หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2555

แถลงการณ์ "เลี้ยวซ้าย" ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฎฺิวัติ ๒๔๗๕

แถลงการณ์ "เลี้ยวซ้าย" ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฎฺิวัติ ๒๔๗๕

 

คณะราษฎร (พ.ศ. 2475)
คณะราษฎร ที่ 2 (พ.ศ. 2555)


“องค์กรเลี้ยวซ้าย” มองว่าภาระสำคัญของ “เสื้อแดงก้าวหน้า” คือการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองในรูปแบบ “พรรคเคลื่อนไหว” ที่ไม่เน้นการเลือกตั้งและเวทีรัฐสภา เราควรมีพรรคของนักเคลื่อนไหว อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเป็น แต่เราจะไม่เข้าป่าจับอาวุธในการต่อสู้ เราจะเน้นการจัดตั้งพลังมวลชนแทน

เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน

 http://www.youtube.com/watch?v=yt0OLJH9jwY&feature=related


แถลงการณ์ “เลี้ยวซ้าย”
ในวาระครบรอบ 80 ปี การปฏิวัติ ๒๔๗๕


การปฏิวัติ ๒๔๗๕ นำโดย อ.ปรีดี พนมยงค์ และคณะราษฎร์ เป็นความพยายามอันสำคัญยิ่งในการปลดแอกพลเมืองไทยจากระบบเผด็จการของ กษัตริย์และในการสร้างระบบรัฐสวัสดิการตามแนวคิด
“เค้าโครงเศรษฐกิจ” ของ อ.ปรีดี แต่ในไม่ช้าฝ่ายปฏิกิริยาก็เข้ามาทำการปฏิวัติซ้อน ช่วงชิงเป้าหมายของการปฏิวัติไปสู่ระบบเผด็จการของทหารและนายทุน ภายใต้ จอมพล ป. พิบูลสงคราม

และต่อมาฝ่ายทหารคลั่งเจ้า นำโดยหัวหน้าคณะรัฐประหาร สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ก็สามารถสถาปนาระบบเผด็จการที่อ้างว่าเชิดชูสถาบันกษัตริย์ แต่เชิดชูเพื่อสร้างความชอบธรรมกับตนเองเท่านั้น กลุ่มอำนาจของชนชั้นปกครองกลุ่มใหม่นี้ ชาวเสื้อแดงเรียกตามภาษาชาวบ้านว่า
“อำมาตย์” อย่างไรก็ตามจงเข้าใจไว้ว่าระบบนี้ไม่ใช่การกลับมาของระบบสมบูรณาญาสิทธิ ราชย์ แต่เป็นเผด็จการใหม่ของนายทุนและทหารที่แอบอ้างว่าปกป้องสถาบันกษัตริย์

หลายครั้งในประวัติศาสตร์ของสังคมเรา พลเมืองที่รักประชาธิปไตยได้ลุกขึ้นต่อสู้กับอำมาตย์ และสละเลือดเนื้อเพื่อเสรีภาพ ไม่ว่าจะเป็น ๑๔ ตุลาคม ๒๕๑๖, ๖ ตุลาคม ๒๕๑๙, พฤษภาคม ๒๕๓๕ หรือ พฤษภาคม ๒๕๕๓ บางครั้งฝ่ายประชาชนชนะและเสรีภาพก็คืบหน้าไปบ้าง เราสร้างพื้นที่ประชาธิปไตยได้ระดับหนึ่ง ซึ่งฝ่ายตรงข้ามทำลายได้ไม่หมด แต่ทุกครั้งฝ่ายชนชั้นปกครองมือเปื้อนเลือดก็พยายามปกป้องอำนาจของตนเอง


ล่าสุดก็เช่นกัน ชนชั้นปกครองซีกที่สนับสนุนการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยายน ๒๕๔๙ กำลังจับมือกับซีกชนชั้นปกครองของพรรคเพื่อไทย และทักษิณ ชินวัตร เพื่อรักษาเสถีรภาพของชนชั้นตนเองผ่านการปรองดองบนซากศพวีรชน โดยจงใจทอดทิ้งนักโทษการเมืองเสื้อแดง โดยเฉพาะนักโทษ 112 และการปรองดองบนซากศพวีรชนครั้งนี้ ไม่ต่างจากกรณีที่ผ่านมา รวมถึงเหตุการณ์นองเลือดที่ตากใบด้วย เพราะเจ้าหน้าที่รัฐและนักการเมืองมือเปื้อนเลือดทุกคนจะลอยนวลได้ดิบได้ดี เสมอ


ตราบใดที่ประเทศไทยยังมีกฎหมาย 112 และกฏหมายคอมพิวเตอร์ ตราบใดที่สังคมเราไม่ลบล้างผลพวงของรัฐประหารและอิทธิพลอันไม่ชอบธรรมของ ทหารในการเมืองออกจากสังคม ตราบใดที่เราไม่ปฏิรูประบบศาลอย่างถอนรากถอนโคน และตราบใดที่พลเมืองส่วนใหญ่มีสภาพความเป็นอยู่ ทั้งทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ที่ต้อยต้ำกว่าชนชั้นปกครอง เพราะเราไม่มีระบบรัฐสวัสดิการ บ้านเมืองของเราจะไม่มีประชาธิปไตย และความฝันของคณะราษฎร์ซีกก้าวหน้าจะไม่มีวันเป็นจริง

เพื่อนๆ ชาวประชาธิปไตยที่รักและเคารพ บัดนี้มันเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า พรรคเพื่อไทย และ นปช. ไม่ได้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยและความเสมอภาค แต่พรรคเพื่อไทยเข้าไปจับมือเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง ในขณะที่ นปช. ทำหน้าที่เป็น “ตำรวจ” ของขบวนการประชาธิปไตยเพื่อสลายการต่อสู้

“องค์กรเลี้ยวซ้าย” มองว่าภาระสำคัญของ “เสื้อแดงก้าวหน้า” คือการรวมตัวกันเป็นพรรคการเมืองในรูปแบบ “พรรคเคลื่อนไหว” ที่ไม่เน้นการเลือกตั้งและเวทีรัฐสภา เราควรมีพรรคของนักเคลื่อนไหว อย่างที่พรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยเคยเป็น แต่เราจะไม่เข้าป่าจับอาวุธในการต่อสู้ เราจะเน้นการจัดตั้งพลังมวลชนแทน 

บทเรียนจากความพ่ายแพ้ของ พคท. และชัยชนะของมวลชนอียิปต์และตูนีเซียในตะวันออกกลาง เป็นบทเรียนที่สำคัญสำหรับโลกสมัยนี้ รวมถึงความสำคัญของการจัดตั้งสหภาพแรงงานและชนชั้นผู้ทำงานในรูปแบบที่เน้น การเมืองก้าวหน้า ถ้าเราไม่รวมตัวกันอย่างแน่นแฟ้น เหมือนที่ชนชั้นปกครองรวมตัวกันอยู่ การเคลื่อนไหวของเราจะอ่อนแอดุจการนำน้ำมาสาดก้อนหิน แต่ถ้าเรามีพรรคของนักเคลื่อนไหว เราจะเหมือนฆ้อนที่ทุบอำนาจเผด็จการได้
 
ในระยะสั้น จุดยืนและการทำงานของพวกเราต้องเน้นการสนับสนุนให้ข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ เป็นจริง เน้นการรณรงค์ให้ยกเลิกกฏหมายเผด็จการอย่าง 112 เน้นการปล่อยนักโทษการเมือง และเน้นการสร้างสังคมที่เท่าเทียมผ่านรัฐสวัสดิการ
ประชาชนจงเจริญ! สังคมนิยมจงเจริญ!

  
องค์กรเลี้ยวซ้าย
22 มิถุนายน 55

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/

ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย

ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย




 




















ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1

http://www.youtube.com/watch?v=q2PbgE5K2-0&feature=player_embedded#!


เพลงวันชาติ 24 มิถุนายน
http://www.youtube.com/watch?v=Wxe2AbTF_nM&feature=related


เมื่อกษัตริย์ได้ครองราชสมบัติสืบต่อพระเชษฐานั้น ในชั้นต้นราษฎรได้หวังกันว่ากษัตริย์องค์ใหม่นี้ คงจะปกครองราษฎรให้ร่มเย็น แต่การหาเป็นไปตามความหวังที่คิดไม่ กษัตริย์คงทรงอำนาจอยู่เหนือกฎหมายตามเดิม ทรงแต่งตั้งญาติวงศ์และคนสอพลอไร้คุณงามความรู้ ให้ดำรงตำแหน่งที่สำคัญๆ ไม่ทรงฟังเสียงราษฎร ปล่อยให้ข้าราชการใช้อำนาจหน้าที่ในทางทุจริตมีการรับสินบนในการก่อสร้าง ซื้อของใช้ในราชการหากำไรในการเปลี่ยนราคาเงิน ผลาญเงินทองของประเทศ ยกพวกเจ้าขึ้นให้สิทธิพิเศษมากกว่าราษฎร ปกครองโดยขาดหลักวิชา ปล่อยให้บ้านเมืองเป็นไปตามยถากรรม
 
ดังที่จะเห็นได้ในการตกต่ำในการเศรษฐกิจและความฝืดเคืองทำมาหากิน ซึ่งราษฎรได้รู้กันอยู่ทั่วไปแล้ว รัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมายมิสามารถแก้ไขให้ฟื้นขึ้นได้ การที่แก้ไขไม่ได้ก็เพราะรัฐบาลของกษัตริย์นี้ มิได้ปกครองประเทศเพื่อราษฎร ตามที่รัฐบาลอื่นๆ ได้กระทำกัน รัฐบาล ของกษัตริย์ได้ถือเอาราษฎรเป็นทาส (ซึ่งเรียกว่า ไพร่บ้าง ข้าบ้าง) เป็นสัตว์เดรัจฉานไม่นึกว่าเป็นมนุษย์ เพราะฉะนั้นแทนที่จะช่วยราษฎร กลับพากันทำนาบนหลังราษฎร จะเห็นได้ว่าภาษีอากรที่บีบคั้นเอาจากราษฎรนั้น กษัตริย์ได้หักเอาไว้ใช้ส่วนตัวปีหนึ่งจำนวนหลายล้าน ส่วนราษฎรสิ กว่าจะหาได้แต่ละเล็กแต่ละน้อย เลือดตาแทบกระเด็น ถึงคราวเสียภาษีราชการหรือภาษีส่วนตัว ถ้าไม่มีเงินรัฐบาลก็ยึดทรัพย์หรือใช้งานโยธา แต่พวกเจ้ากลับนอนกินกันเป็นสุข ไม่มีประเทศใดในโลกจะให้เงินเจ้ามากเช่นนี้ นอกจากพระเจ้าซาร์และพระเจ้าไกเซอร์เยอรมัน ซึ่งชนชาตินั้นได้โค่นราชบัลลังก์เสียแล้ว

รัฐบาลของกษัตริย์ได้ปกครองอย่างหลอกลวงไม่ซื่อตรงต่อราษฎรเป็นต้นว่า จะบำรุงการทำมาหากินอย่างโน้นอย่างนี้ แต่ครั้นคอยๆ ก็เหลวไป หาได้ทำจริงจังไม่ มิหนำซ้ำกล่าวหมิ่นประมาทราษฎรผู้มีบุญคุณเสียภาษีอากรให้เจ้าได้กินว่าราษฎรมีเสียงทางการเมืองไม่ได้ เพราะราษฎรยังโง่ ถ้าราษฎรโง่ เจ้าก็โง่ เพราะเป็นคนชาติเดียวกัน ที่ราษฎรรู้ไม่ถึงเจ้านั้นไม่ใช่เพราะโง่ เป็นเพราะขาดการศึกษา ที่พวกเจ้าปกปิดไว้ไม่ให้เรียนเต็มที่ เพราะเกรงว่าราษฎรได้มีการศึกษา ก็จะรู้ความชั่วร้ายที่ทำไว้ และคงจะไม่ยอมให้ทำนาบนหลังตน

ราษฎรทั้งหลายพึงรู้เถิดว่าประเทศเรานี้เป็นของราษฎรไม่ใช่ของกษัตริย์ตามที่เขาหลอกลวง บรรพบุรุษของราษฎรเป็นผู้กู้ให้ประเทศมีอิสรภาพพ้นมาจากข้าศึก พวกเจ้ามีแต่ชุบมือเปิบ และกวาดทรัพย์สมบัติเข้าไว้ตั้งหลายร้อยล้าน เงินเหล่านี้เอามาจากไหน ก็เอามาจากราษฎรเพราะวิธีทำนาบนหลังคนนั่นเอง บ้านเมืองกำลังอัตคัดฝืดเคือง ชาวนาและพ่อแม่ทหารต้องทิ้งนาเพราะทำไม่ได้ผล รัฐบาลไม่บำรุง รัฐบาลไล่คงานออกอย่างเกลื่อนกลาด นักเรียนที่เรียนสำเร็จแล้วและทหารที่ปลดกองหนุนไม่มีงานทำ จะต้องอดอยากไปตามยถากรรม เหล่านี้เป็นผลของรัฐบาลของกษัตริย์เหนือกฎหมาย บีบคั้นข้าราชการผู้น้อย นายสิบและเสมียน เมื่อให้ออกจากงานแล้วไม่ให้เบี้ยบำนาญ ความจริงควรเอาเงินที่กวาดรวบรวมไว้มาจัดบ้านเมืองให้มีงานทำ จึงสมควรที่สนองคุณราษฎร ซึ่งได้เสียภาษีอากรให้พวกเจ้าได้ร่ำรวยมานาน แต่พวกเจ้าก็หาได้ทำอย่างใดไม่ คงสูบเลือดกันเรื่อยไป เงินมีเหลือเท่าไรก็เอาฝากต่างประเทศคอยเตรียมหนีเมื่อบ้านเมืองทรุดโทรมปล่อยให้ราษฎรอดอยาก การเหล่านี้ย่อมชั่วร้าย

เหตุฉะนั้น ราษฎร ข้าราชการ ทหาร และพลเรือนที่รู้เท่าถึงการกระทำอันชั่วร้ายของรัฐบาลดังกล่าวแล้ว จึงรวมกำลังตั้งเป็นคณะราษฎร์ และได้ยึดอำนาจของรัฐบาลของกษัตริย์ไว้แล้ว คณะราษฎร์เห็นว่าการที่จะแก้ความชั่วร้ายก็โดยที่จะต้องจัดการปกครองโดยมีสภา จะได้ช่วยกันปรึกษาหารือหลายๆ ความคิดดีกว่าความคิดเดียว ส่วนผู้เป็นประมุขของประเทศนั้น คณะราษฎร์ไม่มีประสงค์ทำการชิงราชสมบัติ ฉะนั้นจึงขอเชิญให้กษัตริย์องค์นี้ดำรงตำแหน่งกษัตริย์ต่อไป แต่จะต้องอยู่ใต้กฎหมายธรรมนูญการปกครองแผ่นดิน จะทำอะไรโดยลำพังมิได้ นอกจากความเห็นชอบของสภาผู้แทนราษฎร คณะราษฎร์ได้แจ้งความเห็นนี้ให้กษัตริย์ทราบแล้ว เวลานี้ยังอยู่ในความรับตอบ ถ้ากษัตริย์ตอบปฏิเสธหรือไม่ตอบภายในกำหนดโดยเห็นแก่ส่วนตนว่าจะถูก ลดอำนาจลงมาก็จะชื่อว่าทรยศต่อชาติ และก็เป็นการจำเป็นที่ประเทศจะต้องมีการปกครองอย่างประชาธิปไตย กล่าวคือ ประมุขของประเทศจะเป็นบุคคลสามัญ ซึ่งสภาผู้แทนราษฎรได้ตั้งขึ้นอยู่ในตำแหน่งตามกำหนดเวลา

ตามวิธีนี้ราษฎรพึงหวังเถิดว่า ราษฎรจะได้รับความบำรุงอย่างดีที่สุด ทุกๆ คนจะมีงานทำเพราะประเทศของเราเป็นประเทศที่อุดมอยู่แล้วตามสภาพ เมื่อเราได้ยึดเงินที่พวกเจ้ารวบรวมไว้จากการทำนาบนหลังคน ตั้งหลายร้อยล้านมาบำรุงประเทศขึ้นแล้ว ประเทศจะต้องเฟื่องฟูเป็นแม่นมั่น การปกครองซึ่งคณะราษฎร์จะพึงกระทำก็คือ จำต้องวางโครงการโดยอาศัยหลักวิชา ไม่ทำไปเหมือนคนตาบอด เช่นรัฐบาลที่มีกษัตริย์เหนือกฎหมายทำมาแล้ว เป็นหลักใหญ่ๆ ที่คณะราษฎร์ได้วางไว้มีอยู่ว่า
   
1.จะต้องรักษาความเป็นเอกราชทั้งหลาย เช่น เอกราชทางการเมือง การศาล ในทางเศรษฐกิจ ฯลฯ ของประเทศไว้ให้มั่นคง
 
2. จะต้องรักษาความปลอดภัยภายในประเทศ ให้กาประทุษร้ายต่อกันลดน้อยลงให้มาก
 
3. ต้องบำรุงความสุขสมบูรณ์ของราษฎรในทางเศรษฐกิจ โดยรัฐบาลใหม่จะจัดหางานให้ราษฎรทุกคนทำ จะวางโครงการเศรษฐกิจแห่งชาติ ไม่ปล่อยให้ราษฎรอดอยาก
4. จะต้องให้ราษฎรมีสิทธิเสมอภาคกัน (ไม่ใช่พวกเจ้ามีสิทธิยิ่งกว่าราษฎรเช่นที่เป็นอยู่)
5. จะต้องให้ราษฎรได้มีเสรีภาพ มีความเป็นอิสระ เมื่อเสรีภาพนี้ไม่ขัดต่อหลัก 5 ประการดังกล่าวข้างต้น
6. จะต้องให้การศึกษาอย่างเต็มที่แก่ราษฎร

ราษฎรทั้งหลาย จงพร้อมใจกันช่วยคณะราษฎร์ให้ทำกิจอันจะคงอยู่ชั่วฟ้าดินนี้ให้สำเร็จ คณะราษฎร์ขอให้ทุกคนที่มิได้ร่วมมือเข้ายึดอำนาจจากรัฐบาลกษัตริย์เหนือกฎหมาย พึงตั้งอยู่ในความสงบและตั้งหน้าหากิน อย่าทำการใดๆ อันเป็นการขัดขวางต่อคณะราษฎร์นี้ เท่ากับราษฎรช่วยประเทศและช่วยตัวราษฎร บุตรหลาน เหลน ของราษฎรเอง ประเทศจะมีความเป็นเอกราชอย่างพร้อมสมบูรณ์ ราษฎรจะได้รับความปลอดภัย ทุกคนจะมีงานทำไม่ต้องอดตาย ทุกคนจะมีสิทธิเสมอกัน และมีเสรีภาพพ้นจากความเป็นไพร่ เป็นข้า เป็นทาสพวกเจ้า หมดสมัยที่เจ้าจะทำนาบนหลังราษฎร สิ่งที่ทุกคนพึงปรารถนา คือ ความสุขความเจริญอย่างประเสริฐที่เรียกเป็นศัพท์ว่าศรีอาริย์นั้น ก็พึงจะบังเกิดขึ้นแก่ราษฎรถ้วนหน้า

คณะราษฎร์ 
๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

สุรชาติ บำรุงสุข รำลึก "2475" คำ ผกา กรี๊ด "คณะราษฎรที่ 2"

สุรชาติ บำรุงสุข รำลึก "2475" คำ ผกา กรี๊ด "คณะราษฎรที่ 2" 

 


"การเปลี่ยนแปลงการปกครองของคณะราษฎรมาสู่ระบอบรัฐธรรมนูญ เป็นการชอบแล้วด้วยประการทั้งปวง เพราะได้รับการสนับสนุนช่วยเหลือกลมเกลียวเป็นอันหนึ่งอันเดียวในระหว่างรัฐบาลกับประชาชนพลเมืองในระบอบใหม่นับแต่ต้นมาเป็นอย่างดี ซึ่งยากที่จะหาตัวอย่างในการเปลี่ยนแปลงการปกครองของประเทศใดอื่นเทียบได้ ทั้งนี้ ย่อมเป็นนิมิตอันดีงามสำหรับอนาคตของชาติไทย"

ไทยในสมัยสร้างชาติ

ที่ระลึกงานฉลองวันชาติ 2484


สังคมไทยดูจะมีความทรงจำที่รางเลือนเต็มที่เกี่ยวกับเหตุการณ์การเปลี่ยนแปลงการปกครองในวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 เรื่องราวของการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวจางหายไปกับกาลเวลาที่เนิ่นนานมาถึง 80 ปี

อย่างน้อยคนรุ่นหลังดูจะลืมไปแล้วว่าประเทศไทยก็มี "วันชาติ" เหมือนกับหลายๆ ประเทศ และวันชาติของไทยในอดีตตรงกับวันที่ 24 มิถุนายน ของทุกปี

สังคมยุคหลัง 2475 ของการเมืองไทยนำมาซึ่งรูปแบบการปกครองที่แตกต่างออกไปจากเดิม ดังคำบรรยายที่ว่า "ประเทศชาติไทยตกอยู่ในสภาพอันแปลกใหม่โดยทุกอย่าง กล่าวคือ ระบอบการปกครองผิดแปลกกว่าระบอบเก่า และกิจการงานทุกสิ่งอย่างก็จำต้องปรับปรุงแก้ไขให้เป็นไปตามวิถีทางแห่งการปกครองระบอบรัฐธรรมนูญ" (ไทยในสมัยสร้างชาติ, 2484)...

แน่นอนว่าในการจัดตั้งการปกครองใหม่อันเป็นผลของ "ระบอบรัฐธรรมนูญนิยม" ที่เกิดขึ้นหลัง 2475 จึงย่อมจะต้องเผชิญกับความท้าทายใหม่อย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้เช่นกัน

ว่าที่จริงความพยายามในการจัดรูปแบบการปกครองใหม่ในสยามนั้น ได้เกิดขึ้นก่อนที่จะเกิดการเปลี่ยนแปลงในปี 2475 คณะทหารชุดหนึ่งซึ่งนำโดยร้อยเอกขุนทวยหาญพิทักษ์ (เหล็ง ศรีจันทร์) ในช่วง ร.ศ.130 ก็ได้พยายามกระทำการเช่นนี้มาแล้ว หากแต่พวกเขาล้มเหลวและนำไปสู่การถูกจับกุมแบบ "ยกคณะ" ในเดือนกุมภาพันธ์ 2454

ซึ่งก็ถือได้ว่าในปีนี้เป็นวาระครบรอบ 101 ปี ของความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งแรกของสยาม

แม้ความพยายามเช่นนี้จะล้มเหลว แต่อย่างน้อยพวกเขาก็ทิ้งร่องรอยของความคิดใหม่ที่เชื่อว่า ระบอบการปกครองของสยามแบบเดิมนั้นไม่เอื้ออำนวยให้สยามเดินไปสู่อนาคตได้อย่างเข้มแข็ง

ความพยายามในการเปลี่ยนแปลงการปกครองครั้งที่ 2 ของสยามที่นำโดยคณะราษฎรนั้น ไม่ได้มีความผูกโยงกับกรณี ร.ศ.130 แต่ประการใด เพราะระยะเวลาหลังจากการถูกกวาดล้างในปี 2454 แล้ว การเปลี่ยนแปลงที่ประสบผลสำเร็จนั้นเกิดขึ้นในปี 2475 ก็คือมีระยะเวลาห่างกันถึง 21 ปี

การประชุมครั้งแรกของคณะผู้ก่อการในชุดของคณะราษฎรนั้นเกิดขึ้นเป็นทางการในวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2467 ที่บ้านพักของร้อยโทประยูร ภมรมนตรี (ยศในขณะนั้น) ในกรุงปารีส

การประชุมดำเนินต่อเนื่องกันเป็นเวลาถึง 5 วัน และมีผู้เข้าร่วมประชุมทั้งสิ้น 7 นาย ได้แก่


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340401074&grpid=01&catid=&subcatid=

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕: "ย่ำรุ่ง" คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไร?

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕: "ย่ำรุ่ง" คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไร?


Posted Image 
Posted Image

 

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ : อยากรู้ “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมง, พระยาพหลฯ ยืนอ่านประกาศตรงไหน, อ่านอะไรแน่?

กุหลาบ สายประดิษฐ์ เขียนเรื่อง “เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕” ลงใน หนังสือพิมพ์สุภาพบุรุษ ระหว่างเดือนพฤษภาคม ถึงเดือนมิถุนายน ปี ๒๔๘๔ จำนวน ๑๖ ตอน โดยอาศัยข้อมูลส่วนหนึ่งจากการสัมภาษณ์ พลเอก พระยาพหลพลพยุหเสนา หัวหน้าคณะผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครอง บวกกับตอนที่ ๑๗ เป็นการสัมภาษณ์ พลตรี พระประศาสน์พิทยายุทธ อีก ๑ ตอน เมื่อมีการพิมพ์รวมเล่มครั้งแรกในปี ๒๔๙๐

เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ ได้ให้รายละเอียดเกี่ยวกับการปฏิบัติการยึดอำนาจของคณะผู้ก่อการฯ เกือบจะทุกแง่มุม เรารู้แม้กระทั่งว่าคืนวันที่ ๒๓ มิถุนายน พระยาพหลฯ เข้านอนตอนตี ๒ และหลับสนิท แม้ว่าวันรุ่งขึ้นคือวันคอขาดบาดตายของตัวเองก็ตาม

นอกจากนี้ยังได้บอกเล่าเหตุการณ์เบื้องหน้าเบื้องหลังนับตั้งแต่ “ฝ่ายทหาร” มีแนวคิดในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง แล้วลำดับเหตุการณ์เรื่อยมาสู่ขั้นตอนวางแผน จนกระทั่งถึงวัน “เอาจริง” ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕

แต่พอถึงวินาทีสำคัญที่สุดของการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือตอนที่พระยาพหลฯ ควักกระดาษออกมาอ่านประกาศยึดอำนาจ ปรากฏว่า เบื้องหลังการปฏิวัติ ๒๔๗๕ และหนังสือเล่มอื่นๆ ข้ามรายละเอียดตรงนี้ไปอย่างน่าเสียดาย

ไม่มีรายละเอียดเรื่องนี้ ไม่มีภาพถ่าย ไม่มีคำบอกเล่าที่ชัดเจน ในวินาทีที่สยามเปลี่ยนแปลงการปกครอง

เลยไม่รู้ว่าวินาทีนั้นหรือก่อนหน้านั้น เกิดอะไรขึ้นบ้าง โดยเฉพาะตำแหน่ง “จุดยืน” ที่แท้จริงของพระยาพหลฯ ขณะอ่านประกาศยึดอำนาจอยู่ตรงไหน หันหน้าไปทางไหน เหล่าทหารยืนฟังอยู่ทางด้านไหนของลานพระบรมรูปทรงม้า อ่านประกาศเวลา “ย่ำรุ่ง” คือเวลากี่โมงกี่นาที และอ่านอะไร?

แม้จะไม่ใช่ “สาระสำคัญ” ทางประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่ก็เป็นรายละเอียดที่ “อยากรู้” ได้เหมือนกัน

เวลา “ย่ำรุ่ง” คือกี่โมงกันแน่?
  
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340456101&grpid=01&catid=53&subcatid=5300

นาทีปฏิวัติ ๒๔๗๕ ฯ (2)

 

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340456807&grpid=no&catid=&subcatid= 

เตือนเก็บผลไม้สวีเดน-ฟินแลนด์ ได้ไม่คุ้มเสีย

เตือนเก็บผลไม้สวีเดน-ฟินแลนด์ ได้ไม่คุ้มเสีย

 


จรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมผู้คลุกคลีกับประเด็นแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศเผยข้อมูล "เจาะลึกและตีแผ่ ขบวนการพาคนไทยมาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์" เผยได้ไม่คุ้มเสีย

23 มิ.ย. 55 - สืบเนื่องจากกรณีที่นายประวิทย์ เคียงผล อธิบดีกรมการจัดหางาน (กกจ.) กระทรวงแรงงาน เปิดเผยว่า ได้รับแจ้งจากทางการสวีเดนว่า ได้ให้โควตาแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ตระกูลเบอร์รี่ในช่วงเดือนกรกฎาคม-กันยายน นี้ ประมาณ 5,000 คน โดยสหภาพแรงงานในสวีเดนได้ประกันรายได้ให้แก่ผู้ที่เดินทางไปเก็บผลไม้ จะต้องมีรายได้ไม่ต่ำกว่าเดือนละ 80,000 บาท และได้จัดเตรียมทั้งที่พักและข้าวของไว้ให้แรงงานไทยเรียบร้อยแล้ว โดยเฉพาะที่พักจัดแยกเป็นหลายแคมป์ ทำให้ไม่แออัดเช่นปีผ่านๆ มา ส่วนประเทศฟินแลนด์จะให้โควตาแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ประมาณ 2,000 คน 

อธิบดีกรมการจัดหางาน กล่าวต่อว่า ขณะนี้มีแรงงานไทยมาลงทะเบียนเพื่อเดินทางไปเก็บผลไม้ในสวีเดนและฟินแลนด์ ประมาณ 6,000 คน ซึ่งการเดินทางไปทำได้ใน 2 รูปแบบ คือ 1.แจ้งการเดินทางผ่านบริษัทจัดหางาน และ 2.เดินทางไปด้วยตนเองโดยค่าใช้จ่ายในการเดินทางไปสวีเดนคนละ 7.5 หมื่นบาท และฟินแลนด์คนละ 6 หมื่นบาท คาดว่าจะเริ่มส่งแรงงานไทยไปเก็บผลไม้ใน 2 ประเทศนี้ในช่วงปลายเดือนมิถุนายนนี้ 

ด้านจรรยา ยิ้มประเสริฐ นักกิจกรรมผู้คลุกคลีกับประเด็นแรงงานไทยไปทำงานต่างประเทศ ได้เปิดเผยข้อมูล "เจาะลึกและตีแผ่ ขบวนการพาคนไทยมาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์” เมื่อ วันที่ 21 มิ.ย. ที่ผ่านมาระบุว่าการทำงานมีสภาพที่เลวร้าย คนงานจะต้องทำงานหนักทุกวันไม่มีวันหยุดถึง 2 เดือน รวมถึงสภาพความเป็นอยู่ในแค้มป์คนงานไม่เอื้อต่อการดำรงชีพอย่างมีคุณภาพตาม มาตรฐานของประเทศปลายทาง และคนงานไทยต้องจ่ายค่าความเสี่ยงต่างๆ เอง ไม่ว่าจะเป็นการเช่าพาหนะ ถูกหักกำไรจากการเก็บผลไม้ป่าไปจ่ายค่าที่พักและอาหารเป็นต้น

โดยรายละเอียดของรายงาน "เจาะลึกและตีแผ่ ขบวนการพาคนไทยมาเก็บเบอร์รี่ที่สวีเดนและฟินแลนด์”  มีดังต่อไปนี้ ...



(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41227

เม้าท์มอย: เว้นวรรค 24 มิ.ย.2475 ดีมั้ย?

เม้าท์มอย: เว้นวรรค 24 มิ.ย.2475 ดีมั้ย?

 



MouthMoy#24 เว้นวรรค 24 มิ.ย.2475 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=dDfjAPwS6A8

 
เม้าท์มอยสัปดาห์นี้ ช่วงแรกมาเม้าท์ๆ มอยๆ เรื่องฮอตฮิตในรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่พ้นคนเอานมวาดรูป บางคนก็ว่าเป็นงานศิลปะ บางคนก็ว่ารับไม่ได้ มาดูว่าหลิ่มหลี ชามดอง คิดอย่างไรกับเรื่องนี้
 
ช่วงที่สอง คุยกันถึงวันสถาปนาประชาธิปไตยในประเทศสยาม เมื่อ 24 มิ.ย.2475 ซึ่งจะครบ 80 ปีในปีนี้ วันสำคัญเช่นนี้เหตุใดจึงไม่เป็นวันหยุดราชการ และประวัติศาสตร์การเมืองไทยช่วงหลังเปลี่ยนแปลงการปกครองจนถึง พ.ศ.2490 ถึงไม่เป็นที่รู้จักและจดจำกันอย่างกว้างขวางในหมู่ประชาชนไทย ชามดองเลย เสนอให้เว้นวรรคประวัติศาสตร์ตั้งแต่วันที่ 24 มิ.ย.2475 ไปแล้วมาต่ออีกที่หลังจอมพลสฤษดิ์ยึดอำนาจเลยดีมั้ย
 
(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41220

"เจษฎ์-จาตุรนต์-พิชิต" กับมุมมองอดีตและอนาคต จาก "80 ปีประชาธิปไตย"

"เจษฎ์-จาตุรนต์-พิชิต" กับมุมมองอดีตและอนาคต จาก "80 ปีประชาธิปไตย"

 

 

22 มิ.ย.55 วงเสวนา “อดีตและอนาคต จาก 80 ปีประชาธิปไตย” ในงานสัมมนาเรื่อง “จาก 100 ปี ร.ศ.130 ถึง 80 ปี ประชาธิปไตย” จัดโดย ภาควิชาประวัติศาสตร์ คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันนโยบายศึกษา โดยการสนับสนุนของมูลนิธิคอนราด อาเดนาวร์ และนิตยสารศิลปวัฒนธรรม ณ อาคารมหาจักรีสิรินธร จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ดำเนินรายการโดยเวียงรัตน์ เนติโพธิ์ อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ จุฬาฯ
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41217

๘๐ ปีวันชาติไทย

๘๐ ปีวันชาติไทย

 

 สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ

 
 
“ยี่สิบสี่มิถุนา ยนมหาศรีสวัสดิ์
ปฐมฤกษ์ของรัฐ ธรรมนูญของไทย
เริ่มระบอบแบบอา -รยประชาธิปไตย
เพื่อราษฎรไทย ได้สิทธิเสรี
สำราญสำเริง บันเทิงเต็มที่
เพราะชาติเรามี เอกราชสมบูรณ์”
 
บทเพลง ๒๔ มิถุนายนนี้ สะท้อนถึงความสำคัญของเหตุการณ์ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ซึ่งเป็นวันเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทย เข้าสู่ระบอบประชาธิปไตยสมัยใหม่ โดยคณะราษฎร ที่นำโดย พ.อ.พระยาพหลพลพยุหเสนา ได้ทำการยึดอำนาจดำเนินการให้ก่อเกิดรัฐธรรมนูญมาเป็นมิ่งขวัญของประชาชนชาว ไทย และนำมาสู่คำขวัญที่ว่า “ชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ และ รัฐธรรมนูญ” และอันที่จริงวันที่ ๒๔ มิถุนายน ยังมีฐานะเป็นวันชาติของไทยอีกด้วย ดังนั้น ปี พ.ศ.๒๕๕๕ นี้ ซึ่งเป็นโอกาสครบรอบ ๘๐ ปี แห่งกรณี ๒๔ มิถุนา จึงต้องถือเป็นปีมหามงคลสมัยของประชาชนไทยอย่างแท้จริง
 
การปฏิวัติในวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายประการ เช่น การยอมรับอำนาจทางการเมืองของราษฎรสามัญว่า สามารถที่จะมีส่วนร่วมในการบริหารประเทศได้โดยผ่านการเลือกตั้ง ให้ชาวไทยได้มีสิทธิเสรีภาพ และมีความเสมอภาคกันภายใต้กฏหมาย ไม่ใช่เจ้าอยู่สูงกว่าราษฎร ต่อมาก็คือ การใช้รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด อันนำมาซึ่งการปกครองโดยกฎหมาย แทนที่การปกครองด้วยพระบรมราชโองการในแบบเดิม การใช้หลักการแบ่งแยกอำนาจเป็นสาม และการบริหารด้วยคณะรัฐมนตรีตามกรอบเวลาที่กำหนด ซึ่งเป็นสิ่งใหม่ ที่สำคัญคือการสิ้นสุดของระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งหมายถึงการสิ้นสุดของการบริหารที่อำนาจอยู่ในมือของคนเดียว บริหารประเทศแบบไม่มีกรอบเวลา
 
คงต้องย้อนไปอธิบายให้ชัดเจนว่า การปฏิวัติ ๒๔๗๕ เกิดขึ้นท่ามกลางวิกฤตอย่างรอบด้าน เพราะตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๗๒ เกิดปัญหาเศรษฐกิจตกต่ำทั่วโลก และนำมาซึ่งการตกต่ำครั้งใหญ่ครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย รัฐบาลสมบูรณาญาสิทธิราชย์ไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้ กรณีนี้กลายเป็นปัญหาของระบอบการปกครอง เพราะถ้าเป็นประชาธิปไตยแบบปัจจุบัน ถ้ารัฐบาลล้มเหลวในการแก้ปัญหา ประชาชนยังมีโอกาสในการเปลี่ยนรัฐบาลโดยผ่านกลไกรัฐสภา หรือผ่านการเลือกตั้ง แต่ในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โอกาสเช่นนั้นไม่มี ปัญหาของระบอบก็คือ ความผิดพลาดในการบริหารของรัฐบาล กลายเป็นความรับผิดชอบของพระเจ้าอยู่หัวด้วย ดังนั้น จึงมีการอธิบายกันด้วยซ้ำว่า การปฏิวัติของคณะราษฎรเป็นการผ่อนเบาพระราชภาระ และเป็นการรักษาเกียรติยศของพระมหากษัตริย์ และการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าฯพระราชทานอำนาจอธิปไตยให้กับประชาชนมาแล้ว นั้น เป็นการมอบในเชิงสถาบัน จึงไม่สามารถรับคืนได้ ความความพยายามในการถวายคืนพระราชอำนาจแก่พระมหากษัตริย์ที่กระทำกัน จึงเป็นการหมิ่นพระเกียรติเป็นอย่างยิ่ง
 
จากนั้น วันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ.๒๔๗๕ จึงถือเป็นวันสำคัญที่มีความหมายแก่ประวัติศาสตร์ประชาชนไทย และวันนี้ยิ่งสำคัญมากขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ รัฐบาลหลวงพิบูลสงคราม ประกาศให้วันที่ ๒๔ มิถุนายน เป็นวันชาติของประเทศไทย โดยครั้งแรกเรียกว่า “วันชาติและวันฉลองสนธิสัญญา” เพราะปี พ.ศ.๒๔๘๒ จะเป็นครั้งแรกที่ประเทศได้เอกราชสมบูรณ์ หลังจากที่ต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขของสัญญาเสียเปรียบมาตั้งแต่สัญญาบาวริง พ.ศ.๒๓๙๘
 
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41225

รำลึก 80 ปี การปฎิวัติประชาธิปไตย 24 มิย 2475 โดยคณะราษฎร์


รำลึก 80 ปี การปฎิวัติประชาธิปไตย  24 มิย 2475 โดยคณะราษฎร์
 
 
http://upic.me/i/8u/people20120624.gif
 

วันนี้เมื่อ 80 ปีก่อน ประชาชนลุกขึ้นมาเพื่อที่จะทวงสิทธิของคนในประเทศนี้

วันนี้เมื่อ 80 ปีที่แล้ว ประชาชนได้บอกว่าประเทศนี้เป็นข
องประชาชนทุกคน ไม่ใช่ของเจ้า ไม่ใช่ของอำมาตย์ที่ไหน

วันนี้เมื่อ 80 ปีที่ผ่านมา พวกเราประชาชนได้ประกาศอิสรภาพจ
ากการกดขี่ และเอารัดเอาเปรียบจากระบอบกษัตริย์

80 กว่าปีที่พวกอำมาตย์พยายามทำให้วันนี้หายไป ทำให้สาบสูญไปจากความทรงจำของคนในประเทศนี้

แต่วันนี้ ครบรอบ 80 ปี เราจะไปทวงคืนสิ่งที่พวกอำมาตย์พยามลบออกไป วันนี้เราจะไปทวงคืนวันชาติไทย

นศ.รัฐศาสตร์หลายรั้วมหา'ลัยเดินรณรงค์ครบรอบ 80 ปี 24 มิ.ย. 2475

นศ.รัฐศาสตร์หลายรั้วมหา'ลัยเดินรณรงค์ครบรอบ 80 ปี 24 มิ.ย. 2475

 

ภาพนักศึกษาแสดงละครสะท้อนการเมือง – แต่งเป็นประชาชนที่ต้องเป็นนักโทษการเมือง

ละครนักศึกษา80ปี 24 มิ.ย. 2475 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=uNRp53mZptU


นักศึกษาจากคณะรัฐศาสตร์หลายรั้วมหาวิทยาลัยเดินรณรงค์เรียกร้องให้สังคมให้ ความสำคัญ 80 ปี 24มิ.ย. 2475 แม้ประชาธิปไตยกระท่อนกระแท่น แต่ประชาชนยังศรัทธา ยืนยันจะต่อต้านการปฏิวัติรัฐประหารล้มประชาธิปไตยทุกรูปแบบ 

9.30 น. วันนี้(23 มิ.ย.) สโมสรนิสิตคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับเครือข่ายสิงห์สัมพันธ์ เช่น นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  มหาวิทยาลัยบูรพาและมหาวิทยาลัยราชภัฎสวนดุสิต วิทยาเขตสุพรรณบุรี เป็นต้น กว่า 100 คน ได้เดินขบวนรณรงค์ร่วมกันภายใต้ชื่อโครงการนิสิตนักศึกษากับประชาธิปไตย: ขบวน รณรงค์ครบรอบ 80 ปี 24มิ.ย. 2475 โดยมีการเริ่มเดินขบวนรณรงค์จากสะพานมัฆวาน รังสรรค์ไปยังอนุสาวรีย์ ประชาธิปไตย พร้อมทั้งจะมีการปราศรัยและจัดการแสดงบริเวณหน้าอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย และสลายการชุมนุมไปเวลา 11.00 น.

โดยทางผู้จัดได้ให้เหตุผลของการเดินรณรงค์ครั้งนี้ว่าเพื่อให้สังคมเล็ง เห็นความสำคัญของวันที่ 25 มิถุนายน 2475 และเป็นการนำองค์ความรู้ทางรัฐศาสตร์ในห้องเรียนไปประยุกต์ใช้ให้เกิด ประโยชน์แก่สังคมและเพื่อให้นิสิตนักศึกษารัฐศาสตร์ได้ ใช้โอกาสในการร่วมจารึกเหตุการณ์สำคัญ ของประวัติศาสตร์ทางการเมืองไทยร่วมสมัย ด้วยการแสดงออกทางการเมืองอย่างสันติ ผ่านการรณรงค์เรียกร้องและชี้ชวนให้สาธารณชนหวนระลึกถึงวันที่ 24มิถุนายน เนื่องในโอกาสที่ปี 2555 นี้ นับเป็นการครบรอบปีที่ 80 ของการเปลี่ยนแปลงการ ปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยและตั้งคำถามว่าประเทศไทยเป็นไปตามครรลอง ประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด รวมไปถึงการตั้งคำถามต่อประเด็นสิทธิ เสรีภาพและ หน้าที่ของพลเมืองชาวไทยด้วย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai3.info/journal/2012/06/41230

ปฎิญญาหน้าศาล อ ปวิน ชัชวาลพงพันธ์ นักวิชาการ หัวใจ ปชต 23 6 2012

ปฎิญญาหน้าศาล อ ปวิน ชัชวาลพงพันธ์ นักวิชาการ หัวใจ ปชต 23 6 2012 

 

(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=6aLajvpfBUg&feature=player_embedded

ใบตองแห้งออนแอร์ 23มิย55

ใบตองแห้งออนแอร์ 23มิย55 

 


(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=jbCKAQhTQXI&feature=player_embedded#!