หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2555

จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"

จำนรรจา นารีหลุดกาล: คุยกับแอดมิน "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์"


Photo: หมากตีนสยามจักร่วมหมากตีนสากล

“...ล้อเลียนแนวคิดชาตินิยมที่ระบาดอยู่ในปัจจุบัน โดยการแสดงให้เห็นว่าไม่มีวัฒนธรรมที่เป็น "ไทยแท้" แม้แต่ภาษาที่ดูโบราณและดูเป็นไทยจ๋าๆ ก็ยังยืมมาจากภาษาอื่น...”
                                                                                                    แอดมินเพจตะละแม่ฯ


“ถิ่นนี้มีอันตรายร้ายแรงยิ่งนัก หากมิใช่คนตัวกลั่นแท้แล้วไซร้ เห็นทีจักเอาชีวิตรอดมิได้เป็นแม่นมั่น” (แปล - แถวนี้แม่งเถื่อน บอกตรงๆนะถ้าไม่แน่จริงอยู่ไม่ได้) “พลันมีเสียงกัมปนาทแปลบเปรี้ยง บัดเดี๋ยวกลายเป็นข้าวพองกรอบ” (แปล - บู้ม!!! กลายเป็นโกโก้ครั้นช์) หรือ “อยู่บุรีมีจริต ชีพจักต้องวิลิศมาหรา” (แปล - อยู่เมืองดัดจริต ชีวิตต้องป๊อป) และอีกหลายประโยคที่หลายคนในโซเชียลเน็ตเวิร์คอย่างเฟซบุ๊กได้ทายหรือแปลกัน ในช่วงเวลาเกือบ 20 วัน ที่ผ่านมา กับปรากฏการณ์ล้อเลียนทางวัฒนธรรมจากเพจ "ตะละแม่ป๊อปคัลเจอร์" ที่ ล่าสุดมีคนกดไลค์เพจเกือบ 3 หมื่น "อิสรมานพ" หรือ ประชาไท ในภาษาตะละแม่ฯ ได้มีโอกาสสัมภาษณ์ 3 สาวแอดมินเพจนี้ ถึงที่มาและแนวคิดในการตั้งเพจนี้ขึ้นมา


(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42635

นายกฯ เวียดนามสั่งจัดการ 3 บล็อกต้านรัฐบาล

นายกฯ เวียดนามสั่งจัดการ 3 บล็อกต้านรัฐบาล



Another journalist arrested, held incommunicado for past month

File photo (April 2006) of internet users in Vietnam  
Human Rights Watch says Vietnam is continuing to jail bloggers and activists
 
เวียดนามออกแถลงการณ์ผ่านเว็บไซต์รัฐบาล ระบุว่า เหงียน เติ๋น สุง นายกรัฐมนตรีเวียดนามได้สั่งให้เจ้าหน้าที่ตำรวจสืบสวนและจัดการกับผู้อยู่ เบื้องหลังบล็อกภาษาเวียดนาม 3 แห่งที่เขียนโจมตีรัฐบาล โดยระบุว่าจะต้องถูกลงโทษอย่างหนัก รวมถึงสั่งห้ามไม่ให้ข้าราชการเข้าไปอ่านบล็อกเหล่านี้ด้วย

แถลงการณ์ดังกล่าวระบุว่า นี่เป็นแผนชั่วร้ายของกองกำลังฝ่ายศัตรู และว่าบล็อกเหล่านี้ใส่ร้ายผู้นำประเทศ ปั้นน้ำเป็นตัวและบิดเบือนข้อมูล ป่วนพรรคและรัฐ และก่อให้เกิดความสงสัยและความไม่ไว้วางใจในสังคม

ทั้งนี้ 3 บล็อกดังกล่าว มีบล็อก  Dan Lam Bao (ประชาชนทำสื่อ) และ Quan Lam Bao
(ข้า ราชการประจำทำสื่อ) รวมอยู่ด้วย บล็อกทั้งสองแห่งบอกว่าจะเผยแพร่ข้อมูลต่อไป โดยผู้ดูแลบล็อก Dan Lam Bao ระบุว่า เขาและเพื่อนๆ พร้อมจะถูกปราบปรามและคุมขัง มากกว่าจะใช้ชีวิตแบบหมาทึ่มๆ ที่ไม่กล้าเห่า และรับใช้ผู้ที่ใช้อำนาจในทางที่ผิด


เวียดนามนั้นไม่อนุญาตให้มีสื่อเอกชน หนังสือพิมพ์และโทรทัศน์เป็นกิจการของรัฐ ผู้สื่อข่าวซึ่งทำงานให้สำนักข่าวต่างประเทศได้รับอนุญาตให้อาศัยในประเทศ แต่หากจะเดินทางไปรายงานข่าวนอกเมืองหลวงต้องขออนุญาตก่อน ทั้งนี้ หากหัวข้อเรื่องดูเป็นเรื่องอ่อนไหวหรือเป็นอันตรายกับประเทศ ก็มักถูกปฏิเสธอยู่เสมอ

องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดน (RSF) ระบุว่า ปัจจุบัน มีผู้สื่อข่าวอย่างน้อย 5 คนและพลเมืองเน็ต 19 คนถูกจับกุมตัวในเวียดนาม ทั้งนี้ เวียดนามเป็นประเทศที่มีการคุมขังบล็อกเกอร์และผู้เห็นต่างในโลกไซเบอร์ มากเป็นอันดับสามของโลก รองจากจีนและอิหร่าน รวมถึงติดอยู่ใน 1 ใน 12 ประเทศที่องค์การผู้สื่อข่าวไร้พรมแดนจัดให้เป็น "ศัตรูอินเทอร์เน็ต" ด้วย

(ที่มา) 
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42643

องค์กรแรงงานไทย-เทศ ร้องนายก ปล่อย “สมยศ” ทันที

องค์กรแรงงานไทย-เทศ ร้องนายก ปล่อย “สมยศ” ทันที

 

 

แรงงานทั้งไทยและนานาชาติ และคนเสื้อแดงรวม97 องค์กร ร้องนายก ให้สิทธิการประกันตัว สมยศ พฤกษาเกษมสุข ตามมาตรฐานกฎหมายในและระหว่างประเทศ ย้ำนักต่อสู้เพื่อสิทธิฯ จะต้องทำงานโดยไม่ต้องเกรงกลัวภัยใดๆ ด้านศาลนัดพิพากษาคดีวันที่ 19 ก.ย. นี้

วันนี้(14 ก.ย.55) เวลา 10.15 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล ถนนพิษณุโลก นักกิจกรรมด้านแรงงานและเสื้อแดง นำโดย โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Campaign) สหภาพแรงงานประชาธิปไตย องค์กรเลี้ยวซ้าย และกลุ่ม 24 มิถุนาเพื่อประชาธิปไตย ประมาณ 20 คน เดินทางมายื่นจดหมายเรียกร้องต่อ นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ให้ปล่อยตัว นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ถูกคุมขังจากคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ โดยมีนายสมพาศ นิลพันธ์ ผู้อำนวยการศูนย์บริการประชาชน สำนักงานปลัดนายกรัฐมนตรี ออกมารับจดหมายแทนนายกรัฐมนตรี

จากนั้นเวลา 11.00 น. กลุ่มดังกล่าวได้เดินทางไปยังศาลฎีกา สนามหลวง โดยมีเลขานุการประธานศาลฎีกามารับจดหมาย และเวลา 13.00 น. เดินทางไปยื่นจดหมายที่ศาลอาญา รัชดา   โดยนางสาวพัชณีย์ คำหนัก ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เปิดเผยว่า ได้ไปยื่นตรงหน่วยงานสารบรรณทั่วไป เนื่องจากทางเจ้าหน้าที่สำนักอำนวยการประจำศาลอาญาไม่ยินยอมมารับด้วยตัวเอง ที่ด้านหน้าประตูเพราะเกรงเป็นการละเมิดอำนาจศาล

นอกจากข้อเรียกร้องให้มีการปล่อยตัวนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข แล้ว ผู้ประสานงานโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย ยังกล่าวด้วยว่า มีการเรียกร้องให้ปล่อยนักโทษการเมืองทุกคนโดยไม่มีเงื่อนไข และปรับปรุงกระบวนการยุติธรรมให้มีมาตรฐานด้วยการที่ศาลต้องให้สิทธิประกัน ตัวแก่สมยศ เคารพเสรีภาพแห่งความเป็นมนุษย์ ไม่ละเมิดกฎหมายรัฐธรรมนูญ

น.ส.พัชณีย์ คำหนัก กล่าวถึงที่มาของรายชื่อองค์กรแรงงานกว่าร้อยรายชื่อที่ร่วมเรียกร้องสิทธิ ประกันตัวของนายสมยศและนักโทษการเมืองว่า ทาง โครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย เป็นองค์กรด้านแรงงานจึงประสานงานเครือข่ายแรงงานทั่วเอเชียและยุโรปให้ร่วม กันแสดงความสมานฉันท์อีกครั้ง เพื่อรักษากระแสการต่อสู้ของฝ่ายแรงงาน

“พี่สมยศ พฤกษาเกษมสุข ถือเป็นผู้นำแรงงานที่สู้เพื่อประชาธิปไตยที่เราต้องชูขึ้นมาเป็นสัญลักษณ์ เป็นตัวแทนของฝ่ายแรงงานเพื่อประชาธิปไตย ไม่ใช่เพื่อทหารและฝ่ายอนุรักษ์นิยม” น.ส. พัชณีย์กล่าว

จดหมายเรียกร้องดังกล่าวยังระบุด้วยว่า นายสมยศต้องได้รับสิทธิในการประกันตัวเพื่อเป็นไปตามมาตรฐานของกระบวนการ พิจารณาไต่สวนภายใต้กฎหมายในประเทศและระหว่างประเทศ นักต่อสู้เพื่อสิทธิมนุษยชนในประเทศไทยโดยเฉพาะคนที่ทำงานด้านเสรีภาพในการ แสดงออกจะต้องสามารถดำเนินงานด้านสิทธิได้อย่างชอบธรรมโดยไม่ต้องเกรงกลัว ภัยใดๆ และเป็นอิสระจากข้อจำกัดต่างๆ รวมถึงการละเมิดผ่านกระบวนการพิจารณาคดีด้วย

ทั้งนี้ สมยศถูกจับกุมโดยเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ (ดีเอสไอ) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2554 ที่ด่านตรวจคนเข้าเมืองอรัญประเทศ จ.สระแก้ว ขณะนำลูกทัวร์เดินทางเข้าท่องเที่ยวประเทศกัมพูชา โดยคำฟ้องระบุว่าเขาละเมิดกฎหมายหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ เนื่องมาจากนิตยสาร ‘วอยซ์ ออฟ ทักษิณ’ ที่เขาเป็นบรรณาธิการบริหารมีเนื้อหาหมิ่นเบื้องสูง สมยศถูกควบคุมตัวที่เรือนจำพิเศษกรุงเทพตั้งแต่นั้นมา โดยไม่ได้รับสิทธิในการประกันตัว ซึ่งศาลนัดพิพากษาวันที่ 19 ก.ย. 55  เวลา 09.00 น.

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/09/42649

เสวนา: รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน

เสวนา: รัฐสภาไทยในสถานการณ์เปลี่ยนผ่าน


 
 
'ปิยบุตร แสงกนกกุล' ชี้รัฐสภาเป็นสถาบันสำคัญในอดีตที่ยึดอำนาจจากกษัตริย์และเป็นตัวแทนประชาชน แต่ปัจจุบันกลับถูกอุดมการณ์อำนาจเก่าครอบงำอย่างเต็มที่ ในขณะที่ 'ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์' ชี้ทหารก็เคยเป็นส.ส. ในสภา แต่ภาพลักษณ์ที่แย่กลับตกอยู่เฉพาะที่นักการเมือง

13 ก.ย. 55 - คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกับสำนักงานเลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร จัดงานสัมมนาวิชาการในหัวข้อ "รัฐสภาไทยในสถานการณ์ปลี่ยนผ่าน" โดยมีวิทยากรได้แก่ พิชญ์ พงษ์สวัสดิ์ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย  จาตุรนต์ ฉายแสง อดีตหัวหน้าพรรคไทยรักไทย ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ อาจารย์ด้านประวัติศาสตร์-รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยรังสิต และปิยบุตร แสงกนกกุล อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ 
 
ปิยบุตร แสงกนกกุล
อาจารย์จากคณะนิติศาสตร์ ม.ธรรมศาสตร์ และสมาชิกคณะนิติราษฎร์ 
 
กล่าวถึงกำเนิดของระบบรัฐสภา หรือ Parliamentarism ว่ามาจากคำฝรั่งเศสที่แปลว่า สถานที่ที่รวมคนที่พูดไว้ด้วยกัน โดยกำเนิดของระบบรัฐสภานี้เริ่มจากที่ประเทศอังกฤษ เกิดการปฏิวัติปีค.ศ. 1688 รัฐสภายึดอำนาจการออกกฎหมายมาจากกษัตริย์ ทั้งนี้ เขาอธิบายว่า สาเหตุที่รัฐสภาของอังกฤษมีเสถียรภาพมาก เกิดมาจากในช่วงนั้น มีการเอากษัตริย์เยอรมันคือพระเจ้าจอร์จ จากราชวงศ์ฮันโนเวอร์มาปกครอง และด้วยความแตกต่างทางด้านภาษา ทำให้กษัตริย์ไม่เข้ามายุ่งกับการปกครองมาก และค่อยๆ ลดบทบาทลงไป ทำให้อำนาจอยู่ที่สภามากขึ้นและตั้งอยู่ได้อย่างมีเสถียรภาพ
 
ส่วนที่ฝรั่งเศส หลังการปฏิวัติปี 1789 เกิดรัฐธรรมนูญฉบับที่หนึ่งปี 1791 ในช่วงนั้น มีการถกเถียงกันได้ระบบการปกครองแบบใด ปีกขวาในสภาร่างรธน. อยากเอาแบบอังกฤษมาใช้ แต่ไม่ได้รับเลือก จึงทำให้ระบอบการปกครองของฝรั่งเศสคล้ายกันกับระบอบประธานาธิบดีของสหรัฐ อเมริกามากกว่า  โดยมีพระจ้าหลุยส์ เป็นกษัตริย์ที่ดำรงตำแหน่งเป็นประธานาธิบดี และมีสภาทำหน้าที่ออกกฎหมาย มีอำนาจแยกกันเด็ดขาด
 
ต่อมา เมื่อปี 1814 เป็นช่วงที่ฝรั่งเศสเริ่มรับระบบรัฐสภาเข้ามาใช้ ในตอนนั้น พวกกษัตริย์ที่กลับเข้ามามีอำนาจอีกครั้ง เห็นว่ามีระบบที่แบ่งปันอำนาจระหว่างกษัตริย์และประชาชน ต้องการให้อยู่ด้วยกันได้ในระบบการเมือง จึงนำเอาระบบรัฐสภาแบบสองขั้วอำนาจเข้ามาใช้ (Dualism) ภายใต้ระบบนี้ ฝ่ายบริหารต้องบริหารภายใต้ความไว้วางใจและถูกตรวจสอบจาก Head of State และรัฐสภาไปพร้อมๆ กัน แต่ต่อมา ระบบรัฐสภาก็ถูกโค่นล้มไปพร้อมๆ กับการขึ้นมาของนโปเลียน
 
ปิยบุตรกล่าวว่า กว่าระบบรัฐสภาจะลงรากได้มั่นคง ก็เป็นช่วงที่รัฐสภาเป็นแบบขั้วเดียว คือกษัตริย์ถูกดันออกไปจากระบบมากขึ้นเรื่อยๆ และไม่มีอำนาจอีกต่อไป ฉะนั้นฝ่ายบริหารก็รับผิดชอบต่อสภาเท่านั้น แต่อีกซักพักก็เกิดปัญหาคือรัฐสภาไม่ค่อยมีเสถียรภาพเพราะเปลี่ยนบ่อย เนื่องจากเสียงข้างมากของรัฐสภายังไม่ได้มาจากพรรคสองขั้วชัดเจน ส่วนใหญ่จึงเป็นแบบรัฐบาลผสม และนายกฯ ไม่สามารถบริหารประเทศได้อย่างมีประสิทธิภาพมากนัก 
 
ต่อมาจึงมีคนคิดกลไกที่ทำให้รัฐบาลเช้มแข็ง เช่น การห้ามเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจบ่อยเกินไป การเสนอผู้ชิงตำแหน่งนายกฯ หากจะอภิปรายไม่ไว้วางใจนายกฯ การแก้ไขกฎหมายการเลือกตั้งให้เป็นแบบบัญชีรายชื่อ การทำให้เป็นแบบระบบสองพรรคมากขึ้น ระบบนี้ เริ่มพัฒนาขึ้นมาช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ในประเทศยุโรป เช่น เยอรมนี ฝรั่งเศส 
 
ทั้งนี้ ระบบรัฐสภาแบบคลาสสิกมีจุดอ่อนอยู่สองประการ คือ หนึ่ง เป็นที่กลัวว่าจะนำไปสู่การบริหารประเทศโดยรัฐสภา อย่างรัฐธรรมนูญฉบับแรกของไทย ซึ่งจะกำหนดให้รัฐสภาเป็นใหญ่ เป็นผู้บริหารประเทศ ไม่ใช่รัฐบาล มีการตั้งคณะกรรมาธิการเพื่อออกนโยบาย และดำเนินภายในนโยบายที่รัฐสภาเป็นคนออก และเกรงว่า คนที่เข้ามาบริหารประเทศจะไม่เป็นอิสระกับความนิยมของคนที่ลงสมัครเลือกตั้ง อย่างที่สอง คือ ไม่ค่อยมีเสถียรภาพ เนื่องจากต้องเอานายกฯ ที่มาจากเสียงข้างมากของสภา แต่หากไม่มี ก็ต้องเป็นรัฐบาลผสม ซึ่งหากคนที่เป็นนายกไม่มีบารมีมากพอ ก็อาจจะทำการบริหารประเทศได้ยาก 
 
จึงเกิดระบบ "รัฐสภาแบบมีเหตุมีผล" ขึ้นมา โดยไทยเอาเข้ามาช่วงปี 2538- 2540 และอยู่ในรัฐธรรมนูญปี 2540 เพื่อต้องการทำให้รัฐสภามีเสถียรภาพ มีกลไกต่างๆ เพิ่มขึ้น เช่น การห้ามเปิดการอภิปรายไม่ไว้วางใจบ่อยเกินไป การมีระบบบัญรายชื่อ การมีชื่อนายกฯ เข้าไปแข่งขันถ้าอภิปรายไม่ไว้วางใจนายก และต้องใช้เสียงมากกว่าปกติ แต่ปัญหาคือว่า ตอนที่นักคิดในไทยเอาระบบนี้เข้ามาใช้ เป็นช่วงที่อดีตนายกฯ ทักษิณ ชินวัตรเข้ามา นักคิดที่นำระบบนี้เข้ามาจึงไม่กล้าดีเฟนด์ระบบ และเกิดความรู้สึกไม่พอใจที่ทักษิณมีนโยบายที่คุกคามชนชั้นนำเก่ามากขึ้น อย่างไรก็ตาม หากพิจารณาดูกำเนิดของรัฐธรรมนูญปี 2540 จะเห็นว่ามีพัฒนาการที่คล้ายกับสมัยยุโรป แต่บรรดาผู้ที่นำระบบคิดนี้เข้ามาใช้ในไทย กลับพากันงียบหมด เนื่องจากเป็นสมัยของทักษิณ ถึงแม้ในช่วงแรกจะเฉยๆ เนื่องจากเห็นว่าระบบรัฐสภาแบบมีเหตุมีผลใช้งานได้ แต่ช่วงที่สอง เมื่อมีนโยบายคุกคามชนชั้นนำมากขึ้น ก็เริ่มไม่พูดถึงว่า ระบบนี้มีจุดประสงค์อย่างไร

ทำไม รัฐบาลเพื่อไทย แทบไม่ทำอะไรในด้านเกี่ยวกับการเมือง???

ทำไม รัฐบาลเพื่อไทย แทบไม่ทำอะไรในด้านเกี่ยวกับการเมือง???


Posted Image



:down:


http://www.facebook....402216926498259