หน้าเว็บ

วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

สภาประชาชนที่แท้จริง คือสภาคนทำงานในระบบสังคมนิยม ไม่ใช่เผด็จการของสุเทพและของพวกที่อ้างว่าเป็นตัวแทน “ประชาสังคม”

สภาประชาชนที่แท้จริง คือสภาคนทำงานในระบบสังคมนิยม ไม่ใช่เผด็จการของสุเทพและของพวกที่อ้างว่าเป็นตัวแทน “ประชาสังคม


โดย กองบรรณาธิการ นสพ. เลี้ยวซ้าย 

ถ้าไม่มีการเลือกตั้งเสรี จะมีประชาธิปไตยไม่ได้ การเลือกตั้งเสรีหมายถึงการเลือกตั้งที่ไม่มีอุปสรรค์หรือข้อจำกัดสำหรับผู้ลงสมัครรับเลือกตั้ง และผู้ไปลงคะแนนเสียง ไม่ว่าจะเป็นข้อจำกัดทางกฎหมาย เงิน หรือความพร้อม ดังนั้นข้อเสนอเหลวใหลของสุเทพและคนอื่นเรื่อง “สภาประชาชน” ที่ไม่ฟังเสียงประชาชนส่วนใหญ่ กอดคอกับทหาร และกีดกันคนจนออกไป สอบตกในเรื่องประชาธิปไตยตั้งแต่แรก

แต่ถ้าเราจะพัฒนาประชาธิปไตยและระบบการเลือกตั้งให้ดีกว่านี้ คือดีกว่าประชาธิปไตยครึ่งใบของรัฐสภาทุนนิยม เรามีตัวอย่างจากคอมมูนปารีสปี 1871 และการปฏิวัติรัสเซียในช่วงระหว่าง 1917-1923 ก่อนที่เผด็จการสตาลินจะขึ้นมาบนซากศพการปฏิวัติสังคมนิยม

ลักษณะการออกแบบเขตเลือกตั้ง และวิธีเลือกตั้งก็มีผลต่อประชาธิปไตยเป็นอย่างมาก การเลือกตั้งที่มีประชาธิปไตยมากที่สุด เป็นระบบที่เคยพบในสภาคนงานที่เรียกว่าสภา “โซเวียด” หลังการปฏิวัติ 1917 ในรัสเซีย เพราะระบบนี้อาศัยการลงคะแนนหรือลงมติหลังจากที่มีการถกเถียงกันอย่างเสรีต่อหน้าผู้ลงคะแนนเสียง ซึ่งแปลว่าผู้ออกเสียงสามารถพิจารณาข้อถกเถียงของหลายๆ ฝ่าย นอกจากนี้ผู้ออกเสียงจะสามารถประเมินกระแสความคิดของคนอื่นที่จะลงคะแนนร่วมกันได้อีกด้วย และที่สำคัญคือ ผู้แทนที่ได้รับการเลือกตั้งจากสภาคนงานในสถานที่ทำงาน จะถูกตรวจสอบตลอดเวลา และถ้าทำอะไรที่ไม่ถูกใจผู้เลือก จะถูกถอดถอนทันทีและมีการเลือกตั้งใหม่ นี่ลักษณะของประชาธิปไตยทางตรงในระบบสังคมนิยม

นักมาร์คซิสต์ตั้งแต่สมัย คาร์ล มาร์คซ์ จนถึงทุกวันนี้ เป็นกลุ่มคนที่ปกป้องประชาธิปไตยทุนนิยมจากการคุกคามของเผด็จการอย่างคงเส้นคงวามากกว่าสำนักคิดอื่นๆ ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นได้ในวิกฤตการเมืองไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๔๙ หรือวิกฤตการเมืองในกรีซและอียิปต์เป็นต้น

นักมาร์คซิสต์อย่างโรซา ลัคแซมเบอร์ค เคยพิจารณาว่านักปฏิวัติมาร์คซิสต์ที่ต้องการล้มระบบทุนนิยมและพัฒนาสังคมไปสู่ประชาธิปไตยเต็มรูปแบบของสังคมนิยม  ควรมีท่าทีอย่างไรต่อประชาธิปไตยครึ่งใบของทุนนิยม

ในหนังสือ “ปฏิวัติหรือปฏิรูป” โร ซา ลัคแซมเบอร์ค อธิบายว่าการต่อสู้ประจำวันเพื่อการปฏิรูปในกรอบสังคมปัจจุบันของทุนนิยม รวมถึงการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย เป็นโอกาสเดียวของชาวสังคมนิยมที่จะลงมือร่วมสู้ในสงครามชนชั้นของกรรมาชีพ เพื่อบรรลุจุดเป้าหมายสุดท้าย คือการยึดอำนาจทางการเมืองและการทำลายระบบการจ้างงานของเผด็จการนายทุน สำหรับชนชั้นกรรมาชีพระบบประชาธิปไตยทุนนิยมเป็นสิ่งสำคัญยิ่ง เพราะรูปแบบทางการเมืองที่เกิดขึ้นในระบบนี้เช่นการบริหารตนเองและสิทธิใน การลงคะแนนเสียงชนชั้นกรรมาชีพสามารถใช้เป็นจุดเริ่มต้นในการแปรรูปสังคมทุน นิยมได้ การใช้สิทธิเสรีภาพทางประชาธิปไตยในการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยเป็นทางเดียว ที่จะทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเกิดจิตสำนึกในผลประโยชน์ของชนชั้นตนเองและภาระทาง ประวัติศาสตร์ของชนชั้นตนเอง แต่ประชาธิปไตยไม่ได้มีความสำคัญเพราะจะทำให้การปฏิวัติยึดอำนาจโดยชนชั้น กรรมาชีพไม่จำเป็นอีกต่อไป ตรงกันข้ามมันทำให้การยึดอำนาจดังกล่าวมีความจำเป็นชัดเจนขึ้น และมีความเป็นไปได้มากขึ้นอีกด้วย 

สำหรับนักมาร์คซิสต์ ประชาธิปไตยทุนนิยมหรือสิทธิเสรีภาพต่างๆไม่ได้ประทานลงมาจากเบื้องบนหรือถูกออกแบบโดยอภิสิทธิ์ชนแต่อย่างใด  แต่มาจากการต่อสู้ของมวลชนต่างหาก และการต่อสู้ดังกล่าวอาจ “เปิดเผย” เช่นบนท้องถนนหรือ “ซ่อนเร้น” เช่น การต่อสู้เล็กๆน้อยๆประจำวันในสถานที่ทำงานเป็นต้น  ด้วยเหตุนี้การก่อตั้งสหภาพแรงงาน  การออกแถลงการณ์หรือการประท้วงต่อต้านเผด็จการ และการคัดค้านม็อบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ของสุเทพ ล้วนแต่เป็นวิธีหลักในการสร้างประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่ว่าสิ่งเหล่านั้นเป็นเพียง “อุบัติเหตุ” หรือ “ความวุ่นวาย” หรือสิ่งที่ “ไม่เกี่ยวกับประชาธิปไตย” ดังที่กระแสหลักชอบเสนอ  และเราจะเห็นว่าสำนักมาร์คซิสต์มีให้ความสำคัญกับการรวมตัวกันและการกระทำของพลเมืองในการเปลี่ยนสังคม โดยเน้นชนชั้นกรรมาชีพและเกษตรกรยากจน  แทนที่จะเน้นชนชั้นกลาง  แต่นักวิชาการกระแสหลักมองข้ามบทบาทของชนชั้นกรรมาชีพและคนจนในการสร้างประชาธิปไตยเสมอ  

นักมาร์คซิสต์มองว่าการต่อสู้ของมวลชนในฟิลิปปินส์ในปี ค.ศ. 1986 ในอินโดนีเซียในปี ค.ศ. 1998 หรือในไทยในปี พ.ศ. ๒๔๗๕, ๒๕๑๖ และ ๒๕๓๕ เป็นสิ่งที่เปิดพื้นที่ประชาธิปไตย และแม้แต่นักวิชาการที่ไม่ใช่มาร์คซิสต์บางคน เช่น Barrington Moore ยังยอมรับว่าประชาธิปไตยทุนนิยมในตะวันตกเป็นผลมาจากการต่อสู้และการปฏิวัติในอดีต 

นักประวัติศาสตร์คนสำคัญของอังกฤษชื่อ E.P.Thompson ชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยอังกฤษ เดิมถูกจำกัดไว้ในหมู่คนชั้นสูงและคนมีเงินเท่านั้น ซึ่งเป็นรูปแบบที่ม็อบสุเทพต้องการในไทยทุกวันนี้ แต่การต่อสู้ของขบวนการแรงงานอังกฤษเช่นกลุ่ม Chartists เป็นสิ่งที่เปิดพื้นที่ให้พลเมืองทุกระดับมีสิทธิ์ในการลงคะแนนเสียง 

(อ่านต่อ)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2013/12/blog-pos   

10-12-56 ข่าวเที่ยงDNN สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ อ.วิภา ดาวมณี กรณี ความเห็นคัดค้านนายกฯ ม.7 และ สภาประชาชน

10-12-56 ข่าวเที่ยงDNN สัมภาษณ์ทางโทรศัพท์ อ.วิภา ดาวมณี กรณี ความเห็นคัดค้านนายกฯ ม.7 และ สภาประชาชน 

 
 

(คลิกฟัง)

วรเจตน์-เกษียร-ปิยบุตร: เหตุผลค้าน 'สภาประชาชน' หวั่นเกมนอกกติกานำสู่วิกฤตนองเลือด

วรเจตน์-เกษียร-ปิยบุตร: เหตุผลค้าน 'สภาประชาชน' หวั่นเกมนอกกติกานำสู่วิกฤตนองเลือด 

 

 
โฉมหน้าศักดินามหาวิทยาลัย กรณี ทปอ.กับสังคมประชาธิปไตย


10 ธ.ค.2556 ที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กลุ่มนักวิชาการในนามสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) แถลงข่าวข้อโต้แย้งด้านกฎหมายกับแนวคิดการก่อตั้ง “สภาประชาชน” โดย คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข (กปปส.) ที่ประชุมอธิการบดีแห่งประเทศไทย (ทปอ.) และนักวิชาการกลุ่มหนึ่ง

ยังไม่ถึงทางตัน ยังแก้ได้ในระบบ ก่อนเดินสู่สงครามกลางเมือง


 

ศ.เกษียร เตชะพีระ คณะ รัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ กล่าวว่า บ้านเมืองเรายังไม่ถึงทางตัน เราไม่จำเป็นต้องเลือกไปสู่สงครามกลางเมือง ในความรู้สึกเรา วิกฤตนี้กำลังถูกแปรเป็นกฎหมาย ข้อเสนอจำนวนหนึ่ง ในภาวะปกติเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางการเมืองและในทางกฎหมาย แต่โดยเงื่อนไขของวิกฤตนี้ นักวิชาการ คณะบุคคลหนึ่ง กำลังทำให้สิ่งที่เป็นไปไม่ได้ในทางการเมืองกลายเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงไม่ ได้ในทางการเมืองและต้องทำ นี่เป็นสิ่งที่อันตรายอย่างยิ่ง เพราะวางอยู่บนพื้นฐานของการปฏิเสธการเลือกตั้งซึ่งเป็นกระบวนการสำคัญของ ระบอบประชาธิปไตย

“เราผ่านวิกฤตการเมืองมานาน คงเห็นตรงกันแล้วว่า คนไทยเราไม่เหมือนกัน มีกลุ่มที่ความคิดทางการเมืองแตกต่างอย่างมหาศาล แต่เราสามารถทะเลาะกันได้อย่างสันติถ้าเรายอมรับว่าคนไทยเราเท่ากันทางการ เมือง แต่เมื่อปฏิเสธความเท่ากัน ไม่มีทางแก้ปัญหาความแตกต่างทางการเมืองอย่างสันติ ถ้าเราปฏิเสธการเลือกตั้ง ทางข้างหน้าจะมีแต่ความรุนแรงและสงครามกลางเมือง”

“พวกเราไม่เชื่อว่าข้อเสนอเบื้องหน้าเราตอนนี้หลีกเลี่ยงไม่ได้ในทางการ เมือง เรามีโอกาสจะออกจากช่องทางที่อันตราย พาประเทศไปสูความรุนแรงหรือนองเลือดได้”

เกษียรกล่าวต่อว่า การรวมตัวครั้งนี้นักวิชาการที่รู้ด้านนิติศาสตร์ ด้านรัฐศาสตร์ ด้านอื่นๆ ก็เอามรวมกันเพื่อให้สังคมไทยได้แก้ไขความขัดแย้งทางการเมืองที่จริงและใหญ่ โดยไม่ต้องฆ่า  นอกจากนี้ยังมีเครือข่ายศิลปิน นิสิต นักศึกษา ฯลฯ ที่ตั้งใจรณรงค์ให้สังคมได้รับฟังทางเลือก อย่าตกอับกับข้อกล่าวอ้างที่กำลังถูกทำให้เป็นจริงเพราะเป็นเรื่องอันตราย มาก นำพาไปสู่ทางตัน

“เราไม่ต้องการไปสู่ระบอบที่ไม่เป็นประชาธิปไตย ไม่ต้องการเสี่ยงกับสงครามการเมืองเพื่อทดลองสิ่งสร้างสรรค์ทางวิชาการที่ ไม่มีที่ไหนเขาทำ”

 จุดร่วมพื้นฐานที่ควรเป็นบรรทัดฐานของสังคมไทยที่ต้องทำเพื่อให้ผ่านการ ทะเลาะกันอย่างสันติ คือ 1.เราไม่เห็นด้วยกับการดึงเอาสถาบันมายุ่งเกี่ยวกับความขัดแย้งทางการเมือง สถาบันเป็นสมบัติร่วมของชาติ ของคนไทยทั้งหมด ไม่อาจให้คนไทยางกลุ่มดึงไปใช้ได้ 2.เราไม่เห็นด้วยกับการแทรกแซงทางการเมืองของทหาร 3.ต้องการรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพของคนไทย 4.ต้องการรักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย 

นายกฯ ออกจากรักษาการไม่ได้ ภารกิจเพื่อรักษาระบบให้เดินต่อ


 

รศ.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ คณะ นิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรศาสตร์ กล่าวถึงข้อเรียกร้องให้ครม./นายกฯ รักษาการณ์พ้นจากตำแหน่งว่า สภาพขณะนี้ นายกฯ ทูลเกล้ายุบสภาและมีผลใช้บังคับแล้ว กำหนดวันเลือกตั้งแล้วคือ 2 ก.พ.57 ก่อนจะยุบสภามีข้อเสนอมาจากบุคคลจำนวนหนึ่งให้ตั้งนายกฯ คนกลาง โดยขอให้นายกฯ ทูลเกล้ายุบสภา หลังจากนั้นให้ลาออกจากการเป็นรักษาการณ์นายกฯ บางคนบอกให้ยุติการปฏิบัติหน้าที่ บางคนบอกให้ครม.ออกจากรักษาการณ์ทั้งคณะ เพื่อให้เกิดสภาพสุญญากาศ เมื่อเกิดสภาพแบบนี้ให้มีการทูลขอนายกฯ โดยให้พระมหากษัตริย์ใช้พระราชอำนาจตามมารตรา 7 แต่งตั้งคนกลาง

“บางท่านแนบเนียนกว่า ซับซ้อนกว่า คือ ให้ ส.ว. สรรหาบุคคลที่ได้รับการยอมรับ โดยให้ประธานวุฒิสภาทูลเกล้าฯ ให้กษัตริย์แต่งตั้ง ในทางกฎหมายเรื่องนี้ชัดเจนแล้วว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นไปไม่ได้”

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand

 
 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2556 ตอนที่ 2 
'หาทางออกประเทศ' กับ จาตุรนต์ ฉายแสง 
http://www.dailymotion.com/video/x187sg5_หาทางออกประเทศ-ก-บ-จาต-รนต-ฉายแสง 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2556 ตอนที่ 1
ยุบสภา(ประชาชน) = ทางออกของชาติ
http://www.dailymotion.com/video/x187qdz_ย-บสภา-ประชาชน-ทางออกของชาต 
 
Wake Up Thailand Special  ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2556
Wake Up Thailand Special : วิกฤตประชาธิปไตยไทย 
http://www.youtube.com/watch?v=kLxGEbx1bmE

Divas Cafe

Divas Cafe 




Divas Cafe ประจำวันที่ 10 ธันวาคม 2556
How to พิทักษ์ครรลองประชาธิปไตย 
http://www.dailymotion.com/video/x187ueg_how-to-พ-ท-กษ-ครรลองประชาธ-ปไตย_ 

Divas Cafe ประจำวันที่ 9 ธันวาคม 2556
กล้ายุบแต่ไม่กล้ายิง 
http://www.dailymotion.com/video/x186gfe_กล-าย-บแต-ไม-กล-าย-ง  

ทันสถานการณ์

ทันสถานการณ์

 
Photo

คำสั่ง กปปส. ฉบับที่ 2 ให้ยิ่งลักษณ์เป็นกบฎ ทหารรักษาสถานที่ราชการ

สุเทพหารือ พล.อ.ประยุทธ์ และ พล.อ.ประวิตร ก่อนขึ้นปราศรัยช่วงค่ำ
 http://www.prachatai.com/journal/2013/12/5033

ถาม-ตอบ: นักวิชาการจะเอาคอรัปชั่น? เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้ จะให้ทำอย่างไร? ฯลฯ

ถาม-ตอบ: นักวิชาการจะเอาคอรัปชั่น? เลือกตั้งกี่ครั้งก็แพ้ จะให้ทำอย่างไร? ฯลฯ


 
ตอบคำถามเรื่องคอร์รัปชั่น : เกษียร เตชะพีระ
https://www.youtube.com/watch?v=WKuVz4__w8o#t=13 


10 ธ.ค.56 ภายหลังการแถลงข่าวและการออกแถลงการณ์ของสมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) นำโดยนักวิชาการกว่าร้อยคน มีการตั้งคำถามและตอบคำถามที่น่าสนใจ สรุปได้ดังนี้

(คลิปวีดิโอ สามารติดตามชมได้เร็วๆ นี้)

ประวิตร โรจนพฤกษ์ จาก The Nation ตั้งคำถามว่า ถ้าผู้ชุมนุมฝั่งคุณสุเทพถามว่าทำไมไม่พูดเรื่อง abuse of power หรือ คอรัปชั่นเลย จะตอบว่าอย่างไร, การแถลงในวันนี้สื่อถึงคนกลุ่มไหนในสังคมเป็นพิเศษไหม ยังคาดหวังว่าผู้ชุมนุมฝ่ายคุณสุเทพจะยังฟังไหม ในสถานการณ์ทีเกลียดชังกันอย่างมากจนไม่มี trust หลงเหลือ, ถ้าพรรคประชาธิปัตย์ไม่ลงสมัครรับเลือกตั้งซ่อมจะเกิดอะไรขึ้น, มั่นใจแล้วหรือว่าทหารจะไม่เข้ามาแทรกแซง เพราะเอาเข้าจริงการที่ทหารเป็นคนกลางในการเจรจาระหว่างคุณยิ่งลักษณ์และคุณ สุเทพ ก็ชัดเจนว่าทหารมีบทบาทมากกว่าอยู่ในกองทัพ ฯลฯ


เกษียร เตชะพีระ

ประเด็นที่ถามว่า ทำไมที่ประชุมนี้ไม่พูดถึงประเด็น abuse of power หรือ corruption พูดง่ายๆ อันนี้เป็นปัญหา tyranny of the majority ปัญหานี้มีอยู่จริงและผมคิดว่ามีคนไทยจำนวนมากโดยเฉพาะที่มาร่วมชุมนุมคิด ว่านี่เป็นปัญหาหลักของเขา และการที่ออกมาเดินขบวนแทบจะยึดกรุงเทพฯ ทั้งหมด และไม่คิดว่าการเลือกตั้งเป็นคำตอบของเขาด้วยนั้นเพราะเขารู้สึกว่าพวกเขาไป เลือกตั้งทีไรแพ้การเลือกตั้งทุกที เพราะเขาเป็นเสียงข้างน้อย (ผู้ฟังปรบมือ) ที่เลือกตั้งทุกครั้งแล้วแพ้เลือกตั้ง เท่ากับไปพิสูจน์ว่าเขาไม่มีอำนาจ เขารู้สึกว่าไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้เลยในสิ่งที่เป็นปัญหา

ปัญหานั้นมีอยู่จริง ทั้งกระบวนการได้มาซึ่งอำนาจและกระบวนการใช้อำนาจ ปัญหาหลักใหญ่ของพรรคการเมืองไทยคือ “อำนาจทุน” อยู่เหนือ “อำนาจมวลชน” และอำนาจสมาชิกพรรค และไม่เคยมีกลไกกระบวนการที่จำกัดอำนาจทุนที่ครอบงำพรรคการเมือง ไม่มีใครหยิบยกเรื่องนี้ เรื่องนี้เป็นปัญหาประชาธิปไตยที่อื่นด้วย และในที่สุดเราจะต้องติดตั้งกลไกต่างๆ ที่จะจำกัดอำนาจนายเงินนายทุนลง ไม่ให้ไปซื้อพรรคหรือคุมพรรคทั้งหมด กระบวนการนี้ไม่เกิดขึ้นในเร็ววัน และที่สำคัญกระบวนการนี้จะเกิดขึ้นได้และมั่นคงได้ต้องช่วยกันทำในกรอบ ประชาธิปไตย ไม่ใช่หวังว่าจะมีเทวดาที่ไหนลงมาติดปืนยึดอำนาจรัฐ สร้างมันขึ้น มันไม่มี(ผู้ฟังปรบมือ)

รวมทั้งปัญหาทุจริตคอรัปชั่นต่างๆ ผมเข้าใจว่าหลายคนอยากให้ปัญหาพวกนี้ที่มันอันตราย มันเลวร้ายหมดไปในเร็ววัน ไม่มีประเทศไหนในโลกไม่มีปัญหาคอรัปชั่น ต่อให้เป็นประเทศที่เป็นประชาธิปไตยที่สุดก็ตาม แต่ประเทศที่เป็นประชาธิปไตยใช้ประชาธิปไตยจำกัดคอรัปชั่นลง (ผู้ฟังปรบมือ) ไม่ใช่โดยการทำลายประชาธิปไตยเพื่อจะหยุดคอรัปชั่นบางอย่าง แล้วปล่อยให้คอรัปชั่นบางอย่างเกิดขึ้นโดยที่คุณไม่มีเครื่องมือตรวจสอบ

คุณสุเทพต้องการหยุดคอรัปชั่นของทักษิณกับพรรคพวก ถ้ามี คุณสุเทพต้องการหยุดคอรัปชั่นของนักการเมืองฝ่ายรัฐบาล ถ้ามี คำถามคือ โดยผ่านการมอบอำนาจสมบูรณาญาสิทธิ์ให้คุณสุเทพนั่นหรือ (ผู้ฟังปรบมือโห่ร้อง) แล้วถ้าคุณสุเทพคอรัปชั่นล่ะ แล้วถ้าคุณสุเทพกับพรรคประชาธิปัตย์คอรัปชั่นล่ะ แล้วถ้าคุณสุเทพ พรรคประชาธิปัตย์กับกอทัพคอรัปชั่นล่ะ ประชาชนไทยจะหยิบเครื่องมืออะไรไปตรวจสอบคุณสุเทพ เพราะคุณสุเทพรวบอำนาจไว้หมดแล้ว(เสียงปรบมือ)

กลุ่มนักวิชาการตั้ง 'สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย' เห็นต่างข้อเสนอ กปปส.-ทปอ. (แถลงการณ์เต็ม)

กลุ่มนักวิชาการตั้ง 'สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย' เห็นต่างข้อเสนอ กปปส.-ทปอ. (แถลงการณ์เต็ม) 

 

 
 

แถลงการณ์ถึงที่ประชุมอธิการบดีฯ (ทปอ.) : ชาญวิทย์ เกษตรศิริ
https://www.youtube.com/watch?v=dqfQBpzyDDs#t=19 

นายกฯ แต่งตั้งเป็นไปได้หรือไม่ : วรเจตน์ ภาคีรัตน์
https://www.youtube.com/watch?v=Ba_JnYDrUHc 

ทางออกของสังคมไทยจากความขัดแย้ง : เกษียร เตชะพีระ
https://www.youtube.com/watch?v=C7ZT7oj7qvI 

กำเนิดและที่มาของ 'สภาประชาชน' : ปิยบุตร แสงกนกกุล
https://www.youtube.com/watch?v=8QyFbgt1LUU#t=11 

ประชาธิปไตยไทยกับชนชั้นกลาง : ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ
https://www.youtube.com/watch?v=Fm_ltPSOK8g 

ตอบคำถามเรื่องคอร์รัปชั่น : เกษียร เตชะพีระ
https://www.youtube.com/watch?v=WKuVz4__w8o#t=13 

สรุปข้อเสนอของ สปป.: ประจักษ์ ก้องกีรติ
https://www.youtube.com/watch?v=x-xq2gU1JtA 


ตั้ง ‘สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย’ ประกาศจุดร่วมไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวการเมือง ให้ทหารแทรกแซงการเมือง ต้องการรักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ-พื้นที่ประชาธิปไตย

10 ธ.ค.2556 ชาญวิทย์ เกษตรศิริ เกษียร เตชะพีระ พวงทอง ภวัครพันธุ์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ ปิยบุตร แสงกนกกุล และประจักษ์ ก้องกีรติ เป็นตัวแทน สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) ก่อ ตั้งโดยเครือข่ายนักวิชาการ กว่า 150 คน อ่านแถลงการณ์ โดยมีจุดร่วมเบื้องต้นคือ ไม่เห็นด้วยกับการนำสถาบันกษัตริย์มาเกี่ยวข้องกับการเมือง ไม่เห็นด้วยกับการที่ทหารแทรกแซงการเมือง รักษาและขยายพื้นที่สิทธิเสรีภาพ รักษาและขยายพื้นที่ประชาธิปไตย ทั้งนี้ สปป.แจ้งว่า ประชาชนที่สนใจและเห็นด้วยสามารถร่วมลงชื่อในแถลงการณ์ได้ที่แฟนเพจ สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย (สปป.) 

รายละเอียดมีดังนี้ 

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/12/50321 

'สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย' แถลงไม่รับนายกแห่งชาติ

'สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย' แถลงไม่รับนายกแห่งชาติ

 

สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย-สปป. 
เพลง มาร์ชรณรงค์ประชาธิปไตย

 
10 ธ.ค.2556 คณะกรรมการ “สหพันธ์ประชาชนเสรีเพื่อประชาธิปไตย” (สปป.) ออกแถลงการณ์ ฉบับที่ 2 แสดงจุดยืน ต่อต้านรัฐบาลพระราชทาน ปกป้องระบอบประชาธิปไตย นายกฯรักษาการต้องไม่ลาออก และเดินหน้าเอาผู้กระทำผิดมาลงโทษ ในวันที่ 12 ธันวาคม 2556 ซึ่งเป็นวันที่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และ สุเทพ เทือกสุบรรณ ต้องขึ้นศาลในคดีสั่งสลายการชุมนุมคนเสื้อแดงเมื่อปี 2553 โดยมีข้อเสนอต่อฝ่ายต่างๆ ดังนี้
 
ข้อเสนอต่อรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
1. สนับสนุนการตัดสินใจของนายกฯยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ในการ “ยุบสภา” อันเป็นการตัดสินใจที่กล้าหาญ  แสดงถึงการเคารพประชาชน  ที่จะเป็นคนตัดสินอนาคตประเทศไทยเอง
2. ขอสนับสนุน “ไม่ให้” นายกฯรักษาการยิ่งลักษณ์ ชินวัตร “ลาออก” โดยเด็ดขาด  เพราะแค่ “ยุบสภา” ก็แสดงให้เห็นถึง “วุฒิภาวะทางการเมือง” การกระทำดังกล่าวนี้  ถือว่าเป็นการเสียสละครั้งยิ่งใหญ่ต่อประเทศมากพอแล้ว  และสมควรยกย่องเป็น “วีรสตรี” คนใหม่ของแผ่นดินในยุคปัจจุบัน
3. ขอให้กำลังใจรัฐบาลรักษาการยิ่งลักษณ์ และพรรคเพื่อไทย (พท.)  ให้ยืนหยัดต่อสู้เพื่อปกป้องระบอบประชาธิปไตยอย่างถึงที่สุด  และขอสนับสนุนให้นายกฯรักษาการยิ่งลักษณ์ ชินวัตร  ลงสมัครเลือกตั้งปาร์ตี้ลิสต์ อันดับ 1 เพื่อหวนกลับมาเป็นนายกรัฐมนตรี  เพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศและอาเซียน  รวมถึงเดินหน้าแก้ไข “รัฐธรรมนูญ ปี 2550” ทั้งฉบับต่อไป