ฮือฮา′พระจอมเกล้าธน′ ติดอันดับโลก1ใน400ยอดมหาลัย ′มหิดล-จุฬา′หลุดโผ ชี้งบวิจัยถูกตัดเหี้ยน
ผู้สื่อข่าวรายงานว่าในการจัดอันดับ
400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกของ Times Higher Education World Rankings
ปี 2012-2013 ผลปรากฏว่าในปีนี้มีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
(มจธ.) ซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียวที่ติดอยู่ในกลุ่ม 351-400
โดยมหาวิทยาลัยที่ติดอยู่ในอันดับ 1-5 ของโลกจากการจัดอันดับของ Times
Higher Education World Rankings ในปีนี้ ได้แก่ California Institute of
Technology, Oxford University, Stanford University, Harvard University,
และ Massachusetts Institute of Technology (MIT)
ผู้สื่อข่าว
รายงานต่อว่า ส่วนมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ติดอยู่ในการจัด 400 อันดับ
มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกในครั้งนี้มีถึง 57 แห่ง
ส่วนใหญ่อยู่ในสาธารณรัฐประชาชนจีน ญี่ปุ่น เกาหลี สิงคโปร์ ไต้หวัน
และฮ่องกง เป็นต้น โดยมหาวิทยาลัยในเอเชียที่ติดอยู่ในอันดับต้นๆ
ของการจัดอันดับ ได้แก่ มหาวิทยาลัยโตเกียว อันดับที่ 27,
มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ อันดับที่ 29, มหาวิทยาลัยฮ่องกง อันดับที่
35, มหาวิทยาลัยปักกิ่ง อันดับที่ 46 และ Pohang U of Sci&Tech
ประเทศเกาหลี อันดับที่ 50 เป็นต้น
ผู้สื่อข่าวรายงานอีกว่า
การจัดอันดับ 400 มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกในปีนี้ เป็นที่น่า สังเกตว่า
มหาวิทยาลัยไทยติดอยู่ในการจัดอันดับ ในปีนี้เพียงมหาวิทยาลัยเดียว
ทั้งที่การจัดอันดับเมื่อปี 2011 มีมหาวิทยาลัยไทยติดอยู่ 2 แห่ง ได้แก่
มหาวิทยาลัยมหิดล (มม.) อันดับที่ 306 และจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย อันดับที่
341 แต่ในการจัดอันดับเมื่อปี 2012 เหลือมหาวิทยาลัยไทยเพียงแห่งเดียว
ได้แก่ มม. และ ติดอยู่ในกลุ่มท้ายสุด กลุ่มอันดับ 351-400
แต่ในการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลก ในปีนี้ มม.กลับไม่ติดใน 400
อันดับ มหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดในโลกเช่นกัน
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1349921392&grpid=01&catid&subcatid
"ผม
มองว่าปัญหาที่แท้จริง คือ นักวิชาการ หรืออาจารย์ ในมหาวิทยาลัยไทย
ไม่มีสหภาพแรงงาน ทำให้ขาดพลังในการต่อรอง ความเป็นอิสระในงานวิชาการครับ
คนส่วนมากอาจจะเข้าใจว่า สหภาพแรงงาน มุ่งเน้นต่อรองแต่เรื่องผลประโยชน์ปากท้อง เท่านั้น แต่จริงๆ แล้ว สหภาพแรงงาน ก็คือการรวมกลุ่มของคนที่ทำอาชีพนั้นๆ ซึ่งหมายถึงผลประโยชน์ทางอาชีพด้วย เช่น สหภาพนักข่าว ก็แสวงหาความเป็นอิสรในการทำข่าว ถ้าเป็นสหภาพอาจารย์ ก็แสวงหาความเป็นอิสระในงานวิชาการ แต่การมีสหภาพแรงงานมันก็ไม่ได้หลักประกันอันใด ว่าการประกันเสรีภาพจะเกิดขึ้นอัตโนมัติ แต่มันเป็นหลักประกันว่า อำนาจการต่อรองของลูกจ้างอาชีพอาจารย์จะมีมากขึ้น"
โดย วัฒนะ วรรณ
ทำไมมหาวิทยาลัยไทยตกต่ำ? เพราะบ้าระบบราชการ, มีแต่เปลือกฉาบฉวย, และไม่รู้จักกำพืดตัวเอง
ผมคิดว่าที่แย่คือ
๑)
เพราะมหาวิทยาลัยไทยเป็นระบบราชการมากเกินไป
ผู้บริหารยึดติดกฎระเบียบมากกว่าจะมุ่ง output
จึงกลายเป็นตัวผูกมัดถ่วงหน่วงเหนี่ยวรั้งการทำงานของคณาจารยืเอง
๒) มีแต่เปลือก คือเอาผลงานฉาบฉวยบังหน้า แต่ไม่คิดจริงจังว่าจะสร้างเงื่อนไขให้คุณภาพการเรียนการสอนการวิจัยดีขึ้นอย่างไร
๓) หาตัวเองไม่เจอ ลอยตามกระแส ตอนนี้ก็ห้อยติดกับ global ratings
ของสำนักโน้นสำนักนี้ โดยไม่หันมาดูรากเหง้าและความเป็นจริงของตัวเองว่า
มึงแข็งด้านไหน มึงเก่งด้านไหน คนของมึงมีจุดแข็งจุดอ่อนอย่างไร
จะเสริมตรงไหนอย่างไร มีแต่ออกกฎบังคับ ๆ ๆ ๆ งี่เง่า
๔)
ที่คณาจารย์ทำงานสอนและวิจัยปรากฎผลงานบ้างอยู่ในขณะนี้
ขอบอกว่าผู้บริหารไม่ได้ช่วย แต่เป็นตัวทำให้ทำงานยากขึ้นต่างหาก
กล่าวคือที่ทำได้เท่านี้ ทั้ง ๆ
ที่ผู้บริหารไม่ได้เอื้อเฟื้อให้มันง่ายขึ้นเลย มีแต่ทำให้ลำบากยากเข็ญขึ้น
โง่ชิบเป๋ง
โดย อาจารย์เกษียร เตชะพีระ