หน้าเว็บ

วันพฤหัสบดีที่ 6 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

เราต้องคัดค้านข้อเสนอเหลวไหลเรื่อง “นายกคนกลาง”

เราต้องคัดค้านข้อเสนอเหลวไหลเรื่อง “นายกคนกลาง”


 

 
‘หม่อมอุ๋ย’ ร้อง ยิ่งลักษณ์-ครม.ลาออกรักษาการ เปิดทาง 'นายกฯ คนกลาง' บริหารประเทศ
http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51651



 
ji ungpakorn

พอม็อบสุเทพก่ออาชญากรรมเพื่อล้มการเลือกตั้ง ซึ่งทำให้ต้องยืดเวลาตั้งรัฐบาลใหม่ ทั้งๆ ที่คนส่วนใหญ่ต้องการการเลือกตั้งและสนับสนุนพรรคเพื่อไทย พวกหมาข้างถนนก็ออกมาเห่าหอน...

‘ม.ร.ว.ปรีดิยาธร เทวกุล’ เรียกร้องให้ ‘ยิ่งลักษณ์’ ลาออกจากนายกรัฐมนตรีรักษาการ เปิดทางให้มีนายกรัฐมนตรี “คนกลาง” บริหารประเทศ

ปรีดิยาธรคือใคร? เขาเป็นคนที่สนับสนุนรัฐประหาร ๑๙ กันยา และได้ดิบได้ดีจากการที่ทหารแต่งตั้งเขาเป็นรัฐมนตรีคลัง ปรีดิยาธรเป็นคนคลั่งเสรีนิยมกลไกตลาด เป็นคนชั้นสูงที่เกลียดชังการใช้เงินรัฐเพื่อประโยชน์ประชาชน มองว่ารัฐบาลทักษิณใช้เงิน “มากไป” สำหรับโครงการ ๓๐ บาทรักษาทุกโรค และโครงการรถไฟไฟฟ้าที่จะแก้ปัญหาจราจรในกรุงเทพฯ เขาเลยเดินหน้าตัดงบประมาณสำหรับระบบสาธารณะสุข ในขณะเดียวกันรัฐบาลเผด็จการ คมช. นี้เพิ่มงบประมาณทหารมหาศาล ซึ่งมาจากภาษีคนจน

ปรีดียาธรคนนี้พยายามปกปิดจุดยืนตนเอง แล้วหน้าด้านเสนอให้ลดพื้นที่ประชาธิปไตยไทย พวกที่เสนอตัว “เป็นกลาง” ล้วนแต่เป็นคนโกหกแบบปรีดิยาธร หรือไม่ก็เป็นคนปัญญาอ่อนที่ไม่มีจุดยืนทางการเมืองเพราะคิดอะไรไม่ออก

เราต้องคัดค้านข้อเสนอเหลวไหลเรื่อง “นายกคนกลาง”

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand



 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 ตอนที่ 2
สื่อกับนักวิชาการหยุดยิงซ้ำลุงอะแกว
http://www.dailymotion.com/video/x1baihy_ส-อก-บน-กว-ชาการหย-ดย-งซ-

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 ตอนที่ 1 
ปชป.มือสกปรกยังกล้าร้องศาล
http://www.dailymotion.com/video/x1baihl_ปชป-ม-อสกปรกย-งกล-าร- 

The Daily Dose

The Daily Dose


ไปเลือกตั้ง...ฝ่าความป่าเถื่อนสู่ประชาธิปไตย 
 
The Daily Dose ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557
ใครสูญเสียเมืองไทยไปให้กับความวุ่นวาย?
http://www.dailymotion.com/video/x1bcnap_ใครส-ญเส-ยเม-องไทยไปให-ก-บความว

Divas Cafe

Divas Cafe
 


 

Divas Cafe ประจำวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2557 
มองดูโลกเพื่อย้อนดูตัวเอง
http://www.dailymotion.com/video/x1baou6 

คำถามจากคนตันหยงเปาว์ ‘กราดยิง’การปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน?!

คำถามจากคนตันหยงเปาว์ ‘กราดยิง’การปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน?!



 
เสื้อ ผ้าของ “นายมีดี อาแว” ที่ใส่ในวันเกิดเหตุ สังเกตเห็นรอยเท้าอยู่บนหลังเสื้อ และรอยเลือดแห้งข้างล่างของเสื้อ เป็นหลักฐานหนึ่งที่ทำให้แม่และภรรยาของมีดีเชื่อว่า เขาถูกซ้อมทรมานก่อนที่จะพาไปขัง

จากเหตุการณ์ เมื่อวันที่ 20 ม.ค.2557 เวลาประมาณ 23.00 น. มีกลุ่มคนที่ชาวบ้านระบุว่าเป็นเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจสวมชุดดำ ใส่โม่งปิดหน้า เปิดตาสองดวง (บางส่วน) และไม่ทราบจำนวนที่ชัดเจน แต่มาด้วยรถกระบะประมาณ 8-9 คัน ทำการกราดยิงหมู่บ้านด้วยอาวุธสงครามโดยไม่ทราบสาเหตุ พร้อมทั้งควบคุมตัวนายมีดี อาแว อายุประมาณ 28 ปี ชาวบ้านในพื้นที่ไป โดยภรรยาของเขาเชื่อว่า สามีถูกซ้อมทรมานในที่เกิดเหตุก่อนที่เจ้าหน้าที่จะนำตัวไปสอบสวนและกักขัง

“หลังเกิดเหตุเจ้าหน้าที่บอกว่า มีดีมีหมายจับติดตัว 2-3 คดี แต่พอพวกเราขอดูหมายของมีดี เขากลับไม่ให้เราดู” ภรรยามีดี กล่าว

การมาของตัวแทนชาวบ้านในครั้งนี้ก็เพื่อต้องการขอคำปรึกษาและขอความ ช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ รวมทั้งตัวแทนภาคประชาสังคมในพื้นที่ เพื่อหาช่องทางการเรียกร้องความเป็นธรรมโดยสันติวิธี จากการกระทำอันเกินกว่าเหตุของเจ้าหน้าที่

ทั้งนี้ ผู้มาร่วมต้อนรับและรับฟังปัญหาของชาวบ้านตันหยงเปาว์ ประกอบด้วย มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, เครือข่ายอาสาสมัครผู้ช่วยทนายความมุสลิม มูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม, สำนักปาตานีรายาเพื่อสันติภาพและการพัฒนา, เครือข่ายบัณฑิตอาสาปาตานี, วิทยาลัยประชาชน, สหพันธ์นิสิตนักศึกษา นักเรียน และเยาวชนปาตานี และสำนักสื่อ Wartani 

“การที่เรามาในครั้งนี้ เพราะเราไม่เชื่อในแนวทางของรัฐว่าเขาจะให้ความเป็นธรรมแก่เราได้ เราจึงมาขอความช่วยเหลือจากคณะกรรมการอิสลาม ทนายความ และนักเคลื่อนไหวที่เป็นคนในพื้นที่เสียเอง เราไม่ได้ต้องการให้ทุกคนไปช่วยจับคนร้าย แต่เรามาขอคำปรึกษาหาช่องทางว่า มีช่องทางไหนบ้างที่สามารถให้ความเป็นธรรมแก่พวกเราได้” ชาวบ้านคนหนึ่งกล่าว

เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทำให้ชาวบ้านลุกขึ้นมารวมตัวกันเพื่อต่อสู้ตาม กระบวนการยุติธรรมให้ถึงที่สุด โดยมุ่งมั่นว่า คนผิดต้องถูกลงโทษตามกฎหมาย 

“ทำไมการเข้ามาปิดล้อมตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ต้องมีกราดยิงด้วย ถ้ากระสุนถูกชาวบ้านตายใครจะรับผิดชอบ นี่หรือการปฏิบัติของข้าราชการที่รับใช้ประชาชน” ตัวแทนชาวบ้านตั้งคำถาม

ชาวบ้านอีกคนหนึ่งเสริมขึ้นมาว่า “ใครที่ได้รับความเสียหายจากการกราดยิงของเจ้าหน้าที่ให้นำใบเสร็จมาแสดง แล้วจะจ่ายค่าเสียหายให้ เจ้าหน้าที่บอกพวกเราหลังจากที่เราไปแจ้งความ และเราเชื่อว่า หลังจากนี้ก็คงมีการเยียวยา แจกเงินให้ แต่พวกเราจะบอกว่า เราไม่ได้ต้องการเงิน เราไม่ต้องการวัตถุใดๆ ทั้งสิ้น เราแค่ต้องการให้ความจริงปรากฏ ผู้ใดทำผิดก็ต้องได้รับโทษตามที่เขาทำไป”

(อ่านต่อ)

รายการเถียงให้รู้เรื่อง ฉบับเต็ม ตอน เลือกต้้ง 2 ก พ โมฆะหรือไม่

รายการเถียงให้รู้เรื่อง ฉบับเต็ม ตอน เลือกต้้ง 2 ก พ โมฆะหรือไม่ 





รายการเถียงให้รู้เรื่อง ฉบับเต็ม ตอน เลือกต้้ง 2 ก พ โมฆะหรือไม่ ออนแอร์เมื่อวันที่ 5 02 57 

ฟ้าเดียวกัน : ประชาชน 20,468,646 คน คิดเป็นกี่ % ของการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57

ฟ้าเดียวกัน : ประชาชน 20,468,646 คน คิดเป็นกี่ % ของการเลือกตั้ง 2 ก.พ. 57

 




หลักการสำคัญในการนับคะแนนเลือกตั้งคือการนับผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง มิใช่ผู้มีสิทธิเลือกตั้ง
การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 เกิดขึ้นท่ามกลางความขัดแย้งทางการเมืองอันเกิดจากการต่อต้านความพยายามผลัก ดันร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร จนทำให้รัฐบาลต้องตัดสินใจยุบสภาผู้แทนราษฎรเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2556

แต่การเลือกตั้งครั้งนี้ พรรคประชาธิปัตย์ ในฐานะพรรคอันดับ 2 ได้ บอยคอตเลือกตั้ง ขณะเดียวกันก็มีคนของพรรคประชาธิปัตย์ขับเคลื่อนการเมืองนอกสภาในนาม “คณะกรรมการประชาชนเพื่อการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้เป็นประชาธิปไตยที่ สมบูรณ์อันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” (กปปส.) เพื่อ “ล้ม” การเลือกตั้ง 2 กุมภาพันธ์ 2557 ด้วยวิธีการต่าง ๆ ทั้งการใช้ความรุนแรง และใช้กระบวนการ ตุลาการภิวัตน์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดสุญญากาศทางการเมืองให้จงได้

โดยหน้าฉาก พรรคประชาธิปัตย์ และ กปปส. พยายามชูเลือก “การปฏิรูปก่อนเลือกตั้ง” เป็นข้ออ้างในการ มีการล้มล้างการเลือกตั้ง รวมทั้งรณรงค์ให้คนที่เชื่อแนวทางตน “ไม่ไปเลือกตั้ง” ขณะที่คนที่ไม่เห็นด้วยกับ พรรคประชาธิปัตย์ และ กปปส. ก็รณรงค์ให้ไปใช้สิทธิเลือกตั้งเพื่อแสดงตัวตน

การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 เกิดด้วยความทุลักทุเล มีการขัดขางการเลือกตั้งตั้งแต่วันรับสมัคร จนเป็นเห็นให้มีการเสียชีวิต, ความรุนแรงในการขัดขวางการลงคะแนนเสียงเลือกตั้งล่วงหน้า, การปิดหน่วยเลือกตั้ง การขโมยบัตรเลือกตั้ง ฯลฯ

การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 จึงมิใช่การเลือกตั้งเพื่อสรรหาผู้มากำหนดทิศทางการบริหารประเทศเท่านั้น
แต่การเลือกตั้ง 2 กุมภา 2557 เป็นการ “ลงประชามติ” สำหรับผู้ที่ต้องการการเลือกตั้งเพราะคิดว่าเป็นหนทางสันติในการแก้ปัญหาทาง การเมือง ด้วยการออกมาเลือกตั้ง กับผู้ที่ไม่เชื่อในแนวทางดังกล่าวว่าจะแก้ปัญหาได้ จนทำให้ต้องขัดขวางทุกวิถีทาง

แต่กระนั้นก็ยังมีผู้มาใช้สิทธิ 20,468,646 คน จากผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 44,649,742 คน คิดเป็น 45.84 %ของจำนวนผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ทั้งนี้ก็ต้องบันทึกไว้ด้วยว่า มีหน่วยเลือกตั้ง 94,454 หน่วย เปิดได้ 84,325 คิดเป็น 89.28 % หรือมีหน่วยเลือกตั้งอีก 10.72 % ที่ถูกปิดโดย กปปส.

มีความพยายามจากผู้ที่ต้องการล้มการเลือกตั้งบอกว่า ผู้มาใช้สิทธิเลือกตั้ง 20,468,646 คน เป็นเพียง 45.84 % ของผู้มีสิทธิเลือกตั้ง มิได้เป็นเสียงส่วนใหญ่

แท้จริงแล้วเป็นการพยายามบิดผันตัวเลข เพื่อที่จะเข้าขางฝ่ายตนโดยแท้

ไม่เคยมีการเลือกตั้งระดับประเทศครั้งไหนในโลกที่เป็นประชาธิปไตย ที่มีประชาชนมาใช้สิทธ์ 100 %

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2014/02/51642 

ในหลวงอนุญาตให้วิจารณ์พระองค์จริง ๆ หรือ?

ในหลวงอนุญาตให้วิจารณ์พระองค์จริง ๆ หรือ? 




ทบ.ฮึ่ม ‘สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล’ โพสต์พาดพิงสถาบัน อาจเข้าข่ายผิด ม.112
 
ในหลวงอนุญาตให้วิจารณ์พระองค์จริง ๆ หรือ? พวกที่ชอบอ้างพระราชดำรัส ๖ ธันวาคม ๒๕๔๘ ที่ว่า ในหลวงอนุญาตให้วิจารณ์พระองค์นั้น พวกที่ชอบอ้างพระราชดำรัสนี้ หากท่านดู "บริบทเบื้องหลัง" และ "ลำดับเหตุการณ์" ในการมีพระราชดำรัสนี้แล้ว จะพบว่า พวกคุณไม่สามารถอ้างอิงและสรุปพระราช ดำรัสนี้โดยใช้ "บทสรุป" เช่นว่านั้นได้เลยครับ ผิดวัตถุประสงค์ของผู้กล่าว และขาดบริบทสำคัญทางประวัติศาสตร์โดยสิ้นเชิงในการสรุปเช่นนั้น

(อ่านต่อ)
http://blogazine.in.th/blogs/phuttipong/post/4121