ระบบทุนนิยมกับสภาพภูมิอากาศ
โดย มาติน เอมพ์ซอน
เรียบเรียงโดย นุ่มนวล ยัพราช
โศกนาฎกรรมจากไต้ฝุ่นไฮ่เยี่ยนในฟิลิบปินส์
สะเทือนใจคนเป็นล้านทั่วโลก ประชาชนหลายพันเสียชีวิต อีกมากมายสูญเสียที่อยู่อาศัย
ที่ทำงาน ฟาร์ม และธุรกิจ
ตลอด
ประวัติศาสตร์ของมนุษย์เรามักจะดำรงอยู่ใต้อำนาจของสภาพภูมิอากาศ
แต่การพัฒนาทางวิทยาศาสตร์และการขยายตัวของพลังการผลิตภายใต้ทุนนิยมได้แปล
เปลี่ยนสภาพเช่นนี้ไป
อย่างไรก็ตามระบบทุนนิยมนั้นสร้างความยากจนและความหิวโหยสำหรับคนเป็นล้าน
ล้าน
และมันทำลายสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่วิกฤติธรรมชาติ
พายุไฮเยี่ยนโหมพัดเข้ามาในฟิลิปปินส์
ในขณะที่สหประชาชาติกำลังจัดการประชุมระดับโลกเรื่องปัญหาโลกร้อนที่เมือง วอร์ซอร์
ประเทศโปรแลนท์ นาเดเรฟ ซาโน
สมาชิกคณะกรรมการโลกร้อนของฟิลิปปินส์ที่เข้าร่วมประชุมสหประชาชาติครั้งนี้
ได้ปราศรัยด้วยอารมณ์จากใจจริงเพื่อเรียกร้องให้ประเทศต่างๆ
ลงมือแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างเป็นรูปธรรม
หลังจากนั้นเขาประกาศว่าจะงดอาหารจนกว่าการประชุมจะจบลง
แต่
ซาโน และคนอื่นๆในประเทศฟิลิปปินส์จะผิดหวังในผลการประชุมครั้งนี้ ครั้งนี้นับเป็นครั้งที่ 19 แต่การประชุมระดับโลกครั้งนี้
คงไม่ต่างจากการประชุมครั้งที่ผ่านมา 18 ครั้ง เพราะมันจะไม่มีการตกลงอะไรเป็นรูปธรรม
การลงมือในการแก้ปัญหาโลกร้อนอย่างจริงจัง
ถูกทำให้มีอุปสรรคโดยนักการเมืองที่เน้นผลประโยชน์ของกลุ่มทุนใหญ่เหนือการแก้ปัญหาของสิ่งแวดล้อม
นี่คือสภาพปกติของทุนนิยมชนชั้นปกครองดูแลผลประโยชน์ของตนเองเท่านั้น
พวกนายทุนเชื่อว่าการแข่งขันอย่างหน้าเลือดในตลาดเสรีเป็นระบบที่ดีที่สุด แต่ เฟรเดอริค เองเกิลส์ ได้เขียนไว้ตั้งแต่ปี
1876 ว่า “ในเรื่องธรรมชาติ และ ในเรื่องสังคม ระบบการผลิตในปัจจุบันเน้นหนักแต่ผลประโยชน์เฉพาะหน้าเท่านั้น
และแล้วพวกนั้นก็แปลกใจเมื่อผลของการกระทำต่างๆ
ในระบบนี้ตรงกันข้ามกับความหวังของคนส่วนใหญ่”
ผลของระบบทุนนิยมทำให้คนเป็นล้านเผชิญหน้ากับวิกฤติสิ่งแวดล้อม
ในประเทศอย่างฟิลิปปินส์ คนจนไม่มีทางเลือกอื่นนอกจากจะพยายามกอบกู้วิกฤติชีวิตจากโศกนาฎกรรมที่เกิดขึ้นเป็นระยะๆ
การขยายตัวของเมือง ความยากจน และการขาดแคลนที่ดิน มันหมายความว่าคนจำนวนมากถูกบังคับให้ต้องอาศัยในพื้นที่เสี่ยง
แม้แต่ในกรณีที่คนอาจจะย้ายถิ่นได้เขาก็ไม่ไปเพราะในถิ่นใหม่ไม่มีงานทำ