หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

เวที"อาเซียน"ดุเดือด ไร้แถลงการณ์ร่วม"ข้อพิพาททะเลจีนใต้"

เวที"อาเซียน"ดุเดือด ไร้แถลงการณ์ร่วม"ข้อพิพาททะเลจีนใต้"

 

ประเด็นข้อพิพาทเรื่องทะเลจีนใต้กับจีน ยังคงเป็นประเด็นร้อนแรงที่ยังไม่สามารถหาข้อสรุปได้ ทำให้ชาติสมาชิกอาเซียนยังคงออกแถลงการณ์ร่วมกันในประเด็นดังกล่าวไม่ได้
 

จีนอ้างอธิปไตยเหนือน่านน้ำส่วนใหญ่ของทะเลจีนใต้ ซึ่งอุดมไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติและเส้นทางเดินเรื่อที่สำคัญของภูมิภาค ขณะที่ฟิลิปปินส์ เวียดนาม มาเลเซีย และบรูไน ต่างอ้างสิทธิ์ในพื้นที่ดังกล่าวเช่นกัน

ที่ประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศสมาคมประชาชาติเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชาวันนี้ (13 ก.ค.)ไม่สามารถออกแถลงการณ์ร่วมเรื่องทะจีนใต้ นับเป็นครั้งแรกที่เกิดเหตุเช่นนี้นับตั้งแต่ก่อตั้งอาเซียนมา 45 ปี

ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ เลขาธิการอาเซียนกล่าวว่า ฟิลิปปินส์และเวียดนามต้องการให้แถลงการณ์ร่วมระบุเรื่องที่ฟิลิปปินส์กับ จีนเกิดการเผชิญหน้ากันเมื่อเดือนก่อนในน่านน้ำรอบแนวหินโสโครกสการ์โบโรจ์ ที่ทั้งสองประเทศต่างสิทธิครอบครอง


ด้านฟิลิปปินส์แถลงว่า ความแตกแยกในครั้งนี้บั่นทอนสิ่งที่อาเซียนเคยตกลงกันว่าจะแก้ไขข้อพิพาท ต่างๆ ในฐานะองค์กรเดียว ซึ่งไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อนตลอด 45 ปีของอาเซียน ไม่ใช่แยกเป็นทวิภาคีตามที่ประเทศเพื่อนบ้านทางเหนือของอาเซียนยืนกราน ฟิลิปปินส์ต้องการให้แถลงการณ์ระบุเรื่องการเผชิญหน้ากับจีน แต่กัมพูชาในฐานะประธานอาเซียนวาระปัจจุบันและจีนคัดค้าน

ทั้งนี้ จีนถือเป็นประเทศที่ให้เงินช่วยเหลือรายใหญ่ของกัมพูชา ขณะที่นักการทูตบางรายกล่าวว่ารัฐบาลกัมพูชากำลังเอาใจจีนโดยการกล่าวถึง ประเด็นการล่วงละเมิดดังกล่าว


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342166600&grpid=&catid=06&subcatid=0600

ทักษิณ น้อมรับคำตัดสินศาล เพื่อไทย เตรียมประชุมกำหนดแนวทาง 16 ก.ค.

ทักษิณ น้อมรับคำตัดสินศาล เพื่อไทย เตรียมประชุมกำหนดแนวทาง 16 ก.ค.
  

Posted Image

 
 
นาย นพดล ปัทมะ ที่ปรึกษาฝ่ายกฎหมาย พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พ.ต.ท.ทักษิณ ติดตามผลคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญผ่านอินเทอร์เน็ตอยู่ คงได้ทราบผลแล้ว โดยที่ผ่านมาอดีตนายกฯ ทักษิณ พูดมาตลอดว่า ให้ปฏิบัติตามคำสั่งศาลรัฐธรรมนูญ ไม่ว่าผลจะออกมาเป็นอย่างไร

ส่วน ตัวเองมองว่าคำวินิจฉัยสร้างความผิดหวังทั้งฝ่ายผู้ร้อง และผู้ถูกร้อง แต่ต้องปฏิบัติตาม เพราะคำสั่งมีผลผูกพัน แม้จะเห็นด้วยหรือไม่ขณะที่พรรคเพื่อไทยเตรียมประชุมเพื่อกำหนดแนวทางต่อไปวันจันทร์ ที่ 16 ก.ค. นี้ เวลา 13.00 น. และจะแถลงหลังเสร็จสิ้นการประชุม


ด้าน กลุ่มเครือข่ายวิทยุชุมชนปกป้องประชาธิปไตยและความเป็นธรรม (ควปธ.) ซึ่งปักหลักอยู่บริเวณลานพระบรมรูปทรงม้า หลังจากฟังคำวินิจฉัยของศาลจบลงต่างก็โห่ร้องแสดงความยินดี เช่นเดียวกับคนเสื้อแดงกลุ่มแดงอิสระที่รวมตัวบริเวณลานเอนกประสงค์ข่วง ประตูท่าแพ จ.เชียงใหม่
 
อย่างไรก็ตามกลุ่มพี่น้องเสื้อแดงที่อิมพีเรียล ลาดพร้าวจะเดินทางมาที่ลานพระบรมรูปทรงม้า ร่วมฉลองชัยชนะคำตัดสินครั้งนี้ด้วยกัน

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


Wake Up Thailand 13กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=ZqbQ2XWxlIE

The Daily Dose

The Daily Dose

 

The Daily Dose 13กค55

http://www.youtube.com/watch?v=joI0fh99_oA&feature=player_embedded

สเปนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด ปะทะตำรวจบาดเจ็บกว่า 70 ราย

สเปนประท้วงมาตรการรัดเข็มขัด ปะทะตำรวจบาดเจ็บกว่า 70 ราย

 

 

กลุ่มสหภาพแรงงานและประชาชนชาวสเปนปะทะตำรวจบาดเจ็บอย่างน้อย 70 รายในกรุงมาดริด หลังประท้วงที่รัฐบาลสเปนประกาศมาตรการรัดเข็มขัด ที่ตัดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาล รวมทั้งการขึ้นภาษีการขายจาก 18% เป็น 21%
  


สำนักข่าว CNN เผยแพร่ภาพการประท้วงของกลุ่มคนงานในประเทศสเปน เมื่อวันที่ 12 ก.ค. 55 ที่ผ่านมา โดยกลุ่มสหภาพแรงงานและประชาชนชาวสเปนได้ปะทะตำรวจบาดเจ็บอย่างน้อย 70 รายในกรุงมาดริด หลังประท้วงที่รัฐบาลสเปนประกาศมาตรการรัดเข็มขัด

โดยการประท้วงเริ่มกลุ่มสหภาพคนทำงานเหมืองแร่ที่ได้ปักหลักในกรุงมาดริด มาหลายวันแล้ว และเริ่มมีประชาชนมาสมทบกับเดินขบวนประท้วงของพวกเขา เนื่องจากไม่พอใจนโยบายตัดงบการอุดหนุนธุรกิจเหมืองแร่ลง 64% ตำรวจได้พยายามเข้าสลายการชุมนุมโดยการยิงด้วยกระสุนยางและไล่ตีผู้ชุมนุม ด้วยกระบอง เป็นเหตุให้เกิดการปะทะกับกลุ่มผู้ชุมนุมใกล้กระทรวงอุตสาหกรรม มีผู้บาดเจ็บ 76 ราย เป็นคนงานเหมือง 43 คน และตำรวจ 33 นาย

อนึ่งนาย Mariano Rajoy นายกรัฐมนตรีสเปนได้ประกาศใช้มาตรการรัดเข็มขัดอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวาน นี้ (12 ก.ค.) ในระหว่างการแถลงต่อรัฐสภาเพื่อลดงบประมาณขาดดุลของประเทศให้เป็นไปตาม เงื่อนไขของกลุ่มประเทศยูโรโซนที่ให้เงินกู้แก่สเปนเพื่อพยุงเศรษฐกิจและ ฐานะทางการเงินของธนาคารก่อนหน้านี้

โดยมาตรการรัดเข็มขัดที่รัฐบาลสเปนนำมาใช้นี้ มีทั้งการตัดงบประมาณการใช้จ่ายของรัฐบาลกลาง และรัฐบาลท้องถิ่น รวมทั้งการขึ้นภาษีการขายจาก 18% เป็น 21% โดยคาดว่าจะสามารถประหยัดงบประมาณได้ราว 65 พันล้านยูโร ปีงบประมาณ ค.ศ. 2014

ในการแถลงต่อสภาซึ่งถูกขัดจังหวะจากสมาชิกพรรคฝ่ายค้านเป็นระยะๆ และนาย Rajoy ยอมรับว่าการนำมาตรการรัดเข็มขัดมาใช้นี้ ได้สร้างความอึดอัดให้แก่เขาโดยเฉพาะมาตรการการขึ้นภาษี เพราะในการรณรงค์หาเสียงนั้น เขาสัญญาว่าจะลดภาษีให้กับประชาชน

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41536

ความ 'ตลก' ของ 'ตลก.' ศาลรัฐธรรมนูญ


ความ 'ตลก' ของ 'ตลก.' ศาลรัฐธรรมนูญ

 

http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41540

บีบีซีแสดงทัศนะ"คำร้องอ้างล้มล้างการปกครอง เป็นเรื่องน่าตลกตั้งแต่แรก"

บีบีซีแสดงทัศนะ"คำร้องอ้างล้มล้างการปกครอง เป็นเรื่องน่าตลกตั้งแต่แรก"

 


นายโจนาห์ ฟิชเช่อร์ ผู้สื่อข่าวบีบีซีประจำประเทศไทย แสดงทัศนะผ่านรายงานข่าวศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องของพรรคฝ่ายค้านที่อ้างว่า การแก้ไขรัฐธรรมนูญของพรรคเพื่อไทย เข้าข้ายล้มอำนาจการปกครองฯ ว่า กรณีนี้่สำหรับคนส่วนมากแล้ว ดูเหมือนเป็นเรื่องน่าตลกตั้งแต่แรก และสะท้อนได้จากคำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ ที่อ่านคำพิพากษาความยาว 20 นาที ระบุว่า ไม่มีหลักฐานที่สนับสนุนคำอ้างว่า ความพยายามของพรรคเพื่อไทยที่จะแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นภัยคุกคามต่อพระมหากษัตริย์ ขณะที่เอพีรายงานว่า คำตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญได้ผ่อนคลายความวิตกว่า จะเกิดวิกฤตการเมืองของไทย 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342173548&grpid=&catid=06&subcatid=0600

"นิติราษฎร์" เตรียมเสนอเลิกศาล รธน.- ตั้งตุลาการพิทักษ์รธน. อาทิตย์นี้

"นิติราษฎร์" เตรียมเสนอเลิกศาล รธน.- ตั้งตุลาการพิทักษ์รธน. อาทิตย์นี้

 


ข้อเสนอคณะนิติราษฏร์ว่าด้วยการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ


(13 ก.ค.55) หลังศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำวินิจฉัยกรณีแก้ไขรัฐธรรมนูญ คณะนิติราษฎร์ได้ประกาศผ่านเว็บไซต์ของกลุ่ม ทันที ว่าจะมีการจัดเวทีแถลงข้อเสนอทางวิชาการ เรื่องการยุบเลิกศาลรัฐธรรมนูญ และจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ ในวันอาทิตย์ที่ 15 กรกฎาคม 2555 เวลา 13.00 น. ห้อง LT1 ห้องจิ๊ด เศรษฐบุตร คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ที่มา) 

‘วรเจตน์’ ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญขัดกันเอง

‘วรเจตน์’ ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญขัดกันเอง

 

วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ให้สัมภาษณ์วอยซ์ทีวี ชี้ตรรกะในคำวินิจฉัยขัดกันเอง ระบุเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะเป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา


13 ก.ค. 55 หลังจากการอ่านคำตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ วอยซ์ทีวีได้ทำการสัมภาษณ์อาจารย์วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์หนึ่งในคณะนิติราษฎร์ ต่อประเด็นการตัดสินของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ

โดย อ.วรเจตน์ ชี้ว่าตรรกะในคำวินิจฉันขัดกันเอง โดยระบุว่ามีความเห็นแต่แรกแล้วว่าเรื่องนี้ไม่อยู่ในเขตอำนาจศาลแต่ต้น เพราะนี่เป็นการใช้อำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญของรัฐสภา

“ไม่ต้องพูดเรื่องต้องผ่านอัยการหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่เกี่ยวกับการใช้สิทธิเสรีภาพ แต่เป็นการใช้อำนาจการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญ ไม่ใช่เรื่องที่ศาลรัฐธรรมนูญจะทำได้”

“เพราะไม่เช่นนั้น ต่อจากนี้ไป หากองค์กรของรัฐทำอะไรก็ตาม ก็จะมีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญได้ตลอดเวลา เป็นเรื่องที่น่าจะขัดรัฐธรรมนูญ เองและไม่มีผลผูกพันองค์กรใดๆ ของรัฐ แต่ที่ผ่านมาฝ่ายรัฐสภาไม่ได้ยืนยันอำนาจของตัวเองในการลงประชามติผ่านวาระ สาม” 

อ.วรเจตน์ ให้ความเห็นต่อไปว่า ในการวินิจฉัยว่าถ้าแก้ทั้งฉบับต้องลงประชามติก่อนนั้น ศาลพูดแต่เพียงว่า "ควรจะประชามติ" ก่อน เพราะศาลก็รู้ว่าไม่มีบทบัญญัติที่ไหนเลยที่บอกว่าถ้าจะร่างรัฐธรรมนูญใหม่ ทังฉบับนั้นต้องลงประชามติ และแม้จะมีการยกร่างฯ ใหม่ ก็ต้องลงประชามติอยู่ดี และประชาชนก็จะมีโอกาสเปรียบเทียบรัฐธรรมนูญเก่า กับร่างฯ ใหม่แต่ถ้าประชามติไปถามเฉยๆ ว่าจะแก้หรือไม่นั้นไม่เกิดประโยชน์เสียงบประมาณเปล่าๆ นี่เป็นการยกขึ้นมาโดยศาลเองโดยไม่มีอำนาจ

ส่วนประเด็นสุดท้าย เรื่องการไม่ล้มล้างการปกครองฯ นั้น อ.วรเจตน์ ระบุว่าเหมือนกับศาลรัฐธรรมนูญ จะบอกว่าถ้าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ ถ้าทำต้องแก้รายมาตรา ถ้าบอกว่าแก้ทั้งฉบับทำไม่ได้ แต่ศาลก็ไม่ได้บอกว่า แก้ทั้งฉบับเป็นการล้มล้างการปกครองหรือเปล่า ตรรกะของศาลเป็นปัญหาในตัวเอง


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41535

ศาล รธน.ชี้แก้ ม. 291 ไม่ล้มล้างการปกครอง แก้รายมาตราได้ แก้ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ

ศาล รธน.ชี้แก้ ม. 291 ไม่ล้มล้างการปกครอง แก้รายมาตราได้ แก้ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ

 


คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ 13กค55

http://www.youtube.com/watch?v=02TirqkJNg8&feature=player_embedded 



ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญอ่านคำตัดสิน การแก้มาตรา 291 ไม่ถือเป็นการล้มล้างการปกครอง แก้รัฐธรรมนูญรายมาตราได้ แต่ทั้งฉบับ 'ควร' ทำประชามติ

13 ก.ค. 55 - เวลา 14.45 น. ศาลรัฐธรรมนูญเริ่มอ่านคำวินิจฉัย 3 ประเด็น หนึ่ง วินิจฉัยว่ามีอำนาจพิจารณาหรือไม่ สอง แก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับได้หรือไม่ สาม การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการกระทำที่ล้มล้างระบอบประชาธิปไตยหรือไม่ จากนั้นจะวินิจฉัยว่าการกระทำดังกล่าวนำไปสู่การยุบพรรคการเองและเพิกถอน สิทธิหัวหน้าพรรคได้หรือไม่

ประเด็นที่ 1 เห็นว่า ม. 68 วรรคสอง ให้สิทธิผู้ทราบการกระทำอันเป็นการฝ่าฝืนข้อห้ามตามมาตรา 68 วรรค 1 โดยให้สิทธิสองประการ คือหนึ่งให้เสนอเรื่องผ่านอัยการสูงสุดตรวตสอบข้อเท็จจริงและประการที่สอง สามารถยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยสั่งการได้อัยการสูงสุดมี หน้าที่ตรวจสอบแต่ไม่ตัดสิทธิผู้ร้องที่จะยื่นคำร้องโดยตรง โดยอ้างความเกี่ยวโยงกับมาตรา 69 สิทธิในการพิทักษ์รัฐธรรมนูญโดยสันติวิธี ศาลมีอำนาจรับคำร้องไว้พิจารณาและวินิจฉัยได้ตามมาตรา 68 วรรค 2

ประเด็นที่ 2 การแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับทำได้หรือไม่ ศาลวินิจฉัยว่า รัฐธรรมนูญ 2550 มาจาการลงประชามติ การแก้ไขโดยยกร่างแก้ไขทั้งฉบับก็ควรผ่านการลงประชามติ

ประเด็นที่ 3 การกระทำของผู้ถูกร้องเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขหรือไม่

ศาลวินิจฉัยว่า การแก้ไขเพิ่มเติมมาตรา 291 มีเจตนาเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญรายมาตราเป็นอำนาจที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักร ไทยให้อำนาจไว้ เพื่อเป็นการแก้ไขปัญหาจากตัวรัฐธรรมนูญเอง

ร่างฯ ฉบับที่ .....จึงเป็นผลจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย มาตรา 291 มีที่มาจาก รัฐธรรมนูญจากปัจจุบันเอง

การที่สภาร่างฯ ดังที่ผ่านวาระ 2 และกำลังจะผ่านวาระสาม ยังไม่มีข้อเท็จจริงที่เห็นได้ว่ามีการกระทำที่เป็นการล้มล้าง และขั้นตอนการจัดทำก็ยังไม่เป็นรูปธรรม

แต่หากต่อไปมีข้อเท็จจริงในการร่างฯ พบว่ามีการกระทำในลักษณะที่เป็นการล้มล้างการปกครองฯ ก็ยังสามารถร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้วินิจฉัยได้

ผู้ถูกร้องทั้งหมดได้แสดงถึงเจตคติที่ตั้งมั่นว่าจะดำรงคงไว้ซึ่งการ ปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษํตริย์ทรงเป็นประมุขอยู่ เช่น พิจารณาเห็นว่าข้ออ้างของผู้ร้องไม่ชี้ให้เห็นว่าผู้ถูกร้อง

ข้ออ้างเป็นเพียงการคาดการณ์หรือเป็นความห่วงใยของสถาบันกษัตริย์ในการ ปกครองในระบอบประชาธิปไตย ข้อเท็จจริงไม่พอฟังได้ว่าเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระ มหากษัตริย์เป็นประมุข

ศาลให้ยกคำร้องในส่วนนี้ เมื่อวินิจฉัยแล้ว ไม่เป็นเหตุให้วินิจฉัยข้ออื่นอีก ยกคำร้องทั้งห้าคำร้อง


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41534

บ่ายนี้ ลองดูซิว่า "จาตุรนต์ ฉายแสง" จะแม่นไหม ?

บ่ายนี้ ลองดูซิว่า "จาตุรนต์ ฉายแสง" จะแม่นไหม ?

 

http://www.matichon.co.th/online/2012/07/13421607111342160754l.jpg 


เมื่อ วันที่ 8 กรกฎาคม 2555 นายจาตุรนต์ ฉายแสง อดีตรักษาการหัวหน้าพรรคไทยรักไทย (ทรท.) โพสต์ข้อความผ่านเว็บไซต์เฟซบุ๊ค "Chaturon Chaisang" ว่า วันที่ 13 กรกฎาคมนี้ ความเป็นไปได้ที่ศาลรัฐธรรมนูญจะตัดสิน 3-4 แบบ แบบเลวร้ายสุดๆคือบอกว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญครั้งนี้เป็นการแก้ทั้งฉบับและ เป็นการล้มล้างการปกครอง ให้เลิกการกระทำและให้ยุบพรรคเพื่อไทย(พท.)โอกาสที่จะเกิดแบบแรกนี้น่าจะ น้อยมาก ด้วยเหตุผลง่ายๆคือเกินไป แบบที่ 2 รองลงมา คือไม่ได้บอกว่าเป็นการแก้ทั้งฉบับ ไม่มีปัญหาที่จะแก้โดยส.ส.ร. แต่อาจนำไปสู่การล้มล้างการปกครองเพราะไม่มีหลักประกันเนื่องจากเมื่อส.ส.ร. ร่างเสร็จแล็วไม่ได้นำกลับมาให้รัฐสภาพิจารณาอีกครั้ง โดยแบบที่ 2 มีความเป็นไปได้สูงกว่าแบบอื่นโดยจะไม่สั่งยุบพรรค แต่อาจมีคนไปยื่นถอดถอน ครม.เพียงแต่น้ำหนักจะไม่เท่ากัน

นายจาตุรนต์ ระบุว่า ส่วนแบบที่ 3 คือยกคำร้อง ให้แก้รัฐธรรมนูญกันต่อไป รัฐสภาก็ลงมติวาระที่3 กันแต่ไป แต่แบบนี้น่าจะเป็นไปได้น้อยที่สุด ถ้าใครจะวางแผนรับมือกับสิ่งที่จะเกิดขึ้นในอีกไม่กี่วันนี้ ตนก็เสนอว่าให้คาดการณ์ในทางร้ายไว้ก่อนซึ่งเป็นหลักปกติทั่วไปในการวางแผน ทั้งหลายทั้งปวง แต่ที่อยากเสนอความเห็นไว้ในขณะนี้เสียก่อนก็คืออยากจะย้ำว่าไม่ว่าผลการ ตัดสินจะออกมาแบบไหนก็เป็นความเสียหายต่อประเทศชาติทั้งสิ้น ไม่เป็นธรรมทั้งสิ้น แม้ว่าศาลยกคำร้องก็เสียหายและไม่เป็นธรรมเพราะศาลรัฐธรรมนูญได้รับคำร้อง โดยตรงไปทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ ตรวจสอบการร่างรัฐธรรมนูญทั้งที่ไม่มีอำนาจ

นายจาตุรนต์ ระบุว่า ศาลจึงกำลังสร้างบรรทัดฐานที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญและขัดหลักการประชาธิปไตย หลักการแบ่งแยกอำนาจซึ่งจะเป็นอุปสรรคต่อการแก้รัฐธรรมนูญต่อไป ทำให้การแก้รัฐธรรมนูญจะทำได้ยากมากและจะทำให้วิกฤตของประเทศนี้ไม่มีทางออก เมื่อศาลฯตัดสินออกมาอย่างไรองค์กรต่างๆก็ต้องปฏิบัติตาม เช่นถ้าสั่งให้ยุติการแก้รัฐธรรมนูญ รัฐสภาก็ต้องหยุดจะเดินหน้าต่อไปไม่ได้ ต้องมาเริ่มกันใหม่ แต่ไม่ได้หมายความว่าทุกฝ่ายจะต้องยอมรับว่าตัดสินถูกต้องแล้ว เพราะถ้าหากศาลรัฐธรรมนูญทำผิดมาแต่ต้น ก็ผิดตลอดทางจนถึงวันตัดสิน

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342160711&grpid=01&catid=&subcatid=