หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม พ.ศ. 2555

ประชามติ หลักการกับ ‘การเมือง’

ประชามติ หลักการกับ ‘การเมือง’


ใบตองแห้งออนแอร์:มองทิศทางการแก้รัฐธรรมนูญ
ใบตองแห้ง
ที่มา: เว็บไซต์ Voice TV


พรรคร่วมรัฐบาลมีมติให้ลงประชามติ ก่อนรับร่างแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 วาระสาม ตามบัญชา “นายใหญ่”

นี่เป็น “เกม” ที่ชาญฉลาดของทักษิณและทีมกุนซือพรรคเพื่อไทย กล่าวได้ว่าอ่านสถานการณ์ขาด ถึงแม้จะไม่เป็นไปตามหลักการเสียทีเดียว เพราะการทำประชามติก่อนไม่จำเป็น

มวลชนเสื้อแดงและผู้รักประชาธิปไตยที่เลือดลมร้อนแรงอาจเห็นว่า รัฐสภาควรเดินหน้าลงมติรับร่างวาระ 3 ไปเลย ไม่ควรทำตาม “คำแนะนำ” ของศาลรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็ไม่พอใจ โวยว่านี่เป็นการ “ซื้อเวลา” อยู่ในเก้าอี้ไปเรื่อยๆ ของรัฐบาล โดยไม่จริงใจที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ บางส่วนก็กลัวว่าจะไม่ชนะ เพราะฝ่ายค้าน ปชป.พธม.จะสั่งคนฝ่ายตนเบี้ยวไม่มาลงประชามติ ฯลฯ

ประเด็นอยู่ที่เรามองในมิติไหน มองวิธีการที่จะนำไปสู่เป้าหมายประชาธิปไตยอย่างไร

อย่างที่ผมเขียนมาหลายครั้ง สถานการณ์เปลี่ยนไปแล้ว จากเมื่อเดือนมิถุนายน ที่รัฐสภายอมให้ศาลรัฐธรรมนูญก้าวล่วงเข้ามาใช้อำนาจโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย

ตอนนั้นพรรคเพื่อไทยกลายเป็นเพื่อถอย ถอยร่นไม่กล้าลงมติรับร่างวาระ 3 ทั้งที่กระแสประชาธิปไตย ประชาชน นักวิชาการ หนุนหลังพร้อมพรั่ง ได้เปรียบทุกอย่างในทางหลักการและเหตุผล แต่ไปยอมจำนนในเกมวัดใจ จึงกลายเป็นต้องนับหนึ่งใหม่

ซึ่งส่วนหนึ่งก็ต้องโทษความโง่บัดซบของใครบางคน ที่กำลังแก้ไขรัฐธรรมนูญอยู่ดีๆ ดันยัดร่าง พ.ร.บ.ปรองดองเข้ามาซะนี่ เสียกระบวนหมด

แต่หลังศาลรัฐธรรมนูญมีคำวินิจฉัย แบบที่กระแสสังคมถอนหายใจ “โล่งอก” สถานการณ์ก็เปลี่ยนไป ภายหลังความตึงเครียดกดดัน “กระแสรักสงบ” ที่เบื่อหน่ายความขัดแย้งยืดเยื้อมา 6 ปี ได้กลายเป็นผนังทองแดงกำแพงเหล็ก สกัดกั้นสงครามระหว่างสี โดยมีผลทั้งสองด้าน คือปกป้องรัฐบาล แต่ก็ไม่ต้องการให้รุกล้างอำมาตย์

“กระแสรักสงบ” ไม่อยากเห็นรัฐประหาร แช่แข็งประเทศ ยุบพรรค ถอดถอน ตัดสิทธิ ล้มรัฐบาลด้วยกองทัพหรือศาลอีกแล้ว แม้บางส่วนไม่ได้ชอบรัฐบาล แต่ก็ยังมองหาทางออกไม่เจอ นอกจากยอมให้อำนาจจากการเลือกตั้งอยู่ไปเรื่อยๆ กระนั้น อีกด้านหนึ่ง “กระแสรักสงบ” ก็ไม่ต้องการเห็นรัฐบาลพรรคเพื่อไทยเป็นฝ่ายรุกแก้รัฐธรรมนูญแบบหักหาญ เอาทักษิณกลับบ้าน ฯลฯ เพราะกลัวจะเกิดม็อบยึดทำเนียบยึดสนามบินอีก

นี่คือสถานการณ์ที่ค้างคาอยู่ และเป็นขั้นทางยุทธศาสตร์ที่ต้องช่วงชิงกัน ระหว่างรัฐบาล Vs. ฝ่ายค้านและพวกแช่แข็ง ใครจะช่วงชิงคนตรงกลางได้มากกว่ากัน

(อ่านต่อ)

รัฐธรรมนวยหัวคูณ

รัฐธรรมนวยหัวคูณ 

 

http://www.youtube.com/watch?v=chraiISxmPQ 

การโกหก ตอแหล หลอกลวง ประชาชน ของอำมาตย์น้อยใหญ่ให้รับ รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ไปก่อน !!! 
 
(คลิกฟัง)

รายการ Voice News ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)

รายการ Voice News ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)



- ทั่วโลกตื่นตัวรับวัน "สิ้นโลก" ของชาวมายัน
- กรมศิลป์ร่อนหนังสือ ระงับรื้ออาคารศาลฎีกา
- อาเซียน-อินเดียสานสัมพันธ์ คานอำนาจจีน

 
(คลิกฟัง) 
http://www.dailymotion.com/video/xw4dyq

ก่อนอื่นถามตัวเองหรือยัง อำมาตย์ป๋า

ก่อนอื่นถามตัวเองหรือยัง อำมาตย์ป๋า




รายการ Voice News ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)

รายการ Voice News ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)
 




รายการ Voice News ประจำวันที่ 20 ธันวาคม 2555 (19.00 น.)
- รื้ออาคารศาลกีฎา รื้อประวัติศาสตร์คณะราษฎร
- ศพที่ 4 ฝีมือเจ้าหน้าที่รัฐ ขณะเข้าสลายการชุมนุม
- ปธน.หญิงเกาหลีใต้ ย้ำจุดยืนความมั่นคงแห่งภูมิภาค


(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xw3f80 

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand





อำมาตย์ไล่ล่าคณะราษฎรข้ามศตวรรษ


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ตอน 2  
อำมาตย์ไล่ล่าคณะราษฎรข้ามศตวรรษ 
http://www.dailymotion.com/video/xw3zyj



ประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ควรทำ


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 ธันวาคม 2555 ตอน 1 
ประชามติไม่ใช่เรื่องง่าย แต่ก็ควรทำ 

http://www.dailymotion.com/video/xw3zcs

กรอบคิดอับจนแบบ "จน โง่ กินเหล้า"

กรอบคิดอับจนแบบ "จน โง่ กินเหล้า"





ข้อโต้แย้งต่อความเห็นผมจากของเครือข่ายองค์กรงดเหล้า ที่ลงในมติชนออนไลน์ (http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1355920241&grpid=03&cat...) ย้ำให้เห็นชัดถึงความอับจนของกรอบคิดของคนกลุ่มนี้ต่อไปนี้
 

1) มองคนจนในด้านเดียว หาว่าเขาโง่ มองคนจนว่า จนแล้วยังเสื_กกินเหล้า ทำร้ายตัวเอง น่าอนาจใจที่คนที่ทำงานเพื่อสังคมในปัจจุบันนี้ กลับไม่ได้มีความเข้าใจชีวิตคนที่แตกต่างจากตนเองอีกต่อไปแล้ว

นี่เป็นทัศนะแบบ "คุณพ่อรู้ดี" ตัดสินชีวิตคนอื่นจากมุมมองตนเอง ไม่ใช่ด้วยเพราะตนเองรู้ดีกว่าจริงๆ หรอก แต่เพราะคิดว่าตนเองเท่านั้นที่รับผิดชอบสังคมนี้ คนอื่น ชาวบ้าน โดยเฉพาะคนจน รับผิดชอบชีวิตเขาเองไม่ได้ ต้องควบคุม ต้องกำกับจัดการ

นี่เป็นทัศนะของชนชั้นกลางที่เชื่อมั่นในการศึกษา ชอบอ้างงานวิจัย ซึ่งก็มักวางอยู่บนกรอบเดียวกันนี้ ผมเห็นงานวิจัยเรื่องสุราแต่ละชิ้น มักไม่ได้มาจากกรอบของมุมมองทางสังคมที่เห็นปัญหาของนโยบายรัฐและปัญหาของ ความเหลื่อมล้ำเชิงโครงสร้าง แต่มักมุ่งเป้าปัญหาไปที่คนจนปัจเจก ลดทอนปัญหาใหญ่ๆ ให้กลายเป็นปัญหาส่วนบุคคล ลดทอนปัญหาเชิงนโยบายและความเหลื่อมล้ำ ให้กลายเป็นเพียงปัญหาเชิงศีลธรรม

หากความดีดีจริง จะต้องเป็นความดีที่ไม่มีที่ติ จะต้องไม่สามารถถกเถียงหาข้อโต้แย้งให้สงสัยได้ว่าดีแค่ไหน ดีจริงหรือ จะต้องเป็นความดีที่ทุกคนยอมรับได้ แต่หากความดีของพวกคุณยังมีข้อสงสัย อย่าคิดว่าความดีของพวกคุณดีในตัวของมันเอง แล้วอย่าเพิ่งเที่ยวเอาความดีแบบพวกคุณไปยัดเยียดคนอื่น เพราะสังคมเขายังไม่สิ้นสงสัยในความดีแบบพวกคุณ

2) แทนที่จะมุ่งแก้ปัญหาที่ใหญ่กว่านั้น วิธีคิดแบบนี้กลับผลักปัญหาให้เป็นปัญหาของคนอื่น ทั้งๆ ที่ตนเองมีงานที่สำคัญอยู่แล้วแต่ยังทำไม่ได้ ทำไมองค์กรนี้ไม่ไปรณรงค์ผลักดันให้เจ้าหน้าที่ ให้คณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ เข้มงวดกวดขันกับมาตรการและกฎหมายอื่นๆ ที่มีอยู่แล้วให้มากขึ้น ทำไมจึงมาออกหน้าเถียงแทนพวกหมอ ทำไมต้องมามุ่งควบคุมคนจน

นี่ทำให้น่าสงสัยว่า ตกลงเอ็นจีโอและนักวิชาการกลุ่มนี้กำลังทำงานให้ใคร น้ำเสียงขององค์กรนี้สอดคล้องกับบางองค์กรที่มักรณรงค์งดเหล้าด้วยกรอบคิด เดียวกันนี้ อย่าให้คนเขาเข้าใจไปเองครับว่า องค์กรนั้นซึ่งมีอิทธิพลมากมายจนผมยังไม่กล้าเอ่ยชื่อเลย จะมาสร้างเครือข่ายยัดเยียดศีลธรรมของชนชั้นกลางคุณพ่อรู้ดี แล้วเที่ยวใช้อิทธิพลไปทั่ว ผ่านเงินทองมากมายจากภาษีที่พวกท่านตีตราว่าบาป หรือเพราะบรรดาหมอที่ผลัก ดันนโยบายนี้ไม่ถนัดที่จะถกเถียงด้วยเหตุผลด้วยตนเอง หรือไม่อยากมาเกลือกกลั้วแลกเปลี่ยนความเห็นกับคนในสังคม จึงอาศัยตัวช่วย ขออย่าให้เป็นอย่างนั้นเลยครับ 

3) ถึงที่สุดแล้ว ผมสงสัยว่านี่เป็นการบิดเบือนการใช้กฎหมายหรือไม่ เพราะในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายไม่ได้มีไว้ใช้ควบคุมศีลธรรม กฎหมายมีไว้สำหรับการอยู่ร่วมกัน อย่ามาใช้อำนาจก้าวก่ายชีวิตคนอื่นผ่านกฎหมาย สังคมประชาธิปไตยต้องเป็นประชาธิปไตยในเชิงวัฒนธรรมด้วย กฎหมายจึงไม่สามารถอยู่ในกรอบของความดีความชั่วอย่างแคบๆ ได้ เพราะความดีความชั่วส่วนใหญ่วางอยู่บนความเชื่อของคนบางกลุ่มเท่านั้น

แต่ในสังคมประชาธิปไตย กฎหมายต้องอยู่ในกรอบของการทำให้คนที่มาจากพื้นฐานทางสังคมที่แตกต่างกัน มาจากวัฒนธรรมที่แตกต่างกัน อยู่ร่วมกันได้ ยอมรับกันได้ เคารพกันและกันได้แม้จะแตกต่างกัน ถ้าพวกคุณยอมรับคนอื่นไม่ได้ด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แล้วเที่ยวไปตัดสินดีชั่วให้ชีวิตคนอื่น จนถึงกับไปออกกฎก้าวก่ายชีวิตคนอื่นด้วยมาตรฐานชีวิตของพวกคุณ แบบนั้นเขาเรียกการใช้อำนาจแบบเผด็จการ เผด็จการล้วนอ้างว่าตนใช้อำนาจในนามของความดีทั้งนั้นแหละครับ

(ที่มา)
http://blogazine.in.th/blogs/yukti-mukdawijitra/post/3858 

อันล่วงละเมิดมิได้

อันล่วงละเมิดมิได้



โดย อ.ปิยบุตร แสงกนกกุล


ผมเดินทางไปถึงศาลอาญา รัชดา เวลา ๘.๕๐ น. แต่ผมไม่ได้มุ่งตรงไปที่ห้องพิจารณาทันที เพราะ ทราบดีถึงพฤติกรรมของศาลไทยที่มักจะมาช้ากว่าเวลานัดเสมอๆ อย่างน้อยก็ ๑ ชั่วโมง


เรื่องนี้แวดวงทนายความ แวดวงอัยการ แวดวงนักกฎหมาย ต่างรู้กันดีว่าผู้พิพากษามักจะขึ้นบัลลังก์ช้ากว่าเวลานัด แต่ทนายความ คู่ความ พนักงานอัยการไม่ควรเสี่ยง ทำตัวรู้ดี ไปสายกว่าเวลานัด เพราะ หากผู้พิพากษาขึ้นบัลลังก์ไปแล้ว เราก็ไม่อาจอิดออดได้

ผมไปกินกาแฟที่โรงอาหารของศาล วันนี้ ผมนัดนักข่าวฝรั่งเศส จากหนังสือพิมพ์ Le Petit Journal ซึ่งเป็นหนังสือพิมพ์ภาษาฝรั่งเศสในต่างประเทศ เอาไว้ เขาโทรมาแจ้งว่ามาถึงแล้ว ผมจึงพาเขาไปที่ห้องพิจารณา ๘๐๒

ปรากฏ ว่า คนเต็มห้องแล้ว มีทั้งผู้สนับสนุนพี่สมยศ นักศึกษา (น่าจะเป็นเพื่อนของ ไท ลูกชายพี่สมยศ) อาจารย์สมศักดิ์ อาจารย์ยิ้ม สื่อมวลชนไทย (น้อยมาก เท่าที่ผมจำได้ มีพี่อัจฉรา บางกอกโพสต์ พี่ประวิตร เนชั่น และ ฝ้ายจากประชาไท) สื่อมวลชนต่างประเทศ เอ็นจีโอเรื่องสิทธิและแรงงานจากต่างประเทศ ผู้แทนจากสถานทูตหลายประเทศ และสหภาพยุโรป

สุดท้าย ศาลจึงขอย้ายห้องพิจารณาไปที่ ๗๐๑ ซึ่งเป็นห้องที่กว้างขวางกว่า

วันนี้ ศาลนัดพร้อม เพื่อแจ้งเรื่องคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญว่า มาตรา ๑๑๒ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ และจะนัดวันอ่านคำพิพากษาต่อไป

พี่สมยศเดินมาด้วยหน้าตายิ้มแย้มแจ่มใส เหมือนครั้งก่อนที่ผมเจอ เมื่อคั้งที่ผมไปให้การในฐานะพยาน เข้าไปนั่งข้างพี่จุ๊บ และไท

"ปิดโทรศัพท์ด้วยครับ ถ้าจะเปิด ก็เปิดสั่น แต่ห้ามรับสายนะครับ ถ้าเสียงโทรศัพท์ดัง หรือพูดโทรศัพท์ อาจโดนละเมิดอำนาจศาลนะครับ"

เสียงพนักงานรักษาความปลอดภัยป่าวร้อง

"ที่นั่งเต็มแล้วครับ ห้ามยืน ขอให้รออยู่ข้างนอกนะครับ" อีกคนย้ำเตือน

...

"... และด้วยคุณูปการของพระมหากษัตริย์ไทยตั้งแต่ในอดีตที่ผ่านมาทำให้ประชาชนชาวไทยเคารพรักและเทิดทูนพระมหากษัตริย์อย่างต่อเนื่องยาวนาน อันเป็นลักษณะพิเศษเฉพาะของประเทศไทยที่ไม่มีประเทศใดเหมือน..."

ผู้พิพากษาหญิงอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญให้คู่ความฟัง

ภายหลังการอ่านคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่มีถ้อยคำเหมือนกับหลุดมาจากหนังสืออาเศียรวาทจบลง องค์คณะก็ให้ทุกคนยืน และแจ้งเรื่อง ผู้พิพากษาคนเดิม ได้โยกย้ายตำแหน่งไปแล้ว จึงต้องเปลี่ยนองค์คณะผู้พิพากษา และนัดอ่านคำพิพากษาวันที่ ๒๓ มกราคม ๒๕๕๖

หลายคนเข้าไปทักทายพี่สมยศ พี่จุ๊บ นักข่าวเริ่มถามไปได้สักพัก เจ้าหน้าที่รีบพาตัวพี่สมยศออกไป เดินห่างออกจากห้องพิจารณาไป จึงเปิดโอกาสให้มีการซักถาม และถ่ายรูป

ผมเข้าไปบอกพี่สมยศว่า เดี๋ยวเราจะวิจารณ์คำพิพากษาเกี่ยวกับ ๑๑๒ ทั้งหมด โดยเฉพาะคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญเรื่อง ๑๑๒ ไม่ขัดรัฐธรรมนูญ

ผมชักภาพนี้ไว้

ผมหวังว่า ภาพแบบนี้ จะเป็นภาพสุดท้าย

วันหน้าคงไม่มีโซ่ตรวน

 
(ที่มา)
http://blogazine.in.th/blogs/piyabutr-saengkanokkul/post/3855

"อาจารย์สถาปัตย์ฯ" ร่อนจดหมายเปิดผนึก 5 ข้อ ถามศาล-กรมศิลป์ฯ ความชอบธรรมทุบตึกเก่าศาลฎีกา

"อาจารย์สถาปัตย์ฯ" ร่อนจดหมายเปิดผนึก 5 ข้อ ถามศาล-กรมศิลป์ฯ ความชอบธรรมทุบตึกเก่าศาลฎีกา 

 

 

 


นายชาตรี ประกิตนนทการ อาจารย์ประจำคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร โพสต์ข้อความทางเฟซบุค หัวข้อ "จดหมายเปิดผนึกถึงโฆษกศาลยุติธรรม, อธิบดีกรมศิลปากร, และผู้สนใจ กรณีรื้อกลุ่มอาคารศาลฎีกา" เรียกร้องให้ศาลระงับการ รื้อถอนอาคาร จนกว่าจะเกิดความชัดเจนในประเด็นต่างๆ รวมถึงเรียกร้องให้อธิบดีกรมศิลปากร ชี้แจงข้อเท็จจริง ประเด็นที่ยังขัดแย้งกันระหว่างคำชี้แจงของศาลกับคำสัมภาษณ์ของอธิบดีกรม ศิลปากร
นอกจากนั้น เนื้อหาในจดหมาย ระบุขอแลกเปลี่ยนความคิดเห็น 5 ประเด็น กับโฆษกศาลยุติธรรมและอธิบดีกรมศิลปากร กรณีการรื้อถอนกลุ่มอาคารศาลฎีกา โดยมีเนื้อหาดังนี้


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1356077506&grpid=&catid=01&subcatid=0100