หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 16 เมษายน พ.ศ. 2555

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท - แรงงานไทยไม่ใช่แรงงานทาส

ค่าจ้างขั้นต่ำ 300 บาท - แรงงานไทยไม่ใช่แรงงานทาส





รศ.ดร.พิชิต ลิขิตกิจสมบูรณ์


ในที่สุด มาตรการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำเป็นวันละ 300 บาท ก็เริ่มปฏิบัติเป็นจริงตามมติคณะรัฐมนตรี โดยมีผลบังคับใช้ใน 7 จังหวัด รวมกรุงเทพ จังหวัดโดยรอบ และภูเก็ต ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2555 ที่ผ่านมา ส่วนที่เหลืออีก 70 จังหวัด ในเบื้องต้น ให้ขึ้นค่าจ้างตามสัดส่วนเดียวกัน คือเพิ่มร้อยละ 40 จากอัตราเดิม แต่จะต้องปรับเป็น 300 บาทต่อวันเช่นกันตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2556 เป็นต้นไป

เนื่องจากเป็นการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำครั้งใหญ่ คณะรัฐมนตรีจึงมีมติเพิ่มเติมให้คงอัตราค่าจ้างขั้นต่ำวันละ 300 บาทไว้เป็นเวลาสองปี ซึ่งก็คือปี 2556 และปี 2557 จะไม่มีการปรับขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำอีก ยกเว้นในกรณีภาวะเศรษฐกิจผันผวนอย่างรุนแรงจนกระทบต่อการครองชีพของลูกจ้าง เท่านั้น

มาตรการดังกล่าวเป็นนโยบายที่พรรคเพื่อไทยใช้หาเสียงมาตั้งแต่แรก และถูกต่อต้านอย่างหนักถึงปัจจุบันจากนายจ้างบางกลุ่ม รวมทั้งจากสภาหอการค้าไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย

เสียงคัดค้าน นอกจากจะมาจากนายจ้างที่เดือดร้อนจริงแล้ว ยังมาจากกลุ่มนายจ้างนายทุนใหญ่ที่อิงแอบอยู่กับกลุ่มทุนขุนนางเก่า ทำมาหากินกับระบอบจารีตนิยมของไทยมานานหลายชั่วคน ผูกขาดตัดตอน เอารัดเอาเปรียบแรงงานไทยและผู้บริโภคไทยมานานจนเคยตัว แม้ในระบบการเมืองแบบเลือกตั้ง กลุ่มทุนพวกนี้ ซึ่งรวมศูนย์กันอยู่ในกรุงเทพ ก็มีสายสัมพันธ์ลึกซึ้งกับพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งก็เป็นพรรคการเมืองมือเท้าของพวกจารีตนิยมอีกเช่นกัน

ในการเคลื่อนไหวของกลุ่มอันธพาลเสื้อเหลืองข้างถนนที่ขับไล่รัฐบาลไทยรัก ไทยปี 2549 และรัฐบาลพลังประชาชนปี 2551 ก็มีกลุ่มทุนเก่าพวกนี้บางส่วนเข้าไปให้การสนับสนุนทั้งอย่างลับ ๆ และเปิดเผย สอดประสานกับองคาพยพอื่น ๆ ของพวกจารีตนิยม จึงไม่น่าแปลกใจว่า ในทางกลับกัน คนพวกนี้จึงออกมาเชียร์นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีจากพรรคประชาธิปัตย์ในช่วงปี 2552-53 แต่กลับแสดงอาการผิดหวังอย่างออกนอกหน้าเมื่อพรรคเพื่อไทยชนะเลือกตั้งเมื่อ กรกฎาคม 2554 หลังจากนั้น คนพวกนี้ก็พากันเรียงหน้าออกมา “เตือนรัฐบาล” ในแทบทุกเรื่อง ตั้งแต่การต่อสู้กับภัยน้ำท่วมครั้งใหญ่ นโยบายรถคันแรก การบริหารกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง การลอยตัวราคาน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการขึ้นค่าจ้างขั้นต่ำในครั้งนี้

ความจริงข้อหนึ่งที่นายจ้างกลุ่มทุนเก่าเหล่านี้ไม่ยอมพูดถึงคือ นับแต่วิกฤตเศรษฐกิจปี 2540 เป็นต้นมา ค่าจ้างแรงงานไทยมีการปรับขึ้นช้ามากคือไม่ถึงร้อยละ 2 ต่อปี ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อของประเทศไทยสูงถึงร้อยละ 3-4 ต่อปี ผลก็คือ ค่าจ้างของคนงานไทยล้าหลัง ไล่ตามไม่ทันค่าครองชีพต่อเนื่องมากว่าสิบปีแล้

 สิ่งที่เราสังเกตได้ตลอดหลายปีมานี้คือ คนงานลูกจ้างมีแนวโน้มต้องทำงานเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้ได้รายได้เสริม ทั้งทำงาน “ล่วงเวลา” หรือ “โอที” ในที่ทำงานประจำ ไปจนถึงทำงานรับจ้างที่อื่นหรือค้าขายรายย่อยนอกเวลางานและในวันอาทิตย์ ทั้งนี้ก็เพื่อให้ได้รายได้ที่ไล่ทันกับค่าครองชีพที่พุ่งสูงขึ้นทุกปีนั่น เอง

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40083

ชะตากรรมของผังล้มเจ้า

ชะตากรรมของผังล้มเจ้า

 

โดยสุธาชัย ยิ้มประเสริฐ



ในที่สุด ก็เป็นที่แน่นอนว่า คดีผังล้มเจ้าได้มาถึงจุดจบ เพราะมีแนวโน้มอันชัดเจนว่า กรมสอบสวนคดีพิเศษ หรือ ดีเอสไอ จะปิดสำนวนสั่งไม่ฟ้องคดีนี้

เหตุการณ์ชัดเจนเมื่อวันที่ 30 มีนาคม เมื่อ พ.อ.วิจารณ์ จดแตง ผู้อำนวยการส่วนกฎหมายกองอำนายการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร (กอ.รมน.) ได้เดินทางมาให้ปากคำกับดีเอสไอ ในเรื่องเกี่ยวกับการกระทำความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงแห่งรัฐด้วยการล่วง ละเมิดสถาบันกษัตริย์ พ.อ.วิจารณ์ เป็นหนึ่งในเจ้าหน้าที่สำคัญ ในศูนย์อำนวยการแก้ไขสถานการณ์ฉุกเฉิน (ศอฉ.) เมื่อ พ.ศ.2553 ซึ่งนำเสนอเรื่องผังล้มเจ้า พ.อ.วิจารณ์ได้ให้ปากคำอยู่ราว 2 ชั่วโมง และได้นำเอกสารมามอบให้เป็นหลักฐาน 1 ลัง และ ซีดี 8 แผ่น แต่หลังจากนั้น พ.ต.อ.ประเวช มูลประมุข รองอธิบดีดีเอสไอ กลับแถลงว่า ดีเอสไอได้สอบสวนพยานครบทุกปากแล้ว และจากการตรวจสอบข้อมูลทั้งหมด ก็ยังไม่สามารถระบุตัวผู้กระทำผิดได้ เนื่องจากพยานหลักฐานไม่ชัดเจน จึงจะสั่งไม่ฟ้องคดีนี้ และจะสรุปคดีให้เสร็จก่อนสงกรานต์

พ.ต.อ.ประเวศน์ยังอธิบายรายละเอียดว่า ไม่ปรากฏว่ามีพยานคนไหนให้การว่าใครเป็นคนจัดทำแผนล้มเจ้าขึ้นมา ประกอบกับข้อมูลที่กล่าวหากลุ่มบุคคลในผัง ก็ไม่ปรากฏชัดเจนว่ากลุ่มบุคคลดังกล่าวได้ร่วมกันกระทำผิด ที่ไหน เมื่อไหร่  ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า "เรื่องนี้ไม่มีความชัดเจนมาตั้งแต่เริ่มต้นที่รับเป็นคดีพิเศษมานานเป็นปี แล้ว และเมื่อมีการเปลี่ยนคณะทำงานสอบสวนฯ ผมก็พยายามจะทำให้มันมีอะไร แต่จนถึงขณะนี้ผู้ที่กล่าวหาก็ยังไม่มีมูลที่ชัดเจนให้ดีเอสไอนำไปขยายผลสืบ สวนหาคนผิดได้ หรือที่พูดกันในภาษาชาวบ้านว่าการกล่าวหาลอยๆ"

ย้อนหลังกลับไปตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน พ.ศ.2553 พ.อ.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกของ ศอฉ. ได้แถลงข่าวโดยเสนอถึงแผนผังเครือข่ายชื่อบุคคลที่ พ.อ.สรรเสริญอ้างว่า เป็นเครือข่ายที่ส่อถึงการล้มล้างสถาบันเบื้องสูง จากรายชื่อในแผนผัง จะมี ชื่อของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เป็นใจกลาง และมีโครงข่ายต่างๆคอยแวดล้อมเชื่อมโยงอยู่ โดยหลักๆได้แก่ กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) อันประกอบด้วย นายวีระ มุสิกพงศ์ นายจตุพร พรหมพันธุ์ นายจักรภพ เพ็ญแข  นายสงคราม กิจเลิศไพโรจน์ นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ นายวิสา คัญทัพ และนายก่อแก้ว พิกุลทอง เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีนายสมยศ พฤกษาเกษมสุข นายอดิศร เพียงเกษ นายแพทย์เหวง โตจิราการ นายชูพงษ์ ถี่ถ้วน รวมทั้ง พล.อ.ชวลิต ยงใจยุทธ นายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ และโยงถึงนักวิชาการ เช่น สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ เข้าไปด้วย

หลังจากนั้น สื่อมวลชนกระแสหลัก กลุ่มฝ่ายขวา และสลิ่มสารพัดสี ได้มุ่งเสริมกระแสและโจมตีบุคคลเหล่านี้ โดยอ้างกันว่าเป็นเครือข่ายของขบวนการล้มเจ้า ซึ่งเป็นการจงใจบิดเบือนให้ร้ายผู้ที่ปรากฏชื่อในผังล้มเจ้า และนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรี ก็ออกมาแถลงซ้ำว่าจะออกหมายจับบุคคลตามแผนผังนี้ด้วย แต่ต่อมา นายสุเทพก็ไม่ได้ดำเนินการเช่นนั้น เพียงแต่ในทางความเป็นจริง เรื่องผังล้มเจ้านี้ ก็เป็นส่วนหนึ่งของกระแสในการนำมาสู่การปราบปรามกวาดล้างประชาชนคนเสื้อแดง จนทำให้มีผู้เสียชีวิต 93 คน และบาดเจ็บนับพันคน และมีประชาชนถูกจับกุมติดคุกอีกนับร้อยคน

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/40082

Wake Up Thailand 16เมย55

Wake Up Thailand 16เมย55 

 

Wake Up Thailand 16เมย55

(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=JcugQ_8N9do&feature=relmfu