร เพื่อขอบคุณที่ไม่ทำรัฐประหาร

“You use your right, I use mine.”

“You use your right, I use mine.”


 
by the Spokesperson of EU High Representative Catherine Ashton onthe coming elections in Thailand
http://www.eeas.europa.eu/statements/docs/2014/140130_02_en.pdf 


Pipob Udomittipong
Pipob Udomittipong


แถลงการณ์สหภาพยุโรป “ประชาชนชาวไทยควรได้ใช้สิทธิเลือกตั้งตามระบอบประชาธิปไตยได้อย่างเสรี แบบเดียวกับการใช้สิทธิการชุมมนุมประท้วงอย่างสงบและสันติ”

“You use your right, I use mine.” มันเป็นหลักการสากลมาก ๆ คุณจะชุมนุมประท้วงโดยสงบและสันติ ทำได้แน่นอน ถูกต้องตามหลักกฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ ฉันใดก็ฉันนั้น การใช้สิทธิเลือกตั้ง ควรเป็นไปอย่างเสรีเช่นกัน ไม่ใช่จะเข้าคูหา ต้องเจอกับซอมบี้บีบคอ ถูกคุกคาม ถูกก่นด่าปรามาส แถมมีการปิดล้อมที่ทำการไปรษณีย์ ไม่ให้เขาส่งบัตรเลือกตั้ง ทั่วโลกรู้ แต่ไทยบางคนไม่รู้ อนาถใจ!

“Thai people should be as free to exercise their democratic right to vote as to express their right to peaceful protest.“(EU Statement on Thailand)

แบงก์เมินปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านให้รัฐจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าว

แบงก์เมินปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านให้รัฐจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าว


แบงก์เมินปล่อยกู้ 2 หมื่นล้านให้รัฐจ่ายหนี้ค่าจำนำข้าว


ธ.ทหารไทย ปัดให้เงินกู้โครงการรับจำนำข้าว 20,000 ล้านบาท
http://news.springnewstv.tv/42710/%E0%B8%98
 
มติชาวนาภาคกลาง5ก.พ.ปิดถนน5จว.
http://www.komchadluek.net/mobile/detail/20140131/177985.html

"ยรรยง" ยันรัฐเร่งจ่ายเงินจำนำข้าวช่วยชาวนาแน่นอน 
 http://news.springnewstv.tv/42555/%E0%B8%


รวมหัวกันบีบคั้นรัฐบาล โดยไม่เลือกวิธีการเอาชาวนาเป็นเหยื่อ

ธนาคารพาณิชย์เมินเข้าร่วมยื่นซองประมูลปล่อยเงินกู้จำนำข้าวก้อนแรก 20,000 ล้านบาท หวั่นภาพลักษณ์เสียหาย 

เครือข่ายปฏิกูล สอบตก

เครือข่ายปฏิกูล สอบตก



73 องค์กรร่วม ‘เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป’ หนุนกระบวนการปฏิรูปบนวิถี ปชต

เครือข่ายปฏิกูล สอบตก
73 องค์กรผี (เพราะไม่มีมวลชน) อ้างร่วม ‘เครือข่ายเดินหน้าปฏิรูป’ ชี้ปฏิรูปด่วนใน 3 เรื่อง ‘การเมือง-กระจายอำนาจ-ต้านคอร์รัปชั่น’ แต่ไม่แตะ 112 ไม่พูดถึง เสรีภาพในการแสดงออก, ปัญหาองค์กรแต่งตั้งที่มีอำนาจเหนือองค์กรที่มาจาก การเลือกตั้ง, การปฏิรูปกองทัพ, การลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจด้วยภาษีและรัฐสวัสดิการ และไม่พูดถึงการสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชนโดยการนำฆาตกรรัฐ ทั้งทหารและนักการเมือง มาขึ้นศาล.... ปฏิกูลไร้ค่า

ร่วมพิทักษ์สืบทอดประชาธิปไตย

ร่วมพิทักษ์สืบทอดประชาธิปไตย


 
Photo: ขณะที่นอนอัลต้าซาวด์เพื่อหาสาเหตุของโรค
หูได้ยินหมอกับผู้ช่วยพูดเรื่องไม่ไปเลือกตั้ง
ด้วยอารมณ์ต่อต้านรัฐบาลรักษาการ ต่อต้านเลือกตั้ง
...นึกในใจแล้วอย่างงี้ตรูจะได้รับการรักษา
ให้หาย หรือให้ตาย ล่ะเนี่ยะ ????
ถ้าบังเอิญหมอกับผู้ช่วยรู้ว่าคนไข้สนับสนุนการเลือกตั้ง 
โดย อ.สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
โลกวันนี้วันสุข  วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2557 


สถานการณ์ความขัดแย้งในสังคมไทยหลังการเลือกตั้งล่วงหน้าในวันที่ 26 มกราคม นี้ ได้ชี้เห็นว่า การเลือกตั้งทั่วไปที่จะมีขึ้นในวันที่ 2 กุมภาพันธ์ นี้นั้น กลายเป็นเหตุการณ์สำคัญที่จะส่งผลต่ออนาคตของประชาธิปไตยในประเทศไทย

ทั้ง นี้เพราะความขัดแย้งที่ดำรงอยู่อย่างชัดเจน คือ ความขัดแย้งระหว่างฝ่ายประชาธิปไตย นำโดยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนข้างมากของประเทศ กับฝ่ายปฏิปักษ์ประชาธิปไตย ที่เปิดฉากโดย ม็อบ กปปส.(คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข) ของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ และได้รับการสนับสนุนจากประชาชนส่วนน้อย แต่ได้ใช้อำนาจอันธพาลข่มขู่ประชาชน ปิดบ้านปิดเมือง สร้างความเดือดร้อนเอือมระอาไปทั่ว และล่าสุด คือการคุกคามการใช้สิทธิเลือกตั้งล่วงหน้าของประชาชน ซึ่งเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้องอย่างยิ่ง

แม้กระนั้น การเคลื่อนไหวของกลุ่ม กปปส. ก็ยังได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มชนชั้นกลาง และชนชั้นสูงที่โน้มนำด้วยอคติในการเกลียด พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร กลุ่มคนเหล่านี้ ช่วยกันวาดภาพให้ พ.ต.ท.ทักษิณ และรัฐบาลยิ่งลักษณ์มีลักษณะดังผีร้าย แล้วก็เชื่อฝังใจในวาทกรรมด้านเดียวของตนเอง นำมาสู่การเคลื่อนไหวอันเป็นปฏิปักษ์ประชาธิปไตย แต่ที่ร้ายแรงกว่านั้นก็คือ การที่ขบวนปฏิปักษ์ประชาธิปไตยเหล่านี้ ได้รับการสนับสนุนอย่างเป็นเนื้อเดียวจากพรรคประชาธิปัตย์ที่คว่ำบาตรการ เลือกตั้ง และยังได้รับการสนับสนุนจากจากองค์กรอิสระ ที่มีบทบาทออกนอกหน้าในขณะนี้ ก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญ และ คณะกรรมการเลือกตั้ง (กกต.)