วันจันทร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2555
วิวัฒนาการรัฐธรรมนูญไทยจาก 2475 ถึง 2550
วิวัฒนาการรัฐธรรมนูญไทยจาก 2475 ถึง 2550
หลังจากคณะราษฎรปฏิวัติเปลี่ยนแปลง
การปกครองของไทยเป็นประชาธิปไตย
เมื่อวันที่24 มิถุนายน 2475 สิ่งที่ตามใน
วันที่ 27 มิถุนายน 2475 ก็คือรัฐธรรมนูญ
ฉบับแรก ซึ่งกำหนดให้อำนาจสูงสุด
เป็นของประชาชน
VoiceNews VoiceTV 10-12-2011
(คลิกฟัง)
http://www.youtube.com/watch?v=LYseaMeE7-w&feature=watch-vrec
ละครที่พระเอกไม่ขึ้นเวที
ละครที่พระเอกไม่ขึ้นเวที
โดยนิธิ เอียวศรีวงศ์
การ
แพ้โหวตของพรรค พท.ในสภา เรื่องให้นำญัตติ "อื่น"
นอกวาระการประชุมมาพิจารณาลงมตินั้น ผมแน่ใจว่าไม่ใช่อุบัติเหตุ
หลายคนในพรรคเพื่อไทยรู้อยู่แล้วว่าจะต้องแพ้โหวต
แต่พรรคเพื่อไทยไม่สามารถแถลงความจริงได้ ก่อนจะมาถึงการโหวต
จึงเต็มไปด้วยเรื่องที่น่างุนงงหลายเรื่อง
ใน
ที่ประชุม ครม.
นายกรัฐมนตรีได้ตัดสินใจไปตามเสียงส่วนใหญ่ของคณะกรรมการยุทธศาสตร์ของพรรค
แล้วว่า จะไม่มีการลงมติรับวาระที่สามของการแก้ รธน.มาตรา 291
นายกฯเห็นว่าจะต้องประคองมิให้บ้านเมืองเกิดความแตกร้าวมากไปกว่านี้
ฝ่าย
ต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญมีพรรค ปชป.เป็นหัวเรือใหญ่
มีนักการเมืองที่ได้รับแต่งตั้งในวุฒิสภาหนุน
และมีกลุ่มเสื้อหลากสีซึ่งประกอบด้วยคนหลายประเภทร่วมด้วย
แต่ขอให้สังเกตด้วยว่า แกนนำของ พธม.ประกาศแล้วว่า
เขาต่อต้านการนำคุณทักษิณกลับบ้านโดยไม่ต้องรับผิดทางอาญา ฉะนั้น
เขาจึงต่อต้านร่าง พ.ร.บ.ปรองดอง แต่เขาไม่ต้านการแก้ไข รธน.
ยกเว้นแต่เมื่อ รธน.ใหม่จะไปล้างผิดให้คุณทักษิณเท่านั้น
ประเมิน
จากพลังต่อต้านการแก้ไขรัฐธรรมนูญ
จะทำให้บ้านเมืองแตกร้าวไปกว่านี้จริงหรือไม่ ผมคิดว่าคงเถียงกันได้
อย่างน้อยก็ไม่ใช่ข้อสรุปง่ายๆ อย่างที่ท่านนายกฯอ้าง
จริงหรือที่ว่า หากผลักดันการแก้รัฐธรรมนูญต่อไป จะทำให้เกิดความแตกร้าวในบ้านเมืองมากขึ้น และถ้าจริง ใครจะแตกกับใคร
เรื่อง
ของเรื่องมันมากกว่าการประเมินผิด
ท่านนายกฯอ้างว่าคณะกรรมการยุทธศาสตร์เตือนไว้ว่า ถึงผ่านร่างแก้ไข ม.291
ได้ เมื่อทูลเกล้าฯ ถวายให้ทรงลงพระปรมาภิไธย
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องขององคมนตรีก็จะไม่ผ่านเรื่องให้จะยิ่งเป็นวิกฤต
ทางการเมืองชนิดที่ถูกเรียกว่าคิลลิ่งโซนแก่รัฐบาลและพรรคเพื่อไทยไปเลย
คณะ
กรรมการชุดดังกล่าวมีอำนาจเช่นนี้มาตั้งแต่เมื่อไร
ไม่แปลกที่คณะองคมนตรีจะตั้งคณะกรรมการกลั่นกรองขึ้นมาทำความเห็นเบื้องต้น
ต่อเรื่องที่พระเจ้าอยู่หัวทรงปรึกษา รวมทั้งร่าง พ.ร.บ.ด้วย
แต่คณะกรรมการชุดนี้ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะยับยั้งร่าง
พ.ร.บ.ที่สภาทูลเกล้าฯ ได้ และไม่ว่าจะทำความเห็นอย่างไร
อย่าว่าแต่กรรมการชุดที่อ้างถึงเลย
แม้แต่คณะองคมนตรีเองก็ไม่มีอำนาจจะยับยั้งได้เช่นกัน
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340625436&grpid=03&catid=02&subcatid=0200
'ใบตองแห้ง' Voice TV: 2475 ของแดง 2490 ของเหลือง
'ใบตองแห้ง' Voice TV: 2475 ของแดง 2490 ของเหลือง
ใบต้องแห้ง
ที่มา: Voice TV
http://www.voicetv.co.th/blog/1176.html
ถ้ามีใครไปบอก “พี่เนาว์” เนาวรัตน์ พงษ์ไพบูลย์ ศิลปินแห่งชาติ ว่า “พี่กลายเป็นพวกหนับหนุนรัฐประหาร 8 พฤศจิกายน 2490 ไปแล้ว รู้ตัวหรือเปล่า” พี่เนาว์คงโกรธแบบไม่เผาผี ไม่คบหากันชั่วชีวิตนี้
ทำนองเดียวกับพี่พิภพ ธงไชย, สุริยะใส กตะศิลา, สมเกียรติ พงษ์ไพบูลย์, สมศักดิ์ โกศัยสุข, รสนา โตสิตระกูล, สันติสุข โสภณศิริ, หมอพลเดช ปิ่นประทีป ฯลฯ พวกที่เคยอยู่ใน “ภาคประชาสังคม” มาก่อน พวกที่เคยทำมูลนิธิ องค์กรพัฒนาเอกชน ไม่ว่าจะอยู่ในเครือข่ายหมอประเวศ เครือข่าย ส.ศิวรักษ์ (ซึ่งมักทับซ้อนกัน) หรือผู้นำยุค 14 ตุลา อย่างธีรยุทธ บุญมี, จีรนันท์ พิตรปรีชา (ไม่อยากนับสมบัติ ธำรงธัญญวงศ์)
คนเหล่านี้ล้วนเคยยกย่องเชิดชู อ.ปรีดี พนมยงค์ คณะราษฎร และการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 มาทั้งสิ้น
แต่ผ่านความขัดแย้งทางการเมืองมา 6 ปี ตั้งแต่เรียกร้อง ม.7 มาจนสนับสนุนรัฐประหาร ยืนอยู่ข้างพวกที่ใช้วาทกรรม “พระราชอำนาจ” และ “ผังล้มเจ้า” ปราบปรามผู้มีความเห็นต่าง (ท่านทั้งหลายอาจไม่ได้พูดเอง แต่ยืนข้างๆ และไม่คัดค้านผู้ที่ใช้เครื่องมือเหล่านี้) กระทั่งต่อต้านการแก้ไขมาตรา 112
จะทันรู้ตัวหรือไม่รู้ พวกท่านก็กลายเป็นทายาททางอุดมการณ์ของคณะรัฐประหาร 2490 ผู้ล้มล้าง อ.ปรีดีไปเสียแล้ว
ขณะที่เสื้อแดงแย่งยึดเอา 24 มิถุนายน 2475 ไปครอบครอง โดยพวกท่านไม่สามารถร้องแรกแหกปากได้ เพราะพูดอะไรออกมา ก็ไม่ตรงกับอุดมการณ์ของคณะราษฎร เช่น สนับสนุนศาลรัฐธรรมนูญให้เข้ามาก้าวก่ายการแก้ไขรัฐธรรมนูญ หรือหาว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญเป็นการล้มล้างการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมี พระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข แบบนี้ ดวงวิญญาณ อ.ปรีดีถ้ามีจริงคงส่ายหน้าด้วยความเศร้าใจ (ส่วนเปรตบรรพบุรุษของนักการเมืองที่ให้ร้าย อ.ปรีดี ก็ร้องกรี๊ดสะใจในโรงหนัง)
มีรายเดียว ที่บังเอิ๊ญ เป็นทายาทรัฐประหารทางสายเลือดมาแต่ต้น อุตส่าห์หนีไปเป็นฝ่ายซ้ายหลายสิบปียังหนีไม่พ้น ต้องวนกลับมาย่ำรอยบรรพบุรุษตัวเอง คืออาจารย์โต้ง (ฮาไม่ออก)
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41249
ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย
ประกาศของคณะราษฎร์ ๒๔ มิ.ย. ๒๔๗๕ ราษฎรทั้งหลาย
ประกาศคณะราษฎร ฉบับที่ 1
(คลิกฟัง)http://www.youtube.com/watch?v=q2PbgE5K2-0&feature=player_embedded#!
Wake Up Thailand
Wake Up Thailand
Wake Up Thailand 25มิย55
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=fm-bC9gNGlM#![คลิป] เกษียร เตชะพีระ - ปฤณ เทพนรินทร์ ปาฐกถานำ "นิทานประชาธิปไตยไทย"
[คลิป] เกษียร เตชะพีระ - ปฤณ เทพนรินทร์ ปาฐกถานำ "นิทานประชาธิปไตยไทย"
นิทานประชาธิปไตยไทย
http://www.youtube.com/watch?feature=player_embedded&v=mJsGRDdkfBUเกษียร เตชะพีระ และปฤณ เทพนรินทร์ นักศึกษารัฐศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ปาฐกถา "นิทานประชาธิปไตยไทย: ตำนานฐานรากของระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข" โดยเทียบคติความเชื่อฐานราก 8 ประการของประชาธิปไตยแบบไทยๆ กับประชาธิปไตยต้นแบบจากตะวันตก
การปาฐกถาดังกล่าว เป็นการปาฐกถานำงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"(SIAMESE-THAI POLITICS: FROM the 1912 COUP TO the 1932 REVOLUTION) ณ หอประชุมศรีบูรพา มหาวิทยาธรรมศาสตร์ ท่าพระจันทร์ วันที่ 24 มิ.ย.2555 จัดโดยหอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม
(ที่มา)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41256
รายงาน:"100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"[1]
รายงาน:"100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475"[1]
เสวนาว่าด้วยประวัติศาสตร์การเมืองการปกครองไทยเมื่อ100ปีที่ผ่านมา
ชี้ให้เห็นหลากปัจจัยที่ส่อให้เห็นถึงความผุกร่อนของระบอบการเมืองการปกครอง
ไทยในสมัยนั้น ซึ่งแม้ว่าจะล้มเหลวแต่ก่อให้เกิดหน่ออ่อนแห่งการ
เปลี่ยนแปลง 24มิถุนายน 2475 ในอีก20ปีต่อมา
อภิปราย “100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ. 130” ดำเนินรายการโดย ฉลอง
สุนทราวาณิชย์ ธเนศ อาภรณ์สุวรรณ วิทยาลัยนานาชาติปรีดี พนมยงค์
มธ.เพ็ญพิสุทธิ์ ทองมี นักวิชาการอิสระ และ สุธาชัย ยิ้มประเสริฐ
อักษรศาสตร์ จุฬาฯ
http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41244
2475, 2555
2475, 2555
แม้งานรำลึก 80 ปี เปลี่ยนแปลงการปกครอง 24 มิถุนายน 2475 ค่อนข้างคึกคัก
แต่เป็นความคึกคักที่ไม่ได้ทำให้อุ่นใจว่าคนไทยยังคงให้ความสำคัญต่อเจตนารมณ์ของคณะราษฎรสักเท่าไหร่
เจตนารมณ์ที่พยายามจะตอก 6 เสาหลักประชาธิปไตย คือ "เอกราช/ปลอดภัย/เศรษฐกิจ/เสมอภาค/เสรีภาพ/การศึกษา" ลงกลางแผ่นดิน
ความคึกคักของ "80 ปี 24 มิถุนายน"
เป็นเพียงการใช้เป็นเวทีสะท้อนความเชื่อของ "ตน-กลุ่ม-สี" ฝ่ายตัวเองเท่านั้น
สะท้อนเพื่อบอกว่า การแตกแยก-แบ่งขั้ว ที่เป็น "วิกฤต" ของประเทศ ยังคงดำเนินต่อไป
แต่ละฝ่ายพยายามอธิบายและเชื่อมโยงจุดยืนของฝ่ายตนเอง เพื่อให้ประสานเข้ากับเหตุการณ์ 24 มิถุนายน
มากกว่าที่จะมุ่งไปสู่จุดหมาย "ประชาธิปไตย" ที่คณะราษฎรต้องการ
ยกตัวอย่างให้ดูสัก 2 เวที
ที่คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มีการเสวนาเรื่อง "วิกฤตและความขัดแย้งทางการเมืองเชิงสถาบัน"
นายจาตุรนต์ ฉายแสง ระบุว่า "รัฐธรรมนูญ ปี 2550 ถูกร่างขึ้นมาโดยสวนทางกับการพัฒนาประชาธิปไตย
"มีการสร้างกลไกองค์กรอิสระขึ้นมา และมีอำนาจเปลี่ยนแปลง หรือล้มล้างผลการเลือกตั้ง และฝ่ายบริหารประเทศ
"การรับคำร้องของศาลรัฐธรรมนูญ ตามมาตรา 68 ครั้งนี้
ขัดต่อรัฐธรรมนูญหลายประการ เพราะการแก้ไขรัฐธรรมนูญ เป็นกระบวนการถูกต้องตามมาตรา 291 ไม่ขัดต่อมาตรา 68
"การ
ที่ศาลรัฐธรรมนูญกล้ากระทำขัดต่อกฎหมายเอง
เชื่อว่าผลการวินิจฉัยน่าจะมีแนวโน้มไปในเชิงการแก้รัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การ
เปลี่ยนแปลงการปกครอง เปิดช่องทางให้ยื่นถอดถอนคณะรัฐมนตรี
และยุบพรรคการเมือง
"อันจะนำไปสู่สุญญากาศทางการเมืองขึ้น"
นายจาตุรนต์ไม่ได้ขยายความต่อว่า แล้วจากนั้นจะเกิดอะไรขึ้นหลังนั้น
แต่คงเดาไม่ยาก
เชื่อ
ว่าทันทีที่รัฐบาลเพื่อไทยถูกหักโค่นลงด้วยคำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ
มวลชนเสื้อแดงและฝ่ายที่ไม่ต้องการเห็นการเมืองนอกระบบ
คงไม่นิ่งเฉยอยู่แน่ๆ
ตัดไปที่เวทีเสวนา "80 ปี
รัฐธรรมนูญไทยกับก้าวต่อไปของประชาธิปไตย"
ซึ่งจัดโดยสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน, สมาคมนักข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ที่ห้องประชุม สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในวันเดียวกัน 21
มิถุนายน 2555
(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340511033&grpid=03&catid=02&subcatid=0207
"ยิ่งลักษณ์"ยังยิ้มได้อีกยาว
"ยิ่งลักษณ์"ยังยิ้มได้อีกยาว
โดยสุชาติ ศรีสุวรรณ
อาจจะเป็นเพราะบรรยากาศการเมืองช่วงนี้ "องค์กรอิสระ" แสดงบทบาทออกมาถี่ แถมเป็นบทบาทที่มีปมให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง
จึงได้ยินคำถามที่ว่า "รัฐบาลจะอยู่รอดไหมนี่" อยู่บ่อยๆ
หากประเมินกันด้วยความเป็นไปปกติทางการเมือง ไม่มีเหตุผลอะไรเลยที่จะตีความไปในทางว่า "รัฐบาลจะอยู่ไม่ได้"
แม้
จะยังไม่มีผลงานที่โดดเด่นเหมือนสมัยพี่ชายเป็นนายกรัฐมนตรี แต่ ยิ่งลักษณ์
ชินวัตร ได้แสดงให้เห็นถึงการทุ่มเททำงานอย่างไม่ย่อท้อ
ทุกครั้งที่มีการสำรวจของสำนักโพลต่างๆ คะแนนนิยมของ "นายกรัฐมนตรีหญิง" ผู้นี้ยังล้นหลาม เหนือกว่านักการเมืองคนอื่นๆ
ยังสอบผ่านเสมอ เมื่อถามประชาชนส่วนใหญ่
ในส่วนของพรรคร่วมรัฐบาล เสถียรภาพยังไม่มีปัญหาอะไรให้น่าหนักใจว่าจะอยู่ไม่ได้
ภาย
ในพรรคเพื่อไทยเอง แม้จะมีกลิ่นของความแตกแยกโชยออกมา
แต่เป็นเรื่องระหองระแหงระหว่าง "ทิศทางของมวลชนเสื้อแดง กับทิศทางของพรรค"
มากกว่า
ในส่วน ส.ส.ไม่ได้มีปัญหา ยังทำงานร่วมกันในธงที่ ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ถือนำอย่างเป็นเอกภาพ
หาก
เป็นช่วงหาเสียงเลือกตั้ง
น้ำเสียงที่พูดไปคนละทางระหว่างพรรคกับมวลชนอาจจะเป็นเรื่องอยู่บ้าง
แต่รัฐบาลยังมีวาระอยู่อีกหลายปี ช่วงนี้เอกภาพของ
ส.ส.ในสภาเป็นตัวกำหนดเสถียรภาพมากกว่า "มวลชน"
ความขัดแย้งภายในเพื่อไทยจึงไม่ใช่ปัจจัยที่จะส่งผลสะเทือนต่อรัฐบาลสักเท่าไร
มองจากปัจจัยภายนอก
ลึกๆ
อย่างไรไม่รู้ แต่ทหารยุคนี้ ดูจะมีความเข้าใจในบทบาทของกองทัพมากขึ้น
เป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าไปแทรกแซงรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งอย่างโจ่งแจ้ง
ท่ามกลางสายตาของนานาชาติที่ปฏิเสธเผด็จการ
ทางด้านฝ่ายค้าน
แม้พรรคประชาธิปัตย์พยายามเร่งบทบาทตัวเองที่จะเล่นงานรัฐบาลอย่างหนัก
แต่ผลที่เกิดขึ้นเป็นได้อย่างมากแค่ "สะใจในหมู่พวกตัวเอง"
เป็นแบบ "เล่นกันเอง ชมกันเอง" ขณะที่คนส่วนใหญ่ไม่รู้สึกไปด้วย บางเรื่องออกจะส่ายหัวให้ด้วยความอิดหนาระอาใจเสียด้วยซ้ำ
จึงไม่มีอะไรที่จะต้องกังวลว่ารัฐบาลจะอยู่ไม่ได้เพราะฝ่ายค้าน
หัน
มาดูเรื่องราวคดีความต่างๆ ที่จะส่งผลกระทบต่อคนในฝ่ายรัฐบาล
ดูเหมือนว่าจะมีแต่เรื่องเก่าๆ กับคนเก่าๆ ไม่มีอะไรจะทำให้
ผู้บริหารหน้าใหม่ภายในพรรคต้องเดือดร้อน
ผิดกับฝ่ายค้านที่คดีใหม่ๆ โผล่ขึ้นมาทีละเรื่องสองเรื่อง แถมเป็นเรื่องที่หนักหนาสาหัส
(อ่านต่อ)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340539205&grpid=03&catid=02&subcatid=0207
"ก่อแก้ว"หวั่นศาล รธน.งัด ม.68 บิดเบือนจัดตั้ง"รัฐบาลเทพประทาน 2"
ที่รัฐสภา นายก่อแก้ว พิกุลทอง ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทยและแกนนำคนเสื้อแดง แถลงถึงกรณีที่กลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) จัดงานบริเวณอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ภายใต้ชื่อ "งาน 80 ปี ยังไม่มีประชาธิปไตย" โดยมีกลุ่มคนเสื้อแดงบางส่วนจัดกิจกรรมกรวดน้ำ คว่ำกะลาและให้ข้อมูลบอยคอตผู้สื่อข่าวและนักแสดง อาทิ นายสรยุทธ์ สุทัศนะจินดา นายปัญญา นิรันดร์กุล เป็นต้น ว่า ตนเข้าใจว่าเป็นความเห็นของคนกลุ่มหนึ่ง แต่ไม่ทราบว่ามีความเกี่ยวพันกันกับกลุ่มตรงข้ามอย่างไร ซึ่งเข้าใจว่านายสรยุทธ์คงทำงานลำบาก เพราะเสื้อแดงบางส่วนก็ไม่พอใจที่เขานำเสนอข่าวพรรคประชาธิปัตย์มากเกินไป แต่นี่คือสิ่งที่ประชาชนบางส่วนติดใจ จึงสะท้อนออกมา และขอบคุณศาลรัฐธรรมนูญที่ได้ใช้มาตรา 68 มาบิดเบือน จนเป็นเหตุทำให้ประชาชนออกมาชุมนุมเป็นจำนวนมาก
ผมเกรงว่า การกระทำดังกล่าวของศาลรัฐธรรมนูญอาจนำไปสู่การจัดตั้งรัฐบาลเทพประทาน 2 ได้ โดยมีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ เป็นนายกรัฐมนตรี นายสุเทพ เทือกสุบรรณ ส.ส.สุราษฎร์ธานี พรรคประชาธิปัตย์ เป็นรองนายกฯ ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม และนายเนวิน ชิดชอบ แกนนำพรรคภูมิใจไทย เป็นรองนายกฯ ควบรัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย เป็นต้น และหากเกิดขึ้นจากความช่วยเหลือของศาลรัฐธรรมนูญจริง เชื่อว่าจะมีเสื้อแดงเป็นล้านคน เดินทางเข้ากรุงเทพฯ ก็อยากให้ลองจินตนาการดูว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับแผ่นดินนี้" นายก่อแก้วกล่าว
(ที่มา)http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1340607166&grpid=03&catid=&subcatid=
"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา
"80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475": ประชาธิปไตยของประเทศนี้ยังมีปัญหา
การอภิปราย "80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475" ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์-สุดสงวน สุธีสร-ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์-อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ์-อภิชาต สถิตนิรามัย-มรกต เจวจินดา ไมยเออร์ เป็นส่วนหนึ่งของงานสัมมนา "100 ปี กบฏประชาธิปไตย ร.ศ.130 - 80 ปี ปฏิวัติประชาธิปไตย พ.ศ.2475
จัดโดย หอจดหมายเหตุธรรมศาสตร์ ธรรมศาสตร์ ร่วมกับ มูลนิธิโครงการตำราสังคมศาสตร์ฯ และสมาคมจดหมายเหตุสยาม
นักวิชาการถก ประชาธิปไตยไทยชิงสุกก่อนห่าม หรือเป็นไปตามบริบทสังคมโลก ธำรงศักดิ์ เพชรเลิศอนันต์ ชี้การทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของประชาชนนั้นป็นมรดกที่สำคัญที่สุดของคณะ ราษฎร์ ขณะปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์วิพากษ์เครือข่ายกษัตริย์ที่ปลุกเร้าความจงรักภักดีจะเป็น ปัญหาต่อสถาบันเสียเอง
ปวิน ชัชวาลพงศ์พันธ์: มรดกของราชาธิปไตยอยู่ได้อย่างไร
มรดกตกทอดฟังแล้วเหมือนดูดีแต่ การเปลี่ยนแปลงการปกครองที่เริ่มตั้งแต่ปี 2475 มีจุดมุ่งหมายต้องการเปลี่ยนแปลงประเทศไทยให้มีความเป็นอารยะมากขึ้น คนไทยก็มีความภูมิใจอย่างมากที่เรามีความเปลี่ยนแปลง และทุกวันนี้เราก็ยังพูดกันอยู่ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่เป็นเอกราชด้วยเรา มีพระมหากษัตริย์ที่มีพระปรีชาสามารถ แต่เหตุการณ์ที่ศาลรัฐธรรมนูญออกมาพูดว่าเราตีความรัฐธรรมนูญตามภาษาอังกฤษ ผมเริ่มไม่แน่ใจ แต่เอาละนี่เป็นพระปรีชาสามารถที่ไทยไม่ต้องตกเป็นอาณานิคม และมีการเลิกทาส และมีการสร้างทางรถไฟ นี่เป็นจุดพีคมากๆ ในรัชสมัยรัชกาลที่ 5 จนกระทั่งมองกลับไปถึงช่วงนั้นจนเคารพนับถือรัชกาลที่5 จนมากล้นจนล้นเกิน ในแง่ที่เป็นจุดดี ก็ทำให้เรามีความเป็นอารยะมากขึ้นในเปลือกนอก ดูเหมือนว่าสถาบันกษัตริย์จะมีความมั่นคงอย่างมากในยุรรัชกาลที่ 5 แต่อย่างไรก็ตามมันไม่สามารถสร้างหลักประกันให้ความอยู่รอดของสถาบัน กษัตริย์ หลังจากเสด็จสวรรคตไม่นานเพียง 22 ปี ถัดมาก็เกิดการล่มสลายของระบบสมบูรณาญาสิทธาชย์ และในรัชสมัยต่อมาในร. 6 และ ร.7 ก็ชี้ว่า เป็นความไม่สามารถของสถาบันพระมหากษัตริย์ในยุคนั้นในการปรับต่อต่อความ เปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในและต่างประเทศ
ปวินกล่าวว่า แปดสิบปีถัดจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองประเทศไทยก็มาถึงจุดเปลี่ยนอีกแล้ว เป็นจุดที่ critical มากๆ และภายใต้การเปลี่ยนแปลงอย่างใหญ่หลวงนั้นสถาบันกษัตริย์จะสามารถปรับตัวให้ กับการเปลี่ยนในยุคนี้ได้หรือไม่ ถ้าไม่ ก็จะเป็นแบบที่เกิดขึ้นในสมัยรัชกาลที่เจ็ด
บทบาทของสถาบันกษัตริย์ในการคลายปมการเมืองปัจจุบัน และสิ่งที่เป็นมรดกของสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่หล่อหลอมการเมืองไทยอยู่ใน ปัจจุบัน มีผลกระทบครอบงำการเมืองไทยอย่างยิ่งยวด และอาจจะถึงจุดที่เป็นอุปสรรคต่อการพัฒนปาระชาธิปไตยของไทยและตอกย้ำให้เกิด ความแตกแยกทางการเมืองและนำไปสู่ความรุนแรงมาแล้ว และอาจจะเกิดขึ้นอีกในอนาคต ตัวอย่าง การก้าวขึ้นของทักษิณ ชินวัตร ก็ถูกมองว่าเป็นภัยคุกคาม จะว่าคอร์รัปชั่นก็แล้วแต่ แต่นักการเมืองคนไหนไม่คอร์รัปชั่นบ้าง ทักษิณกินแล้วยังคายบ้าง แต่บางคนกินแล้วไม่คาย
ทักษิณกลายเป็นภัยของฝ่ายอนุรักษ์นิยม และในการกำจัดทักษิณนั้น หนึ่งในข้อกล่าวหาคือไม่จงรักภักดีและประสบความสำเร็จอย่างดี และปัจจุบันนนี้ ก็ยังใช้กลวิธีเดิมๆ ในการใช้กฎหมายหมิ่นฯ กำจัดคู่แข่งทางการเมือง และจุดนี้เอง อย่าคิดว่าคุณมีอำนาจในการใช้มาก เพราะยิ่งใช้มากยิ่งทำให้สถาบันอ่อนแอ และยิ่งเป็นการดึงสถาบันพระมหากษัตริย์มาเกลือกกลั้วกับการเมือง และนักการเมืองและกลุ่มการเมืองที่เป็นตัวเล่นนอกเวทีการเมืองก็ยังใช้ สถาบันกษัตริย์เป็นเครื่องมือ
ถึงเวลาแล้วที่ต้องมีการเปลี่ยนแปลง และการเปลี่ยนมาตรา 112 ก็ส่วนหนึ่งในการชี้ว่าสถาบันกษัตริย์พร้อมที่จะปลี่ยนแปลงหรือไม่
แม้ว่าสมบูรณาญาสิทธิราชย์จะจบไปแล้ว แต่ยังมีอิทธิพล แฃละฝ่ายอนุรักษ์นิยม ฝ่ายราชานิยม ก็ไม่ยอมละทิ้งแต่พยายามสืบสายใช้ให้เข้มแข็งมากขึ้น
ปัจจุบันมีการมองสถาบันฯ สองแบบ ที่ขัดแย้งกันอยู่แบบแรกเป็นมุมมองมาตรฐาน เป็นมุมมองปกติทั่วไป ให้เห็นคุณูปการมากมายของสถาบันกษัตริย์ที่มีต่อประเทศ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเป็นผู้ปกป้องบูรณภาพของแผ่นดิน เป็นมุมมองที่ครอบงำสังคม ปกป้องจารีตประเพณี คอยให้คำแนะนำแก่รัฐบาล เป็นต้น เป็นมุมมมองมาตรฐาน เหมือนคนไทยจะต้องกินข้าว จะไปกินมันฝรั่ง ก็ดูไม่ใช่คนไทย
แต่อีกมุมมองหนึ่งก็เห็นว่าพระราชอำนาจที่ทรงพลานุภาพอย่างมากนั้นไม่สอด คล้องกับประชาธิปไตยในปัจุบัน มีการใช้กฎหมายหมิ่นฯ เป็นเกราะกำบังสถาบันพระมหากษัตริย์ ทำให้เกิดกระบวนการ หรือทัศนคติที่มีการต่อต้านสถาบันพระมหากษัตริย์เกิดขึ้น และการใช้พระราชอำนาจที่มีอยู่อย่างยิ่งยวดเป็นอุปสรรคต่อประชาธิปไตย มีการสรรเสริญพระราชอำนาจอย่างล้นเกิน เป็น hyper royalist แม้แต่บ.การบินไทยก็มีการฉายพระราชกรณียกิจในเครื่องบิน
กลุ่มราชานิยมได้ร่วมมือจัดตั้งเป็นทีมงาน ร่วมมือกับนักประวัติศาสตร์ อนุรักษนิยม ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย สื่อที่ทรงอิทธิพลทั้งหลายในการสรางภาพลักษณ์ที่ไม่มีที่ติ ขณะเดียวกันก็สร้างภาพลบที่เลวร้ายอย่างมากต่อการเมืองไทย แปดเปื้อนด้วยนักการเมืองเลวๆ ไร้ศีลธรรมจรรยาอย่างทักษิณ ข้อบกพร่องทั้งหมดเกิดจากนักการเมืองชั่วๆ ไม่ได้เกิดจากการที่ตนเองเข้าไปแทรกแซงทางการเมืองตลอดเวลา นี่เป็นจุดสำคัญทำให้คนคิดถึงสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และเรียกร้องคนดีมาปกครองบ้านเมือง ซึ่งเดี๋ยวนี้ใครๆ ก็เป็นคนดีกันไปหมด
เมื่อพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์นั้นเราไม่ได้พูดถึงบุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือกลุ่มคนใดกลุ่มคนหนึ่ง นี่คือเครือข่าย คือทั้งองคาพยพที่เกาะเกี่ยวโหนห้อยกัยสถาบันพระมหากษัตริบย รวมถึงราชนิกูลและองคมนตรี
โดยปวินเสนอ “ผังสร้างเจ้า” ที่เป็นตัวแปรนอกระบบรัฐสภา เกาะเกี่ยวกันและมีอิทธิพลทางการเมืองไทยอย่างล้นหลาม เช่น องคมนตรี ราษฎรอาวุโส กงอทัพ นักธุรกิจใหญ่ ข้าราชการ ไฮเปอร์รอยัลลิสม์ แม้แต่ในแต่ละกลุ่มก็มีการเชื่อมโยงเกาะเกี่ยวกันอย่างเห็นได้ชัด เช่นองคมนตรีกับนักธุรกิจ กองทัพกับราชการ ทั้งหมดทำงานกันเป็นทีมเวิร์ก
ปวินกล่าวว่า แนวคิดในการมองเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ (Nework monarchy) นี้ ดันแคน แมกคาร์โก นักวิชาการชาวอังกฤษคิดเป็นคนแรก ซึ่งดันแคนเสนอว่าถ้าเรามองแบบเครือข่ายเราจะเข้าใจได้อย่างดี และเครือข่ายที่ชัดเจนที่สุดคือเครือข่ายพระมหากษัตริย์เท่านั้นที่ปกคลุม การเมืองทั้หมดตั้งแต่ปี 2480 เป็นต้นมา และคนเหล่านี้ทรงอิทธิพลโดยมีสถาบันกษัตริย์ตั้งอยู่บนยอดของเครือข่ายเหล่า นี้
ความรู้ภูมิปัญญา ชุดความคิดทั้งหลายถูกผูกรวมเข้ากับสถาบันกษัตริย์ ซึ่งเราหลีกหนีไม่ได้ แม้แต่จะตั้งคำถามอย่างตรงไปตรงมาก็ทำเกือบจะไม่ได้ในทุกวันนี้ แม้แต่ในแวดวงนักวิชาการก็อยู่ภายใต้การกดดันอย่างมาก มีไม่กี่ประเทศที่รัฐเข้ามาแทรกแซงแวดวงวิชาการ ประเทศไทยก็เป็นหนึ่งในนั้นเป็นผลจากการปกป้องระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์
ปวินระบุต่อไปว่า การที่ผูกโยงสิ่งต่างๆ เข้ากับสถาบันฯ นั้นเป็นดาบสองคม ด้านหนึ่งทำให้สถาบันดูเข้มแข็งแต่ในทางตรงกันข้ามก็ทำให้ประชาธิปไตยอ่อนแอ ลง การสรรเสริญเยินยอส่งผลให้เกิดสายใยความเกี่ยวโยงที่แนบแน่นระหว่างสถาบัน กษัตริย์กับสังคม เหมือนเป็นเรือนจำกักขังไม่ให้คนไทยแสดงความคิดเห็นอย่างตรงไปตรงมา การคิดนอกกรอบอาจนำไปสู่การคุกคามเครือข่ายสถาบันกษัตริย์ คนที่ละเมิดข้อห้ามดังกล่าวมักจะถูกลงโทษอย่างรุนแรง
"ประเทศไทยอ้างตัวเองว่าเป็นดินแดนแห่งความเสรี รักความอิสระ ดัดจริตไปถึงขั้นพูดว่าคนไทยทุกคนมีความจงรักภักดีแต่จับกันระเบิดเถิดเทิง" ปวิน กล่าว
การยกยอปอปั้นที่มีอย่างต่อเนื่องไม่จบสิ้น แม้แต่เรื่องเล็กๆ น้อยๆ เช่น การต้องเข้าไปดูหนังมีการฉายเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ และต้องยืนตรงก่อนดูหนัง ทั้งที่ประเทศอื่นเคยมีมาแล้วแต่หมดไปแล้ว ต้องถามว่าของเรายังมีอยู่เพราอะไร ประเพณีการหมอบคลานที่ถูกยกเลิกไปแล้วตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ห้า แต่คนไทยก็ยังหมอบคลานอยู่
วิธีที่พวกนี้อธิบายว่าต้องเลือกใช้แนวคิดต่างประเทศให้เข้ากับประเพณี แบบไทยๆ ซึ่งเป็นสิ่งที่เกิดมาตั้งแต่ ร 5 แล้ว ในความเป็นจริงหลักที่มาจากตะวันตกไม่ได้รับการส่งเสริม เป็นเพียงแต่ข้ออ้าง เป็นวาทกรรมของชนชั้นนำปัจจุบัน
หลังยุคสมบูรณาญาสิทธิราชย์มา เรายังเป็นประชาธิปไตยแบบเปลือกนอก เพราะแก่นแท้ยังเป็นอุดมการณ์กษัตริย์นิยม กล่าวคือ แม้จะมีรูปแบบที่เป็นประชาธิปไตย แต่ฝ่ายราชานิยมยังมีบทบาทสำคัญด้านการเมือง ประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้ถูกเนรมิตเป็นนิทานให้สอดคล้อง กับทัศนะของคนกรุงเทพฯเป็นหลัก รวมถึงสร้างประวัติศาสตร์ราชาชาตินิยม ทำหน้าที่ผูกโยงความคิดให้ประชาชนยอมรับอย่างไม่มีเงื่อนไข
ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมากระบวนการยกย่องสรรเสริญกษัตริย์เข้มข้นจน ถึงระดับที่น่ากังวลใจ พระมหากษัตริย์กลายมาเป็นเหมือนเพทพเจ้าที่ล่วงละเมิดไม่ได้ ขณะเดียวกันก็มีอีกภาพคือภาพพ่อของแผ่นดิน เป็นภาพต้นรัชสมัย ที่เดินทางไปทุกแห่ง ไม่มีรัฐบาลชุดใดในปัจจุบันที่จะสามารถเทียบทันพระมหากษัตริย์ในการเอาชนะใจ ปวงชน ประชาชนเห็นว่ากษัตริย์เป็นคำตอบสุดท้ายของทุกวิกฤตการณ์ แต่ภาพลักษณ์ทั้งสองแบบขัดแย้งกัน เพราะแม้จะใกล้ชิดกับประชาชนมากเพียงใด แต่ภาพที่เหมือนเทวราชาเป็นกำแพงปิดกั้นระหว่างสถาบันฯ กับประชาชน
ปวินกล่าวว่า ปัจจุบันมีการยกสถานะสถาบันกษัตริยให้เป็นมากกว่าธรรมราชา แต่เป็นเทวราชา ความแตกต่างนี้สร้างความซับซ้อนเมื่อพิจารณาจากบทบาทในทางการเมือง
พอล แฮนเลย์ ผู้เขียน The King Never Smile ระบุว่าการที่สถาบันกษัตริย์ลงมาเป็นผู้เล่นในทางการเมืองเสียเอง ก่อให้เกิดคำถามว่าสถาบันกษัตริย์อยู่เหนือการเมืองจริงหรือไม่ เพราะถ้าทรงมีสถานะเป็นตัวแทนทางการเมืองเองก็ทำให้เกิดปัญหา conflict of interest เพราะเมื่อไหร่ที่รัฐบาลเข้มแข็งก็จะถูกกำจัดไปในที่สุด และหนทางท้ายที่สุดก็มีการใช้มาตรา 112 มีการใช้มากขึ้นหลังรัฐประหารมากขึ้น ความพยายามทั้งหมดนี้ เป็นผลงานของฝ่ายราชานิยม แต่จำนวนใม่น้อยเป็นผลจากพระราชกรณียกิจของพระองค์เองในฐานะเป็นกษัตริย์นัก พัฒนา
เกี่ยวกับวัฒนธรรมสาธาณณะ ความนิยมตั้งอยู่บนความเชื่อว่าถสายันกษัตริย์เข้ามายุติปัญหาทางการเมือง นับครั้งไม่ถ้วน และสถานการณ์ในภูมิภาค ในช่วงสงครามเย็น และการต่อต้านกับคอมมิวนิสต์ การเข้ายุติจลาจลปี 2535 เป็นถ้วยรางวัลที่กษัตริยืได้ไปในฐานะผู้นรักษาเสถียรภาพของไทย ทำให้เห็นว่าสถาบันกษัตริย์ไม่สามารถแยกออกจากการเมือง
และที่ย้ำไปเบื้องต้นยังมีอะไรหลายอย่างที่ปลูกฝังลักษณะที่ไปด้วยกันไม่ ได้กับประชาธิปไตย เช่น ความขัดแย้งระหว่างอำนาจของสถาบันกษัตริย์กับอำนาจที่มาจากเสียงข้างมากของ ประชาชน
ปวินกล่าวว่า คำว่าประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขนั้นเป็นปฏิพจน์กัน เป็นหลุมดำขนาดใหญ่ที่จะดูดกลืนระบบการเมืองเข้าไปในตัวเองทั้งหมด
และสุดท้ายกรณีการสืบสันตติวงศ์ เป็นประเด็นสำคัญที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ และอยากจะตั้งเป็นคำถามว่า บทบาทสำคัญของสมบูรณาญาสิทธิราชย์นั้นมีความผูกพันอยู่กับตัวองค์พระมหา กษัตริย์มากกว่าสถาบันพระมหากษัตริย์ การสืบสันตติวงศ์และ
ปวินกล่าวว่า ฝ่ายราชานิยมเริ่มกังวลใจถึงความนิยมในหมู่ประชาชน และขอฝากไว้กับพวกคลั่งเจ้าว่า ยิ่งสรรเสริญเยินยอรัชสมัยนี้ก็จะยิ่งทำให้รัชสมัยต่อไปอยู่ยากขึ้น
(อ่านต่อ)http://www.prachatai.com/journal/2012/06/41250
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)