หน้าเว็บ

วันพุธที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2556

ขอเชิญร่วม เดินขบวน ผลักดันสภาปฏิรูปการศึกษา ขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยเพื่ออนาคต

ขอเชิญร่วม เดินขบวน ผลักดันสภาปฏิรูปการศึกษา ขับเคลื่อนระบบการศึกษาไทยเพื่ออนาคต



 


ระบบการศึกษาไทยปฏิรูปซ้ำแล้วซ้ำอีก โดยที่เสียงของเยาวชนแทบไม่มีการได้ยินและได้ปรากฎเลย ขอเชิญพวกเรา นักเรียน นิสิตนักศึกษา ผู้ต้องการการศึกษาไทยที่ดีกว่า แสดงพลังเดินขบวนจากหมุดคณะราษฎร ใกล้พระบรมรูปทรงม้าไปยักระทรวงศึกษาธิการ

กำหนดการ

รวมตัวกันเที่ยงตรง 12.00
เดินพร้อมกัน 13.00 - 13.30 น.
ถึงหน้ากระทรวงศึกษาธิการ
และเวทีพลังขับเคลื่อนการศึกษาไทย 13.45 - 14.45
อ่านแถลงการณ์และข้อเสนอ 14.45 - 15.10
มอบแถลงการณ์แก่รัฐมนตรี 15.10 - 15.30 น.

จัดโดย: สมาพันธ์นักเรียนไทยเพื่อการปฏิวัติระบบการศึกษาไทย
องค์กรแอนตี้โซตัส และกลุ่มลูกชาวบ้าน

ศปช.อัดร่างนิรโทษกรรม วาระ2 ล้างผิดอภิสิทธิ์/กองทัพ

ศปช.อัดร่างนิรโทษกรรม วาระ2 ล้างผิดอภิสิทธิ์/กองทัพ 

 


  

"ประการสำคัญ ที่ผ่านมา ความรุนแรงทางการเมืองที่รัฐกระทำต่อประชาชนในประเทศไทย จบลงด้วยการนิรโทษกรรมให้แก่ผู้ที่ปราบปรามประชาชนทุกครั้ง ซึ่งเป็นการเปลี่ยนอาชญากรรมของรัฐต่อประชาชนให้กลายเป็นสิ่งที่ถูกต้องตาม กฎหมาย และเป็นการเขียนใบอนุญาตล่วงหน้าให้รัฐบาลและ/หรือเจ้าหน้าที่รัฐสามารถก่อ ความรุนแรงต่อพลเมืองได้อีกในอนาคต ดังนั้น ศปช. จึงขอคัดค้านการปรับแก้ร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมฯ ตามข้อเสนอของกรรมาธิการ ส.ส. พรรคเพื่อไทย เราขอยืนยันอีกครั้งว่า วัฒนธรรมแห่งการปล่อยให้ผู้กระทำผิดที่มีอำนาจลอยนวล และการเหยียบย่ำสิทธิในชีวิตและความเป็นคนจะต้องยุติลงในสังคมไทยเสียที ถึงเวลาที่จะต้องช่วยกันรื้อถอนวัฒนธรรมการเมืองอันน่ารังเกียจที่ครอบงำ สังคมไทยนี้ “ความจริง” และ “ความยุติธรรม” มีความสำคัญมากกว่า “ความปรองดอง” อันหลอกลวงฉาบฉวย

23 ตุลาคม 2556 ศูนย์ข้อมูลประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากการสลายการชุมนุมกรณี เม.ย.-พ.ค. 53 (ศปช.) แถลงจุดยืนคัดค้าน ประณาม การปรับแก้ข้อความในมาตรา 3 ของนายประยุทธ์ ศิริพานิชย์ ส.ส. พรรคเพื่อไทย คณะกรรมาธิการวิสามัญพิจารณาร่าง พ.ร.บ. นิรโทษกรรมแก่ผู้กระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมและการแสดงออกทางการเมือง ของประชาชน ยืนยันหลักการอาชญากรรมโดยรัฐต่อประชาชนต้องเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง สำทับ" “ความจริง” และ “ความยุติธรรม” มีความสำคัญมากกว่า “ความปรองดอง” อันหลอกลวงฉาบฉวย"
(อ่านต่อ)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49371

Wake Up Thailand

Wake Up Thailand





Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2556 ตอนที่ 2

ชีวิตจริงคุณแดงยิ่งกว่าละคร
http://www.dailymotion.com/video/x16awmr_ช-ว-ตจร-งค-ณแดงย-งกว-าละคร 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2556 ตอนที่ 1 
นิรโทษกรรมแบบทาสในเรือนเบี้ย
http://www.dailymotion.com/video/x16avc7_น-รโทษกรรมมแบบทาสในเร-อนเบ-  

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2556 ตอนที่ 1
สงสัยซอยลึก ท่าทางจะสุดยาก
http://www.dailymotion.com/video/x1696e0_สงส-ยซอยล-ก-ท-าทางจะส-  
 
Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ตอนที่ 2
สุดซอยให้ถูกทาง
http://www.youtube.com/watch?v=TvwHkKoSlHo 

Wake Up Thailand ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2556 ตอนที่ 1
เมื่อทัศนคติ คนไทย เปลี่ยนไปกรณีปราสาทพระวิหาร 
http://www.dailymotion.com/video/x167ruu_เม-อท-ศนคต-คนไทย-เปล-ยนไปกรณ-ปราสาทพระว-  

Divas Cafe

Divas Cafe  
 


Divas Cafe ประจำวันที่ 23 ตุลาคม 2556

คุกไทยไม่ได้มีไว้ขังคนรวย
http://www.dailymotion.com/video/x16b01m_ค-กไทยไม-ได-ม-ไว-ข-งคนรว 

Divas Cafe ประจำวันที่ 22 ตุลาคม 2556
ย้ำยุค รุกงานวิชาการ
http://www.youtube.com/watch?v=s19VhMhyNB0&feature=c4- 
 
Divas Cafe ประจำวันที่ 21 ตุลาคม 2556
นิรโทษกรรม อยากจำกลับลืม 
http://www.youtube.com/watch?v=SgTRvgm1euE 

24 ตุลาคม เชิญร่วมเดินขบวนต้าน พรบ.สุดซอย

24 ตุลาคม เชิญร่วมเดินขบวนต้าน พรบ.สุดซอย



แม่น้องเกด-ญาติเหยื่อสังหารปี53แถลงต้านนิรโทษกรรมสุดซอยเหมาเข่งฆาตกร
http://www.youtube.com/watch?v=MfoxC_kOmcs

ร่วมแสดงเจตนารมณ์คัดค้านพรบ.นิรโทษกรรมเหมาเข่งฆาตกร

นำโดย กลุ่มญาติผู้สูญเสียจากเหตุ


การณ์ทางการเมือง พ.ศ. 2553

ร่วมด้วย สหพันธ์นิสิตนักศึกษาแห่งปร
ะเทศไทย , เครือข่ายอาสาสมัครรัฐศาสตร์มหาวิทยาลียรามคำแหง 
กลุ่ม BlackSprings และเครือข่ายนักกิจกรรมทางสังคมเพื่อประชาธิปไตย

โดยจะเดินขบวนจากอนุสาวรีย์ประชาธิปไตย ไปบริเวณหน้ารัฐสภา รวมตัวพร้อมกันในวันพฤหัสบดีที 24 ตุลาคม 2556 เวลา 10.00น.

ร่วมกันพิทักษ์เจตนารมณ์การต่อสู้ของประชาชน อย่าปล่อยให้เกิดการนิรโทษกรรมให้ฆาตกรเข่นฆ่าประชาชน

นิรโทษกรรมสุดซอย (น)

นิรโทษกรรมสุดซอย (น)



 

นิรโทษกรรมสุดซอย (น)

ความหมาย:
ความพยายามที่จะออกกฎหมายเพื่ออลบล้างให้การกระทำหรือการแสดงออกทางการเมือง นับตั้งแต่การรัฐประหารในปี ๒๕๔๙ ไม่ถือเป็นความผิด, โดยครอบคลุมบุคคลต่างๆ ทั้งหมด นับตั้งแต่ผู้ร่วมชุมนุม, แกนนำ, ไปจนถึงผู้นำที่มีอำนาจตัดสินใจหรือสั่งการให้กระทำการใดๆ แม้จะมีผู้เสียชีวิตเป็นจำนวนมากจากการตัดสินใจนั้นก็ตาม.

คำที่มีความหมายเดียวกัน:
นิรโทษกรรมเหมาเข่ง, นิรโทษกรรมยกเข่ง

ที่มา:
มาจากผลการแปรญัตติของคณะกรรมาธิการพิจารณาร่างพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมแก่ผู้ซึ่งกระทำความผิดเนื่องจากการชุมนุมทางการเมือง การแสดงออกทางการเมืองของประชาชน (ร่างของนายวรชัย เหมะ) ที่ปรับแก้เนื้อหาของร่างเดิมให้ครอบคลุมแกนนำและอดีตผู้นำทางการเมืองด้วย.

23 ตุลาคม "วันทาสไม่ยอมถูกปล่อย"

23 ตุลาคม "วันทาสไม่ยอมถูกปล่อย" 
เบื้องหลังการเลิกทาสเลิกไพร่ของรัชกาลที่๕  
   

https://scontent-a-lhr.xx.fbcdn.net/hphotos-frc3/1377176_10151973696974925_892259553_n.jpg
"วันที่ไทยแสดงความเป็นทาส ไหว้ผู้นำเผด็จการเบ็ดเสร็จที่มีเมียเป็นร้อย และเมียคนหนึ่งจมน้ำตายเพราะไม่มีใครไปกล้ากู้ชีพเมื่อเรือร่ม เพราะเขาห้ามผู้ชายแตะเมีย"

โดย ใจ อึ๊งภากรณ์

การพัฒนาของระบบทุนนิยมทั่วโลก บวกกับการขยายตัวของระบบการค้าเสรี สร้างทั้งปัญหาและโอกาสให้กับกษัตริย์ไทย ซึ่งเป็นผู้ที่เคยได้ประโยชน์จากการพยายามผูกขาดการควบคุมระบบแรงงานบังคับ และการค้าขาย ปัญหาคือรายได้ที่เคยได้จากการควบคุมการค้าอย่างผูกขาดลดลงหรือหายไป  แต่ในขณะเดียวกันการเปิดเศรษฐกิจเชื่อมกับตลาดโลกที่กำลังขยายตัวอย่างรวด เร็ว มีผลในการสร้างโอกาสมหาศาลสำหรับนายทุนที่สามารถลงทุนในการผลิตสินค้า แต่โอกาสนั้นจะใช้ไม่ได้ ถ้าไม่รีบพัฒนาแรงงาน 

การผลิตข้าวในไทยเป็นตัวอย่างที่ดี  ระหว่างปี ค.ศ. 1870-1880 การผลิตข้าวเพื่อส่งออกไปขายในตลาดโลกเพิ่มขึ้น 93% ในสภาพเช่นนี้ระบบศักดินาที่เคยอาศัยการเกณฑ์แรงงาน เป็นอุปสรรค์ต่อการพัฒนาเศรษฐกิจในรูปแบบใหม่ ถ้าจะมีการลงทุนในการผลิตข้าวเพื่อขายในตลาดโลก จะต้องใช้กำลังแรงงานในการขุดคลองชลประทานและการปลูกข้าวมากขึ้น และแรงงานนั้นจะต้องมีประสิทธิภาพสูงกว่าเดิม แรงงานเกณฑ์ที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนเป็นเครื่องจูงใจ มักจะไม่มีประสิทธิภาพในการทำงาน ถ้าจะแก้ปัญหานี้ได้ผู้ปกครองต้องเปลี่ยนระบบแรงงานไปเป็นแรงงานรับจ้าง เพื่อขยายกำลังงานที่มีอยู่ให้มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และต้องนำแรงงานรับจ้างเข้ามาจากประเทศจีนอีกด้วย ซึ่งมีผลทำให้อัตราการค่าจ้างลดลงเมื่อกำลังงานเพิ่มขึ้น ในไทยค่าแรงลดลง 64% ระหว่างปี ค.ศ. 1847 กับ 1907 

ในขณะเดียวกันต้องมีการสร้างชนชั้นชาวนาแบบใหม่ขึ้นด้วย ซึ่งมีลักษณะเป็นผู้ประกอบการรายย่อยอิสระที่มีเวลาและแรงบันดาลใจในการผลิต ข้าวมากกว่าไพร่ในอดีต ใครที่คุ้นเคยกับเขตรังสิตจะทราบดีว่าที่นี่มีคลองชลประทานที่ตัดเป็นระบบ อุตสาหกรรมการเกษตรอย่างชัดเจน คลองชลประทานที่ขุดขึ้นที่รังสิต ขุดโดยแรงงานรับจ้าง และการลงทุนในการสร้างที่นาเหล่านี้เป็นการลงทุนโดยบริษัทหุ้นส่วนของระบบ ทุนนิยมเพื่อการผลิตส่งออก ผู้ที่ลงทุนคือญาติใกล้ชิดของกษัตริย์กรุงเทพฯ และนายทุนต่างชาติ  หลังจากที่มีการขุดคลองก็มีการแจกจ่ายกรรมสิทธ์ที่ดินบริเวณริมฝั่งคลอง และชาวนาที่ปลูกข้าวในพื้นที่นี้เป็นชาวนาอิสระที่มาเช่าที่นา

นอกจากนี้ในการแข่งขันระหว่างรัฐต่างๆ รัฐที่ยกเลิกแรงงานบังคับไปแล้ว เช่นอังกฤษ อาจใช้ข้ออ้างเกี่ยวกับการปลดปล่อยทาสเพื่อโจมตีรัฐคู่แข่งที่ยังมีระบบนี้ อยู่ อันนี้เป็นประเด็นหนึ่งในการยกเลิกระบบแรงงานบังคับในไทย

ในประเด็นการเมือง การที่รัชกาลที่ ๕ ยกเลิกระบบเกณฑ์แรงงานบังคับ ซึ่งต้องอาศัยเจ้าขุนมูลนาย ถือว่าเป็นการตัดอำนาจเศรษฐกิจและการเมืองของเจ้าขุนมูลนายเหล่านั้นไป เพื่อสร้างระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ และรวมศูนย์รัฐแบบทุนนิยมเป็นครั้งแรกในไทย

(ที่มา)
http://www.prachatai.com/journal/2013/10/49372