หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2554

ปรองดองแบบมวลชน???


รูปภาพ


โดย กาหลิบ


ใน ขณะที่ผู้เจรจา “ปรองดอง” ทั้งสองฝ่ายกำลังเร่งงานของเขาอยู่นั้น จำเป็นที่พวกเราผู้ร่วมต่อสู้พลีชีวิต เลือดเนื้อ และอนาคตของตนเองเพื่อประชาธิปไตยกันมา ต้องถามตัวเองว่า การ “ปรองดอง” เกิดประโยชน์อย่างไรต่อการพัฒนาประชาธิปไตยของเมืองไทย หรือมีโทษอย่างไรบ้าง เราต้องถามให้ชัดเจนเสียก่อนที่ใครบางคนจะหันกลับมาถามประชาชนผู้รวมพลัง ขึ้นเป็นมวลชนว่า ต้องการจะร่วมในกระบวนการ “ปรองดอง” กับเขาด้วยหรือไม่

เมื่อ มีใครขอให้ลืมเรื่องเก่าและเตรียมก้าวเข้าสู่ห้วงเวลาใหม่ ภาพในห้วงสำนึกและความทรงจำของมวลชนผู้ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยมักจะคล้าย คลึงกัน นั่นคือนึกถึงมวลชนจัดตั้งของฝ่ายตรงข้ามซึ่งหลายคนเรียกว่า “ม็อบมีเส้น” การโค่นทำลายรัฐบาลมวลชนด้วยกลไกตุลาการ วุฒิสภา องค์กรอิสระ องค์กรวิชาชีพที่มีเบื้องหลังเป็นธุรกิจ จนกระทั่งสั่งการให้กองทัพกระทำรัฐประหารยึดอำนาจ

เดิมพันก็สูงถึง ขนาดฆ่าฟันประชาชนกลางถนนหลวงได้ในเวลากลางวันแสกๆ โดยมุ่งจะเด็ดชีพคนบริสุทธิ์เป็นร้อยเป็นพัน แสดงถึงความคิดหวงแหนอำนาจอย่างรุนแรงชนิดแลกกับอะไรก็ได้

นี่คือต้นทุนของมวลชนก่อนที่ใครจะพูดคำว่า “ปรองดอง” ขึ้นมา

พูด ให้เป็นธรรม ก็ต้องยอมรับว่าบางคนที่เกี่ยวข้องกับการเจรจา “ปรองดอง” ก็มีเจตนาที่ดี นั่นคืออยากเห็นบ้านเมืองกลับคืนสู่ความสงบเรียบร้อย โดยหวังให้ส่งผลตรงไปยังเศรษฐกิจและสังคมที่จะกระเตื้องตาม

แต่ใน เจตนาที่ดีนั้นเอง จะปิดตาข้างหนึ่งหรือสองข้างจนไม่เห็นความจริงข้างต้นนั้นหาได้ไม่ ถ้าทำอย่างนั้นก็จะเกิดการปรองดองที่ไม่สมบูรณ์ กลายเป็นระเบิดเวลาลูกใหญ่กว่าเดิมเสียอีก

การวาดภาพตอนจบของละครการเมืองในระดับโศกนาฏกรรมเที่ยวนี้ไม่ใช่เรื่องง่ายสำหรับใครทั้งนั้น ไม่ว่าเทวดาหรือคน

ถ้าอย่างนั้นฝ่ายประชาชนที่รวมตัวเป็นมวลชนประชาธิปไตยแล้วในวันนี้ควรตั้งต้นตรงไหน?

ข้อพิจารณาอันดับแรก อย่าเอาเดิมพันทั้งหมดของฝ่ายประชาชนไปใส่ใน “ปรองดอง”

รูปธรรม คืออย่าลาก “แกนนำ” “แกนตาม” “แกนนอน” และ “แนวร่วม” ของขบวนประชาธิปไตยไปผสมพันธุ์กันอยู่ในหม้อปรองดองเดียวกันหมด เพื่อเคี่ยวไปนานๆ และเคี่ยวพร้อมกันจนเนื้อเปื่อย

ใครอยากจะมอบตัว หรือแสดงเจตนา “ปรองดอง” ให้ทั้งสองฝ่ายประจักษ์ก็ให้ทำไป เพราะอาจเกิดประโยชน์ต่อขบวนการได้หากมีการ “ปรองดอง” กันจริง ผู้ที่พ้น “ตราบาป” ก็จะได้รับหน้าที่หรือมียศถาบรรดาศักดิ์ใดๆ ที่นำมาใช้เกื้อกูลพี่น้องประชาชนต่อมาได้ ไม่ใช่ว่าจะไร้ประโยชน์เสียเลย

ใคร ไม่มั่นใจและต้องการยืนหยัดในการล้อมพื้นที่อำนาจของฝ่ายตรงข้าม แทนที่จะหลุดเข้าไปในพื้นที่อำนาจของ “เขา” ก็ทำงานอยู่นอกพื้นที่นั้นต่อไป มุ่งสร้างองค์กรทำงานที่เข้มแข็งจริงจังเพื่อรองรับสถานการณ์วันที่ “ปรองดอง” มีอันต้องพังพินาศลง ถึงวันนั้นขบวนการประชาชนก็จะไม่สูญเปล่า สภาพการสื่อสารโทรคมนาคมในโลกยุคนี้มีแต่เอื้อเราทั้งสิ้น

อันดับสอง ผู้เจรจา “ปรองดอง” ฝ่ายประชาธิปไตย จะต้องล้วงลึกไปถึงโครงสร้างทางอำนาจของฝ่ายตรงข้ามและนำกลับมาเป็นของ ประชาชนบ้าง ไม่แตะอยู่แค่ผิวเหมือนเครื่องสำอางประทินโฉม

รูปธรรม ของการนี้คือแก้ไขรัฐธรรมนูญได้ทุกมาตรา โดยไม่เว้นหมวดไหนหรือมาตราใด ความในรัฐธรรมนูญใหม่จะต้องส่งผลไปจนถึงการแก้ไขปรับปรุงกฎหมายเครื่องมือ อื่นๆ เช่น กฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ ประมวลกฎหมายอาญา ระเบียบวิธีพิจารณาพิพากษาคดี เป็นต้น

ส่วนการแก้ไขให้เกิดผลจริงๆ นั้นต้องใช้เวลา แง่นี้พอเข้าใจกันได้อยู่ แต่ก็ต้องเปิดประตูไปสู่การแก้ไขเอาไว้ก่อน

กอง ทัพจะต้องลดความสามารถในการฆ่าประชาชนและประหารรัฐ หลักคิดคือทหารเป็นของฝ่ายประชาชน รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งคือผู้บังคับบัญชาสูงสุด ไม่ได้เป็นเพียง “จ๊อกกี้” อย่างที่ประธานองคมนตรีไปเสี้ยมสอนไว้

อันดับสุดท้ายผู้ เจรจา “ปรองดอง” ของฝ่ายประชาชนต้องเจรจาโดยตรงกับหัวหน้าใหญ่ของฝ่ายตรงข้ามเท่านั้น การเจรจากับลูกหาบนั้นเสียเวลาและไม่เกิดประโยชน์โภชย์ผลใดๆ เลย

คงไม่ต้องเอ่ยตรงนี้ว่าต้องเจรจากับคนชื่ออะไร.
เผย "มาร์ค" ไม่ร่วมวงถกนิติราษฎร์ ท้าแน่จริงเลิกเป็นนักวิชาการ "ผบ.ทบ." ชี้ข้อเสนอ "นิติราษฎร์" ทำชาติแตกแยก 

"พรรคประชาธิปัตย์ต้องเปลี่ยนหัวหน้าพรรค หรือเปลี่ยนแปลง - สังคยานาพรรคโดยด่วน!!!
 ตั้งแต่มารค์ตะแบงตลอดมา ผมไม่เคยเห็นครั้งไหนน่าละอายใจเท่าครั้งนี้มาก่อน อภิสิทธิ์ไม่ใช่เก่งแต่พูด หากแต่เก่งแต่พูดฝ่ายเดียวโดยต้องไม่มีคนโต้ตอบด้วย เที่ยววิพากษ์วิจารณ์คนอื่น แต่พออีกฝ่ายเปิดโอกาสให้เข้าร่วมพูดคุยชี้แจง กลับหลีกเลี่ยงหาเหตุ(ที่ฟังไม่ขึ้น)บ่ายเบี่ยงซะอย่างงั้น อภิสิทธิ์ หมดสภาพโดยสมบูรณ์!"

ตีหัวเข้าบ้าน ...
โดนท้าขนาดนี้ นึกว่าแน่ โธ่! ไอ้ขี้คุย

รูปภาพ


อุษาคเนย์เสวนา: นักวิชาการชี้ สตรีก้าวขึ้นสู่อำนาจหลังความรุนแรงมักดำรงตำแหน่งยาวนาน

อุษาคเนย์เสวนา: นักวิชาการชี้ สตรีก้าวขึ้นสู่อำนาจหลังความรุนแรงมักดำรงตำแหน่งยาวนาน

วันที่ 23 ก.ย. 2554 โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ ชมรมอุษาคเนย์ที่รัก สมาคมจดหมายเหตุสยาม จัดการเสวนาหัวข้อ "ผู้นำสตรีในอาเซียน/อุษาคเนย์: Female Leadership in Southeast Asia : Aquino-Megawati-Suu Kyi-Yingluck
โดยมีนักวิชาการด้านเอเชียตะวีนเฉียงใต้ศึกษาร่วมเสวนา ประกอบด้วยคริส เบเกอร์ นักวิชาการอิวระ, อัครพงษ์ ค่ำคูณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์, อรอนงค์ ทิพย์พิมล คณะศิลปศาสตร์ มธ, ดุลยภาค ปรีชารัชช โครงการเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ศึกษา มธ. และพิเชฐ สายพันธ์ คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา เป็นผู้นำเสนอเรื่องราวของผู้นำสตรีในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และ เอเชียใต้ โดยมี สุภัตรา ภูมิประภาส นำการเสวนา และชาญวิทย์ เกษตรศิริ เป็นผู้ดำเนินการเสวนา

(อ่านต่อ...)
http://www.prachatai.com/journal/2011/09/37065
ผู้หญิงไทยควรแลไปข้างหน้าอย่างไร
โดย นุ่มนวล ยัพราช

บทความนี้ตั้งใจเขียนขึ้นมาเพื่อที่จะเชิดชูบทบาทของการต่อสู้ทางชนชั้นของพี่น้องกรรมาชีพและคนชั้นล่างในสังคม และต้องการเห็นความเท่าเทียมทางเพศอย่างสุดหัวใจ ในเมื่อมีความหวังที่อยากจะวาดเป็นเช่นนี้ คำถามต่อมาก็คือ ก้าวต่อไปเราควรจะทำอะไรดี โดยเฉพาะการรื้อฟื้นแนวทางการต่อสู้ของผู้หญิงเพื่อปลดปล่อยตนเอง ในนาทีนี้คำถามที่สำคัญที่สุดคือ เราสามารถปลดแอกตัวเองในระบบทุนนิยมได้หรือไม่ โครงสร้างทางสังคมโดยรวม หรือ ระบบพ่อเป็นใหญ่ อันไหนคือศัตรูอันดับหนึ่ง ????

(อ่านต่อ...)

เลือกตั้งเดนมาร์ก 2554: มุมมองของผู้มาเยือน





โดย จิรัฐสรรพ์ ประมวลศิลป์



(หมายเหตุ ผู้เขียนนักศึกษาชั้นปีที่ 3 โครงการเศรษฐศาสตร์บัณฑิตภาคภาษาอังกฤษ (BE) คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปัจจุบันกำลังศึกษาต่อในฐานะนักศึกษาแลกเปลี่ยน ณ Copenhagen Business School ประเทศเดนมาร์ก) 
เดนมาร์กเป็นประเทศที่ขึ้นชื่อว่ามีความเป็นประชาธิปไตยมากเป็นอันดับ ต้นๆ ของโลก ประชาชนตื่นตัวต่อการเมืองและใช้สิทธิ์เลือกตั้งในระดับสูงมาก มี "รัฐสวัสดิการ" ที่ประสบความสำเร็จและกลายเป็นต้นแบบของหลายประเทศ ทั้งยังเป็นรัฐราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญเช่นเดียวกับประเทศไทย แต่ในขณะเดียวกัน เดนมาร์กเป็นประเทศแรกที่พรรคชาตินิยมได้รับความนิยมสูงมาก มีนโยบายผู้อพยพที่เข้มงวดที่สุดในยุโรป เป็นจุดเริ่มต้นกระแสพรรคชาตินิยมที่แพร่กระจายไปทั่วยุโรปในปัจจุบัน จนทำให้เกิดความกังวลว่ายุโรปจะทำลายคุณค่าประชาธิปไตยที่สะสมมานาน การเลือกตั้งเดนมาร์กซึ่งเกิดขึ้นในวันที่ 15 กันยายนที่ผ่านมาจึงน่าสนใจศึกษาอย่างยิ่ง..

อ่านต่อ...  

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1316869102&grpid=&catid=02&subcatid=0207

ผบ.ทบ.ที่่ร่วมสั่งการสังหารประชาชน ไม่อยู่ในฐานะที่จะว่าใครทำให้ประเทศแตกแยก ได้!

เพราะตัวผบทบ.เองนั่นแหละคือตัวปัญหาของประเทศ มีที่ไหนประเทศที่หัวหน้าทหารที่สั่งฆ่าประชาชนตายไปร่วม100 เจ็บ 2,000 แล้วก็ยังสามารถดำรงอยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อีก อันนี้ ดูถูกสติปัญญาของคนในชาติมากจริง ๆ !



1."ผบ.ทบ." ชี้ข้อเสนอ "นิติราษฎร์" ทำแตกแยก

วันที่ 23 ก.ย. ที่สถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ช่อง 5 (ททบ.5) พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผบ.ทบ. กล่าวถึงข้อเสนอของนักวิชาการกลุ่มนิติราษฎร์ ที่ให้ผลพวงกฎหมายจากการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เสียเปล่า พร้อมทั้งให้แก้ไขม.112 ของประมวลกฎหมายอาญา ว่า เป็นแนวคิดของบรรดานักวิชาการ เพราะท่านมีเสรีในการคิด แต่เวลาจะพูดหรือทำอะไรก็ตาม ต้องระวังว่า จะทำให้เกิดความแตกแยกขึ้นมาหรือไม่ ซึ่งวันนี้บ้านเมืองกำลังเดินทางไปสู่การช่วยเหลือประชาชนที่ประสบภัยน้ำ ท่วม ดังนั้นเรื่องอื่นๆ ขอให้หยุดไว้ก่อนได้หรือไม่ แล้วค่อยมาหารือกัน เพราะทุกอย่างต้องเป็นเรื่องกระบวนการยุติธรรม ต้องใช้กระบวนการยุติธรรมแก้ไขปัญหา การพูดโต้ตอบไปมาไม่เกิดประโยชน์ ตนก็ไม่โต้ตอบดี


2."ประยุทธ์"ลั่น"รมว.กต."ต้องรับผิดชอบ เด้ง"ทูต-หน.คณะทำงานเจบีซี"แล้วเกิดปัญหา

พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) กล่าวถึงการเตรียมข้อมูลให้ พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมในการหารือของคณะกรรมการชายแดนทั่วไป ไทย-กัมพูชา (จีบีซี) ในปลายเดือนพฤศจิกายนว่า ได้เตรียมแล้ว

ถาม ถึงกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศ ย้าย 2 เอกอัครราชทูตคณะทำงานด้านกฎหมายในการต่อสู้คดีในศาลโลก และหัวหน้าคณะทำงานเจบีซี พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า เรื่องกระทรวงการต่างประเทศก็คงเป็นส่วนของท่าน ไม่อาจก้าวล่วง เพราะเป็นคนของกระทรวงการต่างประเทศ แต่การแก้ไขปัญหาต่างๆ เรามีหลักการ หลักฐาน และแนวทางในการปฏิบัติงาน คิดว่าหากมีการเปลี่ยนคน ก็สามารถหาคนที่สามารถดำเนินการต่างๆ ได้อย่างต่อเนื่อง

ถาม ว่า ทั้งสองคนมีความรู้ความสามารถในการแก้ไขปัญหาจะส่งผลกระทบความต่อเนื่องใน การแก้ไขปัญหาหรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า “รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศต้องรับผิดชอบ เพราะท่านเป็นคนเปลี่ยน”

ถามว่า เราไม่ควรเปลี่ยนม้ากลางศึกใช่หรือไม่ พล.อ.ประยุทธ์กล่าวว่า วิจารณ์ไม่ได้ เพราะเป็นเรื่องรัฐบาลและกระทรวงการต่างประเทศ
ข้อเสนอจาก "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" พรุ่งนี้ "นิติราษฎร์" ต้องย้ำประเด็นการดำเนินคดีกับ "คมช." ในข้อหากบฏ-โทษประหาร!
 
ก่อนที่นักวิชาการจากคณะนิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์ จำนวน 7 คน ในนามคณะ "นิติราษฎร์" จะเปิดการแถลงข่าว "ข้อเสนอให้ลบล้างผลพวงจากรัฐประหาร 19 กันยายน 2549" เป็นการเพิ่มเติมในวันที่ 25 กันยายน ล่าสุด "สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล" อาจารย์ภาควิชาประวัติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้เขียนข้อความถึงคณะนิติราษฎร์ผ่านทางเฟซบุ๊กส่วนตัว ซึ่งมีเนื้อหาดังต่อไปนี้ (หมายเหตุ มติชนออนไลน์ขออนุญาตตัดทอนข้อความบางส่วนออกไป และปรับเปลี่ยนถ้อยคำในบางจุด)

ในความเห็นของผม ประเด็นที่พรุ่งนี้ นิติราษฎร์ ควรจะย้ำเป็นอย่างยิ่ง คือ

1. ข้อเสนอ "โรลแบ็ค รัฐประหาร" ของ นิติราษฎร์ นั้น ประกอบด้วยองค์ประกอบ 2 ส่วน ที่ "แยกกันไม่ได้" คือ (ก) ล้มคดีทั้งหมดที่ คมช. ทำ (แต่ไม่ได้ห้ามการดำเนินคดีใหม่) และ (ข) เปิดทางให้ดำเนินคดีกับ คมช. (กบฏ โทษประหารชีวิต) ได้

2. องค์ประกอบ 2 ส่วนนี้ "แยกกันไม่ออก" เพราะ การจะล้มคดีที่ คมช. ทำ ได้ ต้องล้มทุกอย่างของ คมช. รวมทั้งการนิรโทษกรรมตัวเองใน รธน.49 และ 50 ด้วย

...

ดังนั้น ใครที่ชอบออกมาพูดๆ ว่าเป็นข้อเสนอ "เพื่อทักษิณ" จึงเป็นการพูดที่อีเดียต ข้อเสนอนี้ไปไกลกว่าทักษิณ-เพื่อไทย-นปช. เยอะ (องค์ประกอบที่ 2) และในแง่องค์ประกอบที่ 1 เอง ก็อาจจะ ไม่ไกลพอ สำหรับพวกเขาด้วยซ้ำ

3. การที่นักการเมือง โดยเฉพาะค่ายรัฐบาล หรือแม้แต่ นปช. หยิบยกเอาเฉพาะองค์ประกอบที่ 1 มาพูดนั้น พอจะ "เข้าใจได้" (แต่เป็นเรื่องแย่) แต่ที่ เข้าใจไม่ได้คือ สื่อมวลชนเอง โดยเฉพาะค่าย ... นี่ "ตัวดี" มากๆ พาดหัว ... ห่วยแตกติดกันหลายวัน

4. ในแง่ "สังคม" วงกว้างออกไป (บรรดานักวิจารณ์ อาจารย์ นักวิชาการทั้งหลาย) .. การที่ไม่เดือดร้อนกันเลย กับการที่ คมช. นิรโทษกรรมความผิดตัวเอง ที่ร้ายแรงกว่าความผิดในกรณีทักษิณหรือนักการเมือง ไม่รู้กี่ร้อยเท่า (ความผิดประหารชีวิต เทียบกับ ความผิดติดคุก ยึดทรัพย์ ห้ามเล่นการเมือง)

เป็นการ "ดัดจริต" ชนิดสุดๆ มากๆ

เรื่องนี้ก็อีก สื่อมวลชน นี่แหละ มีปัญหามากๆ ที่เอาแต่ถาม เอาแต่พาดหัวประเด็นเรื่องความผิดนักการเมือง ทำราวกับว่า แหม รับไม่ได้ๆๆ จะ "ช่วยคนเดียว" "ช่วยส่วนตัว" ...

แม่ม โทษทีเถอะครับ ไอ้ที่ คมช. ช่วยกันเอง ให้พ้นโทษที่เป็นความผิดหนักสุดในกฎหมายอาญา (กบฏ ประหารชีวิต) พวกคุณ "แม่ม" ไม่เคยรู้จักตั้งคำถามจี้ หรือพาดหัวบ้างหรือไงวะครับ

ในการแถลงครั้งแรกนั้น พอเข้าใจได้อยู่ว่า นิติราษฎร์ เอง พูดถึงองค์ประกอบแรก มากหน่อย เพราะว่า นั่นเป็นสิ่งที่ คมช. "ทำไปแล้ว" มีกฎหมาย มีคำตัดสินของศาล มีคดีต่างๆ ยุบยับ ให้ต้องมาคอย "แก้" จึงต้องมีข้อเสนอรายละเอียดรูปธรรมออกมาให้เห็นว่า จะแก้ยังไง

ขณะที่ องค์ประกอบที่ 2 (เปิดทางให้ดำเนินคดีกับ คมช.) เป็นสิ่งที่ "ยังไม่เกิด" ดังนั้น จึงไม่จำเป็นต้องเสนอรายละเอียดอะไรมากมาย

แต่ผมอยากเสนอว่า พรุ่งนี้ นี่เป็นประเด็นที่น่าจะเน้นย้ำมากๆว่า

ถึงที่สุดแล้ว ข้อเสนอของนิติราษฎร์จริงๆ ที่เป็นหัวใจ หรือ แก่นที่ใหม่ และสำคัญจริงๆ คือ องค์ประกอบที่ 2 นี้ มากกว่าองค์ประกอบที่ 1 ด้วยซ้ำ (เพราะองค์ประกอบที่ 1 นั้น ในที่สุดแล้ว ยังดำเนินคดีได้ แต่องค์ประกอบที่ 2 นี่ เป็นอะไรที่ไม่เคยเกิดขึ้นเลย)

และก็เป็นหัวใจจริงๆ ของการจะ "เบรก" การรัฐประหารครั้งต่อๆ ไปด้วยว่า "คุณอย่าคิดทำนะ ถ้าคุณทำ พอคุณลงจากตำแหน่งเมื่อไร ประชาชนจะเอาขึ้นศาลลงโทษได้" ... นี่แหละเป็นประเด็นสำคัญจริงๆ

ใช้เน็ตติดคุก เล่นเฟสบุ๊คถูกฟ้อง?!?

http://www.youtube.com/watch?v=AAbLRPyi5N4&feature=player_embedded#!