หน้าเว็บ

วันพุธที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2557

ชมวิดีโอ วรเจตน์-เกษียร เสวนา 'ความเป็นธรรมในสังคมไทย'

ชมวิดีโอ วรเจตน์-เกษียร เสวนา 'ความเป็นธรรมในสังคมไทย'



 
ความเป็นธรรมในสังคมไทย : วรเจตน์ ภาคีรัตน์
http://www.youtube.com/watch?v=jvC5Ggi4DMA 

ความเป็นธรรมในสังคมไทย : เกษียร เตชะพีระ
http://www.youtube.com/watch?v=JTGT5CJ61QA 


เมื่อวันที่ 25 ก.พ.2557 ที่ผ่านมา ศูนย์ศึกษาสังคมและวัฒนธรรมร่วมสมัย คณะสังคมวิทยาและมานุษยวิทยา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จัดการเสวนาวิชาการ หัวข้อ "ความเป็นธรรมในสังคมไทย" โดยมีวิทยากร เกษม เพ็ญภินันท์ จากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ,อนุสรณ์ อุณโณ ,เกษียร เตชะพีระ และ วรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

ประชาไท นำเสนอส่วนหนึ่งของการเสวนา ซึ่งเป็นการอภิปรายในช่วงแรกของวรเจตน์ ภาคีรัตน์ จากคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และการอภิปรายของเกษียร เตชะพีระ จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2014/03/52090 

สถานะของ "รัฐบาลรักษาการณ์" (Caretaker Government) ปัจจุบัน สิ้นสภาพตาม มาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่?

สถานะของ "รัฐบาลรักษาการณ์" (Caretaker Government) ปัจจุบัน สิ้นสภาพตาม มาตรา 127 ของรัฐธรรมนูญหรือไม่?
 




มีการพูดถึงสถานะของ "รัฐบาลรักษาการณ์" (Caretaker Government) ปัจจุบันว่าสิ้นสภาพไปผ่านการอ้างอิงตาม ม.๑๒๗ ของรัฐธรรมนูญ ผมขออนุญาตอธิบายเรื่องนี้นะครับว่าการจะอ่านและพิจารณาตีความรัฐธรรมนูญนั้นจะต้องอยู่บน "หลักเอกภาพของรัฐธรรมนูญ" (Unity of the Constitution) ที่ว่าด้วยเรื่องกลไกของระบบรัฐธรรมนูญที่มีความเชื่อมโยงกันอยู่ โดยการอ่านและตีความต้องอ้างอิงจากถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญและหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญประกอบกันไปทั้งหมด ดังนั้น การพิจารณาเรื่องรัฐบาลรักษาการณ์ต้องพิจารณาเป็นระบบตามลำดับดังนี้

๑. การพิจารณาตามถ้อยคำของรัฐธรรมนูญ : ต้องเข้าไปพิจารณาดูว่ามีบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญหรือไม่ที่กล่าวถึงรัฐบาลรักษาการณ์ทั้งนี้เนื่องจากจะได้นำไปสู่การพิจารณาถึงสถานะและการใช้อำนาจหน้าที่ของเขาต่อไป ซึ่งปรากฏว่าอยู่ใน ม.๑๘๑

๒. การพิจารณาตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ : เมื่อมีการลาออกของคณะรัฐมนตรีก็ดี มีการประกาศยุบสภาก็ดี ม.๑๘๑ ให้มีรัฐบาลรักษาการณ์ขึ้นก็เพื่อทำหน้าที่ชั่วคราวจนกว่าจะได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง หรือรัฐบาลชุดใหม่เข้ามา ทั้งนี้เนื่องจากไม่ต้องการให้เกิดสภาวะสุญญากาศในการบริหารประเทศ

๓. การพิจารณาตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญ : ตามหลักการแล้วเห็นว่าเมื่อปรากฏว่าฝ่ายบริหารของรัฐนั้นสิ้นสภาพไปแล้ว จึงต้องการให้มี "กลไกในการเปลี่ยนผ่านประเทศ" กล่าวคือ การบริหารประเทศนั้นจะไม่สะดุดหยุดอยู่เนื่องจากจะกระทบต่อสาธารณะ หรือสังคมส่วนรวมได้ จึงกำหนดให้มี "ฝ่ายบริหารชั่วคราว" ซึ่งก็คือฝ่ายบริหารเดิมที่สิ้นสภาพไปมาทำหน้าที่ในการบริหารประเทศไม่ให้หยุดชะงักตาม "หลักความต่อเนื่องไม่ขาดสายของการบริหารประเทศ" (Continuity of Executive Power) จนกว่าจะได้ฝ่ายบริหารชุดใหม่มา "รับไม้ต่อ" เพื่อทำหน้าที่บริหารประเทศตามปกติต่อไป

การที่เราไปพิจารณา ม.๑๒๗ (ซึ่งปกติจะใช้บังคับเมื่อมีการเลือกตั้งเสร็จสมบูรณ์ไปแล้ว) เลยโดยไม่พิจารณาถึงบริบทและเจตจำนงค์ต่างๆ ของการบังคับใช้บทบัญญัติรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการมองข้าม ม.๑๘๑ ไปทั้งๆ ที่เป็นบทบัญญัติเฉพาะว่าด้วยสถานะของรัฐบาลรักษาการณ์ ซึงมีความเชื่อมโยงและลำดับในการพิจารณาตีความก่อนหลังอยู่ จึงอาจทำให้เข้าใจผิดพลาดคลาดเคลื่อนเกี่ยวกับสถานะของรัฐบาลรักษาการณ์ตามหลักกฎหมายรัฐธรรมนูญที่แท้จริงได้นั่นเอง

ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย
อาจารย์ประจำคณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย



จุดจบของโอกาสแห่งความเปลี่ยนแปลงโดยสงบ

จุดจบของโอกาสแห่งความเปลี่ยนแปลงโดยสงบ


 
โดย อ.นิธิ เอียวศรีวงศ์


วันนี้เราได้มาถึงจุดที่ไม่มีทางออกอื่นเหลืออีกแล้ว นอกจากความรุนแรง ไม่ว่าฝ่ายใดจะประสบความสำเร็จตามเป้าประสงค์ของตน เพราะเป็นไปไม่ได้อีกแล้วที่จะมีการประนีประนอม เพื่อให้ทุกฝ่ายได้บางอย่างและเสียบางอย่าง

อีกทั้งความรุนแรงก็จะไม่เกิดเพียงครั้งเดียว แล้วหันมาเยียวยากันได้อย่างที่ผ่านมา แต่ความรุนแรงจะกลายเป็นลักษณะประจำในการเมืองไทยต่อเนื่องกันไปอีกนาน

นับเป็นวันเวลาที่น่าเศร้าที่สุดในประวัติศาสตร์ยุคใหม่ของไทย

เครือข่ายอำมาตย์ตัดสินใจเคลื่อนไหวกดดันบนท้องถนนในช่วงที่ รัฐบาลอ่อนแอที่สุด การตัดสินใจผิดแก้ไขร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรมให้กลายเป็นเหมาเข่ง เพราะไปเชื่อการเจรจาต่อรองทางลับ (ตามสันดานของพ่อค้าที่คิดว่าทุกอย่างในโลกนี้จัดการได้ด้วยการเจรจาต่อรอง ทั้งนั้น โดยไม่ต้องมีหลักการอะไรเลย) ทำความผิดหวังแก่ประชาชนผู้สนับสนุนรัฐบาลไปจำนวนหนึ่ง แต่ที่สำคัญกว่านั้นคือกระพือความไม่ไว้วางใจรัฐบาล ซึ่งมีอยู่แล้วในหมู่กระฎุมพีให้ลุกฮือขึ้น ทำลายความชอบธรรมของเสียงข้างมากในสภาไปในหมู่กระฎุมพีจำนวนไม่น้อย

ดังนั้น การยุบสภาเพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิตัดสินใจใหม่ว่าจะเอารัฐบาลที่ใช้เสียง ข้างมากอย่างไม่ชอบธรรมนี้ไว้ต่อไปหรือไม่ จึงไร้ความหมายแก่คนจำนวนไม่น้อย แม้กระนั้นการยุบสภาก็เป็นหนทางเดียวที่รัฐบาลพึงทำในการฝ่าวิกฤตการเมืองใน ระบอบประชาธิปไตย และยังมีความหมายแก่คนส่วนใหญ่ของประเทศ เครือข่ายอำมาตย์ต้องทำลายความชอบธรรมของการเลือกตั้งลงให้ได้ เริ่มจากพรรค ปชป.ซึ่งเป็นฝ่ายค้านเกือบจะหนึ่งเดียวที่พอมีน้ำหนักในสภา บอยคอตการเลือกตั้ง เพื่อทำให้สภาที่จะได้มาไม่สามารถทำหน้าที่ตรวจสอบฝ่ายบริหารได้อย่างมี ประสิทธิภาพ

แต่ประชาชนส่วนใหญ่ก็ยังพอใจที่จะดำรงรักษาระบอบ ประชาธิปไตย ซึ่งถึงอย่างไรก็ต้องมีการเลือกตั้งของพลเมืองที่เท่าเทียมกันอยู่นั่นเอง หลายคนกำลังคิดว่าจะสั่งสอนบทเรียนแก่พรรครัฐบาลอย่างไร เพื่อไม่ให้เหลิง ฉะนั้น การบอยคอตของ ปชป. แม้มีความหมายสำคัญ แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการก้าวเดินไปบนหนทางประชาธิปไตยของสังคมไทยได้

แบ่งแยกประเทศผมไม่แคร์ แต่จะยกทรัพยากรให้พวกอำมาตย์มารทำไม?

แบ่งแยกประเทศผมไม่แคร์ แต่จะยกทรัพยากรให้พวกอำมาตย์มารทำไม?



 
โดย อ.ใจ อึ๊งภากรณ์
 
ผมไม่เคยสนับสนุนประโยคในรัฐธรรมนูญไทยที่กล่าวว่า “ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้” และในการปฏิรูปการเมืองเพื่อประชาธิปไตยควรจะตัดออก อย่างน้อยก็เพื่อให้ “ชาวปาตานี” สามารถกำหนดอนาคตของตนเองได้ แต่โดยรวมแล้วผมไม่เคยหวงดินแดนรัฐชาติไทยแทนชนชั้นปกครอง เพราะประชาชนไทย 99% ไม่เคยเป็นเจ้าของดินแดนที่แท้จริงอันนี้ แม้แต่ที่ดินทำกินกับบ้านที่อยู่อาศัย ประชาชนส่วนใหญ่ยังไม่เป็นเจ้าของด้วยซ้ำ และเราก็ไม่ต้องไปเชื่อประวัติศาสตร์ปลอมที่เสนอว่าวีรบุรุษคนใหญ่คนโตเคยปกป้องพรมแดนรัฐชาติไทยเพื่อส่วนรวม ยิ่งกว่านั้นพวกวีรบุรุษเหล่านั้นยังไปยึดพื้นที่ที่เคยเป็นชุมชนอื่น มาขึ้นกับกรุงเทพฯ อีกด้วย

ดังนั้นใครเสนอให้แบ่งแยกประเทศ ผมไม่แคร์เลย

แต่ที่เราทุกคนที่รักประชาธิปไตยควรแคร์และหวงคือ ผลิตผลจากการทำงานของประชาชนส่วนใหญ่ เพราะทรัพยากรดังกล่าวมาจากหยาดเหงื่อของผู้ทำงาน ไม่ว่าจะเป็นกรรมาชีพหรือเกษตรกร มันไม่ได้เกิดจากนายทุนในปัจจุบันหรือศักดินาในอดีต คนดังกล่าวเป็นเพียงคนที่ “ทำนาบนหลังคน” เท่านั้น

คำถามสำคัญที่เราควรตั้งกับเพื่อนๆ เสื้อแดง ที่อยากแบ่งประเทศ เพราะโกรธแค้น จากการลอยนวลของมารต้านประชาธิปไตย ทหารเผด็จการ และฝูงนักวิชาการกับแกนนำเอ็นจีโอ คือ เรื่องอะไรเราจะไปยกทรัพยากรมหาศาล ที่มาจากการทำงานของคนธรรมดา ให้พวกอำมาตย์?

ลองดูตัวเลขทางเศรษฐกิจของผลิตภัณฑ์มวลรวม แบ่งเป็นภาค ซึ่งผลิตภัณฑ์มวลรวมนี้คือผลผลิตทั้งหมดที่มาจากการทำงานของประชาชน

มูลค่าผลิตภัณฑ์มวลรวม
(ตัวเลขจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ๒๕๕๒ http://www.mtp.rmutt.ac.th/?p=2396  )
กรุงเทพมหานครและปริมณฑล     3,770,185  ล้านบาท
ภาคตะวันออกติดชายฝั่งอ่าวไทย    1,398,288 ล้านบาท
ภาคกลางส่วนกลาง  696,438  ล้านบาท
ภาคตะวันตก  396,909  ล้านบาท
ภาคใต้  886,503  ล่านบาท
รวม 7,148,323 ล้านบาท

ภาคเหนือ  862,657  ล้านบาท
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  1,039,736  ล้านบาท
รวม 1,902,393 ล้านบาท

จะเห็นว่ากรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งเป็นศูนย์กลางการผลิตอุตสาหกรรม และศูนย์กลางภาคบริการ มีผลผลิตมากกว่าภาคเหนือกับภาคตะวันออกเฉียงเหนือเกือบสามเท่า และมันเป็นผลงานของผู้ทำงานในพื้นที่และผู้ที่ย้ายถิ่นจากภาคอื่นเพื่อหางานทำอีกด้วย

นอกจากนี้ภาคกลางและภาคตะวันออกมีท่าเรือ และอ่าวไทยมีก๊าซธรรมชาติ

ชนชั้นสำคัญกว่าภูมิศาสตร์ ถ้าแบ่งประเทศอย่างที่เสื้อแดงบางคนเสนอ ประเทศลานนากับตะวันออกเฉียงเหนือจะยากจนมาก แถมประชาชนจำนวนมากในกรุงเทพฯและปริมณฑล ภาคกลาง ภาคตะวันออก และภาคใต้ ที่รักประชาธิปไตยและเกลียดชังม็อบสุเทพ ก็จะตกเป็นทาสเผด็จการอีกด้วย

ไม่ครับ เราควรตั้งความหวังในอนาคต เพื่อสร้างรัฐไทยใหม่ ให้ประชาชนคนทำงาน ทั้งกรรมาชีพและเกษตกร เป็นใหญ่ในแผ่นดิน เราควรยึดทรัพยากรที่นายทุนใหญ่และทหารขโมยจากการทำงานของเรา เพื่อสร้างรัฐสวัสดิการภายใต้คำขวัญ “ถ้วนหน้า-ครบวงจร-จากการเก็บภาษีก้าวหน้า”

เราควรปฏิรูประบบยุติธรรมแบบถอนรากถอนโคน ลดอำนาจทหาร ยุบองค์กรที่ไม่เคยอิสระ และเราควรสร้างมาตรฐานสิทธิเสรีภาพประชาธิไตย บนซากรัฐเผด็จการไทยต่างหาก   

แบ่งแยกดินแดน " วาทกรรม "ยาพิษเก่า ในขวดใหม่" อนุสนธิจากเรื่องแยกประเทศ

แบ่งแยกดินแดน " วาทกรรม "ยาพิษเก่า ในขวดใหม่" อนุสนธิจากเรื่องแยกประเทศ



 
สปป.เคลียร์ปม"สปป.ล้านนา"
http://www.khaosod.co.th/view_newsonline.php?newsid=TVRNNU16azVPREl3TUE9PQ%3D%3D&sectionid 


อยากฝากถึงพวกเสื้อเหลือง-สลิ่มที่เกลียดชังคนเสื้อแดงว่า หากไม่ต้องการเห็นประเทศนี้แตกเป็นเสี่ยงๆ ก็ต้องเลิกดูถูกเหยียดหยามคนร่วมชาติเสียที เลิกไล่คนออกจากบ้านเพราะพวกเขาคิดต่างกับคุณ โปรดเข้าใจเสียใหม่ว่า ประเทศนี้เป็นของประชาชนคนไทยทุกคน คนไทยที่ทำหน้าที่พลเมืองของตน ไม่ระรานละเมิดสิทธิของใครย่อมอ้างสิทธิการเป็นเจ้าของประเทศนี้ได้อย่างสมบูรณ์ แม้แต่คนที่ทำผิดกฎหมาย เมื่อเขารับโทษจนเสร็จสิ้นก็ยังมีสิทธิอยู่ในประเทศนี้ต่อไป

ในอดีตไม่วาจะเป็นไพร่ที่ถูกเกณฑ์แรงงานมาสร้างวัดวา ขุดคูคลอง ไปรบไปตายมากมาย หรือในปัจจุบัน ไม่ว่าจะเป็นคนหาเช้ากินค่ำหรือมหาเศรษฐี พวกเขาล้วนมีส่วนร่วมในการสร้างประเทศนี้ทั้งสิ้น ประเทศนี้ไม่ได้เป็นของใครแต่เพียงผู้เดียว คนรวยคนมีการศึกษาไม่ได้มีสิทธิมากไปกว่าคนอื่นๆ ไม่มีใครมีสิทธิไล่ใครออกจากประเทศนี้ เลิกเชียร์ให้ทหารออกมายึดอำนาจ เลิกเชียร์นายกฯคนกลาง เลิกทำตัวเป็นพวกอำนาจนิยมหลงตัวเองเอาแต่ใจตัวเองเสียที

หากไม่ยอมรับหลักการ “คนเท่ากัน” ก็ไม่ควรโวยวายหากคนกลุ่มอื่นประกาศว่าไม่อยากอยู่ร่วมสังคมกับคุณ

อยากฝากถึงกลุ่มคนที่เริ่มพูดเรื่องการแยกประเทศว่า มันไม่ง่ายเหมือนผัวเมียเลิกกัน แล้วแยกบ้านกันอยู่ ในทุกจังหวัดของประเทศนี้มีคนทุกสีอาศัยอยู่ แล้วคุณจะบังคับขืนใจประชาชนให้ต้องอพยพโยกย้ายออกจากถิ่นฐานของตนเองได้อย่างไร ประการสำคัญ ประเทศนี้ไม่ได้มีแค่สองสี ไม่ได้มีแค่แดงกับเหลืองหรือสลิ่ม คนจำนวนมากมีหลายเฉดสีในตัวเอง หรือเป็นสีอะไรก็ไม่แน่ชัด เช่น คนจำนวนมากไม่ชอบทักษิณและเพื่อไทย แต่ก็รังเกียจพฤติกรรมของประชาธิปัตย์ ต้องการรักษาระบอบรัฐสภาและการเลือกตั้ง ไม่เอาความรุนแรง เกลียดคอรัปชั่น ต่อต้านรัฐประหาร แล้วจะเอาคนเหล่านี้ไปไว้ที่ไหน หากมีกระบวนการแบ่งแยกประเทศจริง อนาคตสังคมไทยก็คือสงครามกลางเมืองเต็มรูปแบบเท่านั้น

การพูดถึงเรื่องนี้ดูจะเริ่มมาจากความคับแค้นใจ และเป็นเสมือนการขู่อีกฝ่ายหนึ่งเท่านั้น แต่ถ้าหลงไปคิดว่าเป็นจริงได้ ก็จะกลายเป็นหลงอยู่ในแฟนตาซีที่สร้างขึ้นมากันเอง เมื่อเป็นจริงไม่ได้ ก็เลิกพูดถึงมันดีกว่าค่ะ

แม้ว่าบรรดาองค์กรศาล ตลก. องค์กรอิสระ กองทัพจะทำให้พวกคุณรู้สึกคับแค้นใจกับความอยุติธรรมอย่างต่อเนื่อง และจนบัดนี้พวกเขาก็ยังไม่ตระหนักว่าพวกเขาเป็นส่วนสำคัญของปัญหาก็ตาม แต่อย่าเพิ่งหมดหวังกับประเทศนี้ แต่ต้องร่วมกันทำให้ระบบโครงสร้างอำนาจเปลี่ยนแปลงด้วยพลังอารยะของประชาชนอย่างแข็งขันต่อไป

อยากฝากถึงกองทัพว่า การแจ้งข้อกล่าวหาเอาผิดกับ สปป.ล้านนา และกลุ่มรักเชียงใหม่ 51 นอกจากจะเกิดจากการเข้าใจผิดในเรื่องชื่อแล้ว ยังไม่ได้ช่วยแก้ปัญหาความแตกแยกของสังคมได้เลย มีแต่จะยิ่งตอกย้ำภาวะสองมาตรฐานที่ประชาชนกลุ่มหนึ่งมักต้องเป็นเป้าหมายถูกเล่นงานอยู่เสมอ มีแต่จะยิ่งทำให้ความคับแค้นใจไม่อยากอยู่ร่วมกันร้าวลึกลงไปอีก

และสุดท้าย ขอแนะนำให้กองทัพไปอ่านคำแถลงของ สปป.ถึง ผบ.ทบ. อีกหลายๆ รอบค่ะ http://goo.gl/6q2rK0

พวงทอง ภวัครพันธุ์
สมัชชาปกป้องประชาธิปไตย

รัฐบาลทำหน้าที่ต่อได้แม้เปิดสภาไม่ทัน30วัน

รัฐบาลทำหน้าที่ต่อได้แม้เปิดสภาไม่ทัน30วัน


 
อ.พุฒิพงศ์ พงศ์เอนกกุล

นักกฏหมายสวน กลับ"สุเทพ"ยันรัฐบาลรักษาการณ์ยังดำรงตำแหน่งต่อไปแม้เปิดสภาไม่ได้ภายใน30 วัน ชี้เป็น"ระยะเวลาเร่งรัด"ในความรับผิดชอบของกตต.

วิชาการด้านกฏหมายมหาชน แสดงความเห็นผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว ว่า นายสุเทพ เทือกสุบรรณ บอกว่า รัฐบาลรักษาการณ์ต้องสิ้นสุดลง เพราะเลือกตั้งผ่านมา ๓๐ วันแล้ว เปิดสภาไม่ได้ คำว่า "ภายใน...นับแต่..." ของบทบัญญัติมาตรา ๑๒๗ รัฐธรรมนูญฯ ("ภายในสามสับวันนับแต่วันเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ให้มีการเรียกประชุมรัฐสภาครั้งแรก") เราเรียกว่า "ระยะเวลา" ครับ

ผลของการไม่ปฏิบัติตามระยะ เวลานั้นจะเป็นอย่างไร ก็ขึ้นอยู่ว่า กฎหมายจะกำหนดผลบังคับหรือไม่ว่า หากไม่ปฏิบัติตามระยะเวลาที่กำหนด ผลจะเป็นอย่างไร ในกรณีนี้เป็นกรณีที่กฎหมายไม่ได้กำหนดผลของการเปิดสภาไม่ได้ภายใน ๓๐ วัน เราเรียกระยะเวลาประเภทนี้ว่า "ระยะเวลาเร่งรัด" (délai indicatif) คือ รัฐธรรมนูญฯ เร่งหรือกระตุ้นให้คณะกรรมการการเลือกตั้ง จัดการเลือกตั้งให้ครบถ้วนร้อยละ ๙๕ ให้ทันภายในระยะเวลา ๓๐ วันนับแต่วันเลือกตั้งทั่วไป เพื่อเปิดประชุมสภานั่นเอง ในกรณีที่จำนวนสมาชิกสภาไม่ครบร้อยละ ๙๕ ส่งผลให้เปิดสภาไม่ทันภายใน ๓๐ วัน ผลคือ คณะกรรมการการเลือกตั้งเร่งจัดการเลือกตั้งให้เรียบร้อย และระยะเวลาเร่งรัดอาจเป็นเกณฑ์พิจารณาความรับผิดของการปฏิบัติหน้าที่ของ กกต.ได้ครับ

กรณีจะต่างกับ ระยะเวลาที่เราเรียกว่า "ระยะเวลาบังคับ" (délai imperatif) ระยะเวลาบังคับจะกำหนดกรอบเวลาไว้เช่นกัน แต่จะพ่วงไปด้วย "ผลทางกฎหมาย" ว่าหากไม่ปฏิบัติตามภายในระยะเวลา จะเกิดผลเช่นไรจะระบุไว้โดยชัดแจ้ง มิเช่นนั้นถือเป็น "ระยะเวลาเร่งรัด"ครับ

สรุปว่า รัฐบาลรักษาการณ์ ยังคงอยู่ในตำแหน่งต่อไปจนกว่าจะมีรัฐบาลชุดใหม่ที่ได้มาโดยวิถีทางรัฐธรรมนูญครับ การกล่าวอ้างของนายสุเทพ จึงเป็นการกล่าวที่ขัดต่อหลักการที่ปรากฏอยู่ในรัฐธรรมนูญลายลักษณ์อักษรและหลักการตีความกฎหมายในระดับพื้นฐานครับ

(ที่มา)
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/politics/politics/20140305/566633/¾    

"กบฏ แบ่งแยกดินแดน"

"กบฏ แบ่งแยกดินแดน" 



 
 

การฟื้น ประเด็น แนวคิด แบ่งแยก ดินแดน พฤศจิกายน 2490
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1393994861&grpid&catid=02&subcatid=0200 


(A) Separatism in Thailand.........
"กบฏ แบ่งแยกดินแดน"
วาทกรรม "ยาพิษเก่า ในขวดใหม่"
ของฝ่ายระบอบเดิม อำนาจเดิม (เสนาอำมาตยาธิปไตย)
เพื่อขจัดฝ่ายตรงข้าม (ประชาธิปไตย)

การใส่ร้าย ป้ายสี เช่นนี้มีมาหลายๆ ครั้ง
2492 กล่าวหา แล้วสังหาร 4 รมต อีสาน
(ทองเปลว ทองอินทร์ จำลอง ถวิล)

2497 กล่าวหา แล้วจับถ่วงน้ำ
(หะยีสุหลง อับดุลกาเดร์ โต๊ะมีนา) ครับ

cK@HistoryRepeatsItself???

(B) Lanna and Lanchang
โดย "สายการเมือง"
สปป ล้านนา ไม่เกี่ยวกับ สปป ล้านช้าง ครับ
แต่โดย "สายเลือด" ก็เป็น "เครือญาติ" กัน

โปรดอย่าง "แบ่งแยก" เราออกจาก
"เครือญาติอุษาคเนย์อาเซียน" เลยครับ
"ท่านผู้นำ" ตัวแทนของ อำนาจเก่า บารมีเก่า เงินทุนเก่า และ สื่อเก่าๆๆ

cK@LannaLanchange..........................