หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ร่วมไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา Amandla!

ร่วมไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา Amandla!

ไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา Amandla! 

 
เนลสัน แมนเดลา คือบิดาแห่งการต่อสู้เพื่อล้มล้างระบบ “อาพาร์ไทยท์” ซึ่งเป็นระบบเหยียดสีผิวในประเทศอัฟริกาใต้ ที่กีดกันคนผิวดำคนส่วนใหญ่ของประเทศ ออกจากสิทธิเสรีภาพพื้นฐาน 

โดย  ใจ อึ๊งภากรณ์
 

แมนเดลา นำการจับอาวุธต่อสู้กับรัฐเผด็จการของคนผิวขาว และต้องทนทุกข์ทรมานในคุกเป็นเวลา 27 ปี ก่อนที่จะขึ้นมาเป็นประธานาธิบดีคนแรกของอัฟริกาใต้ที่มาจากการเลือกตั้งในระบบประชาธิปไตย โดยที่คนผิวดำทุกคนได้สิทธิ์เลือกผู้นำของตนเองเป็นครั้งแรกในปี 1994

แมนเดลา เป็นหัวหน้าพรรค African National Congress (ANC) หรือ “พรรคสภาแห่งชาติอัฟริกา” และในปี 1955 พรรค ANC ได้ประกาศ “ธรรมนูญแห่งเสรีภาพ” (Freedom Charter) เพื่อเป็นแนวทางในการต่อสู้ นอกจากธรรมนูญนี้จะระบุว่าพลเมืองทุกคนทุกสีผิวจะต้องมีสิทธิเสรีภาพเท่าเทียมกันแล้ว ยังระบุว่าพลเมืองทุกคนมีสิทธิ์ในการได้รับการศึกษาฟรีถึงขั้นมัธยม มีสิทธิ์ที่จะมีงานทำและได้รับค่าตอบแทนที่เป็นธรรม เกษตรกรต้องมีที่ดินทำกินโดยจะมีการแบ่งที่ดินใหม่อย่างเป็นธรรม เพื่อไม่ให้คนรวยผูกขาดที่ดินของประเทศ มีการระบุว่าทรัพยากรต่างๆ และบริษัทใหญ่จะต้องนำมาเป็นของส่วนรวม และทุกคนจะต้องมีสิทธิ์ในที่อยู่อาศัยที่มีคุณภาพ  

แต่เกือบ 60 ปีหลังจากการประกาศ ธรรมนูญแห่งเสรีภาพและ 20 ปีหลังจากที่ แมนเดลา ขึ้นมาเป็นประธานาธบดี สภาพความเป็นอยู่ของประชาชนส่วนใหญ่ ไม่ได้ตรงกับความหวังที่เคยมีในธรรมนูญดังกล่าว องค์กรสหประชาชาติรายงานว่าเด็ก 1.4 ล้านคนอาศัยในกระท่อมที่ไม่มีน้ำสะอาดดื่ม และ 1.7 เด็กล้านคนต้องอาศัยในบ้านที่ต่ำกว่าคุณภาพเพราะไม่มีที่นอน อุปกรณ์อาบน้ำ หรือเครื่องมือทำอาหาร

นอกจากนี้ธนาคารโลกคาดว่าดัชชนีจินี (Gini Coefficient) ของอัฟริกาใต้สูงถึง 0.7 ดัชชนีนี้วัดความเหลื่อมล้ำระหว่างคนรวยกับคนจนภายในประเทศ เมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ ในโลกจะเห็นว่าอัฟริกาใต้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเหลื่อมล้ำสูงที่สุดในโลก (เปรียบเทียบกับไทย 0.4, อินเดีย 0.37, สหรัฐ 0.47, ญี่ปุ่นและอังกฤษ 0.32 และฟินแลนด์ 0.27)

ในปี 2009 เมื่อผมมีโอกาสไปเมืองโจฮันเนสเบอร์ก ซึ่งเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมเหมืองทองคำ ผมเห็นบ้านหรูของคนผิวขาวและคนรวยผิวดำที่ล้อมรอบด้วยลวดหนาม ตามรั้วมีป้ายเตือนขโมยว่ามียามติดอาวุธ ในขณะเดียวกันผมเห็นบ้านเล็กๆ จำนวนมาก เสมือนกล่องปูนซิเมน ของคนผิวดำ และที่แย่กว่าคือสลัมที่ไม่มีน้ำสะอาดหรือห้องน้ำ

อัฟริกาใต้ถูกคนผิวขาวจากยุโรปบุกรุกและยึดครองมาตั้งแต่สมัยล่าอาณานิคม แต่พอถึงยุค 1880 มีการค้นพบเพชรกับทองคำ บริษัทใหญ่จึงต้องการแรงงานผิวดำราคาถูกเป็นจำนวนมาก สภาพการทำงานของคนงานเหล่านี้ในเหมือนแร่ป่าเถื่อนที่สุด พร้อมกันนั้นมีการใช้ความรุนแรงเพื่อขับไล่คนผิวดำในหมู่บ้านชนบทออกจากที่ดิน และนี่คือที่มาของการก่อตั้งขบวนการแรงงานคนผิวดำในอัฟริกาใต้ ซึ่งเป็นขบวนการทางสังคมที่มีพลัง ต่อมาในปี 1948 มีการออกกฏหมายเพื่อสร้างระบบ อาพาร์ไทยท์ เป็นทางการ คนผิวดำถูกบังคับให้อาศัยในสลัมเพื่อมาทำงานให้คนผิวขาวและบริษัทยักษ์ใหญ่ และห้ามใช้บริการต่างๆ ที่คนผิวขาวใช้ สรุปแล้วระบบ อาพาร์ไทยท์ ที่แบ่งแยกและกดขี่คนตามสีผิว เป็นส่วนหนึ่งและแยกไม่ออกจากระบบทุนนิยมของอัฟริกาใต้ บริษัทเพชร De Beers บริษัทเหมืองทองคำใหญ่ๆ เช่น Anglo-American รวมถึงบริษัทข้ามชาติอื่นๆ ของประเทศตะวันตก เช่น ICI, GEC, Shell, Pilkington, British Petroleum, Blue Circle and Cadbury Schweppes สามารถกอบโกยกำไรมหาศาลจากระบบนี้

ในขณะที่ผู้นำระดับโลกทุกวันนี้แห่กันไปชมและไว้อาลัย แมนเดลา เราไม่ควรลืมว่าตลอดเวลาที่ แมนเดลา ติดคุก ผู้นำประเทศตะวันตกเกลียดชังและด่าเขาว่าเป็นพวก “ก่อการร้าย”

ในปี 1990 แมนเดลา ถูกปล่อยตัว และระบบ อาพาร์ไทยท์ เริ่มล่มสลาย เหตุผลหลักมาจากการต่อสู้และการนัดหยุดงานเป็นระยะๆ ของขบวนการแรงงานตั้งแต่ปี 1974 และการต่อสู้ของชุมชนผิวดำ โดยเฉพาะเด็กนักเรียน เช่นในเมือง Soweto ในปี 1976 เพราะการลุกฮือเป็นประจำแบบนี้ทำให้นายทุนใหญ่และชนชั้นปกครองมองว่าต้องรื้อถอนระบบแบ่งแยกด้วยสีผิว เพื่อปกป้องฐานะและกำไรของเขาในระบบทุนนิยม

ปัญหาของแนวทางในการต่อสู้ของพรรค ANC และพรรคแนวร่วมหลักคือ “พรรคคมอมิวนิสต์แห่งอัฟริกาใต้” (SACP) คือมีการเน้นการต่อสู้เพื่อปลดชาติจากการผูกขาดของคนผิวขาว ที่เรียกกันว่าการต่อสู้เพื่อ “ประชาชาติประชาธิปไตย” แทนที่จะมองว่าต้องต่อสู้กับระบบการกดขี่สีผิวพร้อมๆกับสู้กับระบบทุนนิยม (ที่ชาวมาร์คซิสต์เรียกว่า “แนวปฏิวัติถาวร”) พูดง่ายๆ ANC  และ SACP มองว่าการมีรัฐบาลของ แมนเดลา จะทำให้ทุนนิยมอัฟริกาใต้ “น่ารักมากขึ้น” รัฐบาล ANC สัญญามาตั้งแต่แรกว่าจะไม่แตะระบบทุนนิยมและกำไรของบริษัทยักษ์ใหญ่ และบทบาทสำคัญของ SACP คือการคุมขบวนการแรงงานเพื่อไม่ให้ออกมาต่อสู้และ “เรียกร้องอะไรมากเกินไป” จากรัฐบาล ANC มองดูแล้วอดไม่ได้ที่จะนึกถึงรัฐบาลเพื่อไทยและบทบาทแกนนำ นปช.

อย่างไรก็ตามตรรกะของการยอมรับระบบทุนนิยม โดยไม่พยายามปะทะ หรือเปลี่ยนระบบ คือการหันไปยอมรับกลไกตลาดเสรี ในปีที่พรรค ANC ขึ้นมาเป็นรัฐบาลมีการตกลงกับองค์กร IMF เพื่อรับแนวทางตัดสวัสดิการและตัดงบประมาณรัฐ และต่อมามีการลดภาษีให้บริษัทใหญ่ และทั้งๆ ที่รัฐบาลตั้งใจจะสร้างบ้านใหม่ให้คนผิวดำจำนวนมาก ในความเป็นจริงโครงการนี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร และผลของนโยบายเสรีนิยม คือการที่มีการเพิ่มกำไรและรายได้ให้กับกลุ่มทุนและคนรวยในขณะที่คนส่วนใหญ่ยากจนเหมือนเดิม เพียงแต่ข้อแตกต่างจากยุค อาพาร์ไทยท์ คือในหมู่นักธุรกิจและคนรวย มีคนผิวดำที่ใกล้ชิดกับรัฐบาลเข้าไปร่วมกินด้วย หนึ่งในนั้นที่เป็นเศรษฐีใหญ่คืออดีตผู้นำสหภาพแรงงานเหมืองแร่ Cyril Ramaphosa

Ronnie Kasrils เพื่อนร่วมสมัยแมนเดลา และสมาชิกระดับสูงของพรรค ANC และพรรค SACP เขียนบทความใน นสพ The Guardian เมื่อปลายเดือนมิถุนายนปีนี้ โดยสารภาพว่าพรรคผิดพลาดมหาศาลที่ยอมถูกกดดันจากกลุ่มทุนใหญ่ จนทิ้งอุดมการณ์เดิมไปหมด เขามองว่ารัฐบาลในสมัยนั้นรวมถึงตัวเขาเอง กลัวคำขู่ของนายทุนมากเกินไป
 ดูได้ที่(http://www.guardian.co.uk/commentisfre/2013/jun/24/anc-faustian-pact-mandela-fatal-error)
  
ท่ามกลางสภาพสังคมที่แย่ๆ แบบนี้ ขบวนการชุมชนที่ต่อต้านการแปรรูปสาธารณูปโภคให้เป็นเอกชน และสหภาพแรงงานต่างๆ ก็ไม่ได้นิ่งเฉย มีการต่อสู้กับรัฐบาลและนายทุนอย่างดุเดือด และมีความพยายามของฝ่ายซ้ายบางกลุ่มที่จะตั้งองค์กรที่อิสระจากพรรค ANC และพรรคคอมมิวนิสต์ ล่าสุดการลุกฮือของคนงานเหมืองแร่ที่ Marikana ซึ่งถูกตำรวจปราบแบบนองเลือด แสดงให้เห็นว่าคนงานพยายามจัดตั้งสหภาพแรงงานใหม่ที่ไม่ได้ถูกครอบงำโดยรัฐบาล นอกจากนี้ภาพตำรวจกราดยิงคนงานที่ไร้อาวุธ อย่างที่รัฐบาลเผด็จการของคนผิวขาวเคยทำ กระตุ้นให้คนจำนวนมากเริ่มมองว่าการล้ม อาพาร์ไทยท์ ไม่ได้เปลี่ยนอะไรไปมากนัก และมวลชนยังมีภาระที่จะต่อสู้ต่อไป
  
ผมจะไว้อาลัย เนลสัน แมนเดลา ทั้งๆ ที่แนวการต่อสู้ของเขาทำให้ความหวังของ “ธรรมนูญแห่งเสรีภาพ ยังไม่เกิด เพราะอย่างน้อยเขาเป็นผู้นำที่เสียสละอดทนเพื่อสู้กับระบบ อาพาร์ไทยท์และเขาเป็นผู้นำที่ดุจเสมือน “พ่อ” ที่น่าเคารพจริงคนหนึ่งของโลกสำหรับฝ่ายซ้ายรุ่นผม พวกเราเคยร่วมรณรงค์ต่อต้านอาพาร์ไทยท์ ในระดับสากลมาหลายปี และตอนเด็กๆ ผมจำได้ว่าคุณแม่ก็ไม่ยอมซื้อสินค้าจากอัฟริกาใต้ แต่ผมจะไม่ลืมว่าการล้ม อาพาร์ไทยท์ อาศัยการต่อสู้เสียสละของมวลชนคนงานและเด็กนักศึกษาจำนวนมาก และภาระในการต่อสู้ยังไม่จบ
  
(ที่มา)

Divas Cafe

Divas Cafe 


 

Divas Cafe ประจำวันที่ 6 ธันวาคม 2556
ประชาธิปไตยใครให้เช่า?
http://www.dailymotion.com/video/x1824z6_ประชาธ-ปไตยใครให-เช-า 

สงครามกลางเมืองที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

สงครามกลางเมืองที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้


'สุเทพ' FB เตรียมเผยปฏิบัติการทวงคืนประเทศไทย เย็นนี้ 
แผนนองเลือด!! อดีตการ์ดพธม.โพสต์แฉ กปท.นัดประชุมโรงแรมชื่อดัง สั่งตั้งกองกำลังเตรียมป่วน เปิดทางอำนาจนอกระบบ
http://www.phranakornsarn.com/sukhumbhand/2062.html
 
โดย พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์
 

ฝ่ายจารีตนิยมได้ก่อการรุกครั้งใหญ่ที่สุดในรอบหลายปีมานี้ โดยระดมองคาพยพทั้งหมดของตนออกมาล้อมกรอบขับไล่รัฐบาลพรรคเพื่อไทย ฉวยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยกระทำความผิดพลาดทางยุทธศาสตร์ที่ผลักดันนิรโทษกรรม เหมาเข่ง

การใช้เล่ห์เพทุบายทางสภาผลักดันพระราชบัญญัตินิรโทษกรรม เหมาเข่งโดยพรรคเพื่อไทยได้สร้างความโกรธอย่างรุนแรงทั้งในหมู่มวลชนฝ่าย ประชาธิปไตยที่สนับสนุนพรรคเพื่อไทยและในหมู่ชนชั้นกลางในกรุงเทพฯที่มีจุด ยืนที่เป็นปฏิปักษ์กับพรรคเพื่อไทยอยู่ก่อนแล้ว พวกจารีตนิยมได้ฉวยโอกาสที่พรรคเพื่อไทยตกในสถานะโดดเดี่ยวจากมวลชนของตนและ จากความโกรธของชนชั้นกลาง ก่อกระแสคลื่นการเคลื่อนไหวมวลชนขนาดใหญ่ขึ้นมาต่อต้านรัฐบาลโดยอ้างวาทกรรม “ต่อต้านนิรโทษกรรมคนโกง” มีเป้าหมายที่จะโค่นล้มนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์ ชินวัตรและรัฐบาลพรรคเพื่อไทย ทำลายล้างตระกูลชินวัตรและขบวนประชาธิปไตยทั้งหมดในคราวเดียว

นี่เป็น “สงครามเผด็จศึกครั้งใหญ่” ของ พวกจารีตนิยม พวกเขาจึงระดมสรรพกำลังออกมาอย่างเป็นระบบ ทั้งอธิการบดี ผู้บริหารมหาวิทยาลัย นักวิชาการ โรงพยาบาล รัฐวิสาหกิจ บริษัทเอกชนและลูกจ้าง ไปจนถึงข้าราชการในกระทรวงทบวงกรม และสื่อมวลชนกระแสหลักทั้งหมด จนกลายเป็นกระแสการรุกที่มีลักษณะชนชั้นและลักษณะปฏิกิริยาถอยหลังอย่าง ชัดเจน

การปะทะกันทางการเมืองครั้งนี้มีลักษณะทางชนชั้นอย่างเด่นชัด พลังมวลชนที่เป็นหลักของฝ่ายจารีตนิยมก็คือ คนชั้นกลางในกรุงเทพฯและหัวเมือง ซึ่งเคยมีบทบาทสำคัญในการขับไล่นายกรัฐมนตรีสุจินดา คราประยูรเมื่อพฤษภาคม 2535 เหตุการณ์ครั้งนั้นทำให้พวกจารีตนิยมตระหนักถึงพลังทางการเมืองของคนกลุ่ม นี้ และนับแต่นั้นมา ก็ได้ดำเนินการอย่างแยบยลเข้าครอบงำและแบ่งปันผลประโยชน์ให้คนกลุ่มนี้อย่าง เป็นระบบทั้งในมหาวิทยาลัย สื่อมวลชนกระแสหลัก และองค์กรธุรกิจใหญ่ ทำให้คนชั้นกลางเหล่านี้ได้ประโยชน์มากที่สุดจากระบอบการปกครองและการพัฒนา เศรษฐกิจนับแต่ปี 2535 เป็นต้นมา

“สุรพงษ์”แทน”ประชา” : การตัดสินใจผิดอีกครั้งของทักษิณ

“สุรพงษ์”แทน”ประชา” : การตัดสินใจผิดอีกครั้งของทักษิณ 

 

 Photo
   
โดย อรรถจักร์ สัตยานุรักษ์
มหาวิทยาลัยเที่ยงคืน


ในวันนี้ ทักษิณกำลังตัดสินใจเสี่ยงและผิดพลาดอีกครั้งหนึ่ง   และการเสี่ยงครั้งนี้ยิ่งจะทำให้สถานการณ์ทั้งในส่วนของบ้านเมือง ,พรรคเพื่อไทย และ รัฐบาล เลวลง  และจังหวะก้าวของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลก็จะเพลี่ยงพล้ำมากขึ้นไปอีก  

ใน ช่วงก่อนเกิดวิกฤติทักษิณได้ตัดสินใจผิดพลาดอย่างมากในการดันให้ลูกน้องฝ่าย ของตนในพรรคเพื่อไทยเสนอการแก้ไขพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแบบ “เหมาเข่ง”  จนทำให้เกมส์การเมืองเปลี่ยนแปลงสวิงไปในอีกด้านหนึ่งอย่างสุดขั้ว  อันส่งผลให้โอกาสการกลับเข้าประเทศของตนเองแทบจะปิดตายไปแล้ว

ความ พยายามจะแก้ไขสถานการณ์ที่เพลี่ยงพล้ำอย่างหนักของพรรคเพื่อไทยและรัฐบาลจาก การตัดสินใจครั้งแรกได้แสดงให้เห็นถึงความแตกต่างในการมองปัญหาและมีความแตก แยกของกลุ่มการเมืองในพรรคเพื่อไทยอย่างชัดเจน  ปีกของนายกรัฐมนตรียิ่งลักษณ์พยายามที่จะแสวงหาแนวทางการแก้ไขการเมืองด้วย การเมืองแบบประนีประนอมเพื่อพยุงสถานะของตนเอง  ไม่ว่าการถอยจนสุดซอย  การยอมรับไปเจรจา รวมทั้งการออกมาพูดสดโดยไม่มีโพย ( ซึ่งไม่เคยทำมาก่อน)

นายก รัฐมนตรี (และกลุ่มของตนในพรรคเพื่อไทย ) พยายามแก้ไขสถานการณ์ด้วยการแสดงให้เห็นชัดเจนว่านายกรัฐมนตรีพร้อมที่จะรับ ฟังข้อเสนอจากทุกฝ่าย และพร้อมที่จะไม่เป็นปัญหาต่อบ้านเมือง  พร้อมกับย้ำจุดอ่อนของข้อเสนอสุเทพว่าเป็นไปไม่ได้ในทางกฏหมายรัฐธรรมนูญ  การตอกย้ำความเหลวไหลของข้อเสนออีกฝ่ายหนึ่งเช่นนี้เริ่มทำให้สังคมมองเห็น ว่าการเดินตามสุเทพไปเรื่อยๆจะนำไปสู่ความยุ่งยากที่มากขึ้นไปอีก

อย่าบิดเบือนเรื่องคนนอกสามารถเป็น ”นายกฯ พระราชทาน”

อย่าบิดเบือนเรื่องคนนอกสามารถเป็น ”นายกฯ พระราชทาน”

 

Photo 
 โดย วสันต์ ลิมป์เฉลิม


นายสุเทพ เทือกสุบรรณ กล่าวปราศรัยเมื่อค่ำวันที่ 4 ธันวาคม 2556 ว่า เมื่อเกิดเหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 หลังจากจอมพลถนอม กิตติขจร ลาออก รองประธานวุฒิสภาในยุคนั้นได้นำความบังคมทูลโปรดเกล้าแต่งตั้งนายสัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี เพราะฉะนั้น นายกรัฐมนตรีพระราชทานทำได้ ทำมาแล้ว  นัยหนึ่ง เป็นธรรมเนียมที่เคยมีมา ข้ออ้างของนายสุเทพ เทือกสุบรรณ สอดรับกับความเห็นของนักวิชาการกฎหมายบางคนอย่างอธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรม ศาสตร์  ที่เสนอว่า  สามารถใช้รัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 มาตรา 7  ที่มีความว่า  “ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข”  การอ้างครั้งนี้ของนายสุเทพชัดเจนกว่าการอ้างของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อ ประชาธิปไตยตรงที่ให้ข้อมูลว่า นายกฯ พระราชทาน มีผู้ลงนามสนองพระบรมราชโองการ  อนึ่ง ในการอ้างครั้งนี้ยังอ้างเพิ่มตรงมาตรา 3 ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550   (อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล) อีกด้วย

ดูเผินๆ ทำให้คิดว่า ข้อเสนอให้มีนายกฯ พระราชทานต่างจากที่เคยเกิดขึ้นเมื่อ 7  ปีที่แล้วเมื่อปี 2549 ( เวลานั้นอ้างมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ ฉบับ พ.ศ. 2540 ซึ่งตรงกับรัฐธรรมนูญมาตรา 7 รัฐธรรมนูญปัจจุบัน) ซึ่งในครั้งนั้นพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ได้ทรงมีพระราชดำรัสชี้แจงแล้วว่า  ทรงกระทำมิได้ เพราะขัดกับรัฐธรรมนูญ  และได้ทรงชี้ให้ดูข้อเท็จจริงกรณีนั้นให้ถูกต้อง

เนื่องจากข้ออ้าง การขอนายกฯ พระราชทานอยู่บนฐานของเหตุการณ์ปี 2516 ที่ผ่านมานานถึง 40 ปีมาแล้ว เพื่อความกระจ่าง ในที่นี้  จึงขอเสนอให้พิจารณาทบทวน ตรวจสอบข้อมูลอีกครั้งเกี่ยวกับกฎหมายสูงสุดที่ใช้ในการปกครองประเทศเมื่อ ช่วง 14 ตุลาคม 2516 สมัยโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้อาจารย์สัญญา ธรรมศักดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี

ในช่วงขณะนั้น ประเทศไทยใช้ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515 อันเป็นผลจากการรัฐประหารตัวเองของจอมพลถนอม กิตติขจร เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายน 2514  ซึ่งยกเลิกรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2511  ทำให้ไม่มีสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน  ธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร พุทธศักราช 2515  ได้กำหนดให้มีสภานิติบัญญัติแห่งชาติ  มาจากการแต่งตั้งทั้งหมด

เนื่อง จากธรรมนูญการปกครองดังกล่าวเป็นผลจากการทำรัฐประหาร หัวหน้าคณะปฏิวัติคือจอมพลถนอม เข้ามาเป็นนายกรัฐมนตรี ด้วยการรัฐประหาร และเป็นผู้ลงนามรับสนองพระบรมราชโองการ ในการประกาศใช้ธรรมนูญการปกครองดังกล่าวเอง  ตัวธรรมนูญการปกครองจึงไม่ได้กำหนดที่มาของนายกรัฐมนตรีไว้   อย่างไรก็ดี  ในธรรมนูญการปกครองราชอาณาจักร ดังกล่าวก็ได้ระบุในมาตรา 22 (จากทั้งหมดมีเพียง 23 มาตรา) ว่า “ในเมื่อไม่มีบทบัญญัติแห่ง ธรรมนูญการปกครองนี้บังคับแก่กรณีใด ให้วินิจฉัยกรณีนั้นไปตามประเพณีการปกครองประเทศไทยในระบอบประชาธิปไตย...”  อันเป็นใจความลักษณะเดียวกันกับมาตรา 7 ในรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 นั่นเอง  โดยในยุคนั้นรัฐบาลที่มาจากการรัฐประหาร ยังคงอ้างคำว่า “ประชาธิปไตย”  อยู่ในธรรมนูญ ฯ มาตรา 22  ทั้งมีสภาในเชิงรูปแบบ โดยมาจากการแต่งตั้ง

รัฐบาลแอฟริกาใต้ประกาศ 'เนลสัน แมนเดลา' เสียชีวิตแล้ว

รัฐบาลแอฟริกาใต้ประกาศ 'เนลสัน แมนเดลา' เสียชีวิตแล้ว


 

เนลสัน แมนเดลา อดีตประธานาธิบดีแอฟริกาใต้ เสียชีวิตแล้วด้วยวัย 95 ปี โดยเป็นหนึ่งในผู้ต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในแอฟริกาใต้ ต่อต้านนโยบายแบ่งแยกสีผิว ถูกจองจำนานถึง 27 ปี กระทั่งได้รับการปล่อยตัวและชนะการเลือกตั้งได้เป็นประธานาธิบดีผิวสีคนแรก ของแอฟริกาใต้

6 ธ.ค. 2556 - เมื่อคืนวันที่ 5 ธ.ค. ตามเวลาท้องถิ่นของแอฟริกา ประธานาธิบดียาค็อป ซูมา แห่งแอฟริกาได้ ได้ประกาศว่าอดีตประธานาธิบดีแอฟริกาเนลสัน แมนเดลา เสียชีวิตแล้ว ที่บ้านพักของเขาในเมืองโจฮันเนสเบิร์ก สิริอายุ 95 ปี ทั้งนี้ อัลจาซีรารายงานว่า อดีตประธานาธิบดีแมนเดลาต้องพักรักษาตัวในโรงพยาบาลมากกว่า 3 เดือน เพื่อรักษาอาการติดเชื้อในปอด

นักเรียนกฎหมายวัยหนุ่มและการต่อสู้เพื่อความเสมอภาคในแอฟริกาใต้

แมนเดลาเป็นบุคคลสำคัญในขบวนการการต่อต้านนโยบาย Apartheid หรือนโยบายแบ่งแยกสีผิว ทั้งนี้เขาเกิดเมื่อปี 2461 ที่เมืออุมตาตู ในครอบครัวของผู้ปกครองเผ่าเทมบู ในแคว้นทรานสไก แมนเดลาได้รับการศึกษาด้านกฎหมายจากที่มหาวิทยาลัยฟอร์ตแฮร์ (Fort Hare University) และมหาวิทยาลัยวิตวอเตอร์สรันด์ (University of Witwatersrand) ที่โจฮันเนสเบิร์ก และที่เมืองนี้เอง ทำให้เขาเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองแนวต่อต้านอาณานิคมร่วมกับขบวนการ สมัชชาแห่งชาติแอฟริกา หรือ ANC และเป็นสมาชิกผู้ก่อตั้งสันนิบาตเยาวชนของ ANC

อย่างไรก็ตามภายหลังที่พรรคชาตินิยมชนะการเลือกตั้งในปี 2491 และเริ่มนโยบายแบ่งแยกสีผิว แมนเดลาเป็นผู้นำสำคัญในแคมเปญของ ANC เพื่อต่อต้านนโยบายดังกล่าว และในปี 2495 ได้รับเลือกเป็นประธานสาขาของ ANC ที่ทรานสวาล (Transvaal) และเข้าร่วมสมัชชาประชาชนเมื่อปี 2498
ทั้งนี้ แมนเดลากับเพื่อนนักกฎหมายคือ โอลิเวอร์ แทมโบ ได้เปิดสำนักกฎหมาย "Mandela and Tambo" ขึ้น เพื่อให้คำปรึกษาทางกฎหมายแก่ชาวแอฟริกันผิวสีในราคาต่ำหรือไม่คิดมูลค่า อย่างไรก็ตามเขามักจะถูกจับในข้อหาปลุกปั่น ทั้งนี้แม้ว่า แมนเดลา จะบอกว่าเขานั้นได้รับอิทธิพลการต่อสู้ในเชิงสันติอหิงสาจากมหาตมะ คานธี และพยายามผูกมิตรกับเหล่านักการเมืองเชื้อชาติอื่นทั้งคนผิวขาวและคนผิวสี

[คลิป] นักวิชาการ มธ.บรรยายสาธารณะ ไม่เห็นด้วยอธิการบดีสั่งหยุดสอน

[คลิป] นักวิชาการ มธ.บรรยายสาธารณะ ไม่เห็นด้วยอธิการบดีสั่งหยุดสอน

 


 
ธรรมศาสตร์บรรยายสาธารณะ ห้องเรียนประชาธิปไตย : ฉบับเต็ม
https://www.youtube.com/watch?v=fycTWtyi9lo&list=PLTg78zFFSI7VNBUiYY2sOMkzgi9xXe1-r


3 ธ.ค. 2556 ที่โถงอาคารเรียนรวมสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (มธ.) ศูนย์รังสิต คณะอาจารย์ มธ. บางส่วน ประกอบด้วย วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ยุกติ มุกดาวิจิตร ประจักษ์ ก้องกีรติ ปิยบุตร แสงกนกกุล และอื่นๆ ได้จัดอภิปราย "ห้องเรียนประชาธิปไตย" แสดงความไม่เห็นด้วยต่อการสั่งปิดการเรียนการสอนของมหาวิทยาลัยระหว่างวัน ที่ 2, 3 และ 4 ในทุกวิทยาเขต โดยชี้ว่า เป็นการออกคำสั่งโดยไม่ได้รับฟังความคิดเห็นของประชาคมธรรมศาสตร์ทั้งหมด และอาจแสดงให้เห็นว่า มธ. ได้เลือกข้างทางการเมือง จากการหยุดการเรียนการสอนสอดคล้องกับการนัดหยุดงานของแกนนำ กปปส. สุเทพ เทือกสุบรรณ

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50239