ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาคดีสมยศอยู่ตรงนี้
โดย วาด รวี
ประเด็นสำคัญของคำพิพากษาอยู่ตรงนี้
..........................
เห็นว่าบทความ
คมความคิด ในนิตยสารเสียงทักษิณทั้งสองฉบับ
มีเนื้อหาที่ไม่ได้กล่าวถึงชื่อบุคคล
แต่เขียนโดยมีเจตนาเชื่อมโยงเหตุการณ์ในอดีต
เมื่อนำเหตุการณ์ในอดีตมาเชื่อมโยงแล้วสามารถระบุได้ว่าหมายถึงพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช เนื้อหาของบทความเป็นการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น
และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อพระมหากษัตริย์
...........................
จากคำแถลงปิดคดีของฝ่ายจำเลย พบว่า ประเด็นสำคัญข้างบนมาจากคำให้การของ ธงทอง จันทรางศุ ตรงส่วนนี้
...........................
พยาน
ส่วนใหญ่ของโจทก์ให้ความเห็นว่าผู้เขียนบทความทั้งสองบทความมีเจตนาดูหมิ่น
หรือหมิ่นประมาท หรือแสดงความ อาฆาตมาดร้ายพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
และพระราชวงศ์ เฉพาะศาสตราจารย์พิเศษธงทองดูเอกสารหมาย จ.๒๔
แล้วเบิกความว่า
ไม่ได้ให้ความเห็นว่าเข้าค่ายหมิ่นสถาบันพระมหากษัตริย์หรือไม่
แต่ได้ให้ความเห็นว่าข้อความที่ปรากฏอยู่ในหน้า ๔๖ ตรงคำว่า “โคตรตระกูล”
นี้นั้นหมายถึงราชวงศ์จักรี และไม่ออกความเห็นเกี่ยวกับเอกสารหมาย จ.๒๕
.......................
และส่วนนี้
.......................
เมื่อ
เปรียบเทียบความเห็นของพยานโจทก์เฉพาะปากนายกฤษฎา ใจสุวรรณ์ กับ
นางสาวชรินรัตน์ อิงพงษ์พันธ์ ในการให้ความเห็นบทความ ตามเอกสารหมาย จ.๒๔
และ จ.๒๕ ยังไปคนละทิศทาง
ไม่อาจสรุปได้ว่าความเห็นของฝ่ายใดถูกหรือของฝ่ายใดผิด
เช่นเดียวกับความเห็นพยานโจทก์ปากศาสตราจารย์พิเศษธงทอง จันทรางศุ
พยานโจทก์ที่เบิกความตอบอัยการโจทก์เมื่อวันที่ ๒๕ เมษายน ๒๕๕๕ ในหน้าที่ ๒
บรรทัดที่ ๔-๑๓ และในหน้าที่ ๓ บรรทัดที่ ๗-๑๐ นับจากบนลงล่าง ความว่า
“พยานดูเอกสารหมาย จ.๒๔ แล้วเบิกความว่า
..........................................คำว่า “โคตรตระกูล”
ที่ระบุไว้ทั้งสองแห่งผู้เขียนสื่อความหมายให้ผู้อ่านนึกถึงราชวงศ์จักรี
ตรงที่หมายถึงราชวงศ์จักรีนั้นอยู่ตรงคำว่า “พอได้ดีก็โค่นนายตัวเอง
จับนายไปจองจำ ชัดว่าสติไม่ดี ดูแลบ้านเมืองไม่ได้ แล้วก็จับลงถุงแดง
ฆ่าทิ้งอย่างทารุณ” เป็นประวัติศาสตร์ในช่วงท้ายกรุงธนบุรีในปี ๒๓๒๕
ต่อเนื่องกับตอนต้นของกรุงรัตนโกสินทร์...................โจทก์ให้พยานดู
เอกสารหมาย จ.๒๕ เป็นบทความโดยผู้เขียนนามปากกาเดียวกับ จ.๒๔
พยานดูแล้วเบิกความว่าเรื่อง ๖ ตุลา ๒๕๕๓ นี้
ผู้เขียนสมมุติตัวละครเดินเรื่องชื่อ “หลวงนฤบาล”
อ่านแล้วข้าฯไม่แน่ใจไม่สามารถให้ความเห็นเด็ดขาดได้ว่าหมายถึงบุคคลหนึ่ง
บุคคลใดหรือไม่”
......................
ศาล
อาศัยปากคำของ ธงทอง ที่ตีความคำว่า “โคตรตระกูล” ว่าหมายถึง
"ราชวงศ์จักรี" และอาศัยจุดนี้ในการเชื่อมโยงให้ความหมายว่า “หลวงนฤบาล”
คือพระเจ้าอยู่หัว
ประการที่หนึ่ง ธงทองไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญหรือมีความรู้ประวัติศาสตร์