รัฐสวัสดิการกับการต่อสู้ทางชนชั้นในระบบทุนนิยม
http://www.prachatham.com/detail.htm?code=n6_12112013_02
พจนา วลัย
องค์กรเลี้ยวซ้าย (องค์กรสังคมนิยม)
13 พ.ย. 56
ระบบทุนนิยมซึ่งเป็นระบบเศรษฐกิจการเมืองของโลกได้สร้างปัญหาความเหลื่อม ล้ำทางสังคมระหว่างคนรวยกับคนจนมากขึ้น จากการเอารัดเอาเปรียบกดขี่ขูดรีดแรงงาน ผู้เขียนขอยกปัญหาในด้านเศรษฐกิจเชื่อมโยงกับการศึกษาเพื่อให้ผู้อ่านที่ เป็นนักเรียน นักศึกษา เตรียมเป็นกรรมกร/แรงงานในอนาคตมีจิตสำนึกของชนชั้นแรงงาน รวมถึงกรรมกรในทุกสาขาอาชีพมีการเมืองของชนชั้นตัวเอง ไม่หยิบยืมความคิดอุดมการณ์ทางการเมืองของชนชั้นนำมาใช้ในการเคลื่อนไหว
ความ เหลื่อมล้ำในระบบทุนนิยม แท้จริงมาจากปรัชญาของระบบทุนนิยมที่ต้องการสร้าง “ชนชั้น” ขึ้น ชนชั้นที่มีสองชนชั้นหลักในสังคมคือ คนรวย(อภิสิทธิ์ชน) กับ คนจน (คนธรรมดา) แตกต่างกันในด้านสถานะความเป็นอยู่และอำนาจการต่อรอง ดังรูปสามเหลี่ยมปิระมิด ที่ยอดข้างบนเป็นคนส่วนน้อย ส่วนฐานล่างเป็นคนส่วนใหญ่ในสังคม และชนชั้นสองชนชั้นเกี่ยวข้องกัน คือ ความรวยมาจากการทำให้คนอื่นยากจน รวยเพราะขูดรีดส่วนเกินที่มาจากการทำงานของแรงงาน
ก่อนอื่นขอนิยามชน ชั้นนายทุนกับแรงงานเพื่อให้เห็นความแตกต่างของสองชนชั้น นายทุนคือผู้ที่ถือครอง ควบคุมปัจจัยการผลิตสินค้าและบริการ ส่วนแรงงานคือผู้ที่ไร้ปัจจัยการผลิต ทำงานขายแรงรับค่าจ้างเท่านั้น นายทุนผู้ถือครองปัจจัยการผลิตมีอำนาจการต่อรองที่เหนือกว่าและเข้าไปมี อิทธิพลในสถาบัน/กลไกการเมืองการปกครอง ส่วนรัฐในระบบทุนนิยมออกกฎหมายเอื้อประโยชน์ให้นายทุนมีกรรมสิทธิ์ ถือครองปัจจัยการผลิต สินค้าและบริการและมูลค่าทั้งหมดที่ได้มาจากการผลิตแต่เพียงฝ่ายเดียว