หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2556

เล่าข่าวนอกกระแส

เล่าข่าวนอกกระแส


เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ที่ 4 มีนาคม 2556 
http://www.prachatai.com/radio/2013/03/192

  
- ฉันทามติทั่วไปว่าด้วยกระบวนการสานเสวนาสันติภาพชายแดนใต้
- สุณัย ผาสุข: นี่เป็นครั้งแรกที่รัฐไทยยอมรับอย่างเปิดเผยว่าต้องเจรจา
- เสนอให้จัดทำเป็นมติคณะรัฐมนตรี สร้างบรรยากาศสันติภาพในชายแดนภาคใต้
- 'ยิ่งลักษณ์' ชี้ลงนามบีอาร์เอ็นไร้การเมืองเอี่ยว
- “อย่าผลักเรา” นักศึกษาประท้วง ไทยพีบีเอส โยงเข้ากลุ่มก่อความรุนแรงชายแดนใต้
- พลทหารแมนนิ่ง: อเมริกามีสิทธิจะได้รู้ "ราคาที่แท้จริงของสงคราม"
- ปฏิทินกิจกรรม


English สะกิดหู : พลทหารแบรดลีย์ แมนนิง The Whistleblower

English สะกิดหู : พลทหารแบรดลีย์ แมนนิง The Whistleblower


  
 
สัปดาห์นี้รู้จักกับคำศัพท์ที่เกี่ยวข้องกับข่าวพลทหารแบรดลีย์ แมนนิง ซึ่งล่าสุดเขารับสารภาพว่าเป็นคนนำเอกสารลับของสหรัฐอเมริกากว่า 7 แสนฉบับมาเผยแพร่ให้กับเว็บไซต์วิกิลีกส์ รู้จักกับคำว่า Whistleblower ที่แปลว่าคนเป่านกหวีด แต่จริงๆ แล้วมีความหมายอื่นอีกคือผู้ให้ข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับประโยชน์สาธารณะ และคำอื่นๆ เช่น espionage, classified documents, to plea (not) guilty, blind plea, naked plea

(คลิกฟัง) 

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 9 มีนาคม 2556

รายการ Intelligence ประจำวันที่ 9 มีนาคม 2556


สื่อสองมุมมอง

สื่อสองมุมมอง
http://www.dailymotion.com/video/xy2dcn_y-yyyyy-yyyy_news#.UTvgDjfc8lU 


ส่งท้ายวันนักข่าว 5 มีนาคม กับมุมมองของตัวแทนสื่อกระแสหลัก และตัวแทนสื่อออนไลน์ ชวรงค์ ลิมป์ปัทมปาณี อดีตนายกสมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์ ผู้เพิ่งพ้นตำแหน่งหมาดๆ กับจีรนุช เปรมชัยพร ผู้อำนวยการเว็บไซต์ประชาไท แลกเปลี่ยนความเห็นว่าด้วยดัชนีชี้วัดเสรีภาพสื่อ ที่ชี้ว่าเสรีภาพสื่อไทยอยู่ในอันดับที่แย่ เป็นเพราะรัฐประหาร 2549 เพราะ ม.112 เพราะ พ.ร.บ.คอมพิวเตอร์ หรือเพราะผู้จัดทำดัชนีเอง จึงทำให้ดัชนีออกมาอย่างไม่น่าจะเป็นไปได้

การปิดกั้นเสรีภาพสื่อ การที่สื่อเซ็นเซอร์ตัวเอง เกิดขึ้นได้อย่างไร องค์กรวิชาชีพจะตรวจสอบจริยธรรมของสื่อได้อย่างไร โดยไม่ถูกมองว่าเข้าข้างกันเอง สหภาพนักข่าวเป็นจริงได้หรือไม่ และมองอย่างไรกับการแบ่งแยก "สื่อแท้" "สื่อเทียม" 

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2556


คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา



รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง
 
คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 10 มีนาคม 2556
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง ตอน 2
http://www.dailymotion.com/video/xy36eo_y-yyyyyyyyy

คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม 2556 
รัฐเวชกรรมกับการควบคุมพลเมือง
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV /1#video=xy2deh

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand  
 


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2
2020 ประเทศไล่ล่าอนาคต
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xy1frc 
  

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
สำหรับมาร์คภาพตัดต่อ ไม่ถือเป็นการใส่ร้าย 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xy1eyq 
  


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 7 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2
คุกคามทางเพศ ไม่ใช่แค่เรื่องลวนลาม

 


Wake Up Thailand ประจำวันที่ 7 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
นิรโทษกรรม ทำซะที 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xy0fed 
  
แนวคิดการทำงานสไตล์ 'ยิ่งลักษณ์'

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2
แนวคิดการทำงานสไตล์ 'ยิ่งลักษณ์' 
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=9YvQ__33_i4 

อะไรเอ่ยเนื้อหาดี โฆษณาน้อย บางคนเกลียด 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
อะไรเอ่ยเนื้อหาดี โฆษณาน้อย บางคนเกลียด
http://www.dailymotion.com/video/xxzing_yyyyyy 




   
คำตัดสินจากศาลแพ่งคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2 
คำตัดสินจากศาลแพ่งคดีเผาเซ็นทรัลเวิลด์
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xxyl5z 

วัดใจทีวีไทย กับความปลอดภัยของน.ศ.ใต้ 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
วัดใจทีวีไทย กับความปลอดภัยของน.ศ.ใต้ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xxykdd 
 
พงศพัศนำทัพ กทม. อย่าพึ่งทิ้งประชาชน

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2556  ตอนที่ 2
พงศพัศนำทัพ กทม. อย่าพึ่งทิ้งประชาชน
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/3#video=xxxm50 



กรุงเทพฯ 'สีฟ้า'! 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2556  ตอนที่ 1
กรุงเทพฯ 'สีฟ้า'!

Divas Cafe

Divas Cafe
  
ฉลองวันสตรีสากล กับ ยามีนา เบนกีกี

Divas Cafe ประจำวันที่ 8 มีนาคม 2556
ฉลองวันสตรีสากล กับ ยามีนา เบนกีกี 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xy1hgl 

 


Divas Cafe ประจำวันที่ 7 มีนาคม 2556
โต้โครงการจำนำข้าว ทำให้คนไทยเป็นมะเร็ง?
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/1#video=xy0h9v 
    

Divas Cafe ประจำวันที่ 6 มีนาคม 2556
ลืมเก่าจำใหม่ กับ ดร.บุญสนอง บุณโยทยาน
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xxzkbc 

Divas Cafe ประจำวันที่ 5 มีนาคม 2556 
เกย์กับการบริจาคเลือด
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/2#video=xxymt0 
 

ความเมือง เรื่องปราสาทพระวิหาร กับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 

Divas Cafe ประจำวันที่ 4 มีนาคม 2556
ความเมือง เรื่องปราสาทพระวิหาร กับ อ.ชาญวิทย์ เกษตรศิริ 
http://www.dailymotion.com/user/VoiceTV/3#video=xxxnvj

เสวนาประชาชน คณะราษฎร

เสวนาประชาชน  คณะราษฎร

 

 
เสวนาประชาชน1 คณะราษฎร อิมพิเลียล
เสวนาประชาชน 2 คณะราษฎร อิมพิเลียล
เสวนาประชาชน 3 คณะราษฎร อิมพิเลียล

สตรีสากล อีนมดำ กับ คำ ผกา

สตรีสากล อีนมดำ กับ คำ ผกา

 


ดูเหมือนว่าคุณสมบัติของกุลสตรีตามค่านิยมไทยจะห่างไกลจาก เธอคนนี้ไปมาก ไหนจะพูดเรื่องเซ็กซ์อย่างเปิดเผย หรือจู่ๆ ลุกขึ้นสลัดผ้าถ่ายเปลือยก็ทำมาแล้ว ทั้งถ่ายแบบนิตยสารจีเอ็ม และ ถ่ายแบบรณรงค์ "ฝ่ามืออากง"อันลือลั่น การเปลือยเรือนร่างครั้งนั้นหลายคนชมว่าเจ๋ง ขณะที่อีกหลายคนร้องยี้ พร้อมวลีสุดแสบ "อีนมดำ"ไหนจะเขียนหนังสือท้าทาย เสียดสี และ เย้ยหยันต่อสิ่งที่เรียกว่าวัฒนธรรมอันดีงามของสังคมไทยอีกล่ะ หากหญิงไทยในอุดมคติเป็นแบบที่เราๆ รู้กัน ตั้งแต่ครั้งโบราณมา คงจะไม่ใช่เธอคนนี้เป็นแน่แท้ ไม่ใช่หญิงสาวหัวสมัยใหม่ บุคลิกอันมาดมั่น โฉบเฉี่ยว ผู้ไม่ไยดีต่อชีวิตแต่งงานคนนี้เป็นแน่แท้ 


เรากำลังพูดถึง ลักขณา ปันวิชัย หรือ แขก เจ้าของนามแฝงฝีปากคม "คำ ผกา" และ "ฮิมิโตะ ณ เกียวโต" วันนี้นอกจากงานเขียนหนังสือแล้ว เธอยังเป็นผู้ดำเนินรายการ คิดเล่นเห็นต่างกับคำผกา และ ดีว่าคาเฟ่ ทางสถานีโทรทัศน์วอยซ์ทีวี อีกด้วย 


ทีมประชาชาติธุรกิจออนไลน์ มีโอกาสนั่งสนทนากับเธอในช่วงสายของวันหลังเสร็จจากงานผู้ดำเนินรายการ เธอเอ่ยปากขอรับประทานอาหารไปด้วยระหว่างการ สนทนา

บทสนทนาอันเข้มข้น ขับเคลื่อนไปพร้อมๆ กับข้าวคำแรกจนหมดคำสุดท้าย  จะเป็นอย่างไร คลิกอ่านรายละเอียดเพิ่มเติม ที่นี่ 

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1362733917&grpid=01&catid=&subcatid= 

สืบทอดเจตนรมณ์ 8 มีนา วันสตรีสากล

สืบทอดเจตนรมณ์ 8 มีนา วันสตรีสากล



สืบทอดเจตนรมณ์ 8 มีนา วันสตรีสากล
ต่อต้านเผด็จการระบอบอำมาต-สร้างประชาธิปไตยให้สมบูร
ณ์

“คลาร่า เซทคิ้น” มิได้เป็นเพียงเพียง นักต่อสู้เพื่อสิทธิสตรีสากลเท่านั้น เธอยังเป็นนักต่อต้านสงคราม และ ต่อสู้กับ ระบบเผด็จการของฮิตเล่อร์ ยาวนานถึง ๑๒ ปี สุดท้าย ถูกกวาดล้าง จนต้องลี้ภัย และ เสียชีวิตในรัสเซีย แต่ผลงานของเธอ ได้สร้างดอกผลต่อ การต่อสู้เพื่อความเป็นธรรม ของสตรี มาจนทุกวันนี้"


รัฐสวัสดิการกับเรื่องผู้หญิง

รัฐสวัสดิการกับเรื่องผู้หญิง

 

แถลงการณ์ “วันสตรีสากล”
เชิดชูบทบาทสตรี รวมพลังทุกชนชั้น 
ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย  เสรีภาพ ความเสมอภาค และความยุติธรรม 

วันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1857 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้า รัฐนิวยอร์ค ประเทศสหรัฐอเมริกาได้พากันลุกฮือประท้วงให้นายจ้างเพิ่มค่าจ้าง และเรียกร้องสิทธิของพวกเธอ แต่สุดท้ายกลับมีผู้หญิงถึง 119 คนต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์นี้ ด้วยการที่มีคนลอบวางเพลิงเผาโรงงานที่พวกเธอนั่งชุมนุมกันอยู่ 

ใน ปี ค.ศ.1907 กรรมกรหญิงในโรงงานทอผ้าที่เมืองชิคาโก ประเทศสหรัฐอเมริกาทนไม่ไหวต่อการเอารัด เอาเปรียบ กดขี่ ทารุณ ของนายจ้างที่ใช้งานพวกเธอเยี่ยงทาส เนื่องจากกรรมกรหญิงเหล่านี้ต้องทำงานหนักถึงวันละ 16-17 ชั่วโมง โดยไม่มีวันหยุด ไม่มีประกันการใช้แรงงานใดๆ เป็นผลให้เกิดความเจ็บป่วยล้มตายตามมาในระยะเวลาอันรวดเร็ว แต่กลับได้รับค่าแรงเพียงน้อยนิด และหากตั้งครรภ์ก็ถูกไล่ออก 

จึงมีการเคลื่อนไหวเรียกร้องสิทธิศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์คืนมา และมี "คลาร่า เซทคิน"นักการเมืองสตรีสายแนวคิดสังคมนิยม ชาวเยอรมัน เป็นผู้นำสำคัญในการเคลื่อนไหว 

บทบาท ของ"คลาร่า เซทคิน" นั้น เป็นแกนนำสำคัญในการต่อต้านอดอล์ฟ ฮิตเลอร์ แห่งพรรคนาซี และต่อต้านการใช้อำนาจเผด็จการ โดยเธอได้กล่าวสุนทรพจน์โจมตีอดอล์ฟ ฮิตเลอร์อย่างรุนแรง จนถึงปี ค.ศ.1933 พรรคนาซีเยอรมันเข้ารวบอำนาจได้อย่างเบ็ดเสร็จ 

เมื่อ อดอล์ฟ ฮิตเลอร์มีอำนาจในการปกครองอย่างเด็ดขาด ทำให้คลาร่า เซทคิน ต้องยุติบทบาทนักการเมืองสายแนวคิดสังคมนิยม ก่อนถูกรัฐบาลตามล่ากวาดล้างจนต้องลี้ภัยไปใช้ชีวิตที่ประเทศรัสเซียแทน และถึงแก่กรรมในปีเดียวกัน

คลาร่า เซทคิน มีบทบาทสำคัญในการเรียกร้องสิทธิ เสรีภาพ และความเสมอภาคให้กับสตรี อีกทั้งยังทำงานเพื่อสตรีมาโดยตลอด ทำให้คลาร่า ได้รับการขนานนามจากกลุ่มองค์กรสตรีนานาชาติว่าเป็น "มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล"

ในการเคลื่อนไหวของคนงานหญิง ได้มีการนัดหยุดงานในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1907 พร้อมกับเรียกร้องให้นายจ้างลดเวลาการทำงานลงเหลือวันละ 8 ชั่วโมง อีกทั้งให้ปรับปรุงสวัสดิการทุกอย่าง และให้สตรีมีสิทธิออกเสียงเลือกตั้งด้วย

อย่างไรก็ตามแม้การเรียก ร้องครั้งนี้ จะไม่ประสบผลสำเร็จ เนื่องจากมีแรงงานหญิงหลายร้อยคนถูกจับกุม แต่ก็ทำให้สตรีทั่วโลกสนับสนุนการกระทำของ "คลาร่า เซทคิน" และเป็นการจุดประกายให้สตรีทั่วโลกเริ่มตระหนักถึงสิทธิของตัวเองมากขึ้น 

ต่อ มาในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1908 มีแรงงานหญิงกว่า 15,000 คน ร่วมเดินขบวนทั่วเมืองนิวยอร์ค เรียกร้องให้ยุติการใช้แรงงานเด็ก โดยมีคำขวัญการรณรงค์ว่า "ขนมปังกับดอกกุหลาบ" ซึ่งหมายถึงการได้รับอาหารที่พอเพียงพร้อมๆ กับคุณภาพชีวิตที่ดีนั่นเอง

จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม ค.ศ.1910 ความพยายามของกรรมกรสตรีกลุ่มนี้ก็ประสบผลสำเร็จ เมื่อมีตัวแทนสตรีจาก 17 ประเทศ เข้าร่วมประชุมสมัชชาสตรีสังคมนิยมครั้งที่ 2 ณ เมืองโคเปนเฮเกน ประเทศเดนมาร์ก โดยในที่ประชุมได้ประกาศรับรองข้อเรียกร้องของบรรดากรรมกรสตรี ในระบบสาม 8 

คือ ยอมให้ลดเวลาทำงานเหลือวันละ 8 ชั่วโมง ให้เวลาศึกษาหาความรู้เพื่อพัฒนาศักยภาพของตัวเองอีก 8 ชั่วโมง และอีก 8 ชั่วโมงเป็นเวลาพักผ่อน 

พร้อมกันนี้ยังได้ปรับค่าแรงของแรงงานหญิงให้เท่าเทียมกับแรงงานชาย และยังมีการคุ้มครองสวัสดิการสตรีและแรงงานเด็กอีกด้วย 

ทั้งนี้ยังได้รับรองข้อเสนอของ "คลาร่า เซทคิน" ด้วยการกำหนดให้วันที่ 8 มีนาคม ของทุกปีเป็นวันสตรีสากล 

ย้อน มองสังคมไทย ประวัติศาสตร์การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานในสังคมไทย ซึ่งมีผู้หญิงจำนวนมากในโลกทุนนิยม ก็หาได้ยอมจำนนต่อระบบทุนนิยมที่เอารัดเอาปรียบผู้ใช้แรงงาน ซึ่งทำให้แรงงานกลายเป็นเพียงสินค้า เป็นเพียงปัจจัยการผลิตเสมือนหุ่นยนต์ตัวหนึ่งในสายพานการผลิต ผู้ใช้แรงงานก็ต่อสู้เพื่อความยุติธรรมเสมอมา ทั้งเรื่องการปรับปรุงสภาพการจ้าง การคุ้มครองหลักประกันสังคม ความปลอดภัยในการทำงาน ฯลฯ และมีผู้ใช้แรงงานจำนวนไม่น้อยที่ก้าวสู่การต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยด้วยเช่น กัน

การต่อสู้ของผู้ใช้แรงงานนั้น เป็นการต่อสู้ทั้งระดับชีวิตประจำวัน และปัญหาทางโครงสร้างนโยบายกฎหมาย โดยมีทั้งระดับปัจเจกชน ระดับกลุ่ม ทั้งรูปแบบสหภาพแรงงาน และรูปแบบอื่นๆ เช่น กลุ่มย่านต่างๆ 


เช่น เดียวกัน การต่อสู้กับระบอบอำมาตยาธิปไตย เพื่อประชาธิปไตย ในสังคมไทยห้วงปัจจุบัน จะเห็นได้ว่า มีผู้หญิงจำนวนมากหลากหลายฐานะ อาชีพ ชนชั้น ตลอดทั้งผู้ใช้แรงงาน

โดยมีเป้าหมายเดียวกัน “อำนาจอธิปไตยต้องเป็นของประชาชน” มีความเชื่อว่า “ทุกคนเท่ากัน” “ไพร่ก็มีหัวใจ” ได้ต่อสู้อย่างอดทน เผชิญกับความยากลำบาก อย่างไม่ท้อถอยในนาม “คนเสื้อแดง”

“วันสตรีสากล”  จึงมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ ให้ความทรงจำกับผู้หญิงผู้ถูกกดขี่ทั่วโลกได้ตระหนักการต่อสู้เพื่อชีวิตที่ ดีกว่า เพื่อศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ เพื่อสิทธิเสรีภาพ เพื่อความเสมอภาคและเพื่อประชาธิปไตย

สำหรับสังคมไทยแล้ว วันสตรีสากลในปีนี้ ย่อมทำให้ต้องตระหนักว่า สิทธิของผู้ใช้แรงงาน และระบอบประชาธิปไตย เป็นสิ่งที่ไม่อาจแยกออกจากกันได้

เฉก เช่นการต่อสู้ของ"คลาร่า เซทคิน" มารดาแห่งการเคลื่อนไหวสตรีสากล ผู้ได้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ใช้แรงงาน และคัดค้านอำนาจนิยมเผด็จการฮิตเลอร์เพื่อเสรีภาพและประชาธิปไตย 

กลุ่มผู้ใช้แรงงานเพื่อประชาธิปไตย ภาคเหนือ
สมาคมส่งเสริมสิทธิแรงงาน(สสร.)
โดย ฮิปโปน้อย 
องค์กรเลี้ยวซ้าย


การกดขี่ผู้หญิงมีหลากหลายรูปแบบไม่ว่าจะในรูปแบบของภาระหน้าที่ที่ ต้องเผชิญ ทัศนคติทางวัฒนธรรมความไม่เท่าเทียมในสิทธิระหว่างหญิงชาย หลายปีที่ผ่านมากลุ่ม องค์กรพัฒนาสังคมต่างๆพยายามหาแนวทางการแก้ปัญหาเหล่านี้ แต่ดูเหมือนแนวทางในการสร้างรัฐสวัสดิการ เพื่อลดการกดขี่ผู้หญิงจะไม่ถูกหยิบยกมาพูดถึงเลย

ถามว่าการมีรัฐสวัสดิการจะช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงอย่างไร?

คำตอบคือการมีรัฐเข้ามาแบ่งเบาภาระของผู้หญิง โดยการเข้ามาดูแลตั้งแต่เรื่องการตั้งครรภ์ การคลอด การเลี้ยงดูเด็กที่เกิดมาจะเอื้อให้ผู้หญิงมีโอกาสในการทำงานนอกบ้านมากขึ้น และการมีอำนาจในทางเศรษฐกิจจะทำให้ผู้หญิงดูแลตนเองได้ และเพิ่มอำนาจการต่อรองแทนการพึ่งพา  รูปธรรมที่ชัดเจนที่บอกว่า รัฐสวัสดิการช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงได้จริง ตัวอย่างเช่นประเทศสวีเดนที่มีระบบรัฐสวัสดิการครบวงจรตั้งแต่เกิดจนตาย สวีเดนช่วยลดการกดขี่ผู้หญิงโดยการนำเอางานบ้านและการเลี้ยงดูลูกมาเป็นภาระ ของรัฐด้วยนโยบายสวัสดิการสำหรับแม่และเด็กในระหว่างตั้งครรภ์และหลังคลอด รัฐออกกฎหมายให้นายจ้างอนุญาตให้ลูกจ้างหญิงเหล่านี้หยุดงานหรือเปลี่ยนงาน ได้ ในสภาวะที่ตัวงานไม่เอื้ออำนวยต่อสภาพร่างกายและจิตใจ โดยการแจ้งนายจ้างล่วงหน้า 1 เดือน  นายจ้างจะต้องหางานที่เหมาะสมให้ หากไม่สามารถหาได้นายจ้างจะต้องจ่ายค่าช่วยเหลือเป็นเงิน 50 วัน นอกจากนี้ลูกจ้างหญิงที่ตั้งครรภ์ยังได้เงินช่วยเหลือเป็นเงิน 80 % ของรายได้ต่อปี ตัวเลขคูณด้วย 0.989 แล้วหารด้วย  365 วัน ต่อปี เมื่อคลอดลูกแล้วก็สามารถลางานหรือหยุดงานไปเลี้ยงลูกได้เป็นเวลาถึง 1 ปี 3 เดือน ซึ่งการลางานในก็จะได้เงินค่าช่วยเหลือในรูปเงินทดแทนจากการขาดรายได้ และยังมีเงินช่วยเหลือเด็กอีก เด็กที่ไม่มีพ่อแม่หรือพ่อแม่เด็กเกษียณแล้ว ก็จะได้เงินช่วยเหลือจนกว่าเด็กจะอายุครบ 16 ปี หรือ 19 ปีในกรณีที่เด็กต้องเรียนต่อ เด็กสามารถได้รับค่าเลี้ยงดูจากรัฐเท่าๆกันหมดโดยที่ไม่สำคัญว่าเด็กคนนั้น จะต้องเป็นคนยากจนที่สุดหรือไม่

เมื่อเด็กคนหนึ่งเข้าสู่วัยเรียน รัฐสวัสดิการสวีเดนจัดให้มีการเรียนฟรี ตั้งแต่ก่อนวัยเรียนจนถึงมหาวิทยาลัย ที่น่าสนใจคือมีสถานรับเลี้ยงเด็กอ่อนให้กับผู้พ่อแม่ที่ต้องออกไปทำงานฟรี ซึ่งจุดนี้ทำให้ผู้หญิงสามารถทำงานนอกบ้านได้อย่างเต็มที่ โดยไม่ต้องกังวลเรื่องลูก ดังนั้นผู้หญิงจึงมีอำนาจการต่อรองอย่างท่าเทียม โดยไม่ตกเป็นเบี้ยล่างหรือผู้รับภาระเพียงผู้เดียวในการเลี้ยงดูบุตร สถานที่เลี้ยงเด็ก โรงเรียนและมหาวิทยาลัยที่รัฐตั้งขึ้นนั้น ก็มีคุณภาพเท่าเทียมกันหมด แม้แต่โรงเรียนเอกชนก็ยังให้เรียนฟรี โดยรับการอุดหนุนงบประมาณจากรัฐ เด็กทุกคนจึงสามารถเข้าถึงการศึกษาได้อย่างเท่าเทียมกันอีกด้วย เมื่อมีงานกิจกรรมที่โรงเรียนพ่อแม่เด็กสามารถลางานไปร่วมกิจกรรมของสมาคม ผู้ปกครองได้ สิ่งนี้สะท้อนการเข้าใจต่อคุณภาพชีวิต และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ที่รัฐพึงมีต่อพลเมืองของตน

อีกประเด็นหนึ่งที่น่าสนใจคือ การทำแท้งเป็นเรื่องของสิทธิผู้หญิง ผู้หญิงสามารถเลือกที่จะเลี้ยงดูเด็กที่จะเกิดมา หรือไม่ก็ได้ตามสิทธิในร่างกายและเนื้อตัวของตนเอง แม้แต่หญิงที่อายุต่ำกว่า 15  ปี ต้องการทำแท้งแล้วไม่ต้องการให้พ่อแม่รู้ เรื่องการทำแท้ง เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ดูแลเรื่องนี้ก็จะเก็บเป็นความลับ ในประเทศสวีเดนการทำแท้งถือเป็นเรื่องถูกกฎหมาย และสถานบริการทำแท้ง เป็นสถานบริการที่ปลอดภัยมีแพทย์ผู้เชี่ยวชาญคอยให้คำปรึกษา เท่านั้นยังไม่พอยังมีการแนะนำการคุมกำเนิด และแจกจ่ายยาคุมกำเนิดฟรี ยังรวมไปถึงการทำหมันฟรีทั้งหญิงชายอีกด้วย
ที่กล่าวมาข้างต้นเป็นเพียงตัวอย่างประเด็นเดียว เกี่ยวกับเรื่องผู้หญิงและเด็ก และรัฐสวัสดิการครบวงจรในประเทศสวีเดน  การสร้างรัฐสวัสดิการนั้น นอกจากเป็นการช่วยแก้ปัญหาความเลื่อมล้ำในระบบทุนนิยมที่ก้าวหน้าที่สุด แล้วยังช่วยทำให้ผู้หญิงมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น  การกดขี่ทางเพศลดลง การต่อสู้เรียกร้องสิทธิของผู้หญิงจึงไม่ควรแยกจากการเรียกร้องรัฐสวัสดิการ ที่เป็นรูปธรรม  สิทธิความเท่าเทียมกับระหว่างหญิงกับชายที่พวกนักสตรีนิยมพูดซ้ำซากถึงต้น ต่อปัญหา ว่าเกิดจากชายเป็นใหญ่ไม่ได้แก้ปัญหาอะไรเลย เพราะผู้ถูกกดขี่ไม่ใช่มีเพียงแต่ผู้หญิงเท่านั้น ผู้ชายเองก็ถูกกดขี่ในระบบทุนนิยมด้วย ดังนั้นการรณรงค์เรื่องสิทธิผู้หญิง เราจึงไม่ควรแบ่งเพศ ผู้ชายก็สามารถเข้าร่วมเคียงบ่าเคียงไหล่กับผู้หญิงได้ การต่อสู้เรื่องสิทธิเสรีภาพ เราต้องรู้ว่าศัตรูคือใคร และต้องหลุดจากวาทกรรมลวงๆที่ชนชั้นปกครองใช้เป็นเครื่องมือในการสลายพลัง สามัคคีระหว่างเพศสักที

(ที่มา)