"โฉมหน้าศักดินาไทย" ของจิตรภูมิศักดิ์
โดย ใจ
อึ๊งภากรณ์
หนังสือ
"โฉมหน้าศักดินาไทย" ของจิตรภูมิศักดิ์
เป็นหนังสือเล่มหนึ่งที่ปลุกใจการต่อสู้ของคนหนุ่มสาวในยุคหลัง ๑๔ ตุลา
เพราะเป็นหนังสือที่กล้าประณามความป่าเถื่อน การกดขี่ และความเหลื่อมล้ำในสังคมไทย
โดยที่ไม่ติดกรอบนิยายรักผู้นำชั้นสูงของชนชั้นปกครอง
นอกจากนี้หนังสือเล่มนี้เป็นความพยายามของจิตรที่จะวิเคราะห์ประวัติศาสตร์สังคมไทยอย่างเป็นระบบจากมุมมองของผู้ถูกกดขี่ขูดรีด
ก่อนหน้านั้นหนังสือประวัติศาสตร์ไทยส่วนใหญ่เป็นแนวของชนชั้นปกครอง
ในขณะที่ฝ่ายซ้ายไทย ไม่ว่าจะเป็นผู้นำพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย
หรือปัญญาชนไม่สังกัดพรรค อย่างเช่น สุภา ศิริมานนท์ สมัคร บุราวาศ
หรือกุหลาบ สายประดิษฐ์
ยังไม่ได้มีการวิเคราะห์ประวัติศาสตร์ไทยจากมุมมองมาร์คซิสต์แต่อย่างใด
ดังนั้นงานของจิตรชิ้นนี้และชิ้นอื่นๆ ที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ภูมิภาคนี้เป็นงานบุกเบิกที่สำคัญอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม เราต้องกล้าฟันธงไปว่า
ด้วยเหตุที่จิตรมีข้อจำกัดหลายประการ หนังสือ "โฉมหน้าศักดินาไทย"
เป็นหนังสือที่วิเคราะห์ระบบศักดินาไทยอย่างผิดพลาด
และไม่สามารถนำมาใช้ในการพัฒนาความเข้าใจของเราในยุคนี้ได
จิตร ภูมิศักดิ์ วิเคราะห์ระบบศักดินาไทย
หรือระบบก่อนทุนนิยมในไทย ว่าเป็นระบบ "อำนาจในการครอบครองที่ดินอันเป็นปัจจัยการผลิต" จิตรมองว่าระบบศักดินาเริ่มจากระบบกระจายอำนาจทางการเมืองและลงเอยด้วยการรวบอำนาจ
โดยที่พระเจ้าแผ่นดินกลายเป็นเจ้าของที่ดินทั้งปวงและปกครองในลักษณะ
"สมบูรณาญาสิทธิราชย์"