หน้าเว็บ

วันจันทร์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 1 กรกฏาคม 2556

Divas Cafe ประจำวันที่ 1 กรกฏาคม 2556 


คุยกับนักข่าวสาวรักความยุติธรรม สุลักษณ์  หลำอุบล 
 
คุยกับนักข่าวสาวรักความยุติธรรม สุลักษณ์ หลำอุบล 
http://www.youtube.com/watch?v=9BAjK5dPY38 
 

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand 


 

 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 2
ผิดด้วยหรือที่หลงรักมิตซูโอะ 
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 1 กรกฎาคม 2556 ตอนที่ 1
เปิดหลักการ 10 ข้อ หน้ากากขาว 
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=6r9i8vu5Ur4 

พลเรือน ไม่ควรต้องไป "ศาลทหาร"

พลเรือน ไม่ควรต้องไป "ศาลทหาร"




หลายคนอาจคิดว่า "ศาลทหาร" เป็นเรื่องไกลตัว และ คิดว่าชาตินี้ยังไงก็ไม่ต้องไปศาลทหารแน่ๆ เพราะแค่ชื่อศาล ก็ฟังดูไม่เกี่ยวกับเราเท่าไหร่ แต่จริงๆแล้ว ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาในกรณีที่ ผู้กระทำความผิดเป็น ทหาร นักเรียนทหาร หรือ พลเรือนที่อยู่ในสังกัดทหาร (ในกฎหมายเรียกว่า บุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร) ดังนั้น ถ้าวันใดวันหนึ่ง เราเกิดเป็นผู้เสียหาย และผู้กระทำความผิด เป็นบุคคลที่อยู่ในอำนาจศาลทหาร ข้อพิพาทของเรา ต้องไปว่ากล่าวกันที่ศาลทหาร เว้นแต่ว่า จะเป็นการทำผิดร่วมกับพลเรือน เป็นคดีที่เกี่ยวเนื่องกับศาลพลเรือน เด็ก หรือเยาวชน
 


การที่พลเรือนต้องไปที่ศาลทหาร ถือว่าไม่เป็นธรรมมากๆ เนื่องจาก:



1.พลเรือนไม่มีสิทธิแต่งตั้งทนาย หรือ ฟ้องคดีเองได้ที่ศาลทหาร ต้องมอบคดีให้แก่อัยการทหารเป็นโจทก์

ประชุมใหญ่นปช.เลือก 'จตุพร' เป็นประธานใหม่ แต่เจ้าตัวขอเคลียร์คดีค้าง-ให้ธิดารักษาการไปก่อน

ประชุมใหญ่นปช.เลือก 'จตุพร' เป็นประธานใหม่ แต่เจ้าตัวขอเคลียร์คดีค้าง-ให้ธิดารักษาการไปก่อน

 

 

<นายสลักธรรม โตจิราการ บุตรชายของธิดา ฐาวรเศรษฐ ได้โพสต์ทางเฟซบุ๊กส่วนตัวราวเวลา 16.00 น. ของวันนี้ว่า ในที่ประชุมนปช. ครั้งล่าสุด ธิดาเห็นว่าน่าจะมอบตำแหน่งประธานนปช.ให้แก่ผู้อื่น เนื่องจากได้ปฏิบัติงานมากว่าสองปีแล้ว ที่ประชุมจึงได้เห็นชอบมอบตำแหน่งประธานให้แก่นายจตุพร อย่างไรก็ตาม เขาเกรงว่าตนเองยังมีคดีและเรื่องราวที่คั่งค้างอยู่ อาจถึงขั้นต้องเข้าไปอยู่ในเรือนจำอีกรอบ ซึ่งเป็นอุปสรรคการดำรงตำแหน่งประธาน นปช. และการขับเคลื่อนการต่อสู้ จึงขอให้ธิดาเป็นประธานรักษาการไปก่อน> 

"น่าเสียดายที่ท้ายสุด มวลชนเสื้อแดงเป็นเพียงการรวมกันเพื่อภาระกิจราชประสงค์ ผู้นำเสื้อแดงถือเป็นทางผ่าน หาประโยชน์จากคนตาย คนบาดเจ็บ และผู้ต้องโทษ เพื่อในเวลาต่อมาเป็นผู้อุดหนุนจุนเจือให้พรรคเพื่อไทยไปรอมชอม เอาอกเอาใจอำนาจมืด อำนาจนอกระบบ ไม่มีกระดูกสันหลังพอที่จะยืนแก้รัฐธรรมนูญให้เป็นฉบับประชาชน ไร้กระดูกสันหลังที่จะช่วยเหลือผู้ที่เข้าร่วมกระบวนการต่อสู้ให้รอดพ้นจาก การจับกุมคุมขังในคุกในตะราง ทั้งที่กระทำเพื่อให้พรรคเพื่อไทยให้ขึ้นสู่อำนาจ ถึงเวลานี้ผู้นำเส้อแดงควรให้คำตอบคนเสื้อแดงได้หรือยัง ทำไมคนเสื้อแดงถึงต้องหนุนพรรคเพื่อไทยให้อยู่ในอำนาจ ในเมื่อพรรคเพื่อไทยไม่เคยให้ความสำคัญอะไรกับการวางรากฐานให้อำนาจเป็นของ ประชาชนโดยตรง

ถ้าเป็นแนวร่วมจริงดังที่ตั้งชื่อ มีศักดิ์มีสิทธิของตัวเอง ก็ควรจะคบกับพรรคเพื่อไทยอย่างเท่าเทียม มีอำนาจพอที่จะตอบรับ และปฏิเสธ รวมถึงมีสิทธิทวงถามและถอนการสนับสนุนด้วย ถ้าวันนี้ผู้นำเสื้อแดงไม่เริ่มต้น ในไม่ช้าเสื้อแดงก็มีแต่ชื่อ ความตายและการต่อสู้ก็จะสูญเปล่า ไม่ต้องกลัวรัฐบาลล้ม ถ้าเสียงรัฐบาลไม่พอ รัฐบาลก็ยุบสภาเอง"

(อ่านต่อ)

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2556

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 1 กรกฎาคม 2556

 

ดาวน์โหลด mp3

- ก้าวต่อไปเสรีภาพในการชุมนุมมองผ่านคำพิพากษา
- นักวิจัยภาษาเผย 'โทรล' ไม่ได้ประสงค์ร้าย แต่แค่เบื่อหน่าย
- แอมเนสตี้ อินเตอร์เนชั่นแนลชี้ สหรัฐฯ ต้องไม่ไล่ล่าเอ็ดเวิร์ด สโนว์เดน
- ปฏิทินกิจกรรม

วาทะจุดประกาย: มองเตสกิเออ (Montesquieu)

วาทะจุดประกาย: มองเตสกิเออ (Montesquieu)

 



”There is no crueler tyranny than that which is perpetuated under the shield of law and in the name of justice.”
"ไม่มีความเลวร้ายใดที่จะยิ่งไปกว่า ความเลวร้ายที่ได้กระทำโดยอาศัยอำนาจตามกฎหมาย หรือในนามของกระบวนการยุติธรรม"
มองเตสกิเออ (Montesquieu)
นักคิดนักปรัชญาการเมืองชาวฝรั่งเศส


วาทะดังกล่าวอ้างถึงและแปลโดย สาวตรี สุขศรี เมื่อ 30 พ.ย.55 ในบทความ "บทเรียนจากคำพิพากษายกฟ้องคดี 112 (คดีสุรภักดิ์)"

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 24 มิถุนายน 2556

เล่าข่าวนอกกระแส: ประจำสัปดาห์ 24 มิถุนายน 2556




ประชาไทใส่เสียง ต้อนรับวันชาติ 24 มิถุนาด้วยการร่วมฟังเพลงชาติ 24 มิถุนา,เล่าเกร็ดประวัติการเกิดและหายไปของประวัติศาสตร์วันชาติ 24 มิถุนา ก่อนที่ต่อมาจะกลายเป็นวันที่ 5 ธันวา พร้อมทั้งรายงานบรรยากาศงานรำลึกวันชาติที่หมุดคณะราษฎรปีล่าสุด 

จักรภพ เพ็ญแข "ผมเคยถามคำถามนี้กับเสื้อแดงแล้วเช่นกัน"

จักรภพ เพ็ญแข "ผมเคยถามคำถามนี้กับเสื้อแดงแล้วเช่นกัน"



Photo: June 19, 2013

มีตัวอย่างของประชาธิปไตยข้ามชาติมาฝากกันอีกแล้วครับ คราวนี้เป็นกรณีระหว่างอาร์เจนติน่ากับชิลี ซึ่งต่างก็อยู่ในทวีปอเมริกาใต้และเคยผ่านประสบการณ์ของรัฐเผด็จการทหารอย่างเลวร้ายมาแล้วทั้งคู่ ธรรมดาการส่งผู้ร้ายข้ามแดนในทางการเมือง เขาจะทำเฉพาะกรณีตัวผู้นำหรืออดีตผู้นำ หรือข่าวมักจะออกเฉพาะเรื่องของคนในระดับนั้น แต่คราวนี้เป็นการส่งตัวผู้พิพากษาที่ร่วมมือกับระบอบเผด็จการ ใช้ศาลเป็นเครื่องมือที่สำคัญในการอ้างกฎหมายมาละเมิดสิทธิของคนในประเทศ ซึ่งในขณะเกิดเหตุคนก็ต้องทำตาปริบๆ เพราะกลัวกฎหมายและกลัวศาลเต็มที จนไม่กล้าวิจารณ์หรือแสดงความเห็นอะไรเลย เผลอๆ เขาจะจับไปติดคุกในกรณีหมิ่นศาลเข้าให้ ซึ่งจะเห็นได้ว่าไม่ต่างอะไรจากบ้านเราในขณะนี้ การดำเนินการล่าสุดกับผู้พิพากษาชาวอาร์เจนติน่ารายนี้จึงกำลังสร้างบรรทัดฐานที่สำคัญและมีผลกระทบต่อเนื่องมาก และคนไทยก็สามารถนำมาใช้ประโยชน์ในอนาคตได้ด้วย

อาชญากรรมทางการเมืองรายนี้เกิดขึ้นในปีพุทธศักราชเดียวกับเหตุการณ์ ๖ ตุลาคม พ.ศ.๒๕๑๙ ของเรา ขณะนั้นอาร์เจนติน่าอยู่ใต้การปกครองแบบรัฐทหารเต็มรูป ได้รับการสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาและชนชั้นศักดินาอำมาตย์ของประเทศอย่างเต็มที่เพราะกลัวภัยคอมมิวนิสต์ ขนาดฆ่าคนชาติเดียวกันทีละมากๆ อย่างโหดร้ายก็เชียร์ให้ทำ อาการเดียวกันกับเอาเก้าอี้ฟาดศพนักศึกษาที่แขวนอยู่บนต้นไม้นั่นล่ะครับ (ซึ่งต้องขอบคุณฟิล์มเก่าจากสำนักข่าว NHK ของญี่ปุ่นและสำนักข่าวอื่นๆ จนเรารุ่นหลังได้เข้าไปอยู่ในเหตุการณ์ที่แสนสะเทือนใจในคราวนั้น ทั้งที่เราเด็กเกินไปหรือบางคนก็เกิดไม่ทัน คนที่เกิดทันส่วนมากก็ไม่ได้เห็นในตอนนั้น เพราะการปิดข่าวอย่างเบ็ดเสร็จสมบูรณ์) 

พูดง่ายๆ ว่าเป็นสังคมช่วงขาดสติและไร้ความยั้งคิด ขัดแย้งกันในทางการเมืองจนเสียศูนย์ รู้สึกรังเกียจเดียดฉันท์และหาเรื่องกันได้ทุกเรื่องไป สิ่งที่กำลังเกิดในเมืองไทยตั้งแต่ราวๆ พ.ศ.๒๕๔๘ มาจนถึงบัดนี้จึงไม่ใช่เรื่องใหม่ ระบอบเผด็จการอาร์เจนติน่าในขณะนั้นอยู่ในภายใต้นายพลท็อปบู๊ตที่มีชื่อว่า ฮอร์เก้ ราฟาเอล วิเดล่า หัวหน้าคณะรัฐประหารที่ยึดอำนาจเมื่อ พ.ศ.๒๕๑๙ และควบคุมอาร์เจนติน่าด้วยกฎเหล็กและนโยบายต่อต้านคอมมิวนิสต์ เงื่อนเวลาก็เทียบได้กับการยึดอำนาจของพลเรือเอกสงัด ชลออยู่ (ความจริงเป็นของนายทหารจากกองทัพบกที่กำลังกุมอำนาจกองทัพในขณะนั้นอย่าง พลเอกเสริม ณ นคร พลเอกยศ เทพหัสดินฯ พลเอกเกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ ลงมาถึงระดับล่างหน่อยอย่าง พลตรีเปรม ติณสูลานนท์ มากกว่า) และรัฐบาลที่นำโดยนายธานินทร์ กรัยวิเชียร ในฐานะ “นายกรัฐมนตรีพระราชทาน” หลังจากนั้น (เรื่องนี้ พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ บันทึกไว้เองว่า คณะปฏิรูปฯ หรือคณะรัฐประหารได้ทูลเกล้าฯ ถวายรายชื่อคนที่เขาประสงค์จะให้เป็นนายกรัฐมนตรีไปหลายคน แต่ไม่มีพระราชประสงค์ใดๆ เพียงรับสั่งในตอนท้ายของการเข้าเฝ้าฯ ในทำนองว่ามีอะไรให้ไปถามอาจารย์ธานินทร์ ตนจึงกลับมาหารือกันแล้วจึงตั้งศาสตราจารย์ธานินทร์ฯ ผู้มีจุดยืนต่อต้านคอมมิวนิสต์อย่างชัดเจนและรุนแรง เป็นนายกรัฐมนตรีคนแรกของคณะรัฐประหาร เพราะเชื่อว่าเป็นพระราชประสงค์) ผู้ที่ผ่านเหตุการณ์ ๖ ตุลา มาแล้วคงเข้าใจลึกซึ้งกว่าคนรุ่นผมว่า ชาวอาร์เจนติน่ายุคนั้นเขารู้สึกขมขื่นและเจ็บปวดขนาดไหน ถึงเขามียอดผู้เสียชีวิตและสูญหายเป็นหลักหมื่น ซึ่งสูงกว่าของเรามากก็ตาม

การทำสงครามกับพลเมืองภายในประเทศที่เป็น “ฝ่ายซ้าย” จนมีคนตาย บาดเจ็บ พิการ และสูญหายไปมากมายในอาร์เจนติน่า ทำให้ประวัติศาสตร์บันทึกความทมิฬในช่วงนั้นว่า “สงครามโสโครก” หรือ “The Dirty War” เมื่อประชาธิปไตยคืบคลานมาสู่ทวีปอเมริกาใต้ในอีกหลายสิบปีต่อไป ความชั่วร้ายเหล่านี้ถูกขุดขึ้นมาตีแผ่อย่างเปิดเผยและเป็นสาธารณะ คำพูดชุ่ยๆ ว่า ให้มันแล้วแล้วไป ไม่มีใครกล้านำมาพูดอีกเลย สื่อมวลชนทั้งหลายที่เคยรับสัมปทานของรัฐและย้ำความคิดทางสังคมว่า อย่าขุดคุ้ยหาอดีตกันอีกเลย จงหาความสำราญด้วยละครและการพนันผ่านจอทีวีกันดีกว่า คนพวกนี้เมื่อขาดพ่อแม่ที่เป็นเผด็จการคุ้มหัวแล้ว ก็ลุกขึ้นมาแสดงจรรยาบรรณให้ดูได้เหมือนกัน น่าสนุกแท้ๆ ผลจากการพลิกกลับทางสังคมนี่เองที่ทำให้คนแก่จวนจะเข้าโลงอย่างอดีตประธานาธิบดีวิเดล่าถูกลากออกมาขึ้นมาสอบสวนใหม่และถูกตัดสินจำคุก จนเมื่อเดือนที่แล้วแกก็ตายไปในคุกนั่นเอง ระหว่างการสอบสวนนายพลวิเดล่านั้น อัยการได้สาวเรื่องไปจนถึงกลไกการใช้อำนาจของระบอบวิเดล่า เพื่อให้ถึงตัวละครอื่นๆ ที่ร่วมกันใช้อำนาจเข่นฆ่าประชาชนในครั้งนั้น ในที่สุดอัยการก็ประกาศออกมาดังๆ ว่า ผู้พิพากษาอาวุโสที่มีชื่อว่า อ็อตติลิโอ้ โรมาโน่ นี่ล่ะคือนักกฎหมายที่ทำหน้าที่พลีตนเป็น “เนติบริกร” ให้กับระบอบเผด็จการในครั้งนั้น เขาคือผู้คิดหาวิธีใช้กฎหมายเล่นงานฝ่ายตรงข้ามจนประหารชีวิตและจับคนเข้าคุกไปมากมายเหลือคณานับ และจงใจบิดเบือนทั้งหลักกฎหมายและประวัติศาสตร์ด้วยความคิดเห็นของผู้พิพากษาที่เขียนตีความกฎหมายในทางสนับสนุนอำนาจเผด็จการมาตลอด สิ่งที่น่าสนใจคือ อัยการพูดไว้ชัดเจนเป็นข้อคิดสำหรับเราเสียด้วยว่า ความผิดของผู้พิพากษาในระบอบเผด็จการพิสูจน์ได้ง่ายกว่าความผิดของตัวผู้เผด็จการเองด้วยซ้ำ เพราะผู้ที่สั่งเขาซ่อนมือของเขาได้แนบเนียนเสมอ ในขณะที่ผู้รับคำสั่งมักจะต้องออกตัวแทนเขาด้วยชื่อจริงนามสกุลจริงเสร็จสรรพ จึงปรากฏอยู่ในหลักฐานชัดเจนกว่า ผู้พิพากษาโรมาโน่ เมื่อรู้ว่าตัวเองจะโดนกรรมเก่าเล่นงานแน่แล้ว ก็หนีออกจากอาร์เจนติน่าไปพำนักที่ประเทศชิลี โดยอาจลืมไปว่า ชิลีก็ผ่านประสบการณ์ความเลวร้ายของระบอบเผด็จการทหารมาจนเต็มประวัติศาสตร์ ไม่น่าที่เขาจะคิดช่วยเหลือซากเดนเผด็จการอย่างโรมาโน่ 

สุดท้ายก็จริงอย่างว่า เมื่อวานนี้ศาลฎีกาของชิลีก็วินิจฉัยเปรี้ยงออกมาแล้วว่าให้รัฐบาลจัดการส่งตัว นายอ็อตติลิโอ้ โรมาโน่ กลับไปขึ้นศาลที่ประเทศอาร์เจนติน่าในทันที ไม่อนุญาตให้ใช้ชิลีเป็นที่หลบความยุติธรรมได้อีกต่อไป

มาเล่ามาถึงตรงนี้ ก็จะมีคนที่เอาแต่อารมณ์ในเมืองไทยออกมาพูดว่า แล้วอดีตนายกทักษิณล่ะ ตัวผมเองล่ะ ทำไมไม่นำมาเทียบกับตัวเองบ้าง ต้องขอตอบซ้ำซากกันอีกว่า เหตุที่ประเทศต่างๆ เขาต้อนรับเราโดยไม่สนใจ “คดี” ต่างๆ ในเมืองไทยเลยนั้น เพราะสิ่งที่เรียกกันเสียไพเราะว่า คดี เหล่านั้นเป็นผลมาจากการรัฐประหารยึดอำนาจโดยคำสั่งลับเมื่อ พ.ศ.๒๕๔๙ ทั้งสิ้น ไม่ใช่คดีความตามหลักกฎหมายที่นานาอารยประเทศเขายอมรับนับถือเลย ถ้ารัฐบาลของประเทศทั้งหลายเหล่านั้นเห็นว่าคดีพวกนี้ถูกต้องตามหลักกฎหมายสากลแล้ว เขาไม่อนุญาตให้อยู่ในประเทศของเขาหรอกครับ ป่านนี้ต้องกลับบ้านไปขึ้นศาลกันแล้ว นี่เขาเห็นว่าเราเป็นฝ่ายถูกกดขี่และได้รับความอยุติธรรม และกำลังมองระบอบเผด็จการซ่อนรูปของไทยอย่างเข้าใจมากขึ้นทุกวัน

บทเรียนจากกรณีอาร์เจนตินาและชิลีครั้งนี้ จึงส่งตรงไปยังเครือข่ายของเผด็จการซ่อนรูปของไทย ใครที่ซ่อนตัวอยู่ในระบบศาลและกระบวนการยุติธรรม อย่าลืมว่าปากมีหูประตูมีช่อง หลักฐานต่างๆ ก็ระบุไว้ชัดว่าใครมีบทบาทอย่างไร ช่วยเหลือเผด็จการกันดีนัก ก็ต้องรู้ชะตากรรมตัวเองด้วยว่าอะไรรอคอยอยู่ในภายภาคหน้า เมืองไทยเรามี “เนติบริกร” ไม่น้อยหรอกครับ ความจริงคำๆ นี้ สื่อมวลชนทำเนียบรัฐบาลเขานำมาขนานนาม ศาสตราจารย์ ดร.วิษณุ เครืองาม ในบทบาทตั้งแต่เป็นรองเลขาธิการคณะรัฐมนตรี จนเป็นตัวเลขาธิการคณะรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ให้กับรัฐบาลทักษิณ ชินวัตรสมัย ๑ และ ๒ แต่ผมรู้สึกว่าเป็นวลีที่ไพเราะ ชัดเจน และนำมาปรับใช้กับเครือข่ายนักกฎหมายทุกๆ ระดับของระบอบเผด็จการซ่อนรูปของไทยได้ดีกว่ามาก เป็นบทเรียนอย่างหนึ่งว่า “เนติบริกร” ที่เราใช้งานกันในช่วงรัฐบาลประชาธิปไตยนั้น ช่างเป็นการใช้งานที่ตื้นเขินในระดับหญ้าปากคอกเสียเหลือเกิน เทียบไม่ได้เลยกับเนติบริกรของอำมาตย์ศักดินาที่เขาใช้เป็นกลไกสำคัญในการละเมิดสิทธิพลเมืองของผู้ที่เขาชิงชังและต้องการทำลายล้าง และเป็นเครื่องมือหลักในการควบคุมอำนาจรัฐอันล้นพ้นของตน.
 

ประชาธิปไตย เป็นระบอบของการเสียสละ
เมื่อเสียงข้างน้อย ต้องยอมรับในเสียงข้างมาก
นั่นก็ถือได้ว่าเสียงข้างน้อย ได้ทำการเสียสละแล้ว

ในการต่อสู้ ไม่ว่าจะเชิงการเมือง หรือเชิงความคิด
มันก็มีปลายทางอยู่แค่ว่า เราจะสู้เพื่อเอาตัวเองเป็นใหญ่
หรือสู่เพื่อเส้นทางที่เราจะสามารถยอมรับกันและกัน ได้ตลอดไป


อยากฝากคำถามนี้ ไปถึงกลุ่มหน้ากากขาว
ว่าคุณจะสู้ไปเพื่อ"จุดหมาย"ใด ถ้ามันไม่ได้ขับเคลื่อน
บนเส้นทาง ที่เราจะสามารถยอมรับกันได้ตลอดไป 



ผมเคยถามคำถามนี้กับเสื้อแดงแล้วเช่นกัน
http://prachatai.com/journal/2012/04/39944