หน้าเว็บ

วันศุกร์ที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2554

“สมยศ” ร่อนจดหมาย หวังนักสิทธิ-นักสหภาพฯ ทั่วโลก จี้ไทยปล่อยนักโทษการเมือง

25 ส.ค. 54 – กลุ่มนักกิจกรรมได้เปิดเผยจดหมายของ นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข ผู้ต้องหาคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพ ที่ถูกคุมขังไว้มาตั้งแต่ วันที่ 30 เมษายน 2554 เป็นต้นมา โดยในจดหมายระบุว่าเป็นการเขียนในวันที่ 20 ส.ค. 54 ซึ่งสมยศมีความคาดหวังว่านักสิทธิมนุษยชนและนักสหภาพแรงงานทั่วโลก จะได้ร่วมกันเรียกร้องต่อรัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นผลสำเร็จ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยต่อไป
   

วันที่ 20 สิงหาคม 2554


ผมถูกจองจำอยู่ในเรือนจำตั้งแต่วันที่ 30 เมษายน 2554 เป็นต้นมาด้วยข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือ ละเมิดต่อมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา ผมขอขอบพระคุณทุกท่านทั้งในประเทศและต่างประเทศที่ได้ร่วมกันแสดงความห่วงใย มาเยี่ยมเยือนที่เรือนจำและได้ร่วมกันเรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองใน ประเทศไทย


ผมได้ต่อสู้เพื่อสิทธิผู้ใช้แรงงานมากว่า 20 ปี เพื่อให้ผู้ใช้แรงงานรอดพ้นจากความยากจน หิวโดย มีชีวิตความเป็นอยู่สมศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ อาทิเช่น สิทธิการประกันสังคมในปี 2533 สิทธิการลาคลอด 90 วันได้รับค่าจ้าง และสิทธิการทำงานที่ปลอดภัยในปี 2536 สิทธิการได้รับค่าชดเชยเมื่อถูกเลิกจ้าง และประกันการว่างงานในปี 2546 สิทธิการรวมตัวเป็นสหภาพแรงงาน และการนัดหยุดงานในปี 2548


สิทธิของผู้ใช้แรงงานในด้านต่าง ๆ เกิดจากการต่อสู้ที่เข้มแข็งของขบวนการแรงงาน จากประสบการณ์ที่ผ่านมา ผมได้เรียนรู้ว่าความก้าวหน้าด้านสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงานได้มาภายใต้ การเมืองประชาธิปไตย มีรัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง หากมีการรัฐประหารเกิดขึ้นมักจะทำลายสิทธิเสรีภาพของผู้ใช้แรงงาน ตัวอย่างเช่น การรัฐประหาร 23 กุมภาพันธ์ 2534 ผู้นำแรงงานนายทะนง โพธิ์อ่าน ถูกอุ้มฆ่าตาย มีการยกเลิกสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ รวมทั้งจำกัดสิทธิการเจรจาต่อรองของสหภาพแรงงาน ในขณะที่การรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 มีการแก้ไขกฎหมายแรงงานเพื่อให้มีการจ้างงานเหมาค่าแรงขยายตัวมากขึ้น และมักจะกดค่าจ้างให้ต่ำอยู่เสมอ


ดังนั้นเมื่อมีการรัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เกิดขึ้น ผมจึงไปเข้าร่วมกับขบวนการประชาธิปไตยต่อต้านการรัฐประหาร ด้วยการจัดทำนิตยสารการเมืองวิพากษ์วิจารณ์รัฐประหาร เมื่อประชาชนได้รวมตัวกันเป็นแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) มีการชุมนุมเดินขบวนหลายครั้งจนกระทั่งรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ใช้กำลังทหารปราบปรามอย่างป่าเถื่อนในเดือนพฤษภาคม 2553 มีผู้เสียชีวิต 91 ศพ รัฐบาลได้สั่งปิดนิตยสารแล้วจับกุมผมไปขังไว้ที่ค่ายทหารจังหวัดสระบุรี โดยไม่มีความผิดเป็นเวลา 21 วัน


หลังจากได้รับการปล่อยตัวผมก่อตั้งนิตยสาร Red Power วิพากษ์วิจารณ์การทำงานของรัฐบาลด้านต่าง ๆ ได้เปิดโปงรัฐบาล ซึ่งให้สัญญาจะเพิ่มค่าจ้างขึ้นต่ำวันละ 250 บาทเท่ากันทั่วประเทศในเดือนสิงหาคม 2553 แต่ไม่ได้ทำตามสัญญาดังกล่าว นอกจากนี้ยังได้เปิดโปงเบื้องหลังการสั่งฆ่าประชาชน 91 ศพ ในเดือนตุลาคม 2553 รัฐบาลสั่งปิดโรงพิมพ์ที่รับจ้างพิมพ์งานให้กับ Red Power ทำให้ผมต้องไปทำการผลิตที่ประเทศกัมพูชา


นับตั้งแต่รัฐประหาร 19 กันยายน 2549 เป็นต้นมา มีประชาชนทุกสาขาอาชีพ อาทิเช่น นักวิชาการ นักการเมือง นักกิจกรรมแรงงาน นักศึกษา นักเคลื่อนไหวประชาธิปไตย ฯลฯ ต้องกลายเป็นนักโทษการเมืองในคดี “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หลายคนถูกซ้อมทุบตีในเรือนจำ หลายคนต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่ต่างประเทศ ผู้สื่อข่าวชาวต่างประเทศหลายคนต้องถูกเนรเทศออกไปจากประเทศไทย


มีนักกิจกรรมแรงงาน 3 คนด้วยกันซึ่งถูกกล่าวหาในคดีหมิ่นพระบรมเดชานุภาพคือ อาจารย์ใจ อึ้งภากรณ์ และภรรยา ต้องลี้ภัยการเมืองไปอยู่อังกฤษ นางสาวจรรยา ยิ้มประเสริฐ หัวหน้าโครงการรณรงค์เพื่อแรงงานไทย (Thai Labour Compaign) ไม่สามารถเดินทางกลับมาประเทศไทยได้อีกต่อไปอีกต่อไป นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข อดีตผู้อำนวยการศูนย์บริการข้อมูลและฝึกอบรมแรงงาน (Center for Labour Information Service and Training)


ประชาชนคนไทยถูกปลูกฝังให้ยอมรับสิ่งที่เรียกว่า “ระบอบการปกครองประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข” โดยที่ใครก็ตามที่มีความเห็นแตกต่างไปจากนี้ถือเป็นภัยต่อความมั่นคงของรัฐ


ผมเป็นเพียงสื่อมวลชนที่เป็นเวทีความคิดอิสระที่ทุกคน ทุกฝ่าย มีสิทธิเสรีภาพแสดงความคิดเห็นที่แตกต่าง หรือกระทั่งมีความใฝ่ฝันถึงสังคมใหม่ที่แตกต่างไปจากสังคมปัจจุบัน แต่ผลลัพธ์ก็คือ ผมถูกดำเนินคดีในข้อหา “หมิ่นพระบรมเดชานุภาพ” หรือกระทำความผิดตามมาตรา 112 ประมวลกฎหมายอาญา


กฎหมายดังกล่าวเป็นเครื่องมือในการลิดรอนสิทธิเสรีภาพการแสดงความคิด เห็นทางการเมือง และเป็นเครื่องมือในการปราบปรามประชาชน นอกจากนี้ผู้ถูกกล่าวหาในคดีดังกล่าวยังไม่ได้รับสิทธิการประกันตัวอีกด้วย อันเป็นการละเมิดต่อหลักปฏิญาณสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชน


การถูกคุมขังเป็นนักโทษการเมือง สูญเสียอิสรภาพในทุกด้าน ทำให้ชีวิตของผมเหมือนกับ “สัตว์เลี้ยงในกรงขัง” ผมได้รับความเจ็บปวดทุกทรมานทั้งร่างกายและจิตใจอย่างรุนแรง นักโทษการเมืองคนอื่น ๆ หลายคนสูญเสียชีวิตครอบครัวและอาชีพการงานไปอย่างน่าเสียดาย


ผมได้รับทราบข่าวจากผู้มาเยี่ยมเยียนว่าเพื่อน ๆ นักสิทธิมนุษยชนและนักสหภาพแรงงานทั่วโลกได้ร่วมกันประท้วงต่อรัฐบาลไทย เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักโทษการเมือง จึงเป็นการเคลื่อนไหวที่มีคุณค่าความหมายของประชาชนคนไทย และประชาชาติทั่วโลกเพื่อบรรลุเป้าหมายร่วมกันของสังคมสันติสุข ที่มีความเสมอภาค มีสิทธิเสรีภาพ และประชาธิปไตยที่แท้จริง


ผมเชื่อมั่นอย่างเต็มที่เปี่ยมว่าพลังแห่งความร่วมมือและการสมานฉันท์ สากลของสหภาพแรงงานและผู้รักความเป็นธรรมทั่วโลกจะได้ร่วมกันเรียกร้องต่อ รัฐบาลไทยให้ปล่อยตัวนักโทษการเมืองเป็นผลสำเร็จซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของการ ก้าวสู่สังคมประชาธิปไตยต่อไป



ด้วยจิตใจสมานฉันท์


(นายสมยศ พฤกษาเกษมสุข)


ปัญหาอุทกภัยนํ้าท่วมกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองของกษัตริย์ภูมิพลใช้กดดันรัฐบาลยิ่งลักษณ์

ปัญหาอุทกภัยน้ำท่วม
ปัญหา น้ำท่วมเป็นปัญหาใหญ่ในบ้านเมืองเรา แต่ละปีจะมีอุทกภัยน้ำท่วมเกิดขึ้นทำให้ประชาชนล้มตาย  บ้านเมืองเสียหายไม่มีที่ทำมาหากิน เขื่อนต่างๆที่สร้างขึ้นสำหรับเก็บน้ำและระบายน้ำก็สร้างขึ้นตามโครงการหลวง หรือในหลวงเป็นผู้กำหนดตามโครงการของพระองค์จะผิดหรือถูกอย่างไรไม่มีใคร สามารถวิพากษ์วิจารณ์ได้ ส่วนเงินที่สร้างโครงการเหล่านั้นก็มาจากเงินภาษีของราษฎร เมื่อสร้างเขื่อนต่างๆนั้นเสร็จ ก็ตั้งชื่อเขื่อนไปตามชื่อของตัวเองและลูกเมีย  เช่น เขื่อน “ภูมิพล “ เขื่อน “ สิริกิต” เขื่อน  “ อุบลรัตน์ “  ฯลฯ เป็นต้น คล้ายๆกับว่าเขื่อนต่างๆเหล่านั้นเป็นของกษัตริย์  ที่จริงแล้วเรื่องโครงการเหล่านี้เป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่บริหารประเทศไม่ ใช่หน้าที่ของกษัตริย์
เมื่อ กษัตริย์สามารถควบคุมโครงการต่างๆในการสร้างเขื่อนไปทั่วประเทศก็มีอำนาจที่ จะบรรดาลหรือสั่งให้เจ้าหน้าที่บริหารเขื่อนเหล่านั้นทำตามความประสงค์ของตน ในการปิดหรือเปิดเพื่อระบายน้ำ  จะเห็นได้ว่ามีบางปีที่ฝนตกไม่มากแต่กลับมีน้ำท่วมนั้นก็เป็นเพราะกษัตริย์ ภูมิพล ได้สั่งให้เจ้าหน้าที่เปิดเขื่อนระบายน้ำจะด้วยเหตุผลอันใดก็แล้วแต่ ผลปรากฏว่ามีประชาชนล้มตายจากภัยน้ำท่วมและบ้านเมืองเสียหายทางภาคเหนือ ภาคอิสาน ไปจนถึงภาคใต้ทั่วประเทศ เป็นอันว่ากษัตริย์สามารถบรรดาลได้ว่าจะให้น้ำท่วมหรือไม่ท่วมทางภาคไหนของ ประเทศ โดยจะสามารถสั่งให้เจ้าหน้าที่ ที่ดูแลเขื่อนเปิดและปิดเขื่อนได้ตามอำเภอใจ
ปัญหา ภัยน้ำท่วมจึงกลายมาเป็นเครื่องมือทางการเมืองอย่างหนึ่งของภูมิพลที่นำมา ใช้เพื่อเป็นการกดดันแก่รัฐบาลที่ตนเองไม่ได้แต่งตั้งขึ้น เช่นรัฐบาลยิ่งลักษณ์ที่ประชาชนเลือกขึ้นมาโดยเสียงข้างมาก 
จะ เห็นได้จากการที่ภูมิพลได้ให้ลูกสาวคนเล็ก นาง “ ถั่วปากอ้า “ ออกมาพูดว่า  “ ปีนี้พ่อฉันว่าน้ำจะท่วมแต่ปีหน้าน้ำจะไม่ท่วม”  การให้ลูกสาวออกมาพูดเช่นนี้เป็นการสื่อสารอะไรถึงปวงชนชาวไทย  มันเป็นการสื่อสารว่า ปีนี้พ่อฉันจะสั่งให้เจ้าหน้าที่เขาเปิดเขื่อนระบายน้ำทั้งหมดในทั่วประเทศ เพื่อระบายน้ำ ส่วนน้ำจะท่วม ประชาชนจะเดือดร้อนล้มตาย  บ้านเมืองจะเสียหายอย่างไรปล่อยให้เป็นเรื่องของรัฐบาลยิ่งลักษณ์เป็นผู้ แก้ไข  ข้าไม่เกี่ยวเพราะข้าอยู่เหนือการเมืองอยู่แล้ว  ถ้าประชาชนชาวไทยไม่ยอมอยู่ใต้ตีนของข้าแล้วน้ำจะท่วมตายสักเท่าไหร่ก็ไม่ เป็นไร  เพราะกษัตริย์และราชินีเคยพูดเสมอว่า  “ ประชาชนจะตายเป็นหมื่นเป็นแสนก็ยอม ขอให้ราชบัลลังก์ปลอดภัยก็ใช้ได้ “
กษัตริย์ ภูมิพลจึงให้ นาง “ ถั่วปากอ้า “ ลูกสาวคนเล็กออกมากล่าวเป็นการเตือนให้ประชาชนไทยทราบ  ซึ่งความจริงแล้วก็ไม่ใช่เรื่องอะไรของเธอที่จะออกมาพูดเช่นนั้น  เพราะประชาชนได้เลือกรัฐบาลของเขาขึ้นมาเพื่อบริหารประเทศอยู่แล้วจึงมี หน้าที่ในการแก้ไขปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในสังคมไม่ใช่หน้าที่ของนาง “ ถั่วปากอ้า “
ถ้า กษัตริย์ ภูมิพลเป็นตัวปัญหาที่ทำให้เกิดอุทกภัยน้ำท่วมขึ้นทั่วประเทศ ทำให้มีผู้คนล้มตายบ้านเมืองเสียหายมาทุกๆปีเช่นนี้  เมื่อไหร่ที่ไม่มีกษัตริย์ภูมิพลอยู่ในโลกนี้อีกแล้ว เมื่อนั้นปัญหาต่างๆเหล่านี้ก็คงจะหมดไปจากประเทศไทย  ปวงชนชาวไทยคงจะอยู่เย็นเป็นสุขไม่มีอุทกภัยน้ำท่วมมาเบียดเบียนอีกต่อไป.

ประเทศอาฟริกาใต้ออกแถลงการณ์กล่าวประนาม  NATO ที่ใช้อำนาจเกินขอบเขตในการทิ้งระเบิดทำลายประเทศ ลิเบีย และเสนอให้ฟ้องเอาผิดกับ NATO ต่อศาลระหว่างประเทศ เนื่องจากการกระทำของ NATO เป็นการระเมิดต่ออำนาจที่ สหประชาชาติได้กำหนดไว้
ข่าวทางวิทยุของสวีเด็น
๒๖ สิงหาคม ๒๕๕๔

ผู้พิพากษาปฎิเสธการนำเอาคำให้การมาใช้ในการพิจาณาคดี การค้าอาวุธ

เขียนโดย นายโนอาห์ โรสเซนเบอร์ก
จากหนังสือพิมพ์ นิวยอร์ค ไทม์ ลงวันที่ 24 สิงหาคม พ.ศ. 2554


รูปภาพ




แปลโดย: ดวงจำปา


การประสบชัยชนะซึ่งเกิดขึ้นไม่บ่อยครั้งนัก ก่อนการพิจารณาคดีของนายวิคเตอร์ บูท ซึ่งเป็นชาวรัสเซียที่ถูกกล่าวหาว่า สมรู้ร่วมคิดในการค้าอาวุธให้กับองค์การก่อการร้าย ผู้พิพากษาของศาลรัฐบาลกลาง ได้ลงความเห็นเมื่อวันพุธ (2วันที่แล้ว)ว่า คำให้การบางประเด็นที่นายบู้ทได้ให้ไว้หลังจากที่เขาถูกจับกุมเมื่อปี พ.ศ. 2551 จาก การปฎิบัติการอย่างสายฟ้าแลบในประเทศไทยนั้น ไม่สามารถนำมาใช้ในการพิจารณาคดีได้

ในคำตัดสินของผู้พิพากษาหญิง ชีร่า เอ เชนด์ลิน ได้เขียนไว้ในคำพิพากษาว่า คำสารภาพที่นายบู้ทได้เขียนไว้นั้น “ไม่ได้กระทำด้วยความสมัครใจ” และเธอได้ตั้งคำถามเกี่ยวกับความน่าเชื่อถือของ เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดสองคน ซึ่งเป็นผู้สอบปากคำ นายบู้ท หลังจากที่เขาได้ถูกกักกัน และต่อมาได้ให้การกับศาลก่อนการพิจารณาความ

ผู้ พิพากษาสรุปว่า เป็นสิ่งที่ขัดแย้งกันกับคำให้การ ซึ่งเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดนั้น ได้รับรู้ หลังจากที่นายบู้ทได้ถูกจับกุม การที่เจ้าหน้าที่ตำรวจของประเทศไทย ที่ได้ปฎิเสธการอนุญาตให้นายบู้ทสามารถพบปะกับที่ปรึกษาทางกฎหมายและตัวแทน จากสถานฑูตประเทศรัสเซียได้ เธอยังได้พบว่า คำยืนยันจากเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ที่ว่า พวกเขานั้นไม่มีสิทธิที่จะเข้าไปพบกับนายบู้ทได้อีกหลังจากการพบครั้งแรก นั้น เป็นเรื่อง “โกหก” และกล่าวต่อไปว่า พวกเขาหลอกลวง เมื่อพวกเขาได้ปฎิเสธโดยพูดเปรยๆว่า พวกเขาสามารถนำตัว นายบู้ทเข้าไปในประเทศสหรัฐอเมริกาได้อย่างทันท่วงที ถ้า นายบู้ท “ให้ความร่วมมือ” และสามารถยกเลิกเงื่อนไขในการส่งผู้ร้ายข้ามแดนได้อีกด้วย

ดัง นั้น ผู้พิพากษาเชนด์ลิน จึงให้เครดิต จากการยืนกรานของทีมทนายฝ่ายจำเลยที่ว่า เจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติดนั้น ได้ข่มขู่นายบู้ท โดยการพูดเป็นเชิงว่า เขาจะต้องผจญกับ “โรคติดต่อ, ความหิวโหย, ความร้อนระอุ และ การถูกข่มขืน” ในเรือนจำของประเทศไทย นายบู้ทจะถูกทอดทิ้งเมื่อเขาปฎิเสธที่จะให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปราบ ปรามยาเสพติดของอเมริกัน

อย่างไรก็ตาม ผู้พิพากษาได้ยอมรับว่า การตัดสินให้ยกเลิกนำเอาคำให้การของนายบู้ทมาใช้นั้น มาจาก วิธีการคุกคาม ซึ่ง “ปราศจากการทำร้ายร่างกายหรือมีการทรมานใดๆ” นั้น เป็น “เรื่องที่จบไปแล้ว”

เมื่อถูกถามในเรื่องความเห็นเกี่ยวกับประเด็น ของผู้พิพากษา ถึงเรื่องความน่าเชื่อถือของเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด โฆษกของสำนักงานได้บอกกับนักข่าวคนหนึ่ง ถึงข้อความธรรมดาจากอีเมล์ฉบับหนึ่ง ซึ่งเขียนโดย นางเอลเลน เดวิส ซึ่งเป็นโฆษกของอัยการของประเทศสหรัฐอเมริกา ณ เมืองแมนแฮทตั้น

“ด้วย ความเคารพต่อศาลยุติธรรม แต่ฝ่ายเราไม่เห็นด้วยกับความเห็นของผู้พิพากษา และมีแผนที่จะอุทธรณ์ ให้มีการพิจารณาทบทวนใหม่อีกครั้งหนึ่ง” นางเดวิส ได้เขียนไว้

การพิจารณาคดีของนายบู้ทซึ่งได้กำหนดไว้ว่า จะเริ่มขึ้นในเดือนตุลาคมนี้ ยังวนเวียนอยู่กับข้อหาที่เขาตกลงที่จะขายขีปนาวุธ ซึ่งสามารถยิงจากภาคพื้นดินขึ้นสู่อากาศได้ และ อาวุธยุโธปกรณ์อื่นๆ ที่ทางฝ่ายเจ้าหน้าที่ปราบปรามยาเสพติด ได้ปลอมตัวเป็นสมาชิกของกลุ่มก่อการปฎิวัติของประเทศโคลัมเบีย หรือ ฟาร์ค (FARC) ซึ่งมีความประสงค์ที่จะใช้อาวุธเหล่านั้น ต่อสู้กับนักบินชาวอเมริกันซึ่งคอยสังเกตความเคลื่อนไหวในการขนส่งยาเสพติด

นาย เคทเนท แคพลาน ซึ่งเป็นทนายของนายบู้ท ได้ปฎิเสธต่อการแสดงความเห็นใดๆ แต่นายแอนดรู ฮาคุสช่า ซึ่งแต่งตั้งตัวเองว่าเป็นที่ปรึกษาของทีมกฎหมาย ได้ให้ความเห็นว่า คำตัดสินของผู้พิพากษาเชนด์ลินนั้น เป็นชัยชนะขั้นหนึ่งของทีมงาน


“ผมคิดว่า มันแสดงให้เห็นว่า ความยุติธรรมทางกฎหมายนั้น จะต้องได้รับชัยชนะ” เขาได้กล่าวในท้ายสุด





ความคิดเห็นของผู้แปล:


เมื่อไรเราจะได้เห็นผู้พิพากษาบางประเทศ ให้ความยุติธรรมต่อจำเลยบ้างหนอ? โดยเฉพาะจำเลยซึ่งเป็นผู้ด้อยโอกาสทางสังคม!

ผู้ ต้องหาที่ถูกข่มขู่ในชั้นการสอบสวนนั้น ศาลยุติธรรมส่วนใหญ่จะไม่อนุญาต ให้นำเอาคำให้การเหล่านี้เข้ามาใช้ในการพิจารณาคดี เนื่องจากว่า ผู้ต้องสงสัยถูกบังคับให้เซ็นชื่อในคำให้การที่ร่างไว้ อย่างตามใจชอบของพนักงานสอบสวน

หลักการนี้เป็นหลักการสากล ที่ใช้มาจนเกือบจะร้อยปีเข้าไปแล้ว ทำไมกระบวนการยุติธรรมทั้งกระบวนการ ของบางประเทศยังคงล้าหลังอยู่ขนาดนั้น??? ไม่ละอายใจกันบ้างหรือ???

ผู้ พิพากษารัฐบาลกลาง มาจากการเสนอชื่อโดยประธานาธิบดีของประเทศ ผ่านการรับรองจากวุฒิสมาชิกสภาของประเทศ ซึ่งมาจากการเลือกตั้งของประชาชนโดยตรง ผู้พิพากษาจะได้เข้าไปทำงานในตำแหน่ง ก็ต้องได้รับการสาบานตัว โดยผู้พิพากษาศาลสูงสุด ซึ่งมาจากการรับรองโดยผู้แทนของประชาชนเหมือนกัน

ผู้ พิพากษาและทุกคนในกระบวนการยุติธรรม เป็นคนของประชาชน ไม่ใช่ทำงานแทนหรือเพื่อคนหนึ่งคนใด เพราะอำนาจอธิปไตยนั้น ต้องมาจากประชาชนเท่านั้น และไม่มีอะไรต่อท้ายค่ะ

ยิ่งพวกท่านไม่ ต้องมาจากการเลือกตั้งจากประชาชน แต่กินเงินเดือนที่สูงลิบลิ่วจากภาษีประชาชน แล้วยังมาปฏิบัติแบบชั่วๆกับประชาชนผู้บริสุทธิ์อีก โดยไม่มีแม้แต่มโนธรรม ความละอายแก่ใจ ทั้งๆที่รู้อยู่แก่ใจว่าจำเลยผิดจริงหรือไม่ มันดับเบิ้ลจัญไรจริงๆ นี่พูดถึง กระบวนการยุติธรรมของประเทศไหนก็ไม่รู้ซิคะ... ยังงงๆอยู่.... (ง่วงมากค่ะขอไปนอนก่อน)

9 คำถามของ ใจ อึ๊งภากรณ์ เรื่องสถาบันกษัตริย์
ที่ นายอภิสิทธิ์  เวชชาชีวะ  นายประยุทธ์ จันทร์โอชา
นาย อนุดิษฐ์ นาครทรรพ และนายเฉลิม อยู่บำรุง
ไม่กล้าตอบต่อหน้าประชาชนไทย

1. การเสนอว่าประเทศไทยควรมีระบบประชาธิปไตยแบบสาธารณรัฐผิดตรงไหน? ทำไมต้องถูกมองว่าเป็นอาชญากรรม ในเมื่อการเสนอมุมมองแบบนี้เป็นเรื่องปกติถูกต้องในประชาธิปไตยยุโรปและญี่ปุ่น? ทำไมการเสนอระบบการปกครองประชาธิปไตยแบบ สหรัฐอเมริกา เยอรมัน ฝรั่งเศส หรือ อินเดีย เป็นเรื่อง “ผิด” ในไทย?

2. การเสนอว่าประเทศไทยควรปกครองด้วยระบบประชาธิปไตยสาธารณรัฐ ถ้าเปรียบเทียบกับการสั่งฆ่าประชาชนมือเปล่าที่เรียกร้องประชาธิปไตยจนตายกว่า 90 ศพ หรือการใช้กำลังในการทำรัฐประหาร ๑๙ กันยา อันไหนน่าจะเป็นอาชญากรรมร้ายแรงกว่ากัน?

3. การมีกษัตริย์เป็นประมุข ทำไมต้องแปลว่ามีการสร้างกษัตริย์ขึ้นมาเป็น “เทวดา” ซึ่งเก่งทุกอย่าง ทำไมต้องพูดเกินเหตุหลักวิทยาศาสตร์? ทำไมการผูกเชือกรองเท้าเองของกษัตริย์ไทยต้องเป็นเรื่อง  “มหัศจรรย์”? ทำไมในไทยเราไม่สามารถมองว่ากษัตริย์ที่เป็นประมุขเป็นคนธรรมดาปกติได้ อย่างที่กษัตริย์ประมุขในยุโรปตะวันตกเป็น? อย่าลืมว่าในการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากเผด็จการไปเป็นประชาธิปไตยในประเทศญี่ปุ่น หลังสงครามโลกครั้งที่สอง กษัตริย์ญี่ปุ่นต้องออกมาบอกประชาชนว่าตนเองไม่ใช่เทวดาอย่างที่เคยอ้าง ทำไมในไทยทำอย่างนี้ไม่ได้? 

4. การสร้างกษัตริย์ไทยเป็น “เทวดา” เป็นการแสดงความเคารพจริงแค่ไหน? หรือเป็นการสวมบทบาทหลอกลวงผิดหลักวิทยาศาสตร์ให้กับประมุขไทย ซึ่งสร้างภาระให้กับบุคคลคนนั้น? ชนชั้นปกครองไทยภูมิใจหรือไม่ที่มีการเชิดชูกษัตริย์ไทยเกินหลักวิทยาศาสตร์ และการใช้กฏหมาย 112 เพื่อไม่ให้ใครวิพากษ์วิจารณ์ จนประเทศไทยมีลักษณะคล้ายๆ เผด็จการเกาหลีเหนือ หรืออดีตเผด็จการกาดาฟี้ในลิบเบีย?

5. ทำไมหนังสือ The King Never Smiles ที่พิมพ์โดยมหาวิทยาลัยชั้นนำของสหรัฐ ต้องเป็นหนังสือต้องห้ามในประเทศไทย? ถ้าในหนังสือนั้นมีข้อความเท็จ ทำไมไม่ฟ้องหมิ่นประมาท? หรือว่าหนังสือเล่มนี้มีความจริงที่ทหาร นักการเมือง และนายทุนไม่ต้องการให้ประชาชนไทยทราบ?

6. สาเหตุที่ชนชั้นปกครองไทยอ้างว่าต้องมีกษัตริย์แบบ “เทวดา” และต้องเป็นกษัตริย์ที่วิพากษ์วิจารณ์ไม่ได้ ต่างจากกษัตริย์ที่เป็นประมุขในยุโรปและญี่ปุ่น เป็นเพราะทหาร นักการเมือง และนายทุนใหญ่ต้องการโหนและใช้สถาบันกษัตริย์เพื่อสร้างความชอบธรรมกับตนเองหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการทำรัฐประหาร การฆ่าประชาชน หรือการแทรกแซงการเมืองผิดหลักประชาธิปไตย?

7. กฏหมาย 112 มีไว้ปกป้องสถาบันกษัตริย์ หรือมีไว้ปกป้องพวกทหาร นักการเมือง หรือ นายทุนใหญ่ที่โหนสถาบันกษัตริย์ไทย? เพราะในยุโรปและญี่ปุ่นไม่มีกฏหมายแบบ 112 แต่สถาบันกษัตริย์ยังมั่นคง ข้อแตกต่างระหว่างไทยและที่อื่น ที่ทำให้ชนชั้นปกครองไทยต้องการคงไว้ 112 คือไทยไม่ได้มีประชาธิปไตยเต็มใบอันเนื่องจากการแทรกแซงการเมืองโดยทหารใช่หรือไหม?

8. กฏหมาย 112 มี ไว้ปกป้องคนที่ดึงสถาบันกษัตริย์ลงมาเกี่ยวกับการเมืองโดยตรงใช่หรือ ไม่?ตัวอย่างเช่น ทหารที่ทำรัฐประหาร๑๙ กันยาแล้วผูกโปสีเหลืองพร้อมกับถ่ายภาพการเข้าเฝ้า เพื่อสร้างภาพเท็จว่าได้รับคำสั่งจากกษัตริย์ให้ทำรัฐประหาร หรือนักการเมืองอย่างอภิสิทธิ์ที่พยายามหาเสียงด้วยการอ้างว่าพรรคของตนจะปก ป้องกษัตริย์มากกว่าพรรคอื่นเป็นต้น

9. การที่ผมเสนอว่ากษัตริย์ไทยไม่มีอำนาจทางการเมือง แต่เต็มใจถูกโหนถูกใช้โดยทหารและคนอื่น ทำให้ผมเป็นผู้ที่เสนอความคิดอันตรายที่สุดใช่ไหม? นี่คือสาเหตุที่คนอย่างอภิสิทธิ์หรือประยุทธ์มองว่าผมเป็น “หัวหน้าขบวนการล้มเจ้า” ใช่ไหม? คือข้อเสนอของผมอันตรายกว่าคนที่พูดว่ากษัตริย์ไทยมีอำนาจสั่งการรัฐประหารหรือสั่งฆ่าประชาชน อย่างเช่นที่ นปช. USA หรือนักวิชาการหลายคนในต่างประเทศเสนอใช่หรือไม่?

อิหม่ามยะผา เหยื่อผู้ถูกเจ้าหน้าที่รัฐซ้อมทรมานจนตาย
รูปภาพ

จ่ายอ่วม! ทหารกระทืบประชาชนตาย

คำสั่งศาลแพ่ง วันที่ 20 ก.ค 54

1.ค่าขาดไร้อุปการะโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 (เมีย1และลูก3) เป็นจำนวนเงิน 4,624,000 บาท


2.ค่าเสียหายต่อเกียรติยศชื่อเสียงของนายยะผา กาเซ็ง ผู้ตาย เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท

3.ค่าปลงศพเป็นจำนวนเงิน 87,000 บาท

รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น
5,211,000 บาท

จำเลย

1.กระทรวงกลาโหม

2.กองทัพบก

3.สำนักงานตำรวจแห่งชาติ

รวม 3 หน่วยงาน


ศาลแพ่งสั่งกลาโหม-ทัพบกชดเชยครอบครัวอิหม่ามยะผา กาเซ็ง 5.2 ล้าน เหตุตายระหว่างคุมตัว

ศูนย์ข่าวอิสรา

"คดี ซ้อมทรมาน" เกิดขึ้นไม่น้อยในระหว่างทางของปฏิบัติการแก้ไขปัญหาความไม่สงบในจังหวัดชาย แดนภาคใต้โดยฝ่ายความมั่นคงทั้งทหาร ตำรวจ แต่มีไม่กี่คดีที่พอจะมีความคืบหน้าให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังพอเป็น ที่พึ่งหวังให้กับชาวบ้านตาดำๆ ได้บ้าง และหนึ่งในนั้นคือคดี "อิหม่ามยะผา"

คดีของ "อิหม่ามยะผา" หรือ นายยะผา กาเซ็ง กลายเป็นสัญลักษณ์ "ความไม่เป็นธรรม" คดีหนึ่งที่เกิดขึ้นในห้วง 7 ปีที่ไฟใต้โหมกระพือรุนแรง โดยก่อนเสียชีวิต นายยะผาเป็นอิหม่ามประจำมัสยิดบ้านกอตอ ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เขาถูกเจ้าหน้าที่จับกุมเมื่อราววันที่ 19-20 มี.ค.2551 และเสียชีวิตเมื่อวันที่ 21 มี.ค.2551เพราะถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกาย

คดีที่มีครอบครัวของอิหม่ามยะผา นำโดย นางนิม๊ะ กาเซ็ง ภรรยาของอิหม่าม เป็นผู้เสียหายนั้น มีทั้งคดีแพ่งและคดีอาญา แต่คดีที่มีความคืบหน้าชัดเจนที่สุดจนถึงขณะนี้ซึ่งเป็นเวลากว่า 3 ปีแล้ว คือคดีทางแพ่ง

เมื่อวันพุธที่ 20 ก.ค.2554 ศาลแพ่งได้นัดพร้อมไกล่เกลี่ยในคดีหมายเลขดำที่ 1084/2552 ซึ่ง นางนิม๊ะ และลูกๆ ของอิหม่ามยะผารวม 4 คน เป็นโจทก์ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดจากกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยศาลได้ไกล่เกลี่ยคู่ความทั้งสองฝ่ายแล้ว คดีสามารถตกลงกันได้

โดยจำเลยทั้งสาม (กระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) แถลงว่า เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในคดีนี้ที่ทำให้นายยะผาเสียชีวิตนั้น เป็นการปฏิบัติการร่วมกันของจำเลยทั้งสามภายใต้กรอบของกฎหมายตามสถานการณ์ ที่เป็นอยู่ขณะเกิดเหตุ เมื่อมีการตรวจสอบเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตลอดจนข้อเท็จจริงทั้งหมดแล้ว พบว่านายยะผาผู้ตายและครอบครัวไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการก่อความไม่สงบ จำเลยทั้งสามรู้สึกเสียใจกับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

จำเลยที่ 1 และที่ 2 ยอมรับที่จะเยียวยาความเสียหายให้กับฝ่ายโจทก์ตามที่ศาลได้มีการไกล่เกลี่ย และเป็นที่ยอมรับของฝ่ายโจทก์ เป็นค่าเสียหายต่อเกียรติยศชื่อเสียงของนายยะผาผู้ตาย เป็นจำนวนเงิน 500,000 บาท ค่าปลงศพเป็นจำนวนเงิน 87,000 บาท และค่าขาดไร้อุปการะโจทก์ที่ 1 ถึงที่ 4 (ภรรยาและบุตร) เป็นจำนวนเงิน 4,624,000 บาท รวมเป็นจำนวนเงินทั้งสิ้น 5,211,000 บาท และได้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความกัน

คู่ความทั้งสองฝ่ายแถลงร่วมกันว่า คดีสามารถตกลงกันได้ตามสัญญาประนีประนอมยอมความที่ยื่นต่อศาล ขอให้ศาลพิพากษาตามยอม ศาลตรวจสัญญาประนีประนอมยอมความแล้วเห็นว่าไม่ขัดต่อกฎหมาย จึงพิพากษาตามยอมให้คดีเป็นอันเสร็จเด็ดขาดไป


3 ปีแห่งความเจ็บช้ำ

คดีอิหม่ามยะผายืดเยื้อมากว่า 3 ปี แม้จะเป็นคดีที่มีความคืบหน้ามากที่สุดในชั้นไต่สวนการตายทางอาญา เพราะเมื่อวันที่ 25 ธ.ค.2551 (ราว 9 เดือนหลังเสียชีวิต) ศาล จังหวัดนราธิวาสได้มีคำสั่งในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพนายยะผา ตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา 150 สรุปว่านายยะผาเสียชีวิตที่ฐานปฏิบัติการหน่วยเฉพาะกิจนราธิวาส 39 ตั้งอยู่ที่วัดสวนธรรม หมู่ 2 ต.รือเสาะออก อ.รือเสาะ จ.นราธิวาส เมื่อวันที่ 21 มี.ค.2551 เนื่องจากผู้ตายถูกเจ้าหน้าที่ทหารทำร้ายร่างกาย ทำให้กระดูกซี่โครงหัก ลมรั่วในช่องอกด้านขวา ระหว่างที่อยู่ในความควบคุมของเจ้าหน้าที่ทหารซึ่งเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ ราชการตามหน้าที่

ต่อมานางนิม๊ะและลูกๆ ได้ยื่นฟ้องเรียกค่าเสียหายทางละเมิดต่อกระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ โดยเมื่อวันที่ 14 มิ.ย.2554 ได้นัดไกล่เกลี่ยกันมาครั้งหนึ่งแล้วที่ศูนย์ไกล่เกลี่ยประจำศาลแพ่ง แต่ฝ่ายโจทก์และจำเลยไม่สามารถยอมความกันได้ เพราะติดขัดในเรื่องคำขอท้ายฟ้องของโจทก์ที่ให้หน่วยงานของจำเลย (กระทรวงกลาโหม กองทัพบก และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ) ประกาศทางหนังสือพิมพ์และส่งหนังสือถึงหน่วยงานฝ่ายความมั่นคงให้ขอโทษครอบ ครัวของอิหม่ามยะผา ประกอบกับค่าเสียหายที่ฝ่ายจำเลยเสนอมาค่อนข้างต่ำ กระทั่งล่าสุดในการนัดไกล่เกลี่ยอีกครั้งเมื่อวันที่ 20 ก.ค. จึงสามารถตกลงกันได้


คดีอาญายังมืด-ลุ้นฎีกาขึ้นศาลพลเรือน

สำหรับคดีอาญา พนักงานสอบสวน สภ.รือเสาะ จ.นราธิวาส ได้ทำสำนวนสรุปความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ราชการของเจ้าหน้าที่ทหารที่ ร่วมกระทำความผิดไปให้คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตั้งแต่เดือน มิ.ย.2551 แต่จนถึงปัจจุบันการไต่สวนของ ป.ป.ช. ก็ยังไม่แล้วเสร็จ

ต่อมา นางนิม๊ะ ภรรยาของอิหม่ามยะผา จึงตัดสินใจนำคดียื่นฟ้องเองต่อศาลจังหวัดนราธิวาส เป็นคดีอาญาหมายเลขดำที่ 1611/2552 โดยนับเป็นคดีแรกในจังหวัดชายแดนภาคใต้ที่ผู้เสียหายซึ่งเป็นประชาชนได้ลุก ขึ้นใช้สิทธิในกระบวนการยุติธรรมฟ้องเอาผิดเจ้าหน้าที่รัฐเป็นคดีอาญาเอง

แต่เมื่อประชาชนใช้สิทธิฟ้องคดีเอง ตามกฎหมายกำหนดให้ศาลไต่สวนมูลฟ้องก่อนประทับรับฟ้องเพื่อพิจารณาว่าคดีมี มูลหรือไม่ โดยเมื่อวันที่ 2 ก.ย.2553 ศาลจังหวัดนราธิวาสได้อ่านคำสั่งชั้นไต่สวนมูลฟ้องคดีอาญา หมายเลขดำที่ 1611/2552 ซึ่งนางนิม๊ะเป็นโจทก์ฟ้อง พ.ต.วิชา ภู่ทอง จำเลยที่ 1 ร.ต.สิริเขตต์ วาณิชบำรุง จำเลยที่ 2 จ.ส.อ.เริงณรงค์ บัวงาม จำเลยที่ 3 ส.อ.ณรงค์ฤทธิ์ หาญเวช จำเลยที่ 4 ส.อ.บัณฑิต ถิ่นสุข จำเลยที่ 5 และ พ.ต.อ.ทนงศักดิ์ วังสุภา (อดีตผู้กำกับการ สภ.รือเสาะ) จำเลยที่ 6 ใน ข้อหาร่วมกันข่มขืนใจผู้อื่นให้กระทำการใดหรือไม่กระทำการใดหรือจำยอมต่อ สิ่งใด, กักขังหน่วงเหนี่ยว, เป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบหรือปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต, ร่วมกันทำร้ายร่างกายผู้อื่นจนเป็นเหตุให้ผู้นั้นถึงแก่ความตายโดยทรมานหรือ โดยกระทำทารุณโหดร้าย

ทว่าศาลมีคำสั่งไม่รับฟ้อง โดยให้ยกฟ้องจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจทุกข้อกล่าวหา และให้ไปฟ้องจำเลยที่ 1-5 ต่อศาลทหารที่มีเขตอำนาจ

ต่อมานางนิม๊ะได้อุทธรณ์คำสั่งของศาลชั้นต้น แต่ศาลอุทธรณ์มีคำพิพากษายืน คือให้ยกฟ้องจำเลยที่ 6 และให้ไปฟ้องจำเลยที่ 1-5 ต่อศาลทหาร ทำให้เมื่อวันที่ 12 ก.ค.2554 นางนิม๊ะโดยความช่วยเหลือของ นายปรีดา นาคผิว ทนายความโครงการเข้าถึงความยุติธรรมและการคุ้มครองทางกฎหมาย มูลนิธิผสานวัฒนธรรม ร่วมกับมูลนิธิศูนย์ทนายความมุสลิม ได้ยื่นคำขอรับรองฎีกาพร้อมกับฎีกาต่อศาลจังหวัดนราธิวาส เพื่อให้ผู้พิพากษาศาลจังหวัดนราธิวาสหรือผู้พิพากษาศาลอุทธรณ์ภาค 9 ซึ่งพิจารณาคดีหรือลงชื่อในคำพิพากษาของศาลชั้นต้นหรือศาลอุทธรณ์ เซ็นชื่อรับรองฎีกาเพื่อส่งฎีกาให้ศาลฎีกาได้พิจารณาต่อไป (ว่าจะรับฟ้องหรือไม่)

ทั้งนี้ รายละเอียดในคำขอรับรองฎีกาของโจทก์นั้น ได้ ขอให้ศาลฎีกาพิพากษากลับคำพิพากษาของศาลชั้นต้นและศาลอุทธรณ์ที่ได้พิพากษา ยกฟ้องจำเลยที่ 6 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ และไม่ประทับรับฟ้องสำหรับจำเลยที่ 1-5 ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ทหาร และวินิจฉัยว่าคดีอยู่ในอำนาจของศาลทหาร ซึ่งโจทก์ไม่เห็นพ้องด้วยกับคำพิพากษาของทั้งสองศาลดังกล่าว ด้วยเห็นว่าอิหม่ามยะผาได้เสียชีวิตภายใต้การปฏิบัติการของทั้งเจ้าหน้าที่ ทหารและตำรวจซึ่งสนธิกำลังร่วมกันจับกุม ควบคุมตัว นำไปแถลงข่าว และเจ้าหน้าที่ทหารได้ทำร้ายร่างกายจนอิหม่ามยะผาเสียชีวิต จึงเป็นคดีอาญาในเรื่องเจ้าหน้าที่ทหารและตำรวจร่วมกันกระทำความผิดต่อ ตำแหน่งหน้าที่ราชการ และเป็นความผิดต่อชีวิต ร่างกาย และเสรีภาพ

เมียและลูกไม่เอาศาลทหาร ทหารยังยื้ออยู่

ข้อต่อสู้ของทนายฝ่ายลูกและเมีย


เมื่อเจ้าหน้าที่ตำรวจซึ่งเป็นพลเรือนร่วมกระทำความผิดกับเจ้าหน้าที่ทหาร คดีย่อมอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรม ไม่ใช่ศาลทหาร อีกทั้งหากคดีต้องฟ้องต่อศาลทหาร ผู้เสียหายที่เป็นโจทก์ในคดีนี้ย่อมไม่สามารถเป็นโจทก์ยื่นฟ้องต่อศาลทหาร ได้ และไม่สามารถแต่งตั้งทนายความของตนเพื่อดำเนินคดีในศาลทหารได้ เนื่องจากพระธรรมนูญศาลทหาร พ.ศ.2498 บัญญัติห้ามไว้ จึงเห็นว่าการดำเนินคดีอาญาในศาลทหารจะทำให้ผู้เสียหายเข้าไม่ถึงกระบวนการ ยุติธรรมได้อย่างแท้จริงตามที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ


ถึงนาทีนี้จึงต้องลุ้นว่าคดี "อิหม่ามยะผา" ในภาคอาญาจะเป็นอย่างไร เพราะไม่ว่าจะขึ้นศาลทหารหรือศาลพลเรือน คดีก็เพิ่งเริ่มนับหนึ่งเท่านั้นเอง...


ทหารชี้เป็นบทเรียนกำลังพลต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

พ.อ.ปริญญา ฉายดิลก นายทหารจากกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) กล่าวว่า คดีอิหม่ามยะผาเป็นคดีสำคัญที่สะท้อนให้เห็นว่ากระบวนการยุติธรรมยังสามารถ ให้ความเป็นธรรมได้ และกองทัพไม่เคยเข้าไปแทรกแซงหรือช่วยเหลือ ใครผิดก็ต้องว่าไปตามผิด ซึ่งเป็นนโยบายของแม่ทัพภาคที่ 4 ทุกคน ในส่วนของคดีอาญาขณะนี้ทราบว่าทางตำรวจได้ดำเนินการตามกระบวนการ เรื่องอยู่ในชั้น ป.ป.ช. และมีคดีที่ครอบครัวของอิหม่ามยื่นฟ้องเองด้วย โดยในส่วนของกำลังพลที่เกี่ยวข้อง ทางผู้บังคับบัญชาก็ได้มีคำสั่งลงโทษไปตามระเบียบ และย้ายหน่วยดังกล่าวออกจากพื้นที่ตั้งแต่หลังเกิดเหตุ ถือเป็นบทเรียนที่กำลังพลทุกนายต้องปฏิบัติตามกฎหมาย

"ก่อนหน้านี้ ท่านแม่ทัพ (พล.ท.อุดมชัย ธรรมสาโรรัชต์) ได้ส่งคณะไปเยี่ยมครอบครัวของอิหม่ามยะผา และได้ทำความเข้าใจว่ากองทัพไม่ได้นิ่งนอนใจ พร้อมให้กระบวนการยุติธรรมตัดสินการกระทำที่ผิดพลาดทั้งหมด" พ.อ.ปริญญา ระบุ และว่าในแง่ของการปฏิบัติของกำลังพลโดยยึดหลักสิทธิมนุษยชนนั้น แม่ทัพภาคที่ 4 ได้เน้นย้ำและกำชับเพื่อไม่ให้เรื่องราวในลักษณะนี้เกิดขึ้นอีก


http://www.isranews.org/south-news/scoo ... B9%89.html

แม่ น้องเกดได้ตัวอย่างแล้ว มีข้อสังเกตุว่า คดีคืบหน้าเพราะศาลจ.ว นราธิวาสมีคำสั่งในคดีไต่สวนชันสูตรพลิกศพตาม ป.วิอาญา ม.150 ว่าจนท.รัฐกระทำผิด แต่คดีคนเสื้อแดงโดนนายธาริตทำลายหลักฐานไปเยอะแล้ว จะเอาอะไรให้ศาลดู! หรือศาลไทยกล้างัดข้อลากเหล่มาขึ้นศาลพลเรือนหรือไม่!

ข้อกฏหมายโดยละเอียดในการฟ้อง อ่านจากกระทู้

"ศาลรับฟ้องคดียิงหัว"น้องเฌอ"ซอยรางน้ำเรียก10ล้านดูคลิป"
http://board.banrasdr.com/showthread.php?tid=33776
คนไทย9ชาติยุโรปตั้งสหภาพเพื่อประชาธิปไตยประชาชน เลิก112เรียกร้องประชาธิปไตยแท้จริง

เดินหน้ารณรงค์เรื่องยกเลิกมาตรา 112 และยุติคดีและปล่อยนักโทษคดีการเมืองและนักโทษคดีหมิ่นฯ ทุกคน ทั้งนี้ประกาศรณรงค์พร้อมกันในวันที่ 19 กันยายน 2554


รายละเอียดข่าวคลิ้ก
ลิ้งค์
วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดป๋า


อวยพรวันเกิดป๋า

ด้วย วันนี้เป็นวันคล้ายวันเกิดป๋า เราคนเสื้อแดงของอวยพรให้ป๋าจงประสบแต่ความชิบหายตายโหง ทำอะไรก็ไม่เจริญ ไม่มีใครนับถือ เป็นที่ดูหมิ่นเกลียดชังของคนทั้งบ้านทั้งเมือง และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า คงจะไม่มีวันเกิดของป๋าอีกในปีหน้า และตลอดกาลเทอญ


รูปภาพ

เพลงชิงหมาเกิด

http://www.youtube.com/watch?v=du93_8WCNGk&feature=player_embedded