หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน พ.ศ. 2555

ระบบทาสกับการเหยียดสีผิว

ระบบทาสกับการเหยียดสีผิว

 
 
ระบบทาสเป็นระบบที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับความ เท่าเทียมของมนุษย์ นักปรัชญา “ยุคแสงสว่าง” อาจนั่งดื่มกาแฟและพูดคุยเรื่องเสรีภาพ แต่กาแฟ และน้ำตาลที่เขาดื่ม หรือบุหรี่ที่เขาสูบ ล้วนแต่มาจากแรงงานบังคับของทาสทั้งสิ้น 

โดย C. H.


ก่อนศตวรรษที่ 18 ทาสส่วนใหญ่ในโลกไม่ใช่คนผิวดำ และคำว่า slave (ทาส) ในภาษาอังกฤษมาจากคำว่าเชื้อชาติ “สลาฟ” ใน ยุโรปกลาง ในขั้นตอนแรกของการบุกเบิกทวีปอเมริกามีการใช้แรงงานเกษตรพันธสัญญาจากยุโรป ที่ต้องทำงานฟรีหลายปี แต่ระบบนี้สร้างแรงงานน้อยเกินไป จึงมีการหันมาใช้แรงงานทาสผิวดำที่ถูกจับในทวีปอัฟริกาและนำไปขายโดยหัวหน้า เผ่าพื้นเมืองเอง

ระบบทาสในทวีปอเมริกาและเกาะคาริเบี้ยน เชื่อมโยงและเสริมเศรษฐกิจทุนนิยมที่กำลังเติบโตในอังกฤษและที่อื่นของยุโรปในลักษณะ “สามเหลี่ยมของการค้าขาย” คือ ผลผลิตจากอังกฤษ เช่นเครื่องมือเหล็ก อาวุธ และผ้า ถูกแลกกับทาสที่อัฟริกา ทาสเหล่านั้นจะถูกขนส่งไปขายในอเมริกาและคาริเบี้ยน และเงินจากการขายทาสจะนำไปซื้อน้ำตาล ยาสูบ และฝ้าย เพื่อขายในยุโรป

ระบบทาสเป็นระบบที่ขัดแย้งโดยสิ้นเชิงกับความเท่าเทียมของมนุษย์ นักปรัชญา “ยุคแสงสว่าง” อาจนั่งดื่มกาแฟและพูดคุยเรื่องเสรีภาพ แต่กาแฟ และน้ำตาลที่เขาดื่ม หรือบุหรี่ที่เขาสูบ ล้วนแต่มาจากแรงงานบังคับของทาสทั้งสิ้น

ข้อแก้ตัวที่นักคิดและนักธุรกิจใช้ เพื่อสร้างความชอบธรรมกับระบบทาสมีสองข้อคือ
   
ข้อแก้ตัวอันแรก คือการมองว่าทาสเป็นแค่ทรัพย์สมบัติปัจเจก ดังนั้นคนที่สนับสนุนสิทธิในทรัพย์สมบัติ อย่าง จอห์น ลอค ซึ่งถือหุ้นในบริษัที่ได้ประโยชน์จากการค้าทาส จะมองว่าระบบทาส  “ไม่ผิดศีลธรรม”
   
ข้อแก้ตัวที่สอง คือการเสนอว่าคนผิวดำ “ไม่ใช่มนุษย์” ดังนั้นอุดมการณ์ความเท่าเทียมของมนุษย์ หรือความคิดศาสนาคริสต์ “ไม่ขัดแย้ง” กับระบบทาส นี่คือรากฐานกำเนิดของความคิดที่เหยียดสีผิวหรือเกลียดชังคนผิวคล้ำ และความคิดแบบนี้มีความสำคัญในการสร้างความแตกแยกระหว่างคนธรรมดาผิวขาวกับ คนผิวดำ เพื่อไม่ให้คนชั้นล่างสามัคคีและร่วมต่อสู้กับคนชั้นบน เพราะในอดีตมนุษย์ไม่เคยให้ความสำคัญกับสีผิว ในอียิปต์หรือโรมคนสีผิวแตกต่างกันมีทั่วไปในทุกระดับของสังคม

ระบบทาสทำลายเศรษฐกิจอัฟริกา เพราะการนำเข้าสินค้าอุตสาหกรรมจากอังกฤษ ทำลายอุตสาหกรรมพื้นเมือง และการจับทาสทำให้ประชากรผู้ผลิตในอัฟริกาลดลงด้วย ซึ่งทั้งหมดนี้เปิดทางให้ตะวันตกเข้ามายึดครองอัฟริกาเป็นอาณานิคมได้ง่าย ขึ้น
 
(คลิกฟัง)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/09/blog-post_11.html 

Wake up Thailand ประจำวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2555

Wake up Thailand ประจำวันพฤหัสบดีที่ 13 กันยายน 2555


 


ฝ่ายค้าน-รัฐบาล ใต้ร่วมเย็น

 
นำเสนอประเด็น
 
-สถานการณ์น้ำเหนือยังอ่วม 
-นายกฯ เตรียมลงพื้นที่ จ.สุโขทัย วันนี้ 
-จับตาพายุลูกใหม่ 13 กันยายน 
- แม่ทัพ4พร้อมเลิก พ.ร.ก.รับกลุ่มป่วนใต้วางมือ แย้ม "สะแปอิง-มะแซ"รอดูท่าที
-วิเคราะห์ 93 แนวร่วมก่อความไม่สงบแสดงตัว แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์?  
-'ยุทธศักดิ์' ยืนยัน 93 แนวร่วมอาร์เคเค แสวงหาสันติ                 
-'เฉลิม' จ่อเชิญอภิสิทธิ์และสส.ใต้ปชป.ถกแก้ไฟใต้                                    
-ถวิลแจงดีเอสไอไม่มีแนวคิดสลายการชุมนุม 
-พนักงานสอบสวน ดีเอสไอ เล็งเชิญ พล.อ อนุพงษ์ ธาริต สอบ 
-ศาลอุทธรณ์พิพากษายืน'พธม.' ไม่ผิดหมิ่นทักษิณ                                      
-ศาลปค.ให้ทุเลาย้ายชาตรี - ไม่คุ้มครองคำสั่งกห.เด้งเสถียร
-เปิดตัว ไอโฟน 5 นวัตกรรมที่ทั่วโลกรอคอย
-มาร์ค ซัคเคอร์เบิร์กรับผิดหวังหุ้นเฟซบุ๊กดิ่ง                                                 
-'ฆ่าทูตมะกัน' ในลิเบียสังเวยหนังหมิ่นศาสนา                                                           
-ศาลเยอรมันชี้อนาคตเศรษฐกิจยุโรป
-'สุกำพล' ยันยังไม่ทราบคำสั่งศาลปกครอง คดี 'เสถียร'    

(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/wakeup-thailand

Divas Cafe ประจำวันที่ 13 กันยายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 13 กันยายน 2555


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k

 

'เพิ่ม' ส่วนที่ขาด 'ปาด' ส่วนที่เกิน…สร้างกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ ด้วยการใช้จักรยาน

 

มหานครนิวยอร์คนิยามรถสปอร์ตคันเเพงเป็นเรื่องของคนยุคเก่า....ในขณะที่ อัมสเตอร์ดัม กลายเป็น 'ศูนย์กลางวัฒนธรรมสองล้อ' กับการดีไซน์เมืองเพื่อนักปั่น 'ถ้าเมืองใหญ่กว่า ยุ่งกว่าทำได้ ทำไมกรุงเทพจะทำไม่ได้' 
 
แล้วอะไรคือเหตุผล ให้ 'โตมร ศุขปรีชา' บรรณาธิการแห่ง นิตยสาร GM ยอมปิดประตูรถยนต์ แล้วหันมาขึ้นคร่อมจักรยาน  
 
จะดีแค่ไหนกัน ถ้าประเทศไทย จะเลิกรื้อบาทวิถี แล้วหันมาสร้างเลนจักรยาน มาร่วม 'เพิ่ม' ส่วนที่ขาด 
'ปาด' ส่วนที่เกิน สร้างกรุงเทพฯ ให้น่าอยู่ ด้วยการใช้จักรยาน
 
(คลิกฟัง)

The Daily Dose ประจำวันที่ 13 กันยายน 2555

The Daily Dose  ประจำวันที่ 13 กันยายน 2555


  


ศาลปกครองยุ่งไม่เข้าเรื่องอีกแล้ว ?

 

ศาลปกครองเป็นสถาบันที่ทำหน้าที่พิจารณา และพิพากษา  คดีปกครอง ข้อพิพาทระหว่างหน่วยงานของรัฐ  รัฐวิสาหกิจ  และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต่าง ๆ กับเอกชน  
 
รวมทั้งข้อพิพาท ระหว่างหน่วยงานของรัฐด้วยกัน ศาลปกครองจะทำหน้าที่ในการตรวจสอบ หรือพิสูจน์ให้เห็นว่าการปฏิบัติงาน หรือการใช้อำนาจของข้าราชการ เป็นไปโดยถูกต้อง ชอบด้วยกฎหมาย  โดยสุจริต 
   
(คลิกฟัง)
http://shows.voicetv.co.th/the-daily-dose

ความเสื่อมของสื่อมวลชนกระแสหลัก

ความเสื่อมของสื่อมวลชนกระแสหลัก



พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
โดย รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
เผยแพร่ครั้งแรกใน นิตยสาร “โลกวันนี้วันสุข” ฉบับวันศุกร์ที่ 14 กันยายน 2555
 
 
วิกฤตการเมืองในระยะกว่าหกปีมานี้ สื่อมวลชนกระแสหลักของไทย ทั้งฟรีทีวี วิทยุ และหนังสือพิมพ์ค่ายต่าง ๆ ล้วนเป็นกลุ่มผู้ร่วมสมคบก่อเหตุที่สำคัญที่สุดกลุ่มหนึ่ง จนอาจกล่าวได้ว่า คนพวกนี้ “มือเปื้อนเลือด” ไม่ได้น้อยไปกว่าพวกอันธพาลการเมืองที่เรียกตัวเองว่า พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย

เบื้องหลังพฤติการณ์ของสื่อมวลชนกระแสหลักเหล่านี้ก็คือ ความคิดที่รับใช้เผด็จการ ผนวกกับผลประโยชน์ทางธุรกิจ ทั้งของนายทุนเจ้าของสื่อและนักสื่อสารมวลชนอาชีพเกือบทุกระดับ

สื่อสารมวลชนในยุคปัจจุบันที่เป็นค่ายใหญ่ ๆ เป็นธุรกิจมูลค่านับหมื่นล้านบาท มีเครือข่ายโยงใยผลประโยชน์ไปยังเครือข่ายราชการที่อยู่ในอำนาจรัฐและสาย สัมพันธ์กับพรรคการเมืองเก่าแก่บางพรรค อยู่ภายในโครงครอบทางอำนาจและอุดมการณ์จารีตนิยมที่คอยบ่อนทำลายระบบการ เมืองแบบเลือกตั้งในประเทศไทยมาทุกยุคสมัย อิงแอบอำนาจและแบ่งปันผลประโยชน์กับพวกเผด็จการแฝงเร้นจนแยกกันไม่ออก
                
การเมืองแบบเลือกตั้งที่ถูกตัดตอนด้วยรัฐประหารครั้งแล้วครั้งเล่านั้น เต็มไปด้วยจุดอ่อนมากมาย สื่อมวลชนกระแสหลักจึงรับหน้าที่เป็นแกนหลักในการเผยแพร่และตอกย้ำวาทกรรม “นักการเมืองเลว” มาทุกยุคสมัย ปั่นกระแสในหมู่คนชั้นกลางในเมืองให้เกลียดชังนักการเมือง สร้างเงื่อนไขทางความคิดในหมู่ประชาชน ที่นำไปสู่รัฐประหารโค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งและฉีกรัฐธรรมนูญทุก ครั้งนับตั้งแต่ปี 2519 เป็นต้นมา
                
นักสื่อมวลชน ตั้งแต่ผู้บริหารระดับสูง ลงมาถึงบรรณาธิการ คอลัมนิสต์ คนเขียนข่าว จนถึงคนอ่านข่าวหน้าจอทีวีและวิทยุ เป็นกลุ่มวิชาชีพพิเศษเช่นเดียวกับนักวิชาการ อาจารย์มหาวิทยาลัย คือสถาปนาตนเองเป็นฐานันดรที่แยกจากประชาชนทั่วไป ด้วยการสมมติ “จรรยาบรรณและจริยธรรม” ชุดหนึ่งขึ้นมา ให้สาธารณชนเชื่อว่า พวกตนเป็นกลุ่มคนที่มีความสูงส่งทางสติปัญญา สถานะ ความรู้ เต็มไปด้วยความซื่อสัตย์สุจริตและคุณธรรม คนพวกนี้รวมตัวกันอยู่ในองค์กรอาชีพ เป็นสมาคมสื่อมวลชนประเภทต่าง ๆ มีจุดประสงค์หลักคือ ปกป้องผลประโยชน์และสถานะของคนในอาชีพมิให้ถูกตรวจสอบจากสาธารณชน มีกิจกรรมหลักคือ เชิดชูกันเอง ให้รางวัลกันเองไปมา และคอยข่มขู่ผู้คนที่กล้าวิพากษ์วิจารณ์ตรวจสอบพวกเขาว่า “คุกคามสื่อ”
                
มีแต่พวกเขาเท่านั้นที่ดีพอ สูงส่งพอ สะอาดพอที่จะไปตรวจสอบ ชี้นิ้วประณามคนอื่นได้หมด แต่สังคมไม่มีสิทธิ์ตรวจสอบคนพวกนี้

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42623
"สื่อมวลชน" ต้องไม่เป็น "สื่อมวลสัตว์"




สุลักษณ์ ศิวรักษ์ กล่าวถึงบทบาทของสื่อมวลชนที่เปลี่ยนไปจากที่เคย "วิพากษ์วิจารณ์" สถาบันได้ กลับมาทำหน้าที่ "ประชาสัมพันธ์" อย่างเป็นระบบให้สถาบันข้างเดียว ซึ่งขัดกับที่กลุ่มโปรเจ้าที่ชอบอ้างแบบผิดๆว่า คนไทย/สื่อไทยรักเจ้า และไม่เคยวิจารณ์เจ้ามาก่อน โดยสุลักษณ์ ได้กล่าวอย่างชัดเจนว่า:

"ทั้งที่การแตะต้องเจ้านั้นมันอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาตลอด ร.7 ท่านรับสั่งเลยเ
ชียว ราษฎรเขาต้องด่าเจ้า ฝนไม่ตกไม่ตกต้องตามฤดูกาลมันยังด่าเจ้าเลย นี่ร.7 ท่านรับสั่ง รัชกาลปัจจุบันก็รับสั่ง ว่าพระองค์ท่านทำผิดได้ วิพากษ์วิจารณ์ท่านได้"


แต่สื่อไทยเอง กลับละทิ้งหน้าที่เป็น "หมาเฝ้าบ้าน" ให้ประชาชนนั้นไปอย่างน่าเสียดาย


--------------- ((ต้นฉบับ))------------------

ทั้งที่สังคมไทยปัจจุบันมาไกลกว่าสมัยหลัง 2475 มาก เหตุใดวงการสื่อจึงเห็นว่า การทำข่าวในพระราชสำนักคือการทำข่าวเชิงประชาสัมพันธ์หรือ MASS monarchy ขนาดนี้

ส.ศิวรักษ์: สื่อกระแสหลักซวดเซ ตั้งแต่สฤษดิ์ ธนะรัชต์ ขึ้นมา ตั้งแต่คุณกุหลาบ สายประดิษฐ์ ตัดสินใจไม่กลับจากเมืองจีน สื่อกระแสหลักซวดเซเรื่อยมา สื่อก็ถือว่า คึกฤทธิ์ ปราโมช เป็นสดมภ์หลักของสื่อ ถือหนังสือพิมพ์สยามรัฐ เป็นกระบอกเสียงปลอม แล้วก็มอมเมาคน เดี๋ยวนี้ก็ยังโงหัวไม่ขึ้น เช่นเห็นว่าเรื่อง 4 แผ่นดินเป็นเรื่องยอด เป็นเรื่องมอมเมาคน ให้นับถือเจ้าอย่างเดียว ให้ดูถูกคณะราษฎร แล้วสื่อกระแสหลักเวลานี้ ยังไม่ลืมตาอ้าปาก ยังไม่ยอมเผชิญกับความจริง แล้วถือว่าตัวเองมีสิทธิเสรีภาพ และสิทธิเสรีภาพของตัวถูกกรอบกำหนดเอาไว้ จนไม่กล้าพูดเลย ยกตัวอย่างง่ายๆเลย นักข่าวคนสำคัญคนหนึ่งของมติชนซึ่งมีฝีมือมาก ซื่อสัตย์มาก ที่ถูกขรรค์ชัยไล่ออก แม้คนนี้เอง ก็พูดว่าถ้าเรื่องสถาบันเบื้องบนแล้ว ผมไม่กล้าแตะ ก็นี่ถูกมอมเมากันมาอย่างนี้ เหมือนกับสมัยกลาง ไม่มีใครกล้าแตะพระสันตปาปา ไม่มีใครกล้าแตะพระผู้เป็นเจ้า นี่มัน 500 ปีมาแล้วนะ เมืองไทยยังทำตัวเหมือนสมัย 500 ปี ที่แล้ว ทั้งที่การแตะต้องเจ้านั้นมันอยู่ในวัฒนธรรมไทยมาตลอด ร.7 ท่านรับสั่งเลยเชียว ราษฎรเขาต้องด่าเจ้า ฝนไม่ตกไม่ตกต้องตามฤดูกาลมมันยัง ด่าเจ้าเลย นี่ร.7 ท่านรับสั่ง รัชกาลปัจจุบันก็รับสั่ง ว่าพระองค์ท่านทำผิดได้ วิพากษ์วิจารณ์ท่านได้ แม้เพียงนี้แล้วคนก็ยังปอด ยังกลัว ตราบใดที่มนุษย์มีความกลัวเป็นเจ้าเรือน ความกล้าไม่เกิดขึ้น โดยเฉพาะสื่อ จะต้องฝึกให้ตนอ่านเข้าใจความจริงมากขึ้น อยู่ฝั่งความยุติธรรมมากขึ้น มีศักดิ์ศรี มิฉะนั้นแล้วสื่อจะเป็นเหมือน ที่อ.ป๋วย ว่า สื่อมวลชน กลายเป็น สื่อมวลสัตว์

สุลักษณ์ ศิวรักษ์
8 กันยายน 2555

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา "รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน"

ขอเชิญร่วมงานสัมมนา "รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน"




ใครมาก่อนร้อยคนแรกแจกหนังสือฟรี สีเหลืองอ๋อย แต่ข้างในแซ่บเวอร์ :) รายละเอียดตามรูป รบกวนแทกกันเยอะๆด้วยครับ