หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

การแบ่งชนชั้นไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์

การแบ่งชนชั้นไม่ใช่ธรรมชาติของมนุษย์ 

 

โดย C. H.

 

มนุษย์เริ่มต้นจากการวิวัฒนาการมาจากลิงในอัฟริกาเมื่อประมาณ 150,000 ปีมาแล้ว สังคมมนุษย์ในยุคบุพกาล เป็นสังคมของคนที่เก็บของป่าและล่าสัตว์ มนุษย์อยู่ในกลุ่มเล็กๆ ในลักษณะเครือญาติ ทรัพยากรทุกอย่างเป็นของกลางหมด มีการแบ่งกันอย่างเท่าเทียม มีการร่วมมือกันในกิจกรรมต่างๆ ในสังคมบุพกาลนี้ ชีวิตมนุษย์มีข้อดีตรงที่ไม่มีการแบ่งชนชั้น ไม่มีผู้ปกครอง และไม่มีการเลือกปฏิบัติระหว่างชายกับหญิง แต่ข้อเสียคือถ้าภูมิอากาศหรือธรรมชาติเปลี่ยนไป มนุษย์จะอยู่อย่างยากลำบาก เพราะไม่มีส่วนเกิน

มนุษย์อยู่กันทั่วโลกในสภาพแบบนี้ประมาณ 140,000 ปี คือ ประมาณ 90% ของประวัติศาสตร์มนุษย์ ข้อมูลนี้สำคัญ เพราะพวกที่สนับสนุนระบบชนชั้น การขูดรีด ความเหลื่อมล้ำ หรือทุนนิยม มักพยายามอ้างว่า “ธรรมชาติมนุษย์” เป็นธรรมชาติของการแย่งชิงและการแข่งขัน แต่ถ้า 90% ของประวัติศาสตร์เป็นยุคของความเท่าเทียมและการร่วมมือกันระหว่างมนุษย์ มันจะเป็นอย่างที่พวกนั้นอ้างไม่ได้

เมื่อ 10,000 ปีก่อนยุคปัจจุบัน มนุษย์เริ่มใช้ระบบเกษตรพื้นฐาน แต่ในไม่ช้าวิถีชิวิตแบบเก่าเริ่มยากลำบากมากขึ้นเนื่องจากการเปลี่ยนแปลง ทางภูมิอากาศ มนุษย์กลุ่มต่างๆ ต้องเลือกระหว่างการอยู่แบบเติมโดยใช้เกษตรพื้นฐานที่ไม่แน่นอน หรือเลือกเดินหน้าพัฒนาเทคโนโลจีต่างๆ กลุ่มที่เลือกพัฒนาเทคโนโลจีเริ่มใช้สัตว์ลากไถ และใช้ปุ๋ยจากขี้สัตว์ เพื่อเพิ่มผลผลิตแต่ผลพวงที่ตามมาคือสังคมชนชั้น
    
การเพิ่มผล ผลิตทำให้ชีวิตมีความมั่นคงมากขึ้น ความสลับสับซ้อนของสังคมและการแบ่งงานกันทำมีผลในการเปลี่ยนความสัมพันธ์ ระหว่างคนและมีคนประเภทหนึ่งปรากฏตัวขึ้นมา คือพวกที่มีหน้าที่ “ควบคุม” ระบบเก็บอาหารเพื่อความมั่นคงของสังคม และเมื่อประมาณ 5000 ปีมาแล้ว มีการเริ่มเขียนถึง “ทาส” มีความเหลื่อมล้ำเกิดระหว่างคน และมีการบังคับใช้ชาวบ้านเพื่อทำงานเป็นบางเวลา
    
คำถามที่สำคัญคือ “มนุษย์ที่เคยเท่าเทียมกันมาก่อนเป็นเวลาแสนปีทนสภาพเช่นนี้ได้อย่างไร?” คำตอบคือ กลุ่มต่างๆ ต้องเลือกเอาว่าจะเดินหน้าพัฒนาการผลิตในบริบทของสังคมยุคนั้น หรือจะถอยหลังไปอยู่อย่างยากลำบาก แต่เราไม่ควรลืมว่าการเปลี่ยนแปลงดังกล่าวในสังคมเต็มไปด้วยความขัดแย้งทาง ชนชั้นเสมอ และในยุคปัจจุบันเราสามารถพูดได้ว่าเทคโนโลจีเจริญเติบโตพอที่จะยกเลิกระบบ ชนชั้นได้ 


(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/03/blog-post_06.html

ที่นี่ความจริง อ.หวาน อ.ตุ้ม

ที่นี่ความจริง อ.หวาน อ.ตุ้ม

 

 

ที่นี่ความจริง 17กค55

http://www.youtube.com/watch?v=Uf0rDu2Gw3g&feature=player_embedded

Divas Cafe

Divas Cafe


แดงโห่ ปชป เฮ นักวิชาการซัด กระแสตีกลับเพื่อไทย Divas Cafe 13มิย55
http://youtu.be/vTCbQdANN1k 

223ปีปฏิวัติฝรั่งเศส บทเรียนสำหรับไทย Divas Cafe 17กค55

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=XcobvrUVJt8

ยุบศาลไทย แต่เอาใจศาลโลก ?

ยุบศาลไทย แต่เอาใจศาลโลก 

 

 

วีรพัฒน์ ปริยวงศ์
นักกฎหมายอิสระ
http://www.facebook.com/verapat



หลังคำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ ฉบับ ‘ศุกร์ 13’ ผ่านไป ก็มีข่าวว่า ไทย-กัมพูชาจะ ‘ปรับกำลัง’ บริเวณปราสาทพระวิหาร โดยนำ ‘ทหาร’ บางส่วนออกจาก ‘เขตปลอดทหารชั่วคราว’ แล้วนำ ‘ตำรวจ’ เข้าไปแทนที่ แต่อาจยังมีทหารจำนวนหนึ่งคงอยู่เช่นเดิม กล่าวคือ ไม่ใช่ถอนทั้งหมด

การ ‘ปรับกำลัง’ ซึ่งอาจมองว่าทำเป็นมารยาทพองามในครั้งนี้ จะมีขึ้นในวันที่ 18 กรกฎาคม ซึ่งครบรอบ 1 ปี ที่ ‘ศาลโลก’ มีคำสั่งเรื่อง ‘เขตปลอดทหารชั่วคราว’ ที่ว่าพอดี (ดูเพิ่มที่ http://bit.ly/VP18July)
แต่ไม่ทันรอให้ปรับกำลังกันเสร็จ ส.ว. คำนูณ สิทธิสมาน ก็ ตั้งข้อสังเกตน่าสนใจทำนองว่า ทีกรณี ‘คำสั่งศาลโลก’ รัฐบาลยิ่งลักษณ์บอกว่าต้องปฏิบัติตาม แต่พอเป็น ‘คำวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญ’ ของไทยเอง กลับปฏิเสธว่าศาลไม่มีอำนาจ เช่นนี้ ถือว่า ‘2 มาตรฐาน’ หรือไม่ ?
 

ไทยโต้แย้งอำนาจ ‘ศาลโลก’ หรือไม่ ?
ในขั้นแรก คงต้องให้ความเป็นธรรมกับ ‘ฝ่ายไทย’ ซึ่งสู้คดีมาตั้งแต่ ‘สมัยรัฐบาลอภิสิทธิ์’ ว่า ไทยเองก็ ‘โต้แย้ง’ อำนาจศาลโลกมาตั้งแต่ต้น และก็ยังคงโต้แย้งต่อไปว่า คำร้องที่กัมพูชาขอให้ศาลโลกตีความคำพิพากษาคดีปราสาทพระวิหารนั้น ‘ไม่เข้าเกณฑ์ที่ศาลโลกจะรับพิจารณา’ (inadmissible)
กล่าวคือ ไทยโต้แย้งว่า กัมพูชากำลังขอให้ศาลโลก ‘เพิ่มเติมคำตัดสิน’ ที่เกินเลยไปกว่าเรื่องเดิมที่ตัดสินไว้ใน พ.ศ. 2505 ศาลจึงต้องปฏิเสธคำขอของกัมพูชา

ที่สำคัญ ในคดีนี้เอง ศาลโลกได้ย้ำว่า ‘เขตปลอดทหารชั่วคราว’ เป็นเพียงเรื่องมาตรการชั่วคราวที่มุ่งป้องกันการปะทะกันด้วยอาวุธเท่านั้น และย้ำอีกว่า คำสั่งชั่วคราวย่อมไม่ก้าวเข้าไปวินิจฉัยประเด็นเรื่องดินแดนหรือเขตแดน หรือเส้นแผนที่ใด (เช่น ย่อหน้าที่ 21, 38 และ 61 ของคำสั่งฉบับวันที่ 18 กรกฎาคม 2554)

ยิ่งไปกว่านั้น หากพิจารณาคดีศาลโลกในอดีต เช่น คดี Avena ระหว่าง เม็กซิโกและสหรัฐฯ ก็จะเห็นว่า แม้ศาลโลกจะรับคำร้องและมีคำสั่งมาตราการชั่วคราวไประหว่างพิจารณาแล้วก็ตาม แต่ในที่สุด ศาลโลกก็ยังสามารถพิพากษาว่าคำร้อง ‘ไม่เข้าเกณฑ์ที่ศาลจะรับพิจารณา’ ได้

ดังนั้น แม้ไทยจะปฎิบัติตามคำสั่งชั่วคราวก็ตาม แต่ศาลโลกก็ยังคงรับฟังข้อโต้แย้งของไทยเรื่อง ‘อำนาจศาล’ อยู่ และหากจะบอกว่า ‘ฝ่ายไทย’ (ไม่ว่าจะรัฐบาลชุดไหน) ยอมตามศาลโลกหมดเลย ก็คงไม่เป็นธรรมนัก

ตรงกันข้าม หากกัมพูชายอมปรับกำลัง แต่ฝ่ายไทยขึงขังไม่ฟังศาลโลก ผู้พิพากษาบางท่านอาจนำพฤติการณ์ความแข็งกร้าวของฝ่ายไทยไปประกอบการตีความ ในคดี ซึ่งอาจไม่เป็นคุณต่อฝ่ายไทย ก็เป็นได้
 

ยุบศาลไทย แต่เอาใจศาลโลก ?
หากผู้ใดประสงค์จะเทียบกรณี ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ของไทย กับ ‘ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ’ ของชาวโลก ก็ขอให้คำนึงถึงข้อพิจารณาดังนี้


ประการแรก อำนาจของ ‘ศาลโลก’ เรื่อง คำสั่งมาตรการชั่วคราวก็ดี หรือ เขตอำนาจ (jurisdiction) ในการรับคำร้องขอให้ตีความคำพิพากษาก็ดี ถูกกำหนดไว้อย่างชัดเจนตาม ‘ตัวบทสนธิสัญญา’ ซึ่งประเทศไทยยอมรับผูกพันในฐานะสมาชิกของสหประชาชาติ และแม้แต่ ‘รัฐธรรมนูญไทย’ มาตรา 82 ก็บัญญัติให้ไทยพึงปฏิบัติตาม

ผิดจากกรณี ‘ศาลรัฐธรรมนูญไทย’ ที่ละเมิดไวยากรณ์ของ มาตรา 68 ประเภทที่ครูภาษาไทยต้องส่ายหน้า จากนั้นก็ปลุกเสกเจตนารมณ์ (ของศาล) ขึ้นเองกลางอากาศ แต่สุดท้ายพออ่านคำวินิจฉัย กลับไม่แน่ใจในอำนาจตนเอง เลยได้แต่ยกคำร้อง แต่ก็อุตส่าห์สอดแทรกข้อเสนอแนะเรื่อง ‘การลงประชามติ’ ทั้งที่ไม่มีกฎหมายใดรองรับ

กล่าวคือ ‘ศาลรัฐธรรมนูญไทย’ ไม่มีแม้แต่ ‘เขตอำนาจ’ จะรับพิจารณาคดีการแก้รัฐธรรมนูญแต่แรก มิพักต้องพูดถึงความล้มเหลวของศาลในการอธิบายว่าคำร้องเข้า ‘หลักเกณฑ์การรับพิจารณา’ (inadmissible) หรือไม่ เช่น คำร้องที่ยื่นโดยคุณเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ ซึ่งศาลกลับมีคำสั่งจำหน่ายคำร้องได้อย่างสะดวกมือโดยไม่ทราบว่ามีหลักเกณฑ์ อย่างไร
 

ศาลไทย ‘ใหญ่’ คับโลก ?
ความพิสดารต่อไปของ ‘ศาลรัฐธรรมนูญ’ ไทยที่อาจเกิดได้ คือ การใช้อำนาจตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 190 ที่แม้จะไม่ได้บัญญัติถึงกรณีการปฎิบัติตามคำสั่งศาลโลกไว้ แต่ก็อาจมีผู้ตีความว่า ไทยและกัมพูชาจะไปตกลงถอนหรือปรับกำลังทหารตามคำสั่งศาลโลกไม่ได้ แต่อาจต้องขอสภาก่อน



(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/07/41592

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand


Wake Up Thailand 17กค55

http://www.youtube.com/watch?v=-0XGvAyHe14&feature=plcp

The Daily Dose

The Daily Dose

 

The Daily Dose 17กค55

http://www.youtube.com/watch?v=4Ef4lRAvSDw&feature=player_embedded

เหตุและผลจาก"นิติราษฎร์" ตั้ง"ตุลาการพิทักษ์ระบอบ รธน."

 

หมายเหตุ - ข้อเสนอจากงานเสวนาวิชาการเรื่อง ?การยุบศาลรัฐธรรมนูญและการจัดตั้งคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ? โดยนักวิชาการคณะนิติราษฎร์ ที่คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคมที่ผ่านมา

วรเจตน์ ภาคีรัตน์
หัวหน้าภาควิชากฎหมายมหาชน 
คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ศาลที่ทั่วโลกจำเป็นต้องมีคือ ศาลยุติธรรม ส่วนศาลอื่นๆ จำเป็นหรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับว่าศาลนั้นๆ จำเป็นหรือไม่ การพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ ล่าสุดได้ขยายและพัฒนาอำนาจตัวเองไปเป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากยังมีศาลในลักษณะเช่นนี้อีกต่อไป การแก้ไขรัฐธรรมนูญก็จะไม่ทางเกิดขึ้นได้ ดังจะเห็นจากในมาตรา 68 ที่มีคนไปยื่นต่อศาลรัฐธรรมนูญ แท้จริงต้องผ่านอัยการสูงสุดก่อน แล้วค่อยไปถึงศาลรัฐธรรมนูญ

ถามว่าเมื่อมีการรวบรวมรายชื่อแล้วจะ สามารถถอดถอนตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้หรือไม่ ผมบอกได้เลยว่า คนที่มีอำนาจในการถอดถอนคือ วุฒิสภา ครึ่งหนึ่งมาจากการแต่งตั้ง ต่อให้ศาลรัฐธรรมนูญชุดนี้หมดวาระไป ก็จะมีคนอื่นที่เข้ามาแทน เป็นคนที่ไม่มีจุดยึดโยงกับประชาชน การกระทำของศาลรัฐธรรมนูญเมื่อไม่นานมานี้ เป็นผลให้ประชาชนต้องมองหาทางออก เพื่อไม่ต้องการให้ศาลรัฐธรรมนูญใช้อำนาจแบบเดิมอีกต่อไป

เราจึง เสนอให้เลิกบทบัญญัติของศาลรัฐ ธรรมนูญในทุกมาตรา การแก้ไขที่คณะนิติราษฎร์เสนอนั้น เป็นการแก้ไขหรือเปิดทางชั่วคราวเพื่อให้การแก้ไขรัฐธรรมนูญสามารถกระทำได้ โดยไม่มีการขัดขวางจากองค์กรใด จึงเป็นที่มาขององค์กรใหม่ที่เราต้องการสร้างขึ้น นั่นก็คือ คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญ เราเสนอให้มีการกำหนดที่มา อำนาจ ขอบเขต ของคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญอย่างชัดเจน

เมื่อเราเสนอให้ยก เลิกศาลรัฐธรรมนูญแล้ว จะต้องสร้างคณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญขึ้นมา เป็นองค์กรที่มีความเชื่อมโยงกับประชาชน คณะตุลาการพิทักษ์ระบอบรัฐธรรมนูญต้องมิขัดขวางการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เพราะเมื่อฟังคำสั่ง ศาลรัฐธรรมนูญ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา เชื่อว่าเป็นคำสั่งที่ทำให้คนไทยมึนงงไปตามๆ กัน เพราะไม่สามารถเข้าใจได้ว่าศาลสั่งอะไร ในเรื่องดังกล่าว หากกลับไปยังเมื่อก่อนการเลือกตั้งจะเห็นว่าพรรคเพื่อไทยได้เสนอให้มีการ แก้ไขรัฐธรรมนูญตั้งแต่ต้น และหากย้อนกลับไปอีกก็จะเห็นอีกว่าความจริงรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ.2550 นั้น เป็นการให้ประชาชนลงประชามติไปก่อน แล้วค่อยกลับมาแก้ไขทีหลัง

ความ บกพร่องของศาลรัฐธรรมนูญคือ การรับพิจารณา จริงๆ แล้วไม่มีอำนาจแต่เป็นการขยายอำนาจของศาลเอง เป็นการกระทำที่ไม่ถูกต้องและไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ หากยอมรับการวินิจฉัยของศาล เมื่อมีกรณีเช่นเดียวกันเกิดขึ้นอีก ก็จะมีคนนำเรื่องไปฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญอีก และศาลก็จะใช้อำนาจเกินขอบเขตต่อไป

เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม จากคำวินิจฉัยศาลบอกว่ามีอำนาจในการรับพิจารณา และหากมีการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญจะต้องมีการทำประชามติ ในคำวินิจฉัยไม่มีคำใดเลยที่บอกว่าห้ามลงมติในวาระ 3 ส่วนตัวคิดว่าจากคำวินิจฉัยดังกล่าว รัฐบาลควรเดินหน้าในวาระ 3 ได้ และต้องอาศัยความใจถึงในการเดินหน้าแก้ไขรัฐธรรมนูญ

การที่มีตุลาการ ศาลรัฐธรรมนูญท่านหนึ่ง ได้ถอนตัวไม่ลงมติ ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อว่า หากมีการเดินหน้าในวาระ 3 ใครทำก็ต้องรับผิดชอบนั้น เพราะอาจจะผิดมาตรา 68 หรือไม่ ผมมองว่าแล้วศาลจะให้ทำอะไร เวลาศาลวินิจฉัยออกมาแล้วจะต้องมีความชัดเจนกับผู้คนที่เกี่ยวข้อง ถามว่าถ้าไม่ไปทำประชามติจะถือเป็นการล้มล้างการปกครองหรือไม่ ศาลก็ไม่ได้บอกเช่นนั้นเลย

(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342409224&grpid=&catid=03&subcatid=0305

สภาทนายความออกแถลงการณ์วอนนิติราษฎร์หยุดแสดงความคิดเห็นคำวินิจฉัย รธน.

สภาทนายความออกแถลงการณ์วอนนิติราษฎร์หยุดแสดงความคิดเห็นคำวินิจฉัย รธน.

 

มื่อวันที่ 17 กรกฎาคม ที่สภาทนายความ ถนนราชดำเนิน นายเจษฎา อนุจารี อุปนายกฝ่ายนโยบายและแผนงาน ออกแถลงการณ์สภาทนายความ ฉบับที่ 3/2555 เรียกร้องให้นักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ยุติการแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ จนกว่าจะได้ตรวจสอบข้อมูล ข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วนเป็นที่ยุติเสียก่อน 

นายเจษฎากล่าวว่า สภาทนายความ ยังคงยืนยันว่า บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามรัฐธรรมนูญฯ มาตรา 45 แต่ในฐานะนักกฎหมาย การที่จะแสดงความคิดเห็นทางวิชาการควรได้รับข้อเท็จจริงที่ถูกต้องครบถ้วน เป็นที่ยุติเสียก่อน แล้วนำตัวบทกฎหมายมาปรับใช้กับข้อเท็จจริงซึ่งเป็นที่ยุตินั้น เพราะหากข้อเท็จจริงนั้นไม่ถูกต้อง ครบถ้วนและไม่เป็นที่ยุติ ตัวบทกฎหมายที่นำมาปรับใช้นั้นย่อมคลาดเคลื่อนไปด้วย การนำเสนอความคิดเห็นของนักวิชาการด้านกฎหมายต้องเป็นความคิดเห็นในเชิง สร้างสรรค์ ไม่มุ่งร้ายทำลายบุคคลใดด้วยอารมณ์ หรือมีเจตนาแอบแฝงอื่น

“การแสดงความคิดเห็นต่อคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ โดยยังไม่ได้ตรวจสอบคำวินิจฉัยกลาง และคำวินิจฉัยส่วนตนของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งขณะนี้ยังไม่ได้มีการเผยแพร่คำวินิจฉัยดังกล่าว ย่อมอาจเกิดความคลาดเคลื่อนได้” นายเจษฎา ระบุ
  

(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1342510077&grpid=00&catid=&subcatid=