หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ประท้วงต้านรัดเข็มขัดจบไม่สวย ปชช.สเปนปะทะเดือดจนท.กลางกรุง

ประท้วงต้านรัดเข็มขัดจบไม่สวย ปชช.สเปนปะทะเดือดจนท.กลางกรุง

 

 

Police fire rubber bullets after huge Madrid crisis protest

http://www.youtube.com/watch?v=df93tObq3zE&feature=player_embedded 

 

ตำรวจสเปนยิงกระสุนยางขับไล่ผู้ประท้วงในกรุงมาดริด ในช่วงเช้ามืดวันนี้(20 ก.ค.) หลังการนัดชุมนุมใหญ่ของสหภาพแรงงานทั่วประเทศเพื่อต่อต้านมาตรการรัด เข็มขัดของนายกรัฐมนตรี มาเรียโน ราฮอย สิ้นสุดลง ผู้ได้รับบาดเจ็บและถูกจับกุมหลายราย


สถานการณ์ในกรุงมาดริด เมืองหลวงของสเปน เกิดขึ้นพร้อมกับอีกกว่า 80 จุดทั่วประเทศ หลังสหภาพแรงงานเชิญชวนประชาชนให้ออกมาแสดงพลังต่อต้านแผนลดเงินเดือน พนักงานรัฐและขึ้นภาษีสินค้า

โดยหลังการชุมนุมสิ้นสุดลง ผู้ประท้วงหลายสิบคนยังคงเตร็ดเตรอบริเวณจตุรัส ปูเอร์ตา เดล ซอล กลางกรุงมาดริด ขณะที่ผู้ประท้วงกลุ่มหนึ่งดึงดันที่จะฝ่าด่านเจ้าหน้าที่เข้าไปยังอาคาร รัฐสภา บ้างก็ขว้างปาขวดน้ำเข้าใส่เจ้าหน้าที่ที่พยายามสกัดกั้น และสลายฝูงชน จนเหตุลุกลามบานปลาย กลายเป็นการปะทะกัน ตำรวจปราบจลาจลต้องยิงปืนกระสุนยางเข้าใส่กลุ่มผู้ประท้วง ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ และถูกจับกุมหลายคน

ตำรวจปราบจลาจลเข้าจับกุมและใช้กระบองทุบตีผู้ประท้วงที่พยายามจะเข้าไป ก่อกวนอาคารรัฐสภา ซึ่งมีเจ้าหน้าที่คุ้มกันอยู่อย่างหนาแน่น ขณะที่ผู้ประท้วงอีกจำนวนหนึ่งวิ่งหนีตำรวจไปตามท้องถนน เจ้าหน้าที่เปิดเผยว่า ตำรวจจับกุมผู้ประท้วงได้ 7 ราย และมีผู้บาดเจ็บอีก 6 คน

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342761281&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ 35: วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ 35: วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

 

ที่มา:ที่มา:http://www.enlightened-jurists.com/blog/67

 

ประกาศนิติราษฎร์ ฉบับที่ ๓๕ (วรเจตน์ ภาคีรัตน์)

 

วัตถุประสงค์ของการก่อตั้งและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ

หลัง จากที่คณะนิติราษฎร์ได้แถลงข้อเสนอให้ยกเลิกบทบัญญัติว่าด้วยศาลรัฐธรรมนูญ ในรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันและให้จัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ขึ้นทำหน้าที่แทนนั้น ได้มีข้อวิพากษ์วิจารณ์บางประเด็นเกี่ยวกับความเหมาะสมของการจัดตั้งคณะ ตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญและที่มาของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ โดยที่ข้อวิจารณ์จำนวนหนึ่งได้พาดพิงถึงความเห็นในอดีตของผู้เขียนเกี่ยวกับ การสรรหาบุคคลเข้าดำรงตำแหน่งในองค์กรอิสระและศาลรัฐธรรมนูญตามรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ จึงสมควรที่จะอธิบายเพื่อความเข้าใจให้ถูกต้อง ดังนี้

๑. การที่คณะนิติราษฎร์เสนอให้ยกเลิกศาลรัฐธรรมนูญ เป็นเพราะคณะนิติราษฎร์เห็นว่าศาลรัฐธรรมนูญไม่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้เป็นไป ตามภารกิจที่รัฐธรรมนูญมอบไว้ การตัดสินคดีในรอบระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมาทำให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยเคลือบแคลง สงสัยว่าศาลรัฐธรรมนูญได้เข้าไปเป็นฝักฝ่ายในทางการเมือง และแสดงออกซึ่งความต้องการทางการเมืองผ่านคำวินิจฉัย ซึ่งในหลายกรณีเป็นที่โต้แย้งอย่างมากในทางนิติศาสตร์  เช่น คดีปราสาทพระวิหาร คดีนายกรัฐมนตรีสาธิตการทำอาหาร และคดียุบพรรคพลังประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งคดีเกี่ยวกับการแก้ไขเพิ่มรัฐธรรมนูญอันเป็นคดีล่าสุดที่ ศาลรัฐธรรมนูญขยายขอบเขตอำนาจของตนเข้ามาในแดนอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐ ธรรมนูญของรัฐสภา มีผลเป็นการระงับยับยั้งกระบวนการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญซึ่งระบบกฎหมาย ไทยในปัจจุบันไม่มีบทบัญญัติใดให้อำนาจศาลรัฐธรรมนูญกระทำการเช่นนั้นได้  และการแก้ปัญหาโดยการถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญออกจากตำแหน่งเห็นได้ชัดจาก โครงสร้างของรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันว่ายากที่จะเป็นไปได้


(อ่านต่อ) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41649 

โอเคเอางั้นก็ได้ มาทำประชามติกันเลย!

โอเคเอางั้นก็ได้ มาทำประชามติกันเลย!

 

 

โดย เกษียร เตชะพีระ

 


ศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยเรื่องแก้รัฐธรรมนูญ & จัง-จ๊าค รุสโซ เจ้าทฤษฎีประชาธิปไตย
 
ในความพยายามที่จะขี่คร่อมขัดขวางและถ่วงทานอำนาจผู้แทนที่มาจากการเลือกตั้งของ ประชาชน (representative democracy) คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญได้อ้างอิงหลักประชาธิปไตย ทางตรง (direct democracy) และ เสนอแนะให้ทำประชามติเพื่อ "...ให้ประชาชนผู้มีอำนาจสถาปนา รัฐธรรมนูญได้ลงประชามติเสียก่อนว่าสมควรจะมีรัฐธรรมนูญฉบับใหม่หรือไม่..." (www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342173137&grpid=03&catid&subcatid)

ใน ฐานะนักรัฐศาสตร์ ผมเห็นว่าถ้าจะเอาอย่างนั้น ก็ควรทำให้เต็มที่สมบูรณ์ และกลับไปที่หลักการเริ่มแรกทางปรัชญาการเมืองของประชาธิปไตยกันเลย!

คือกลับไปที่งาน Du Contrat Social (ค.ศ.1762) ของ Jean-Jacques Rousseau (สัญญา ประชาคม ของ จัง-จ๊าค รุสโซ) ที่ถือกันว่าเป็นตัวบทต้นแบบทฤษฎีการเมืองสำคัญที่สุดของระบอบประชาธิปไตย และถูกอ้างอิงไปใช้กันทั่วโลกนับแต่หลังการปฏิวัติฝรั่งเศสปี ค.ศ. 1789 เป็นต้นมา

งาน ชิ้นดังกล่าวได้อภิปรายวาระสำคัญที่ประชาชนใช้ "อำนาจในการก่อตั้งองค์กรสูงสุด ทางการเมืองหรืออำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ" โดยตรง ไว้ที่ Livre III: Chapitre XIV, XVII (เล่มสาม บทที่ 14 และ 17) ของงานชิ้นนั้นว่า (แปลโดยผู้เขียน):
 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342781948&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ศึก 2 ก๊ก 2 วาระ ในเพื่อไทย

ศึก 2 ก๊ก 2 วาระ ในเพื่อไทย

 

 

พรรคเพื่อไทยและ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องตั้งหลัก กำหนดเกมการเมืองใหม่อีกครั้ง

เป็นการกำหนดเกม เดิน 2 ขา ขับเคลื่อน 2 ทาง กับนักการเมือง 2 ก๊ก

ก๊กหนึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองในทีมยุทธศาสตร์พรรคเพื่อไทย ที่มีจาตุรนต์ ฉายแสงเป็นหัวหอก

ก๊กหนึ่งเป็นกลุ่มนักการเมืองสายตรง พ.ต.ท.ทักษิณ ที่มีนพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาส่วนตัวเป็นหัวขบวน

หลังศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ไม่เป็นการล้มล้างการปกครองอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข

เมื่อคำวินิจฉัยของศาล แนบท้ายด้วยข้อเสนอแนะทางกฎหมาย ทั้งผูกพัน ทั้งล็อกบทให้ฝ่ายนิติบัญญัติเดินหน้าได้ไม่สะดวกนัก

เพราะ คำ "ข้อเสนอแนะ" มีแค่ 2 ประเด็น 1.คือ ศาลรัฐธรรมนูญมีอำนาจรับวินิจฉัย 2.คือ การแก้ไขรัฐธรรมนูญยังห่างไกลการล้มล้างระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหา กษัตริย์ทรงเป็นประมุข

ท่าทีรัฐบาลและพรรคเพื่อไทย ระหว่างรอคำวินิจฉัยกลางของตุลาการทั้ง 8 ที่จะประกาศลงในราชกิจจานุเบกษา จึงมีเพียง 2 ทางที่จะทำตามคำแนะนำ

คือ ต้องทำประชามติก่อนแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับ หรือจะย้อนกลับมานับ 1 ใหม่ โดยให้รัฐสภาแก้ไขเป็นรายมาตรา

ท่า ทีของ พ.ต.ท.ทักษิณและลูกน้องคนสนิท เป็นไปในทิศทางเดียวกันคือ "แก้รายมาตรา" เพื่อตัดปัญหาขั้นตอนทางกฎหมาย และรามือจากการสู้กับฝ่ายอำมาตย์ชั่วคราว

นักการเมือง รับขับเคลื่อนในลู่ทางนี้ ประกอบด้วย "สมศักดิ์ เกียรติสุรนนท์" ประธานรัฐสภา ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี และ นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาส่วนตัว พ.ต.ท.ทักษิณ 


(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342671777&grpid=&catid=03&subcatid=0305
กฎหมายเผด็จการมาตรานี้สามารถสร้างความเดือดร้อนให้ใครก็ได้ (ไม่ว่าคุณจะนิยมอุดมการณ์ทางการเมืองแบไหน หรือแม้แต่คนที่ไม่ได้สนใจการเมืองเลยก็ตาม)
 


The Daily Dose

The Daily Dose

 

The Daily Dose 20กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=U59Uy-VH31E

The Daily Dose 19กค55

http://www.youtube.com/watch?v=LH6_bw1rJHA 

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


Wake Up Thailand 20กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=FQryei69ttc

Wake Up Thailand 19กค55

http://www.youtube.com/watch?v=673ZzBcXdFo&feature=plcp

บทสนทนาระหว่างผู้พิพากษาคดี ม.112 กับทนายอานนท์

บทสนทนาระหว่างผู้พิพากษาคดี ม.112 กับทนายอานนท์


Posted Image  
โดยประวิตร โรจนพฤกษ์
 
บทสนทนาระหว่างท่านผู้พิพากษา อภิสิทธิ์ วิระมิตรชัย หนึ่งในองค์คณะผู้พิพากษาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพของนายเอกชัย (สงวนนามสกุล) กับทนายฝ่ายจำเลย ทนายอานนท์ นำภา เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม 2555 (ซึ่งเป็นวันที่ 3 ของการพิจารณาคดี) น่าจะช่วยให้สังคมเข้าใจรายละเอียดของการต่อสู้คดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพดี ขึ้น ผู้เขียนซึ่งได้บันทึกบทสนทนาด้วยปากกาจึงขอนำบางส่วนของการสนทนาดังกล่าวมา เผยแพร่ โดยหวังว่าจะเป็นประโยชน์แก่สังคม

(นายเอกชัยถูกจับเมื่อวันที่ 10 มีนาคม 2554 ข้อหาขายก้อปปี้ CD สารคดีเรื่องอนาคตสถาบันกษัตริย์ไทยกับ ม.112 ของโทรทัศน์ออสเตรเลีย the Australian Broadcasting Corporation (ABC) พร้อมเอกสาร WikiLeaks สองชุดที่มีการอ้างคำพูดของ ประธานองคมนตรี พลเอก เปรม ติณสูลานนท์ องค์มนตรี พลอากาศเอก สิทธิ เศวตศิลา อดีต นายกรัฐมนตรี นายอานันท์ ปันยารชุน และ นายสมัคร สุนทรเวช ซึ่งดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในตอนนั้น – เอกชัยถูกจับแถวสนามหลวงหลังตำรวจนอกเครื่องแบบล่อซื้อ CD ในราคา 20 บาทแถวสนามหลวง เอกชัยถูกขังคุก 9 วันก่อนได้รับการประกันตัว และปัจจุบันอยู่ระหว่างการต่อสู้คดี)


อ่านรายละเอียดได้เพิ่มเติมในข่าว

คดีคนขายซีดี ABC ยอมระงับขอหมายเรียก'เปรม' - เลื่อนสืบพยาน 20 พ.ย.

Court defers lese majeste case, defence advised


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41656


คดีคนขายซีดี ABC ยอมระงับขอหมายเรียก'เปรม' - เลื่อนสืบพยาน 20 พ.ย.

(อ่านต่อ)

เผยผลสำรวจหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พบร้องเรียนกว่า 5 พันราย

เผยผลสำรวจหลังปรับค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท พบร้องเรียนกว่า 5 พันราย

 




(19 ก.ค.55) ที่มูลนิธิพิพิธภัณฑ์แรงงานไทย คณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทยและศูนย์รับเรื่องร้องเรียนค่าจ้างที่ไม่เป็น ธรรม 8 ศูนย์พื้นที่ แถลงผลสำรวจการรับเรื่องร้องเรียนกรณีค่าจ้างไม่เป็นธรรม ไตรมาสแรก หลังนโยบายปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำของรัฐบาล 300 บาทต่อวัน มีผลบังคับใช้พื้นที่กรุงเทพฯ ปริมณฑลและภูเก็ต เมื่อวันที่ 1 เม.ย.ที่ผ่านมา

ชาลี ลอยสูง ประธานคณะกรรมการสมานฉันท์แรงงานไทย กล่าวว่า จากการสำรวจ มีผู้ร้องเรียน 5,134 คน ใน 3 กรณีปัญหา ได้แก่ การไม่ปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ 2,380 คน โดยพบในกิจการธุรกิจโรงแรม ธุรกิจขนส่ง ผลิตชิ้นส่วนอุปกรณ์รถยนต์และจิวเวอรี การเปลี่ยนสภาพการจ้าง เช่น ปรับย้ายตำแหน่ง ลดสวัสดิการ ย้ายฐานการผลิต จำนวน 2,168 คน ในกิจการสิ่งทอ เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่ม และการนำสวัสดิการมารวมค่าจ้าง 586 คน พบในกิจการอิเล็กทรอนิกส์ บริการ ธุรกิจขนส่ง อาหารและเฟอร์นิเจอร์

ชาลี กล่าวด้วยว่า สถานประกอบการกว่า 50% มีการปรับค่าจ้างขั้นต่ำตามที่รัฐบาลกำหนดจริง แต่กลับปรับลดสวัสดิการอื่นๆ ลงแทน เพื่อทำให้สถานประกอบการจ่ายเงินให้ลูกจ้างได้ในอัตราผลรวมเท่าเดิม เช่น ในกิจการธุรกิจขนส่ง พบว่า แรงงานที่เป็นพนักงานขับรถส่งของ นายจ้างไม่ปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้ แต่เอาค่าขับรถในแต่ละรอบไปรวมกับเงินเดือนกลายเป็นค่าจ้างแทน ทั้งที่ค่าขับรถแต่ละเที่ยวนั้นไม่ใช่ค่าจ้างประจำจึงไม่สามารถนำไปรวมเป็น ค่าจ้างตามกฎหมายได้ และเป็นรายได้ที่ไม่แน่นอน หากวันใดไม่มาทำงานก็จะไม่ได้รับ การทำเช่นนี้ยิ่งจะเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุและส่งผลต่อความไม่ ปลอดภัยในการทำงานเพิ่มขึ้น เพราะแรงงานจะต้องทำงานมากขึ้น ชั่วโมงการทำงานยาวขึ้น

ชาลี กล่าวต่อว่า นอกจากนี้ยังพบว่าไม่มีการปรับเพิ่มค่าจ้างขึ้นตามอายุงาน ทำให้แรงงานที่เข้ามาทำงานใหม่ได้รับค่าจ้างเกือบเท่ากับแรงงานที่ทำงานมา นานนับสิบปี ส่งผลให้แรงงานที่ทำงานมานานหมดกำลังใจในการทำงานตามฝีมือแรงงาน และเมื่อแรงงานกลุ่มนี้ร้องเรียนต่อผู้บริหารเพื่อขอปรับค่าจ้าง นายจ้างก็จะใช้วิธีข่มขู่เรื่องการเลิกจ้างแทน ทั้งที่สถานประกอบการย่อมทราบดีว่าแรงงานที่อายุการทำงานมาก เมื่อถูกเลิกจ้างมักหางานทำยาก เพราะส่วนใหญ่เป็นแรงงานสูงอายุ 

บางบริษัทใช้วิธีประกาศเลิกกิจการแล้วเปิดกิจการใหม่ โดยประกาศรับพนักงานแล้วเริ่มนับอายุงานใหม่ เพื่อหลีกเลี่ยงการปรับค่าจ้างแรงงานในกลุ่มแรงงานที่ทำงานมานานแล้วในอัตรา ที่สูงขึ้น ขณะที่แรงงานในภาคบริการ เช่น แม่บ้าน ยามรักษาความปลอดภัย ซึ่งส่วนมากเป็นการจ้างงานผ่านบริษัทเหมาช่วง มีการทำสัญญาการจ้างงานที่มีระยะเวลาแน่นอน เมื่อมีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำ ก็ยังมีการใช้สัญญาจ้างเดิม ไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างแต่อย่างใด

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41632