หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

คุกไทยมีไว้ขังคนคิดต่าง

คุกไทยมีไว้ขังคนคิดต่าง













เจ้าหน้าที่รัฐไทยไม่เคยรับผิดชอบต่อประชาชน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ทำลายหน่ออ่อนของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงของประชาชน 


โดย พจนา วลัย

นับจากเหตุการณ์รัฐประหาร 2549 โค่นล้มรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง และมีรัฐบาลใหม่ที่มาจากการแต่งตั้ง สมคบคิดกับทหารผู้ก่อการ ก่อให้เกิดขบวนการประชาชนผู้ต่อต้านรัฐประหาร ซึ่งนำไปสู่การวิพากษ์วิจารณ์และความขัดแย้งทางความคิดอุดมการณ์อย่างรุนแรง ที่รัฐถึงกับต้องใช้กฎหมายควบคุมความคิดและการแสดงออกทางการเมืองของประชาชน ได้แก่ ก.ม.อาญามาตรา 112 หรือ ก.ม.หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ กฎหมายว่าด้วยการกระทำผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ เป็นต้น อันเป็นการเซ็นเซอร์การ คิด พูด เขียน และนำเสนอต่อสื่อสาธารณะ จนถึงการจับกุมคุมขัง ลงโทษไม่ให้เป็นเยี่ยงอย่าง

ดังกรณีที่สร้างความสะเทือนใจให้แก่ขบวนการประชาชนผู้ต่อต้านรัฐประหาร ผู้รักความเป็นธรรม คือ กรณีนายอำพล(ไม่ขอเปิดเผยนามสกุล) หรือ
“อากง” ที่ได้เสียชีวิตที่โรงพยาบาลประจำเรือนจำพิเศษกรุงเทพ เมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2555 ถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 20 ปี ข้อหาส่งข้อความทางโทรศัพท์ไปยังเลขานุการส่วนตัวของอดีตนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ สี่ข้อความที่ดูหมิ่น อาฆาตมาดร้ายสถาบันกษัตริย์ ทั้งนี้อากงอายุ 61 ปีแล้ว ต้องจำคุกจนถึงอายุ 81 ปี ทั้งอากงไม่ใช่คนเสื้อแดง เป็นคนสามัญธรรมดา ดูแลภรรยา ลูก 3 คน หลาน 4 คน สุขภาพทรุดโทรมลง เคยป่วยเป็นมะเร็งช่องปาก อีกทั้งการพิจารณาคดี ตัดสินพิพากษาของระบบศาลไทยก่อให้เกิดความเสื่อมศรัทธาอย่างมากเพราะด้วย ความไร้มาตรฐาน ละเมิดสิทธิในการประกันตัว

การเสียชีวิตของอากงในขณะติดคุกจึงเป็นผลพวงของการที่เจ้าหน้าที่รัฐปฏิบัติ ต่อเขาอย่างไร้มนุษยธรรม ไร้หลักมนุษยชนมาโดยตลอด อันเป็นการบั่นทอนร่างกายและจิตใจของอากง ส่งผลสะเทือนต่อนักโทษคนอื่นๆ และต่อสังคมในวงกว้าง ทั้งเป็นผลพวงของการที่รัฐเมินเฉยข้อเรียกร้อง
“ปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน” ที่ขบวนการฯ เรียกร้องมาตั้งแต่หลังปราบปรามผู้ชุมนุมที่ ถ.ราชดำเนินและราชประสงค์ปี 2553 จนถึงปัจจุบัน

สิ่งที่ต้องการย้ำ ณ ที่นี้ คือ ปัญหาความไม่ยุติธรรมมาจากปัญหาเชิงโครงสร้างที่บีบคั้นให้คนไม่ผิดกลายเป็น คนผิด และรัฐไทยจึงควรรับผิดชอบต่อผู้ถูกกระทำทั้งหลาย


คุกไทยนอกจากจะมีไว้ขังคนจน ยังมีไว้ขังคนคิดเห็นต่าง


คุกไทยเลวร้ายยิ่งกว่าโรงงานนรก เพราะผู้ต้องขัง ซึ่งเป็นผู้ที่ต่ำต้อยที่สุดของสังคมอยู่ในสภาพที่เลวยิ่งกว่าความผิดของตัว เอง ผู้เขียนต้องการเป็นปากเสียงให้แก่เหยื่อของเผด็จการที่นำกฎหมายหมิ่นพระบรม เดชานุภาพมาใช้เป็นเครื่องมือปิดหู ปิดตา ปิดปากประชาชนที่คัดค้านการทำรัฐประหาร ดังเห็นได้จากจำนวนคดีที่เพิ่มขึ้นมากมายเป็นร้อยๆ คดี พร้อมกับบทลงโทษที่หนัก ตัวอย่างกรณีดารณี ชาญเชิงศิลปกุล ถูกจำคุกมาแล้วร่วม 3 ปี ก่อนถูกศาลชั้นต้นพิพากษาจำคุก 18 ปี  กรณีของสมยศ พฤกษาเกษมสุข นักรณรงค์สิทธิแรงงานติดคุกฟรี ไม่ได้รับการประกันตัวใดๆ และคดียังไม่ถูกตัดสิน หรือกรณีสุรชัย ด่านวัฒนานุสรณ์ และคนอื่นๆ  คนเหล่านี้คือคนที่คิดต่างแต่มีชีวิตอยู่เยี่ยงอาชญากรฆ่าคน สภาพเช่นนี้สะท้อนถึงปัญหาเชิงโครงสร้างของสังคมไทย  คือ


1. วาทกรรมของผู้มีอำนาจรัฐมักพูดว่า
"ถ้าไม่อยากติดคุก ก็อย่าทำผิดสิ"  เป็นทัศนะที่ผิดเพราะคนที่พูดแบบนี้จะไม่มีวัน "ปฏิรูป" "แก้ไข" กฎหมาย กระบวนการยุติธรรมและระบบสังคม คนแบบนี้จะเรียกร้องให้ประชาชนเคารพกฎหมาย แต่จะไม่ยอมให้ประชาชนเข้าไปแก้กฎหมาย ซึ่งเป็นการปิดกั้นสิทธิเสรีภาพในการวิพากษ์วิจารณ์ ปิดกั้นการมีส่วนร่วมทางการเมืองตามระบอบประชาธิปไตย แต่กลับเป็นการสร้างรัฐแบบอำนาจนิยม ฟาสซิสต์ นาซี

2. คนไม่ผิดแต่ถูกทำให้ผิด กรณีสมยศ พฤกษาเกษมสุข เป็นเพียงผู้ต้องหา แต่ถูกล่ามโซ่ก่อนตัดสินคดี ต้องแต่งชุดนักโทษ อันเป็นการละเมิดมาตรฐานยุติธรรมพื้นฐาน เพราะเขาควรได้รับการพิจารณาว่าเป็นผู้บริสุทธิ์ก่อนการตัดสินคดี การที่ผู้ต้องหาต้องเข้าไปในห้องศาลในสภาพเช่นนั้น แทนที่จะแต่งตัวด้วยเสื้อผ้าของตนเองและปราศจากโซ่ เป็นการสร้างภาพในห้องศาลว่าคนนี้เป็น
“ผู้ร้าย” ซึ่งมักมีผลต่อการตัดสินคดีในอนาคต และสมยศอาจประสบชะตากรรมเช่นเดียวกับนักโทษคดีหมิ่นฯ คนอื่นๆ

จากนั้นเมื่อถูกพิพากษาว่าทำผิดก็เข้าไปอยู่ในคุก พบกับสภาพที่เลวร้ายยิ่งกว่าความผิดของตัวเอง ดังกรณี ดา ตอปิโด และนักโทษการเมืองเสื้อแดงที่ถูกขังฟรีด้วยข้อหาก่อการร้าย ละเมิด พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ กฎหมายหมิ่นฯ  ซึ่งถูกเจ้าหน้าที่เลือกปฏิบัติ ไม่มีทนาย ไม่ติดต่อญาติ ถูกซ้อมทรมาน ไม่ได้รับการรักษาพยาบาลที่ดีเมื่อเจ็บป่วย อยู่กันอัดแน่นในห้องขัง พลิกตัวไม่ได้ อาหารด้อยคุณภาพ ต่อแถวยาว การขังแบบเหมารวม ผู้ต้องขังด้วยข้อหาลักเล็กขโมยน้อย มีโทษจำคุกไม่กี่ปี แต่ถูกนำไปขังรวมกับนักโทษคดีอุกฉกรรจ์ ถูกนักโทษด้วยกันกลั่นแกล้ง อันเป็นการละเมิดสิทธิของผู้ต้องขัง คุกไทยจึงเป็นสภาพที่ก่อให้เกิดแรงกดดัน ความเครียด นำไปสู่การฆ่าตัวตาย หรือฆาตกรรมภายในคุก


เบื้องต้นนี้ต้องการบอกว่า การทำผิดของคนไม่ใช่เรื่องปัจเจกบุคคล แต่ระบบสังคมก็เป็นปัจจัยที่บีบคั้นให้คนไม่ผิดกลายเป็นคนผิด เราจึงต้องเข้าไปตรวจสอบโครงสร้างสังคมไทยที่มีลักษณะชนชั้น ใช้เส้นสาย เลือกปฏิบัติ กีดกันคนจนให้ด้อยโอกาส ปิดกั้น ทำลายผู้ที่เห็นต่างจากผู้มีอำนาจ ไม่ให้ได้รับการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพ จนถึงขั้นใช้ความรุนแรงกับประชาชน(ที่เรียกว่าอาชญากรรมโดยรัฐ)


กระนั้น เจ้าหน้าที่รัฐไทยไม่เคยรับผิดชอบต่อประชาชน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงจากเจ้าหน้าที่รัฐเอง ตกเป็นเหยื่อของกฎหมายที่ลิดรอนสิทธิเสรีภาพในการแสดงออก ทำลายหน่ออ่อนของการต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย ซึ่งเป็นการทำลายความมั่นคงของประชาชน  แต่ไปสร้างเสริมความมั่นคงของผู้มีอำนาจรัฐแทน ให้สามารถกดขี่ข่มเหงประชาชนคนยากจน คนด้อยโอกาสให้ไร้อำนาจต่อไป


สำหรับโครงสร้างสังคมแบบชนชั้นประกอบด้วยใครกันบ้างที่เกี่ยวข้องกับ เหตุการณ์ปัญหาดังที่กล่าวมาทั้งหมด  เริ่มต้น ผู้ที่ต้องรับผิดชอบคือ ผู้นำรัฐบาล ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ที่ถูกเลือกมาจากอำนาจของประชาชน เนื่องจากมีอำนาจบริหารที่สามารถออกกฎหมายปล่อยตัวนักโทษการเมืองชั่วคราว ได้ รวมไปจนถึงหาวิธีการนำอดีตผู้นำรัฐบาลพรรคประชาธิปัตย์ ทหารที่เกี่ยวข้องกับการใช้กำลังทหาร อาวุธสงครามเข้าสลายการชุมนุมของประชาชนเมื่อเดือนเมษายน-พฤษภาคม 2553 เข้าสู่กระบวนการยุติธรรมและลงโทษได้  แต่กลับเพิกเฉย และเลือกที่จะหาหนทางช่วยเหลือเฉพาะกรณี เช่น กรณีพ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี


รัฐบาลคือองค์ประกอบหนึ่งของรัฐไทยที่กำลังตอกย้ำความขัดแย้งที่ยังดำรง อยู่ และค้ำยันโครงสร้างสังคมชนชั้นแห่งนี้ หากไม่รีบดำเนินการปล่อยตัวนักโทษการเมืองทุกคน โดยไม่มีเงื่อนไข ยกเลิกกฎหมายอาญา มาตรา 112 ก็จะเป็นการสร้างความเจ็บช้ำให้แก่ขบวนการประชาธิปไตย และเพิ่มพูนผลพวงจากระบบยุติธรรมสองมาตรฐานให้บานปลายเรื้อรังต่อไปอีก

(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/11/blog-post.html 

Wake up Thailnad ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

Wake up Thailnad ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555



พิสูจน์แล้ว ติดคุกฟรีคดี 112

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xur1nq

The Daily Dose ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

The Daily Dose ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555


ธนาคารยุโรปรับผิดชอบตนเอง 

 
โรงไฟฟ้านิวเคลียร์อาจอยู่ไหนบ้าง?

 

(คลิกฟัง)
http://www.dailymotion.com/video/xurh4w

Divas Cafe ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555

Divas Cafe ประจำวันที่ 1 พฤศจิกายน 2555




ไทยรั้งท้าย !! ใช้ภาษาอังกฤษยอดแย่ในอาเซียน

(คลิกฟัง) 
http://www.dailymotion.com/video/xuralb

ยุทธศาสตร์ 9+1 รัฐมนตรี ปฏิบัติการรวมศูนย์อำนาจที่ทำเนียบ !!

ยุทธศาสตร์ 9+1 รัฐมนตรี ปฏิบัติการรวมศูนย์อำนาจที่ทำเนียบ !!

 

Posted Image

 

การปรับคณะรัฐมนตรี "ยิ่งลักษณ์ 1/3" ที่รวดเร็วประดุจสายฟ้าแลบ ซ่อนกลเกม ลับ-ลวง-พราง ทำให้ ส.ส. รัฐมนตรีพรรคเพื่อไทย ลุ้นกันตัวโก่งว่า ใครเข้า-ใครหลุด-ใครถูกเบียดตกโผ-ใครเข้าวินในวินาทีสุดท้าย

จนที่ สุดเมื่อเย็นวันที่ 28 ต.ค. ก็ปรากฏบัญชี ครม.ปู 3 ที่ได้รับประกาศพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯแต่งตั้งรัฐมนตรีทั้งสิ้น 23 ตำแหน่ง ภายใต้โควตา 4 ผู้ยิ่งใหญ่ในตระกูลชินวัตร ตัดระบบโควตา ระบบก๊ก ระบบภาค ออกจากการจัดแถวรัฐมนตรี

โดยเฉพาะอย่างยิ่งการจัดกำลัง 6 รองนายกรัฐมนตรี และ 3 รัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯรวม 9 คน เพื่อปฏิบัติหน้าที่ร่วมกับทีมนายกรัฐมนตรี และทีมที่ปรึกษานายกรัฐมนตรีที่มี 2 อรหันต์อย่าง ดร.วีรพงษ์ รามางกูร และ นายพันศักดิ์ วิญญรัตน์ ร่วมคณะบริหารแบบรวมศูนย์การบริหารประเทศ และวางยุทธศาสตร์บริหารการจัดการงบประมาณใน-นอกงบประมาณกว่า 3 ล้านล้านอยู่ในการกลั่นกรองของรองนายกรัฐมนตรี 6 คน คือ 1.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง 2.กิตติรัตน์ ณ ระนอง 3.สุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล 4.ปลอดประสพ สุรัสวดี 5.ชุมพล ศิลปอาชา 6.พงศ์เทพ เทพกาญจนา ร่วมด้วยรัฐมนตรีประจำสำนักนายกฯ 3 คน คือ 1.วราเทพ รัตนากร 2.ศันสนีย์ นาคพงศ์ 3.นิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล

จากนี้ไปการขึ้นเค้าโครงนโยบาย ใหม่ การลงทุนภาครัฐ และสะสางนโยบายเก่า ระบบเงินกองทุนไม่น้อยกว่า 5 กองทุน จะอยู่ภายใต้การบริหารจัดการของ 1 นายกฯ+9 รัฐมนตรีที่ทำเนียบ 






ประเมิน กันว่า เป็น 9 รัฐมนตรีที่ครบเครื่อง ทั้งเรื่องความมั่นคง การเมือง เศรษฐกิจมหภาค สังคม การต่างประเทศ การจัดการงบประมาณ และยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์เชิงรุกเลยทีเดียว


 
ทำไมถึงเชื่อมั่นขนาดนั้น ...คลิกอ่านรายละเอียด


(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1351770798&grpid=01&catid=&subcatid=

คุณอาจเป็นเหยื่อรายต่อไปของ 112

คุณอาจเป็นเหยื่อรายต่อไปของ 112


 
 
ที่มาจากเวป: http://www.komchadluek.net/detail/20120511/130076/ยิ่งลักษณ์ลั่นรัฐบาลไม่สนแก้ม.112.html
http://www.krobkruakao.com/ข่าว/56289/มวลชนเสื้อแดงจี้รัฐบาลปล่อยตัวนักโทษผิด-ม-112.html
http://www.banmuang.co.th/2012/05/พร้อมพงษ์-ลั่นจุดยืน/



คลานต่อไป รัฐบาล


Posted Image 

"ข้อตกลงระหว่างทักษิณกับฝ่ายทหาร มีการตกลงกันว่าจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงในสถานภาพของสถาบันกษัตริย์ ไม่แก้/ยกเลิกกฏหมายเผด็จการ 112 ไม่ปฏิรูประบบศาล ไม่ปล่อยนักโทษการเมือง และจะไม่มีการนำฆาตกร(ใจหมา)ที่ฆ่าประชาชนเสื้อแดงมาขึ้นศาล ในข้อตกลงนี้ทางทหารก็จะปล่อยให้รัฐบาลยิ่งลักษณ์อยู่ต่อไป ในแง่หนึ่งรัฐบาลนี้เป็นประโยชน์กับทหารมากกว่ารัฐบาลประชาธิปัตย์ เพราะสามารถคุมเสื้อแดงส่วนใหญ่ได้ผ่านแกนนำ นปช.
   
รัฐบาลเพื่อไทย และแกนนำ นปช. ต้องการที่จะให้โครงสร้างเก่าคงอยู่ เพียงแต่เปลี่ยนรัฐบาล จากรัฐบาล “พรรคทหาร” ไปสู่รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง เราเห็นชัดในกรณีที่เพื่อไทยและ นปช. ไม่ยอมแตะอำนาจทหาร และกฎหมายเผด็จการต่างๆ เช่น 112 เป็นต้น และถ้าเราต้องการให้ไทยเป็นประชาธิปไตยแท้ และต้องการเปลี่ยนสภาพความเป็นอยู่ของคนส่วนใหญ่ในสังคม เพื่อยุติการกดขี่ขูดรีด เราต้องสู้ต่อไป ไม่ใช่หยุดอยู่แค่ขั้นตอนการมีรัฐบาลจากการเลือกตั้งเท่านั้น"

ครก.112 ผิดหวังสภา ยันเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพ-ควรเรียกชี้แจงก่อนปัดตก

ครก.112 ผิดหวังสภา ยันเกี่ยวข้องสิทธิเสรีภาพ-ควรเรียกชี้แจงก่อนปัดตก

 


พวงทอง ภวัครพันธุ์ ตัวแทนครก.112 ระบุเสียใจที่สภาไม่รับพิจารณาร่างกฎหมายแก้ไข มาตรา 112 ชี้ควรเรียกผู้เสนอร่างเข้าชี้แจงก่อนจำหน่ายออก  นักวิชาการหลายกลุ่มเตรียมออกแถลงการณ์โต้ - เปิดบันทึกหลักการและเหตุผลประกอบร่างกฎหมาย

1 พ.ย.55  พวงทอง ภวัครพันธุ์ นักวิชาการตัวแทนคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112  (ครก.112) ให้สัมภาษณ์กรณีรัฐสภาจำหน่าย ร่างพ.ร.บ.แก้ไขมาตรา 112 ไปตั้งแต่เดือนกันยายนที่ผ่านมา ว่า  ไม่มีการแจ้งให้ผู้เสนอกฎหมายทราบก่อนหน้านี้ แต่เมื่อทราบข่าวแล้วเราก็รู้สึกเสียใจที่รัฐสภาตัดสินใจไม่แตะต้องกฎหมาย นี้เลย นอกจากนี้ยังเห็นด้วยว่า ก่อนจะจำหน่ายร่างกฎหมายนี้ออกไป ควรเรียกตัวแทนของ ครก.112 หรือตัวแทนกลุ่มนิติราษฎร์ซึ่งเป็นผู้ร่างกฎหมายฉบับนี้ไปชี้แจงว่าร่างนี้ เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพหรือนโยบายแห่งรัฐหรือไม่

พวงทองกล่าวอีกว่า ถ้าสภาไม่กลัวจนเกินไป และมีแนวคิดในการมองปัญหาสิทธิเสรีภาพที่กว้างกว่านี้ ก็จะเห็นได้ไม่ยากว่า มาตรานี้ละเมิดสิทธิเสรีภาพของประชาชนอย่างกว้างขวาง อย่างไรก็ตาม ครก.112 และนิติราษฎร์เตรียมจะออกแถลงการณ์เกี่ยวกับเรื่องนี้ด้วย

ทั้งนี้ ในบันทึกหลักการและเหตุผล ประกอบร่าง พ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ..... ระบุว่า

“โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายอาญา เนื่องจากกฎหมายเกี่ยวกับความผิดหมิ่นประมาท ดูหมิ่นหรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ มีความไม่เหมาะสมทั้งในแง่ของโครงสร้างของบทบัญญัติ อัตราโทษ และการบังคับใช้ ประกอบกฎหมายดังกล่าวไม่มีการยกเว้นความผิดในกรณีที่บุคคลติชม แสดงความคิดเห็น หรือแสดงข้อความโดยสุจริตเพื่อรักษาไว้ซึ่งรัฐธรรมนูญและการปกครองในระบอบ ประชาธิปไตย อีกทั้งในปัจจุบันปรากฏชัดว่ากฎหมายดังกล่าวเปิดช่องให้บุคคลนำไปใช้เป็น เครื่องมือทางการเมือง หรือนำไปใช้โดยไม่สุจริตและไม่สอดคล้องกับเจตนารมณ์ของกฎหมาย เพื่อรักษาไว้ซึ่งเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็นตามความมุ่งหมายของรัฐธรรมนูญ จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้”

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43441 

สภาเขี่ยตก เข้าชื่อแก้ 112 ไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ

สภาเขี่ยตก เข้าชื่อแก้ 112 ไม่เข้าหมวดสิทธิเสรีภาพ

 

 


เว็บไซต์รัฐสภาเผยแพร่ เอกสารสรุปผลการดำเนินงานของกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย เมื่อวันที่ 25 ต.ค.55 ซึ่งตารางสรุปผลดังกล่าวปรากฏการจำหน่ายเรื่องการเข้าชื่อแก้ไขประมวลกฎหมาย อาญา มาตรา 112  ของนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยประชาชน 30,383 คน

“ประธานรัฐสภาสั่งจำหน่ายเรื่องเมื่อวันที่ 26 กันยายน 2555 (เนื่องจากประธานรัฐสภาวินิจฉัยว่า ร่างพระราชบัญญัติฉบับนี้ (ร่างพ.ร.บ.แก้ไขเพิ่มเติม ประมวลกฎหมายอาญา (ฉบับที่...) พ.ศ.....) มีหลักการไม่เป็นไปตามที่กำหนดไว้ในหมวด 3 สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย และหมวด 5 แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550”  เอกสารกลุ่มงานเข้าชื่อเสนอกฎหมาย ระบุ

ทั้งนี้ รัฐธรรมนูญ มาตรา 163 กำหนดในเรื่องการเข้าชื่อเสนอกฎหมายไว้โดยให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งไม่ น้อยกว่า 10,000 คนร่วมกันเข้าชื่อเสนอกฎหมายได้ และกฎหมายที่จะเสนอต้องเป็นกฎหมายที่มีหลักการตามที่กำหนดไว้ใน หมวด 3 หรือหมวด 5 ของรัฐธรรมนูญ

การยื่นรายชื่อในครั้งนี้เกิดขึ้นเมื่อวันที่ 29 พ.ค.55 โดยนายชาญวิทย์ เกษตรศิริ พร้อมด้วยคณะรณรงค์แก้ไขมาตรา 112 หรือ ครก.112 พร้อมประชาชนนับร้อยคนได้นำรายชื่อ 39,185 ที่รวบรวมจากทั่วประเทศเพื่อแก้ไขมาตรา 112 ไปยื่นให้กับประธานรัฐสภา โดยสาระสำคัญสอดคล้องกับร่างแก้ไขมาตรา 112 ของนิติราษฎร์ คือ 

1. ให้ยกเลิกมาตรา 112 ออกจากลักษณะว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับความมั่นคงของราชอาณาจักร

2. เพิ่มหมวดลักษณะความผิดเกี่ยวกับพระเกียรติของพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และเกียรติยศผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

3. แบ่งแยกการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระมหากษัตริย์ออกจากการคุ้มครองสำหรับตำแหน่งพระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

4. เปลี่ยนบทกำหนดโทษ โดยไม่มีอัตราโทษขั้นต่ำ แต่กำหนดเพดานโทษสูงสุดจำคุกไม่เกินสามปี
 สำหรับการหมิ่นประมาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ และไม่เกินสองปีสำหรับ พระราชินี รัชทายาท หรือผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์

5. เพิ่มเหตุยกเว้นความผิด กรณีแสดงความคิดเห็นโดยสุจริต

6. เพิ่มเหตุยกเว้นโทษ กรณีข้อความที่กล่าวหานั้นได้รับการพิสูจน์ว่าเป็นความจริง และการพิสูจน์นั้นเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ และ

7. ห้ามบุคคลทั่วไปกล่าวโทษผู้ที่ทำความผิด ให้สำนักราชเลขาธิการมีอำนาจเป็นผู้กล่าวโทษเท่านั้น แทนพระองค์”

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43435