หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 6 เมษายน พ.ศ. 2555

"วรเจตน์" แจกลายเซ็นหนังสือ "ความมืดกลางแสงแดด" เผยเป็นบทสัมภาษณ์คนในหลายมิติเล่มแรกเกี่ยวกับม.112

"วรเจตน์" แจกลายเซ็นหนังสือ "ความมืดกลางแสงแดด" เผยเป็นบทสัมภาษณ์คนในหลายมิติเล่มแรกเกี่ยวกับม.112

 






ปกหนังสือ "ความมืดกลางแสงแดด"

 

เมื่อเวลา 15.00 น.วันที่ 6 เมษายน ที่ศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ ในงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติ รศ.ดร.วรเจตน์ ภาคีรัตน์ อาจารย์คณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้มาร่วมแจกลายเซ็นที่บูท "วารสารหนังสือใต้ดิน" โซน C1 ให้กับหนังสือชื่อ "ความมืดกลางแสงแดด" ซึ่งเป็นผลงานของนายวรพจน์ พันธุ์พงศ์ และนายธิติ มีแต้ม เป็นรวมบทสัมภาษณ์ ผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับกฎหมายอาญา มาตรา 112 ทั้งผู้ตกเป็นจำเลย ศิลปิน นักวิชาการ และสื่อมวลชน โดยได้รับความสนใจจากผู้คนมากพอสมควร หลายคนนอกจากจะขอลายเซ็นแล้ว ยังได้ขอถ่ายรูปคู่ไว้เป็นที่ระลึกอีกด้วย

อาจารย์วรเจตน์ กล่าวว่า หนังสือเล่มนี้ เมื่อดูจากรายชื่อของผู้ที่ให้สัมภาษณ์ เชื่อได้ว่าน่าสนใจ และโดยฝีมือการเรียบเรียงของคุณวรพจน์ และคุณธิติ ต้องบอกว่าน่าสนใจมากๆ ควรจะได้อ่านกัน จะทำให้ความเข้าใจเรื่อง ประมวลกฏหมายอาญา มาตรา 112 ดีขึ้นในหลายมิติ หนังสือเล่มนี้  ในแง่บทสัมภาษณ์ ที่มีการรวบรวมสัมภาษณ์ผู้คนที่หลากหลายมากๆ น่าจะเป็นเล่มแรก และก็อาจจะออกมาในช่วงเวลาที่เหมาะสมมากๆ เพราะว่าอยู่ในระหว่างการเดินทาง เรื่องรณรงค์แก้ไขกฏหมายอาญา มาตรา 112

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อผู้ให้สัมภาษณ์ที่รวมอยู่ในหนังสือเล่มนี้ มีอาทิ เอกชัย หงส์กังวาน, สมยศ พฤกษาเกษมสุข, ปณิธาน พฤกษาเกษมสุข, รสมาลิน ตั้งนพกุล, ประวิตร โรจนพฤกษ์, อานนท์ นำภา, วรเจตน์ ภาคีรัตน์, สาวตรี สุขศรี, ปราบดา หยุ่น, วัฒน์ วรรลยางกูร, วาด รวี, มุกหอม วงษ์เทศ, ชูวัส ฤกษ์ศิริสุข, จีรนุช เปรมชัยพร, วิศิษฏ์ ศาสนเที่ยง, ทองธัช เทพารักษ์ และ สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล (คำแถลงการณ์หลังถูกคุกคาม)
 
(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333707802&grpid=01&catid=&subcatid=

แม้ "เรา (อาจ) จนเกินกว่าจะเป็นเกย์" แต่พื้นที่ของ "คนรักร่วมเพศ" ก็เกิดขึ้นได้เพราะ "ทุนนิยม"

แม้ "เรา (อาจ) จนเกินกว่าจะเป็นเกย์" แต่พื้นที่ของ "คนรักร่วมเพศ" ก็เกิดขึ้นได้เพราะ "ทุนนิยม"



 

http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=6QNVDtR7wFI#! 


ศ.ดร.ปีเตอร์ เอ แจ็คสัน (Prof. Perter A. Jackson)  แห่งมหาวิทยาลัยแห่งชาติออสเตรเลีย นักประวัติศาสตร์ชาวออสเตรเลียน ผู้ศึกษาประวัติศาสตร์เกี่ยวกับคนรักเพศเดียวกันในไทย เดินทางมาบรรยายหัวข้อ "รัฐกับการควบคุมเรื่องเพศ และสิทธิทางเพศ ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้" ในการประชุมวิชาการทางมานุษยวิทยา ครั้งที่ 10 "อาเซียน : ประชาคมในมิติวัฒนธรรม ความขัดแย้ง และความหวัง" ที่ศูนย์มานุษยวิทยาสิรินธร เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2555


ดร.ปีเตอร์ กล่าวว่า ถ้าเราคิดว่าตัวเองมีฐานะเป็นนักทฤษฎีเชิงวิจารณ์ ก็ดูเหมือนว่า เราไม่มีสิทธิที่จะมอง "ทุนนิยม" ในทางบวก และถ้าเราจะพูดถึงทุนนิยมในทางบวก ก็ดูเหมือนเราอาจจะถูกเรียกว่า เป็นพวก Neo-liberalism (ลัทธิเสรีนิยมใหม่) แต่ปรากฏว่า หลักฐานที่ตนเองรวบรวมได้มา ค่อนข้างจะแสดงว่า ระบบทุนนิยม ช่วยสร้างพื้นที่สำหรับกลุ่มที่ถูกจัดเป็น "คนชายขอบ" บางกลุ่มในประเทศไทย คืออาจจะสร้างพื้นที่ที่จะเรียกร้องสิทธิสำหรับคนกลุ่มนี้ได้  แล้วนี่จะเป็นประเด็นที่จะพูดถึงในครั้งนี้ แม้ไม่มีคำตอบชัดเจน แต่ขอตั้งคำถามต่อเรื่องนี้ 


"ถ้าเราจะเอาทฤษฎีเชิงวิจารณ์ของนักคิดลือนามหลายคนมาใช้วิเคราะห์ คล้ายกับว่าเราไม่มีสิทธิที่จะพูดถึงทุนนิยมในเชิงบวกสักครั้ง แต่ถ้าสนใจที่จะทำความรู้จักเกี่ยวกับกลุ่มชายรักชาย หญิงรักหญิง คนข้ามเพศ ไม่ว่าจะในตะวันตก หรือเอเชียก็ตาม ที่จริง เราต้องวิจารณ์สถานการณ์ของระบอบทุนนิยมในประเทศนั้นด้วย ระบบเศรษฐกิจที่เอาตลาดเป็นหลัก เป็นสิ่งที่เราเรียบเรียงมาในการวิเคราะห์ของเรา แล้วนำมาเป็นเหมือนตัวแปร" นักวิชาการจากออสเตรเลีย เสนอ
 
(อ่านต่อ) 

http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1333581130&grpid=01&catid=&subcatid=

แรงงานลำพูนร้อง – พนักงานเก่ายังไม่ได้ขึ้นค่าแรง หลังประกาศค่าจ้างใหม่มีผลบังคับ

แรงงานลำพูนร้อง – พนักงานเก่ายังไม่ได้ขึ้นค่าแรง หลังประกาศค่าจ้างใหม่มีผลบังคับ

 



เผยหลายโรงงานที่ลำพูนเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่วันละ 236 บาท โดยใช้อัตราใหม่เฉพาะพนักงานอายุงานน้อย ส่วนพนักงานเก่ามีการปรับเล็กน้อย หรือไม่ปรับเลย โดยบางโรงงานที่ลำพูน คนงานร้องเรียนผู้บริหารเพื่อขอปรับค่าจ้าง ขณะที่บางโรงงานเตรียมเลิกจ้างแกนนำคนงานที่ร้องเรียนเรื่องค่าจ้าง

(6 เม.ย. 55) ตามที่คณะกรรมการค่าจ้างออกประกาศเมื่อวันที่ 2 พ.ย. 54 มีมติให้กำหนดอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ โดยปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 300 บาทนำร่อง 7 จังหวัด ได้แก่ ภูเก็ต กรุงเทพมหานคร จังหวัดสมุทรปราการ นครปฐม นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรสาคร และปรับอัตราค่าจ้างเพิ่มไม่เกินร้อยละ 40 สำหรับจังหวัดอื่นๆ ทั่วประเทศ มีผลตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. 55 ที่ผ่านมา อาศัยอำนาจตาม พ.ร.บ.คุ้มครองแรงงานนั้น

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า กรณีของ จ.ลำพูน คณะกรรมการค่าจ้างได้ประกาศปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ จากเดิมวันละ 169 บาท ในปี 2554 ได้ปรับเป็น 236 บาทนั้น

ล่าสุดผู้ใช้แรงงานใน จ.ลำพูน รายหนึ่งร้องเรียนมาทางผู้สื่อข่าวว่า โรงงานอุตสาหกรรมบางแห่งในนิคมอุตสาหกรรมภาคเหนือ จ.ลำพูน ใช้วิธีเลี่ยงปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงาน โดยใช้วิธีปรับค่าจ้างขั้นต่ำเป็น 236 บาทเฉพาะพนักงานที่อายุงานน้อย ซึ่งค่าจ้างขั้นต่ำไม่ถึง 236 บาท ส่วนพนักงานเดิมที่ได้รับค่าจ้างถึง 236 บาทต่อวันแล้ว โรงงานจะใช้วิธีปรับให้เล็กน้อยซึ่งไม่ได้สัดส่วนกับค่าจ้างขั้นต่ำที่คณะ กรรมการค่าจ้างปรับขึ้นมา หรือหลายโรงงานก็ไม่ยอมปรับเลย

ทั้งนี้มีการชุมนุมและเจรจากับผู้บริหารเพื่อให้ปรับอัตราค่าจ้างให้สอด คล้องกับประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ในหลายโรงงาน เช่น โรงงานผลิตคาร์บูเรเตอร์และชิ้นส่วนยานยนต์แห่งหนึ่งภายในนิคมอุตสาหกรรม ต.บ้านกลาง อ.เมือง จ.ลำพูน มีการเจรจาระหว่างตัวแทนพนักงานและผู้บริหารในช่วงหลังเลิกงานติดต่อกันหลาย คืน เพื่อต่อรองเรื่องการปรับค่าจ้างขั้นต่ำให้พนักงานเก่า โดยมีพนักงานหลายร้อยคนชุมนุมรอผลการเจรจาภายนอกโรงงาน

นอกจากนี้ยังมีกรณีที่บริษัท เอส ยู เอส (ไทยแลนด์) ซึ่งมีที่ตั้งอยู่ที่ อ.บ้านธิ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นโรงงานผลิตชิ้นส่วนและผลิตภัณฑ์โลหะเพื่อการส่งออก มีแผนเลิกจ้างพนักงานซึ่งเป็นแกนนำทีร้องเรียนเรื่องการปรับค่าจ้างด้วย

 

(ที่มา)

http://www.prachatai.com/journal/2012/04/39983