หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 5 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2555

นักมาร์คซิสต์คนสำคัญ

นักมาร์คซิสต์คนสำคัญ


 

 


Marxism ไม่ใช่แค่ความคิดของ คาร์ล มาร์คซ์

มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง เป็นสายความคิดที่มีชีวิต





















Karl Marx & Friedrich Engels

Marx 1818-1883 Bonn & Berlin Unis เริ่มสนใจปรัชญาเยอรมัน ศึกษา Hegel แต่ตีความใหม่ โดยปฏิเสธพระเจ้า ใช้วัตถุนิยม แต่ไม่ใช่แบบกลไก (ความคิดมนุษย์และการกระทำสำคัญเสมอ)

เริ่มต้นเป็นนักประชาธิปไตย แต่มองว่าทุนนิยมเป็นอุปสรรค์

1844 พบ Engels ที่ Paris กลายเป็นเพื่อน สหายและคู่ร่วมงานที่แยกกันไม่ออก

1842 Engels ทำงานในบริษัทครอบครัวที่ Manchester เขียน The Condition of the English Working Class

ทั้งสองเขียน German Ideology 1845/6 เป็นจุดเริ่มต้นของ Marxism เสนอว่า การปฏิวัติสังคมขึ้นกับเงื่อนไขทางวัตถุที่ทุนนิยมกำลังสร้างขึ้น ชนชั้นกรรมาชีพมีบทบาทสำคัญ “ลัทธิคอมมิวนิสต์คือลัทธิแห่งการปลดแอกกรรมาชีพ”


องค์กรทางการเมือง League of the Just, Communist Correspondence Committee, Communist League (Manifesto)


1848 ปีแห่งการปฏิวัติ แต่จบลงด้วยความผิดหวัง (ข้อสรุปเกี่ยวกับความก้าวหน้าของนายทุน และความเป็นไปได้ของการปฏิวัตินายทุนในรูปแบบฝรั่งเศส)


ว่าด้วยทุน

เขียนบทความสำหรับ นสพ. ชนิดต่างๆ วิเคราะห์ข่าว เช่นสงครามในอเมริกา
สากลที่หนึ่ง
คอมมูนปารีส Civil War in France รัฐและการปฏิวัติ

Engels มีผลงานสำคัญเรื่อง รัฐ ชนชั้นและการกดขี่ทางเพศผ่านครอบครัว เขียนเรื่องการวิวัฒนาการมนุษย์ และนำ ว่าด้วยทุน เล่ม 3 มาพิมพ์




(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.com/2012/02/blog-post_05.html

CORE Respondence : ประวิตร โรจพฤกษ์-โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

CORE Respondence : ประวิตร โรจพฤกษ์-โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม

 


 

CORE Respondence : Pravit Rojanaphruk - Robert Amsterdam 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=jQlnjfpcIio#! 

 

ประวิตร โรจนพฤกษ์ ผู้สื่อข่าวอาวุโสหนังสือพิมพ์ “เดอะ เนชั่น” สัมภาษณ์โรเบิร์ต อัมสเตอร์ดัม ทนายความของกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการ (นปช.) ต่อสถานการณ์ความคืบหน้าล่าสุดของการยื่นคำร้องต่อศาลโลก ในกรณีเหตุการณ์ความรุนแรงเดือนเม.ย.- พ.ค. 2553 มุมมองต่อกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และอนาคตของรัฐบาลยิ่งลักษณ์


ประวิตร: คิดยังไงกับข่าวคราวล่าสุดที่ล่าสุดเกี่ยวกับ การที่กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยเรียกร้องให้ทำการรัฐประหารล้ม รัฐบาลยิ่งลักษณ์?

โรเบิร์ต: สิ่งหนึ่งที่ฝ่ายประชาธิปไตยและสังคมไทยจำเป็นต้องทำ คือการเอาความหมายของคำนี้กลับมา กลุ่มพันธมิตรฯ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับประชาธิปไตยเลย เช่นเดียวกับที่พรรคประชาธิปัตย์ของประเทศนี้ไม่ใกล้เคียงกับประชาธิปไตย มันคือพันธมิตรประชาชนเพื่อการรัฐประหาร และการแทรกแซงรัฐบาลพลเรือนโดยทหารมากกว่า

ผมคิดว่าการกระทำของพวกเขาเป็นการต่อต้านประชาธิปไตยอย่างที่สุด และอาจพูดได้ว่ากระทั่งผิดกฎหมายภายใต้รัฐธรรมนูญ และผมให้เครดิตพวกเขาน้อยมาก ผมไม่เชื่อว่าพวกเขาเป็นตัวแทนความคิดเห็นของคนไทยแม้แต่กลุ่มที่น้อยนิดที่ สุด ผมคิดว่าเขาเป็นตัวแทนกลุ่มทางการเมืองของชนชั้นนำไทยที่ไร้ความน่าเชื่อถือ

ผมไม่คิดว่าเราควรหมกมุ่นกับกลุ่มพันธมิตรฯ มากเกินไป ในประเทศไทยตอนนี้มีปัญหามากมาย ทั้งในทางเศรษฐกิจ การเมือง ซึ่งเป็นรากฐานของอนาคตของประเทศ ผมคิดว่าเราควรโฟกัสเรื่องที่กำลังจะมาถึงในอนาคตมากกว่า

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39124

"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ยันข้อเสนอยกเลิกกม.หมิ่น

"สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" ยันข้อเสนอยกเลิกกม.หมิ่น

 

















สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลมองผลสะเทือนด้านลบของนิติราษฎร์ ที่อาจดึงรั้งเพดานความคิดทางอุดมคติของข้อเสนอทางการเมือง ชี้ หากสนับสนุนประชาธิปไตย-ฟรีสปีชแท้จริง ต้องเสนอยกเลิกกฎหมายหมิ่นฯ 

เมื่อวันที่ 4 ก.พ. สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล นักวิชาการประวัติศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ ได้โพสต์ข้อความสาธารณะในเฟซบุ๊กของตน วิเคราะห์จุดอ่อนของข้อเสนอการแก้ไขม. 112 ของคณะนิติราษฎร์และคณะกรรมการรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก. 112) โดยมองว่าข้อเสนอให้ "แก้ไข" ม. 112 เป็น การดึง "เพดานความคิด" ลงมา และหากสนับสนุนประชาธิปไตย-ฟรีสปีชจริง ต้องยกเลิกการคุ้มครองพิเศษแก่ประมุขของรัฐ เพราะเป็นการตอกย้ำความคิดเรื่องฐานันดร  โดยรายละเอียดของการโพสต์มีดังนี้ 

0000

ขออภัย ที่ผมต้องสารภาพว่า ผมไม่ได้รู้สึก enthusiastic กับการรณรงค์ของนิติราษฎร์-ครก. ครั้งนี้ เท่ากับอีกหลายๆคน (ดูตัวอย่างล่าสุด กลอนของคุณ เพ็ญ ภัคตะ )

ประเด็นสำคัญประเด็นหนึง (มีหลายประเด็น) ที่ผมเคยพูดไปก่อนการปิด fb เดือนก่อน แต่อยากจะขอพูดอีกที 

คือ ผมเองในหลายปีที่ผ่านมา sympathy อยู่กับพวกบรรดา "เวทีเล็ก" ตั้งแต่สมยศ ถึง สุรชัย ถึงกลุ่มอะไรต่ออะไร (ไมใช่จะเห็นด้วยกับเขา ในแง่เนื้อหาทุกเรื่อง) แต่ผมชอบความ "มัว" ความ spontaneous (ไม่รู้จะแปลไทยว่าอะไร "เป็นไปเอง" "ไม่มีสคริปต์" เท่าไร อะไรแบบนั้น - วันก่อนเจอหน้าคุณ เก๋ไก๋ สไลเดอร์ โดยบังเอิญ ยังทักเธอว่า ไม่ได้เห็นเธอขึ้นเวที นึกถึงวันเก่าๆ เธอบอกว่า วันที่ 22 เดือนนี้ จะมีชุมนุมระลึก 1 ปี ทีสุรชัย ถูกจับ ความจริง ปีกลายช่วงที่สุรชัย จัดติดกัน 4 วัน จนวันสุดท้ายที่ถูกจับ ผมก็แวะไปอยู่ ยังนึกด้วยความเศร้า )
 
และในหลายปีที่ผ่านมา ผมเห็นคนเหล่านี้ พยายาม "เปิดพื้นที่" พยายามจะเรียกร้อง เรื่อง 112 ซึง เรียกว่า เป็นเอกฉันท์ ต้องการให้เลิกเด็ดขาด ...

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39119

“ครก.112” วอนสื่อ นำเสนอการแก้ไข ม.112 ให้รอบด้าน ก่อนจะรุนแรงไปกว่านี

“ครก.112” วอนสื่อ นำเสนอการแก้ไข ม.112 ให้รอบด้าน ก่อนจะรุนแรงไปกว่านี


 
คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 จัดแถลงข่าว วอนทุกฝ่ายช่วยศึกษาข้อเสนอแก้ไข ม.112 ของคณะนิติราษฎร์ให้เข้าใจ พร้อมถกเถียงแลกเปลี่ยนด้วยเหตุผล แต่ถ้าหากยังโจมตีกันด้วยอารมณ์และส่วนตัว  ความแตกแยกอาจยิ่งรุนแรงและสังคมจะไม่อาจเดินหน้าได้ 

5 ก.พ. 55 – คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 (ครก.112) จัดแถลงข่าวและตอบคำถามแก่สื่อมวลชนและผู้ที่สนใจทั่วไป ต่อประเด็นการรณรงค์แก้ไขกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ และกิจกรรมในอนาคตของ ครก.112 วอนสื่อมวลชนช่วยนำเสนอข้อเสนอการแก้ไขมาตรา 112 ของนิติราษฎร์ในทางสาระควบคู่กันด้วย มิเช่นนั้นสังคมอาจยิ่งแตกแยกรุนแรง

การแถลงข่าวของครก. 112 มีขึ้นที่อนุสรณ์สถาน 14 ตุลา ในวันนี้ราว 11 นาฬิกา โดยมีตัวแทนจากหลายกลุ่มร่วมแถลงตอบคำถาม อาทิ สุดา รังกุพันธุ์ อาจารย์จากคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ยุกติ มุกดาวิจิตร กลุ่มสันติประชาธรรม-นักวิชาการคณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา ม .ธรรมศาสตร์ และพรชัย ยวนยี ตัวแทนจากสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย โดยได้รับความสนใจจากสื่อมวลชนจำนวนมาก

ทางกลุ่มครก. 112 ชี้แจงว่า ภายหลังจากการเปิดตัวกลุ่มและข้อเสนอในการแก้ไขประมวลกฎหมาย อาญามาตรา 112 ตามข้อเสนอของคณะนิติราษฎร์ในวันที่ 15 มกราคมที่ผ่านมา ก็มีผลสะท้อนกลับมาจากฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยอย่างรุนแรง อย่างไรก็ตาม ผู้ที่ไม่เห็นด้วย ก็มิได้โต้แย้งในข้อเสนอหรือเนื้อหาสาระ  แต่ส่วนใหญ่เป็นการใช้อารมณ์และโจมตีในทางส่วนบุคคลมากกว่า

 

(อ่านต่อ) 

http://www.prachatai.com/journal/2012/02/39118

ครก.112 แถลงข่าว และตอบคำถาม 05-02-55

ครก.112 แถลงข่าว และตอบคำถาม 05-02-55


 

คณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 แถลงจุดยืนเตรียมสัญจรต่างจังหวัด หวังเดินหน้ารวบรวมรายชื่อ เพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112

ในวันนี้(5 ก.พ) ตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก. 112 จากกลุ่มต่างๆ ได้ร่วมกันแถลงจุดยืนการเคลื่อนไหว โดยล่าสุด นายยุกติ มุกดาวิจิตร อาจารย์คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้แถลงจุดยืนว่า จะเดินหน้ารวบรวมรายชื่อเพื่อแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 ต่อไป เพื่อเสนอร่างแก้ไขตามที่กลุ่มนิติราษฎร์ได้เสนอไว้ต่อรัฐสภา พร้อมจะจัดทำคณะ ครก.112 สัญจรออกไปยังต่างจังหวัด ไม่ใช่แค่ในพื้นที่กรุงเทพมหานครเท่านั้น

โดยตัวแทนคณะ ครก. 112 ได้ย้ำว่า การออกมาเคลื่อนไหว ถือก็เป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญ และได้กล่าวเตือนว่า หากมีใครขัดขวาง โดยใช้ความรุนแรงและข่มขู่การเคลื่อนไหวของคณะ ก็จะเป็นการทำผิดกฎหมาย รวมทั้งถามกลับไปยังกลุ่มผู้ต่อต้านการเคลื่อนไหวของ ครก. 112 ว่า ต้องการจะปกป้องสถาบันหรือต้องการปกป้องตนเองกันแน่


ขณะที่ นายพรชัย ยวนยี เลขาธิการสหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย หรือ สนนท. เปิดเผยว่า จากการทำงานร่วมกับสหพันธ์นิสิตนักศึกษาภาคอีสาน (สนนอ.) พบว่าการเคลื่อนไหวในกลุ่มนักศึกษา ตามสถาบันการศึกษาทั้งในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ หรือในหลายสถาบัน เพื่อพูดคุยถกเถียงในเรื่องนี้ ต้องพบกับสารพัดเหตุผลในการปิดกั้นการเคลื่อนไหว ทั้งที่ตนเองมองว่า สิทธิเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นของนักศึกษาเป็นเรื่องที่ทำได้


(คลิกฟัง) 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=Qy5xpGKBC94