ถอดบทเรียนการต่อสู้ จากการปฏิวัติฝรั่งเศส และนโยบายที่ผิดพลาดของเพื่อไทย [2]
สมศักดิ์ เจียมธีรสกุลกับข้อเสนอปฏิวัติการเมืองไทย ในงาน 224 ปี ทลายคุกบาสตีล(1)
โดย สมศักดิ์ เจียมธีรสกุล
ทุกการปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียว
การ
ปฏิวัติฝรั่งเศส เกิด 2312 สมัย ร.1 คศ.1789
ก่อนที่จะเกิดมันเกิดการปฏิวัติสำคัญอยู่ 3 อันคือ ปี 1572
มีการปฏิวัติชาวดัซ์ ศตวรรษต่อมาเกิดการปฏิวัติของอังกฤษ ปี 1640 และ
ศตวรรษที่ 18 มีการปฏิวัติอเมริกัน และการปฏิวัติฝรั่งเศส การปฏิวัติ 4
อันนี้ ในโลกวิชาการเรียกคราวๆว่าการปฏิวัติ “กระฏุมพี” (bourgeoisie) หรือ
ชนชั้นกลาง เป็นการปฏิวัติชนชั้นกลางที่เป็นลูกโซ่ติดกันมา
การการปฏิวัติฝรั่งเศสมันส่งผลสะเทือนทั่วยุโรป และอเมริกากลาง ในไฮติ
มีการโค่นอำนาจของนายทาสโดยทาสแล้วประกาศตั้งสาธารณรัฐ และหลังจากนั้นตลอด
ศตวรรษที่ 19 มีกระแสปฏิวัติทั่วยุโรป จนปลายศตวรรษที่ 19
มีการปฏิวัติใหญ่ๆ 4 อัน คือในอิตาลี เยอรมันนี ปฏิวัติเลิกทาสในอเมริกา
และการปฏิวัติเมจิที่ญี่ปุ่น
ปัญหาคือ
เมื่อกล่าวถึงการการปฏิวัติรวมๆ คร่าวๆ
เราก็บอกว่าเป็นปฏิวัติที่นำมาซึ่งประชาธิปไตยสมัยใหม่
นำมาซึ่งการปกครองของชนชั้นกลาง และการสถาปนาระบอบทุนนิยม ในระยะ 40-50
ปีหลัง หากศึกษาการปฏิวัติพวกนี้อย่างละเอียด
นักวิชาการมองว่ามันมีความซับซ้อนว่านั้นเยอะ พวกทำการปฏิวัติในฝรั่งเศส
นักวิชาการที่ศึกษาเรื่องนี้อย่างละเอียดมองว่า
เราสรุปไม่ได้ว่าพวกทำการปฏิวัติฝรั่งเศสเป็นชนชั้นกลาง
หลายคนเจ้าที่ดินเป็นศักดินาด้วยซ้ำ การปฏิวัติทุกอันมันไม่จบในม้วนเดียว
ทุก
การปฏิวัติมันมีความซับซ้อน มันไม่จบภายในครั้งเดียวหรือไม่กี่ปี
กว่าที่ฝรั่งเศสจะมีระบอบรัฐสภาที่มันคง เป็นสาธารณะรัฐที่ 5
มีการเปลี่ยนแปลงไปมา ฝรั่งเศสตั้งสาธารณะรัฐมาถึง 5 ครั้ง ครั้งที่ 5
พึ่งตั้งปี 2501 นี่เอง ที่ทุกวันนี้เราเห็นมันยุ่งยาก ก็ต้องทำใจ
เพราะฝรั่งเขาก็ผ่านอย่างนี้เช่นกัน