สนธิบัง ไม่ตอบสาเหตุปฏิวัติ บางเรื่องแม้ตนตายแล้ว ก็หาคำตอบไม่ได้
ทาง กมธ.ปรองดอง ได้เปิดโอกาสให้ตัวแทนจากพรรคการเมืองต่างๆ ลุกขึ้นถามข้อสงสัย โดย พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ประธานที่ปรึกษาพรรคชาติไทยพัฒนา ได้ตั้งคำถามกับ พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน ในฐานะที่เป็นประธานกรรมาธิการ โดยกล่าวว่า
สาเหตุ
หนึ่ง ที่นำมาซึ่งความขัดแย้ง ก็คือการทำรัฐประหาร เพราะฉะนั้น
หากจะเริ่มกระบวนการสร้างความปรองดองกัน ก็จะต้องตอบคำถามให้ได้ก่อนว่า
มูลเหตุของการทำรัฐประหารคืออะไร และทำเพื่ออะไร
ขณะที่ตัว
แทนของคณะผู้วิจัย สถาบันพระปกเกล้า ได้กล่าวถึงข้อเสนอของทีมผู้วิจัยว่า
เป็นเพียงความเห็นเบื้องต้น ไม่ใช่ข้อสรุป ซึ่งก็ได้แนะนำ
คณะกรรมาธิการกลับไปหารือกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องกันอย่างจริงจัง
ก่อนที่จะนำเสนอให้ที่ประชุมสภาต่อไป
อย่างไรก็ตาม ในช่วงท้ายของการเสวนา พล.อ.สนธิ
ก็ได้เป็นผู้กล่าวปิดงานเสวนา โดยบอกว่าสิ่งสำคัญของการสร้างความปรองดอง
คือ ทุกฝ่ายจะต้องหันหน้าเข้ากัน นำข้อเท็จจริงมาพูดคุยกัน ลืมอดีต
มองปัจจุบัน และสร้างอนาคต
ขณะเดียวกันก็ได้ปฏิเสธที่จะตอบคำถาม ของ พล.ต.สนั่น เกี่ยวกับปมการทำรัฐประหาร โดยกล่าวเพียงว่า
รู้สึกละอายใจที่ถูกตั้งคำถามในลักษณะดังกล่าว พร้อมทั้งบอกว่าข้อเท็จจริงบางเรื่อง แม้ตนจะตายไปแล้วก็ไม่สามารถที่จะหาคำตอบได้
(ที่มา)
http://www.thairath....tent/pol/247169
ตอบไม่ได้ รึไม่อยากจะตอบ ก็เพื่ออำนาจของตัวเองนะสิ ทำได้ทุกอย่าง
อย่ามาทำหน้ามึนด้านไม่รู้เรื่องเลย...
ไอ้บัง มันจำเป็นต้องทำ
เพื่อความอยู่รอด
ให้มันกินขี้มันก็ยอมในเวลานี้
เราต้องเอา หัวหน้าโจร จับโจร หลังจากนั้นคอยกุดหัวมันทีหลัง
ดู "ฝรั่ง" แล้วย้อนดู "ไทย" ระหว่างบรรทัดวิจัยปรองดอง
|
ก่อนผลการศึกษาการสร้างความปรองดองแห่งชาติ ของคณะวิจัย 20
คน นำโดย "วุฒิสาร ตันไชย" รองเลขาธิการสถาบันพระปกเกล้า จะถูก
"ชำแหละซ้่ำ" กลางเวทีแถลงข่าวร่วมกับคณะกรรมาธิการ (กมธ.)
วิสามัญพิจารณาศึกษาแนวทางการสร้างความปรองดองแห่งชาติ สภาผู้แทนราษฎร
ที่มี "พล.อ. สนธิ บุญยรัตกลิน" เป็นประธาน ในวันที่ 21 มีนาคม
หลังหลายฝ่ายนำ "ผลิตผลทางวิชาการ" ไปผูกโยงเข้ากับ "เจตนารมณ์ทางการเมือง"
โดย
เชื่อกันว่ารัฐบาล "ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" จะเลือกเฉพาะส่วนไป "ผลิตซ้ำ"
เป็นแนวทาง-วิธีการเพื่อช่วยเหลือ "พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร" อดีตนายกรัฐมนตรี
ให้กลับบ้านเกิดอย่างไร้มลทิน
"มติชน" ได้สรุป
"เรื่องระหว่างบรรทัด" ที่คณะวิจัยประมวลจากประสบการณ์ "สมานแผล" ของ 10
ประเทศทั่วโลกที่เคยรบกันกลางเมือง ประกอบด้วย เกาหลีใต้
(ทหารปราบปรามประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตย) แอฟริกาใต้
(รัฐบาลผิวขาวกีดกันประชาชนผิวดำ) อินโดนีเซีย
(รัฐบาลทำสงครามกับขบวนการอาเจะห์เพื่อรักษาดินแดน) สหราชอาณาจักร
(กลุ่มอังกฤษโปรเตสแตนท์กับชาวไอริชคาทอริกเปิดศึกชิงไอร์แลนด์เหนือ)
รวันดา (ชาวฮูตูชิงอำนาจการปกครองกับชาวตุ๊ดซี่)
ชิลี (รัฐบาลนายพล
"ปิโนเซต์" ปราบปรามประชาชนที่ออกมาต้านเผด็จการทหาร) โคลัมเบีย
(รัฐบาลปราบปรามกองกำลังติดอาวุธที่มีอุดมการณ์การเมืองต่างกัน) โมร็อกโก
(ประชาชนที่ออกมาเรียกร้องประชาธิปไตยถูกรัฐบาลภายใต้การนำของพระมหา
กษัตริย์ปราบปราม) โบลิเวีย (รัฐบาลที่นำโดยชาวสเปน ซึ่งเป็นคนส่วนน้อย
ห้ำหั่นกับคนพื้นเมือง) และเยอรมณี
(ประชาชนเรียกร้องให้รัฐบาลเยอรมันตะวันออกเปลี่ยนมาปกครองด้วยระบอบ
ประชาธิปไตย)
ถือเป็นเรื่องที่ทุกขั้ว-ทุกสี-ทุกคน ควรเรียนรู้ประสบการณ์ ก่อนตั้งต้นกระบวนการสร้างความปรองดองในไทย
ไม่
ใช่ดูเพียงบรรทัดสุดท้ายที่ว่าด้วยการ "ล้างผิด"
ด้วยการออกกฎหมายนิรโทษกรรม หรือ "โละผลกรรม"
จากคดีที่สอบโดยคณะกรรมการตรวจสอบการกระที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ
(คตส.) เท่านั้น
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1332307515&grpid=01&catid=&subcatid=