หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 9 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

ต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน

ต้องเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน


    
  
   
โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์

          
ตอนนี้มันชัดเจนว่าแนวประนีประนอมของพรรคเพื่อไทย และ แนว นปช. ที่เดินตามเพื่อไทย ล้มเหลวโดยสิ้นเชิง

ถ้าเราเข้าใจลักษณะของ “รัฐ” ในระบบการเมืองของโลก ตามที่ มาร์คซ์ เองเกิลส์ และเลนิน เคยอธิบาย เราจะเข้าใจว่าการเป็นรัฐบาลในระบบรัฐสภาประชาธิปไตยทุนนิยม ไม่ใช่สิ่งเดียวกับการคุมอำนาจรัฐเลย เพราะรัฐประกอบไปด้วย ทหาร ศาล ตำรวจ และคุก และรัฐเป็นเครื่องมือของชนชั้นปกครองทุกซีกทุกก๊ก เพื่อกดขี่ชนชั้นอื่นๆ มันไม่เคยเป็นกลางและไม่เคยเป็นประชาธิปไตย แม้แต่ในประชาธิปไตยตะวันตกก็เป็นแบบนี้ เพียงแต่ว่าในประเทศดังกล่าวพลังของคนทำงานและประชาชนโดยทั่วไป คอยห้ามไม่ให้รัฐล้ำเส้นมากเกินไปเท่านั้น แต่ทุกอย่างไม่แน่นอนมั่นคง พื้นที่ประชาธิปไตยไม่ได้แช่แข็ง มันขยายและมันหดได้

วันนี้เราเห็นอำนาจรัฐ ผ่านตลก.(ร้าย)รัฐธรรมนูญ โค่นรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งเป็นครั้งที่สาม ก่อนหน้านั้นเราเห็นทหารทำรัฐประหาร และเห็นทหารเข่นฆ่าคนเสื้อแดงที่ท้าทายเผด็จการและอำนาจรัฐ โดยเรียกร้องประชาธิปไตย เครื่องไม้เครื่องมือในการใช้อำนาจรัฐมีอีกมากมาย เช่นกระบวนการที่คนใหญ่คนโตแต่งตั้งนายกรัฐมนตรี หรือการใช้วุฒิสภาหรือหัวหน้าสถาบันวิชาการ ในการเชียร์พวกที่มุ่งหวังลดพื้นที่ประชาธิปไตย ส่วนม็อบสุเทพก็เป็นเพียงอันธพาลชนชั้นกลาง เป็นคนส่วนน้อย และผู้อยู่ใต้การอุปถัมภ์ของพรรคประชาธิปัตย์ เขาพยายามสร้างภาพว่าเป็นมวลมหาประชาชน แต่การที่เขาทำอะไรก็ได้บนท้องถนน แสดงว่าส่วนต่างๆ ของรัฐสนับสนุนเขา ถือว่าม็อบสุเทพเป็นเครื่องมือที่ให้ “เอกชน” ทำแทน

ทักษิณและนักการเมืองพรรคเพื่อไทยเป็นส่วนหนึ่งของชนชั้นปกครอง และเขาเคยเป็นก๊กหนึ่งของรัฐไทย เพราะรัฐไม่ได้มีลักษณะรวมศูนย์เป็นกลุ่มก้อนเดียวกัน มันเป็น “คณะกรรมการเพื่อร่วมบริหารผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน” อย่างที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เคยเขียนไว้ และมันมีความขัดแย้งภายในด้วย นี่คือสาเหตุที่ทักษิณและนักการเมืองเพื่อไทยไม่ต้องการนำการต่อสู้ที่แตกหักกับกลุ่มอำนาจอนุรักษ์นิยมของรัฐ

แต่ถ้าไทยจะเป็นประชาธิปไตย เราต้องเปลี่ยนการเมืองและสังคมแบบถอนรากถอนโคน ถ้าแค่เล่น “ปฏิกูลการเมืองก่อนเลือกตั้ง” มันไม่มีวันที่จะขยายพื้นที่ประชาธิปไตยได้เลย

สิ่งที่ต้องถูกเปลี่ยนแบบถอนรากถอนโคนมีมากมาย แต่เรื่องหลักๆ เฉพาะหน้าคือ

1. ต้องสร้างพลังของคนธรรมดา เพื่อห้ามการทำลาย หรือจำกัด เสรีภาพประชาธิปไตย และเพื่อให้มีการเคารพพลเมือง ทุกคนต้องมีหนึ่งเสียงเท่ากัน พลังนี้คนอื่นสร้างให้ไม่ได้ ต้องสร้างจากรากหญ้าข้างล่าง

2. ต้องยกเลิกกฏหมาย 112, พรบ.คอมพิวเตอร์ และกฏหมายหมิ่นศาลในรูปแบบปัจจุบัน เพื่อเปิดให้พลเมืองมีสิทธิเสรีภาพในการแสดงออกตามกระบวนการประชาธิปไตยสากล ซึ่งแปลว่าต้องปล่อยนักโทษทางความคิดเช่น สมยศ พฤกษาเกษมสุข และคนอื่น

3. ต้องยกเลิกองค์กรที่อ้างความอิสระ และยกเลิกศาลตุลาการในรูปแบบที่เป็นอยู่ เพราะองค์กรที่อ้างความอิสระทั้งหลายไม่เคยเป็นกลาง และยิ่งกว่านั้นองค์กรที่มาจากการแต่งตั้งโดยทหารหรือฝ่ายเผด็จการอื่นๆ เช่นตลก.(ร้าย)รัฐธรรมนูญ มักใช้อำนาจเผด็จการเหนือผู้แทนที่ได้รับเลือกมาจากประชาชน ที่สำคัญคือแนวคิดเรื่อง “องค์กรอิสระ” เป็นแนวคิดที่มองว่าพลเมืองส่วนใหญ่ไม่มีวุฒิภาวะในการลงคะแนนเสียง จึงต้องให้ “ผู้รู้” คอยควบคุมตรวจสอบ ในอนาคตเราจะต้องคานอำนาจหรือตรวจสอบรัฐบาลและรัฐสภาด้วยองค์กรที่มาจากการเลือกตั้งเท่านั้น

4. ต้องลดบทบาททางการเมืองและสังคมของทหารลงไป เพื่อไม่ให้ทำรัฐประหารหรือแทรกแซงการเมือง ซึ่งแปลว่าต้องลดงบประมาณ ปลดนายพลจำนวนมาก และนำทหารออกจากสื่อมวลชนและรัฐวิสาหกิจ

5. ต้องสร้างมาตรฐานสิทธิมนุษยชน ด้วยการนำ “ฆาตกรรัฐ” มาขึ้นศาล ไม่ว่าจะเป็นทหารระดับสูง หรือนักการเมืองอย่าง อภิสิทธ์ สุเทพ หรือ ทักษิณ และต้องมีการยอมรับอำนาจศาลอาญาระหว่างประเทศอีกด้วย

6. ต้องเก็บภาษีในอัตราสูงจากคนรวยอย่างถ้วนหน้า เพื่อลดความเหลื่อมล้ำผ่านการสร้างรัฐสวัสดิการ

ถ้าจะทำสำเร็จต้องทำพร้อมกัน และทำด้วยความมั่นใจ แต่ที่สำคัญที่สุดคือ ต้องอาศัยพลังที่อยู่นอกกรอบรัฐในการกระทำ คือขบวนการเคลื่อนไหวทางสังคมเพื่อประชาธิปไตยนั้นเอง ซึ่งตอนนี้มีอยู่แล้วในรูปแบบเสื้อแดง อย่างไรก็ตามการเคลื่อนไหวต้องอาศัยแนวความคิดทางการเมือง ซึ่งในขบวนการเสื้อแดงมีหลายแนว ในเมื่อแนวหลักของ นปช. กับเพื่อไทย ใช้ไม่ได้ และไม่มุ่งหวังสร้างประชาธิปไตยจริง กลุ่มคนที่อยากเปลี่ยนสังคมแบบถอนรากถอนโคน ต้องพยายามรวมตัวกันเป็นองค์กร เพื่อช่วงชิงการนำ และเพื่อลงมือสร้างสายสัมพันธ์กับขบวนการสหภาพแรงงานที่เห็นด้วยกับประชาธิปไตย เพราะในสังคมทุนนิยม กรรมาชีพมีพลังถ้ารู้จักใช้

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/05/blog-post_8.html           

จะสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือจะอยู่แบบทาส?

จะสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือจะอยู่แบบทาส?



 

ตามที่หลายคนคาด ในที่สุด “ตลก. (ร้าย) รัฐธรรมนูญ” ก็ก่อรัฐประหารครั้งที่สาม ฝ่ายต้านประชาธิปไตย ไม่ว่าจะเป็นทหาร ข้าราชการชั้นสูง นักการเมืองและอันธพาลประชาธิปัตย์ กับพวกชนชั้นกลางล้าหลังคงดีใจ พวกนักวิชาการและแกนนำ เอ็นจีโอ คงพึงพอใจกับผลงานของตนเอง

 แต่ปัญหาของเรา ชาวประชาธิปไตยคือ เราจะสู้เพื่อประชาธิปไตย หรือจะอยู่แบบทาส? ถ้าเราจะสู้ เราพึ่งพาการนำของพรรคเพื่อไทยไม่ได้ และเราต้องการการนำอย่างจริงจังจากฝ่ายเสื้อแดง ไม่ใช่การนำแบบเดิมของ นปช. ที่กล้าๆ กลัวๆ และนำเราไปสู่การยอมจำนน คำถามคือเสื้อแดงก้าวหน้าและคนที่รักประชาธิปไตยพร้อมหรือยัง ที่จะรวมกลุ่มท่ามกลางความสามัคคี และนำตนเองอิสระจากเพื่อไทย 

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2014/05/blog-post_7.html 

สถานการณ์ โจรยึดเมือง

สถานการณ์ โจรยึดเมือง


 
Photo
 
 
สุเทพเยี่ยมสภา-ขอประธานวุฒิสภาคนใหม่หาทางออกประเทศ

กปปส.บุกสถานีโทรทัศน์-ทำเนียบ-จี้ให้เลิกเสนอข่าวรัฐบาล
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53110 
 
"พุทธะอิสระ" ถูกแก๊สน้ำตา - หลังบุก ศอ.รส.
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53112 

สาระ+ภาพ : 4 ทศวรรษ นายกฯ ไทย หลุดจากเก้าอี้อย่างไร

สาระ+ภาพ : 4 ทศวรรษ นายกฯ ไทย หลุดจากเก้าอี้อย่างไร



 
คลิ๊กดูภาพใหญ่


เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 2557 ศาลรัฐธรรมนูญได้วินิจฉัยให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร พ้นจากตำแหน่งนายกฯ รักษาการ จากกรณีออกคำสั่งย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี โดยมิชอบ นี่นับเป็นอีกครั้งหนึ่งในการออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีไทยโดยองค์กรตามรัฐ ธรรมนูญ

ประชาไทชวนย้อนกลับไปดูการออกจากตำแหน่งของนายกรัฐมนตรีไทยใน 4 ทศวรรษที่ผ่านมา มีวิธีออกจากตำแหน่งที่ไม่ปกติบ่อยครั้ง การรัฐประหารปรากฏอยู่ในทุกทศวรรษ ที่สำคัญคือ ทศวรรษหลังนี้มีนายกฯ ไทยออกจากตำแหน่งโดยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญหลายต่อหลายครั้ง

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53098 

สนนท.ร่อนแถลงไม่รับอำนาจศาลรธน. วอนเปลี่ยนความขัดแย้งผ่านการ ลต.

สนนท.ร่อนแถลงไม่รับอำนาจศาลรธน. วอนเปลี่ยนความขัดแย้งผ่านการ ลต.



 
 

สหพันธ์นิสิตนักศึกษาฯ ระบุฝ่ายอนุรักษ์นิยมแทรกแซงประชาธิปไตย เรียกร้องให้ ปชช. นักศึกษา ไม่รับอำนาจนอกระบบทุกรูปแบบ ยุติสงครามกลางเมืองเปลี่ยนผ่านความขัดแย้งโดยสันติผ่านการเลือกตั้ง ไม่เอานายก ม.7


7 พ.ค. 2557 ภายหลังจากที่ศาลรัฐธรรมนูญมีมติเอกฉันท์ให้ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พร้อมด้วยคณะรัฐมนตรีที่ร่วมมีมติโยกย้ายนายถวิล เปลี่ยนศรี ออกจากตำแหน่งเลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) สิ้นสภาพรัฐมนตรี สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งประเทศไทย(สนนท.) ออกแถลงการณ์ “ไม่รับอำนาจเถื่อนองค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ”

สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ทำความ (ไม่) เข้าใจ คดี ‘ปลดนายก’ เหตุ ‘ย้าย ขรก.’

สัมภาษณ์ วรเจตน์ ภาคีรัตน์: ทำความ (ไม่) เข้าใจ คดี ‘ปลดนายก’ เหตุ ‘ย้าย ขรก.’



 
ศาล รธน.มติเอกฉันท์นายกฯพ้นตำแหน่ง ครม.รักษาการต่อ เว้น รมว.เอี่ยวย้าย ‘ถวิล’
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53058




"ผมไม่รู้ว่ารัฐบาลเป็นยังไง แต่ผมพยายามจะบอกว่า รัฐบาลต้องแย้งว่า รัฐบาลนั้นเคารพรัฐธรรมนูญ และถ้ารัฐบาลเห็นศาลรัฐธรรมนูญปฏิบัติฝ่าฝืนต่อรัฐธรรมนูญ ในฐานะที่เขาเป็นองค์กรทางการเมืองหนึ่งก็ต้องรักษารัฐธรรมนูญไว้เหมือนกัน ตามมาตรา 197 เมื่อเขาเห็นว่า ศาลรัฐธรรมนูญพิพากษาคดีแล้วขัดต่อรัฐธรรมนูญอย่างชัดแจ้ง รัฐบาลย่อมไม่ผูกพันตามคำวินิจฉัยนั้น ซึ่งไม่เห็นเป็นเรื่องที่ผิดปกติหรือน่ากลัวตรงไหน

ไม่เช่นนั้นแล้ว ต่อไปถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอะไร จะผิดขนาดไหนก็ต้องเคารพหมด  เกิดอยู่ดีๆ ศาลรัฐธรรมนูญบ้าจี้ตัดสินประหารชีวิตคนโดยไม่ได้มีอำนาจขนาดนั้น แล้วมีคนคิดว่า คำวินิจฉัยต้องผูกพันกับทุกองค์กรของรัฐ เราควรเคารพหรือ? ดังนั้น โดยหลักแล้ว เราก็ต้องเคารพศาลรัฐธรรมนูญนั่นแหละ มันอาจจะถูกอาจจะผิดรัฐธรรมนูญไปบ้าง แต่เพื่อความสงบสุขในการอยู่ร่วมกัน เราก็ยอมกันบ้าง แต่ถ้าเมื่อไหร่ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญมันถึงขั้นฝ่าฝืนต่อระบบกฎหมายอย่างรุนแรง เป็นคำวินิจฉัยที่ทำลายรัฐธรรมนูญอย่างรุนแรง เช่น มีคำวินิจฉัยให้คณะรัฐมนตรีพ้นทั้งคณะเพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมือง และวินิจฉัยให้มีนายกรัฐมนตรีคนกลาง แบบนี้ก็เป็นคำวินิจฉัยที่ไม่มีใครเคารพได้หรอก เพราะถ้าถึงจุดนั้นต้องถือว่า ศาลรัฐธรรมนูญได้ทำลายรัฐธรรมนูญเสียเอง แล้วเราจะต้องไปเคารพศาลรัฐธรรมนูญที่ทำลายรัฐธรรมนูญเองหรือ? ซึ่งกว่าจะถึงจุดๆ นั้น มันเป็นเรื่องการประเมินทางการเมืองขององค์กรที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นกรณีวันนี้ที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่า ยังไม่ถึงจุดนั้น เขาก็ทำตาม"

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/05/53077