หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2555

ย้ายฐานผลิต วาทกรรมอำพราง // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 เมษายน 55

ย้ายฐานผลิต วาทกรรมอำพราง // นสพ.เลี้ยวซ้าย ปีที่ 7 ฉบับที่ 9 เมษายน 55

 


ในเล่มพบกับ 

จอห์งลุก มะลอนเชนอง “คนอันตราย” ที่เรารักของฝ่ายซ้ายฝรั่งเศส
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
หน้า 2

หน่ออ่อนของนายทุนในอาณาจักรจีนโบราณ
โดย C.H.
หน้า 3

ต้องปฏิวัติการศึกษา เพื่อเสรีภาพทางความคิด
โดย โคแบร์
หน้า 4

การปรองดองของยิ่งลักษณ์ ได้แต่ปกป้องอำนาจอำมาตย์
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์
หน้า 6

อัพเดทสถานการณ์วิกฤติเศรษฐกิจ และการเมืองในสหภาพยุโรป
โดย นุ่มนวล ยัพราช
หน้า 7

สองด้านของการเลือกตั้งพม่า
โดย ลั่นทมขาว
หน้า 10

นายทุนย้ายฐานการผลิตจากไทย ได้ง่ายแค่ไหน
โดย กองบรรณาธิการ

หน้า 13
ว่าด้วยทุน เล่ม 1 ภาคที่ 7 กระบวนการสะสมทุน

โดย กองบรรณาธิการ
หน้า 16


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.com/2012/04/7-9-55.html

ฤาบริโภค "ความดี" กันจน "เสรีภาพ" ป่วยหนัก?

ฤาบริโภค "ความดี" กันจน "เสรีภาพ" ป่วยหนัก?

 


โดยสุรพศ ทวีศักดิ์

ผมมีความสงสัยว่า "ความดี" ที่พุทธศาสนาในบ้านเราสอนกันคืออะไรกันแน่?


เคยได้ยินพระที่มีชื่อเสียงบางท่านพูดทำนองว่า วัตถุมงคลต่างๆ จะดีหรือไม่ขึ้นอยู่กับว่าเราใช้อย่างไร ถ้าใช้เพื่อเป็น "สื่อ" หรือเป็นเครื่องมือให้คนมีศีลธรรมก็เป็นสิ่งที่ดี เช่นพระเจกิบางรูปเวลาแจกวัตถุมงคลจะสอนโยมว่า "มีพระห้อยคอแล้ว อย่าไปทำผิดทำชั่วกินเหล้าเมายา ผิดลูกผิดเมียชาวบ้านนะ ต้องถือศีล ไม่ทำชั่วทำบาปพระถึงจะขลัง"


ตามความหมายนี้วัตถุมงคลไม่ใช่ "สิ่งที่ดีในตัวเอง" (intrinsic good) แต่เป็นเพียง "สิ่งดีเครื่องมือ" (instrumental good) คือสิ่งที่เป็นเครื่องมือไปสู่สิ่งอื่น เช่นเป็นสื่อให้คนมีศีลธรรม ทว่าในทางตรงข้ามคนก็อาจใช้วัตถุมงคลไปสู่ความงมงายได้ ฉะนั้น "คุณค่าทางศีลธรรม" (moral value) ของวัตถุมงคลจึงวางอยู่ที่ "ผลลัพธ์" ที่เกิดจากการใช้วัตถุมงคล


แต่พอมาถึงเรื่อง "ความดี" หรือศีลธรรมที่พุทธบ้านเราสอนกัน ก็ดูเหมือนจะมีลักษณะเหมือนวัตถุมงคลอีก คือเป็น "เครื่องมือ" ไปสู่สิ่งอื่นๆ อีกเช่นกัน


ดังที่ผมเคยได้ยินพระบางรูปพูดว่า "เรื่องเลื่อนสมณศักดิ์อาตมาไม่ต้องไปดิ้นรนอะไรมาก คิดแบบสบายใจไม่ติดยึด เมื่อบุญมาถึงก็จะได้เอง" คำพูดเช่นนี้หมายความว่า "บุญ" หรือ "ความดี" เป็น "เครื่องมือ" ไปสู่สิ่งที่เราต้องการบางอย่าง เช่นสมณศักดิ์ เป็นต้น


เมื่อมองผ่านทัศนะดังกล่าวนี้จะเห็นภาพชัดขึ้นว่า คนเราแต่ละคนมีความต้องการไม่เหมือนกัน ฉะนั้น เวลาทำบุญด้วยการให้ทาน รักษาศีล เจริญภาวนา แต่ละคนจึงปรารถนาต่างกัน บางคนปรารถนาให้พ้นความซวยต่างๆ เช่น ให้พ้นสรรพทุกข์ สรรพโศก สรรพโรค สรรพภัย บางคนปรารถนาความร่ำรวยสุขสบายให้เงินทองไหลมาเทมา บางคนปรารถนายศศักดิ์ ปรารถนาทรัพย์สมบัติ บริวารสมบัติ สวรรค์ นิพพาน


นี่หมายความว่า คุณค่าของ "ความดี" วางอยู่บน "ผลลัพธ์ต่างๆ" ที่เราต้องการ เราไม่ได้ทำความดีเพราะเห็นว่ามันเป็นสิ่งที่ดีที่ต้องทำ หรือ "ทำความดีเพื่อความดี" (หรือ "ทำสิ่งที่ถูกต้องเพื่อรักษาความถูกต้อง" "ทำตามกฎเพื่อรักษากฎ") แต่เราทำเพราะเราต้องการ "ผลอย่างอื่น" ที่อยู่นอกเหนือจากตัวความดี เช่น สมณศักดิ์ เงินทอง ความสุขสบาย ฯลฯ


เมื่อยึดถือเช่นนี้ ถ้าในบางสถานการณ์หากเราสามารถจะได้มาซึ่ง "ผลอย่างอื่น" ที่เราต้องการโดยไม่จำเป็นต้องทำความดี ก็เท่ากับความดีนั้นกลายเป็น "เครื่องมือที่ไร้ค่า" ไป


 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335006158&grpid=&catid=02&subcatid=0207

"สุณัย ผาสุข" วิพากษ์พท. วิจารณ์ปชป. อย่า "ซุกมือไว้ใต้หีบ" ปรองดองคู่ขัดแย้งในมุมมืด

 



 

มติชนทีวีสัมภาษณ์ "สุณัย ผาสุข" ที่ปรึกษาองค์กรฮิวแมนไรท์วอทช์ประจำประเทศไทย ถึงประเด็นปรองดอง-นิรโทษกรรม

@สังคมไทยควรจัดการกับบาดแผลความขัดแย้งด้วยการลืมแล้วเริ่มต้นใหม่ หรือควรค้นหาข้อเท็จจริงก่อนให้อภัยแล้วอยู่ร่วมกัน


สังคมไทยโชคร้ายกว่าสังคมอื่นทั่วโลกที่เคยเผชิญความขัดแย้งกันมา เพราะคนไทยไม่มีโอกาสแม้กระทั่งรู้ข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น จึงไม่สามารถไปไกลถึงคำถามว่าเราจะ “เลือกจำ” หรือ “เลือกลืม” เราจะเลือกลงโทษหรือนิรโทษกรรม คือขอแค่ให้รู้ข้อเท็จจริงว่าเกิดอะไรขึ้น คนไทยก็ยังไม่มีสิทธิรู้ ทั้งๆ ที่สังคมไทยเผชิญความรุนแรงขนาดใหญ่มาแล้วหลายครั้ง ตั้งแต่ 14 ตุลา 6 ตุลา พฤษภาทมิฬ จนกระทั่งการรัฐประหารครั้งต่างๆ เหตุการณ์ความขัดแย้งที่เข้ารหัสกันเป็นสีเหลือง สีแดง ทุกเหตุการณ์ ภาพความเป็นจริง หรือ ข้อเท็จจริง ล้วนแต่เป็นสิ่งที่ถูกทำให้เป็นเรื่องลึกลับ 



เพียงแต่ว่า รู้กันนัยๆ ว่าใครน่าจะเกี่ยวข้องบ้าง แต่ไม่มีข้อเท็จจริง ที่ยอมรับกันโดยทุกฝ่าย ว่าเรื่องคืออะไร คู่ขัดแย้งคือใครกันแน่ แล้วคู่ขัดแย้งเหล่านั้น มีบทบาทอย่างไร สร้างความเสียหายแค่ไหน เราไม่มีโอกาสได้รู้เลย สิ่งที่เรียกว่าข้อเท็จจริง ชุดของข้อเท็จจริง ที่ได้รับการยอมรับในวงกว้างที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ เพราะคงไม่มีชุดที่ยอมรับร่วมกันทั้งหมด แต่ก็ไม่เคยเกิดขึ้นในสังคมไทย ฉะนั้น สังคมไทยโดยรวม เมื่อไม่รู้ว่าใครเป็นคู่ขัดแย้ง เราจึงทวงหาความรับผิดชอบไม่ได้ แล้วยิ่งกว่านั้น คนที่เป็นเหยื่อ ทั้งในทางตรงทางอ้อม ก็จะแสวงหาความยุติธรรมไม่ได้เลย เพราะไม่รู้จะไปแสวงหาจากใคร

@ แม้แต่รัฐบาลในช่วงเหตุการณ์ความรุนแรง ก็อาจจะไม่ใช่คู่ขัดแย้งตัวจริงงั้นหรือ


ความขัดแย้งทางการเมืองแต่ละครั้ง คู่กรณีอาจจะไม่ใช่บุคคลที่อยู่ในแสงสว่าง อาจจะเป็นบุคคลที่อยู่ในเงามืด ไม่ได้อยู่ในโครงสร้างอำนาจโดยตรง แต่ยังมีอิทธิพล อยู่เหนือโครงสร้างอำนาจ เพราะฉะนั้นสิ่งที่จำเป็น ต้องเปิดเผยออกมา ว่าใครบ้างเป็นคู่ขัดแย้ง

คำถามอย่างที่พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์ ถาม พล.อ.สนธิ บุญรัตกลิน เป็นคำถามที่สำคัญ ส่วน พล.อ.สนธิ จะบอกว่าให้ตาย ก็บอกไม่ได้ อย่างนั้นเป็นคำตอบที่สังคมไม่ควรจะยอมรับแล้วปล่อยผ่านไปได้ง่ายๆ เพราะเหตุการณ์รัฐประหาร เป็นเหตุการณ์สำคัญ เป็นจุดเปลี่ยนทางการเมืองที่สำคัญ เป็นชนวนของความขัดแย้งที่เกิดต่อเนื่องมา ความแตกแยกที่เกิดในสังคม ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบัน ส่วนหนึ่ง ก็พันมาจากเหตุการณ์รัฐประหาร ฉะนั้น ต้องตอบว่า การรัฐประหาร เป็นการตัดสินใจของฝ่ายทหาร หรือมีฝ่ายอื่นเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ทำเพื่อผลประโยชน์ใครต้องมีคำตอบ แล้วยิ่ง พล.อ.สนธิ บอกว่า ให้ตายก็บอกไม่ได้ นั่นเท่ากับว่ามีการปกปิดข้อเท็จจริงอะไรบางอย่าง ซึ่งสังคมไม่ควรปล่อยผ่าน โดยเฉพาะ พล.อ.สนธิเอง เป็นคนเดียวกับผู้ต้องการจะผลักดันการปรองดอง โดยปกปิดข้อเท็จจริง อย่างนี้ก็มีปัญหาแล้ว

@ มองความเป็นไปได้เรื่องการปรองดองอย่างไร


ผมมองว่าสิ่งที่เป็นข้อเสนอผ่านจากสถาบันพระปกเกล้า เข้าสู่กรรมาธิการการปรองดอง แล้วได้รับการรับรองจากรัฐสภามาแล้ว มันไม่ใช่การปรองดอง มันคือ “การสมยอมกัน” ของผู้ที่มีอำนาจในฝ่ายต่างๆ เพราะในข้อเสนอที่ผ่านมาจากสถาบันพระปกเกล้า เขียนไว้เป็นลายลักษณ์อักษรชัดเจนว่า จะสนับสนุนการทำงานตรวจสอบข้อเท็จจริง ของ คอป. ให้แล้วเสร็จภายใน 6 เดือน แต่การเผยแพร่รายงานตรวจสอบข้อเท็จจริงนั้น จะทำก็ต่อเมื่อสังคมมีความพร้อม มีเงื่อนไขที่เหมาะสม สรุปแล้วคือเมื่อไหร่ เพราะใครจะเป็นผู้ตัดสินว่าเงื่อนไขทางสังคมพร้อมแล้ว แล้วที่สำคัญคือรายงานดังกล่าวบอกว่าจะมี “การปกปิด” รายชื่อคนที่เกี่ยวข้อง เพราะนั่นเท่ากับคุณไม่ได้ให้คำตอบใดๆ กับสังคมเลยว่าใครเป็นคู่ขัดแย้ง แล้วคู่ขัดแย้งก็ยังไม่รู้ว่าสิ่งที่ตัวเองทำนั้นถูกหรือผิด ทำตามกรอบหรือนอกกรอบ เช่น วาทกรรม บอกว่าฝ่ายหนึ่งเผาบ้านเผาเมือง ขณะเดียวกันก็มีฝ่ายที่ถูกบอกว่าเป็นฆาตกร 



ผู้ได้รับผลกระทบ ก็ไม่ทราบว่าใครกระทำ แล้วเขาจะตัดสินใจได้อย่างไรว่า ผู้กระทำควรได้รับการลงโทษ หรือได้รับการนิรโทษกรรม หรือให้อภัย
การที่เรียกร้องบอกว่าลืมๆ กันไปเถอะแล้วเดินหน้าไป   แต่คุณยังไม่ให้ข้อเท็จจริงกับสังคมเลย มันเป็นสิ่งที่ผมมองได้ 2 ทางคือ เป็นการดูถูกความเป็นมนุษย์ ของผู้ที่ถูกกระทำ  การดูถูกสังคมทั้งสังคมผู้ได้รับผลกระทบจากการกระทำความรุนแรงนั้นๆ แล้วบอกให้ลืมกันไป มันไม่ใช่ทางออกอะไร
คือถ้าใช้ตรรกะว่า ลืมกันไปแล้วก้าวเดินไป ผมมองว่าเป็นการตอกย้ำวัฒนธรรม การทำผิดแล้วไม่ต้องรับผิด เป็นการฟอกขาว ของเหตุการณ์ความรุนแรงที่เกิดขึ้น โดยปกป้องผู้ที่กระทำผิด ให้อยู่ในเงามืดต่อไป สิ่งเหล่านี้ไม่ควรถูกส่งเสริม ไม่ว่าผ่านทางงานวิชาการ หรือกระบวนการทางการเมือง การปกปิดให้ผู้กระทำผิดยังอยู่ในเงามืดต่อไป โดยไม่ต้องรับผิดเป็นสิ่งไม่ควรสนับสนุน

 

(อ่านต่อ)

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1335002658&grpid=01&catid=&subcatid=

ชนบทกับครก.112 Intelligence 21เมษายน55

ชนบทกับครก.112 Intelligence 21เมษายน55

 

(คลิกฟัง)

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=iOEhhOXXWqQ#!