หน้าเว็บ

วันเสาร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คดีการเมือง"

ไทยขื่นขัน อันหาที่สิ้นสุดมิได้ "คดีการเมือง"






ขมุกขมัวมืดหมองแต่เช้าตู่
เสพข่าวรู้แลเห็นคนเป็นใหญ่
บนทางเลือดอาบน้ำตาประชาไท
คุกขังคาใจยังไร้ถิ่นเสรี

หยุดเทิดหยุดพร่ำว่ารักเพื่อน
หยุดบิดเบือนความจริงของเสื้อสี
ลงมือทำนำประชามุ่งเสรี
สร้างวิถีทางธรรมนำสังคม

ประวัติศาสตร์จักจารึกหนึ่งผู้กล้า
หรือประชาจักเหยืยบย้ำผืนดินจม
จงตรองเลือกหนทางที่เหมาะสม
ก่อนสายสมพัดผ่านไม่หวนคืน....


สัญญากันว่า

สัญญากันว่า



"เพราะ "ความจริง" ก็คือ "ความจริง"

"เพราะ "ความจริง" ก็คือ "ความจริง"





สรกล อดุลยานนท์ หรือ หนุ่มเมืองจันท์ คอลัมนิสต์มติชนรายสัปดาห์ เขียนลง มติชนรายวัน ในตอนหนึ่งมีเนื้อหาว่า:

"เพราะ "ความจริง" ก็คือ "ความจริง"


การปรองดองเป็นแนวทางที่สังคมไทยต้องเดิน


แต่มิได้หมายความว่าเราจะต้องบิดเบือน "ความจริง"


ยอมรับเถอะว่า "ความขัดแย้ง" ในอดีตเป็นเรื่องจริง


ยอมรับเถอะว่า "คนเสื้อแดง" ส่วนหนึ่งไม่พอใจต่อการเดินสายเข้าพบ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ของ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

ฯลฯ


"ความจริง" ไม่ใช่สิ่งที่น่ารังเกียจ


การบิดเบือนความจริงต่างหาก คือ สิ่งที่น่ารังเกียจ


และคนที่เจ็บปวดจากเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทุกคนคงยอมรับการบิดเบือน "ความจริง" ไม่ได้


---------------


สรกล อดุลยานนท์, "ความจริง กับการปรองดอง"

สถานีคิดเลขที่ 12 หนังสือพิมพ์มติชนรายวัน
28 เมษายน 2555


ที่มา: http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335616617&grpid&catid=02&subcatid=0207



ชนชั้นปกครองไทยเป็นคณะ ไม่ใช่บุคคลคนเดียว

แดงสังคมนิยม


ชนชั้นปกครองไทยเป็นคณะ ไม่ใช่บุคคลคนเดียว

โดยใจ อึ๊งภากรณ์


เนื่องจากมนุษย์ดำรงอยู่ในสังคมชนชั้นมาตั้งแต่สมัยเกษตร คนธรรมดาจะถูกปกครองโดยกลุ่มคนหรือคณะ ซึ่งเป็นชนชั้นปกครอง แต่ไม่เคยมีกรณีใดในประวัติศาสตร์โลกที่บุคคลคนเดียวถืออำนาจผูกขาดอยู่ใน มือ ถ้าเข้าสู่ระบบทุนนิยมก็ยิ่งแล้วใหญ่ ดังนั้นในสังคมไทยปัจจุบัน ไม่มีใครคนใดคนหนึ่งที่ผูกขาดอำนาจและสามารถสั่งการทุกอย่างได้ แต่มีหมู่คณะ คือชนชั้นปกครองไทยที่ต้องการให้เราหลงเชื่อว่าเป็นอย่างนั้น และเสื้อแดงและคนอื่นๆ อีกมากมายก็หลงเชื่อความคิดที่ผิดหลัก ประวัติศาสตร์ รัฐศาสตร์ และวิทยาศาสตร์อันนี้

“ประวัติศาสตร์ของสังคมมนุษย์ที่ผ่านมาคือประวัติศาสตร์ของการต่อสู้ทาง ชนชั้น” นี่คือประโยคที่มีชื่อเสียงที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เขียนในหนังสือ “แถลงการณ์พรรคคอมมิวนิสต์” และถ้าเราไม่เข้าใจความสำคัญของ “ชนชั้น” ในสังคมมนุษย์ เราจะไม่มีวันเข้าใจลักษณะแท้ของสังคมไทยและชนชั้นปกครองไทยได้

เราดำรงอยู่ในสังคมชนชั้น ซึ่งแปลว่ามี “กลุ่มคนกลุ่มหนึ่งที่ควบคุมอำนาจทางการเมืองและเศรษฐกิจ” กลุ่มนี้เรียกว่า “ชนชั้นปกครอง” และเราต้องเข้าใจว่า “ชนชั้น” ไม่ใช่การตราหัวคนนั้นคนนี้ ว่าอยู่ชนชั้นใด มันเป็นเรื่อง “ความสัมพันธ์” ทางอำนาจเศรษฐกิจการเมือง ที่กลุ่มคนนี้มีกับคนอีกกลุ่มหนึ่ง พูดง่ายๆ เมื่อมีชนชั้นปกครองก็ต้องมีชนชั้นอื่นที่ถูกปกครอง

ในระบบทุนนิยมชนชั้นปกครองคือชนชั้นนายทุน “ชนชั้นนายทุน” ประกอบไปด้วยนายทุนใหญ่แน่นอน แต่ประกอบไปด้วยกลุ่มคนอีกมากมายที่แบ่งงานกันทำเพื่อควบคุมระบบเศรษฐกิจทุน นิยม เช่นเจ้าหน้าที่รัฐและรัฐบาล ที่ มาร์คซ์ กับ เองเกิลส์ เรียกว่า “คณะกรรมการเพื่อบริหารผลประโยชน์ร่วมของชนชั้นนายทุน” นอกจากนี้มีนายพลระดับสูง ผู้บัญชาการตำรวจ และผู้พิพากษาระดับสูง เพื่อใช้ความรุนแรงในการควบคุมประชาชนในกรณีที่จำเป็น และมีเจ้าของสื่อ กับนักการเมืองอวุโส ฯลฯ เพื่อกล่อมเกลาให้ประชาชนเชื่อฟังชนชั้นปกครองโดยไม่ต้องใช้ความรุนแรง มีลัทธิต่างๆ ของชนชั้นปกครองที่ช่วยตรงนี้ เช่นลัทธิการเคารพธงชาติ ลัทธิศาสนา และลัทธิกษัตริย์ในประเทศที่มีสถาบันนี้

ในหลายๆ ประเทศ “เจ้าหน้าที่รัฐ” ต้องรวมไปถึงกษัตริย์และราชวงศ์ที่มีหน้าที่ในด้านการเป็นสัญญลักษณ์ของชาติ ที่นายทุนควบคุม และของลัทธินายทุนด้วย คือเป็นสถาบันที่ย้ำว่าการแบ่งระดับชั้นเป็นเรื่อง “ธรรมชาติ” ที่ “มีมานาน” เราจึงเข้าใจได้ว่าทำไมชนชั้นปกครองไทยมองว่ากฏหมาย 112 มีไว้ปกป้อง “ความมั่นคง” ในการปกครองของชนชั้นเขา

ก่อนหน้าที่จะมีการปฏิวัติทุนนิยม ซึ่งในไทยเกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่๕ เรามีชนชั้นปกครองในระบบศักดินา ในระบบนี้กษัตริย์อ่อนแอมากพอสมควร เพราะต้องแบ่งอำนาจทางเศรษฐกิจและสังคมกับขุนนาง และพ่อค้า ในระบบฟิวเดิลของยุโรปก็เช่นกัน และไม่ว่าจะมีกษัตริย์หรือจักรพรรดิ์ที่เข้มแข็งแค่ไหน เขาไม่เคยสามารถผูกขาดอำนาจอยู่ในมือได้หมด ต้องพึ่งพ่อค้า นายธนาคาร นายพล ขุนนาง พระทางศาสนา เจ้าของที่ดิน และองค์มนตรี ต่างๆ เสมอ และมักจะมีคู่แข่งที่รอแย่งชิงอำนาจตลอด พูดง่ายๆ ชนชั้นปกครองในอดีตประกอบไปด้วยหมู่คณะที่เป็นคู่แข่งกันและร่วมมือกันใน เวลาเดียวกัน 
 แต่แน่นอนในหมู่คณะนี้จะมีบุคคลบางคนที่มีอำนาจมากและในเวลาหนึ่งสามารถครอบ งำคนอื่นได้ในระยะสั้น แต่การครอบงำไม่ใช่อำนาจเด็ดขาด มันมาจากการสร้างแนวร่วมด้วย ถ้าเราศึกษาประวัติศาสตร์ไทยสมัยอยุธยาหรือรัตนโกสิน เราจะเห็นภาพนี้ตลอด แม้สมัยสมบูรณาญาสิทธิราชย์ภายใต้ระบบทุนนิยม ของรัชกาลที่๕ ก็ต้องสร้างแนวร่วมเพื่อรักษาอำนาจของตนเองและหมู่คณะ ไม่ใช่นั่งสั่งอยู่คนเดียว นอกจากนี้คู่แข่งที่เป็นหมู่คณะในชนชั้นปกครองเดียวกันก็มี ประวัติศาสตร์ยุโรปก็เช่นกัน แต่นั้นไม่ได้แปลว่ากษัตริย์ในอดีตทั่วโลกจะไม่อวดอ้างว่าตนเป็น “เจ้าเหนือฟ้าเหนือหัว” เสมอ ซึ่งคำอวดกับความจริงเป็นคนละเรื่องกัน

กษัตริย์เฮนรี่ที่๘ ของอังกฤษ มีอำนาจรวมศูนย์พอสมควร แต่ต้องแบ่งอำนาจให้หัวหน้าสถาบันศาสนาและรัฐมนตรี จักรพรรดิ์ญี่ปุ่นถูกรื้อฟื้นโดยชนชั้นซัมมูไรในการปฏิวัติเมจี่ ในสงครามโลกครั้งที่สองพวกทหารคลั่งชาติอาจอ้างว่าตนพร้อมจะตายเพื่อจักรพร รดิ์ แต่ชนชั้นปกครองญี่ปุ่นตอนนั้นประกอบไปด้วยนายทุนอุตสาหกรรมและนายทหาร ในระบบเผด็จการนาซี ฮิตเลอร์อาจเป็นผู้นำสูงสุด แต่มีโครงสร้างเครือข่ายพรรคนาซีซึ่งลงมาสู่ทุกระดับของสังคม มีแกนนำพรรคที่มีอำนาจ ยิ่งกว่านั้นพรรคนาซีไม่สามารถขึ้นมามีอำนาจได้ถ้านายทุนใหญ่ของเยอรมันไม่ หนุนหลัง ระบบเผด็จการสตาลินก็เหมือนกัน ปกครองโดยหมู่คณะ ฐานอำนาจคือพวกข้าราชการแดง และเมื่อสตาลินตายระบบนั้นก็ยังดำรงอยู่ต่อไปจนถึงปี 1989 ในกรณีเผด็จการฮิตเลอร์กับสตาลิน การบังคับข่มขู่ต่างๆ และการสั่งการ กระทำอย่างชัดเจน ทุกคนรู้ว่าใครสั่งและแกนนำที่มีอำนาจเป็นใคร ถ้าไม่เป็นเช่นนั้นจะทำไม่ได้ เพราะประชาชนจะไม่เกรงกลัวหรือเชื่อฟัง และนอกจากนี้สตาลินกับฮิตเลอร์เป็นผู้นำที่มีนิสัยใจคอคึกคักแข็งแกร่ง ไม่ได้เป็นคนขี้อายที่พูดกำกวม และไม่ได้เป็นคนที่ไม่เคยกล้าฟันธงเรื่องจุดยืนในที่สาธารณะ

ในระบบเผด็จการที่ปกครองโดยพวกพระในยุคแรกๆ ของสังคมชนชั้น หลังยุคบุพกาล พวกพระจะคุมระบบเกษตร แต่เนื่องจากมนุษย์ยังนับถือธรรมชาติและไม่เข้าใจวิทยาศาสตร์พอ พวกพระสามารถอ้างได้ว่าตน “รับคำสั่งมาจากเทวดา” ได้ โดยที่ไม่ต้องมีการพิสูจน์กัน แต่ระบบแบบนี้หมดจากโลกนานแล้ว

นักวิชาการและนักการเมืองฝ่ายทุนสมัยนี้มักอ้างเสมอว่าไม่มีชนชั้นใน สังคม แต่พอเกิดวิกฤตเศรษฐกิจทั่วโลก ปรากฏว่าชนชั้นกรรมาชีพต้องรับแบกภาระในขณะที่ชนชั้นนายทุนเสพสุขท่ามกลาง การล้มละลายของระบบธนาคารและการตกงาน และพรรคการเมืองต่างๆ หรือรัฐบาลต่างๆ ที่สนับสนุนผลประโยชน์ของชนชั้นนายทุน ก็จะใช้นโยบายเสรีนิยมกลไกตลาดที่นำไปสู่การโอนมูลค่าไปสู่ชนชั้นนายทุนเสมอ

นักวิชาการและนักการเมืองฝ่ายทุนสมัยนี้มักอ้างอีก ว่าทุนนิยมนำไปสู่เสรีภาพและกำเนิดของ “เสรีนิยม” แต่มันเป็นเพียงเสรีภาพของนายทุนเท่านั้น อย่างไรก็ตามในระบบทุนนิยมอำนาจทางเศรษฐกิจไม่เคยอยู่ในมือบุคคลคนเดียวได้ แต่จะอยู่ในมือผู้บริหารระดับสูงของกลุ่มทุนใหญ่ที่แข่งกันเอง ในขณะเดียวกันนายทุนเหล่านี้ต้องพึ่งโครงสร้างรัฐ เพื่อให้มีเสถียรภาพและความมั่นคง ทั้งภายในประเทศและในการเมืองระหว่างประเทศด้วย ดังนั้นในประเทศอย่างสหรัฐอเมริกาประธานาธิบดีต้องแบ่งอำนาจกับนักการเมือง อื่นๆ กับผู้พิพากษา กับเจ้าหน้าที่ระดับสูงของรัฐ และโดยเฉพาะกับนายทุนใหญ่

(อ่านต่อ)
http://redthaisocialist.com/2011-01-20-12-39-03/342-2012-05-05-11-35-43.html 

กวีประชาไท: จิตร ภูมิศักดิ์

กวีประชาไท: จิตร ภูมิศักดิ์

 

 

ผมคิดถึงจะเข้ตัวนั้น
ตัวที่ดีดเสียดสั่นแผ่นดินสยาม
แง้มโลกทรรศน์รับอรุณทุกทุ่งทาม
ตั้งคำถามพุ่งตรงถึงศักดินา

ผมคิดถึงจะเข้ตัวนั้น
ทุกทำนองก้องสนั่นและแหบพร่า
ส่งคลื่นเสียงแหลมคมกรีดมายา
พังผ่าจารีตประเพณี

ผมคิดถึงจะเข้ตัวนั้น
บดปาดบั่นคุณค่าเก่า
สูงศักดิ์ศรีสร้างฟ้าใหม่
ให้ปวงชนเป่าผงคลีแสงอุษา รวีสาดวิถีไท

ผมคิดถึงจะเข้ตัวนั้น
กลั่นขับเคี่ยวผ่านแท่งนิ้วแข็งด้านไหม้
สีเนื้อหนังสร้างมหาคีตาลัย
ปัญญาชนผู้รับใช้ประชาชน

ผมคิดถึงจะเข้ตัวนั้น
ปลุกเร้าขวัญผู้กล้ากลางถนน
ให้ลุกตื่นยืนยันความเป็นคน
อภิชนผวาหวาดปิศาจเพลง

จระเข้หัวก้าวหน้า
เขี้ยวฟันคมขบเคี้ยวฟ้าบ่มดินสุกประกายเปล่ง
จิตสำนึกชนชั้นตื่นรื่นบรรเลง
กร้าวกล่อมหูราษฎร กู่เพลงชัย !

ไม้หนึ่ง ก.กุนที 

นักประวัติศาสตร์แฉ"สตาลิน"อาจ"ลอบสังหาร"เลนิน"หลังขัดแย้งร้าวฉาน

นักประวัติศาสตร์แฉ"สตาลิน"อาจ"ลอบสังหาร"เลนิน"หลังขัดแย้งร้าวฉาน

 




 

สำนักข่าวต่างประเทศรายงานเมื่อวันที่ 5 พ.ค.ว่า นายเลฟ ลูรี่ นักประวัติศาสตร์รัสเซีย เปิดเผยระหว่างการประชุมเกี่ยวกับการตายของบุคคลสำคัญโลก ระบุว่า เขาเชื่อว่า โจเซฟ สตาลิน เผด็จการสหภาพโซเวียต อาจเป็นผู้ "ลอบสังหาร" วลาดิเมียร์ เลนิน บิดาแห่งสหภาพโซเวียต หลังจากเกิดความขัดแย้งร้าวฉาน โดยเลนิน ซึ่งต้องเผชิญกับภาวะสุขภาพย่ำแย่และมีอาการเส้นเลือดสมองตีบ อาจถูกสตาลินกำจัดด้วยการวางยาพิษ เนื่องจากไม่พอใจที่เลนินสนิทสนมกับลีออน ทรอตสกี้ และมีความขัดแย้งกับเขา โดยในโน้ตบันทึกชี้ว่า ก่อนตาย เลนินได้วิจารณ์สตาลินว่ามีนิสัยโหดเหี้ยมและทะเยอทะยาน และยังชี้ว่า เขาไม่เหมาะสมกับตำแหน่งเลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ด้วย และว่าทฤษฎีนี้สามารถพิสูจน์ได้ด้วยการตรวจสมองของเลนิน ที่ขณะนี้่ยังคงมีการเก็บไว้ในกรุงมอสโก

อย่างไรก็ตาม นายแพทย์แฮร์รี่ วินเตอร์ นักประสาทวิทยา เชื่อว่า ความเครียดและปัญหาครอบครัวอาจเป็นสาเหตุการเสียชีวิตของเลนิน โดยก่อนที่จะเสียชีวิต เลนินมีสุขภาพที่ย่ำแย่ลงเรื่อย ๆ และในปี 1921 เขาถึงกับลืมสุนทรพจน์ที่จะต้องกล่าว และต้องเรียนรู้ที่จะพูดและเขียนด้วยมือซ้ายหลังจากป่วยหนักด้วยอาการเส้นเลือดสมองตีบ ซึ่งทำให้เขาเป็นอัมพาตครึ่งซีก และจะไม่สามารถพูดได้

ขณะที่นายแพทย์ฟิลิป แม็คโคเวียค ชี้ว่า จากสภาพเส้นเลือดในสมองของเลนินยังคงแข็งแรง ทำให้เป็นเรื่องเข้าใจยากมากที่เขาป่วย สาเหตุหนึ่งเพราะเขายังหนุ่มแน่น และไม่เคยเผชิญภัยเสี่ยงใดๆ เช่น เขาไม่สูบบุหรี่ ไม่ได้เป็นเบาหวาน ไม่ได้เป็นโรคอ้วน และการชันสูตรศพยังไม่พบว่าเขามีความดันสูงด้วย

 

(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1336201333&grpid=&catid=06&subcatid=0600

แด่วันนักเขียน (ย้อน)ไปดูบทพูดคุยเรื่อง ‘ความบ้าและความโง่’ กับ ‘บัณฑิต อานียา’

แด่วันนักเขียน (ย้อน)ไปดูบทพูดคุยเรื่อง ‘ความบ้าและความโง่’ กับ ‘บัณฑิต อานียา’

 

 ‘5 พ.ค.’ วันนักเขียน อ่านบทสัมภาษณ์ ‘บัณฑิต อานียา’ (ถึงจะเก่าแต่ยังไม่ได้เผยแพร่ที่ไหน) นักเขียนอาวุโส ผู้ได้รับความสนใจขึ้นมาอย่างปัจจุบันทันด่วน (อาจจะโดยไม่ตั้งใจ) หลังวิกฤตการเมืองไทยยุครถไฟขบวน 112 วันนี้เราลองมาคุยถึงเรื่องตัวตนและงานของนักเขียนที่ได้รับการยกย่องว่า ‘กึ่งบ้า-กึ่งอัจฉริยะ’ และมุมมองต่อ 'ความโง่' ในสังคมไทย




ย้อนไปต้นเดือนตุลาคมในขณะที่ในเมืองกรุงยังคงไร้ความกังวลเรื่องมวลน้ำ พวกเราได้นัดพูดคุยกับลุง ‘บัณฑิต อานียา’  นักเขียน ‘เสียดสี’ รุ่นเดอะที่ผ่านร้อนผ่านหนาวทนแรง ‘เสียดทาน’ จนแทบกระอัก มาอย่างยาวนานคนหนึ่ง 

อารมเสียดสีและการท้าทายสังคมผ่านงานเขียนของลุงบัณฑิตนั้นหลายครั้งก็ทำ ให้ขำไม่ออก เมื่อเจ้าตัวต้องไประเห็จไปอยู่ในเรือนจำ รวมถึงเกือบถูกช๊อตไฟฟ้าในโรงพยาบาลจิตเวช ในข้อหา ‘คนบ้า’ และอาจจะเป็นนักเขียนเจ้าเดียวในประเทศไทยที่ผ่านโรงพยาบาลบ้ามาถึง 3 สถาบัน
นี่เป็นอีกหนึ่งบทสัมภาษณ์ กับนักเขียนที่อาจจะ ‘บ้า’ เกินไปสำหรับสังคมไทย ‘ไทย’ …

0 0 0
“ผมก็ดีขึ้น 50% และผมอยากจะหายให้หมด ถ้ามีคนซื้อหนังสือผม ผมก็อาจจะหายบ้าได้”

ได้ข่าวว่าเป็นคนบ้า?

คือไม่ใช่ข่าวครับ มันเป็นความจริงเลยครับ
ก็คือผมผ่านโรงพยาบาลโรคจิตมาสามสถาบัน จิตแพทย์สามคนลงความเห็นว่าผมเป็นโรคจิต
แต่ผมเคยอ่านนิตยสารชัยพฤกษ์ เมื่อหลายสิบปีก่อนอาจารย์ท่านหนึ่งได้กล่าวว่าถ้าจิตแพทย์กับคนไข้โรคจิต ได้พบกัน จิตแพทย์จะยังไม่รักษา แต่จิตแพทย์มีหน้าที่พูดให้คนไข้โรคจิตรู้ตัวว่าตัวเองเป็นโรคจิตและก็ยอม รับว่าตัวเองเป็นโรคจิต ถ้าคนไข้คนไข้รู้ตัวและยอมรับว่าตัวเองเป็นโรคจิต อาการโรคจิตก็จะหายไป 50% ส่วนอีก 50% อยู่ที่การรักษาพยาบาล

ในทำนองเดียวกันนี้เมื่อจิตแพทย์สามคนบอกว่าผมเป็นโรคจิตและผมก็ยอมรับ ว่าผมเป็นโรคจิต อาการโรคจิตของผมก็หายไปแล้ว 50% อีก 50% จะหายก็ต่อเมื่อมีคนซื้อหนังสือผม
เพราะฉะนั้นคุณต้องซื้อผมถึงจะหายเป็นโรคจิต


เมื่อยอมรับแล้วเป็นยังไงต่อ?
 
ผมก็ดีขึ้น 50% และผมอยากจะหายให้หมด ถ้ามีคนซื้อหนังสือผม ผมก็อาจจะหายบ้าได้

แล้วคนอื่นจะเป็นบ้าไหม ถ้าอ่านหนังสือลุงบัณฑิต?

ถ้าคนอื่นเป็นบ้าผมได้ยิ่งดีเลย แผ่นดินนี้จะได้น่าอยู่ขึ้น ระบบการปกครองจะได้ดีขึ้น

ทำไมถึงมีความพยายามที่จะดิ้นรนขายหนังสือของตัวเองขนาดนั้น?

ก็เรามีความคิดที่จะเผยแพร่ความคิดที่ดีงามและถูกต้อง ให้สังคมไทย เพราะสังคมไทยเป็นสังคมที่เลว ต้องเอาหนังสือผมไปเผยแพร่ แล้วจะรู้ว่ามันดียังไง และผมอธิบายได้ ว่าสิ่งที่ผมเสนอในหนังสือเป็นประโยชน์ต่อแผ่นดินไทย ต่อคนไทยทั้งแผ่นดิน และผมก็สู้มาตลอด

สังคมไทยเป็นสังคมที่เลวเพราะระบอบปกครองมันเลว รัฐธรรมนูญมันก็เลว กฎหมายมันก็เลว กระบวนการยุติธรรมมันก็เลว สื่อมวลชนมันก็เลว นักวิชาการมันก็เลว
แล้วพวกคุณเป็นสื่อมวลชนหรือเปล่า คุณเป็นคนดีหรือคนเลว


ระบบการปกครองมันเลวยังไงบ้าง?

ระบอบการปกครองมันทำให้พวกที่มีอำนาจมีอำนาจเหนือทุก สิ่งทุกอย่าง จนกระทั่งทำให้ประชาชนกลายเป็นสัตว์หรือต่ำยิ่งกว่าสัตว์ และระบอบการปกครองแบบนี้มันผูกขาดด้วย

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40369

ธเนศ วงศ์ยานนาวา ชี้การอ่านในโลกดิจิตอลเหนือการควบคุมของรัฐชาติ

ธเนศ วงศ์ยานนาวา ชี้การอ่านในโลกดิจิตอลเหนือการควบคุมของรัฐชาติ

 

 


(5 พ.ค.55) ธเนศ วงศ์ยานนาวา อาจารย์คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรยายในหัวข้อ "การอ่านในยุคดิจิตอล" ในค่ายเขียนงานสร้างสรรค์กรุงเทพมหานคร จัดโดย Bookmoby ร่วมกับหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร โดยกล่าวว่า สื่อกระดาษที่เป็นรูปแบบหนึ่งของข้อมูลและเทคโนโลยีแบบดั้งเดิมและอักษรใน ฐานะเทคโนโลยีแบบหนึ่ง กำลังจะถูกเปลี่ยนให้กลายเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งจะทำให้รูปแบบการอ่านเปลี่ยนไป ปริมาณการอ่านหนังสือผ่านหนังสือในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์มีปริมาณเพิ่มขึ้น ทั้งที่เมื่อเทียบกันแล้วการอ่านจากบนจอช้ากว่าการอ่านผ่านกระดาษ 20-30% แต่ในมิติของการเรียนรู้ พบว่า สื่อดิจิตอลจะดึงดูดความสนใจสำหรับเด็กมากกว่า จนทำให้เด็กมีความสามารถในการเรียนรู้เพิ่มมากขึ้น

เขากล่าวว่า การอ่านผ่านโลกยุคดิจิตอลในแบบที่ hypertext (การคลิกลิงก์ไปยังข้อความต่างๆ) ที่พร้อมที่จะทำให้เกิดการย้ายตัวบทไปสู่ตัวบทใหม่ๆ เสมอ แสดงให้เห็นถึงความไม่ต่อเนื่องในการอ่าน แต่ก็กลับเป็นการแสดงให้เห็นถึงการเชื่อมต่อกับตัวบทที่มีการข้ามตัวบทจาก ตัวบทหนึ่งไปสู่อีกตัวบทหนึ่ง สถานะของ hypertext จึงไม่มีขั้นตอนว่าอะไรอยู่ในตำแหน่งที่สูงกว่าที่จะจำเป็นต้องเข้าถึงก่อน หรือเป็นส่วนสรุปสุดท้าย ซึ่งหมายถึง hypertext ไม่มีลำดับชั้น เมื่อไม่ลำดับขั้นก่อนหลังและสูงต่ำ เส้นทางของความเป็นเสรีประชาธิปไตยในการอ่านก็มีเพิ่มมากขึ้นไปด้วย

ทั้งนี้การอ่านใน hypertext ก็ทำให้การอ่านอยู่ในโลกของความเป็นอนันต์ (infinity) เพราะอาณาเขตของตัวบทเป็นสิ่งที่กำหนดได้ยาก แต่ละประโยคมีช่องทางออกเสมอ ช่องทางที่จะนำพาผู้อ่านไปสู่โลกใหม่ๆ ที่ไม่มีอาณาเขตของความรู้ ไม่มีการแยกกันระหว่างสาขาต่างๆ เพราะทุกอย่างถูกเชื่อมโยงถึงกันได้หมด แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้เกิดการบูรณาการของความรู้ได้ เมื่อทุกอย่างดำเนินไปอย่างไม่มีที่สิ้นสุด ก็ทำให้ทุกอย่างไม่มีจุดเริ่มและไม่มีจุดจบ ทุกๆ ที่เป็นจุดเริ่มและจุดจบได้ในเวลาเดียวกัน เมื่อเป็นอะไรที่ไม่มีที่สิ้นสุดก็ทำให้ยากจะรู้ว่าสิ่งที่ไม่มีที่สิ้นสุด มีรูปร่างหน้าตาเป็นอย่างไร รวมถึงกลับทำให้วิตกกังวลกับอะไรที่ไม่รู้ถึงจุดที่สิ้นสุด ราวกับว่าไม่มีใครสามารถควบคุมมันได้

นอกจากนี้ เมื่อบวกกับความหลากหลายของตัวบทอิเล็กทรอนิกส์ที่เปิดโอกาสให้มีการเปลี่ยน แปลงแก้ไขเรื่องราวต่างๆ ได้ ก็ยิ่งเพิ่มความหลากหลายขึ้นอีก โดยยกตัวอย่างกรณีวิกิพีเดีย ที่ไม่สามารถหาผู้ประพันธ์ได้อย่างแท้จริง เพราะทุกๆ คนเข้าไปแก้ไขได้ แต่ก็ไม่มีใครที่ได้คะแนนหรือเงินจากการประพันธ์ในลักษณะนี้ เพราะทุกคนเป็นผู้ประพันธ์นิรนาม

"พื้นที่ของตัวบทแบบวิกิพีเดียจึงเป็นโลกในอุดมคติของศาสนาที่ไม่มีใคร สามารถที่จะแสดงความเป็นเจ้าของ หรือถ้าจะกล่าวอีกนัยหนึ่ง ทุกๆ คนก็เป็นเจ้าของ นี่เป็นอุดมคติของคอมมิวนิสต์ที่ได้เกิดขึ้นจริงแล้วในโลกดิจิตอล ทุกๆ คนมีส่วนร่วมในการสร้างความรู้ที่ไม่ต้องเสียเงินเสียทองให้กับสถาบันการ ศึกษาที่นับวันค่าใช้จ่ายสำหรับการศึกษาก็มีแต่สูงขึ้น"

ทั้งนี้ การอ่านในโลกคอมพิวเตอร์ไม่ได้เป็นเพียงแค่การอ่านหนังสืออย่างเดียวเท่า นั้น แต่ยังเป็นการอ่านวัตถุแบบอื่นหรือสื่ออื่นไปพร้อมกันด้วย เช่น การอ่านอีเมล เป็นต้น ผู้อ่านเองพร้อมเสมอที่จะเปลี่ยนไปสู่การอ่านแบบอื่นๆ เพียงเวลาไม่กี่นาที การอ่านในโลกดิจิตอลจึงเป็นการอ่านที่มีเสรีภาพ แม้ว่าเสรีภาพดังกล่าวจะหมายถึงความไม่อดทนต่อการอ่านอะไรอย่างใดอย่างหนึ่ง เป็นระยะเวลายาวนานก็ตาม

นอกจากนี้ในโลกของ hypertext ที่ทุกอย่างไม่ได้พุ่งเป้าไปสู่จุดสุดยอดหรือมีเป้าหมายเพียงหนึ่งเดียว สถานะของผู้ประพันธ์จึงไม่ได้มีอำนาจแบบเดิมอีก เพราะผู้อ่านสามารถเริ่มต้นเรื่องราวเรื่องหนึ่งแล้วเดินแยกไปตามแต่ความ ต้องการของผู้อ่านว่าจะสนใจและต้องการทำความเข้าใจประเด็นใดก่อนหรือหลังได้ ด้วย

ธเนศ กล่าวว่า ในโลก hypertext ในโลกของการเขียนแบบนี้ มันไม่สามารถจะทำให้ "ประเทศไทยรวมเลือดเนื้อชาติเชื้อไทย" อีกแล้ว มันไม่สามารถทำให้คุณมีโฟกัสร่วมกันอีกได้ง่ายๆ แบบเดิม คุณกำหนดไม่ได้เลยว่าคนอ่านจะอ่านอะไร เพราะถึงแม้ว่ากูเกิลจะขึ้นให้คุณ 10 ที่ แต่มันก็สามารถจะพาคุณไปไหนต่อไหนได้ เพราะฉะนั้น ถ้าพูดแบบง่ายๆ ในนัยยะทางการเมือง คือ คุณเลิกคิดได้แล้วว่าทุกคนจะคิดในแบบเดิม เพราะไม่ต้องพูดถึงเนื้อหา คุณจะบอกว่ารักชาติศาสน์กษัตริย์แบบที่คุณประยุทธ์ (จันทร์โอชา) พูด อ่านใน text นี้ แต่มันพาคุณไปไหนก็ไม่รู้ อาจจะไปลงท้ายที่สังคมนิยม คอมมิวนิสต์ก็ได้ คุณคุมมันไม่ได้ เหมือนกับที่เราบอกว่าอินเทอร์เน็ตคุณคุมมันไม่ได้ มันล็อคอยู่ในโครงสร้าง มันไม่เหมือนเขียนหนังสือที่ฟอร์มของหนังสือมันตายตัว

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40367

เสรีที่จะฆ่าเสรีภาพ (อวยพรย้อนหลังแด่วันเสรีสื่อโลก)

เสรีที่จะฆ่าเสรีภาพ (อวยพรย้อนหลังแด่วันเสรีสื่อโลก)

 



ในเสียงร้องก้องโลกปกป้องสื่อ
ยังมีเสียงผีกระสือเป็นกระสาย
หอนโหยหวนแข่งเขาบ้างอย่างไม่อาย
ทั้งที่เป็นตัวทำลายสิทธิเสรี

บรรพสื่อต่อสู้เพื่อประชาธิปไตย
ทั้งติดคุกทั้งตายไปเพื่อศักดิ์ศรี
สื่อรุ่นหลังสวมสิทธิได้ดิบดี
ยกตนเป็นปัทมปาณี*ชนชั้นนำ

สื่อกลายเป็นอภิชนคนวิเศษ
ปลุกผีเปรตด่าได้เอาเช้ายันค่ำ
ทั้งการเมืองการมุ้งยุ่งระยำ
มีแต่สื่อที่เลิศล้ำวิสุทธิ์**ชน

สังคมนี้ต้องพิรงพินอบสื่อ
ไม่รู้หรือใครใหญ่คับทุกแห่งหน
ราชการห้างร้านต้องถ่อมตน
ฐานันดรเหนือคนธรรมดา

สื่อชี้ถูกชี้ผิดเสพย์ติดอำนาจ
อยู่เหนือราษฎร์ผู้โง่เขลาเง่าประสา
อ้างมีอุดมการณ์เพื่อประชา
แต่ใครหือลุกขึ้นมา...ยุฆ่ามัน

สื่อไม่ผิดที่ต่อต้านทุนผูกขาด
ใช้อำนาจแทรกแซงแกล้งปิดกั้น
แต่โมหะครอบงำนำดึงดัน
จนปลุกปั่นประหารรัฐเพราะขัดใจ

สื่ออวดอ้างคุณธรรมคำพิทักษ์
ร่วมพวกพรรคเผด็จการบานหน้าใส
เพื่อเสริมสุข สุขสมจิตร สุขถิ่นไทย
ต้องเข่นฆ่าประชาธิปไตยให้วอดวาย

แสวงการงานอำมาตย์ทาสความคิด
เป็นจักรกริชคอยตะแบงแช่งให้ร้าย
เพื่อเกียรติรัตน์วงศ์สกุลหนุนตะพาย
สื่อกลับกลายเป็นผู้ดีเลือดสี(น้ำ)เงิน

เป็นเครื่องมือของอำนาจนอกระบบ
เฝ้าประจบนบเชียร์เลียสรรเสริญ
หน้าร้อนผ่าวแนบก้นจนยับเยิน
กับชาวบ้าน เก่งเกิ๊น ...นี่ไม่กล้า

ไหนว่าสื่อปกป้องสิทธิเสรีภาพ
ไหงหมอบราบให้อำนาจปริศนา
พอมวลชนลุกฮือหือขึ้นมา
สื่อออกใบอนุญาตฆ่าประชาชน

ปลุกความเกลียดเดียดฉันท์สันดานไพร่
ปลุกให้ใช้กระสุนจริงยิงเผาขน
ยัดข้อหา “ล้มเจ้า” จลาจล
จนเกิดเหตุฆ่าคนครั้งร้ายแรง

แค่สองปีสื่อพลิกลิ้นปลิ้นสองแฉก
ยุให้รำยำให้แตกแยกเสแสร้ง
เชิดชูศพ “วีรชน” คนเสื้อแดง
มาโต้แย้งนิรโทษกรรมทำหน้ามึน

สันดานสื่อคือตั้งแง่แถไปเรื่อย
กระดาษเปื่อยทำลืมเลือนเปื้อนหมึกลื่น
พ่นน้ำลายไร้ตรรกะไร้จุดยืน
ลูกไม้ตื้นหลอกสังคมถมเข้าตัว

สื่อคือชนชั้นนำหวงอำนาจ
แม้ประกาศต่อต้านการเมืองชั่ว
แต่ผูกขาดอัตตาหน้ามืดมัว
ใครเห็นต่างหมายหัวขั้วอัปปรีย์

ประชาธิปไตยจะเดินไปถึงจุดหมาย
ต้องสลายอำนาจสื่อถือกดขี่
สื่อทางเลือก สื่อพลเมือง เรืองเสรี
เปิดพื้นที่ประชาชนคนธรรมดา

ต้องปิดฉากยุคทองสื่อครองชาติ
เศษกระดาษเก่าผุปุหมดค่า
โลกออนไลน์รู้ทันสื่อทุกเวลา
ให้ปัญญากว่าเปื้อนหมึกทึกทักเอง

ใบตองแห้ง
4 พ.ค.55


(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2012/05/40361

อย่าตกเป็นเครื่องมือของพวกที่พยายามพามวลขนไปกราบศัตรูเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง!

อย่าตกเป็นเครื่องมือของพวกที่พยายามพามวลขนไปกราบศัตรูเพื่อผลประโยชน์ของตัวเอง! 
 


Posted Image