วันพุธที่ 4 เมษายน พ.ศ. 2555
ทำไมต้องถอนทหารออกจากจังหวัดชายแดนภาคใต้
พรรคเพื่อไทยมีนโยบายที่ก้าวหน้ากว่าพรรคอื่น
เรื่องการกระจายอำนาจการปกครองในสามจังหวัดภาคใต้
แต่ปรากฏว่าพรรคประชาธิปัตย์ชนะพื้นที่ภาคใต้เกือบทั้งหมด เพราะอะไร?
ว่าด้วยการใช้ความรุนแรงของรัฐ: การกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม vs การควบคุมจลาจล
ว่าด้วยการใช้ความรุนแรงของรัฐ: การกวาดล้างฝ่ายตรงข้าม vs การควบคุมจลาจล
โดย ภัควดี วีระภาสพงษ์
ประเด็นการใช้ความรุนแรงและการไม่ใช้ความรุนแรงหรือสันติวิธี กลายเป็นประเด็นที่ค่อนข้างสับสนในสังคมไทย วิธีการเช่นไรที่ถือเป็นการใช้ความรุนแรง? การประท้วงด้วยการเทเลือดถือเป็นการใช้ความรุนแรงหรือไม่? การปราศรัยด้วยวาจาหยาบคายเป็นการใช้ความรุนแรงหรือไม่? การเพิกเฉยต่อการสังหารหมู่กลางเมืองหรือถึงขั้นยินดีในการฆ่าถือเป็นความ รุนแรงหรือไม่? รัฐมีความชอบธรรมที่จะใช้ความรุนแรงปราบปรามประชาชนเมื่อไร? ความรุนแรงระดับไหนที่รัฐพึงใช้และไม่พึงใช้?
มีหลายประเด็นที่สามารถถกเถียงกันได้ไม่รู้จบและมีความเห็นไปได้ต่างๆ อาทิเช่น การใช้วาจาหยาบคายเป็นความรุนแรงหรือไม่ เป็นเรื่องที่วิวาทะกันไปได้อีกนานและคงหาข้อสรุปที่เป็นที่สุดหรือพึงพอใจ ของทุกฝ่ายได้ยาก แต่ก็มีบางประเด็นสำคัญๆ ที่มีบรรทัดฐานและหลักปฏิบัติชัดเจน ทั้งยังปฏิบัติกันเป็นส่วนมากในประเทศที่ “เจริญแล้ว” ทั่วโลก แต่กลับกลายเป็นเรื่องที่สับสนและไม่เข้าใจกันในสังคมไทยอย่างไม่น่าเชื่อ ยกตัวอย่างเช่น คำถามว่า ความรุนแรงระดับไหนที่รัฐพึงใช้และไม่พึงใช้ต่อประชาชน เป็นต้น
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/39962
หนัง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ โดนแบน อ้างก่อความแตกแยก
หนัง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ โดนแบน อ้างก่อความแตกแยก
http://www.youtube.com/watch?v=vd6JEk6Imco&feature=player_embedded#!
3 เม.ย.55 คณะกรรมการพิจารณาภาพยนตร์(กองเซ็นเซอร์) ในกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กระทรวงวัฒนธรรม มีมติสั่งห้ามฉาย ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ ภาพยนตร์เรื่องสุดท้ายที่ได้รับทุนสร้างจากกองทุนส่งเสริมภาพยนตร์ของ สำนักงานศิลปวัฒนธรรมร่วมสมัย (สศร.) กระทรวงวัฒนธรรม ภายใต้โครงการไทยเข้มแข็งของรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ในปี 2553 ซึ่งเพิ่งสร้างเสร็จและเข้าตรวจพิจารณาปีนี้
ตามเอกสารบันทึกการตรวจพิจารณาภาพยนตร์ระบุว่า “คณะกรรมการฯ พิจารณาเห็นว่า ภาพยนตร์เรื่องเชคสเปียร์ต้องตาย (Shakespeare Must Die) มีเนื้อหาที่ก่อให้เกิดการแตกความสามัคคีระหว่างคนในชาติ ตามกฎกระทรวงกำหนดลักษณะของประเภทภาพยนตร์ และวีดิทัศน์ พ.ศ. 2552 ข้อ 7 (3) จึงมีมติไม่อนุญาต โดยจัดเป็นประเภทภาพยนตร์ที่ห้ามเผยแพร่ในราชอาณาจักร ตามมาตรา 26 (7) แห่งพระราชบัญญัติภาพยนตร์และวิดีทัศน์ พ.ศ. 2551”
ทั้งนี้ ภาพยนตร์เรื่อง ‘เชคสเปียร์ต้องตาย’ เป็นภาพยนตร์ไทยที่สร้างขึ้นจากบทละคร ‘โศกนาฏกรรมแม็คเบ็ธ’ (The Tragedy of Macbeth) ของวิลเลียม เชคสเปียร์ (William Shakespeare) กวี เอกของโลก เป็นเรื่องราวของขุนพลที่มักใหญ่ใฝ่สูงอย่างไร้ขอบเขตและคลั่งไคล้ในไสย ศาสตร์ เมื่อมีแม่มดมาทักว่าจะได้เป็นกษัตริย์ในภายหน้า และโดยการยุยงของภรรยา เขาสังหารพระราชาเพื่อสถาปนาตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ แม็คเบ็ธปกครองแผ่นดินด้วยความบ้าอำนาจ พาให้บ้านเมืองตกอยู่ในยุคมืดมนแห่งความหวาดกลัว โดยที่ตัวเขาเองก็ปราศจากความสุข ต้องใช้ความรุนแรงอย่างไม่มีที่สิ้นสุด เพื่อรักษาอำนาจของตน ละครเรื่องแม็คเบ็ธนี้ ได้มีการจัดแสดงโดยคณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัยเมื่อปีที่แล้ว นอกจากนี้ยังบรรจุอยู่ในหลักสูตรการศึกษาของเด็กมัธยมต้นทั่วโลกมายาวนาน และได้ถูกสร้างเป็นภาพยนตร์มาแล้วหลายครั้ง โดยนักทำหนังอินเดีย ญี่ปุ่น และจีน เป็นต้น
ด้านมานิต ศรีวานิชภูมิ ผู้อำนวยการสร้างหนังเรื่องดังกล่าวได้ออกแถลงการณ์ถึง การแบนภาพยนตร์ดังกล่าวในยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และระบุว่า “เหตุการณ์นี้ทำให้ผมเห็นว่า เราไม่สามารถพูดถึงเรื่องศีลธรรม ความโลภ ความบ้าอำนาจ ความมักใหญ่ใฝ่สูงอันไร้ขอบเขตกันได้อีกแล้วในประเทศไทย ผู้คนอยู่กันด้วยความกลัว ราวกับว่าอยู่ใต้แม็คเบ็ธในบทละครของเชคสเปียร์จริงๆ มันแปลกประหลาดมากที่องค์กรของกระทรวงวัฒนธรรมลุกขึ้นแบนหนังที่กระทรวง วัฒนธรรมเองเป็นผู้สนับสนุน และกองเซ็นเซอร์ ภายใต้กรมส่งเสริมวัฒนธรรม เห็นควรแบนเชคสเปียร์”
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/39958
ประมวลเสียงคัดค้าน หลังหนังไทย "เชคสเปียร์ต้องตาย" ถูกคำสั่ง "ห้ามฉาย"
(คลิกอ่าน)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333538454&grpid=01&catid=&subcatid=
Hot Topic 04-04-2012 พบจาตุรนต์ ฉายแสง
Hot Topic 04-04-2012 พบจาตุรนต์ ฉายแสง
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=TjrRb9g7g-Y&feature=player_embedded
Wake up Thailand 04-04-55
Wake up Thailand 04-04-55
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=2xPvD_rUVPI&feature=player_embedded#!
นิติราษฎร์: การทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการฯ
นิติราษฎร์: การทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการฯ
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ (เขียนในส่วนเยอรมนี)
ปิยบุตร แสงกนกกุล(เขียนในส่วนฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สเปน และตุรกี)
ปิยบุตร แสงกนกกุล(เขียนในส่วนฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์ กรีซ สเปน และตุรกี)
วรเจตน์ ภาคีรัตน์ และ ปิยบุตร แสงกนกกุล
เขียนถึงบทเรียนเรื่องการทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการ และการไม่
ยอมรับรัฐประหารในนานาอารยะประเทศ
การทำลายกฎหมายและคำพิพากษาในระบอบเผด็จการและการไม่ยอมรับรัฐประหารในนานาอารยะประเทศ
เยอรมนี
เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปเป็นยุติว่าคำพิพากษาของศาลที่ถึงที่สุดแล้วนั้น เป็นสิ่งที่ชี้ขาดว่าสิทธิหน้าที่ของบุคคลในทางกฎหมายมีอยู่อย่างไร คำพิพากษานั้นจะถูกหรือผิดอย่างไรในทางกฎหมายก็ตาม โดยปกติแล้ว ก็ย่อมมีผลผูกพันบรรดาคู่ความในคดี ข้อพิพาททางกฎหมายย่อมยุติลงตามการชี้ขาดคดีของศาลซึ่งถึงที่สุด และคำพิพากษาดังกล่าวย่อมเป็นฐานแห่งการบังคับคดีตลอดจนการกล่าวอ้างของคู่ ความในคดีต่อไปได้ คุณค่าของการต้องยอมรับคำพิพากษาของศาลก็คือ ความมั่นคงแน่นอนแห่งนิติฐานะของบุคคล อันมีผลบั้นปลายในการสร้างสันติสุขให้เกิดขึ้นในระบบกฎหมาย
อย่างไรก็ตาม กรณีย่อมเป็นไปได้เสมอที่ในการพิจารณาพิพากษาคดีนั้นอาจเกิดความผิดพลาดขึ้น ความผิดพลาดดังกล่าวอาจเกิดขึ้นได้ทั้งจากความจงใจหรือความประมาทเลินเล่อ ขององค์กรในกระบวนการยุติธรรม หรือความผิดพลาดนั้น อาจเกิดขึ้นจากเหตุสุดวิสัยก็ได้ ระบบกฎหมายที่ดีย่อมกำหนดกฎเกณฑ์ให้มีการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้ว ได้ ในทางกฎหมาย เราเรียกกระบวนการทบทวนคำพิพากษาที่ถึงที่สุดไปแล้ว แต่มีความบกพร่อง และหากปล่อยไว้ไม่ให้มีการทบทวน ก็จะไม่ยุติธรรมแก่คู่ความในคดีว่า การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ ในกรณีที่ปรากฏในกระบวนการรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ว่าคำพิพากษาที่ถึงที่ สุดแล้วนั้น เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ศาลที่พิจารณาคดีดังกล่าวนั้น ย่อมต้องยกคำพิพากษาเดิมซึ่งเป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาดเสีย แล้วพิพากษาคดีดังกล่าวใหม่
การรื้อฟื้นคดีขึ้นพิจารณาใหม่ จึงเป็นหนทางของการลบล้างคำพิพากษาที่ถึงที่สุดแล้ว แต่เป็นคำพิพากษาที่ผิดพลาด ทั้งนี้ตามกระบวนการ ขั้นตอน และหลักเกณฑ์ที่กำหนดเอาไว้ล่วงหน้าในระบบกฎหมายนั้น โดยองค์กรที่มีอำนาจลบล้างคำพิพากษาที่ผิดพลาดดังกล่าว ก็คือ องค์กรตุลาการหรือศาลนั่นเอง
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/04/39967
"จักรภพ เพ็ญแข" เปิดใจประเด็น "ปรองดอง-ทักษิณ" ชี้อำนาจเก่ากลัว "นิติราษฎร์" มากสุด
"จักรภพ เพ็ญแข" เปิดใจประเด็น "ปรองดอง-ทักษิณ" ชี้อำนาจเก่ากลัว "นิติราษฎร์" มากสุด
"จักรภพ เพ็ญแข"
ลี้ภัยทางการเมืองจากประเทศไทยไปกว่า 3 ปี ล่าสุด
ทีมข่าวพิเศษของเว็บไซต์ประชาไทนัดสัมภาษณ์อดีตรัฐมนตรีประจำสำนักนายก
รัฐมนตรีผู้นี้ ที่ร้านกาแฟแห่งหนึ่งกลางกรุงพนมเปญ
จักรภพตั้งประเด็นที่น่าสนใจ 3 ประการ ประการแรกคือ
เขามองเห็นว่าเมืองไทยภายใต้กระแสปรองดองนั้นเป็นวาระพักรบ
ซึ่งเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่ทางเลือกที่สามของการเรียกร้องประชาธิปไตยเกิด
ขึ้น แม้จะยังไม่เห็นรูปร่างหน้าตาที่ชัดเจนของทางสายนี้ แต่เขาเห็นว่า
นี่เป็นโอกาสที่จะตั้งคำถามให้คนที่ต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยได้เลือกว่า
จะสู้เพื่อเปลี่ยนสังคมหรือสู้เพียงเพื่อรวบสังคมมาเป็นของตัวเอง
เมื่อถามเขาถึงบทบาทของทักษิณในขบวน
ต่อสู้
จักรภพยังคงแสดงความหวังว่าทักษิณมีศักยภาพที่จะเป็นผู้นำในขบวนการเปลี่ยน
แปลงสังคม แต่นั่นเป็นสิ่งที่ทักษิณต้องเลือกเองว่าจะเลือกทางสบายหรือลำบาก
และสุดท้าย เงื่อนไขในการกลับประเทศ
แม้ว่าจะข้อกล่าวหาว่าละเมิดกฎหมายอาญามาตรา 112
นั้นอัยการจะสั่งไม่ฟ้องไปแล้วในวันเดียวกับที่เขาให้สัมภาษณ์ประชาไท (30
มี.ค.) แต่นั่นไม่ใช่แรงจูงใจที่จะทำให้เขาเดินทางกลับเข้าประเทศ
นี่คือ หนึ่งในตัวอย่างคำสัมภาษณ์ของจักรภพ
"ผมขอพูดจากข้อ
เท็จจริงดีกว่านะ ผมตอบเท่าที่รู้ก็คือว่า
เหตุที่การปรองดองเกิดขึ้นได้อย่างรวดเร็วจนเกือบจะสัมฤทธิ์ผลตามความต้อง
การของทั้งสองฝ่าย ไม่ใช่เป็นเพราะฝ่ายแรกหรือฝ่ายที่สอง
แต่เป็นเพราะนิติราษฎร์
การเกิดขึ้นของนิติราษฎร์เป็นการสร้างความรู้สึกคุกคามให้กับฝ่ายอำนาจเก่า
อย่างรุนแรง
"นิติราษฎร์
เป็นกลุ่มที่ฝ่ายอำนาจเก่ากลัวมากกว่า นปช.และคุณทักษิณเยอะ
ทุกครั้งที่นิติราษฎร์ออกโรงมีความเคลื่อนไหว
จะมีการยอมจากฝ่ายอำนาจเก่ามาก มากในทุกเรื่องในทุกมิติ
ที่พูดอย่างนี้ก็ไม่ได้อยากยกหางนิติราษฎร์
ไม่อยากให้นิติราษฎร์กลายเป็นเทวดาใหม่เหมือนกัน แต่เพื่ออยากให้รู้ว่ามีผล
และคนที่สนับสนุนนิติราษฎร์ไม่ควรไปเยินยอนิติราษฎร์จนกลายเป็นเทวดาไป
แต่ช่วยเขาคิดช่วยเขาทำ ตรงไหนเริ่มจะไม่ไหว ก็ต้องประคองก็ช่วยกันด้วย
เพื่อให้มันเป็นขบวนการประชาชนต่อไป
"ทุกขบวนการการ
เมือง เมื่อมีความนับสนุนมากๆ จากประชาชน
จะมีคนที่เรียกว่าผู้ดำรงชีพจากการเมือง เข้ามาแทรกกลาง ถ้าพูดไม่เพราะคือ
นายหน้าการเมืองเข้ามาแทรกกลาง จนกระทั่งยกผู้นำการเมืองขึ้นไปอยู่บนหิ้ง
และประชาชนไปอยู่ข้างล่าง ตัวเขาจะได้เป็นชนชั้นที่จะเชื่อมโยงทั้งสองราย
เพื่อประโยชน์ทางการเมือง มันเกิดขึ้นกับทุกขบวนการเมื่อเวลาผ่านไป
เพราะฉะนั้น ไม่อยากเห็นแบบนั้นกับนิติราษฎร์
เพราะฉะนั้นการที่นิติราษฎร์มีตัวตนที่ชัดเจน
แล้วก็มีคนอย่างอาจารย์สมศักดิ์ (เจียมธีรสกุล)
ทั้งเห็นด้วยและวิจารณ์นิติราษฎร์จะทำให้ขบวนการมันอยู่ได้อย่างดี
มันเป็นสมดุลใหม่ อยากให้เป็นแบบนี้ไปเรื่อยๆ หรือมีอย่างอาจารย์นิธิ
(เอียวศรีวงศ์) หรือมหาวิทยาลัยเที่ยงคืน ยืนอยู่ห่างๆ แล้วตะโกนไกลๆ มาว่า
เอาเลย แต่ไม่เข้าร่วม อย่างนี้เป็นวิธีการประคอง
"เมื่อกี้ไม่
ได้พูดจากความคิดนะ พูดจากสิ่งที่เกิดขึ้นจริง
ผมก็เป็นนักศึกษาจากของจริงเหมือนกัน ผมก็นั่งดู เอ๊ะ ทำไมนักวิชาการ 7
คนซึ่งไม่มีฐานอำนาจทางการเมืองใดๆ เลย ไม่มีลักษณะเชื่อมโยงทางการเมืองใดๆ
เลย ไม่มีทุนทางการเมืองที่สนับสนุนอย่างชัดเจนใดๆ
เลยถึงได้เป็นที่ครั่นคร้ามของผู้ที่มีอำนาจสูงสุด
แล้วเรียกว่าสามารถชี้นำทุกอย่างโครงสร้างในสังคมปัจจุบันได้
ผมก็เลยได้คำตอบกับตัวเองว่า
อำนาจที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในการเปลี่ยนแปลงประเทศจากนี้ไป
คืออำนาจในการเปลี่ยนแปลงความคิด มาสู่การเคารพในสิทธิมนุษยชนมากขึ้น
ไม่จำเป็นต้องเป็นสิทธิทางการเมืองนะ สิทธิในการประกอบอาชีพ สิทธิของเด็ก
สิทธิของคู่สมรส สิทธิของ sexual orientation สิทธิในทุกสิ่งทุกอย่าง
เพราะมันจะกลับไปตอบโจทย์เดียวกัน
หรือแม้แต่สิทธิของอภิชาติพงศ์ที่เป็นอภิชาติพงศ์
สิทธิของโจอี้บอยที่เป็นโจอี้บอย
สิทธิของใครต่อใครที่จะเป็นตัวของตัวเองมันกลายเป็นปราการใหญ่ที่ทำให้ทุกคน
มีจุดร่วมกันโดยไม่รู้ตัว กลายเป็นแนวร่วมโดยที่ไม่เหมือนกันเลย
แบบที่หลายประเทศเป็น อย่างสหรัฐอเมริกาเป็น อย่างในยุโรปเป็น
ไปถามเลยนั่งกันอยู่ 3 คน มีความเห็น 4 อย่าง แต่สามารถทำงานร่วมกันได้
เพราะมีลักษณะร่วมก็คือว่าแบบเธอๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบฉันๆ
ก็ไม่อยากเปลี่ยน แบบคุณๆ ก็ไม่อยากเปลี่ยน ตกลงมีลักษณะร่วมกันคือ
ไม่อยากให้มายุ่ง มันก็จะมาผนึกกำลังกัน
นี่คือสิ่งที่นิติราษฎร์กำลังนำความคิดนี้เข้ามา
สุดท้ายคนที่หนุนนิติราษฎร์อาจจะไม่ใช่คนที่เชื่อตามนิติราษฎร์
แต่จะเป็นคนที่ออกมาปกป้องให้นิติราษฎร์ได้คิดอย่างนิติราษฎร์ต่อ
เพื่อวันหนึ่งฉันจะได้คิดแบบฉันบ้าง
นี่คือสิ่งที่น่ากลัวมากของความคิดแบบเดิมของไทย ..."
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333470313&grpid=01&catid=&subcatid=
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)