หน้าเว็บ

วันอาทิตย์ที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

ต่อต้านเผด็จการ ต่อต้านการใช้การปฏิวัติเพื่อประโยชน์ตัวเอง

ต่อต้านเผด็จการ ต่อต้านการใช้การปฏิวัติเพื่อประโยชน์ตัวเอง


 
โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

หลังจากที่ประธานาธิบดีโมซี่ประกาศอำนาจพิเศษ องค์กรสังคมนิยมปฏิวัติในอียิปต์ออกแถลงการณ์ วิจารณ์ประธานาธิบดีและพรรคมุสลิมว่าเป็นพวกที่อาศัยการปฏิวัติเพื่อขึ้นมา มีอำนาจเผด็จการ

ถ้ามองผิวเผินคำประกาศของประธานาธิบดีโมซี่ ดูเหมือนก้าวหน้าแต่มันมีเป้าหมายแอบแฝง โมซี่เริ่มการสอบสวนการฆ่าผู้ประท้วงที่ล้มเผด็จการมูบารัคอีกรอบ ก่อนหน้านี้พรรคมุสลิมจะไม่สนใจประเด็นนี้เลย โมซี่ประกาศปลดอัยการสูงสุดซึ่งพวกเราเรียกร้องให้มีการปลดมานานแล้วเพราะ เขาเป็นส่วนหนึ่งของอำนาจเก่า แต่โมซี่ก็มีคนจากยุคมูบารัคอยู่ในรัฐบาล เช่น รัฐมนตรีมหาดไทย หรือ นักธุรกิจที่ไปไหนมาไหนกับโมซี่เวลาเขาเดินทางไปต่างประเทศ


อย่างไรก็ตามเป้าหมายของการเพิ่มอำนาจให้ตัวเองโดยประธานาธิบดีโมซี่ จนกว่าจะมีการเลือกตั้งรัฐสภาใหม่ คือ การปกป้องวุฒิสภาและคณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญปัจจุบัน คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากเลือกตั้งของมวลชนแต่อย่างใด แต่เกิดจากข้อตกลงลับในห้องประชุมของโรงแรมแห่งหนึ่ง โดยที่พรรคมุสลิม พรรคซาลาฟิส และ พรรคการเมืองของอำนาจเก่ามาฮั้วกัน กรรมการร่างรัฐธรรมนูญนี้ไม่สนใจในการเพิ่มสิทธิเสรีภาพทางเศรษฐกิจหรือ สังคมของคนชั้นล่าง มันสนใจแต่จะยกเลิกกฎหมายอย่าร้าง กำหนดอายุแต่งงานของผู้หญิงและเพิ่มอำนาจให้ประธานาธิบดี


องค์กรสังคมนิยมปฏิวัติมองว่าประธานาธิบดีโมซี่ คือ ภัยแท้จริงกับการปฏิวัติ เพราะโมซี่ไปจับมือกับนายทุนเก่าเพื่อนมูบารัค มีการลืมเรื่องการเพิ่มค่าจ้างขั้นต่ำและการจำกัดรายได้ของคนรวย แต่ในขณะเดียวกันมีการเพิ่มราคาสินค้าจำเป็นสำหรับคนจน
 


“เราจะไม่ยอมรับกษัตริย์แฟโร่คนใหม่ แต่เราก็จะไม่ยอมรับซากเดนของอำนาจเก่าที่พยายามแสวงหาแนวร่วมต่อต้านพรรค มุสลิม เราจะไม่ยอมร่วมกับใครก็ตามที่เคยร่วมมือกับเผด็จการมูบารัค” 

องค์กรปฏิวัติสังคมนิยมเรียกร้องให้มวลชนปฏิวัติให้ปกป้องกระบวนการปฏิวัติ ที่กำลังถูกแย่งชิงไปโดยแนวร่วมระหว่างพรรคมุสลิมกับกลุ่มอำนาจเก่า

“เราเรียกร้องให้มีการเลือกตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญใหม่จากทุกส่วนของสังคม อียิปต์ รวมถึงกรรมกร เกษตรกร ข้าราชการ ตัวแทนจากสาขาวิชาชีพ สตรี คนคริสเตียน ชาวนูเบีย กลุ่มชนในซายาไน ชาวประมง และอื่นๆ เราเรียกร้องให้ยกเลิกอำนาจพิเศษของประธานาธิบดี และเรียกร้องให้รัฐบาลลาออกเพื่อให้มีรัฐบาลแนวร่วมของการปฏิวัติจนกว่าจะมี การเลือกตั้งรัฐสภาใหม่ เราเรียกร้องให้มีการประกาศอัตราค่าจ้างขั้นต่ำ 1500 ปอนด์อียิปต์ต่อเดือน เราเรียกร้องให้มีการควบคุมรายได้ของคนรวย เก็บภาษีก้าวหน้า นำบริษัทที่ถูกขายให้เอกชนมาเป็นของรัฐและยึดทรัพย์จากเพื่อนฝูงนักธุรกิจ ของมูบารัค”
 


(ที่มา)
http://turnleftthai.blogspot.dk/2012/11/blog-post_25.html 

ผู้พิพากษาอียิปต์เรียกร้องนัดหยุดงานทั่วประเทศ หลังปธน.ประกาศเพิ่มอำนาจให้ตนเอง

ผู้พิพากษาอียิปต์เรียกร้องนัดหยุดงานทั่วประเทศ หลังปธน.ประกาศเพิ่มอำนาจให้ตนเอง




ผู้พิพากษาของอียิปต์เรียกร้องให้ทนายความและอัยการทั่ว ประเทศร่วมหยุดงาน เพื่อประท้วงประธานาธิบดีโมฮัมเหม็ด มูร์ซี ที่ประกาศเพิ่มอำนาจให้ตนเอง

โดยหลังจากการประชุมฉุกเฉิน สหภาพผู้พิพากษาของอียิปต์ เห็นชอบเรียกร้องให้ประธานาธิบดีมูร์ซีถอนคำประกาศดังกล่าว เนื่องจากมองว่าเป็นการตั้งเป้าโจมตีคณะตุลาการ และประกาศยกเลิกการทำงานของศาลและหน่วยงานด้านการดำเนินคดีทางกฎหมายทั้งหมด ทั่วประเทศ ขณะที่คณะกรรมการตุลาการสูงสุด ซึ่งเป็นหน่วยงานด้านตุลาการสูงสุดของประเทศ กล่าวว่า การกระทำของนายมูร์ซี เป็นการกระทำที่ตั้งใจโจมตีระบบศาลยุติธรรมอย่างที่ไม่เคยเกิดขึ้นมาก่อน ขณะที่กลุ่มทนายและอัยการที่เมืองอเล็กซานเดรีย เมืองใหญ่อันดับสองของอียิปต์ ได้ประกาศนัดหยุดงานแล้วเช่นกัน และจะไม่กลับไปทำงานจนกว่าคำประกาศดังกล่าวจะถูกเพิกถอน

ทั้งนี้ กฎหมายฉบับดังกล่าวยับยั้งอำนาจของฝ่ายต่างๆในการคัดค้าน และยกเลิกกฎหมาย รวมถึงธรรมนูญที่ออกโดยประธานาธิบดี  ขณะเดียวกันยังกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งให้กับอัยการสูงสุด และเปิดทางให้มีการเปิดไต่สวน  หาข้อเท็จจริงในคดีการปราบปรามผู้ประท้วง ระหว่างการลุกฮือโค่นล้มอดีตประธานา
ธิบดีฮอสนี มูบารัก อดีตผู้นำเผด็จการของอียิปต์อีกครั้ง


ด้านกลุ่มผู้ต่อต้านและสนับสนุนประธานาธิบดีอียิปต์ยังคงเปิดศึกปะทะกัน ในกรุงไคโรและเมืองใหญ่ๆ กลุ่มผู้ต่อต้านประธานาธิบดีอียิปต์ได้เปิดฉากปะทะกับกลุ่มผู้สนับสนุนที่ จตุรัสทาห์รีร์กลางกรุงไคโร

แกนนำผู้ประท้วงผู้นำอียิปต์ กล่าวว่า แม้ตนจะเป็นผู้หนึ่งที่ลงคะแนนเลือกตั้งให้แก่นายมอร์ซี จนสามารถครองอำนาจได้ แต่ก็รู้สึกผิดหวังอย่างยิ่งต่อการกระทำของนายมอร์ซีและพรรคภราดรภาพมุสลิม เพราะรู้สึกเหมือนโดนหักหลังจากผู้ที่ตนเลือกมากับมือให้มาเป็นผู้ปกครอง ประเทศ ผู้ประท้วงส่วนใหญ่เป็นชนชั้นสูง และพวกเสรีนิยมซึ่งเคยเป็นแกนนำในการประท้วงจนอดีตประธานาธิบดีฮอสนี มูบารัก ถูกโค่นลงจากอำนาจเมื่อปีที่แล้วก็ตาม

รายงานแจ้งว่า นอกจากในกรุงไคโรแล้ว ตามเมืองใหญ่หลายแห่งของอียิปต์ กลุ่มผู้สนับสนุนและคัดค้านผู้นำอียิปต์ก็เปิดฉากปะทะกัน ความไม่พอใจต่อผู้นำอียิปต์นั้นคุกรุ่นมานานหลายเดือน หรือนับแต่ขึ้นครองอำนาจ จากการเลือกตั้งเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา เนื่องจากพรรคภราดรภาพมุสลิมของเขาเริ่มผูกขาดอำนาจและนายมอร์ซี่ไม่สนใจแก้ ปัญหาเศรษฐกิจที่เป็นปัญหาใหญ่ของประเทศรวมทั้งปัญหาความไร้เสถียรภาพและมิ ได้สานต่อการปฏิรูปให้รุดหน้าเท่าที่ควรด้วย

(ที่มา)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353814191&grpid=&catid=06&subcatid=060

คนงานเหมาค่าแรงในภาคตะวันออกยังไม่ยอมจำนน …และเขาพร้อมแล้วที่จะชักธงรบ

คนงานเหมาค่าแรงในภาคตะวันออกยังไม่ยอมจำนน …และเขาพร้อมแล้วที่จะชักธงรบ

 

บันทึกจากแยกมิสกวัน: แกนนำสั่งผู้ชุมนุมลุยตำรวจ

บันทึกจากแยกมิสกวัน: แกนนำสั่งผู้ชุมนุมลุยตำรวจ

 

โดย ประวิตร โรจนพฤกษ์
@PravitR


หลังจากปะทะกันไปแล้วรอบหนึ่งที่แยกมัฆวานในตอนเช้า พอตกบ่ายเกือบสองโมงแกนนำหญิงขององค์การพิทักษ์สยามคนหนึ่งที่ไม่ทราบชื่อบน หลังรถหกล้อใกล้แยกมิสกวันซึ่งอยู่ใกลทำเนียบรัฐบาลก็พูดกับผู้ชุมนุมผ่าน ลำโพงขยายเสียง: ‘เราทำเพื่อพระเจ้าอยู่หัวของเราใช่ไหมคะ? แล้วตำรวจทำเพื่อใคร? เพื่อนักการเมืองเลวๆ!’

ผู้ชุมนุมชายฉกรรจ์เป็นร้อยยืนเกือบประชิดแนวตำรวจปราบจลาจลที่สวม หน้ากากกันแก๊สน้ำตาและถือโล่ไฟเบอร์กลาสใส ผมเห็นผู้ชุมนุมบางคนเริ่มเอาน้ำในขวดราดผ้าพันคอและผ้าขนหนู และเดาว่าคงอีกไม่นานก็จะปะทะกันอีกรอบ

เสียงแกนนำหญิงยังคงได้ยินชัด เธอประกาศว่าตอนเช้า มีผู้ชุมนุมถูกจับ 132 คนหลังการปะทะและบาดเจ็บจนต้องรับการรักษาพยาบาลจำนวนหนึ่งและเสริมว่าทาง โรงพยาบาลไม่ยอมให้นักข่าวเข้าไปสัมภาษณ์

บรรยากาศตึงเครียด และอีกไม่กี่นาที แกนนำชายคนหนึ่งบนรถหกล้อคันเดิมก็ประกาศด้วยเสียงแข็งขัน: ‘ฟังเสียงตรงนี้เท่านั้นนะครับ! อย่าเพิ่งขยับอะไรนะครับ’

ผู้ชุมนุมหลายร้อยคนตรงแยกมิสกวัน ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้ชุมนุมที่ผมคาดว่ามีประมาณ 30,000 คน ก็เริ่มเตรียมพร้อม

แล้วแกนนำชายก็พูดผ่านเครื่องขยายเสียงไปสู่ฝั่งเจ้าหน้าที่ตำรวจ: ‘ท่านกำลังบังคับใช้กฎหมายอย่างไม่เป็นธรรมครับ!’

ณ เวลานั้น พื้นที่สามเขตในกรุงเทพฯ อยู่ภายใต้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ที่ผ่านโดยสภา สนช. ที่แต่งตั้งโดยเผด็จการ คมช. หลังรัฐประหาร 19 กันยา 2549

เสียงตำรวจชั้นผู้บังคับบัญชาแทรกกลับมาทางฝั่งผู้ชุมนุม และขอให้ผู้ชุมนุมถอยออกจากแนวกั้นของตำรวจ: ‘ช่วยถอยไปครับ เรามาทำตามหน้าที่ครับ’

‘พี่มาทำหน้าที่ ผมก็มาทำหน้าของผม’ แกนนำตอบโต้
นายตำรวจคนเดิมยืนยันว่าจะไม่ทำเกินหน้าที่

แต่พูดจบแกนนำชายก็สั่งให้ผู้ชุมนุมเผชิญหน้าตำรวจ

‘เดินหน้า’

(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2012/11/43860

โต้แย้ง "กม.มั่นคง" ก่อนม็อบจบ "ฉุกเฉิน"

โต้แย้ง "กม.มั่นคง" ก่อนม็อบจบ "ฉุกเฉิน"


ควันโขมงจากแก๊สน้ำตา คลุ้งไปทั่วบริเวณสะพานมัฆวานรังสรรค์ ถนนราชดำเนิน นั่นคือภาพที่คนไทยได้เห็นผ่านจอทีวี เมื่อวันเสาร์ที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

เมื่อกลุ่มผู้ชุมนุมขับไล่รัฐบาล ในนาม กลุ่มองค์การพิทักษ์สยาม (อพส.) พยายามใช้เส้นทางถนนราชดำเนินนอก ผ่านสะพานมัฆวานฯไปยังลานพระบรมรูปทรงม้า

รัฐบาลรับมือม็อบเที่ยวนี้ ด้วยการประกาศใช้พระราชบัญญัติการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร พ.ศ.2551 หรือ "พ.ร.บ.ความมั่นคง"

ด้วย เหตุผลว่า ข้อมูลจากหน่วยข่าวกรองระบุว่า อาจเกิดเหตุการณ์ อาทิ การ ก่อเหตุรุนแรงถึงขั้นก่อจลาจล การบุกเข้าสถานที่ราชการ หรือแม้แต่การบุกจับตัวนายกรัฐมนตรี ฯลฯ

นำมาสู่การประกาศใช้ "พ.ร.บ.ความมั่นคง" ครอบคลุมพื้นที่ 3 เขตของกรุงเทพ มหานคร ได้แก่ เขตพระนคร เขตดุสิต และเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ตั้งแต่วันที่ 22-30 พฤศจิกายน พ.ศ.2555

ลองมาฟังเสียงสะท้อนของนักวิชาการที่มีต่อ พ.ร.บ. ที่รัฐบาลประกาศใช้นี้ ขอหมายเหตุไว้ด้วยว่า เป็นการสัมภาษณ์ความเห็นล่วงหน้า ก่อนเหตุการณ์วันเสาร์จะเกิดขึ้น

สุรชาติ บำรุงสุข อาจารย์ประจำภาควิชาความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ คณะรัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า ถ้ารัฐบาลเชื่อว่าคุมสถานการณ์ได้ ก็ต้องคุมไว้ก่อน

ไม่ใช่จู่ๆ ก็ประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง ควรดูสถานการณ์ เพื่อประกาศให้เหมาะกับเวลา

ถ้า คิดว่าประกาศเพื่อเป็นการป้องกัน คนจะกลัวและจะไม่มาเข้าร่วม แต่ที่ผ่านมาทุกๆ รัฐบาลที่ประกาศใช้กฎหมายประเภทนี้ ไม่เคยหยุดการชุมนุมได้

มิหนำซ้ำยังเป็นการจุดประเด็นเพิ่ม หรือเป็นการเรียกแขกมากกว่า

"ผล เสียที่เกิดขึ้นเฉพาะหน้าคือ ทำให้ภาพของกรุงเทพฯทรุดไป ต่างประเทศเขาไม่ได้ห่วงเรื่องการชุมนุม เพราะเขามองว่าการชุมนุมเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามรัฐบาลออกมาตรการอย่างนี้ เท่ากับรัฐบาลยอมรับว่าการชุมนุมได้ยกระดับขึ้นเป็นปัญหาทางการเมืองที่มี ความสำคัญ" สุรชาติกล่าว

ด้าน สมชาย ปรีชาศิลปกุล อาจารย์ประจำคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ กล่าวว่า ไม่เห็นด้วยกับการประกาศใช้กฎหมายความมั่นคง ตราบเท่าที่การชุมนุมยังไม่ชัดเจนว่าจะมีการใช้ความรุนแรง หรือส่งผลกระทบต่อสิทธิ เสรีภาพของคนทั่วไป

ทั้งยังเกรงว่า การทำแบบนี้จะกลายเป็นการสร้างวัฒนธรรมการบังคับใช้กฎหมายเมื่อมีการชุมนุมอย่างพร่ำเพรื่อ

เพราะ กฎหมายความมั่นคง หรือกฎหมายพิเศษอื่นๆ จะมีประเด็นที่กระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของประชาชนอยู่พอสมควร ฉะนั้น เวลาประกาศใช้จะต้องระมัดระวัง

"การประกาศใช้ พ.ร.บ.ความมั่นคง กระทบต่อภาพพจน์ บรรยากาศความเป็นประชาธิปไตย ทั้งๆ ที่ความเคลื่อนไหวยังมีการถกเถียงกันอยู่ว่าข่าวปั้นหรือข่าวจริง แต่ตอนนี้รัฐบาลประกาศไปแล้ว"

"อย่างไรก็ดี สิ่งที่จะช่วยได้อย่างหนึ่ง คือ รัฐบาลพยายามใช้อำนาจในช่วงนี้ให้โปร่งใสมากที่สุด เช่น ข้อเสนออันหนึ่งที่รัฐบาลจะทำ และผมเห็นด้วย คือ เชิญตัวแทนจากองค์กรต่างๆ เช่น คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ เข้าร่วมสังเกตการณ์การทำงานของรัฐบาล" สมชายกล่าว

 
(อ่านต่อ)
http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1353814120&grpid=&catid=12&subcatid=1200

คุณจักรภพกับมิดไนท์ซัน รายการ "จุดเปลี่ยน" ทางเว็บ นปช.สวีเดน 25-11-2555

คุณจักรภพกับมิดไนท์ซัน รายการ "จุดเปลี่ยน" ทางเว็บ นปช.สวีเดน 25-11-2555
 




(คลิกฟัง)
http://www.mediafire.com/?gu5zq6tx8bzfiw4

แยงกี้มา แล้วแยงกี้ก็ไป YANKEE COMES, YANKEE GOES (HOME)

แยงกี้มา แล้วแยงกี้ก็ไป YANKEE COMES, YANKEE GOES (HOME)



พูดเล่นน่ะ

ไม่ได้จะต้านแยงกี้ ถือป้าย

"YANKEE GO HOME"
ให้แยงกี้กลับบ้านไปซะไป๊อย่างในอดีต เหมือนผู้คนในบรรดาประเทศที่ต่อต้านสหรัฐเวลาไปตั้งฐานทัพในบ้านเมืองของเขา

แต่ ในเมื่อเห็นท่านโอบามาเยือนมาหลายประเทศในภูมิภาคนี้อย่างรวดเร็ว เหมือนผีเสื้อดอมดอกไม้ โฉบมาที่ดอกนี้นิด แล้วกระพือปีกไปที่ดอกนั้นหน่อย ก่อนจะร่อนไปดมดอกโน้น ทำเวลายิ่งกว่าพวกทัวร์ประเภทเที่ยว "ห้าประเทศในเจ็ดวัน" เลยนึกขำๆ ว่า

"แยงกี้มา แล้วแยงกี้ก็ (กลับบ้าน) ไป"

ถึง จะเป็นอเมริกัน แต่ดูยังไงๆ ท่านโอบามาก็ไม่เหมือนแยงกี้ ทั้งๆ ที่เป็นประธานาธิบดีของพวกแยงกี้ เพราะที่ผ่านมาล้วนเป็นฝรั่งผิวขาว ตั้งแต่เบอร์ 1 "จอร์จ วอชิงตัน" ยันเบอร์ 43 "จอร์จ ดับเบิลยู. บุช" แต่ความเป็น "ลูกครึ่ง" กลับช่วยให้ประธานาธิบดีผิวสีคนแรกของสหรัฐผู้นี้มีความเป็น "อินเตอร์" มากกว่าคนไหนๆ

คำว่า "แยงกี้" ที่ชาติอื่นๆ ในโลกใช้เรียกสหรัฐและคนอเมริกันมาตั้งแต่สงครามโลกนั้น มีความหมายต่างไปในอเมริกา

สำหรับ คนอเมริกันเอง "แยงกี้" มักหมายถึงฝรั่งอเมริกันที่ทางแถบชายฝั่งตะวันออก หรือ East Coast ติดมหาสมุทรแอตแลนติก ซึ่งเป็นแหล่งที่ฝรั่งจากยุโรปมาตั้งรกรากก่อนแถบอื่น

คนแถว อิสต์โคสท์ โดยเฉพาะพวกแถบ New England อันมีบอสตันเป็นเมืองสำคัญ คือพวกที่เป็นหัวเรี่ยวหัวแรงก่อกบฏ เพื่อแยกอเมริกาออกจากอังกฤษ และตั้งเป็นประเทศใหม่ อย่างที่นักประวัติศาสตร์เรียกว่า American Revolution หรือปฏิวัติอเมริกา (ค.ศ.1775-1783)

นอกจากนายทุน ชนชั้นสูง และปัญญาชนหยิบมือหนึ่งแล้ว คนแถบนี้ล้วนเป็นชนชั้นรากหญ้าที่ย้ายไปจากยุโรป ทหารอังกฤษสมัยนั้นจึงเรียกคนแถบนี้ว่า "แยงกี้" ความหมายเป็นไปในเชิงดูถูกว่าเป็นไอ้เชย ไอ้ซื่อบื้อ ไอ้บ้านนอก ไม่ต่างจากน้ำเสียงคนไทยนิสัยไม่ดีที่เคยเรียกชาวลาวว่า "บักเสี่ยว" 



ทหาร ของกลุ่มกบฏแยงกี้ ล้วนกะเร่อกะร่า ไร้การฝึกฝนที่ถูกต้อง เครื่องแบบก็ไม่มี แต่งตัวกันตามมีตามเกิด เห็นแล้วชวนหัวร่อมากกว่าชวนหัวหด

ทหารอังกฤษเจอฝ่ายศัตรูอย่างแยง กี้แล้วหัวเราะกันแทบตาย ไอ้เร่อร่าอย่างนี้หรือจะมารบกับกองทัพที่ได้ชื่อว่าทรงอานุภาพที่สุดในโลก จึงนำทำนองเพลงเก่าแก่มาใส่เนื้อร้องล้อเลียนความเชยของพวกแยงกี้